รากฟันเทียมดีกว่าฟันปลอมอย่างไร

รากฟันเทียมดีกว่าฟันปลอมอย่างไร

เมื่อฟันถูกถอนไป กระดูกรองรับรากฟันในบริเวณนั้นจะเกิดการละลายมากกว่าในบริเวณที่ยังมีฟันธรรมชาติอยู่ การใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้เพื่อทดแทนช่องว่างนั้นสามารถทำได้ แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไปเราจะพบว่าเกิดการหลวมของฟันปลอมขึ้นโดยเหตุผลส่วนหนึ่งนั้นมาจากที่กระดูกรองรับรากฟันได้ละลายไป ทำให้เกิดการยุบตัวของสันเหงือก ฟันปลอมจึงไม่มีความพอดีเหมือนในช่วงแรก

เป็นที่ทราบดีว่า รากฟันเทียม นั้นทำมาจากวัสดุที่เข้ากับเนื้อเยื่อของร่างกายเราได้อย่างดี การมีอยู่ของรากฟันเทียมในกระดูรองรับรากฟันจะช่วยกระจายแรงบดคี้ยวจากตัวครอบฟันลงสู่กระดูกขากรรไกรของเราอย่างเหมาะสม ดังนั้นการใส่รากฟันเทียมจึงช่วยชะลอการเสื่อมของกระดูกรองรับรากฟันอีกในบริเวณที่มีการถอนฟันออกไปนั่นเอง

หลังจากใส่รากฟันเทียมแล้วจะสามารถต่อครอบฟันขึ้นมาจากรากฟันเทียมเพื่อทดแทนฟันที่หายไปโดยที่ไม่ต้องกรอแต่งฟันธรรมชาติเหมือนกับในการทำสะพานฟัน ในกรณีที่มีฟันถูกถอนไปติดกันหลายตำแหน่งรากฟันเทียมก็สามารถรองรับครอบฟันในรูปแบบสะพานฟันได้เช่นกัน หรือในกรณีที่ไม่มีฟันธรรมชาติเหลืออยู่เลยการ เราสามารถใส่รากฟันเทียมเพื่อเพิ่มการยึดเกาะให้กับฟันปลอมได้อีกด้วย โดยไม่ว่าจะเป็นการใส่รากฟันเทียมเพื่อต่อครอบฟัน/สะพานฟันแบบติดแน่น หรือ เพื่อเพิ่มการยึดติดให้กับฟันปลอมชนิดถอดได้ ล้วนช่วยให้สามารถบดเคี้ยวได้ดีขึ้น แก้ปัญหาฟันปลอมขยับขณะรับประทานอาหาร เพิ่มความรู้สึกสบายมั่นใจมากยิ่งขึ้นในขณะพูดคุยอีกด้วย

ระยะเวลาในการทำรากฟันเทียม

สำหรับระยะเวลาในการรักษารากฟันเทียม นั้นจะใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 3 – 6 เดือน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ของช่องปาก ไม่ว่าจะเป็นปริมาณและคุณภาพของกระดูกขากรรไกร ที่อาจจะต้องมีการเสริมกระดูกให้แข็งแรง จำนวนฟันที่ต้องการทำรากเทียม เป็นต้น

ในปัจจุบันนี้ มีเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยลดระยะเวลาในการทำครอบฟันให้เสร็จภายในวันเดียว นั่นก็คือเทคโนโลยี Dental Digital CAD/CAM ที่จะช่วยลดระยะเวลาในการทำรากฟันเทียมให้สั้นลง ด้วยวิธีการส่งแล็บ และสแกนช่องปากแทนการพิมพ์ปากแบบเดิม โดยจะเริ่มจากการเอกซเรย์ 3 มิติ ถ่ายรูปและสแกนซี่ฟัน หลังจากนั้นจะเป็นการออกแบบชิ้นงานด้วยโปรแกรม และผลิตชิ้นงาน ก่อนจะนำมาใส่ในช่องปากให้กับผู้รับการรักษา โดยจะใช้ระยะเวลาประมาณ 2 – 3 ชั่วโมงเท่านั้น

ใครที่เหมาะกับการทำรากฟันเทียม

สำหรับผู้ที่สูญเสียฟันแท้ไป การใส่รากฟันเทียมนั้น ควรทำในผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป เนื่องจากกระดูกขากรรไกรจะเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว และผู้ที่จะทำรากเทียมนั้น ควรที่จะต้องมีสุขภาพที่แข็งแรง สามารถทำการผ่าตัดโดยใช้ยาชาได้ สำหรับบุคคลที่ไม่ควรทำรากฟันเทียม ได้แก่ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี บุคคลที่ตั้งครรภ์ ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง

อาการที่อาจเกิดขึ้นหลังจากทำรากฟันเทียม

การผ่าตัดรากฟันเทียมอาจจะเกิดผลข้างเคียงได้เช่นเดียวกับการผ่าตัด ซึ่งอาการเหล่านั้นอาจเกิดจากการผ่าตัดหรือพฤติกรรมของผู้เข้ารับการรักษา ไม่ว่าจะเป็น

  • รากฟันเทียมอักเสบ เนื่องจากการดูแลตัวเองหลังผ่าตัดไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารที่มีรสจัด การเคี้ยวของแข็ง การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่จัด
  • มีอาการเจ็บหรือปวดหลังผ่าตัด หากอาการไม่ดีขึ้น ควรพบทันตแพทย์ทันที
  • มีอาการบวม สามารถประคบเย็นได้ หากอาการไม่ดีขึ้น ควรพบทันตแพทย์ทันที
  • เกิดการติดเชื้อบริเวณที่ผ่าตัด หากมีอาการอักเสบ เป็นหนอง หรือฟันเทียมโยก ควรแจ้งทันตแพทย์ทันที

หลังจาการใส่รากฟันเทียมไปแล้วจะเกิดอะไรได้บ้าง และควรปฏิบัติตัวอย่างไร

  • หลังใส่รากฟันเทียมอาจเกิดอาการ ปวด บวม อักเสบ ได้คล้ายกับเวลาที่เราได้รับการถอนฟันหรือผ่าฟันคุดนั่นเอง สิ่งที่สำคัญคือการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากของเราและปฏิบัติตามคำแนะนำของทันตแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • สัปดาห์แรกควรรับประทานยาฆ่าเชื้อตามที่ได้รับจากทันตแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • ควรทานอาหารอ่อนๆ หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด หรือร้อนจัด
  • งดสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ จนกว่าจะรักษาเสร็จ
  • แปรงฟันในบริเวณอื่นได้ปกติแต่หลีกเลี่ยงการแปรงฟันบริเวณแผลโดยตรง การบ้วนน้ำเกลือทุกครั้งหลังอาหารสามารถช่วยลดการติดของเศษอาหารบริเวณแผล ลดโอกาสการเกิดการอักเสบได้
  • หากมีอาการที่ทำให้เกิดความกังวลใดๆ สามารถมาติดต่อมาที่แผนก หรือมาพบทันตแพทย์ได้ทันที

สำหรับการทำรากฟันเทียมนั้น ควรเลือกรักษากับทันตแพทย์ที่มีความน่าเชื่อถือและความชำนาญเพื่อให้การทำรากฟันเทียมประสบผลสำเร็จและสามารถใช้งานได้ดี ซึ่งสิ่งที่ต้องทำควบคู่กันไปคือการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากอย่างสม่ำเสมอ และควรเข้ารับการตรวจติดตามผลทุกๆ 6 เดือน เพื่อให้มั่นใจว่าสุขภาพช่องปากที่แข็งแรงจะอยู่กับเราไปอีกนาน

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายเพื่อทำรากฟันเทียม

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

www.bpdcdental.com

BPDC #คลินิกทันตกรรม #รากฟันเทียม #รักษารากฟันเทียม #CadCam

ข้อควรรู้ ก่อน หลัง ผ่าตัด ถอนฟันคุด

ข้อควรรู้! ก่อน-หลัง ผ่าตัด/ถอนฟันคุด

ฟันคุด’ คือ ฟันแท้ที่ไม่สามารถขึ้นมาได้ตามปกติ
เป็นฟันที่ฝังตัวอยู่ใต้เนื้อเยื่อของเหงือก และบริเวณกระดูกขากรรไกร
ฟันคุดจะไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าหากตัวฟันไม่ได้โผล่พ้นขึ้นมาเหนือเหงือก
จะต้องใช้การเอกซเรย์จึงจะสามารถเห็นได้ โดยการผ่าตัดจะเกิดขึ้น
เมื่อฟันที่ฝังตัวอยู่ส่งผลกระทบกับฟันซี่อื่น ทำให้เกิดอาการปวด หรือเกิดอาการอักเสบติดเชื้อ

ทำอย่างไรดีเมื่อมี ‘ฟันคุด’

บางครั้งฟันคุดหรือฟันกรามซี่สุดท้าย จำเป็นต้องมีการถอนออก เพราะว่าอยู่ในลักษณะที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ตามปกติ หรือไม่ได้อยู่ในแนวที่เดียวกับฟัน ส่วนมากฟันคุดจะเกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่นตอนปลาย หรือช่วงอายุยี่สิบต้นๆ หากปล่อยฟันคุดไว้จะมีความเสี่ยงต่อภาวะต่างๆ

