ฟันปลอมแบบติดแน่นคืออะไร

ฟันปลอมแบบติดแน่นคืออะไร

ฟันปลอมแบบติดแน่นคืออะไร พร้อมความรู้เกี่ยวกับฟันปลอมที่คุณควรรู้

พออายุมากขึ้น อวัยวะภายในร่างกายก็พลอยจะเสื่อมลงทีละส่วน ไม่เว้นแม้แต่ฟันของคนเรา ที่ก็เสื่อมได้เช่นกัน แต่บางครั้งไม่ต้องรอจนอายุมากขึ้น ฟันก็สามารถหายไปได้ค่ะ เช่น อาจจะมีอุบัติเหตุหรือภาวะการณ์ที่จำเป็นต้องถอนฟันซี่นั้นออก และตัวช่วยที่จะมาทำให้ฟันของเราไม่หลอ จนไม่น่ามอง นั่นก็คือ ฟันปลอม เราอาจจะเคยเห็นคุณปู่คุณย่า ใส่ฟันปลอมกันมาบ้าง แต่คงไม่มีใครนึกภาพตัวเองใส่ฟันปลอมที่ถอดเข้าถอดออกได้หรอกใช่ไหมล่ะคะ แน่นอนว่าฟันปลอมไม่ได้มีแบบเดียว อีกหนึ่งชนิดอย่าง ฟันปลอมติดแน่น ก็น่าสนใจไม่น้อย ตามไปดู พร้อมความรู้เกี่ยวกับฟันปลอมที่คุณควรรู้

ฟันปลอมคืออะไร

ฟันที่ทำขึ้นโดยทันตแพทย์ใส่ให้กับคนไข้ที่สูญเสียฟันไปเนื่องจากการถอนในการรักษาฟันผุ ฟันโยกจากอาการเหงือกอักเสบ เคสอื่น ๆ เช่น ฟันหัก ฟันแตกก็สามารถใส่ฟันปลอมร่วมได้

ฟันปลอมแก้ปัญหาเรื่องอะไร

การใส่ฟันปลอมแทนที่ฟันที่หายไปจะช่วยแก้ปัญหา การรับประทานอาหารได้ง่าย มีประสิทธิภาพ พูดคุยออกเสียงได้ชัดเสริมสร้างความมั่นใจ ฟันปลอมยังช่วยคอยพยุงแก้มและริมฝีปากไม่ให้ดูหย่อนคล้อยอีกด้วย

ถ้าไม่ใส่ฟันปลอมจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง

หากใครที่สูญเสียฟัน หรือ ได้รับการถอดฟันเเล้วปล่อยให้มีช่องว่างระหว่างฟัน ย่อมเกิดผลเสียภายในช่องปากของเราแน่นอนค่ะ ซึ่งผลที่จะตามมามีดังนี้

  • ฟันค้างเคียงของซี่ที่ถูกถอนไปล้มหรือเอียงเข้าเข้ามาบริเวณช่องว่าง
  • มีผลต่อฟันคู่สบที่ไม่ตรงกัน เกิดการกระเเทกขณะเคี้ยวอาหาร- ปัญหาการเคี้ยวอาหารข้างเดียว
  • มีเศษอาหารติดที่ซอกฟันได้ง่าย เกิดฟันผุหรือเหงือกอักเสบตามมาได้

ฟันปลอมแบบติดแน่น

เราอาจจะเรียกว่าฟันปลอมถาวรก็ได้ค่ะ ที่ยึดแน่นในช่องปาก โดยอาศัยฟันธรรมชาติซี่ที่อยู่ข้างเคียงกับช่องว่างเป็นหลักในการยึดฟันปลอม เป็นการทำครอบฟันที่เป็นฟันปลอมยึดกับฟันธรรมชาติ วัสดุจะทำมาจากทั้งโลหะทั้งแผ่น (ใช้กับฟันกรามสำหรับบดเคี้ยว) เป็นพลาสติก (เหมาะใส่ชั่วคราว) และเป็นแบบผสม (เซรามิก ฐานโลหะพอกด้วยพอสเลน เหมาะกับบริเวณฟันหน้าที่เน้นความสวยงามเป็นธรรมชาติ) ซึ่งฟันปลอมแบบติดแน่นนั้นยังสามารถแบ่งชนิดย่อย ๆ ออกมาได้อีก 2 แบบ ได้แก่

  • ฟันปลอมแบบติดแน่นด้วยสะพานฟัน

ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า สะพานฟัน คือ การนำฟันเทียม (ฟันปลอม) มาเกี่ยวยึดกับฟันซี่ข้างเคียงฟันซี่ที่หายไป เพื่อทดแทนช่องว่างระหว่างฟัน ลักษณะคล้าย ๆ สะพานเชื่อม

  • ฟันปลอมแบบติดแน่นด้วยรากฟันเทียม

รากฟันเทียม คือ การปลูกฟันเทียมทดแทนฟันที่สูญเสียไป ด้วยการฝังรากฟันเทียมไททาเนียมลงไปในกระดูกขากรรไกร ยึดติดกับตัวเนื้อฟันจากเรซินเพื่อใช้บดเคี้ยว ทำหน้าที่ได้เหมือนกับฟันธรรมชาติ

ข้อดี : ประสิทธิภาพด้านการบดเคี้ยวดีเทียบเท่ากับฟันจริง เพราะเเรงเคี้ยวกดลงที่ตัวฟัน, ติดแน่น หลุดยาก, มีลักษณะและขนาดที่ใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติ ใส่แล้วไม่รู้สึกรำคาญ

ข้อเสีย : ต้องมีการกรอฟันข้างเคียงเพื่อยึดฟันปลอม ทำให้ต้องเสียเนื้อฟัน, ราคาสูงกว่าฟันปลอมแบบถอดได้, ถอดทำความสะอาดไม่ได้

ขั้นตอนการทำฟันปลอม

หลายคนอาจจะสงสัยว่าฟันปลอมที่เห็น ๆ กันอยู่นั้นมีขั้นตอนหรือกระบวนในการทำอย่างไรบ้าง เรานำข้อมูลมาฝากกันค่ะ

1. ทันตแพทย์จะทำการซักประวัติ จากนั้นจึงตรวจช่องปาก ถ่ายรูปช่องปาก X-ray พิมพ์แบบจำลองช่องปากของคนไข้
2. จากนั้นทันตแพทย์จะตรวจการเรียงตัวของฟัน เลือกสีฟันที่ใกล้เคียงกับฟันเดิม เเละสร้างฟันปลอมขึ้นมาบนแบบจำลองนั้น เพื่อให้ได้รูปฟันที่สวยงาม ขนาดพอดีใส่ในช่องปากของคนไข้ มีการสบฟันที่ถูกต้อง
3. แล้วทันตแพทย์จึงใส่ฟันปลอมเเละแก้ไขตำแหน่งกดเจ็บ ในระหว่างการทำฟันปลอม ทันตแพทย์จะนัดพบคนไข้ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ระยะเวลาขึ้นอยู่กับรูปแบบของฟันปลอม หลังใส่ฟันปลอมเรียบร้อยแล้ว ก็อาจต้องกลับไปพบทันตแพทย์ในช่วงเดือนแรก เพื่อปรับหรือตกแต่งฟันปลอมเพิ่มเติมให้พอดีกับช่องปาก

หากใครต้องใส่ฟันปลอม ควรปรึกษาทันตแพทย์ เพื่อให้ทันตแพทย์ประเมินว่า ต้องใส่ฟันปลอมกี่ซี่ สุขภาพฟันข้างเคียง ที่อยู่ติดกับฟันที่ต้องการใส่ ว่ามีความเเข็งเเรงพอหรือไม่ ทั้งหมด

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายทำฟัน

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#คลินิกทันตกรรม #BPDC #ทันตกรรม #ทำฟัน

รักษารากฟัน มีกี่วิธี

รักษารากฟัน มีกี่วิธี พาไปดูความแตกต่างของแต่ละวิธีก่อนคิดตัดสินใจทำ

รักษารากฟัน มีกี่วิธี พาไปดูความแตกต่างของแต่ละวิธีก่อนคิดตัดสินใจทำ

ความสุขของคนเราอย่างหนึ่ง คือการได้กินของอร่อยตามต้องการ แต่เมื่อไรก็ตามที่เราไม่สามารถทำอย่างนั้นได้เนื่องจากฟันผุจนเกินกว่าที่จะอุด ถ้าไม่รักษาต่อความสนุกในการกินก็แทบจะหายไปเลยนะคะ ซึ่งการรักษาที่ว่านั้นก็คือ การรักษารากฟัน ซึ่งเป็นวิธีรักษาที่ทันตแพทย์หลายคนแนะนำ เราจะไปเรียนรู้เกี่ยวกับการรักษารากฟัน มีกี่วิธี และความแตกต่างแต่ละแบบนั้นเป็นอย่างไร

