เทคนิคในการเลือกทันตแพทย์จัดฟัน

เทคนิคในการเลือกทันตแพทย์จัดฟัน

ควรคำนึงถึงปัจจัยหลายประการ เช่น การศึกษา ประสบการณ์ ชื่อเสียง และวิธีการรักษาของทันตแพทย์จัดฟัน คุณอาจต้องการพิจารณาสถานที่และชั่วโมงการฝึก รวมถึงตัวเลือกค่าใช้จ่ายและการชำระเงิน ต่อไปนี้คือขั้นตอนบางส่วนที่คุณสามารถปฏิบัติตามเพื่อเลือกทันตแพทย์จัดฟันได้:

กำหนดความต้องการในการจัดฟันของคุณ: ทำรายการข้อกังวลและเป้าหมายในการจัดฟันของคุณ เช่น การจัดฟันให้ตรง แก้ไขฟันเหยิน หรือปรับปรุงการสบฟันของคุณ วิธีนี้จะช่วยให้คุณพบทันตแพทย์จัดฟันที่มีประสบการณ์ในการรักษาปัญหาเฉพาะเหล่านี้

วิจัยทันตแพทย์จัดฟันในพื้นที่ของคุณ: มองหาทันตแพทย์จัดฟันที่ได้รับการรับรองจากสมาคมทันตแพทย์จัดฟันแห่งอเมริกา (AAO) คุณยังสามารถขอคำแนะนำจากทันตแพทย์ทั่วไปหรือเพื่อนและครอบครัว

กำหนดการให้คำปรึกษา: ติดต่อทันตแพทย์จัดฟันหลายคนและนัดหมายการปรึกษาหารือเพื่อพบพวกเขาด้วยตนเอง นี่เป็นโอกาสที่ดีในการถามคำถามและทำความเข้าใจเกี่ยวกับบุคลิกภาพและวิธีการรักษาของพวกเขา

ประเมินการปฏิบัติ: พิจารณาสถานที่และชั่วโมงของการปฏิบัติ ตลอดจนความเป็นมืออาชีพและความเป็นมิตรของพนักงาน นอกจากนี้ คุณยังอาจต้องการสอบถามเกี่ยวกับประเภทของตัวเลือกการรักษาที่มี เช่น การจัดฟันแบบดั้งเดิมหรือการจัดฟันแบบใส

เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายและตัวเลือกการชำระเงิน: การจัดฟันอาจมีราคาแพง ดังนั้น สิ่งสำคัญคือต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายและตัวเลือกการชำระเงินก่อนตัดสินใจ สอบถามเกี่ยวกับความคุ้มครองของประกันและตัวเลือกทางการเงิน เช่น แผนการชำระเงินหรือส่วนลดสำหรับการชำระเงินล่วงหน้า

ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ คุณจะพบทันตแพทย์จัดฟันที่มีคุณสมบัติเหมาะสม มีประสบการณ์ และเหมาะสมกับความต้องการและงบประมาณของคุณ

วิธีทำความสะอาดการจัดฟัน

สิ่งสำคัญคือต้องรักษาสุขอนามัยช่องปากที่ดีขณะใส่เครื่องมือจัดฟัน เช่น เหล็กจัดฟันหรือเครื่องมือจัดฟัน เพื่อป้องกันฟันผุและโรคเหงือก เคล็ดลับในการทำความสะอาดอุปกรณ์จัดฟันของคุณมีดังนี้

แปรงฟันวันละ 2 ครั้งด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์: ใช้แปรงสีฟันขนนุ่มและแปรงทุกพื้นผิวของฟัน รวมถึงด้านหน้า ด้านหลัง และด้านบน อย่าลืมแปรงไปรอบ ๆ และใต้ลวดและเหล็กจัดฟันของคุณ

ใช้ไหมขัดฟันทุกวัน: ใช้แปรงซอกฟันหรือไหมขัดฟันทำความสะอาดระหว่างฟันและใต้ลวดจัดฟัน

