“ริมฝีปากแห้ง” ปัญหาสุขภาพจิ๊บๆ ที่แก้ได้ง่ายๆ ด้วยตนเอง

ปัญหา “ริมฝีปากแห้ง” ปัญหาสุขภาพจิ๊บๆ ที่แก้ได้ง่ายๆ ด้วยตนเอง

ปัญหาริมฝีปากแห้ง เป็นปัญหาที่ไม่ร้ายแรงเท่าใดนัก แต่จะเห็นรอยแตกตามริมฝีปากอย่างชัดเจน ซึ่งวิธีแก้ปากแห้ง เพื่อป้องกัน มาจากภาวะที่ต่อมน้ำลายในปากสร้างน้ำลายไม่เพียงพอที่จะทำให้ปากชุ่มชื้นหรือคลุกเคล้าอาหารให้กลืนง่ายตามปกติ อาการริมฝีปากแห้งยังเกิดจากผลข้างเคียงของยาบางชนิดหรือผู้มีอายุมาก หรือเป็นผลมาจากการฉายรังสีรักษามะเร็ง บ่อยครั้งที่อาการปากแห้งอาจเกิดจากภาวะที่ส่งผลโดยตรงต่อต่อมน้ำลาย โดยน้ำลายช่วยป้องกันฟันผุโดยทำให้กรดเป็นกลางที่เกิดจากแบคทีเรีย จำกัดการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย และล้างเศษอาหาร น้ำลายยังช่วยเพิ่มความสามารถในการรับรสและทำให้เคี้ยวและกลืนได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ เอนไซม์ในน้ำลายยังช่วยในการย่อยอาหาร และวิธีแก้ปากแห้งจะช่วยลดความแห้งกร้านออกมาแม้แต่ยามแต่งหน้า

น้ำลายและริมฝีปากแห้งที่ลดลงอาจมีตั้งแต่รบกวนการใช้ชีวิต ไปจนถึงบางสิ่งที่ส่งผลกระทบอย่างสำคัญต่อสุขภาพโดยทั่วไป ยังสัมพันธ์ต่อสุขภาพของฟันและเหงือกโดยตรง ตลอดจนความอยากอาหารและความเพลิดเพลินในการรับประทานอาหาร วิธีแก้ปากแห้งขึ้นอยู่กับสาเหตุ แต่ไม่ได้แปลว่าจะแก้ไขไม่ได้เสียทีเดียว โดยจะแบ่งตามลักษณะสาเหตุได้ของริมฝีปากแห้ง ที่มีรอยแตกและเป็นขุย ดังนี้

  • การใช้ยาสูบและแอลกอฮอล์ : การดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่หรือเคี้ยวยาสูบอาจทำให้อาการปากแห้งเพิ่มขึ้น และทำให้ริมฝีปากกร้านไว
  • การใช้ยาเสพติด : การใช้ยาบ้าอาจทำให้ปากแห้งอย่างรุนแรงและทำลายฟัน ซึ่งเป็นภาวะที่เรียกว่า “ยาเสพติด” กัญชาก็ทำให้ริมฝีปากแห้งได้เช่นกัน
  • การดื่มน้ำไม่เพียงพอ : การดื่มน้ำไม่เพียงพอยังทำให้ริมฝีปากแห้ง เนื่องจากขาดน้ำ ส่งผลต่อความชุ่มชื้นตามร่างกาย และมีโอกาสแห้งแตกจนเกิดเลือดออกมาได้ง่าย
  • ฤดูหนาว : ในช่วงฤดูหนาว หรือบางท้องที่ที่มีหิมะตก จะทำให้ริมฝีปากขาดความชุ่มชื้นมากกว่าปกติ และมีโอกาสแห้งเป็นขุยมากกว่าฤดูอื่น
  • ไม่ยอมทาลิปมัน : การไม่ทาลิปมัน จะทำให้ปากเป็นขุย เนื่องจากไม่มีความชุ่มชื้นเลย สารในลิปมันจะมีวิตามินอี ช่วยให้มีความชุ่มชื้น หรือใครที่แห้งจนเป็นรอยแตก สามารถสมานแผลได้