การรักษารากฟันคืออะไร

การรักษารากฟันคือการตัดเนื้อเยื่อโพรงประสาทฟันที่ติดเชื้อ หรือเนื้อเยื่อขนาดเล็กที่อยู่ใจกลางฟันที่ตายออกแล้ว ซึ่งเมื่อประสาทฟันถูกทำลาย อักเสบ หรือฟันตายถูกตัดออก พื้นที่ส่วนที่เหลือนั้น ทันตแพทย์จะทำความสะอาด โดยใช้เครื่องมือขายให้คลองรากฟันกว้างขึ้น และสะอาดขึ้น แล้วจึงใช้น้ำยาล้างคลองรากฟัน และยาฆ่าเชื้อใส่ในคลองรากฟัน เมื่อกำจัดเชื้อโรคในคลองรากฟันออกจนหมดแล้ว ก็จะทำการอุดรากฟัน เพื่อป้องกันไม่ใช่เชื้อโรคกลับเข้าไปในคลองรากฟันอีก ซึ่งเป็นวิธีที่จะสามารถเก็บรักษาฟันส่วนที่เหลือไว้ได้ และยังเป็นวิธีที่นิยมใช้แทนการถอนฟันด้วยค่ะ

สาเหตุที่ต้องรักษารากฟัน

  • ฟันผุลึกจนถึงโพรงประสาทฟัน จนทำให้ประสาทฟันเกิดอาการอักเสบ หากลุกลามมากขึ้นจะทำให้เนื้อเยื่อในฟันนั้นตาย และเกิดการติดเชื้อในคลองรากฟัน ซึ่งทำให้เกิดอาการปวด อาการเหล่านี้สามารถรักษาได้ด้วยการรักษารากฟัน
  • ฟันแตกจากอุบัติเหตุ อาจจะเกิดจากการกระแทกจนฟันแตก เมื่อโพรงประสาทฟันเกิดอักเสบ ติดเชื้อ หากปล่อยทิ้งไว้ จะเกิดการก่อตัวที่ปลายรากฟันในกระดูกขากรรไกร เกิดเป็นฝีได้ อีกทั้งยังสามารถเกิดการทำลายกระดูกรอบ ๆ ฟัน ทำให้เกิดอาการปวด
  • นอนกัดฟันอย่างรุนแรง การกัดฟันนอกจากจะเป็นสาเหตุให้ฟันสึกแล้ว หากกัดแรง ๆ ก็จะไปรบกวนโพรงประสาทฟันด้วย ส่งผลให้ฟันร้าว และเชื้อโรคอาจจะแทรกซึมเข้าไปได้
  • โรคเหงือก สามารถลุกลามไปถึงปลายรากฟัน ทำให้เชื้อโรเข้าโพรงประสาทฟันได้

การรักษารากฟัน มีกี่วิธี 

อันที่จริงแล้วถ้าอาการทางฟันไม่ได้เลวร้ายเกินไป ทันตแพทย์จะไม่แนะนำให้รักษารากฟันเลยค่ะ สำหรับการรักษารากฟัน มีด้วยกัน 2 วิธี ได้แก่

1. การรักษาด้วยวิธีปกติ 

ทันตแพทย์จะวัดความยาวของคลองรากฟัน โดยการถ่ายเอกซเรย์ แล้วจะใช้ไฟล์ขนาดเล็ก เพื่อรักษารากฟัน และทำความสะอาดภายในคลองรากฟัน เพื่อขจัดเนื้อเยื่อที่มีปัญหาและแบคทีเรีย โดยที่ฟันจะไม่ถูกอุดอย่างถาวรจนกว่าจะขจัดจนปลอดเชื้อในโพรงประสาทและคลองรากฟันหลังจากที่มั่นใจว่าภายในโพรงประสาทฟันนั้นปลอดเชื้อแล้ว ก็จะใช้วัสดุอุดคลองรากฟัน อุดที่คลองรากฟัน วิธีนี้เป็นวิธีรักษารากฟันที่พบได้บ่อย

2. การรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดปลายรากฟัน

ทันตแพทย์จะใช้วิธีนี้ในกรณีที่วิธีแรกรักษาไม่ได้ผล โดยจะทำการผ่าตัดเข้าไปที่ตำแหน่งปลายรากฟันที่เป็น หนองทำการตัดปลายรากฟันออกบางส่วน หลังจากนั้นทำการอุดวัสดุเข้าไปใน ส่วนปลายรากฟันที่ทำความสะอาดไว้ โดยวัสดุนี้จะไม่เป็นพิษต่อเนื้อเยื่อ หรือไม่ ทำให้เกิดการหายของเนื้อเยื่อรอบปลายรากฟันขึ้น

การรักษารากฟัน มีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

แน่นอนว่าหลังการรักษารากฟันสามารถเกิดผลข้างเคียงได้ ซึ่งจะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับสภาพของฟันในแต่ละบุคคล

1. อาการปวดตื้อ ๆ หลังจากการรักษารากฟันในช่วง 2-3 วันแรก และอาการจะค่อย ๆ หายไปเอง ซึ่งสามารถกินยากแก้ปวดเพื่อบรรเทาได้

2. อาการปากชา สามารถเกิดขึ้นได้หลังจากทำการรักษารากฟันในวันนั้น แนะนำว่าช่วงที่ปากชาไม่ควรกินอาหารเพื่อป้องกันการกัดลิ้นและกระพุ้งแก้ม

3. ควรระมัดระวังในการใช้งานฟันที่มีการรักษารากฟัน เนื่องจากฟันจะมีปริมาณเหลือน้อยลงและมีความเปราะบางมากขึ้น อีกทั้งยังป้องกันโอกาสที่ฟันจะแตกระหว่างที่ดำเนินการรักษา

เราก็ได้รู้กันแล้วว่าการรักษารากฟันคืออะไร มีกี่วิธี แต่ละวิธีแตกต่างหรือใช้ในกรณีไหนบ้าง เพื่อสำหรับประกอบการตัดสินใจหากใครต้องรักษารากฟัน

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมาย “รักษารากฟัน”

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#คลินิกทันตกรรม #BPDC #ทันตกรรม #รากฟัน #รักษารากฟัน

เรียนรู้นิยาม ทันตกรรมคืออะไร

เรียนรู้นิยาม ทันตกรรมคืออะไร พร้อมบริการที่ครอบคลุมสำหรับทำฟัน

เรียนรู้นิยาม ทันตกรรมคืออะไรพร้อมบริการที่ครอบคลุมสำหรับทำฟัน

หากร่างกายเราเจ็บป่วย เราก็สามารถไปโรงพยาบาลหรือคลินิก พบแพทย์เพื่อรักษา แต่ถ้าฟันเราป่วยล่ะ เราจะต้องไปหาใครที่ไหน และรักษาอย่างไร? นั่นจึงเป็นที่มาของงานทันตกรรม เรามีหมอรักษาคน รักษาร่างกาย เราก็ต้องมีหมอรักษาฟันเช่นกัน เพื่อที่ว่าเกิดวันหนึ่งฟันเราเกิดป่วยหรือได้รับอุบัติเหตุ ทันตแพทย์จะได้ทำการช่วยเหลือ รักษาได้ทันนั่นเอง ซึ่งในงานทันตกรรมก็มีการรักษาที่ครอบคลุมแทบจะทุกปัญหาของฟัน เราอาจจะรู้จักแค่ อุดฟัน ถอนฟัน จัดฟัน ขูดหินปูน ซึ่งจริง ๆ แล้วงานทันตกรรมมีมากกว่านี้อีกเยอะมาก ดังนั้น ไปรู้จัก
ทันตกรรมและงานบริการทันตกรรมต่าง ๆ ที่ไม่แน่ว่าวันหนึ่งเราอาจต้องใช้บริการด้านอื่น นอกเหนือจากที่กล่าวมาก็ได้

