การรักษารากฟัน 2022

การรักษารากฟัน 2022

เชื่อว่าหลายท่านมักจะเข้าใจผิดเกี่ยวกับคำว่า การรักษารากฟัน เนื่องจากคิดว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่พบว่ามีอาการฟันโยก ฟันคลอน การรักษารากฟัน จะสามารถช่วยตอบโจทย์ในการจัดการฟันให้กลับมาแน่นขึ้น ลดการคลอนหรือโยกของฟันได้ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด วันนี้ทีมงานจึงได้รวบรวมสาระน่ารู้เกี่ยวกับประโยชน์ของการรักษารากฟันอย่างแท้จริงมาฝากกันค่ะ

 จริงๆแล้วการรักษารากฟันก็คือการเอาคลองประสาทฟันหรือโพรงรากฟันที่เกิดการอักเสบอยู่แล้วออกไป โดยสาเหตุที่จำเป็นจะต้องเอาคลองประสาทฟันที่อักเสบออกไป เนื่องจากว่า ทันตแพทย์มักจะพบว่าคนไข้ที่มีอาการฟันผุ คือสาเหตุหลักที่ทำให้มีการติดเชื้อไปถึงประสาทฟันซี่นั้นๆ หลังจากคุณหมอหรือทันตแพทย์ได้ทำการรักษารากฟัน โดยการนำคลองประสาทฟันออกแล้ว ขั้นตอนต่อมาก็จะทำความสะอาดช่องปากและคลองประสาทฟันด้วยการใส่ยาฆ่าเชื้อและใช้วิธีการอุดรากฟันตามไปทีหลัง โดยทั้งนี้ เมื่อมีการอักเสบในคลองประสาทฟันก็จะมีการปวดฟันตามมาอย่างแน่นอน ดังนั้น การรักษารากฟันจึงถือเป็นการลดอาการปวดและอักเสบของฟัน รวมทั้งยังกำจัดอาการปวดฟันให้หายไปโดยสิ้นเชิง หรือเรียกได้ว่ารักษาแบบถอนรากถอนโคนเลยนั่นเอง และการรักษารากฟัน ยังเป็นวิธีการในการที่จะเก็บฟันซี่นั้น ๆ ของคนไข้เอาไว้ได้นานที่สุด โดยฟันยังสามารถกลับไปใช้งานได้ตามปกติอีกด้วย ซึ่งไม่ต้องถอนฟันทิ้งนั่นเอง

แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากฟันซี่ที่ทำการรักษารากฟันไปแล้วนั่น ส่วนใหญ่มักจะพบว่ามีโอกาสเนื้อของฟันเกิดอาการเปราะและแตกง่ายเป็นพิเศษ เพราะฉะนั้น การใช้วิธีรักษารากฟันจึงจำเป็นอย่างมาก ที่จะต้องมีการใช้วิธีทำการครอบฟันร่วมด้วยนั่นเอง

โดยลักษณะของฟันที่มีความจำเป็นที่ต้องได้รับการรักษารากฟัน ส่วนใหญ่ทันตแพทย์หรือคุณหมอผู้เชี่ยวชาญจะพิจารณาจากข้อต่อไปนี้ 1.ฟันซี่นั้น เกิดมีรูผุเสียหายจนถึงคลองประสาทฟันและแสดงอาการปวดชัดเจน 2. ฟันซี่นั้นมีสีคล้ำลงผิดปกติ ซึ่งเป็นสัญญาณของการมีเลือดออกในไรฟันอีกด้วย 3. เป็นฟันซี่ที่เคยได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงหรือได้รับการกระแทกจากอุบัติเหตุ 4. เป็นลักษณะของฟันซี่ที่มีรอยร้าวหรือมีรอยแตก บิ่น ซึ่งคนไข้มักจะมีอาการปวดและเสียวฟันร่วมด้วย 5. เป็นลักษณะของฟันที่มีการรักษาโดยการอุดฟันไว้อยู่แล้ว แต่เกิดมีตุ่มหนองขึ้นบริเวณของฟันให้เห็นเด่นชัด

การรักษารากฟันหรือโพรงประสาทฟันนั้น มีขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. เพื่อไม่ให้คนไข้มีอาการเจ็บหรือปวดในระหว่างการรักษาคุณหมอหรือทันตแพทย์จะมีการใส่ยาชาให้ก่อน เพื่อลดอาการเจ็บปวด โดยหลังจากยาชาทำการออกฤทธิ์เต็มที่แล้วนั้น ทันตแพทย์จะทำการใส่แผ่นยางกันน้ำลายหรือที่เรียกว่า rubber Dam เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของน้ำลายเข้าไปปะปนในบริเวณคลองรากฟันที่กำลังทำการรักษาอยู่ 2. คุณหมอหรือทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเริ่มด้วยขั้นทำความสะอาดคลองรากฟัน โดยทำการใส่ยาไว้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ โดยคุณหมอจะเริ่มนัดในรอบถัดไปเพื่อทำการรักษาขั้นตอนต่อไป ซึ่งจะมีการขยายคลองรากฟันต่อ ด้วยการใส่ยา ซึ่งหากคุณหมอหรือทันตแพทย์แน่ใจแล้วว่า การติดเชื้อบริเวณคลองรากฟันนั่นได้ถูกกำจัดออกไปหมดเกลี้ยงแล้ว ก็จะเริ่มขั้นตอนของการอุดคลองรากฟัน ก็ถือเป็นการจบกระบวนการรักษารากฟัน โดยภายหลังเมื่อทำการรักษารากฟันเสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว คุณหมอก็จะทำการรักษาต่อ โดยการอุดตัวฟันด้านบนเพื่อให้คนไข้สามารถใช้งานฟันซี่ต่อไป เช่น ขบเคี้ยวอาหารได้ตามปกติ ซึ่งภายหลังคุณหมอก็จะทำการนัดตรวจเช็คช่องปากและตรวจเช็คอาการหลังทำการรักษารากฟัน โดยจะทำการนัดคนไข้เป็นเวลา 1-2 ครั้งซึ่งจะใช้ระยะเวลา 2-3 เดือนหลังจากนัน ทันตแพทย์หรือคุณหมอแน่ใจว่าไม่มีอาการหรือพบผลข้างเคียงใดๆ ขั้นตอนสุดท้าย นั่นก็คือ จะทำการใส่เดือยฟันและใส่ครอบฟันให้แก่คนไข้ต่อไป เพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรงของรากฟันของคนไข้ให้ฟันซี่ที่ทำการรักษาสามารถกลับมาใช้งานได้ปกติที่สุดนั่นเอง

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายรักษารากฟัน
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#รักษารากฟัน #รากฟันเทียม