บ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปาก: ใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีฟลูออไรด์เพื่อช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียและทำให้ลมหายใจสดชื่น

ทำความสะอาดเครื่องใช้ของคุณ: ใช้แปรงสีฟันขนนุ่มหรือแปรงอุปกรณ์จัดฟันค่อยๆ ทำความสะอาดเครื่องมือจัดฟันหรือเครื่องมือจัดฟันของคุณ คุณยังสามารถแช่เครื่องมือจัดฟันในสารละลายที่ทันตแพทย์จัดฟันแนะนำเพื่อช่วยขจัดคราบพลัคและแบคทีเรีย

ไปพบทันตแพทย์จัดฟันของคุณเป็นประจำ: ปฏิบัติตามกำหนดเวลาที่ทันตแพทย์จัดฟันแนะนำสำหรับการตรวจสุขภาพและการปรับ ในระหว่างการนัดตรวจเหล่านี้ ทันตแพทย์จัดฟันของคุณจะตรวจสุขภาพฟันและเหงือกของคุณ และทำการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ที่จำเป็น

เมื่อปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้ คุณจะสามารถช่วยรักษาสุขอนามัยช่องปากที่ดี และรักษาสุขภาพฟันและเหงือกให้แข็งแรงขณะใส่เครื่องมือจัดฟัน

สอบถามเพิ่มเติมและตรวจสุขภาพฟัน
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ทันตกรรม #ตรวจสุขภาพฟัน #คลินิกทันตกรรม

อาการร้อนในเกิดขึ้นได้..ก็รักษาได้

อาการร้อนในเกิดขึ้นได้..ก็รักษาได้

“อาการร้อนใน” แผลเล็กๆในช่องปากที่สามารถทำให้เกิดปัญหาใหญ่ๆ  และนำมาซึ่งความรำคาญใจให้กับผู้ที่เป็น ทั้งยังสร้างความเจ็บปวด โดยเฉพาะเวลาแปรงฟันหรือรับประทานอาหาร โดยส่วนใหญ่มักพบบริเวณกระพุ้งแก้ม พื้นช่องปากด้านข้างลิ้นหรือใต้ลิ้น และริมฝีปากด้านใน นอกจากนั้น “ร้อนใน” ยังเป็นเหมือนสัญญาณเตือนภัยว่าร่างกายเริ่มไม่ไหว ให้กลับมาดูแลตัวเอง นอกจากนั้น อาการร้อนใน สามารถเกิดขึ้นได้ไม่เลือกเวลา สิ่งที่สำคัญคือการกลับมาดูที่ต้นเหตุเพื่อจะได้รักษาและป้องกันได้ไม่ให้ลุกลามร้ายแรงต่อไป

ร้อนในมีอาการอย่างไร

ร้อนใน หรือแผลร้อนใน (Aphthous Ulcers) เป็นแผลที่มีขนาดเล็กและตื้น มีสีเหลืองหรือสีขาวล้อมรอบด้วยสีแดง เกิดขึ้นบริเวณเนื้อเยื่ออ่อนในช่องปากหรือที่เหงือก ในบางรายพบบริเวณด้านในริมฝีปาก แก้มหรือลิ้น ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดเวลารับประทานอาหาร แปรงฟัน หรือการพูดคุยทั่วไป

สาเหตุของอาการร้อนใน

อาการร้อนในสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุและหลายปัจจัยกระตุ้นเสริมดังต่อไปนี้