วิธีการแก้ปัญหาอาการปากแห้ง

               วิธีแก้ปากแห้งสามารถแก้ไขได้ และทำให้หายขาดง่ายกว่าอาการอื่นๆ เนื่องจากไม่ได้เป็นโรคที่ร้ายแรง แต่ริมฝีปากแห้งก็ส่งผลต่อสุขภาพระยะยาว โดยสามารถทำได้ด้วยตนเองดังนี้

  • เลือกน้ำยาบ้วนปากที่ออกแบบมาสำหรับป้องกันปากแห้งโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นสารที่มีไซลิทอล จะมีประสิทธิภาพการรักษาความชุ่มชื้นได้ดี เช่น น้ำยาบ้วนปาก Biotene Dry Mouth หรือน้ำยาบ้วนปาก Act Dry Mouth ซึ่งช่วยป้องกันฟันผุได้เช่นกัน
  • ดื่มน้ำวันละ 2 ลิตรทุกๆ วัน เพราะน้ำจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับร่างกาย และริมฝีปากจะอิ่มน้ำจากภายในอยู่ตลอดเวลา และควรดื่มเป็นประจำทุกวัน
  • หากริมฝีปากแห้งและมีรอยแตกมาก ให้ลองใช้ครีมแบบข้นๆ เช่น ปิโตรเลียมเจลลี่สีขาว ครีมที่ช่วยกักเก็บน้ำนานกว่าแว็กซ์หรือน้ำมัน รวมถึงทาลิปบาล์มที่ไม่ระคายเคืองด้วยค่า SPF 30 หรือสูงกว่าก่อนออกไปข้างนอก แม้ในฤดูหนาว การปกป้องริมฝีปากจากแสงแดดก็เป็นสิ่งสำคัญพอๆ กับผิวหน้า
  • การรับประทานอาหารที่เหมาะสม ควรทานอาหารที่มีวิตามินอี เช่น น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันรำข้าว ไข่ ข้าวซ้อมมือ ผักใบเขียว ผลไม้ รวมถึงอาหารจำพวกถั่ว เช่น ถั่วแมคคาเดเมีย อัลมอนด์

ริมฝีปากแห้ง ถ้าปล่อยไว้นานๆ มีโอกาสริมฝีปากแตกเรื้อรังที่รักษาไม่หาย อาจเป็นสัญญาณของภาวะทางการแพทย์ที่ร้ายแรงหรือการติดเชื้อ ซึ่งรวมถึงความเสี่ยงต่อ actinic Cheilitis ซึ่งเป็นมะเร็งผิวหนังระยะแรกที่ต้องได้รับการรักษาทันที ในขณะเดียวกันความเครียดเป็นสาเหตุของอาการปากแห้ง เนื่องจากความวิตกกังวลกระตุ้นการตอบสนองต่อความเครียด และการตอบสนองต่อความเครียดทำให้ร่างกายมีความเครียด ความเครียดและความวิตกกังวลอาจทำให้เกิดอาการปากแห้งได้ และสิ่งที่สำคัญในวิธีแก้ปากแห้งเมื่อรู้สึกว่าริมฝีปากแห้ง จะมีอาการขาดน้ำเข้ามา ควรดื่มน้ำเพื่อให้ร่างกายมีน้ำเพียงพอ ภาวะทุพโภชนาการ การรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสมและการขาดสารอาหารอาจทำให้ผิวหนังและริมฝีปากแห้งกว่าปกติ ซึ่งสามารถลดรอยแตกและเป็นขุยได้ในระยะยาว

สอบถามเพิ่มเติมและตรวจสุขภาพฟัน
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ทันตกรรม #ตรวจสุขภาพฟัน #คลินิกทันตกรรม

