รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับรีเทนเนอร์

รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับรีเทนเนอร์ ไขทุกข้อสงสัยของคนจัดฟัน

รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับรีเทนเนอร์ ไขทุกข้อสงสัยของคนจัดฟัน

ใครว่าความลำบากของคนจัดฟันจะอยู่แค่ที่ช่วงเวลาของการจัดฟัน ที่ต้องใช้เครื่องมือจัดฟันที่แสนจะทรมานและใช้ชีวิตยากลำบาก เพราะเมื่อจัดฟันเสร็จแล้ว ความลำบากก็ยังไม่หมด เพราะยังต้องใส่ “รีเทนเนอร์” อุปกรณ์ประจำตัวที่คนจัดฟันเสร็จแล้วทุกคนต้องใส่แบบสม่ำเสมอ ซึ่งหลายคก็อาจจะมีคำถามมากมายเกี่ยวกับการใส่รีเทนเนอร์ หรือคนที่กำลังจะจัดฟันเสร็จ ต้องเตรียมตัวเลือกรีเทนเนอร์ เรารวบรวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับรีเทนเนอร์เอาไว้ที่นี่แล้ว

รีเทนเนอร์มีกี่ประเภท และควรเลือกแบบไหนดี?

สำหรับคนที่กำลังจะจัดฟันเสร็จ ก็คงมีแพลนเตรียมตัวที่จะต้องเลือกรีเทนเนอร์เอาไว้หลังจากนี้ ซึ่งก็ต้องมาเรียนรู้และทำความเข้าใจกันก่อนว่ารีเทนเนอร์ที่ใช้กันโดยทั่วไปแล้วจะมี 4 ประเภท ได้แก่

  1. รีเทนเนอร์แบบลวด

รีเทนเนอร์แบบลวดเป็นรีเทนเนอร์ที่คนส่วนใหญ่นิยมใช้กัน มีลักษณะเป็นอะคริลิคพร้อมโครงลวดอาจจะมีสีพื้นหรือลวดลายต่าง ๆ โดยจะมีส่วนที่ใช้ยึดกับฟันที่เป็นเส้นลวด แล้วจึงมีอะคริลิคครอบทับอีกที
ข้อดี : ทำความสะอาดได้ มีอายุการใช้งานที่ยาวนานประมาณ 2-3 ปี จึงสามารถที่จะคงสภาพฟันและการสบฟันได้เป็นอย่างดี หากมีปัญหา สามารถปรับแต่งได้ง่ายอีกด้วย อีกทั้งสีสันสวยงาม เลือกได้ตามใจชอบ
ข้อเสีย : สามารถมองเห็นได้ชัดเจน เลยไม่สวยงามเท่าที่ควร มีขนาดใหญ่ ดูเทอะทะ ซึ่งหากใครที่ใส่รีเทนเนอร์ประเภทนี้ส่วนใหญ่จะมีปัญหาเรื่องการออกเสียง พูดไม่ชัดบ้าง

  • รีเทนเนอร์แบบใส

รีเทนเนอร์แบบใส ก็เป็นรีเทนเนอร์อีกประเภทที่เป็นที่นิยมไม่แพ้กัน จะมีลักษณะเป็นแผ่นพลาสติกใส ที่จะล้อมฟันของเราเอาไว้ทั้งหมด ทั้งด้านนอกและด้านใน แต่จะไม่ครอบไปทั้งเพดานเหมือนแบบแรก มีความหนาไม่มาก จึงสามารถใส่ได้แบบสบาย ๆ
ข้อดี : ให้ความสวยงาม ความมั่นใจ ยิ้มแล้วไม่เห็นลวดเหมือนแบบแรก หมดปัญหาการออกเสียงไม่ชัด
ข้อเสีย : ทำความสะอาดได้ยาก อายุการใช้งานสั้นกว่าแบบลวดอยู่ที่ประมาณ ครึ่งปี – 1.5 ปี แตกหักหรือ
สึกหรอได้ง่ายในผู้ที่มีการนอนกัดฟัน และไม่สามารถคงสภาพฟันได้ดีเมื่อตัวรีเทนเนอร์เกิดการสึกหรอ