รากฟันเทียม 2022

รากฟันเทียม กับเทคโนโลยีทันตกรรมในปี 2022

รากฟันเทียม กับเทคโนโลยีทันตกรรมในปี 2022

ถ้าเลือกได้ คงไม่มีใครอยากจะสูญเสียฟัน ปัญหาสุขภาพเป็นเรื่องพบได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะในวัยผู้ใหญ่ ที่หลายครั้งสุขภาพช่องปากก็รับภาระหนัก จนทำเอาเจ้าของฟันถึงกับถอดฟัน อยากจะตัดปัญหาด้วยการถอนฟันซี่ที่มีปัญหานั้นทิ้งเสีย แต่ในปี 2022 เช่นนี้ เทคโนโลยีทันตกรรมก็ก้าวหน้าไปมาก โดยเฉพาะเกี่ยวกับรากฟันเทียม ที่เดี๋ยวนี้มี “รากฟันเทียมระบบดิจิทัล” เราจะไปทำความรู้จักเจ้าสิ่งนี้กันค่ะ

รากฟันเทียมคืออะไร

รากฟันเทียม หรือรากเทียม คือ วัสดุที่มีรูปร่างคล้ายรากฟันทำจากไททาเนียมซึ่งเป็นวัสดุที่เข้ากับร่างกายมนุษย์ได้ดี ใช้สำหรับฝังลงไปในกระดูกขากรรไกรเพื่อช่วยในการทำฟันเทียมแบบติดแน่น และแบบถอดได้ ปัจจุบันการใส่รากฟันเทียมถือว่าเป็นวิธีการใส่ฟันที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง

ข้อดีของการทำรากฟันเทียม

  • ฟันเทียมที่ดูเป็นธรรมชาติ และใช้งานได้ใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติมากที่สุด
  • ไม่ต้องกรอแต่งฟันข้างเคียง
  • ป้องกันการสูญเสียฟัน และกระดูกข้างเคียง
  • ให้ความสวยงาม เป็นธรรมชาติมากที่สุด และสามารถบดเคี้ยวได้ตามปกติ

ทำความรู้จักรากฟันเทียมระบบดิจิทัล

รากฟันเทียมระบบดิจิทัล (Computer Guided Implant Surgery) เป็นการวางแผนการฝังรากฟันเทียมแบบระบบดิจิทัลด้วยการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ร่วมกับเทคโนโลยีทางภาพถ่ายรังสีแบบ 3 มิติ (3D Dental CT Scan) เพื่อช่วยในการวางแผนรักษาและกำหนดตำแหน่งฝังรากฟันเทียมที่เหมาะสมที่สุด ภาพถ่ายรังสีแบบ 3มิตินี้ ยังช่วยให้ทันตแพทย์สามารถเลือกขนาดรากฟันเทียมได้สอดคล้องกับตำแหน่งฟันที่จะใส่ทดแทน

โดยเทคโนโลยีตัวนี้จะหาตำแหน่งและขนาดของรากฟันเทียมที่เหมาะสมที่สุด โดยจะไม่กระทบกับอวัยวะสำคัญภายในช่องปากของคนไข้ที่อาจทำให้เกิดอันตรายได้ เช่น เส้นประสาท, หรือ โพรงอากาศข้างแก้ม ซึ่งการทำเอ็กซเรย์แบบ 3 มิตินั้น จะทำให้สามารถมองเห็นโครงสร้างภายในช่องปากได้อย่างครบถ้วนและชัดเจน เมื่อเราได้ภาพภาพ 3 มิติของตำแหน่งของรากฟันเทียมมาแล้ว ก็จะนำไปพิมพ์เป็นอุปกรณ์กำหนดตำแหน่งสำหรับการฝังรากฟันเทียม ซึ่งจะเอาไปใช้ในขั้นตอนการผ่าตัดต่อไป

ความแตกต่างระหว่างการฝังรากฟันเทียมปกติกับฝังรากฟันเทียมดิจิทัล

การผ่าตัดฝังรากฟันเทียมแบบปกตินั้น จะต้องอาศัยประสบการณ์และความชำนาญของทันตแพทย์ค่อนข้างมาก เนื่องจากความนิ่งและมือของทันตแพทย์ เป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดตำแหน่งของการฝังรากฟันเทียม แต่พอมีการนำเทคโนโลยีการฝังรากฟันเทียมดิจิทัลเข้ามาช่วยในการฝังรากฟันเทียมแบบระบบดิจิทัล
ทันตแพทย์ก็จะทำงานได้ง่ายยิ่งขึ้น มีความแม่นยำ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งช่วยลดข้อผิดพลาดที่เกิดจากทันตแพทย์ในระหว่างการฝังรากฟันเทียมได้มากขึ้นด้วย

ขั้นตอนในการฝังรากฟันเทียมระบบดิจิทัล

  • ทันตแพทย์จะทำการประเมินสภาพฟันและช่องปากก่อนว่าเหมาะสมที่จะทำรากฟันเทียมระบบดิจิทัล

ได้หรือไม่ ซึ่งมีงื่อนไขว่าคนไข้จะต้องไม่มีโรคประจำตัวที่เป็นข้อห้ามสำหรับทำรากฟันเทียม เพื่อที่จะได้ทราบว่าควรจะต้องฝังรากเทียมทั้งหมดกี่ตำแหน่ง

  • จากนั้นทันตแพทย์จะพิมพ์ปาก ซึ่งเดี๋ยวนี้หลายที่จะใช้การพิมพ์ปากแบบ 3 มิติ ทำให้สามารถเห็นฟัน

ได้โดยรอบและจัดเก็บข้อมูลเป็นดิจิทัล แล้วจึงนำข้อมูลจากการทำ CT Scan มาเข้าสู่ระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อออกแบบตำแหน่งของรากเทียมที่ถูกต้องและเหมาะสมสำหรับคนไข้แต่ละคน

  • ทันตแพทย์จะส่งข้อมูลไปให้ห้องแล็บทันตกรรม เพื่อพิมพ์เป็นอุปกรณ์กำหนดตำแหน่งรากเทียม

ออกมา แล้วนำกลับมาใช้ในการผ่าตัด

  • ในวันผ่าตัดเพื่อฝังรากเทียม ทันตแพทย์จะทำการฉีดยาชาเพื่อเปิดเหงือกสำหรับฝังรากเทียม และทำ

การฝังรากเทียมตามที่วางแผนมาผ่านอุปกรณ์กำหนดตำแหน่งรากเทียม

  • หลังจากที่ฝังรากเทียมเสร็จแล้ว ระยะเวลาการพักฟื้นจะขึ้นอยู่กับกระดูกของคนไข้ ถ้าเป็นขากรรไกร

บนจะใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือน ส่วนขากรรไกรล่างใช้เวลา 3 เดือน เพื่อให้กระดูกติดกับตัวรากเทียมได้โดยตรง และเมื่อคนไข้กลับมาพบทันตแพทย์ เพื่อจะทำการพิมพ์ปากสำหรับใส่ครอบฟันบนรากเทียมต่อไป

ด้วยเทคโนโลยีฝังรากฟันเทียมระบบดิจิทัลจะช่วยลดการสูญเสียฟันโดยไม่จำเป็น เพราะไม่ว่าอะไรก็ดีไม่เท่าฟันของเราจริง ๆ หรอกค่ะ ดังนั้นแล้ว เราจึงควรถนอมฟันของเราให้มากที่สุด นั่นจึงจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดแล้ว

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายทำรากฟันเทียม
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#รากฟันเทียม #ทำรากฟันเทียม

4 วิธีที่จะช่วยให้ฟันที่เสียหายไป สามารถใช้งานได้อีกครั้ง

4 วิธีที่จะช่วยให้ฟันที่เสียหายไป สามารถใช้งานได้อีกครั้ง

ถ้าจะพูดถึงการดูแลรักษาฟัน สำหรับผู้ที่สูญเสียฟันไปนั้น มักจะมี 4 วิธี ที่จะทำให้ฟันของคุณกลับมาสวยงามอีกครั้ง และสามารถใช้งานได้ดีเหมือนได้ฟันงอกมาใหม่ได้ด้วย 4 วิธีดังนี้

  1. ฟันปลอม
    ฟันปลอม มีส่วนสำคัญที่เข้าไปช่วยทดแทนฟันที่หายไปเพื่อป้องกันไม่ให้การเคลื่อนที่ของฟันติดกันหรือฟันตรงข้ามกับพื้นที่ฟันที่หายไปผู้ที่ใส่ฟันปลอมส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีสุขภาพฟันที่ไม่ดี ฟันเสื่อมสภาพเร็ว

ซึ่งการใส่ฟันปลอมจะช่วยในการบดเคี้ยวอาหารที่มีความเหนียวไม่ได้ เพราะฟันปลอมไม่ได้ออกแบบมาเพื่อบดเคี้ยวอาหารได้

  1. ครอบฟัน
    การครอบฟัน เป็นการบูรณะฟัน กรณีฟันแตก ฟันหัก หรือฟันที่รักษาคลองรากฟันแล้ว ปัจจุบันใช้การครอบฟันแบบเซรามิค ล้วน ในการทดแทนฟันด้านหน้า เพราะจะมีสีฟันเสมือนจริง และจะใช้การครอบฟัน แบบพอร์ซเลนผสมโลหะ ในการทดแทนฟันกราม เพื่อใช้บดเคี้ยว หรือหากเป็นแนวนักร้องแรปเปอร์ ก็จะทำการครอบฟันด้วยทองคำ หรือ ทองคำขาวเพื่อความนำสมัย
  2. ทำสะพานฟัน
    เป็นโครงสร้างที่ประกอบไปด้วยการครอบฟัน 2 จุด โดยใช้ฟันปลอม เป็นการเชื่อมระหว่างช่องว่างของฟันที่หายไป จึงเรียกว่า สะพานฟัน (Bridge) เมื่อเรามีฟันที่หายไป จะส่งผลถึงการสื่อสาร การพูด การเคี้ยวอาหารที่เปลี่ยนแปลงไปได้ สะพานฟันถือเป็นหนึ่งในทางเลือกในการรักษาเพื่อทดแทนฟันที่หายไป โดยสะพานฟันจะเป็นเสมือนสะพานที่เชื่อมต่อระหว่างฟันซี่ข้างเคียงที่อยู่ข้างๆช่องว่างที่ฟันหายไป ช่วยเติมเต็มและทดแทนฟันที่หายไป
  3. รากฟันเทียม
    การฝังรากเทียมเป็นการทำฟันปลอมชนิดหนึ่งเพื่อทดแทนฟันที่หายไปด้วยการทำรากฟันเทียม (Implant) แต่ว่าการทำรากฟันเทียมนั้นมีความสามารถในการบดเคี้ยวอาหารได้ดีมากๆ เพราะสร้างฟันที่เหมือนจริงและแข็งแรงทนทานมากๆ

รากฟันเทียมเป็นที่ยอมรับมากที่สุดในการทำฟันปลอมหรือทำสิ่งที่ทดแทนฟันได้ดีที่สุด

สำหรับการรักษารากฟันเทียมนั้น ควรเลือกรักษากับทันตแพทย์ที่มีความน่าเชื่อถือและความชำนาญเพื่อให้การทำรากฟันเทียมประสบผลสำเร็จและสามารถใช้งานได้ดี ซึ่งสิ่งที่ต้องทำควบคู่กันไปคือการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากอย่างสม่ำเสมอ และควรเข้ารับการตรวจติดตามผลทุกๆ 6 เดือน เพื่อให้มั่นใจว่าสุขภาพช่องปากที่แข็งแรงจะอยู่กับเราไปอีกนาน

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายเพื่อทำรากฟันเทียม

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

www.bpdcdental.com

BPDC #คลินิกทันตกรรม #รากฟันเทียม #รักษารากฟันเทียม #Implant

รากเทียมเจ็บหรือไม่

รากเทียมเจ็บหรือไม่

การทำรากเทียม ไม่เจ็บมากอย่างที่คิด เนื่องจากแพทย์จะมีการให้ยาชาเฉพาะที่หรือยาระงับความรู้สึกเจ็บปวดในระหว่างการทำ โดยแพทย์จะมีการฉีดยาชาเฉพาะที่อย่างน้อยสองตำแหน่ง ดังนั้นคนไข้จึงไม่รู้สึกเจ็บแต่ภายหลังการทำอาจมีอาการปวดบวมได้บ้าง ซึ่งสามารถบรรเทาได้ด้วยการรับประทานยาแก้ปวดตามที่แพทย์สั่ง

หลังการทำทันตกรรมรากเทียมแพทย์จะมีการนัดมาตัดไหมและติดตามผลการรักษาภายใน 1 สัปดาห์ ซึ่งแพทย์จะประเมินลักษณะของแผล,ความเจ็บปวดและปัญหาต่างๆที่อาจเกิดขึ้น โดยคนไข้ต้องดูแลตนเองตามที่แพทย์สั่งหลังการทำทันตกรรมรากเทียมอย่างเคร่งครัด