• เหงือกในบริเวณที่ปกคลุมฟันคุดอักเสบหรือมีการติดเชื้อ
• เกิดฟันผุที่ฟันกรามซี่ข้างเคียง
• โรคปริทันต์ (โรคเหงือก)
• พยาธิวิทยา- ซีสต์เนื้องอก
• อาจเกิดความเสียหายต่อฟันซี่ที่ติดกัน หรือมีการละลายตัวของกระดูกที่รองรับฟันซี่ที่ติดกัน เป็นผลจากแรงดันของฟันคุด
• อาการปวดเรื้อรังหรือรู้สึกไม่สบาย
• ปัญหาเกี่ยวกับการจัดฟันได้ในตำแหน่งที่ไม่ดี หรือมีฟันหน้าซ้อนเก

ประเภทของฟันคุด แบ่งออกได้เป็น ฟันคุดที่โผล่ขึ้นเต็มซี่ ฟันคุดที่โผล่ขึ้นบางซี่ และฟันคุดที่ยังฝังจมทั้งซี่
ฟันคุดแต่ละประเภทต้องใช้ระยะเวลาและค่ารักษาที่แตกต่างกัน ระดับความเจ็บปวดและอาการบวมจะแตกต่างกันไปสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย ขึ้นอยู่กับประเภทของฟันคุดและความยากลำบากในการรักษาและการตอบสนองแบบส่วนตัวของคนไข้

ผ่าตัดฟันคุด #ควรเตรียมตัวอย่างไรดี ?

คำแนะนำก่อนผ่าตัด/ถอนฟันคุด

• ผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์ก่อน
• ควรวัดความดันก่อนการผ่าฟันคุด
• ทานอาหารให้เรียบร้อยก่อนการผ่าฟันคุด
• งดการสูบบุหรี่
• งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ (เพราะมีผลต่อการหยุดไหลของเลือด, แผลผ่าฟันคุดอายหายช้าได้)

คำแนะนำหลังผ่าตัด/ถอนฟันคุด

• ประคบด้วยถุงเย็นทันทีหลังผ่าตัด เพื่อลดอาการบวม
• ควรกัดผ้าก๊อซแน่นๆ เพื่อห้ามเลือด
• ห้ามบ้วนน้ำลาย เลือด หรือน้ำ เพื่อให้เลือดหยุดเร็วขึ้น
• ควรรับประทานอาหารอ่อนๆ
• ไปรับการตัดไหมหลังจากครบกำหนดผ่าตัดแล้ว 7 วัน

บริการสอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายถอนฟันคุด

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)
www.bpdcdental.com

ประกันสังคมช่วยออกค่าทำฟันอะไรบ้าง

ประกันสังคมช่วยออกค่าทำฟันอะไรบ้าง

ประกันสังคมที่เราจ่ายแต่ละเดือนนั้นมีสวัสดิการต่างๆ มากมายรวมถึงสวัสดิการด้านการทำฟัน ซึ่งเราควรใช้สิทธิประโยชน์จากประกันสังคมด้านทันตกรรมซึ่งถึงแม้จะจำนวนสวัสดิการจะไม่มากแต่ว่าดีกว่าไม่ได้ ซึ่งวันนี้จะมาเล่าให้ฟังว่าใครจะได้รับสิทธิประกันสังคมด้านทันตกรรมอะไรบ้างครับ

ผู้สามารถใช้สิทธิประกันสังคมทำฟัน

ปกติแล้วผู้ที่ได้รับสิทธิประโยชน์จากการทำฟันจากประกันสังคมคือ ผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 เท่านั้น และต้องส่งเงินสมทบประกันสังคม ครบ 3 เดือน หรือได้ลาออกจากงานในช่วงหลัง 3 เดือนที่ส่งยอดสมทบไปก็สามารถใช้สิทธิได้ต่ออีก 6 เดือนหลังจากวันที่ลาออก

สิทธิทำฟันจะได้เงินเท่าไหร่

สิทธิประกันสังคมที่จะได้ ไม่เกิน 900 บาทต่อปี โดยถ้าในปีนั้นๆ ไม่ได้ใช้สิทธิ จะไม่สามารถนำยอดไปทบในปีถัดไปได้ เพราะฉะนั้นควรต้องซึ่งสามารถทำทันตกรรมอะไรบ้าง การขูดหินปูน อุดฟัน ถอนฟัน และผ่าฟันคุด ทำฟันปลอม เป็นต้น

ซึ่งในการใช้สิทธิประกันสังคมในการทำฟัน สามารถใช้บริการโดยที่ไม่ต้องสำรองจ่าย โดยต้องดูที่คลินิกทันตกรรมแต่ละที่ว่ารองรับหรือไม่

เอกสารในการเบิกค่าทำฟันประกันสังคม

  1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีทันตกรรม (สปส.2-16)
  2. ใบรับรองแพทย์
  3. ใบเสร็จรับเงิน
  4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้
  5. เวชระเบียนของแพทย์ผู้รักษา (กรณีเบิกฟันปลอมฐานอคริลิก)
  6. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์หน้าแรก ซึ่งมีชื่อและเลขที่บัญชี

ใช้สิทธิประกันสังคมกับคลินิกทันตกรรม BPDC ไม่ต้องสำรองจ่าย!!!