  • รีเทนเนอร์แบบติดแน่น

รีเทนเนอร์ประเภทนี้พบได้น้อยแต่ก็ยังมีบางคนใช้บ้าง จะเป็นรีเทนเนอร์ที่มีลักษณะลวดเส้นเดียวยึดติดกับด้านในของฟัน มักใช้ในกรณีที่ฟันมีแนวโน้มที่จะเคลื่อนที่กลับมาได้ง่าย หรือใช้ยึดฟันสำหรับใส่ฟันปลอมในอนาคต
ข้อดี : สะดวกสบาย ไม่ต้องถอดเข้าถอดออก ป้องกันฟันล้มได้ดีมาก
ข้อเสีย : ทำความสะอาดได้ยากเพราะอยู่ด้านใน มีโอกาสหลุดได้ง่าย และต้องหมั่นไปพบทันตแพทย์เพื่อเช็คสภาพทุก 6 เดือน

  • รีเทนเนอร์แบบเหล็ก (ใส่กินข้าวได้)

ประเภทสุดท้ายเป็นรีเทนเนอร์แบบเหล็ก ที่จะช่วยให้จบปัญหารีเทนเนอร์หายได้อย่างดีเยี่ยม เพราะไม่ต้องถอดลืมหาย เหมาะมากสำหรับใครที่ขี้ลืม
ข้อดี : ใส่กินอาหารได้เลย ไม่ต้องคอยถอดเก็บ
ข้อเสีย : มีเวลาตอนกัดฟัน เมื่อฟันบนกับฟันล่างมาประกบกันสุดแล้ว อาจจะชนลวด ส่งผลกระทบกับตัวฟัน มีเจ็บฟันแน่นอน

เราควรเลือกรีเทนเนอร์แบบไหนดี?

คุณจะต้องตอบตัวเองให้ได้ว่ากโอเคกับการใช้ชีวิตแบบไหน เช่น เลือกแบบลวด หากโอเคที่ยิ้มแล้วจะเห็นลวด เลือกแบบใส ใส่แล้วยิ้มสวย ไม่เห็นลวด แต่ต้องไปพบทันตแพทย์บ่อย ๆ

ทำไมจัดฟันเสร็จแล้วต้องใส่รีเทนเนอร์ จำเป็นขนาดไหน?

บางคนเข้าจ่าพอจัดฟันเสร็จแล้วก็จะสบาย นั่นเป็นความคิดที่ผิดค่ะ เพราะเมื่อจัดฟันเสร็จแล้ว คุณก็ยังต้องใส่รีเทนเนอร์เพื่อช่วยคงสภาพฟันไม่ให้เคลื่อน หากไม่ใส่รีเทนเนอร์หลังจัดฟัน ก็อาจทำให้ฟันล้ม แนวฟันบิดเบี้ยว หรือกลับกลายเป็นสภาพช่วงก่อนจัด

เราควรใส่รีเทนเนอร์นานแค่ไหน?

สำหรับระยะเวลาที่ควรใส่รีเทนเนอร์นั้นจะมากหรือน้อย ไม่สามารถระบุหรือฟันธงลงไปได้เลย ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและสภาพฟันของแต่ละบุคคลด้วย แต่ส่วนใหญ่แล้ว จะเน้นช่วงแรก ๆ หลังจัดฟันเสร็จว่าควรใส่รีเทนเนอร์ทุกวัน เพราะสภาพกระดูกและเหงือกหุ้มฟันต้องใช้เวลาในการปรับสภาพให้เข้ากับตำแหน่งใหม่ หลังจากนั้นทันตแพทย์จะแนะนำช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับแต่ละบุคคล

เมื่อไหร่ถึงเวลาที่ควรเปลี่ยนรีเทนเนอร์ใหม่?

โดยมากแล้วคนที่จะเปลี่ยนรีเทนเนอร์ใหม่คือจะพบปัญหาต่าง ๆ เช่น รีเทนเนอร์หาย ถอดและลืม, รีเทนเนอร์แตกหัก, ฟันเคลื่อนจนใส่ไม่พอดีจากการใส่รีเทนเนอร์ไม่สม่ำเสมอ

ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องน่ารู้ที่คนจัดฟันสงสัยกันมาก เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว อย่าลืมที่จะเลือกรีเทนเนอร์ที่เหมาะสมกับการใช้งานและใส่รีเทนเนอร์กันเป็นประจำด้วยนะคะ

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายจัดฟัน
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ทำรีเทนเนอร์ #จัดฟัน