แก้ปัญหากรามค้างอย่างไร

แก้ปัญหากรามค้างอย่างไรให้ถูกต้อง ถูกวิธี

แก้ปัญหากรามค้างอย่างไรให้ถูกต้อง ถูกวิธี

เคยประสบปัญหาเช่นนี้กันบ้างไหมคะ? รับประทานอาหารอยู่ดีๆ กำลังอ้าปากหาวเพราะกำลังง่วงนอนเต็มที่ หรือกำลังสนทนาพุดคุยกับเพื่อนอย่างเมามัน แล้วอยู่ๆปากที่เคยใช้งานได้ดี ไม่สามารถหุบลงมาได้..ถ้าคุณกำลังมีอาการในลักษณะนี้ เป็นไปได้ว่ากำลังเข้าสู่ภาวะที่เรียกว่า “กร้ามค้าง” ซึ่งอาการนี้เกิดจากความผิดปกติของขากรรไกร ทำให้มีการอ้าปากได้น้อยกว่าปกติ อ้าปากแล้วหุบลงไม่ได้หรือในบางรายอาจมีอาการปวดร่วมด้วย ซึ่งแน่นอนว่าได้ส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับอาการกรามค้างนี้ด้วยกัน พร้อมวิธีรักษาและป้องกันไม่ให้อาการนี้กระทบต่อการดำเนินชีวิตมากจนเกินไป

อาการกรามค้างคืออะไร

อาการ “กรามค้าง” ในทางการแพทย์เรียกลักษณะอาการเช่นนี้ว่า “ขากรรไกรค้าง” หรือ “อ้าปากค้าง” ซึ่งเกิดจากภาวะข้อต่อขากรรไกรทำงานผิดปกติ โดยสามารถทำให้เกิดอาการต่างๆดังต่อไปนี้

  • มีอาการปวดบริเวณขากรรไกรด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองข้าง รวมถึงปวดบริเวณรอบๆหูหรือใบหน้า
  • มีอาการเจ็บบริเวณขากรรไกรในขณะที่กำลังเคี้ยวอาหาร ทำให้เคี้ยวอาหารได้ลำบาก
  • มีเสียงดังบริเวณขากรรไกรเมื่ออ้าปากหรือเคี้ยวอาหาร
  • อ้าปากแล้วหุบลงไม่ได้หรืออ้าปากได้น้อยกว่าปกติ

สาเหตุของอาการกร้ามค้าง

ในปกติทั่วไป ขากรรไกรจะเคลื่อนที่แบบบานพับร่วมกับแบบเลื่อน โดยจะมีกระดูกอ่อนห่อหุ้มกระดูกในส่วนที่สัมผัสกันและมีหมอนรองกระดูกมารองรับแรงกระแทก ทำงานประสานกัน ทำให้ข้อต่อขากรรไกรสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างลื่นไหล แต่กรณีที่เกิดอาการกรามค้าง อาจมีสาเหตุมาจาก

  • หมอนรองกระดูกเกิดการสึกกร่อนหรือเคลื่อนออกนอกตำแหน่งเดิม
  • กระดูกอ่อนที่หุ้มข้อต่อได้รับความเสียหายจากโรคข้ออักเสบ
  • ข้อต่อเสียหายจากการกระแทกอย่างรุนแรง
  • การสบฟันที่ผิดปกติ (Malocclusion) หรือเป็นปัญหาเกี่ยวกับการบดเคี้ยว เช่น การสูญเสียฟันกราม เป็นต้น
  • เกิดจากการกัดหรือเค้นฟันอย่างรุนแรงเป็นเวลานาน

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการกรามค้าง

มีปัจจัยเสี่ยงที่ส่งเสริมให้เกิดอาการกรามค้างได้หลายประการ ส่วนหนึ่งเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้ชีวิตรวมถึงโรคบางชนิดที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการกรามค้างได้ด้วย ดังนี้

  • โรคข้ออักเสบชนิดต่าง ๆ เช่น โรคข้อเข่าเสื่อม โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นต้น
  • ขากรรไกรบาดเจ็บจากการถูกกระแทกอย่างรุนแรง
  • พฤติกรรมการเคี้ยวอาหารข้างเดียว ส่งผลให้กล้ามเนื้อและข้อต่อขากรรไกรทำงานไม่สมดุลกัน
  • การรับประทานอาหารที่แข็งและมีความเหนียวอยู่บ่อยๆ
  • ความเครียด ที่ส่งผลให้หลายคนนอนกัดฟันอยู่เป็นประจำ
  • โรคของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue disease) บางชนิดที่อาจส่งผลต่อข้อต่อขากรรไกร