ส่วนใหญ่จะเข้าใจกันว่าการทำรากฟันเทียมหรือการฝังรากเทียมนั้น คือการผ่าตัดโดยทำการเปิดเหงือก ซึ่งมันฟังดูน่ากลัวใช่ไหมล่ะ? แต่ด้วยกระบวนการรักษารากเทียมนั้น กระบวนการที่ทำให้คนไข้รู้สึกเจ็บที่สุดคือการถอนฟัน มากกว่าการใส่รากเทียม เนื่องจากมีอาการเจ็บปวดจากกระดูกรากฟันที่ถูกถอนออกไป แต่การใส่รากเทียมคือการนำวัสดุที่ใช้ทดแทนรากจริงเพื่อแทนที่เท่านั้น เพราะฉะนั้นอาการเจ็บปวดจากการทำรากเทียมและบาดแผลนั้นแทบจะไม่เกิดขึ้นเลย และด้วยเทคโนโลยีด้านทันตกรรมมีความก้าวหน้าขึ้นก็มีส่วนช่วยในกระบวนการรักษาที่จะไม่ทำให้คนไข้รู้สึกเจ็บและน่ากลัว และในปัจจุบันการทำรากเทียมก็มีตัวเลือกมากมายเพื่อให้เหมาะสมกับคนไข้อีกด้วยนะ

เพราะที่จริงแล้วการทำรากเทียมนั้นไม่ได้เป็นเรื่องน่ากลัวอย่างที่คิดเลย พิจารณาว่าควรทำรากเทียมดีหรือไม่นั้น วันนี้ BPDC Dental มาช่วยหาคำตอบเพื่อต้องการให้ทุกคนมีสุขภาพเหงือกและฟันที่ดีพร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา หรือหากใครที่มีข้อสงสัยหรือต้องการได้รับคำปรึกษาและคำแนะนำเพิ่มเติม สามารถเข้ารับบริการได้ที่ BPDC Dental

การกลับมามีชีวิตที่ดี โดยที่ไม่ยาก ไม่เจ็บเหมือนเมื่อก่อน สบายใจได้มากกว่าที่คุณคิด เปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นด้วยฟันชุดใหม่ กลับมาบดเคี้ยวอาหารได้อย่างดี ช่วยระบบย่อยจากภายใจ กินอาหารได้อย่างมีความสุขเหมือนเมื่อก่อน ทวงคืนรอยยิ้มที่มั่นใจของคุณกลับมา

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายเพื่อทำรากฟันเทียม

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

www.bpdcdental.com

BPDC #คลินิกทันตกรรม #รากฟันเทียม #รักษารากฟันเทียม #CadCam

รากฟันเทียมดีกว่าฟันปลอมอย่างไร

รากฟันเทียมดีกว่าฟันปลอมอย่างไร

เมื่อฟันถูกถอนไป กระดูกรองรับรากฟันในบริเวณนั้นจะเกิดการละลายมากกว่าในบริเวณที่ยังมีฟันธรรมชาติอยู่ การใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้เพื่อทดแทนช่องว่างนั้นสามารถทำได้ แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไปเราจะพบว่าเกิดการหลวมของฟันปลอมขึ้นโดยเหตุผลส่วนหนึ่งนั้นมาจากที่กระดูกรองรับรากฟันได้ละลายไป ทำให้เกิดการยุบตัวของสันเหงือก ฟันปลอมจึงไม่มีความพอดีเหมือนในช่วงแรก

เป็นที่ทราบดีว่า รากฟันเทียม นั้นทำมาจากวัสดุที่เข้ากับเนื้อเยื่อของร่างกายเราได้อย่างดี การมีอยู่ของรากฟันเทียมในกระดูรองรับรากฟันจะช่วยกระจายแรงบดคี้ยวจากตัวครอบฟันลงสู่กระดูกขากรรไกรของเราอย่างเหมาะสม ดังนั้นการใส่รากฟันเทียมจึงช่วยชะลอการเสื่อมของกระดูกรองรับรากฟันอีกในบริเวณที่มีการถอนฟันออกไปนั่นเอง

หลังจากใส่รากฟันเทียมแล้วจะสามารถต่อครอบฟันขึ้นมาจากรากฟันเทียมเพื่อทดแทนฟันที่หายไปโดยที่ไม่ต้องกรอแต่งฟันธรรมชาติเหมือนกับในการทำสะพานฟัน ในกรณีที่มีฟันถูกถอนไปติดกันหลายตำแหน่งรากฟันเทียมก็สามารถรองรับครอบฟันในรูปแบบสะพานฟันได้เช่นกัน หรือในกรณีที่ไม่มีฟันธรรมชาติเหลืออยู่เลยการ เราสามารถใส่รากฟันเทียมเพื่อเพิ่มการยึดเกาะให้กับฟันปลอมได้อีกด้วย โดยไม่ว่าจะเป็นการใส่รากฟันเทียมเพื่อต่อครอบฟัน/สะพานฟันแบบติดแน่น หรือ เพื่อเพิ่มการยึดติดให้กับฟันปลอมชนิดถอดได้ ล้วนช่วยให้สามารถบดเคี้ยวได้ดีขึ้น แก้ปัญหาฟันปลอมขยับขณะรับประทานอาหาร เพิ่มความรู้สึกสบายมั่นใจมากยิ่งขึ้นในขณะพูดคุยอีกด้วย

ระยะเวลาในการทำรากฟันเทียม

สำหรับระยะเวลาในการรักษารากฟันเทียม นั้นจะใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 3 – 6 เดือน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ของช่องปาก ไม่ว่าจะเป็นปริมาณและคุณภาพของกระดูกขากรรไกร ที่อาจจะต้องมีการเสริมกระดูกให้แข็งแรง จำนวนฟันที่ต้องการทำรากเทียม เป็นต้น

ในปัจจุบันนี้ มีเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยลดระยะเวลาในการทำครอบฟันให้เสร็จภายในวันเดียว นั่นก็คือเทคโนโลยี Dental Digital CAD/CAM ที่จะช่วยลดระยะเวลาในการทำรากฟันเทียมให้สั้นลง ด้วยวิธีการส่งแล็บ และสแกนช่องปากแทนการพิมพ์ปากแบบเดิม โดยจะเริ่มจากการเอกซเรย์ 3 มิติ ถ่ายรูปและสแกนซี่ฟัน หลังจากนั้นจะเป็นการออกแบบชิ้นงานด้วยโปรแกรม และผลิตชิ้นงาน ก่อนจะนำมาใส่ในช่องปากให้กับผู้รับการรักษา โดยจะใช้ระยะเวลาประมาณ 2 – 3 ชั่วโมงเท่านั้น

ใครที่เหมาะกับการทำรากฟันเทียม

สำหรับผู้ที่สูญเสียฟันแท้ไป การใส่รากฟันเทียมนั้น ควรทำในผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป เนื่องจากกระดูกขากรรไกรจะเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว และผู้ที่จะทำรากเทียมนั้น ควรที่จะต้องมีสุขภาพที่แข็งแรง สามารถทำการผ่าตัดโดยใช้ยาชาได้ สำหรับบุคคลที่ไม่ควรทำรากฟันเทียม ได้แก่ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี บุคคลที่ตั้งครรภ์ ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง

อาการที่อาจเกิดขึ้นหลังจากทำรากฟันเทียม

การผ่าตัดรากฟันเทียมอาจจะเกิดผลข้างเคียงได้เช่นเดียวกับการผ่าตัด ซึ่งอาการเหล่านั้นอาจเกิดจากการผ่าตัดหรือพฤติกรรมของผู้เข้ารับการรักษา ไม่ว่าจะเป็น

  • รากฟันเทียมอักเสบ เนื่องจากการดูแลตัวเองหลังผ่าตัดไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารที่มีรสจัด การเคี้ยวของแข็ง การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่จัด
  • มีอาการเจ็บหรือปวดหลังผ่าตัด หากอาการไม่ดีขึ้น ควรพบทันตแพทย์ทันที
  • มีอาการบวม สามารถประคบเย็นได้ หากอาการไม่ดีขึ้น ควรพบทันตแพทย์ทันที
  • เกิดการติดเชื้อบริเวณที่ผ่าตัด หากมีอาการอักเสบ เป็นหนอง หรือฟันเทียมโยก ควรแจ้งทันตแพทย์ทันที

หลังจาการใส่รากฟันเทียมไปแล้วจะเกิดอะไรได้บ้าง และควรปฏิบัติตัวอย่างไร

  • หลังใส่รากฟันเทียมอาจเกิดอาการ ปวด บวม อักเสบ ได้คล้ายกับเวลาที่เราได้รับการถอนฟันหรือผ่าฟันคุดนั่นเอง สิ่งที่สำคัญคือการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากของเราและปฏิบัติตามคำแนะนำของทันตแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • สัปดาห์แรกควรรับประทานยาฆ่าเชื้อตามที่ได้รับจากทันตแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • ควรทานอาหารอ่อนๆ หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด หรือร้อนจัด
  • งดสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ จนกว่าจะรักษาเสร็จ
  • แปรงฟันในบริเวณอื่นได้ปกติแต่หลีกเลี่ยงการแปรงฟันบริเวณแผลโดยตรง การบ้วนน้ำเกลือทุกครั้งหลังอาหารสามารถช่วยลดการติดของเศษอาหารบริเวณแผล ลดโอกาสการเกิดการอักเสบได้
  • หากมีอาการที่ทำให้เกิดความกังวลใดๆ สามารถมาติดต่อมาที่แผนก หรือมาพบทันตแพทย์ได้ทันที

สำหรับการทำรากฟันเทียมนั้น ควรเลือกรักษากับทันตแพทย์ที่มีความน่าเชื่อถือและความชำนาญเพื่อให้การทำรากฟันเทียมประสบผลสำเร็จและสามารถใช้งานได้ดี ซึ่งสิ่งที่ต้องทำควบคู่กันไปคือการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากอย่างสม่ำเสมอ และควรเข้ารับการตรวจติดตามผลทุกๆ 6 เดือน เพื่อให้มั่นใจว่าสุขภาพช่องปากที่แข็งแรงจะอยู่กับเราไปอีกนาน

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายเพื่อทำรากฟันเทียม

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

www.bpdcdental.com

BPDC #คลินิกทันตกรรม #รากฟันเทียม #รักษารากฟันเทียม #CadCam

การสูญเสียฟัน 1 ซี่เกิดอะไรได้บ้าง

การสูญเสียฟัน 1 ซี่เกิดอะไรได้บ้าง

หลายๆ คนจะละเลยและปล่อยว่างเรื่องของการที่เราสูญเสียฟันของเราออกไป ไม่ว่าจะด้วยการถอนออก หรือฟันหลุดออกไป ซึ่งถ้าเราไม่ทำอะไรปล่อยไว้อย่างนั้น จะทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับฟันเพิ่มอย่างไรไปดูกันเลยค่ะ

  • ฟันหายไม่มีฟันทดแทน
  • ฟันบนยื่นลงมา ฟันข้างเคียงล้ม
  • เศษอาหารติด ทำให้ฟันข้างเคียงผุ
  • จนทำให้เสียฟันเพิ่ม

ภายหลังการถอนฟันควรต้องใส่ฟันทดแทน เพื่อป้องกันปัญหาอื่นๆ ตามมาที่คลินิกทันตกรรม BPDC เรามีทันตแพทย์ที่เชี่ยวงชาญในการฝังรากฟันเทียมทดแทน

โดยใช้ระบบ Dital 3D Implant เพื่อความแม่นยำในการฝังรากฟันเทียมได้มากที่สุดและคนไข้เจ็บน้อยที่สุด

ติดต่อเราเพื่อนัดหมายปรึกษาทำรากฟันเทียม
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)
www.bpdcdental.com

BPDC #คลินิกทันตกรรม #รากฟันเทียม #ถอนฟัน #ฟันทดแทน #รากฟันเทียมทดแทน

ขั้นตอนการปลูกรากฟันเทียม

ขั้นตอนการปลูกรากฟันเทียม

การปลูกรากฟันเทียมจำเป็นจะต้องมีขั้นตอนและวิธีการที่ซับซ้อนกว่าทันตกรรมประเภทอื่นๆ เพราะว่าต้องมีการประเมิณการรักษา การฝังรากเทียมลงกระดูก การปรับสภาพเหงือก ฯลฯ ที่มีอีกหลายขั้นตอนกว่าจะรักษาได้ แต่ด้วยเทคโนโลยีและด้วยประสบการณ์ของทีมแพทย์ที่เชี่ยวชาญงานฝังรากฟันเทียม (IMPLANT) จะช่วยให้ขั้นตอนนั้นง่ายขึ้น ซึ่งวันนี้เรามีกรรมวิธีคร่าวสำหรับผู้ที่ต้องการปลูกรากฟันเทียมกันครับ

  1. ตรวจประเมิน วางแผนการรักษา
    ตรวจวินิจฉัยและวางแผนการรักษาก่อนเริ่มการรักษาทันตแพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยและทำการถ่ายเอ๊กซเรย์เพื่อการวิเคราะห์ และวางแผนการรักษาที่เหมาะสม
  2. ฝังรากเทียม ลงในกระดูก

การปลูกกระดูกรองรับฟัน (กรณีที่จำเป็น)
สำหรับผู้ป่วยบางรายที่มีคุณภาพหรือความหนาของกระดูกรองรับฟันที่ไม่เพียงพอที่จะรองรับรากฟันเทียม ทันตแพทย์จะทำการปลูกกระดูกรองรับฟัน (bone grafts) ให้ก่อน หรืออาจสามารถทำพร้อมกับการฝังรากฟันเทียม ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของทันตแพทย์เฉพาะทาง