เคล็ด(ไม่)ลับ-รักษาแผลร้อนในที่เหงือก-ให้หายเร็ว

เคล็ด(ไม่)ลับ รักษาแผลร้อนในที่เหงือก ให้หายเร็ว

เคล็ด(ไม่)ลับ รักษาแผลร้อนในที่เหงือก ให้หายเร็ว

เคยเป็นกันไหมคะ แผลร้อนใน ซึ่งเป็นที่ปากหรือกระพุ้งแก้มยังไม่เท่าไร แต่เมื่อไรที่เป็นแผลร้อนในที่เหงือกนี่สิ เจ็บจนน้ำตาไหลเลยค่ะ โดยเฉพาะเวลาที่กินอาหารรสจัด มันแสบซี้ดเกินจะบรรยาย ซึ่งหลายคนก็มีแผลร้อนในเกิดขึ้นบ่อยมาก แต่ในขณะที่บางคนก็แทบไม่เคยเป็นเลย วันนี้เราจึงมีเคล็ด(ไม่)ลับดี ๆ มาฝากกัน ที่รับรองเลยว่าใครที่ทดลองวิธีที่แนะนำ แผลหายเร็วแน่นอน

แผลร้อนในเป็นอย่างไร

แผลร้อนในเป็นแผลขนาดเล็กและตื้น มีสีเหลืองหรือขาวล้อมรอบด้วยสีแดง เกิดขึ้นที่เนื้อเยื่ออ่อนในช่องปากหรือเหงือก บางรายก็พบว่าเกิดขึ้นบริเวณด้านในริมฝีปาก แก้มหรือลิ้น เป็นแผล ทำให้เจ็บ และทำให้กินอาหารหรือพูดคุยได้ลำบาก ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงและจำนวนแผลด้วยค่ะ

สาเหตุของแผลร้อนในที่เหงือก

  • เชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียในช่องปาก
  • ภาวะภูมิคุ้มกันผิดปกติ หรือที่เราเรียกว่าโรคภูมิแพ้ตัวเอง
  • การขาดสารอาหารหรือวิตามินบางชนิด เช่น วิตามินบี 12 วิตามินซี ธาตุเหล็ก
  • การพักผ่อนไม่เพียงพอหรือมีภาวะเครียด
  • การเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนในช่วงก่อนหรือช่วงมีประจำเดือน
  • การกินอาหารเผ็ดร้อนหรือของทอดมากเกินไป
  • เกิดการเสียดสีหรือกระแทกที่เหงือกจนเป็นแผลและกลายมาเป็นแผลร้อนใน
  • การใช้ยาสีฟันหรือน้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของโซเดียมรอริลซัลเฟต
  • การกินของร้อนมากเกินไป

อาการแผลร้อนในที่เหงือก

อาการแผลร้อนในที่เหงือกไม่ต่างจากแผลร้อนในทั่วไปเลยค่ะ จะเป็นแผลแดงและเจ็บ ต่อมาบริเวณแผลจะกลายมาเป็นสีเหลืองหรือขาวเป็นวงกลมหรือรี บวมแดงและมีอาการเจ็บที่แผล บางรายอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ต่อมน้ำเหลืองบวม เป็นไข้ หรือรู้สึกไม่สบายได้อีกด้วย

อาการแผลร้อนในที่เหงือกแบบไหนควรต้องรีบไปพบแพทย์

  • มีแผลร้อนในใหญ่กว่าปกติ
  • แผลเดิมก็ยังอยู่ แต่เกิดแผลใหม่ขึ้น และพบว่าเป็นแผลร้อนในอยู่บ่อย ๆ
  • เป็นแผลร้อนในที่เหงือกนานกว่า 2 สัปดาห์
  • เป็นแผลร้อนในที่มาพร้อมกับมีไข้สูง
  • เป็นแผลที่ลุกลามไปยังบริเวณริมฝีปาก

การรักษาแผลร้อนในที่เหงือกด้วยตัวเองทำอย่างไร

  • ใช้น้ำผสมเกลือเพื่อกลั้วปากเช้า-เย็น
  • ทายาในบริเวณที่เป็นแผล เช่น Triamcinolone เป็นยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์
  • พยายามดื่มน้ำระหว่างวันให้มาก ๆ
  • งดอาหารรสเผ็ดหรือเปรี้ยวไปก่อน รอให้แผลหายดีจึงจะกินได้
  • ใช้แผ่นแปะแก้ร้อนใน ช่วยให้แผลการสัมผัสน้ำลาย ฟัน หรืออาหารน้อยลง และมีตัวยาที่ช่วยรักษาแผล
  • พยายามฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย โดยการพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังอย่างพอเหมาะ และลดความเครียดฃ