การรักษาอาการกรามค้าง

อาการกรามค้างเกิดขึ้นได้ในระดับที่เป็นปกติธรรมดา ซึ่งสามารถหายไปเองได้โดยไม่ต้องรักษา หรือในบางกรณีอาจจะมีความรุนแรงมากขึ้น ในส่วนนี้อาจจะต้องเข้าพบแพทย์เพื่อรับการรักษาในลำดับต่อไป แต่ในเบื้องต้น สามารถใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการ ดังต่อไปนี้

  • ยาแก้ปวดและยาแก้อักเสบ ประเภท ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) นาพรอกเซน (naproxen) เป็นต้น
  • ยาคลายกล้ามเนื้อ (Muscle relaxants) เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวด และลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ
  • ยาคลายกังวล (Tricyclic antidepressant) เช่น อะมิทริปไทลีน (Amitriptyline) เพื่อบรรเทาอาการปวด อาการนอนไม่หลับ พร้อมทั้งช่วยควบคุมอาการนอนกัดฟันได้ด้วย

แต่เมื่ออาการกรามค้างในผู้ป่วยบางรายมีความรุนแรงมากขึ้น แพทย์อาจจะต้องพิจารณาใช้การรักษาแบบผ่าตัดร่วมด้วย เช่น

  • การเจาะข้อต่อขากรรไกร (Arthrocentesis) โดยการใช้เข็มขนาดเล็กสอดเข้าไปในข้อต่อขากรรไกร เพื่อช่วยระบายสิ่งสกปรกและของเหลวภายในข้อต่อให้ออกไป
  • การฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid) เข้าไปในข้อต่อเพื่อช่วยลดการอักเสบ และฉีดโบทูลินัมท็อกซินชนิดเอ (Botulinum toxin type A) เข้าไปในกล้ามเนื้อบดเคี้ยวเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวด
  • การผ่าตัดข้อต่อขากรรไกรแบบส่องกล้อง โดยการสอดกล้องขนาดเล็กและอุปกรณ์ผ่าตัดเข้าไปเพื่อกำจัดเนื้อเยื่อในส่วนที่อักเสบและปรับข้อต่อให้กลับมาในสภาพที่ปกติ
  • การผ่าตัดเปิดข้อต่อขากรรไกร เพื่อทำการรักษาหรือเปลี่ยนข้อต่อขากรรไกรที่ผิดปกติหรือเสียหายอย่างรุนแรงให้กลับมาทำงานได้เช่นเคย

การดูแลตนเองเพื่อลดปัญหากรามค้าง

ส่วนสำคัญที่มีส่วนช่วยได้เป็นอย่างมากในการจัดการกับปัญหากรามค้างคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งานของระบบภายในช่องปาก พร้อมทั้งการบริหารบริเวณขากรรไกรร่วมด้วย ดังต่อไปนี้

  • เมื่อมีอาการปวดบริเวณขากรรไกร ควรลดปริมาณการใช้งานในบริเวณนั้น เช่น เลี่ยงการพูดมากจนเกินไป หรือการร้องเพลง เป็นต้น
  • ให้รับประทานอาหารประเภทที่อ่อน นิ่ม หลีกเลี่ยงอาหารที่แข็งหรือเหนียว
  • เลี่ยงการอ้าปากกว้าง เมื่อรับประทานอาหารแนะนำว่าให้ตักคำเล็กๆพอดีคำ
  • หมั่นบริหารขากรรไกรเพื่อคลายกล้ามเนื้อบดเคี้ยวและใบหน้า วิธีการคือให้แตะปลายลิ้นไว้ที่บริเวณเหงือกหลังฟันหน้าบน จากนั้นให้อ้าปากกว้างที่สุด ค้างไว้ประมาณ 5- 6 วินาที ทำซ้ำ 6 ครั้ง วันละ 6 รอบ
  • หากผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาทางทันตกรรม ก่อนเริ่มรักษา ควรมีการแจ้งประวัติกรามค้างทันตแพทย์ทราบทุกครั้ง

อาการ “กรามค้าง” สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย เนื่องจากความผิดปกติจากการใช้งานบริเวณขากรรไกร ซึ่งสามารถรักษาได้ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เพื่อป้องกันอาการดังกล่าว ให้เราลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างในการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการตักอาหารแต่พอดีคำ การเลี่ยงอาหารที่แข็งหรือเหนียวเพราะนั่นจะทำให้ระบบขากรรไกรทำงานหนักขึ้น และอย่าลืมหมั่นบริหารขากรรไกรของเราอยู่เสมอด้วยนะคะ