ทันตกรรมคืออะไร

ทันตกรรมคืองานบริการสำหรับตรวจรักษาสุขภาพภายในช่องปากเพื่อให้เกิดสุขอนามัยที่ดี และเพื่อยืดอายุการใช้งานให้ได้นานที่สุด ซึ่งสุขภาพช่องปากเป็นสิ่งที่ทุกคนมองข้ามไม่ได้ ลองคิดดูว่าหากคุณมีปัญหาสุขภาพช่องปาก เช่น การมีกลิ่นปากจะทำให้คนอื่นมองคุณเช่นไร หรือฟันของคุณมีปัญหาคุณจะทำเช่นไร หากปล่อยปัญหาเหล่านี้ไว้จะส่งผลเสียทั้งต่อบุคลิกภาพ และอาจเกิดโรคที่ทำให้สูญเสียฟันได้นั่นเอง

ประเภทของทันตกรรม

เมื่อเรารู้แล้วว่าทันตกรรมคืออะไร แต่รู้หรือไม่ว่าทันตกกรรมมีหลายประเภทด้วยกัน ซึ่งแต่ละประเภทนั้นก็จะครอบคลุมปัญหาของฟันอีกด้วย โดยประเภทของทันตกรรมมีดังนี้

1. ทันตกรรมทั่วไป

ทันตกรรมทั่วไปหรือทันตกรรมพื้นฐาน หมายถึงการตรวจสภาพช่องปากและฟัน การทำความสะอาด และการรักษาสภาพเหงือกและฟัน เพื่อให้มีสุขอนามัยที่ดี ใช้ได้ไปนาน ๆ จะประกอบด้วยการวินิจฉัยโรคทางทันตกรรม การขูดหินปูนและขัดฟัน การอุดฟัน

2.ทันตกรรมเพื่อความงาม

ทันตกรรมเพื่อความงามเป็นการนำวิธีการทางทันตกรรมต่าง ๆ ในการช่วยเสริมสร้าง มุ่งเน้นการพัฒนาด้านความสวยงามของฟันและรอยยิ้ม ไม่ว่าจะเป็นการฟอกสีฟันด้วยเลเซอร์ การสร้างรอยยิ้มที่สวยงาม

3. ทันตกรรมรากฟันเทียม

เป็นการจำลองรากฟันให้ยึดติดกับขากรรไกรเพื่อเติมเต็มให้เหมือนฟันธรรมชาติที่เสียไป โดยทันตแพทย์จะทการฝังรากฟันเทียมบนกระดูกรองรับฟัน และใช่วัสดุที่คงทนแต่ไม่เกิดผลข้างเคียง ทำให้มีความสวยงาม คงทน และมีประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวเทียบเท่าฟันธรรมชาติ

4.ทันตกรรมประดิษฐ์

เป็นศาสตร์ที่ช่วยทดแทนฟันที่สูญเสียไปและแก้ปัญหาฟันที่เปราะบางหรือแตกหัก ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การปลูกรากฟันเทียมไทเทเนียม การครอบฟัน สะพานฟัน ฟันปลอมแบบถอดได้

5. ทันตกรรมจัดฟัน

การจัดฟันเป็นศาสตร์ที่ให้ความสำคัญต่อการเรียงตัวของฟัน เนื่องจากฟันที่เรียงกันอย่างไม่เป็นระเบียบจะกระทบต่อรูปหน้า ประสิทธิภาพและวิธีการบดเคี้ยว รวมถึงการดูแลรักษาความสะอาดฟัน

6. ทันตกรรมเด็ก

ทันตกรรมเด็กจะให้ความสำคัญด้านการดูแลฟันของเด็ก ซึ่งจะรวมถึงการให้ความรู้และวิธีการดูแลฟันเด็ก ดังนั้นจึงจะมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับทันตกรรมป้องกัน ซึ่งให้ความสำคัญกับการดูแลฟันอย่างถูกวิธีและป้องกันการเกิดฟันผุ ซึ่งควรดูแลป้องกันตั้งแต่เด็ก ๆ จะช่วยให้เด็กโตขึ้นมาไม่มีปัญหาเรื่องสุขภาพฟันในภายหลัง

7. ทันตกรรมป้องกัน

เป็นการดูแลรักษาฟันแท้ตามธรรมชาติให้มีอายุการใช้งานไปตลอดชีวิตเป็นเรื่องที่สำคัญมาก รวมถึงการดูแลเอาใจใส่สุขภาพฟันของเราให้แข็งแรงตลอดเวลาย่อมดีกว่าการเข้ารับการรักษาหรือหาวิธีซ่อมแซม

8. ทันตกรรม ปริทันต์

ปริทันต์หรือที่เราเรียกกันว่าโรคเหงือก โดยทั่วไปมักหมายถึงโรคเหงือกอักเสบ แต่จริง ๆ แล้วจะรวมถึงการศัลยกรรมเหงือกและปลูกถ่ายเหงือกเพื่อเพิ่มความยาวของฟัน งานทันตกรรมยังมีอีกหลายประเภท แต่ก็ใช่ว่าเราจะต้องใช้บริการทุกอย่างนะคะ เพราะทางที่ดีที่สุดคือการป้องกัน ดูแลรักษาฟันให้สะอาดและแข็งแรงอยู่เสมอ อย่าปล่อยให้วัวหายแล้วจึงล้อมคอก

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายทำฟัน

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#คลินิกทันตกรรม #BPDC #ทันตกรรม #ทำฟัน

รักษารากฟันเจ็บไหม

รักษารากฟันเจ็บไหม

รักษารากฟันเจ็บไหม มาเรียนรู้การรักษารากฟันอย่างถูกวิธีด้วยกัน

การทำฟันยังคงเป็นฝันร้ายของใครหลายคน ตั้งแต่เด็กจนโต ที่ทนไม่ได้กับเสียงเครื่องมือที่มากระทบฟัน กลิ่นถุงมือยางของหมอฟัน หรือความเจ็บปวดในการรักษา ซึ่งในวัยผู้ใหญ่นั้น การรักษาศาสตร์หนึ่งที่ผู้ใหญ่หลายคนต้องมาทำฟัน นั่นคือ การรักษารากฟัน แต่ก็ใช่ว่าเป็นผู้ใหญ่แล้วจะไม่กลัวเจ็บนะคะ เพราะแค่พูดว่ารากฟันก็ฟังดูน่ากลัวแล้ว กลายเป็นคำถามที่พบบ่อยว่า รักษารากฟันเจ็บไหม มาหาคำตอบกันได้ในบทความนี้ พร้อมเรียนรู้ ทำความเข้าใจการรักษารากฟันอย่างถูกวิธี

การรักษารากฟันคืออะไร

การรักษารากฟันคือการนำเนื้อเยื่อและกำจัดเชื้อโรคที่อยู่ภายในโพรงประสาทฟันออก และทำความสะอาด จัดรูปเนื้อฟันที่เหลือเสียใหม่ให้ปลอดเชื้อด้วยน้ำยา โดยการรักษารากฟันเป็นทางเลือกเพื่อให้เรารักษาฟันแทนการสูญเสียฟัน

รักษารากฟันเจ็บไหม?

เราอาจจะเคยได้ยินกิตติศัพท์เลื่องลือเกี่ยวกับการรักษารากฟันกันมาบ้าง ทำให้หลายคนปล่อยปละละเลยฟันจนติดเชื้อลุกลาม เพียงเพราะกลัวว่าการรักษารากฟันจะเจ็บ ซึ่งอันที่แล้วการรักษารากฟันก็เจ็บแน่นอนอยู่แล้ว เนื่องจากฟันทุกซี่มีรากฟัน มีเส้นประสาท และมีเลือดไปหล่อเลี้ยงฟัน ดังนั้นอาการเจ็บจะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับจำนวนซี่และลักษณะของฟัน แต่ในขณะที่กำลังรักษา ทันตแพทย์จะฉีดยาชาให้อยู่แล้วค่ะ ทำให้ไม่รู้สึกเจ็บในระหว่างที่ทำ โดยหลังจากยาชาหมดฤทธิ์ก็มีอาการปวดได้ตามปกติ ซึ่งสามารถกินแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการได้

ขั้นตอนการรักษารากฟัน

1. ทันตแพทย์จะเริ่มต้นด้วยการกำจัดเนื้อฟันที่อักเสบหรือติดเชื้อออกก่อน แล้วจึงทำความสะอาดรากฟัน พร้อมใส่ยาลงไปคลองรากฟันเพื่อกำจัดเชื้อ

2. ปิดรากฟันด้วยวัสดุชั่วคราว เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำ

3. หากมีการเป็นหนองที่ปลายรากฟัน อาจจะต้องทำความสะอาดหลายครั้ง และเปลี่ยนยาในคลองรากฟันจนกว่าการติดเชื้อหรืออักเสบจะหายปกติ

4. เมื่อไม่มีการอักเสบหรือติดเชื้อแล้ว ทันตแพทย์จะใช้วัสดุปิดรากฟันถาวรเพื่อรอการซ่อมแซมตัวฟันต่อไป

5. การซ่อมแซมตัวฟันก็สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การครอบฟัน การใส่เดือยฟัน การอุดฟัน ทั้งนี้ทันตแพทย์จะพิจารณาจากปริมาณของเนื้อฟันที่เหลืออยู่

เราควรจะรักษารากฟันหรือถอนฟันดี?