แผลร้อนในที่เหงือกป้องกันได้หรือไม่

หากแผลร้อนในสามารถรักษาหายได้ ก็สามารถป้องกันได้เช่นกันค่ะ ซึ่งวิธีป้องกันนั้นก็ง่าย ๆ ไม่แพ้กับการรักษาด้วยตัวเอง ซึ่งทำได้ดังนี้

  • ดูแลรักษาความสะอาดสุขภาพช่องปากให้ดี เพื่อลดการสะสมของแบคทีเรีย
  • ไม่ใช้แปรงสีฟันที่ขนแปรงแข็งเกินไป เพื่อนั่นจะทำให้เหงือกเกิดบาดแผลได้ง่ายและนำไปสู่การเกิดแผลร้อนในที่เหงือก
  • ใช้น้ำยาบ้วนปากเพื่อลดแบคทีเรีย
  • หลีกเลี่ยงการกินอาหารทอดหรืออาหารรสจัดมาก ๆ
  • ออกกำลังกายเพื่อช่วยสร้างภูมิคุ้มกันและยังลดความเครียดได้ด้วย

เห็นไหมล่ะคะ ว่าการดูแลรักษาแผลร้อนในที่เหงือกไม่ได้ยากเกินไปเลย ซึ่งก็เป็นเรื่องที่เราควรต้องดูแลตัวเองเป็นปกติอยู่แล้ว แต่หากเมื่อไรที่เราขาดความเอาใจใส่ บอกได้เลยว่าแผลร้อนในพร้อมจะกลับมาหาเราได้ทุกเมื่อจริง ๆ

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายตรวจสุขภาพฟัน
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ตรวจสุขภาพฟัน #แผลร้อนใน

ทำฟันเด็กยุคใหม่ ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

ทำฟันเด็กยุคใหม่ ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด พร้อมเคล็ดลับดูแลสุขภาพฟันเด็ก

ทำฟันเด็กยุคใหม่ ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด พร้อมเคล็ดลับดูแลสุขภาพฟันเด็ก

นอกจากการตัดผมแล้ว สิ่งที่เด็กกลัวมากที่สุดก็คือการไปหาหมอฟัน เรียกว่าปราบเซียนคุณพ่อคุณแม่ในหลาย ๆ บ้านก็ว่าได้ แต่เดี๋ยวนี้เทคโนโลยีและทักษะของทันตแพทย์ก็ทำให้การทำฟันเด็กไม่น่ากลัวอย่างที่คิดแล้วค่ะ เพราะฉะนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรเริ่มดูแลรักษาฟันของลูกตั้งแต่ช่วงวัยเด็ก เพื่อเป็นรากฐานที่ดีในการดูแลฟันเมื่อโตขึ้น เราจะมาดูกันว่าทำฟันเด็กในยุคนี้มีอะไรบ้าง พร้อมแนะการดูแลสุขภาพฟันเด็กมาฝากกัน

รู้หรือไม่ว่าการทำฟันเด็กจัดว่าเป็นทันตกรรมเฉพาะทาง

ขึ้นชื่อว่าเด็กก็เป็นอะไรที่ทันตแพทย์หลายคนขยาดไม่แพ้กับเด็กที่กลัวหมอฟันเลยค่ะ ทันตกรรมสำหรับเด็ก (Pedodotics) คือ การดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กตั้งแต่ขวบแรกหรือไม่เกิน 6 เดือนหลังจากที่เห็นฟันน้ำนมซี่แรกขึ้นจนถึง 12 ปี ทั้งการรักษาและป้องกันโรคในช่องปาก ส่วนสาเหตุที่การทำฟันเป็นทันตกรรมเฉพาะทาง เนื่องจากเด็กยังมีระบบฟันที่ยังไม่สมบูรณ์แข็งแรงแตกต่างจากผู้ใหญ่ จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ทั้งยังมีโอกาสฟันผุมากกว่าผู้ใหญ่เนื่องจากนิสัยการกินของเด็กโดยทั่วไปมีความเสี่ยงมากกว่า โดยมากทันตแพทย์จะเน้นไปที่การป้องกันฟันผุ ผ่านการประเมินความเสี่ยงเกี่ยวกับอาการฟันผุรายบุคคล ซึ่งจะให้คำแนะนำวิธีป้องกันที่เหมาะสมกับเด็กในแต่ละคน รวมไปถึงความสะอาดในช่องปากที่สามารถเริ่มได้จากที่บ้าน การใช้ฟลูออไรด์ การเคลือบหลุมร่องฟันเพื่อป้องกันไม่ให้เด็กเคี้ยวผิวฟัน ฯลฯ ซึ่งล้วนแต่เป็นการรักษาเชิงป้องกัน