สอบถามเพิ่มเติมและตรวจสุขภาพฟัน
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ทันตกรรม #ตรวจสุขภาพฟัน #คลินิกทันตกรรม

ฟันล้ม แก้ไขอย่างไร

ฟันล้ม แก้ไขอย่างไร

ฟันล้ม..แก้ไขอย่างไรให้ฟันกลับมาเรียงสวยเหมือนเดิม

“ฟันล้ม” อีกหนึ่งปัญหาในช่องปากที่สร้างความกังวลใจให้กับหลายคนอยู่ไม่น้อย ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับคนที่จัดฟันเท่านั้น แต่ยังสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทั่วไป ซึ่งภาวะฟันล้มนี้มีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยเสี่ยง และสามารถนำไปสู่การขึ้นของฟันที่ผิดปกติจนทำให้เกิดเป็นปัญหาเรื้อรังตามมาในอนาคตได้ ฟันล้มมีที่มาจากอะไร แล้วมีวิธีไหนที่จะทำให้ฟันกลับมาเรียงสวยได้บ้าง เราจะมาทำความเข้าใจและรับมือกับภาวะดังกล่าวนี้ด้วยกัน

ลักษณะของฟันล้ม

ก่อนอื่นให้เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า โดยปกติฟันของคนเราจะมีการเคลื่อนตัวอยู่ตลอดเวลา แต่จะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ในกรณีของการเกิดฟันล้มนั้น เป็นลักษณะของการที่ฟันเคลื่อนที่หรือเอียงไปข้างใดข้างหนึ่งเพื่อหาความสมดุลหรือเพื่อยึดเกาะฟันซี่ที่อยู่ใกล้เคียงตามกลไกธรรมชาติ หรือที่เรารู้กันดีในชื่อของ “ฟันเก”นั่นเอง ส่วนใหญ่มักเป็นฟันซี่ที่อยู่ใกล้ๆฟันที่ถูกถอนไปจนทำให้เกิดช่องว่างระหว่างฟัน และอาจทำให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมาได้ เช่น ไม่สามารถบดเคี้ยวอาหารตามแนวแกนของฟัน มีปัญหาเกี่ยวกับการสบฟัน หรืออาจถึงขั้นลุกลามจนกลายเป็นโรคเหงือกอักเสบตามมาได้

สาเหตุของการเกิดฟันล้ม

“ฟันล้ม” “ฟันเก” หรือ “ฟันเอียง” สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

  1. มีการถอนฟันแท้ออก แล้วไม่ได้ใส่ฟันปลอม ทำให้ฟันที่มีอยู่เอียงหรือล้ม
  2. ในกรณีที่มีการจัดฟัน หลังจากที่ถอดเครื่องมือจัดฟันออก แล้วไม่ได้ใส่รีเทนเนอร์หรือเครื่องมือกันฟันล้ม
  3. มีความผิดปกติของขากรรไกรหรือสุขภาพฟันตั้งแต่กำเนิด รวมถึงการสบฟันที่ผิดปกติ
  4. เหงือกร่น หรือกระดูกรองรับรากฟันละลายตัว
  5. อายุที่เพิ่มมากขึ้น
  6. เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงที่เอื้อให้เกิดฟันล้ม เช่น การนอนกัดฟัน การใช้ลิ้นดันฟัน เป็นต้น

ผลเสียจากการปล่อยให้ฟันล้ม

ฟันล้ม ได้ส่งผลเสียต่อสุขภาพปากและฟันดังต่อไปนี้

  • ทำให้มีเศษอาหารติดบริเวณช่องว่างระหว่างฟันได้ง่ายขึ้น
  • นำไปสู่การเกิดฟันผุและโรคปริทันต์
  • ทำให้เคี้ยวอาหารได้ไม่ละเอียด ส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร
  • กรณีที่ฟันล้มมาก ทำให้ไม่สามารถใส่ฟันปลอมได้
  • ขาดความมั่นใจในการพูดหรือการยิ้ม
วิธีรักษาฟันล้ม