ในสมัยก่อนคนนิยมที่จะถอนฟันซี่ที่มีปัญหาออก โดยเฉพาะฟันที่มีการอักเสบติดเชื้อ แต่ปัจจุบันเมื่อมีการรักษารากฟันเข้ามาก็จะช่วยให้เราไม่ต้องสูญเสียฟันแท้ซี่นั้นไป แต่บางคนก็เอาแต่กลัวว่ารักษารากฟันแล้วจะเจ็บนาน จึงเลือกที่จะถอนฟันเพื่อตัดปัญหาในเรื่องค่าใช้จ่ายและกลัวเจ็บ

ถ้าไม่มีอาการปวด ทำไมถึงยังต้องรักษารากฟัน

บางคนที่จะต้องรักษารากฟันอาจจะคิดว่า จะรักษาทำไมในเมื่อมันไม่มีอาการปวด และคิดไปเองว่าไม่เป็นอะไร แต่อันที่จริงแล้ว แม้ว่าจะไม่มีอาการปวด แต่การดำเนินของโรคก็ยังคงอยู่ อาจจะทราบว่ารากฟันมีปัญหาต่อ เมื่อทำการ x-ray และพบว่ามีหนองในรากฟันแล้วก็มี ดังนั้นเมื่อตรวจพบควรทำ การรักษารากฟันทันที เพื่อลดการสูญเสียฟัน

รักษารากฟันเจ็บเท่าผ่าฟันคุดไหม?

ไม่ว่าจะเป็นการรักษารากฟันหรือการผ่าฟันคุดก็เจ็บทั้งคู่ เนื่องจากมีการอักเสบและเกิดความผิดปกติขึ้นกับตัวฟัน อีกทั้ง ทั้งสองอย่างในระหว่างดำเนินการ ทันตแพทย์จะใช้ยาชาฉีดให้เพื่อลดความรู้สึกเจ็บปวดในการทำ แต่หลังจากที่ยาชาหมด ก็ต้องมีอาการเจ็บบ้างในระดับที่ทนไหว แต่หากทนไม่ไหวจริง ๆ ควรรีบกลับไปพบทันตแพทย์เพื่อหาความผิดปกติ

สิ่งสำคัญของการรักษารากฟันไม่ใช่การกลัวว่าทำแล้วจะเจ็บไหม แต่ควรกลัวที่จะสูญเสียฟันไปมากกว่าค่ะ คุณอาจจะคิดว่าเสียซี่เดียวไม่เป็นไร แต่การที่ฟันหายไปซี่หนึ่ง จะทำให้ฟันบริเวณรอบ ๆ ล้มได้

หากลูกค้าท่านใดต้องการรักษารากฟันสามารถติดต่อสอบถามได้ที่

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#คลินิกทันตกรรม #BPDC #รักษารากฟัน

ประกันสังคม ทำฟันอะไรได้บ้าง

ประกันสังคม ทำฟันอะไรได้บ้าง สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่ผู้ประกันตนควรรู้

  ประกันสังคม ทำฟัน สิทธิประโยชน์ที่ควรรู้ ทำอะไรได้บ้าง เบิกได้เท่าไหร่ต่อปี ยังจำเป็นต้องสำรองจ่ายก่อนไหม มาหาคำตอบกัน ใครที่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม เป็นประจำทุก ๆ เดือนอยู่ละก็ เคยรู้ไหมว่า ประกันสังคมมีสิทธิประโยชน์ในด้านทันตกรรมไว้สำหรับดูแลผู้ประกันตนอย่างเรา ๆ ด้วยนะ ซึ่งบางคนอาจจะมองข้ามไป เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย เลยไม่ได้ใส่ใจกับสิทธิประโยชน์ที่ตัวเองมี แต่ถึงอย่างไร เราก็ต้องไม่ลืมว่าเงินที่โดนหักไปทุกเดือนนั้น ส่วนหนึ่งก็เพื่อเป็นสวัสดิการด้านทันตกรรม ให้เราเข้าถึงบริการสุขภาพได้สะดวกและมีคุณภาพมากขึ้น เพราะอย่าลืมว่าแม้ปัญหาสุขภาพช่องปากและฟัน อาจจะดูเป็นเรื่องเล็ก ๆ แต่เมื่อเกิดขึ้นกับใครแล้ว ก็เป็นปัญหาที่กวนใจได้ไม่น้อยเลย แต่ถ้าเราไปใช้สิทธิ์ทำฟันทุกปี เกิดเจอปัญหาสุขภาพฟันขึ้นมาก็จะได้รีบรักษาแต่เนิ่น ๆ ไม่ต้องรอจนเป็นหนักแล้ว ทีนี้ล่ะ เจ็บตัวยังไม่พอ ยังต้องเสียตังค์ค่ารักษาจำนวนมากอีกต่างหาก ดังนั้น เรามาดูกันดีกว่าว่า สิทธิประโยชน์ด้านทันตกรรมของประกันสังคมนั้น มีอะไรบ้าง แล้วเราจะเบิกได้เท่าไหร่ รู้แล้วจะได้รีบไปใช้สิทธิ์ รักษาผลประโยชน์ของตัวเองกัน

ประกันสังคม ทำฟันได้ ใครมีสิทธิ์

          ไม่ใช่ว่าทุกคนที่จ่ายเงินสมทบประกันสังคมจะได้รับสิทธิ์ทันตกรรมเลย แต่คนที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ทำฟันประกันสังคมนั้น จะต้องเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 เท่านั้น ไม่รวมผู้ประกันตนมาตรา 40 และที่สำคัญคือ จะต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนเดือนที่เข้ารับบริการทำฟัน โดยจะเป็นช่วงเดือนไหนก็ได้ ส่วนกรณีที่เราส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมครบ 3 เดือนแล้ว แต่ได้ลาออกจากที่ทำงาน ก็ยังสามารถเข้ารับบริการทันตกรรมได้ เพราะสิทธิประกันสังคมในการทำฟันจะยังคุ้มครองต่ออีก 6 เดือน นับจากวันที่ลาออก 

ประกันสังคม ทำฟัน ทำอะไรได้บ้าง

          บอกเลยว่าตอนนี้ประกันสังคมให้สิทธิผู้ประกันตน สามารถเข้ารับการรักษาทางทันตกรรมได้ทั้งการขูดหินปูน อุดฟัน ถอนฟัน และผ่าฟันคุด ในวงเงินรวมไม่เกิน 900 บาท/ปี แต่หากค่ารักษาสูงกว่า 900 บาท ผู้ประกันตนจะต้องจ่ายเงินส่วนเกินตรงนั้นเอง 

ประกันสังคม ทำฟันปลอมได้ไหม

          นอกจากประกันสังคมจะให้สิทธิในการขูดหินปูน อุดฟัน ถอนฟัน และผ่าฟันคุดแล้ว หากผู้ประกันตนมีการใส่ฟันปลอม จะมีสิทธิ์ได้รับค่าฟันปลอมและค่ารักษาพยาบาลอีกด้วย ภายในเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ใส่ฟันปลอมนั้น แยกเป็น 2 กรณี ดังนี้

  1. ใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้บางส่วน
    – จำนวน 1-5 ซี่ ได้เท่าที่จ่ายในวงเงินไม่เกิน 1,300 บาท
    – มากกว่า 5 ซี่ ได้เท่าที่จ่ายจริงในวงเงินไม่เกิน 1,500 บาท 
  2. ใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปาก
    – ฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปากบนหรือล่าง เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงในวงเงินไม่เกิน 2,400 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ใส่ฟันเทียม
    – ฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปากบนและล่าง เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงในวงเงินไม่เกิน 4,400 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ใส่ฟันเทียม

