ใส่หน้ากากแล้วเหม็น เกิดจากปัญหากลิ่นปากหรือไม่

ใส่หน้ากากแล้วเหม็น เกิดจากปัญหากลิ่นปากหรือไม่

ในช่วงโควิดแบบนี้ ทุกคนแทบจะต้องใส่หน้ากากกันตลอดเวลา เคยรู้สึกไหมว่าทำไมได้กลิ่นแปลกๆ เหม็น เกิดจากอะไรกันแน่ เป็นเพราะไม่ได้ซักหน้ากากหรือป่าว หรือว่าเป็นปัญหาจากกลิ่นปากกันแน่ วันนี้เรามีวิธีดูแลเวลาใส่หน้ากากแล้วเหม็นกันครับ

กลิ่นปากเกิดจากอะไร

กลิ่นปากเกิดจากหลายปัจจัย โดยแบ่งออกเป็น 2 สาเหตุใหญ่ ๆ ดังนี

  1. สาเหตุจากภายในช่องปาก เช่น มีแผลในปาก ฟันผุ หรือเป็นโรคเหงือกอักเสบ
  2. สาเหตุภายนอกช่องปาก เช่น การสูบบุหรี่ หรือการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมไปถึงโรคในระบบทางเดินหายใจที่ผิดปกติ

วิธีแก้ปัญหาหน้ากากเหม็นจากกลิ่นปาก

  1. หมั่นแปรงฟัน
    บางครั้งการที่เราใส่หน้ากาก ก็ไม่ได้หมายถึงว่ากลิ่นปากจะไม่เล็ดลอดออกไปได้ ซึ่งเราควรปฏิบัติตน หมั่นแปรงฟันอย่างสม่ำเสมอ ในช่วงยุคโควิดแบบนี้
  2. กินลูกอมหรือหมากฝรั่ง
    การกินลูกอมหรือหมากฝรั่งเพื่อดับกลิ่นนั้น เป็นการแก้ปัญหาสุขภาพฟันในระยะสั้นๆ หรือถ้าอมลูกอมมาก เคี้ยวหมากฝรั่งมาก ก็อาจจะทำให้สุขภาพฟันของท่านแย่มากขึ้น
  3. บ้วนปากบ่อยๆ
    บ้วนปากก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยทำความสะอาดฟันและช่องปากของเราทั้งหมด ให้ลมหายใจสะอาดสดชื่น
  4. ไม่กินอาหารกลิ่นแรง
    การรับประทานอาหารที่มีกลินแรงควรลดลงในการกินเป็นอย่างยิ่งเพราะกลิ่นจะอัดแน่นอยู่ในหน้ากากของเรานี่เอง ไม่ไปไหนเลย
  5. ดื่มน้ำเยอะๆ
    การดื่มน้ำมากๆ เป็นสิ่งปกติของเราที่จะช่วยลดปัญหากลิ่นปากและลดการแพร่กระจายของแบคทีเรียในปากได้ดี รวมถึงเรายังจะมีสุขภาพที่ดีในการรับประทานน้ำเยอะให้เหมาะกับความต้องการทางร่างกาย
  6. หมั่นทำความสะอาดหน้ากาก
    เมื่อน้ำลายของเราโดนที่หน้ากาก ก็เป็นไปได้ที่จะมีกลิ่นเหม็นจากคราบน้ำลายบูด ควรหมั่นทำความสะอาดหน้ากากของเราสม่ำเสมอเพื่อเป็นการฆ่าเชื้อทั้งแบคทีเรียและไวรัส

หากท่านใดแก้ปัญหาเหล่านี้ไม่ได้กับเรื่องกลิ่นปาก เราแนะนำว่าควรปรึกษาทันตแพทย์ เพื่อนัดตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำ เพื่อสุขภาพฟันที่ดีมากยิ่งขึ้น

หากลูกค้าท่านใดต้องการนัดตรวจสุขภาพฟัน สามารถติดต่อสอบถามได้ที่

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

คลินิกทันตกรรม #BPDC #ทำฟัน #ตรวจสุขภาพฟัน

ฟันปลอมมีกี่แบบ แบบไหนถึงจะใช่สำหรับคุณ

ฟันปลอมมีกี่แบบ แบบไหนถึงจะใช่สำหรับคุณ

ฟันปลอมมีกี่แบบ แบบไหนถึงจะใช่สำหรับคุณ

หากใครเห็นคุณปู่คุณย่าใส่ฟันปลอม เคยสงสัยกันไหมคะว่าทำไมฟันปลอมบางคนก็ถอดได้ บางคนก็ถอดไม่ได้ มันมีให้เลือกกี่แบบกันน้า ถ้าใครกำลังสงสัยอยู่ เราหาคำตอบนั้นมาไว้ที่นี่แล้ว มาดูกันว่าฟันปลอมมีกี่แบบกันแน่