ในการรักษาฟันล้ม ฟันเอียง ควรรีบมารักษาทันทีที่มีอาการ เพราะหากปล่อยเอาไว้นาน อาจจะบานปลายและรักษาได้ยาก  ซึ่งวิธีการรักษาที่เป็นที่นิยม มีดังต่อไปนี้

  1. ใส่รีเทนเนอร์
    การใส่รีเทนเนอร์หรือที่รู้จักกันในชื่อของ “เครื่องมือคงสภาพฟัน” หรือ “เครื่องมือกันฟันล้ม”  เป็นการช่วยไม่ให้ฟันล้มมากไปกว่าเดิม แต่มีข้อจำกัดคือจำเป็นต้องใส่ตลอดเวลา เพื่อไม่ให้ฟันกลับมาล้มในตำแหน่งเดิมอีก
  2. ใส่ฟันปลอม
    การใส่ฟันปลอมทดแทน เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะเป็นการปิดช่องว่างระหว่างฟันเพื่อป้องกันการเคลื่อนที่และการล้มเอียงของฟัน ซึ่งฟันปลอม มีทั้งแบบถาวรและแบบชั่วคราว สามารถเลือกได้ตามความสะดวก ความเหมาะสมและง่ายต่อการใช้งาน โดยฟันปลอมทดแทนที่มีประสิทธิภาพสูงและได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายคือการทำรากฟันเทียมเพื่อการรักษาในระยะยาว
  3. การจัดฟัน
    การจัดฟันเป็นการใช้เหล็กหรือลวดดึงฟันให้กลับมาอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมหรือกลับมาอยู่ในตำแหน่งเดิม เป็นวิธีการรักษาที่สามารถแก้ไขปัญหาฟันล้ม ฟันเอียง ฟันเคลื่อนหรือฟันเก ได้ดีเช่นกัน โดยปัจจุบันได้มีการจัดฟันในหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น การจัดฟันแบบโลหะ การจัดฟันเซรามิก การจัดฟันแบบดามอน หรือการจัดฟันแบบใส(invisalign) เป็นต้น

วิธีป้องกันฟันล้ม

สำหรับใครที่อยากมีฟันเรียงสวย ไม่ล้ม ไม่เก ไม่เอียง และถ้าหากไม่อยากเสียเวลาและเสียเงินในการรักษาสามารถป้องกันได้ ดังต่อไปนี้

  • หมั่นทำความสะอาดช่องปากอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งหรือทุกครั้งหลังอาหาร เพราะการดูแลสุขภาพปากและฟันเป็นการป้องกันปัญหาในช่องปากเบื้องต้น เพื่อลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดฟันผุและนำมาซึ่งปัญหาฟันล้มเอียงตามมา โดยสามารถใช้ผลิตภัณฑ์หรืออุปกรณ์ทำความสะอาดฟันอย่างอื่นควบคู่ด้วยได้ ไม่ว่าจะเป็น ไหมขัดฟัน หรือน้ำยาบ้วนปาก
  • ใส่รีเทนเนอร์เป็นประจำและต่อเนื่อง โดยเฉพาะคนที่จัดฟัน เพราะหลังจากที่ถอดเครื่องมือจัดฟันออกแล้ว นั่นหมายถึงฟันของเรามีความเสี่ยงที่จะล้มได้ ดังนั้นจำเป็นต้องใส่เครื่องมือกันฟันล้มเพื่อจะได้ไม่ต้องรักษาใหม่หลายรอบ
  • หมั่นตรวจสุขภาพฟันทุกๆ 6 เดือน เพื่อจะได้ทราบถึงความปกติหรือปัญหาที่เกิดกับฟัน และจะได้รักษาอย่างทันท่วงที

“ฟันล้ม” สามารถป้องกันได้แต่เนิ่นๆ โดยการกลับไปสู่การดูแลสุขภาพปากและฟันแบบเบื้องต้น หมั่นตรวจสอบถึงความผิดปกติในช่องปากอยู่เสมอและเมื่อพบปัญหาอย่าลังเลที่จะเข้าพบทันตแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสมต่อไป