  1. ปรับสภาพเหงือกให้พร้อมสำหรับทำครอบฟัน

ขั้นตอนการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมไททาเนียม
สำหรับขั้นตอนการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมนั้น โดยทั่วไปจะสามารถทำเสร็จได้ในวันเดียวด้วยการใช้เพียงยาชาในการผ่าตัดและผู้ป่วยสามารถกลับไปพักผ่อนที่บ้านได้ หรือในกรณีที่ผู้ป่วยต้องการที่จะเลือกใช้ยาสลบและพักผ่อนที่โรงพยาบาลหลังการผ่าตัดก็เป็นทางเลือกที่ สามารถทำได้เช่นกัน และถ้าได้รับการรักษาอย่างถูกต้องโดยทันตแพทย์เฉพาะทางที่มีความเชี่ยวชาญ แล้วนั้นอัตราการเสี่ยงจะต่ำมาก

  1. ระยะรอพักฟื้น
    ในการที่จะให้รากฟันเทียมมีอายุการใช้งาน การพักรอให้กระดูกรองรับฟันสร้างตัวเพื่อปกคลุมและยึดรากฟันเทียมจะใช้เวลาโดยทั่วไปนานประมาณ 6-8 สัปดาห์ในระหว่างนี้การดูแลสุขภาพในช่องปากเป็นเรื่องสำคัญและมีผลต่อความสำเร็จในการรักษาเป็นอย่างมาก และยังช่วยหลีกเลี่ยงปัญหาอันไม่พึงประสงค์ต่างๆเช่น การติดเชื้ออักเสบและปวดบวมได้
  2. ทันตกรรมประดิษฐ์
    หลังจากที่รากฟันเทียมมีความมั่นคงบนกระดูกรองรับฟันแล้ว ทันตแพทย์จะติดเสา(dental implant posts) เพื่อใช้เชื่อมระหว่างรากเทียมและทันตกรรมประดิษฐ์เช่น ครอบฟัน สะพานฟันหรือแผงฟันปลอม แล้วจึงทำการเตรียมและใส่ทันตกรรมประดิษฐ์นั้นๆ ในบางกรณีทันตแพทย์อาจสามารถทำการขั้นตอนนี้พร้อมกับการปลูกรากฟันเทียม ซึ่งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและดุลยพินิจของทันตแพทย์
  3. การดูแลและเข้ารับการตรวจอย่างสม่ำเสมอ
    สุขภาพในช่องปากที่ดีและการเข้ารับการตรวจและทำความสะอาดกับทันตแพทย์ทั่วไปอย่างเป็นประจำทุก 6 เดือน หรือตามระยะเวลาที่เหมาะสมจะสามารถช่วยเพิ่มอายุการใช้งานให้กับรากฟันเทียม

ที่คลินิกทันตกรรม BPDC ของเรามีทีมทันตแพทย์ที่เชี่ยวชาญมากประสบการณ์ ด้านการรักษารากฟันเทียม วัสดุรากฟันเทียมมาตรฐานยุโรป รวมถึงมีอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัยและมี Software CAD / CAM Dentistry ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำรากฟันเทียมให้ดียิ่งขึ้น

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายเพื่อทำรากฟันเทียม

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

www.bpdcdental.com

BPDC #คลินิกทันตกรรม #รากฟันเทียม #รักษารากฟันเทียม #CadCam

ทำไมรากฟันเทียมราคาแพง

ทำไมรากฟันเทียมราคาแพง?

จะสังเกตุได้ว่าการทำรากฟันเทียมราคาค่อนข้างแพงกว่าการทำฟันประเภทอื่นๆ เนื่องด้วยรากฟันเทียมเป็นทันตกรรมที่ต้องใช้วัสดุที่มีคุณภาพและต้องมีความเชี่ยวชาญในการทำรักษารากฟันเทียม แพทย์ต้องเชี่ยวชาญด้านนี้จริงๆ รวมถึงในการทำรากฟันเทียมนั้นจะต้องมีอุปกรณ์ทางการแพทย์และเครื่องมือรวมถึง Software ในการผ่าตัดและรักษารากฟันเทียม

สาเหตุที่ทำให้รากฟันเทียมราคาแพงมีดังนี้

  • ค่าวัสดุในการทำรากฟันเทียม
    เมื่อก่อนการทำรากฟันเทียมจะราคาสูงมากๆ หลักแสนต่อซี่ ซึ่งเป็นเพราะวัสดุ ต้องนำเข้าจากยุโรปเท่านั้น แต่ปัจจุบันจะมีหลายๆ ประเทศมีการจำหน่ายรากฟันเทียม ทั้งทางเกาหลี ราคาก็จะไม่แพงมากนัก ซึ่งลูกค้าสามารถเลือกได้ว่าจะใช้วัสดุประเภทไหน แบรนด์ไหน
  • ค่าทันตแพทย์
    การรักษารากฟันเทียม อย่างที่ทราบดีว่าการรักษารากฟันเทียมนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ทันตแพทย์ต้องมีความเชี่ยวชาญและมากประสบการณ์ทางด้านนี้ เช่น ผ่าตัดด้วยความรวดเร็ว บางคนต้องใช้เวลานานในการรากฟันเทียม ต้องอ้าปากค้างเป็นชม. ทำให้เมื่อยล้ามากๆ และมีนุ่มนวล งานดีงานเนี้ยบ ความเสี่ยงต่ำ ซึ่งทันตแพทย์ที่เชี่ยวชาญก็จะมีราคาที่สูงกว่าแพทย์ทั่วไป หรือแพทย์จบใหม่อยู่แล้วครับ
  • ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์
    อุปกรณ์ของแต่ละคลีนิคทันตกรรมก็มีมาตรฐานไม่เหมือนกัน บางที่ก็ใช้แบรนด์เครื่องมือและอุปกรณ์ไม่เหมือนกัน ซึ่งค่าอุปกรณ์ ค่าเครื่องมือก็มีผลต่อราคาของรากฟันเทียม และปัจจุบันยังมี software CAD / CAM ซึ่งเป็น software ที่ช่วยจำลองฟันของเราให้ขึ้นเป็น 3D ช่วยในการวางแผนการรักษา วางตำแหน่งราก ที่แน่นอน แล้วทำเครื่องมือ ในการไกด์ให้เวลาเราฝังรากเทียมในคลินิก รากเทียมอยู่ตำแหน่งเดียวกันกับที่เราแพลนไว้ในคอมพิวเตอร์ ช่วยให้ทันตแพทย์ดำเนินงานที่ซับซ้อนให้ง่ายขึ้น และรวดเร็วถูกต้องมากยิ่งขึ้น ซึ่งค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จะช่วยเป็น 1 ในตัวเลือกในการตัดสินใจในการรักษารากฟันเทียมได้ดีครับ

ที่คลินิกทันตกรรม BPDC ของเรามีทีมทันตแพทย์ที่เชี่ยวชาญมากประสบการณ์ ด้านการรักษารากฟันเทียม วัสดุรากฟันเทียมมาตรฐานยุโรป รวมถึงมีอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัยและมี Software CAD / CAM Dentistry ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำรากฟันเทียมให้ดียิ่งขึ้น

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายเพื่อทำรากฟันเทียม

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

www.bpdcdental.com

BPDC #คลินิกทันตกรรม #รากฟันเทียม #รักษารากฟันเทียม #CadCam

ทำความรู้จัก-“รากฟันเทียม”-มีประเภท

ทำความรู้จัก “รากฟันเทียม” มีประเภทไหนบ้างมาดูกัน!