เป้าหมายสำหรับการทำฟันเด็ก คือการปกป้องฟันให้แข็งแรงและมีรอยยิ้มที่สดใสอยู่เสมอ โดยการทำฟันเด็กหลัก ๆ มีด้วยกัน 3 อย่าง ได้แก่

  1. ทันตกรรมเชิงป้องกัน เช่น ตรวจฟันผุ รักษาด้วยฟลูออไรด์ เคลือบหลุมร่องฟัน
  2. ทันตกรรมฟื้นฟู เช่น อุดฟัน ใส่ครอบฟัน
  3. การเติบโตและพัฒนาการของฟัน เช่น การกัดฟัน การสบฟัน ฟันซ้อน ฟันเก

การดูแลสุขภาพฟันเด็ก

สิ่งสำคัญที่จะช่วยปกป้องฟันของเด็ก ๆ ได้ คือคุณพ่อคุณแม่จะต้องดูแลสุขภาพช่องปากและฟันของเด็กอย่างถูกต้องตั้งแต่เด็กเป็นการลงทุนในสุขภาพที่สามารถปันผลให้ได้ตลอดชีวิต โดยสามารถปฏิบัติได้ดังนี้

  1. ทำตัวให้เป็นแบบอย่างที่ดีในการดูแลสุขภาพฟันของตัวเอง

การดูแลสุขภาพปากและฟันของคุณเองอย่างดีเพื่อที่จะแสดงให้เด็กเห็นว่าสุขภาพปากและฟันเป็นสิ่งที่มีค่า นอกจากนี้ อะไรก็ตามที่ช่วยให้เด็กรู้สึกว่าการดูแลสุขภาพปากและฟันเป็นเรื่องสนุก เช่น การแปรงฟันไปกับลูกของคุณ การให้เด็กเลือกแปรงสีฟันด้วยตนเอง ก็จะช่วยให้สนับสนุนการดูแลสุขภาพปากและฟันอย่างเหมาะสมกับเด็กได้

  1. สอนวิธีการแปรงฟันอย่างถูกวิธีให้กับเด็ก

แปรงฟันวันละ 2 ครั้งด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ที่ผ่านการรับรองจาก ADA เพื่อกำจัดคราบแบคทีเรียที่ทำให้เกิดฟันผุ โดยใช้การแปรงแห้ง โดยไม่บ้วนปากหรือบ้วนเพียงน้ำเดียว และแปรงให้นานเพียงพอด้วยยาสีฟันฟลูออไรด์และขนแปรงที่อ่อนนุ่ม แปรงทีละซี่ขึ้นลงเบา ๆ โดยคุณพ่อคุณแม่ควรช่วยแปรงซ้ำในบริเวณที่เด็กแปรงไม่ถึง และต้องไม่ลืมที่จะแปรงลิ้นของเด็กด้วย

  1. ใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ

นอกจากการแปรงฟันแล้ว สิ่งสำคัญคุณพ่อคุณแม่ควรใช้ไหมขัดฟันให้เด็กเป็นประจำตั้งแต่อายุ 4 ขวบขึ้นไป โดยเด็กส่วนใหญ่จะทำได้เองตอนอายุ 8 ขวบ เพื่อกำจัดคราบแบคทีเรียตามซอกฟันและร่องเหงือก ก่อนที่จะจับตัวแข็งเป็นหินปูน เพราะเมื่อหินปูนก่อตัว ต้องใช้การทำความสะอาดโดยผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