ใช้สิทธิประกันสังคมทำฟันที่คลินิกได้ไหม

          เราสามารถใช้สิทธิทำฟัน ประกันสังคม ได้ทั้งกับโรงพยาบาลรัฐ เอกชน รวมถึงคลินิกทันตกรรมก็ได้ด้วยเช่นกัน แต่ต้องเป็นสถานพยาบาลที่ประกันสังคมระบุไว้ 

ประกันสังคม ทำฟันได้ ไม่ต้องสำรองจ่ายแล้วนะ

           หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า ตอนนี้ถ้าเราจะไปใช้สิทธิทำฟัน ประกันสังคม ไม่ว่าจะเป็น อุด ถอน ผ่า หรือขูดหินปูน ไม่จำเป็นต้องสำรองจ่ายเงินเหมือนแต่ก่อนแล้ว หากเป็นการเข้ารับบริการในสถานพยาบาลของรัฐ ส่วนสถานพยาบาลและคลินิกเอกชนนั้น ตอนนี้ได้เข้าร่วมโครงการแล้วมากกว่า 1,000 แห่ง ซึ่งเราสามารถสังเกตได้ว่าสถานพยาบาลแห่งไหนที่ไม่ต้องสำรองจ่าย จากป้ายสติ๊กเกอร์ที่ระบุว่า “สถานพยาบาลแห่งนี้ให้บริการผู้ประกันตนกรณีทันตกรรม ทำฟัน ไม่ต้องสำรองจ่าย”           แต่ถ้าเป็นกรณีฟันปลอม ไม่ว่าจะเป็นถอดได้บางส่วน หรือถอดได้ทั้งปาก ยังต้องสำรองจ่ายไปก่อนเหมือนเดิมนะ แล้วถึงไปยื่นเบิกเงินกับประกันสังคมทีหลัง 

เบิกค่าทำฟันประกันสังคมได้ยังไงบ้าง

           ถ้าเราเข้ารับบริการทำฟันกับสถานพยาบาลที่ต้องสำรองจ่ายล่วงหน้าไปก่อน หรือเป็นการทำฟันปลอม สามารถยื่นขอเบิกค่าทำฟันย้อนหลังได้ที่ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ รวมถึงสำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขาทุกแห่งทั่วประเทศ (ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข) ในวัน-เวลาราชการ           หรือใครไม่สะดวกไปยื่นที่สำนักงานประกันสังคมในวัน-เวลาราชการ จะยื่นเอกสารผ่านทางไปรษณีย์ก็ได้ โดยต้องส่งเอกสารไปทางไปรษณีย์ตามที่อยู่ของสำนักงานประกันสังคมที่อยู่ใกล้บ้าน และจ่าหน้าซองว่า “ฝ่ายสิทธิประโยชน์” 

ประกันสังคม ทำฟัน เบิกได้กี่ครั้งใน 1 ปี

                   ทางประกันสังคมไม่ได้จำกัดว่าให้เบิกได้กี่ครั้งต่อปี เพราะฉะนั้นหากค่าใช้จ่ายการทำฟันในปีนั้น ๆ ยังไม่ถึง 900 บาท เราก็ยังมีสิทธิ์ยื่นเบิกได้เรื่อย ๆ จนกว่าวงเงินจะครบ 900 บาท โดยวงเงินที่ให้จะเป็นแบบปีต่อปี หากหมดปีนั้นแล้วมีวงเงินเหลือจะโดนหักทิ้งทันที นำไปทบยอดในปีถัด ๆ ไปไม่ได้นะ 

ต้องเบิกค่าทำฟันภายในกี่วัน

          ทำฟันไปแล้วก็ไม่ต้องกลัวว่าจะไปเบิกเงินไม่ทันกำหนดเวลา เพราะประกันสังคมให้เวลาเราไปยื่นขอเบิกค่าทำฟันได้ถึง 2 ปี นับตั้งแต่วันที่เข้ารับบริการทำฟัน โดยยึดวันที่ระบุไว้ในใบรับรองแพทย์เป็นหลัก เช่น หากเราไปถอนฟันในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2560 ก็มีเวลาไปยื่นเรื่องเบิกค่าทำฟันได้ถึงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2562 เลยทีเดียว แต่อย่าปล่อยไว้นานขนาดนั้นเลยดีกว่า เพราะถ้าลืมขึ้นมา ไปยื่นเรื่องช้ากว่าวันที่ 10 พฤศจิกายน 2562 ทีนี้ก็จะหมดสิทธิ์ได้รับเงินทันที 

เบิกค่าทำฟันประกันสังคม ใช้เอกสารอะไรบ้าง

เอกสารเพื่อยื่นขอเบิกเงินทำฟัน ประกันสังคม มีดังนี้

  1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีทันตกรรม (สปส.2-16)
  2. ใบรับรองแพทย์
  3. ใบเสร็จรับเงิน
  4. เวชระเบียนของแพทย์ผู้รักษา (กรณีเบิกฟันปลอมฐานอะคริลิก)
  5. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี

นำเอกสารทั้งหมดยื่นต่อสำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศได้ภายใน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่เข้ารับบริการที่ระบุไว้ในใบรับรองแพทย์ 

รับเงินค่าทำฟันประกันสังคมได้ทางไหน

          เพื่อความสะดวก ประกันสังคมจะจ่ายเงินให้โดยการโอนเข้าบัญชีธนาคารของผู้ประกันตน ซึ่งจะโอนเข้าบัญชีธนาคารได้ทั้งหมด 11 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์, ธนาคารทหารไทย, ธนาคารธนชาต, ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย, ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย, ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 

เบิกเงินค่าทำฟันใช้เวลานานแค่ไหนถึงจะได้รับเงิน

          ประกันสังคมไม่ได้กำหนดออกมาชัดเจนว่าจะจ่ายเงินค่าทำฟันให้ผู้ประกันตนภายในกี่วัน เพราะระยะเวลาการจ่ายเงินขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารที่ยื่น หรือจำนวนผู้มายื่นขอเบิกเงินในช่วงนั้น ๆ แต่โดยปกติแล้วเมื่อเรายื่นเอกสารขอเบิกเงินไปที่ประกันสังคมครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว ประมาณ 1-2 สัปดาห์ ก็จะได้รับเงินแล้ว           แต่หากเลย 2 สัปดาห์ไปแล้ว ยังไม่ได้รับเงินจากทางกองทุนประกันสังคม ก็ให้รีบดำเนินการติดต่อไปยังสำนักงานประกันสังคมที่เราได้ยื่นเรื่องไปโดยตรง เพื่อตรวจสอบว่าเอกสารที่เรายื่นไปนั้นดำเนินไปถึงขั้นตอนไหนแล้วนั่นเอง เบิกค่าทำฟันประกันสังคม ให้คนอื่นไปยื่นแทนได้ไหม การยื่นเอกสารขอรับเงินค่าบริการทำฟัน ประกันสังคมนั้น เราจะไปยื่นเอกสารด้วยตัวเอง หรือให้คนอื่นไปยื่นแทนก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นญาติพี่น้อง เพื่อน หรือฝ่ายบุคคลในสถานประกอบการของผู้ประกันตน ขอเพียงเอกสารที่ยื่นมีความครบถ้วน ถูกต้องตามที่ประกันสังคมกำหนดไว้ก็พอ และอย่าลืมเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องให้ชัดเจนด้วย เมื่อรู้แบบนี้แล้ว ใครที่ยังไม่ได้ไปใช้สิทธิทำฟันประกันสังคมในปีนี้ ก็อย่าลืมไปรักษาสิทธิกันล่ะ เพราะเงินส่วนนี้ก็คือเงินของเราที่ต้องสบทบให้กองทุนประกันสังคมในทุก ๆ เดือนอยู่แล้ว และใครที่ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ ทำฟัน ประกันสังคม ก็สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานประกันสังคม หรือโทร. 1506

ขอขอบคุณข้อมูลจาก ประกันสังคม

หากลูกค้าท่านใดต้องการนัดทำฟันสามารถติดต่อสอบถามได้ที่

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#คลินิกทันตกรรม #BPDC #ทำฟัน #อุดฟัน #ประกันสังคม