เคยสงสัยกันไหมคะว่า หากเราฟันหาย ฟันหลุด ฟันร่วง ฟันไม่ครบซี่ สิ่งที่เราทำได้มีเพียงแค่การใส่ฟันปลอมจริงหรือ? หลายๆท่าน คงจะทราบกันดีอยู่แล้วว่า หากใครมีปัญหาฟันหลอ ฟันไม่ครบ สิ่งที่จะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ได้นั้น ก็คงจะเป็นการใส่ฟันปลอมหรือไม่ก็เป็นการครอบฟัน ใช่มั้ยล่ะคะ แต่อีกหนึ่งบริการทันตกรรมที่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบนั่นก็คือ การทำรากฟันเทียมค่ะ ฉะนั้นวันนี้เราจึงจะมาทำความรู้จักกับรากฟันเทียมกันค่ะว่าคืออะไรและมีกี่ประเภทกันบ้าง

การทำรากฟันเทียม เป็นหนึ่งในนวัตกรรมทางด้านทันตกรรม ที่ช่วยแก้ไขปัญหา ฟันหลอ ฟันน้อย ฟันไม่ครบ โดยวัสดุรากฟันเทียมที่ใช้จะผลิตจากไทเทเนียม ที่ได้รับการออกแบบมาเป็นพิเศษ ซึ่งกระบวนการทำรากฟันเทียมนั้นก็จะประกอบด้วย 3 กระบวนการหลักๆคือ

  1. ทำการผ่าตัดเพื่อฝังตัวรากฟันเทียม โดยจะฝังลงไปในกระดูกและเย็บแผล หลังจากนั้นจึงรอให้ตัวรากฟันเทียมนั้นยึดติดเข้ากับกระดูกขากรรไกรโดยสมบูรณ์
  2. ทำการใส่แกนฟันจำลอง เพื่อรอรองรับตัวครอบฟันจริง และ
  3. ทำการใส่แกนฟันและตัวครอบฟันจริง

หลังจากที่เราได้ทราบกันไปแล้วว่า รากฟันเทียมคืออะไร ต่อจากนี้เพื่อให้เรารู้จักและเข้าใจการทำรากฟันเทียมได้ดีมากยิ่งขึ้น เรามาดูกันดีกว่าค่ะว่า รากฟันเทียมมีกี่ประเภทและมีประเภทอะไรกันบ้าง

การรักษารากฟันเทียมสามารถแบ่งได้คร่าวๆเป็น 3 ประเภท ดังนี้ค่ะ

  1. การฝังรากฟันเทียมแบบปกติ คือ การฝังที่ทำแค่เพียงไม่กี่ซี่ กล่าวง่ายๆก็คือ ไม่ทำทั้งปาก ขาดตรงไหน หลอตรงไหน ก็เติมตรงนั้น โดยไม่ต้องทำการกรอหรือปรับแต่งฟัน ซี่ที่อยู่ข้างเคียงแต่อย่างใด ซึ่งราคาของการทำรากฟันเทียมนั้นจะขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาของวัสดุ ราคาโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 30,000 – 70,000 บาท / ซี่
  2. การฝังรากฟันเทียมแบบทำทั้งปาก คือ การฝังรากฟันเทียมที่ครอบด้วยสะพานฟันปลอมที่ติดแน่นแบบทั้งปาก ซึ่งราคาจะแตกต่างกันไปตามจำนวนของรากฟันเทียมที่รองรับตัวสะพานฟันปลอม โดยทั่วไปจำนวนของรากฟันเทียมที่รองรับจะเริ่มต้นตั้งแต่ 4 ตัว ถึง 6 ตัวค่ะ และราคาเฉลี่ยจะอยู่ที่ 290,000 – 400,000 บาท
  3. การฝังรากฟันเทียมเล็กแบบถอดฟันปลอมออกได้ (ทั้งปาก) คือ การฝังรากฟันเทียม แล้วครอบด้วยฟันปลอมที่สามารถถอดออกได้ทั้งปากค่ะ โดยจำนวนรากฟันเทียมที่รองรับนั้นก็จะเริ่มต้นตั้งแต่ 4 ตัว ถึง 6 ตัว และราคาโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 100,000 – 200,000 บาทค่ะ

เป็นยังไงกันบ้างคะ? ทุกท่านได้ทำความรู้จักกับการทำรากฟันเทียมกันไปแล้วอาจเห็นได้ว่าการทำรากฟันเทียมนั้นมีราคาที่สูงมากกว่าการทำฟันปลอมในรูปแบบอื่นๆ แต่ราคาที่สูงก็มาพร้อมกับข้อดีมากมายที่การทำฟันปลอมในรูปแบบอื่นๆไม่สามารถทำให้ท่านได้ค่ะ ดังนั้นถ้าหากท่านใดสนใจการทำรากฟันเทียม ก็สามารถปรึกษาขอรับคำแนะนำต่างๆจากแพทย์ทันตกรรมผู้เชี่ยวชาญได้เลยนะคะ ผู้เขียนหวังว่าในบทความนี้จะให้ความรู้แก่ทุกท่านไม่มากก็น้อย แล้วกลับมาพบกันใหม่ในบทความหน้า สำหรับบทความนี้สวัสดีค่ะ

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายทำรากฟันเทียม

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#รากฟันเทียม #คลินิกทันตกรรม #BPDC