  1. รับประทานอาหารที่ถูกสัดส่วน

ควรจำกัดปริมาณแป้งและน้ำตาลซึ่งจะสร้างกรดแบคทีเรียที่ทำให้เกิดฟันผุ เมื่อต้องรับประมานอาหารเหล่านั้น ควรรับประทานไปกับมื้ออาหารหลัก แทนที่จะเป็นอาหารว่าง เนื่องจากน้ำลายที่ถูกผลิตออกมาในปริมาณมากช่วงมื้ออาหารจะช่วยขจัดคราบอาหารออกจากปากได้

  1. พาเด็กไปพบทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอ

ควรพาเด็กไปพบทันตแพทย์ทุก ๆ 6 เดือน เพื่อตรวจประเมินฟันผุ ทำความสะอาดฟัน และเคลือบฟลูออไรด์

นอกจากการเอาใจใส่จากคุณพ่อคุณแม่แล้ว สิ่งสำคัญคือคุณพ่อคุณแม่จะต้องช่วยให้เด็กเห็นความสำคัญต่อการดูแลฟันของตัวเองเพื่อเป็นรากฐานการดูแลที่ดีเมื่อโตขึ้น

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายทำฟันเด็ก
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ทำฟันเด็ก #ทันตกรรมเด็ก

รากฟันเทียม 2022

รากฟันเทียม กับเทคโนโลยีทันตกรรมในปี 2022

รากฟันเทียม กับเทคโนโลยีทันตกรรมในปี 2022

ถ้าเลือกได้ คงไม่มีใครอยากจะสูญเสียฟัน ปัญหาสุขภาพเป็นเรื่องพบได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะในวัยผู้ใหญ่ ที่หลายครั้งสุขภาพช่องปากก็รับภาระหนัก จนทำเอาเจ้าของฟันถึงกับถอดฟัน อยากจะตัดปัญหาด้วยการถอนฟันซี่ที่มีปัญหานั้นทิ้งเสีย แต่ในปี 2022 เช่นนี้ เทคโนโลยีทันตกรรมก็ก้าวหน้าไปมาก โดยเฉพาะเกี่ยวกับรากฟันเทียม ที่เดี๋ยวนี้มี “รากฟันเทียมระบบดิจิทัล” เราจะไปทำความรู้จักเจ้าสิ่งนี้กันค่ะ

รากฟันเทียมคืออะไร

รากฟันเทียม หรือรากเทียม คือ วัสดุที่มีรูปร่างคล้ายรากฟันทำจากไททาเนียมซึ่งเป็นวัสดุที่เข้ากับร่างกายมนุษย์ได้ดี ใช้สำหรับฝังลงไปในกระดูกขากรรไกรเพื่อช่วยในการทำฟันเทียมแบบติดแน่น และแบบถอดได้ ปัจจุบันการใส่รากฟันเทียมถือว่าเป็นวิธีการใส่ฟันที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง

ข้อดีของการทำรากฟันเทียม

  • ฟันเทียมที่ดูเป็นธรรมชาติ และใช้งานได้ใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติมากที่สุด
  • ไม่ต้องกรอแต่งฟันข้างเคียง
  • ป้องกันการสูญเสียฟัน และกระดูกข้างเคียง
  • ให้ความสวยงาม เป็นธรรมชาติมากที่สุด และสามารถบดเคี้ยวได้ตามปกติ

ทำความรู้จักรากฟันเทียมระบบดิจิทัล

รากฟันเทียมระบบดิจิทัล (Computer Guided Implant Surgery) เป็นการวางแผนการฝังรากฟันเทียมแบบระบบดิจิทัลด้วยการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ร่วมกับเทคโนโลยีทางภาพถ่ายรังสีแบบ 3 มิติ (3D Dental CT Scan) เพื่อช่วยในการวางแผนรักษาและกำหนดตำแหน่งฝังรากฟันเทียมที่เหมาะสมที่สุด ภาพถ่ายรังสีแบบ 3มิตินี้ ยังช่วยให้ทันตแพทย์สามารถเลือกขนาดรากฟันเทียมได้สอดคล้องกับตำแหน่งฟันที่จะใส่ทดแทน