อุดฟันเจ็บไหม คำถามยอดฮิตของผู้ดูแลสุขภาพช่องปาก

อุดฟันเจ็บไหม คำถามยอดฮิตของผู้ดูแลสุขภาพช่องปาก

อาการปวดฟันเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากเจอ บางครั้งก็ดูจะเป็นอะไรที่เลี่ยงได้ยาก และยิ่งหากพอฟันผุขึ้นมา ทั้งที่รู้อยู่แก่ใจว่าต้องไปอุดฟัน แต่หลายคนก็เลือกที่จะอิดออด ยกเหตุผล ชักแม่น้ำทั้งห้ามาอธิบายเพื่อที่จะได้ไม่ต้องไปอุดฟัน เพราะอะไรน่ะหรือถึงหลีกเลี่ยงที่จะไปอุดฟัน เพราะกลัวเจ็บนั่นเอง แล้วจริง ๆ อุดฟันเจ็บไหม เชื่อว่านี่เป็นคำถามยอดฮิตก็ว่าได้ ถ้าใครอยากรู้คำตอบ ต้องตามมาอ่านกันนะคะ

การอุดฟันคืออะไร

การอุดฟัน คือการรักษาฟันที่ถูกทำลายด้วยวิธีการเติมวัสดุสังเคราะห์ชนิดต่าง ๆ เข้าไปที่ตัวฟันเพื่อทดแทนเนื้อฟันที่สูญเสียไปไม่ว่าจะเป็นฟันผุ สึก หรือฟันกร่อน เป็นต้น ซึ่งการใช้วัสดุสังเคราะห์ดังกล่าวนั้นจะช่วยไม่ให้ฟันเราผุเพิ่มขึ้นนั่นเอง

วัสดุอุดฟันมีกี่แบบ

วัสดุอุดฟันที่จะมาเป็นพระเอกในการช่วยยับยั้งไม่ให้ฟันของเราผุมากขึ้น จะมีด้วยกัน 2 แบบ ได้แก่

1. การอุดฟันด้วยวัสดุสีโลหะ

วัสดุสีโลหะหรือที่เรารู้จักกันดีในชื่ออะมัลกัม เป็นวัสดุอุดที่ใช้งานได้ง่าย สะดวกรวดเร็วและราคาไม่แพง ส่วนใหญ่แล้วทันตแพทย์จะนำมาใช้กับการอุดฟันกรามมากกว่าเพราะวัสดุนี้มีสีเข้ม มองเห็นสีชัดกว่าการอุดฟันแบบสีเหมือนฟัน

ข้อดี :

  • ราคาไม่แพง
  • มีความทนต่อแรงบดเคี้ยวได้ดี
  • ขั้นตอนการทำไม่ยุ่งยาก

ข้อเสีย :

  • ด้วยความที่มีสีที่เข้ม ทำให้มองดูแล้วไม่สวยงาม เห็นสีวัสดุอุดได้ชัด
  • ไม่เหมาะสำหรับฟันหน้า

2. การอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน

วัสดุสีเหมือนฟันหรือที่เราเรียกว่าเรซิน เป็นการอุดฟันสีเหมือนฟันที่มีความเป็นธรรมชาติ และเป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบันมากที่สุด สามารถใช้อุดฟันได้ทั้งฟันหน้าและฟันกราม

ข้อดี :

  • ให้ความสวยงามเมื่อมองเห็นเพราะสีกลมกลืนเหมือนกับฟัน
  • สามารถใช้งานฟันได้ทันที โดยไม่ต้องรอเวลาเหมือนวัสดุสีโลหะ
  • ปลอดภัยมากกว่าเพราะไม่มีส่วนผสมของสารปรอท

ข้อเสีย :

  • ระยะเวลาความคงทนต่อการใช้งานสั้น
  • มีราคาสูงกว่าแบบสีโลหะ
  • ง่ายต่อการเกิดคราบชาและกาแฟ

อุดฟันเจ็บไหม?

หลายคนที่ยอมให้ฟันผุไปเรื่อย ๆ เพียงเพราะกลัวว่าอุดฟันแล้วจะเจ็บ ต้องบอกเลยว่า การอุดฟันไม่เจ็บเท่าการถอนฟันแน่นอน แต่อาจจะมีอาการเสียวฟันบ้าง เมื่อทันตแพทย์กรอฟัน ส่วนเรื่องอุดฟันเจ็บไหมนั้น ลืมไปได้เลยเพราะว่าก่อนทำจะมีการฉีดยาชาก่อนเสมอ ซึ่งฤทธิ์ของยาชาก็สามารถอยู่ได้นาน 2-3 ชั่วโมง ถ้าหากยังรู้สึกหรือเจ็บ ทนไม่ไหวก็สามารถบอกทันตแพทย์ได้

ขั้นตอนในการอุดฟัน

1. ทันตแพทย์จะทำการตรวจเช็คสุขภาพฟันก่อนว่ามีปัญหาฟันผุมากน้อยแค่ไหน สามารถทำการอุดฟันเพื่อแก้ไขได้หรือไม่  

2. จากนั้นฉีดยาชา(ในกรณีที่ผุลึกใกล้โพรงประสาท) จากนั้นทันตแพทย์จะทำการกรอฟันเพื่อกำจัดฟันที่ผุที่ติดเชื้อ และเตรียมโพรงฟันให้เหมาะสำหรับการอุด 

3. หลังจากทำการกรอฟันแล้ว ทันตแพทย์จะใส่วัสดุอุดฟันไปในบริเวณฟันที่ผุซึ่งในขั้นตอนนี้การอุดฟันแบบโลหะและการอุดฟันสีเหมือนฟันจะมีขั้นตอนที่แตกต่างกันออกไป โดยการอุดฟันสีเหมือนฟันนั้นจะมีการฉายแสงเพิ่มเข้ามาช่วยในการอุดฟัน

4. เมื่อทันตแพทย์ใส่วัสดุอุดฟันเสร็จแล้วก็จะทำการขัดแต่งให้ดูดีและสวยงามพร้อมใช้งาน หากใช้งานได้ทันทีจะเป็นวัสดุสีเหมือนฟัน ส่วนวัสดุสีโลหะอาจจะต้องรอให้ครบ 24 ชั่วโมงเสียก่อ

เราก็พอจะสรุปได้ว่าการอุดฟันไม่เจ็บเลยค่ะ อย่างมากที่สุดก็แค่เสียวเวลากรอฟันเพื่อที่จะทำการอุดเท่านั้น ดังนั้นหากใครมีฟันผุ อย่าปล่อยทิ้งไว้จนผุมากถึงโพรงประสาทนะคะ เพราะหากเป็นเช่นกั้น อาจจะลงเอยด้วยการรักษารากฟัน ที่จะเจ็บของจริงแล้วล่ะค่ะ

หากลูกค้าท่านใดต้องการนัดอุดฟันสามารถติดต่อสอบถามได้ที่

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#คลินิกทันตกรรม #BPDC #ทำฟัน #อุดฟัน

ใส่หน้ากากแล้วเหม็น เกิดจากปัญหากลิ่นปากหรือไม่

ใส่หน้ากากแล้วเหม็น เกิดจากปัญหากลิ่นปากหรือไม่

ในช่วงโควิดแบบนี้ ทุกคนแทบจะต้องใส่หน้ากากกันตลอดเวลา เคยรู้สึกไหมว่าทำไมได้กลิ่นแปลกๆ เหม็น เกิดจากอะไรกันแน่ เป็นเพราะไม่ได้ซักหน้ากากหรือป่าว หรือว่าเป็นปัญหาจากกลิ่นปากกันแน่ วันนี้เรามีวิธีดูแลเวลาใส่หน้ากากแล้วเหม็นกันครับ

กลิ่นปากเกิดจากอะไร

กลิ่นปากเกิดจากหลายปัจจัย โดยแบ่งออกเป็น 2 สาเหตุใหญ่ ๆ ดังนี

  1. สาเหตุจากภายในช่องปาก เช่น มีแผลในปาก ฟันผุ หรือเป็นโรคเหงือกอักเสบ
  2. สาเหตุภายนอกช่องปาก เช่น การสูบบุหรี่ หรือการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมไปถึงโรคในระบบทางเดินหายใจที่ผิดปกติ