โดยทั่วไปในงานทันตกรรม เราจะแบ่งฟันปลอมออกเป็น 2 แบบ ได้แก่

1. ฟันปลอมแบบถอดได้

เป็นฟันปลอมที่ทำขึ้นให้กับผู้ที่ยังมีฟันธรรมชาติหลงเหลืออยู่ เป็นการใส่ฟันเพียงบางส่วนแต่หลายซี่ ถ้าใส่ฟันปลอมแบบถอดได้ น้อยซี่ จะน่ารำคาญกว่า เพราะฟันปลอมชนิดนี้ต้องมีส่วนยึดโยงบนเพดาน เช่นมันอาจจะถูกถอนไปบางซี่ ทำให้ฟันหลอ ดูไม่สวยงาม

โดยตัวฐานนั้นจะมีที่ทำมาจากพลาสติกหรืออะครีลิก (เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มต้นใส่ฟันปลอม จำเป็นต้องใช้เวลาปรับตัว) เเละฐานเเบบโลหะ จะมีความบางและแนบไปกับเหงือกได้มากกว่า ทำให้รู้สึกรำคาญน้อยกว่า อีกทั้งยังใช้งานได้นานกว่าด้วย

ข้อดี : ราคาถูก ถอดล้างทำความสะอาดได้
ข้อเสีย : เคี้ยวอาหารไม่สะดวก ประสิทธิภาพน้อย การบดเคี้ยวยังทดแทนฟันตามธรรมชาติไม่ได้ เพราะแรงกดจากการเคี้ยวจะลงที่เหงือก ยิ้มแล้วเห็นตะขอันปลอม หากใช้งานในระยะยาวอาจจะหลวม ไม่แน่นดังเดิม อีกทั้งเศษอาหารสามารถเข้าไปติดได้

การดูแลฟันปลอมแบบถอดได้ :

  • ไม่ควรกินอาหารที่แข็งและเหนียว เพราะอาจทำให้ฟันปลอมร้าวและแตกหักได้
  • หลังมื้ออาหารถอดฟันปลอมออกล้างด้วยน้ำสะอาด ใช้แปรงสีฟันขนนุ่มๆ ที่ทำความสะอาดฟันปัดทำเศษอาหารออกจากฟันปลอม
  • ไม่ใช้ยาสีฟันทำความสะอาดฟันปลอม เพราะสารขัดฟันในยาสีฟันจะทำให้ตัวฟันปลอมสึกได้ แต่ควรใช้เป็นเม็ดฟู่สำหรับทำความสะอาด เพื่อทำความสะอาดฟันปลอมเเละกำจัดเชื้อโรคที่ซ่อนอยู่ อาทิตย์ละครั้ง
  • ก่อนนอนควรถอดแช่น้ำ เพื่อคงรูปร่างของฟันปลอมไว้ การเก็บฟันปลอมในที่เเห้งจะทำให้ฟันปลอมบิดเบี้ยว เเละไม่สามารถใส่ฟันได้สนิทกับเหงือกเหมือนเดิม

2. ฟันปลอมแบบติดแน่น

เราอาจจะเรียกว่าฟันปลอมถาวรก็ได้ค่ะ ที่ยึดแน่นในช่องปาก โดยอาศัยฟันธรรมชาติซี่ที่อยู่ข้างเคียงกับช่องว่างเป็นหลักในการยึดฟันปลอม เป็นการทำครอบฟันที่เป็นฟันปลอมยึดกับฟันธรรมชาติ วัสดุจะทำมาจากทั้งโลหะทั้งแผ่น (ใช้กับฟันกรามสำหรับบดเคี้ยว) เป็นพลาสติก (เหมาะใส่ชั่วคราว) และเป็นแบบผสม (เซรามิก ฐานโลหะพอกด้วยพอสเลน เหมาะกับบริเวณฟันหน้าที่เน้นความสวยงามเป็นธรรมชาติ) ซึ่งฟันปลอมแบบติดแน่นนั้นยังสามารถแบ่งชนิดย่อย ๆ ออกมาได้อีก 2 แบบ ได้แก่

  • ฟันปลอมแบบติดแน่นด้วยสะพานฟัน

ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า สะพานฟัน คือ การนำฟันเทียม (ฟันปลอม) มาเกี่ยวยึดกับฟันซี่ข้างเคียงฟันซี่ที่หายไป เพื่อทดแทนช่องว่างระหว่างฟัน ลักษณะคล้าย ๆ สะพานเชื่อม

  • ฟันปลอมแบบติดแน่นด้วยรากฟันเทียม

รากฟันเทียม คือ การปลูกฟันเทียมทดแทนฟันที่สูญเสียไป ด้วยการฝังรากฟันเทียมไททาเนียมลงไปในกระดูกขากรรไกร ยึดติดกับตัวเนื้อฟันจากเรซินเพื่อใช้บดเคี้ยว ทำหน้าที่ได้เหมือนกับฟันธรรมชาติ