สอบถามเพิ่มเติมและตรวจสุขภาพฟัน
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ทันตกรรม #ตรวจสุขภาพฟัน #คลินิกทันตกรรม #ฟันล้ม

อาการเสียวฟัน

ปัญหา “เสียวฟัน” ปัญหารบกวน…ที่มาพร้อมกับสัญญาณของสุขภาพฟันไม่ดี

เคยไหมที่เวลาเราเคี้ยวอะไรสักอย่าง…ถึงมีอาการคล้ายๆ เสียวๆ ตรงฟันกรามออกมาชัดเจน ยิ่งทานอาหารที่เป็นของเย็นๆ ยิ่งรู้สึกเสียวฟันจี๊ดๆ ออกมาชัดเจน อาการเหล่านี้เรียกว่า “อาการเสียวฟัน” ที่มีชื่อภาษาอังกฤษว่า “Sensitive Teeth” ซึ่งมันเป็นปัญหาที่รบกวนต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก มันสื่อถึงปัญหาช่องปากโดยมีสัญญาณจากปัญหาเสียวฟัน มักจะเกิดจากเหงือกหรือฟันที่บอบบาง มักเป็นผลของเสียวฟันรบกวน มาจากการเคลือบฟันที่สึกหรอหรือรากฟันที่หลุดออกมา อย่างไรก็ตาม บางครั้งความรู้สึกไม่สบายฟันเกิดจากปัจจัยอื่นๆ เช่น โพรงฟัน ฟันแตกหรือบิ่น การอุดฟันที่สึกกร่อน โรคเหงือก หรือเป็นสัญญาณการเกิดปริทันต์อีกด้วย ซึ่งอาการเสียวฟันเกิดได้ทุกเพศทุกวัย

“อาการเสียวฟัน” เป็นสิ่งที่ฟังดูเหมือนความเจ็บปวดหรือความรู้สึกไม่สบายในฟันของเรา ที่อาการเจ็บแปลบๆ จี๊ดๆ ตอบสนองต่อสิ่งเร้าบางอย่าง เช่น การเคี้ยวหมากฝรั่ง เคี้ยวลูกอมที่เหนียวหนึบ การรับประทานอาหารที่มีอุณหภูมิที่ร้อนหรือเย็น ซึ่งเสี่ยงต่ออาการเสียวฟันขณะกิน อาจเป็นปัญหาชั่วคราวหรือเรื้อรัง และอาจส่งผลต่อฟันหนึ่งซี่ ฟันหลายซี่ หรือฟันทั้งหมดในคนๆ เดียว อาจมีสาเหตุหลายประการ แต่กรณีส่วนใหญ่ของฟันที่บอบบางสามารถรักษาได้ง่ายด้วยการดูแลรักษาระบบสุขอนามัยในช่องปากเพื่อลดปัญหาเสียวฟัน

สาเหตุของอาการเสียวฟัน

บางครั้งภาวะอื่นๆ นอกจากอายุมากเนื่องจากสูงวัย การทานอาหารร้อนและเย็นอาจทำให้เสียวฟันได้ แต่ก็มีสาเหตุอื่นร่วมด้วย ที่ส่งผลต่ออาการเสียวฟัน ซึ่งอาการเหล่านี้ล้วนมีสาเหตุอื่นเข้ามา และไม่ได้มีเพียงจุดเดียว เช่น

  1. กรดไหลย้อน (GERD) อาจทำให้กรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหารและหลอดอาหาร ซึ่งกรดในกระเพาะอาหารมีค่า pH ที่ 1.5 อยู่ในสภาพเป็นกรด และอาจสึกกร่อนเมื่อเวลาผ่านไป ภาวะที่ทำให้อาเจียนบ่อยๆ รวมทั้งกระเพาะอาหารและลำไส้แปรปรวน อาจทำให้กรดสึกกร่อนเคลือบเคลือบฟันได้
  2. เหงือกร่นอาจทำให้ส่วนของฟันเปิดออกและไม่มีการป้องกัน และยังทำให้เกิดปัญหาเสียวฟัน
  3. ฟันผุ ฟันหัก ฟันบิ่น และการอุดฟันหรือครอบฟันที่สึกหรอ อาจทำให้เนื้อฟันเผยออก ทำให้เกิดอาการเสียวฟันได้ หากเป็นกรณีนี้ คุณจะรู้สึกเสียวฟันเพียงซี่เดียวหรือบริเวณใดบริเวณหนึ่งในปาก แทนที่จะเป็นฟันส่วนใหญ่ ในส่วนนี้อาจทำให้เสียวฟันขณะกิน
  4. ฟันบอบบางชั่วคราวหลังจากทำฟัน เช่น อุดฟัน ครอบฟัน หรือการฟอกสีฟัน ในกรณีนี้อาการเสียวฟันจะจำกัดอยู่ที่ฟันซี่เดียวหรือฟันรอบฟันที่ได้รับการทำทันตกรรม สิ่งนี้ควรบรรเทาลงหลังจากผ่านไปหลายวัน บางรายอาจจะมีอาการเสียวฟันรบกวนเข้ามาหลังจากนั้น