เลือกให้เหมาะ-ฟันปลอม-กับ-รากฟันเทียม-ต่างกันอย่างไร

เลือกให้เหมาะ ฟันปลอม กับ รากฟันเทียม ต่างกันอย่างไร

เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “รอยยิ้ม” เป็นสิ่งแรกที่จะสร้างความประทับใจตั้งแต่แรกเห็น แต่หากรอยยิ้มนั้นไม่สมบูรณ์หรือขาดหายไป เชื่อแน่ว่าย่อมสร้างความไม่มั่นใจที่จะยิ้ม หรือทำให้บุคลิกภาพเสียไป ดังนั้นการสูญเสียฟันก่อให้เกิดผลเสียไม่น้อยไม่เพียงแต่ในเรื่องของความสวยงาม แต่ยังรวมไปถึงปัญหาต่อระบบบดเคี้ยว ทำให้การเคี้ยวไม่มีประสิทธิภาพ ทานได้น้อยลง นอกจากนี้ การสูญเสียฟันซี่ใดซี่หนึ่งไปนาน ๆ จะมีช่องว่าง ทำให้เกิดการเคลื่อนตัว ฟันเกิดการล้มเอียง ซ้อนเกหือยื่นยาว นั่นยิ่งจะสร้างปัญหาให้เศษอาหารเข้าไปติดตามซอกที่ห่างได้ง่ายขึ้น ทำความสะอาดยาก ก็จะเกิดการสะสมของเชื้อโรค ล้วนเป็นปัจจัยเสริมให้เกิดการละลายของกระดูกรองรับรากฟัน และจะเกิดอาการฟันโยกและสูญเสียฟันในที่สุด ซึ่งในปัจจุบันนี้ก็มีทางเลือกให้ผู้ที่สูญเสียฟันได้มีโอกาสที่กลับมามีรอยยิ้มที่สวยงามเหมือนเดิม อย่างฟันปลอมและรากฟันเทียม แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่ตัดสินใจไม่ได้ว่าควรเลือกใช้แบบไหนจึงจะเหมาะ เราจะไปทำความเข้าใจกันค่ะ ฟันปลอม กับ รากฟันเทียม ต่างกันอย่างไร

ฟันปลอมคืออะไร?


ฟันปลอมคือฟันเทียมที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้ทดแทนฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบดเคี้ยว รวมถึงเพื่อเติมเต็มและป้องกันการล้มหรือเอียงของฟันซี่อื่น ๆ โดยเราสามารถแบ่งชนิดของฟันปลอมได้เป็น  2  ชนิด ดังนี้

1. ฟันปลอมชนิดถอดได้ เป็นฟันที่มาทดแทนฟันหนึ่งซี่หรือมากกว่า ซึ่งจะมีทั้งฐานที่เป็นพลาสติกและโลหะ ผู้ใช้สามารถใส่หรือถอดฟันปลอมชนิดได้ด้วยตัวเอง ฟันปลอมชนิดนี้จะอาศัยตะขอในการยึดกับตัวฟัน หรือความแนบสนิทของฐานฟันปลอมกับเนื้อเยื่อในช่องปาก ซึ่งมีข้อดีที่เหมาะสำหรับคนที่ไม่ต้องการความยุ่งยากในการทำความสะอาด ความประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะฟันปลอมชนิดนี้จะมีราคาที่ถูกกว่าฟันปลอมชนิดติดแน่น ส่วนข้อเสียนั้น คือ ไม่สวยงาม ประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวต่ำกว่าฟันปลอมชนิดอื่น อีกทั้งอาจจะก่อให้เกิดความรำคาญกับผู้ใช้เองเนื่องจากจำเป็นต้องถอดทำความสะอาดทุกครั้งหลังทานอาหาร ก่อนนอน เพื่อป้องกันเนื้อเยื่อในช่องปากอักเสบและป้องกันการหลุดเข้าคอขณะนอนหลับ

2. ฟันปลอมชนิดติดแน่น เป็นฟันปลอมที่ยึดแน่นทั้งปาก โดยจะมี 2 แบบ คือ

2.1 สะพานฟัน ใช้ในกรณีที่มีการสูญเสียเนื้อฟันบางส่วนเนื่องจากฟันผุหรือฟันแตกที่เรียกว่า การครอบฟัน หรือกรณีที่ใช้ทดแทนฟันที่หายไป ซึ่งต้องกรอฟันด้านข้างให้เป็นซี่เล็ก ๆ และใส่เข้าไปเชื่อมกันเป็นลักษณะสะพาน เรียกว่า สะพานฟัน เหมาะสำหรับผู้ที่ฟันหายไปไม่กี่ซี่ และมีข้อจำกัดในการผ่าตัดหรือมีเวลาจำกัด แต่ไม่เหมาะกับผู้ที่ช่องว่างไม่มีฟันข้างเคียงเป็นหลักยึดด้านใดด้านหนึ่ง รวมถึงผู้ที่มีภาวะปริทันต์ไม่แข็งแรง เนื่องจากการใส่สะพานฟัน ทำให้การทำความสะอาดฟันยากขึ้น จะยิ่งเป็นการเร่งโรคปริทันต์ให้รุนแรงขึ้น ซึ่งข้อดีคือมีขนาดเหมือนฟันธรรมชาติ ใส่สบายกว่า ข้อเสีย คือ เมื่อต้องมีการกรอฟันด้านข้างให้เล็ก พอใช้งานไปเรื่อย ๆ อาจจะเกิดฟันผุใต้ฟันซี่ที่ถูกกรอได้ โดยปกติสะพานฟันจะมีการใช้งานประมาณ 5-6 ปี แล้วจำเป็นต้องเปลี่ยนใหม่ วัสดุจะทำมาจากโลหะหรือโลหะเคลือบกระเบื้องให้ใกล้เคียงกับสีฟันธรรมชาติ

         2.2 รากฟันเทียม จะเป็นวัสดุโลหะที่มีรูปร่างคล้ายรากฟัน โดยจะนำเข้าไปฝังไว้ในกระดูกขากรรไกร ทดแทนรากฟันที่หายไปจากการที่ฟันถูกถอนออกไป ฟันปลอมชนิดนี้เหมาะกับผู้ที่ต้องการฟันที่ใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุด สามารถบดเคี้ยวได้ดี รวมถึงไม่ต้องกรอแต่งฟันข้างเคียง ทำความสะอาดได้ดี และยังมีความคงทนมากที่สุดในบรรดาฟันปลอมทั้งหมด ซึ่งเหมาะที่สุดสำหรับกรณีฟันหลุดหายไป 1-2 ซี่ แต่ข้อเสียคือ มีราคาที่สูง

กล่าวโดยสรุปแล้ว ความแตกต่างระหว่างฟันปลอมและรากฟันเทียม คือ รากฟันเทียมเป็นส่วนหนึ่งของฟันปลอมในชนิดติดแน่น หรือเราอาจจะเรียกได้ว่า เป็นฟันปลอมยุคใหม่ก็คงไม่ผิดนัก ซึ่งสามารถให้ร่วมกันกับฟันปลอมชนิดอื่น ๆ ได้นั่นเองค่ะ

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายทำฟัน

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#covid19 #คลินิกทันตกรรม #BPDC