  • บุคคลในครอบครัวมีประวัติของการเป็นแผลร้อนใน ซึ่งอาจเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
  • การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย โดยเฉพาะผู้หญิงในช่วงห่อนหรือระหว่างมีประจำเดือน
  • ความเครียด ความกังวลใจ และการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ
  • การขาดสารอาหารบางชนิด เช่น วิตามินบี 12 กรดโฟลิก และธาตุเหล็ก เป็นต้น และการดื่มน้ำน้อยจนเกินไป
  • การตอบสนองต่อแบคทีเรียภายในช่องปาก หรือเชื้อไวรัส
  • เกิดการบาดเจ็บภายในช่องปาก
  • มีปัญหาเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
  • การแพ้อาหาร
  • มีแผลกดทับหรือเสียดสีจากฟันปลอมที่หลวมเกินไป หรือเหล็กดัดฟันไม่พอดีกับฟัน
  • การกัดกระพุ้งแก้มของตนเอง

อาการร้อนในลักษณะไหนที่ควรไปพบแพทย์

โดยส่วนใหญ่แผลจากอาการร้อนในจะหายไปเองภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่ในกรณีที่อาการรุนแรงขึ้น แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาในแนวทางที่ถูกต้อง ซึ่งอาการดังกล่าว ได้แก่

  • แผลร้อนในที่ใหญ่กว่าปกติ
  • แผลเดิมยังไม่หาย  แต่ก็มีแผลใหม่เกิดขึ้นอีก และมีแผลในช่องปากเกิดขึ้นบ่อยๆ
  • เป็นแผลร้อนในนาน 2 สัปดาห์หรือมากกว่า
  • แผลที่เกิดจากอาการร้อนในลุกลามไปยังบริเวณริมฝีปาก
  • ไม่สามารถรักษาแผลให้ดีขึ้นได้ด้วยตนเอง
  • เป็นแผลร้อนในพร้อมกับมีไข้สูง

การรักษาอาการร้อนใน

อาการร้อนในสามารถรักษาได้ทั้งด้วยตนเองและรักษาตามแนวทางทางการแพทย์ ดังต่อไปนี้

การรักษาด้วยตนเอง

ถึงแม้ว่าอาการร้อนในจะสามารถหายเองได้ แต่จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ป่วยจะต้องรักษาความสะอาดภายในช่องปากควบคู่กันไปด้วย เช่น กลั้วปากด้วยน้ำเกลือที่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยความร้อน,ควรแปรงฟันโดยใช้แปรงที่มีขนอ่อนนุ่ม และใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ เพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียภายในช่องปาก,หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสจัดเพื่อให้แผลหายได้เร็วขึ้น เป็นต้น นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ยาทาเฉพาะที่เพื่อบรรเทาอาการเจ็บแผลร้อนในได้ เช่น ยาไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ (Hydrogen Peroxide)

การรักษาตามแนวทางทางการแพทย์

ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นแผลร้อนในมานานมากกว่า 2 สัปดาห์ และรักษาด้วยตัวเองแล้วแต่อาการไม่ดีขึ้น อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นมาได้ เช่น มีอาการเจ็บและลำบากในการพูดและการรับประทานอาหาร ,มีอาการอ่อนเพลีย,มีไข้ และเกิดการอักเสบของผิวหนังบริเวณข้างเคียง แนะนำไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและทำการรักษาต่อไป โดยส่วนใหญ่แพทย์จะให้ใช้ยาบ้วนปากต้านแบคทีเรีย หรือยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของยาเดกซาเมทาโซน (Dexamethasone) หรือยาลิโดเคน (Lidocaine) เพื่อลดการอักเสบและความเจ็บปวด ไม่เพียงเท่านั้น แพทย์อาจแนะนำให้ใช้ยาประเภทคอร์ติโคสเตอรอยด์ เช่น ยาไตรแอมซิโนโลน (Triamcinolone)ร่วมด้วย

การป้องกันอาการร้อนใน

อาการร้อนใน เป็นภาวะที่เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่สามารถป้องกันได้ เพื่อลดความถี่ในการเกิดแผลร้อนในให้น้อยลงได้ด้วยวิธีการต่อไปนี้