โดยเทคโนโลยีตัวนี้จะหาตำแหน่งและขนาดของรากฟันเทียมที่เหมาะสมที่สุด โดยจะไม่กระทบกับอวัยวะสำคัญภายในช่องปากของคนไข้ที่อาจทำให้เกิดอันตรายได้ เช่น เส้นประสาท, หรือ โพรงอากาศข้างแก้ม ซึ่งการทำเอ็กซเรย์แบบ 3 มิตินั้น จะทำให้สามารถมองเห็นโครงสร้างภายในช่องปากได้อย่างครบถ้วนและชัดเจน เมื่อเราได้ภาพภาพ 3 มิติของตำแหน่งของรากฟันเทียมมาแล้ว ก็จะนำไปพิมพ์เป็นอุปกรณ์กำหนดตำแหน่งสำหรับการฝังรากฟันเทียม ซึ่งจะเอาไปใช้ในขั้นตอนการผ่าตัดต่อไป

ความแตกต่างระหว่างการฝังรากฟันเทียมปกติกับฝังรากฟันเทียมดิจิทัล

การผ่าตัดฝังรากฟันเทียมแบบปกตินั้น จะต้องอาศัยประสบการณ์และความชำนาญของทันตแพทย์ค่อนข้างมาก เนื่องจากความนิ่งและมือของทันตแพทย์ เป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดตำแหน่งของการฝังรากฟันเทียม แต่พอมีการนำเทคโนโลยีการฝังรากฟันเทียมดิจิทัลเข้ามาช่วยในการฝังรากฟันเทียมแบบระบบดิจิทัล
ทันตแพทย์ก็จะทำงานได้ง่ายยิ่งขึ้น มีความแม่นยำ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งช่วยลดข้อผิดพลาดที่เกิดจากทันตแพทย์ในระหว่างการฝังรากฟันเทียมได้มากขึ้นด้วย

ขั้นตอนในการฝังรากฟันเทียมระบบดิจิทัล

  • ทันตแพทย์จะทำการประเมินสภาพฟันและช่องปากก่อนว่าเหมาะสมที่จะทำรากฟันเทียมระบบดิจิทัล

ได้หรือไม่ ซึ่งมีงื่อนไขว่าคนไข้จะต้องไม่มีโรคประจำตัวที่เป็นข้อห้ามสำหรับทำรากฟันเทียม เพื่อที่จะได้ทราบว่าควรจะต้องฝังรากเทียมทั้งหมดกี่ตำแหน่ง

  • จากนั้นทันตแพทย์จะพิมพ์ปาก ซึ่งเดี๋ยวนี้หลายที่จะใช้การพิมพ์ปากแบบ 3 มิติ ทำให้สามารถเห็นฟัน

ได้โดยรอบและจัดเก็บข้อมูลเป็นดิจิทัล แล้วจึงนำข้อมูลจากการทำ CT Scan มาเข้าสู่ระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อออกแบบตำแหน่งของรากเทียมที่ถูกต้องและเหมาะสมสำหรับคนไข้แต่ละคน

  • ทันตแพทย์จะส่งข้อมูลไปให้ห้องแล็บทันตกรรม เพื่อพิมพ์เป็นอุปกรณ์กำหนดตำแหน่งรากเทียม

ออกมา แล้วนำกลับมาใช้ในการผ่าตัด

  • ในวันผ่าตัดเพื่อฝังรากเทียม ทันตแพทย์จะทำการฉีดยาชาเพื่อเปิดเหงือกสำหรับฝังรากเทียม และทำ

การฝังรากเทียมตามที่วางแผนมาผ่านอุปกรณ์กำหนดตำแหน่งรากเทียม

  • หลังจากที่ฝังรากเทียมเสร็จแล้ว ระยะเวลาการพักฟื้นจะขึ้นอยู่กับกระดูกของคนไข้ ถ้าเป็นขากรรไกร

บนจะใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือน ส่วนขากรรไกรล่างใช้เวลา 3 เดือน เพื่อให้กระดูกติดกับตัวรากเทียมได้โดยตรง และเมื่อคนไข้กลับมาพบทันตแพทย์ เพื่อจะทำการพิมพ์ปากสำหรับใส่ครอบฟันบนรากเทียมต่อไป

ด้วยเทคโนโลยีฝังรากฟันเทียมระบบดิจิทัลจะช่วยลดการสูญเสียฟันโดยไม่จำเป็น เพราะไม่ว่าอะไรก็ดีไม่เท่าฟันของเราจริง ๆ หรอกค่ะ ดังนั้นแล้ว เราจึงควรถนอมฟันของเราให้มากที่สุด นั่นจึงจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดแล้ว

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายทำรากฟันเทียม
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#รากฟันเทียม #ทำรากฟันเทียม