วิธีการรักษาอาการเมื่อมีอาการเสียวฟัน

หากมีอาการเสียวฟันเป็นครั้งแรก ให้นัดหมายกับทันตแพทย์ของคุณทันที เพราะสามารถตรวจสุขภาพฟันและตรวจหาปัญหาที่อาจเกิดขึ้น เช่น ฟันผุ อุดฟันหลวม หรือเหงือกร่นที่อาจทำให้เกิดอาการเสียวฟันได้

ทันตแพทย์สามารถทำเช่นนี้ได้ในระหว่างการทำความสะอาดฟันตามปกติของคุณ พวกเขาจะทำความสะอาดฟันของคุณและตรวจสายตา พวกเขาอาจสัมผัสฟันของคุณโดยใช้เครื่องมือทางทันตกรรมเพื่อตรวจสอบความไวต่อการตอบสนอง และอาจสั่งให้เอ็กซ์เรย์ฟันเพื่อแยกแยะสาเหตุของเสียวฟันรบกวน เช่น ฟันผุ ฟันสึกกร่อน

วิธีการลดอาการเสียวฟันสามารถรักษาได้โดยเริ่มจากที่บ้าน เราสามารถปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตบางส่วนที่มีส่วนมาจากเสียวฟันขณะกิน เพื่อยืดอายุการใช้งานของฟันและสุขภาพช่องปาก โดยมีวิธีการดูแลตัวเองจากปัญหาเสียวฟันได้ดังนี้

อาการเสียวฟันดูแลได้อย่างไร

  • หากอาการเสียวฟันไม่รุนแรง คุณสามารถลองใช้การรักษาทางทันตกรรมที่จำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์
  • เลือกยาสีฟันที่มีป้ายกำกับว่าผลิตมาเพื่อฟันที่บอบบางโดยเฉพาะ ยาสีฟันเหล่านี้จะไม่มีส่วนผสมที่ระคายเคืองใดๆ และอาจมีส่วนผสมที่ทำให้รู้สึกไวต่อความรู้สึกที่ช่วยป้องกันความรู้สึกไม่สบายจากการตอบสนองไปยังเส้นประสาทของฟัน
  • ให้เลือกน้ำยาบ้วนปากที่ปราศจากแอลกอฮอล์ เพราะจะระคายเคืองต่อฟันที่บอบบางน้อยกว่า
  • การใช้แปรงสีฟันที่นุ่มกว่าและการแปรงฟันอย่างนุ่มนวลก็สามารถช่วยได้เช่นกัน แปรงสีฟันแบบอ่อนจะติดฉลากไว้เช่นนั้น เพื่อลดการเสียดสีจนเกิดปัญหาเสียวฟัน
  • หากการรักษาที่บ้านไม่ได้ผล คุณสามารถพูดคุยกับทันตแพทย์เกี่ยวกับยาสีฟันที่ต้องสั่งโดยแพทย์และน้ำยาบ้วนปาก อาจใช้เจลฟลูออไรด์หรือสารลดความรู้สึกไวตามใบสั่งแพทย์ สิ่งเหล่านี้สามารถช่วยเสริมสร้างเคลือบฟันและปกป้องฟันเนื่องจากปัญหาเสียวฟัน

สอบถามเพิ่มเติมและตรวจสุขภาพฟัน
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ทันตกรรม #ตรวจสุขภาพฟัน #คลินิกทันตกรรม