  1. การดูแลสุขภาพอนามัยในช่องปาก
    การดูแลสุขภาพภายในช่องปากด้วยวิธีการที่ถูกต้อง ช่วยลดการเกิดอาการร้อนในภายในช่องปากได้ ดังนี้
  2. แปรงฟันหลังมื้ออาหารเป็นประจำหรือใช้ไหมขัดฟันวันละครั้ง จะทำให้ไม่มีเศษอาหารตกค้างที่อาจกระตุ้นให้เกิดแผลร้อนในขึ้นได้
  3. บ้วนปากด้วยน้ำเกลือปราศจากเชื้อหลังรับประทานอาหารและก่อนนอน โดยให้เลือกน้ำเกลือที่ฆ่าเชื้อด้วยความร้อน ใส ไม่มีสิ่งเจือปน
  4. ควรหลีกเลี่ยงยาสีฟันที่มีส่วนผสมของโซเดียม ลอริล ซัลเฟต
  5. หลีกเลี่ยงการเคี้ยวหมากฝรั่ง
  6. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร
    ให้พยายามเลี่ยงอาหารที่จะทำให้เกิดการระคายเคืองในช่องปาก ไม่ว่าจะเป็นอาหารประเภททอด อาหารรสจัด อาหารรสเปรี้ยวจัดอาหารเค็มจัด หลีกเลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ รับประทานผัก ผลไม้หรืออาหารประเภทธัญพืชมากขึ้น งดดื่มเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ เพราะอาจทำให้แผลในปากที่เป็นอยู่มีอาการรุนแรงขึ้นมาได้

“ร้อนใน” นอกจากจะเป็นอาการที่สร้างความรำคาญใจแบบเจ็บแปลบให้กับผู้ที่เป็นแล้ว ยังอาจเป็นอาการที่แสดงถึงโรคอื่นๆตามมาด้วยโรคซีลิแอ็ก (ลำไส้เล็กทำงานผิดปกติ) โรคโครห์น (ทางเดินอาหารอักเสบอย่างรุนแรง) หรือ โรคโลหิตจาง ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อวินิจฉัยต่อไป และนอกจากนั้น อาการร้อนใน ยังแสดงให้เห็นว่าร่างกายกำลังเหนื่อยล้า  จึงเป็นเวลาที่จะหันกลับมาดูแลตัวเองด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสุขภาพที่ดีและเพื่ออาการร้อนในเหล่านี้จะไม่มารบกวน

สอบถามเพิ่มเติมและตรวจสุขภาพฟัน
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ทันตกรรม #ตรวจสุขภาพฟัน #คลินิกทันตกรรม

รู้จักยาแก้เหงือกอักเสบ

รู้จักยาแก้เหงือกอักเสบ พร้อมวิธีการเลือกใช้อย่างถูกต้อง

“เหงือก” อวัยวะที่ทำงานอยู่เบื้องหลังของระบบภายในช่องปาก ที่ทำให้หน้าที่สำคัญในการยึดเกาะฟันไว้ให้ติดกับกระดูกขากรรไกรและเป็นอวัยวะที่ช่วยรองรับแรงในการบดเคี้ยวอาหาร มีลักษณะเป็นขอบเรียบและเต็มไปด้วยเส้นเลือดมากมาย และแน่นอนว่าถ้ามีอาการผิดปกติที่เหงือก อาการก็จะออกมาอย่างชัดเจนและสังเกตได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นเหงือกบวม หรือเลือดออกตามไรฟัน หรืออาจจะเข้าขั้นสู่การเป็นโรคเหงือกอักเสบเลยก็เป็นได้ โรคเหงือกอักเสบมีที่มาที่ไปอย่างไร และมียาตัวไหนที่สามารถรักษาหรือบรรเทาอาการได้บ้าง เราจะไปเรียนรู้จักโรคนี้ด้วยกันค่ะ

โรคเหงือกอักเสบคืออะไร

โรคเหงือกอักเสบ จะมีลักษณะคือสีของเหงือก ซึ่งแต่เดิมเป็นสีชมพูจะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้มเหมือนสีเลือด มีอาการบวมและมีเลือดออกขณะแปรงฟัน หากปล่อยทิ้งไว้จะกลายเป็นโรคปริทันต์  ซึ่งมีการทำลายกระดูกร่วมด้วย และที่สำคัญอาจทำให้สูญเสียฟันได้