ข้อดี : ประสิทธิภาพด้านการบดเคี้ยวดีเทียบเท่ากับฟันจริง เพราะเเรงเคี้ยวกดลงที่ตัวฟัน, ติดแน่น หลุดยาก, มีลักษณะและขนาดที่ใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติ ใส่แล้วไม่รู้สึกรำคาญ

ข้อเสีย : ต้องมีการกรอฟันข้างเคียงเพื่อยึดฟันปลอม ทำให้ต้องเสียเนื้อฟัน, ราคาสูงกว่าฟันปลอมแบบถอดได้, ถอดทำความสะอาดไม่ได้

การดูแลฟันปลอมแบบติดแน่น :

  • แปรงฟันเน้นบริเวณคอฟัน เหงือก ใช้ไหมขัดฟันเพื่อกำจัดเศษอาหารที่ติดอยู่ตามซอกฟัน
  • ควรทำความสะอาดใต้ฟันปลอมด้วยเครื่องมือร้อยไหมขัดฟัน (Floss threader) ร่วมกับไหมขัดฟัน
  • เข้ารับการตรวจเช็คจากทันตแพทย์ตามนัด

ถ้าใครไม่อยากต้องใส่ฟันปลอมเร็วเกินไป แนะนำให้ดูแลรักษาสุขภาพฟันของตัวคุณเองให้ดี ถึงแม้ว่าฟันจะมีอะไหล่สำรอง แต่อย่าลืมว่าใด ๆ ก็ไม่ดีเท่าฟันจริง ๆ ของเราหรอกค่ะ

ติดต่อคลินิกทันตกรรม BPDC เพื่อทำฟันปลอม

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829

Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental

ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

www.bpdcdental.com

BPDC #คลินิกทันตกรรม #ทันตกรรม #ฟันปลอม #ทำฟันปลอม

ทำฟันในช่วง Covid-19 ทำได้หรือไม่

ทำฟันในช่วง Covid-19 ทำได้หรือไม่?

ในช่วงที่มีไวรัส Covid-19 ระบาดนั้น การให้การรักษาทางทันตกรรมรวมไปถึงการจัดฟันนั้นเป็นไปอย่างจำกัด หลาย ๆ โรงพยาบาล หรือคลินิกทันตกรรมให้การรักษาเฉพาะเคสที่ฉุกเฉินเท่านั้น แต่ที่ BPDC ท่านสามารถสอบถามวันเวลาที่จะเข้ารับบริการโดยติดต่อสอบถามได้ก่อนเข้าใช้บริการ

ซึ่งสิ่งสำคัญที่ต้องเตรียมตัวก่อนใช้บริการทำฟันคือ

คัดกรองความเสี่ยง…ตรวจเช็กก่อนทำฟัน
การคัดกรองความเสี่ยงในการติดเชื้อของลูกค้าก่อนเข้ามารับการจัดฟัน จัดเป็นหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญก่อนการทำทันตกรรม โดยการคัดกรองสามารถทำได้โดยการสอบถามก่อนที่จะถึงวันนัดอย่างน้อย 1 วัน เพื่อลดความเสี่ยงจากการเดินทางของผู้ป่วยมายังสถานพยาบาล โดยดูจากทั้งประวัติ และอาการแสดงของผู้ป่วย

ประวัติ

มีประวัติเดินทางไปยัง หรือมาจากพื้นที่ที่เกิดโรคระบาดหรือไม่
มีประวัติของคนในครอบครัวป่วยเป็น COVID-19 สัมผัสกับผู้ป่วย COVID-19 หรือสารคัดหลั่งจากระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วยโดยไม่ได้ป้องกันอย่างเหมาะสมหรือไม่ ประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว สถานที่แออัด หรือติดต่อกับคนจำนวนมากหรือไม่ มีประวัติไปในสถานที่ชุมชน หรือสถานที่ที่มีการรวมกลุ่มคน เช่น ตลาดนัด ห้างสรรพสินค้า สถานพยาบาล ขนส่งสาธารณะ เป็นบุคคลากรทางการแพทย์ที่ใกล้ชิด/สัมผัสผู้ป่วย COVID-19 หรือไม่ อาการแสดง

อาการ

ไอเจ็บคอน้ำมูกไหล
มีไข้ อุณหภูมิสูงตั้งแต่ 37.5 C
การสูญเสียการได้กลิ่น และการรับรส
ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ
หายใจเหนื่อย/หายใจเร็ว


ในกรณีที่สอบถามประวัติและอาการผู้ป่วย แล้วพบว่ามีความเสี่ยง สามารถเลื่อนนัดทำฟันและดูอาการประมาณ 1 เดือนก่อนได้ ผู้ป่วยสามารถชะลอการรักษา 1-2 เดือนได้โดยไม่กระทบการรักษา

หากลูกค้าท่านใดต้องการนัดทำฟันสามารถติดต่อสอบถามได้ที่

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#คลินิกทันตกรรม #BPDC #ทำฟัน #ทำฟันช่วงโควิด