วิธีแก้ปัญหาหน้ากากเหม็นจากกลิ่นปาก

  1. หมั่นแปรงฟัน
    บางครั้งการที่เราใส่หน้ากาก ก็ไม่ได้หมายถึงว่ากลิ่นปากจะไม่เล็ดลอดออกไปได้ ซึ่งเราควรปฏิบัติตน หมั่นแปรงฟันอย่างสม่ำเสมอ ในช่วงยุคโควิดแบบนี้
  2. กินลูกอมหรือหมากฝรั่ง
    การกินลูกอมหรือหมากฝรั่งเพื่อดับกลิ่นนั้น เป็นการแก้ปัญหาสุขภาพฟันในระยะสั้นๆ หรือถ้าอมลูกอมมาก เคี้ยวหมากฝรั่งมาก ก็อาจจะทำให้สุขภาพฟันของท่านแย่มากขึ้น
  3. บ้วนปากบ่อยๆ
    บ้วนปากก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยทำความสะอาดฟันและช่องปากของเราทั้งหมด ให้ลมหายใจสะอาดสดชื่น
  4. ไม่กินอาหารกลิ่นแรง
    การรับประทานอาหารที่มีกลินแรงควรลดลงในการกินเป็นอย่างยิ่งเพราะกลิ่นจะอัดแน่นอยู่ในหน้ากากของเรานี่เอง ไม่ไปไหนเลย
  5. ดื่มน้ำเยอะๆ
    การดื่มน้ำมากๆ เป็นสิ่งปกติของเราที่จะช่วยลดปัญหากลิ่นปากและลดการแพร่กระจายของแบคทีเรียในปากได้ดี รวมถึงเรายังจะมีสุขภาพที่ดีในการรับประทานน้ำเยอะให้เหมาะกับความต้องการทางร่างกาย
  6. หมั่นทำความสะอาดหน้ากาก
    เมื่อน้ำลายของเราโดนที่หน้ากาก ก็เป็นไปได้ที่จะมีกลิ่นเหม็นจากคราบน้ำลายบูด ควรหมั่นทำความสะอาดหน้ากากของเราสม่ำเสมอเพื่อเป็นการฆ่าเชื้อทั้งแบคทีเรียและไวรัส

หากท่านใดแก้ปัญหาเหล่านี้ไม่ได้กับเรื่องกลิ่นปาก เราแนะนำว่าควรปรึกษาทันตแพทย์ เพื่อนัดตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำ เพื่อสุขภาพฟันที่ดีมากยิ่งขึ้น

หากลูกค้าท่านใดต้องการนัดตรวจสุขภาพฟัน สามารถติดต่อสอบถามได้ที่

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

คลินิกทันตกรรม #BPDC #ทำฟัน #ตรวจสุขภาพฟัน

ฟันปลอมมีกี่แบบ แบบไหนถึงจะใช่สำหรับคุณ

ฟันปลอมมีกี่แบบ แบบไหนถึงจะใช่สำหรับคุณ

ฟันปลอมมีกี่แบบ แบบไหนถึงจะใช่สำหรับคุณ

หากใครเห็นคุณปู่คุณย่าใส่ฟันปลอม เคยสงสัยกันไหมคะว่าทำไมฟันปลอมบางคนก็ถอดได้ บางคนก็ถอดไม่ได้ มันมีให้เลือกกี่แบบกันน้า ถ้าใครกำลังสงสัยอยู่ เราหาคำตอบนั้นมาไว้ที่นี่แล้ว มาดูกันว่าฟันปลอมมีกี่แบบกันแน่

โดยทั่วไปในงานทันตกรรม เราจะแบ่งฟันปลอมออกเป็น 2 แบบ ได้แก่

1. ฟันปลอมแบบถอดได้

เป็นฟันปลอมที่ทำขึ้นให้กับผู้ที่ยังมีฟันธรรมชาติหลงเหลืออยู่ เป็นการใส่ฟันเพียงบางส่วนแต่หลายซี่ ถ้าใส่ฟันปลอมแบบถอดได้ น้อยซี่ จะน่ารำคาญกว่า เพราะฟันปลอมชนิดนี้ต้องมีส่วนยึดโยงบนเพดาน เช่นมันอาจจะถูกถอนไปบางซี่ ทำให้ฟันหลอ ดูไม่สวยงาม

โดยตัวฐานนั้นจะมีที่ทำมาจากพลาสติกหรืออะครีลิก (เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มต้นใส่ฟันปลอม จำเป็นต้องใช้เวลาปรับตัว) เเละฐานเเบบโลหะ จะมีความบางและแนบไปกับเหงือกได้มากกว่า ทำให้รู้สึกรำคาญน้อยกว่า อีกทั้งยังใช้งานได้นานกว่าด้วย

ข้อดี : ราคาถูก ถอดล้างทำความสะอาดได้
ข้อเสีย : เคี้ยวอาหารไม่สะดวก ประสิทธิภาพน้อย การบดเคี้ยวยังทดแทนฟันตามธรรมชาติไม่ได้ เพราะแรงกดจากการเคี้ยวจะลงที่เหงือก ยิ้มแล้วเห็นตะขอันปลอม หากใช้งานในระยะยาวอาจจะหลวม ไม่แน่นดังเดิม อีกทั้งเศษอาหารสามารถเข้าไปติดได้

การดูแลฟันปลอมแบบถอดได้ :

  • ไม่ควรกินอาหารที่แข็งและเหนียว เพราะอาจทำให้ฟันปลอมร้าวและแตกหักได้
  • หลังมื้ออาหารถอดฟันปลอมออกล้างด้วยน้ำสะอาด ใช้แปรงสีฟันขนนุ่มๆ ที่ทำความสะอาดฟันปัดทำเศษอาหารออกจากฟันปลอม
  • ไม่ใช้ยาสีฟันทำความสะอาดฟันปลอม เพราะสารขัดฟันในยาสีฟันจะทำให้ตัวฟันปลอมสึกได้ แต่ควรใช้เป็นเม็ดฟู่สำหรับทำความสะอาด เพื่อทำความสะอาดฟันปลอมเเละกำจัดเชื้อโรคที่ซ่อนอยู่ อาทิตย์ละครั้ง
  • ก่อนนอนควรถอดแช่น้ำ เพื่อคงรูปร่างของฟันปลอมไว้ การเก็บฟันปลอมในที่เเห้งจะทำให้ฟันปลอมบิดเบี้ยว เเละไม่สามารถใส่ฟันได้สนิทกับเหงือกเหมือนเดิม

2. ฟันปลอมแบบติดแน่น

เราอาจจะเรียกว่าฟันปลอมถาวรก็ได้ค่ะ ที่ยึดแน่นในช่องปาก โดยอาศัยฟันธรรมชาติซี่ที่อยู่ข้างเคียงกับช่องว่างเป็นหลักในการยึดฟันปลอม เป็นการทำครอบฟันที่เป็นฟันปลอมยึดกับฟันธรรมชาติ วัสดุจะทำมาจากทั้งโลหะทั้งแผ่น (ใช้กับฟันกรามสำหรับบดเคี้ยว) เป็นพลาสติก (เหมาะใส่ชั่วคราว) และเป็นแบบผสม (เซรามิก ฐานโลหะพอกด้วยพอสเลน เหมาะกับบริเวณฟันหน้าที่เน้นความสวยงามเป็นธรรมชาติ) ซึ่งฟันปลอมแบบติดแน่นนั้นยังสามารถแบ่งชนิดย่อย ๆ ออกมาได้อีก 2 แบบ ได้แก่

  • ฟันปลอมแบบติดแน่นด้วยสะพานฟัน

ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า สะพานฟัน คือ การนำฟันเทียม (ฟันปลอม) มาเกี่ยวยึดกับฟันซี่ข้างเคียงฟันซี่ที่หายไป เพื่อทดแทนช่องว่างระหว่างฟัน ลักษณะคล้าย ๆ สะพานเชื่อม

  • ฟันปลอมแบบติดแน่นด้วยรากฟันเทียม

รากฟันเทียม คือ การปลูกฟันเทียมทดแทนฟันที่สูญเสียไป ด้วยการฝังรากฟันเทียมไททาเนียมลงไปในกระดูกขากรรไกร ยึดติดกับตัวเนื้อฟันจากเรซินเพื่อใช้บดเคี้ยว ทำหน้าที่ได้เหมือนกับฟันธรรมชาติ