สาเหตุของโรคเหงือกอักเสบ

โรคเหงือกอักเสบมีสาเหตุมาจากการสะสมของเชื้อแบคทีเรียเป็นเวลานานในช่องปาก ซึ่งเกิดจากการที่แปรงฟันไม่สะอาด หรือทำความสะอาดช่องปากได้ไม่สะอาดเพียงพอจนทำให้เกิดแบคทีเรีย และกลายเป็นหินปูนที่เกาะอยู่ตามซอกฟัน และเมื่อหมักหมมเป็นเวลานานเข้าเหงือกก็จะมีการอักเสบและบวมได้ นอกจากนั้น ยังมีปัจจัยอื่นๆที่กระตุ้นให้เกิดโรคเหงือกอักเสบ เช่น ฟันคุดภายในช่องปาก การใส่เครื่องมือจัดฟัน การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด การขาดสารอาหาร การสูบบุหรี่ รวมไปถึงปัจจัยทางพันธุกรรม

ประเภทอาการของเหงือกอักเสบ

เหงือกอักเสบมีหลายอาการให้สังเกตหลักๆดังต่อไปนี้

  • เหงือกบวมแดง อักเสบ
    อาการลักษณะนี้ เหงือกจะเปลี่ยนจากสีชมพูอ่อน กลายเป็นสีแดงเข้มหรือม่วง และมีอาการบวมโตขึ้นเรื่อยๆจนบิดเนื้อฟัน มีอาการเจ็บเมื่อสัมผัส นอกจากนั้นยังมีเลือดออกตามไรฟันหรือฟันผุร่วมด้วย
  • เหงือกบวม เป็นหนอง
    ไม่เพียงเหงือกจะบวมโต แต่ยังมีหนองร่วมด้วย เนื่องจากว่า หากเหงือกมีการอักเสบหรือติดเชื้อ บริเวณขอบเหงือกจะเปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีม่วงและมีความคล้ำเกิดขึ้น เมื่อลองกดดูจะมีหนองไหลออกมา
  • อาการรากฟันอักเสบ
    รากฟันอักเสบเป็นอาการที่เส้นเลือดในโพรงประสาทฟันเกิดการอักเสบ ทำให้เหงือกมีหนองเกิดขึ้น ส่วนสีของฟันก็จะคล้ำขึ้น จะรู้สึกเจ็บและเสียวฟันเมื่อเคี้ยวอาหาร หากปล่อยเอาไว้อาจเกิดอันตรายขึ้นได้ เช่นอาจทำให้เกิดการสูญเสียฟัน เป็นโรคที่เกี่ยวกับเหงือก หรืออาจจะลุกลามกลายเป็นมะเร็งในช่องปากก็เป็นได้

ยาแก้เหงือกอักเสบมีอะไรบ้าง

ยาแก้เหงือกอักเสบ ส่วนใหญ่สามารถหาซื้อได้ไม่ยากนัก ใช้รักษาในกรณีที่อาการไม่รุนแรงมาก แต่ให้อยู่ในการดูแลของเภสัชกร แต่หากอาการหนักหรือมีการปวดฟันร่วมด้วย แนะนำให้ปรึกษาทันตแพทย์  เพื่อป้องกันการใช้ยาผิดประเภทและเพื่อการรักษาที่ตรงจุดและมีประสิทธิภาพ ซึ่งยาที่ใช้ในปัจจุบันมี 5 ประเภทด้วยกัน ดังนี้

  1. ยาพาราเซตามอล(Paracetamol)
    เป็นยาสามัญประจำบ้านขั้นพื้นฐานที่บรรเทาอาการปวดทั่วไปได้ในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง โดยขนาดการใช้ยาจะอยู่ที่ 10 – 15 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ต่อ 1 ครั้ง แต่ทั้งนี้ไม่ควรรับประทานยาเกินขนาดหรือในปริมาณที่มากจนเกินไป เพราะอาจเกิดพิษร้ายแรงต่อตับได้
  • ยาแก้อักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์(Nonsteroidal anti-inflammatory drug) หรือ “NSAIDs”
    ยาแก้อักเสบประเภทนี้มีอยู่หลายชนิด เช่น ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen), พอนสแตน (Ponstan), ไพร็อกซิแคม (Piroxicam) หรือ (Diclofenac) เป็นต้น นำมาใช้บรรเทาอาการปวดที่มีระดับปานกลางไปจนถึงมาก  หากรับประทานมากเกินไป ส่งผลต่อการทำงานของไตและอาจทำให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร
  • ยาเมโทรนิดาโซล(Metronidazole)
    เป็นยาปฏิชีวนะที่สามารถต้านเชื้อแบคทีเรียในร่างกายได้ ในกรณีที่มีอาการปวดฟัน เหงือกบวม หรือเหงือกอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ทันตแพทย์จะแนะนำให้รับประทานยาชนิดนี้เพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรียโดยตรง แต่อย่างไรก็ตาม ยาเมโทรนิดาโซลอาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร ควรรับประทานตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • ยาเบนโซเคน(Benzocaine)
    เป็นยาชาเฉพาะที่ที่สามารถนำมาใช้บรรเทาอาการเจ็บปวดต่างๆได้ ไม่ว่าจะเป็น อาการปวดแผลในปาก ปวดฟัน ปวดเหงือก หรืออาการปวดหูชั้นกลาง เป้นต้น แต่จัดเป็นยาที่มีผลข้างเคียงที่ค่อนข้างอันตราย ไม่แนะนำให้ซื้อมาใช้เอง แนะนำให้ปรึกษาเภสัชกรหรือทันตแพทย์เท่านั้น
  • ยาในกลุ่มต้านเชื้อแบคทีเรียหรือแก้อักเสบ
    ในกรณีที่มีหนองร่วมด้วย นั่นคือสัญญาณที่ชี้ให้เห็นว่าการติดเชื้อแบคทีเรีย ทันตแพทย์จะจ่ายยาเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียในช่องปากด้วย เช่น อะม็อกซีซิลลิน (Amoxicillin), เพนนิซิลิน (Penicillin), เตตร้าซัยคลิน (Tetracyclines) หรือเลโวฟล็อกซาซิน (Levofloxacin) เป็นต้น

การรับประทานยาทุกชนิดมีความเสี่ยง เช่นเดียวกับการใช้ยาสำหรับช่องปากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการรักษาเหงือกอักเสบ ไม่แนะนำให้ซื้อยามารักษาด้วยตัวเอง เพราะนอกจากจะก่อให้เกิดอันตรายแล้วยังอาจทำให้เชื้อแบคทีเรียดื้อยาได้อีกด้วย ไม่เพียงเท่านั้นยังเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ต่อผู้ใช้เช่นกัน

สอบถามเพิ่มเติมและตรวจสุขภาพฟัน
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ทันตกรรม #ตรวจสุขภาพฟัน #คลินิกทันตกรรม