ข้อดี : ประสิทธิภาพด้านการบดเคี้ยวดีเทียบเท่ากับฟันจริง เพราะเเรงเคี้ยวกดลงที่ตัวฟัน, ติดแน่น หลุดยาก, มีลักษณะและขนาดที่ใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติ ใส่แล้วไม่รู้สึกรำคาญ

ข้อเสีย : ต้องมีการกรอฟันข้างเคียงเพื่อยึดฟันปลอม ทำให้ต้องเสียเนื้อฟัน, ราคาสูงกว่าฟันปลอมแบบถอดได้, ถอดทำความสะอาดไม่ได้

การดูแลฟันปลอมแบบติดแน่น :

  • แปรงฟันเน้นบริเวณคอฟัน เหงือก ใช้ไหมขัดฟันเพื่อกำจัดเศษอาหารที่ติดอยู่ตามซอกฟัน
  • ควรทำความสะอาดใต้ฟันปลอมด้วยเครื่องมือร้อยไหมขัดฟัน (Floss threader) ร่วมกับไหมขัดฟัน
  • เข้ารับการตรวจเช็คจากทันตแพทย์ตามนัด

ถ้าใครไม่อยากต้องใส่ฟันปลอมเร็วเกินไป แนะนำให้ดูแลรักษาสุขภาพฟันของตัวคุณเองให้ดี ถึงแม้ว่าฟันจะมีอะไหล่สำรอง แต่อย่าลืมว่าใด ๆ ก็ไม่ดีเท่าฟันจริง ๆ ของเราหรอกค่ะ

ติดต่อคลินิกทันตกรรม BPDC เพื่อทำฟันปลอม

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829

Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental

ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

www.bpdcdental.com

BPDC #คลินิกทันตกรรม #ทันตกรรม #ฟันปลอม #ทำฟันปลอม

ทำฟันในช่วง Covid-19 ทำได้หรือไม่

ทำฟันในช่วง Covid-19 ทำได้หรือไม่?

ในช่วงที่มีไวรัส Covid-19 ระบาดนั้น การให้การรักษาทางทันตกรรมรวมไปถึงการจัดฟันนั้นเป็นไปอย่างจำกัด หลาย ๆ โรงพยาบาล หรือคลินิกทันตกรรมให้การรักษาเฉพาะเคสที่ฉุกเฉินเท่านั้น แต่ที่ BPDC ท่านสามารถสอบถามวันเวลาที่จะเข้ารับบริการโดยติดต่อสอบถามได้ก่อนเข้าใช้บริการ

ซึ่งสิ่งสำคัญที่ต้องเตรียมตัวก่อนใช้บริการทำฟันคือ

คัดกรองความเสี่ยง…ตรวจเช็กก่อนทำฟัน
การคัดกรองความเสี่ยงในการติดเชื้อของลูกค้าก่อนเข้ามารับการจัดฟัน จัดเป็นหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญก่อนการทำทันตกรรม โดยการคัดกรองสามารถทำได้โดยการสอบถามก่อนที่จะถึงวันนัดอย่างน้อย 1 วัน เพื่อลดความเสี่ยงจากการเดินทางของผู้ป่วยมายังสถานพยาบาล โดยดูจากทั้งประวัติ และอาการแสดงของผู้ป่วย

ประวัติ

มีประวัติเดินทางไปยัง หรือมาจากพื้นที่ที่เกิดโรคระบาดหรือไม่
มีประวัติของคนในครอบครัวป่วยเป็น COVID-19 สัมผัสกับผู้ป่วย COVID-19 หรือสารคัดหลั่งจากระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วยโดยไม่ได้ป้องกันอย่างเหมาะสมหรือไม่ ประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว สถานที่แออัด หรือติดต่อกับคนจำนวนมากหรือไม่ มีประวัติไปในสถานที่ชุมชน หรือสถานที่ที่มีการรวมกลุ่มคน เช่น ตลาดนัด ห้างสรรพสินค้า สถานพยาบาล ขนส่งสาธารณะ เป็นบุคคลากรทางการแพทย์ที่ใกล้ชิด/สัมผัสผู้ป่วย COVID-19 หรือไม่ อาการแสดง

อาการ

ไอเจ็บคอน้ำมูกไหล
มีไข้ อุณหภูมิสูงตั้งแต่ 37.5 C
การสูญเสียการได้กลิ่น และการรับรส
ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ
หายใจเหนื่อย/หายใจเร็ว


ในกรณีที่สอบถามประวัติและอาการผู้ป่วย แล้วพบว่ามีความเสี่ยง สามารถเลื่อนนัดทำฟันและดูอาการประมาณ 1 เดือนก่อนได้ ผู้ป่วยสามารถชะลอการรักษา 1-2 เดือนได้โดยไม่กระทบการรักษา

หากลูกค้าท่านใดต้องการนัดทำฟันสามารถติดต่อสอบถามได้ที่

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#คลินิกทันตกรรม #BPDC #ทำฟัน #ทำฟันช่วงโควิด

โรคเหงือกอักเสบหรือโรคปริทันต์

โรคเหงือกอักเสบหรือโรคปริทันต์

เหงือกอักเสบ เป็นอาการที่พบได้บ่อยและไม่รุนแรง โดยสาเหตุทั่วไปที่พบมากที่สุด คือ การดูแลช่องปากที่ไม่ดีพอ โดยหากพบว่าตนเองมีอาการเหงือกอักเสบ ควรปรึกษาทันตแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาทันที ไม่เช่นนั้นอาจนำไปสู่โรคปริทันต์ หรืออาการอื่นๆ ที่รุนแรง จนต้องสูญเสียฟัน

สัญญาณเตือนโรคเหงือกอักเสบ

1) มีเลือดออกขณะแปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟัน
2) เหงือกบวม เหงือกร่น
3) ฟันเริ่มโยก หรือหลุดจากกระดูกเบ้าฟัน
4) มีหนอง
5) มีกลิ่นปาก

*หากมีอาการดังกล่าว นานเกิน 1 สัปดาห์ ควรปรึกษาทันตแพทย์ทันที!

ทันตกรรมปริทันต์ – การรักษาโรคเหงือกอักเสบ และ โรคปริทันต์อักเสบ

ตรวจรักษาเหงือกอักเสบที่อักเสบ ปริทนต์อักเสบ การรักษาโรคเหงือก เลือดออกตามไรฟัน การศัลยกรรมปลูกเหงือกให้สวยงาม และปลูกกระดูกเบ้าฟันให้กระดูกแข็งแรง

นอกจากนี้ ยังรวมถึงการให้การรักษาตกแต่งเหงือกให้เกิดความสวยงาม หรือ เตรียมพร้อมสำหรับครอบฟันให้มีความสวยงามตามธรรมชาติ

โรคเหงือกอักเสบ – โรคปริทันต์อักเสบ ป้องกันได้!

เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคปริทันต์อักเสบ โดยทั่วไปควรเข้ารับขูดหินปูนอย่างน้อย ปีละ 1-2 ครั้ง เพราะโรคปริทันต์อักเสบจะทำให้เกิดฟันโยก, เสียวฟัน, เคี้ยวอาหารไม่มีแรง หรือ เหงือกบวมจากการติดเชื้อได้

โดนทันตแพทย์จะเริ่มทำการขูดหินปูนจะโดยการใช้เครื่องขูดหินปูนขูดตามซอกฟัน ใต้เหงือกบางตำแหน่ง และขัดฟันด้วยผงขัดผสมฟลูออไรด์

เมื่อทำความสะอาดฟันแล้ว ทันตแพทย์จะสามารถประเมินและเช็คปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น ฟันผุ, โรคเหงือก, การติดเชื้อ และอื่นๆ ปัญหาดังกล่าวสามารถตรวจได้โดยการมองเห็นหลังจากที่ได้ทำการขจัดคราบสะสมบนตัวฟันแล้ว หากจำเป็นที่ต้องตรวจตำแหน่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ทันตแพทย์จะแนะนำการถ่ายเอกซ์เรย์ในช่องปากเพิ่มเติม

*ผู้ป่วยโรคเหงือกควรพบทันตแพทย์เพื่อทำความสะอาดฟันหรือขูดหินปูนทุกๆ 6 เดือน หรือ 1 ปี ขึ้นอยู่กับแต่ละกรณี

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายทันตกรรมปริทันต์

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#คลินิกทันตกรรม #BPDC #โรคเหงือกอักเสบ #โรคปริทันต์