จัดฟันต้องทานอาหารแบบไหน

จัดฟันต้องทานอาหารแบบไหน

หากจัดฟันทั้งที ต้องทานอาหารแบบไหน ถึงจะไม่ติดเหล็กดัด

เคยไหมที่จัดฟันแล้วรู้สึกอยากทานนั่นนี่ และเห็นเมนูที่ชื่นชอบแล้วน้ำลายสอตามมา แต่พอทานแล้วสัมผัสได้ถึงอุปสรรคที่เข้ามา โดยเฉพาะเศษอาหารเข้าตามเหล็กจัดฟัน จนต้องทำความสะอาดที่ยุ่งยากกว่าเดิมอีก การเลือกอาหารที่เหมาะสมต่อกลุ่มคนที่จัดฟัน ถือว่าสำคัญมาก เพราะการจัดฟัน จะต้องสรรหาอาหารสำหรับคนจัดฟันเช่นเดียวกับการปรับตัวอื่นๆ ในชีวิต ในช่วงสองสามวันแรกนั้นยากที่สุด การได้รับการติดตั้งเครื่องมือจัดฟัน หมายความว่าช่องปากและฟันช่วงนี้จะไวต่อความรู้สึกในวันหลังได้รับการติดตั้งครั้งแรก ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมต้องทานอาหารประเภทอ่อนๆ จึงดีที่สุดในช่วงเริ่มต้น

บางทีมันยากที่จะกินให้ถนัดในวันแรก ไม่เพียงแต่ฟันและเหงือกเจ็บตามมา แต่ยังกระทบกระทั่งในช่องปาก ที่อาจจะทำให้ความรู้สึกบางอย่างเปลี่ยนไป มันอาจจะยากที่จะกินอาหารที่ชอบ ในบทความนี้จะมาแนะนำอาหารสำหรับคนจัดฟันสามารถทานได้ โดยถูกหลักโภชนาการ และปลอดภัยต่อสุขภาพฟันในช่วงจัดฟัน จะต้องเลือกที่ไม่บั่นทอนต่อสุขภาพฟัน จะมีเมนูอะไรบ้าง ซึ่งจะขอแนะนำได้ดังนี้ว่ามีอะไรบ้าง

  1. โยเกิร์ต : โยเกิร์ตเป็นอาหารอ่อนๆ ที่บรรจุโปรตีนแสนอร่อย ซึ่งสามารถรับประทานได้เมื่อจัดฟันครั้งแรก โยเกิร์ตช่วยบรรเทาอาการเจ็บฟัน เต็มไปด้วยโปรตีน แคลเซียม และวิตามิน B6 และ B12 นอกจากนี้ โยเกิร์ตบางชนิดยังมีโปรไบโอติก ซึ่งเป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่ดี โดยรวมแล้ว โยเกิร์ตนั้นดีสำหรับฟันและกระดูกที่แข็งแรง และเหมาะสำหรับการย่อยอาหารขอแนะนำว่าทานโยเกิร์ตไขมันต่ำเพื่อรักษาสมดุลของอาหาร แต่ต้องระวังหลายๆ ยี่ห้อเพิ่มปริมาณน้ำตาลเพื่อให้โยเกิร์ตไขมันต่ำมีรสชาติที่ดีขึ้น
  2. ซุป : เป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ หากนึกภาพคุณแม่ได้เตรียมซุปที่มีคุณค่าทางโภชนาการสำหรับเด็กและวัยรุ่นที่ไม่สบายใจมาเป็นเวลานาน แต่ซุปอุ่นๆ เป็นอาหารสำหรับคนจัดฟันครั้งแรก ซุปทำง่ายมากและเป็นอาหารอ่อน แม้แต่ซุปกระป๋องก็อุ่นได้ หากใครชอบทานก๋วยเตี๋ยวทานได้เลย
  3. มันเทศ หรือมันฝรั่งหวานนึ่งสุก : คุณค่าทางโภชนาการของมันฝรั่งหวานเป็นที่รู้จักกันดี เป็นอาหารอเนกประสงค์และนิ่มมากที่สามารถกินได้ทั้งที่ใส่เหล็กจัดฟัน สามารถเตรียมได้หลายวิธี ทั้งอบ นึ่ง ทอด หรือผัด มันฝรั่งหวานมีรสหวานแป้งและแสนอร่อย
  4. ปลา : เนื่องด้วยปลาที่เป็นขุยมีไขมันต่ำและเต็มไปด้วยโปรตีน ปลายังมีกรดไขมันโอเมก้า 3 ในปริมาณสูงอีกด้วย โอเมก้า 3 นั้นยอดเยี่ยมสำหรับความสามารถในการต้านการอักเสบ ในฐานะที่เป็นสารต้านการอักเสบตามธรรมชาติ โอเมก้า 3 ที่พบในปลาสามารถลดสัญญาณของการอักเสบ รวมทั้งความเจ็บปวด บวม แดง หลังจากติดตั้งอุปกรณ์ได้
  5. ผลไม้ : ผลไม้จัดว่าเป็นอาหารสำหรับคนจัดฟัน และผลไม้หลายชนิดเป็นอาหารอ่อนที่สมบูรณ์แบบเมื่อจัดฟันครั้งแรก หากเริ่มจัดฟันในช่วงฤดูร้อน ผลไม้หลายชนิดจะมีความหวานสูงสุด ผลไม้ที่เติมวิตามินซีมีความสำคัญต่อสุขภาพช่องปากโดยรวม และสามารถลดปัญหาเหงือกได้
  6. Smoothie : สมูทตี้เป็นหนึ่งในอาหารสำหรับคนจัดฟันที่ดีที่สุดในขณะที่ติดตั้งเครื่องมือครั้งแรก เนื่องจากสามารถทำสมูทตี้ด้วยส่วนผสมต่างๆ ได้ สามารถเพิ่มผลไม้ ผัก และน้ำผลไม้ต่างๆ เพื่อปรับแต่งเนื้อสัมผัสและรสชาติได้ ในขณะเดียวกันก็รักษาอาหารให้อ่อนนุ่มสำหรับการจัดฟัน
  7. Protein Shake : โปรตีนเชคไม่ได้มีไว้สำหรับนักเพาะกายและนักกีฬาเท่านั้น โปรตีนเชคเป็นสารอาหารที่สมดุล สามารถทำหน้าที่เป็นอาหารทดแทนเมื่อต้องการอาหารระหว่างเดินทาง และไม่สะสมเศษอาหารตามร่องฟัน และสร้างโปรตีนต่อเหงือกดีขึ้น
  8. ข้าวโอ๊ต : ข้าวโอ๊ตมีเนื้อสัมผัสที่เป็นเอกลักษณ์และอุ่นพอที่จะบรรเทาอาการเมื่อยขณะขยับปาก ข้าวโอ๊ตเป็นหนึ่งในอาหารที่อุดมด้วยสารอาหารมากที่สุดในโลก อุดมไปด้วยเส้นใยอาหารที่มีประโยชน์ต่อหัวใจ เช่น เบต้ากลูแคน ประโยชน์ของหัวใจเหล่านี้มีผลอย่างกว้างขวางและข้าวโอ๊ตสามารถลดคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีในกระแสเลือดและลดโอกาสของโรคหัวใจได้

เป็นไงบ้างสำหรับอาหารสำหรับคนจัดฟันที่สามารถทานได้ ให้คุณค่าทางโภชนาการที่ดี ทั้งต่อสุขภาพฟันโดยตรงและสุขภาพอื่นๆ ทางอ้อม ช่วงที่จัดฟันนั้น จะเป็นช่วงที่ต้องปรับตัวจากสิ่งที่ชอบ เมื่อมีเมนูที่ชอบแต่ยังเจ็บอยู่นั้น ให้อดใจไว้ก่อน อย่าเพิ่งทานอาหารที่เหนียวๆ หนืดๆ หรือแสลงต่อการจัดฟันโดยตรง เช่น ทอฟฟี่ หมากฝรั่ง หรือลูกอม ซึ่งจะทำลายต่อผิวฟัน และอุปกรณ์การจัดฟันเข้ามาด้วย การเลือกทานอาหารก็ยังช่วยให้สุขภาพช่องปากดีในระยะยาวอีกด้วย

สอบถามเพิ่มเติมและตรวจสุขภาพฟัน
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ทันตกรรม #ตรวจสุขภาพฟัน #คลินิกทันตกรรม