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายทำฟัน
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc
https://bpdcdental.com/
.
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)
.

คลินิกทันตกรรม #BPDC #คลินิกทันตกรรมบางพลี #สิทธิประกันสังคม

ทันตกรรมผู้สูงอายุ ดูแลอย่างไร

ทันตกรรมผู้สูงอายุ ดูแลอย่างไร

ผู้ใหญ่ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีฟันจริงในปากเพียงส่วนเดียวเท่านั้น อาจจะโดนถอนฟันไปหมดแล้วก็ได้ค่ะ และปัญหาต่าง ๆ เช่น ปัญหาสุขภาพเหงือก จะพบได้ทั่วไปในผู้สูงอายุอายุระหว่าง 65-74 ปี และเป็นสาเหตุของการสูญเสียฟัน นอกจากนี้ หากมีสุขภาพในช่องปากไม่ดีก็จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคต่าง ๆ ด้วย โรคหัวใจ เบาหวาน เป็นต้น ซึ่งผู้สูงอายุส่วนใหญ่ที่เกิดปัญหาก็จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับฟันปลอมด้วยแต่ในวันนี้เราจะแนะนำเรื่องของ ปัญหาสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุแบ่งได้เป็น 4 หัวข้อหลักๆ ตามนี้

1.ปัญหาสุขภาพเหงือก
ปัญหาสุขภาพเหงือกเกิดจากเนื้อเยื่อที่อยู่รอบฟันติดเชื้อจากคราบจุลินทรีย์สะสมบนฟันและเหงือก ซึ่งอาจลุกลามจนรุนแรงได้ เหงือกอักเสบคือโรคเหงือกในระยะเริ่มต้น อาการที่พบคือ เหงือกบวม แดง หรือมีเลือดออก โรคเหงือกเป็นปัญหาที่ผู้สูงอายุกังวลและเกิดจากหลายสาเหตุ หากรักษาอย่างถูกต้อง และไปพบทันตแพทย์ โรคเหงือกอักเสบสามารถรักษาให้หายได้

2.ฟันหรือรากฟันผุ
ผู้สูงอายุฟันผุหรือรากฟันผุหากมีปัญหาเหงือกร่น ดังนั้น ผู้สูงอายุจะต้องทำความสะอาดเหงือก ฟันเพื่อกำจัดคราบจุลินทรีย์และเศษอาหารออกไป ทันตแพทย์จะขูดฟันและผิวฟันใต้ร่องเหงือกและรากฟันเพื่อกำจัดคราบจุลินทรีย์และหินปูนออกเพื่อให้บริเวณดังกล่าวเรียบและสะอาด

3.การเสียวฟัน
ในบางครั้ง แค่ดื่มน้ำเย็นจัด คุณก็อาจจะรู้สึกเสียวฟันจี๊ด ๆ ขึ้นมาได้ ปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้คุณมีการเสียวฟัน ได้แก่ การแปรงฟันแรงเกินไปด้วยแปรงที่มีขนแปรงแข็ง เคลือบฟันสึก และฟันแตกหรือบิ่น

4.ปากแห้ง
ภาวะปากแห้งเกิดจากน้ำลายในช่องปากน้อยเกินไป ซึ่งมักเกิดจากผลข้างเคียงของยารักษาโรคอื่น ๆ และพบได้บ่อย ๆ เมื่อคุณอายุมากขึ้น ปัญหาใหญ่ที่สุดเกี่ยวกับภาวะปากแห้งคือ ฟันและรากฟันผุ ซึ่งปัญหาทั้งสองแบบสามารถก่อให้เกิดการสูญเสียฟันได้ในที่สุด

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สุขภาพฟันของผู้สูงอายุก็สำคัญไม่ต่างกับทันตกรรมของทุกเพศทุกวัยเลยค่ะ เราอยากให้ผู้สูงอายุมีฟันที่แข็งแรง ยิ้มสวยไม่ต้องใส่ฟันปลอมกันทุกคนค่ะ

บริการสอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายทันตกรรมผู้สูงอายุ
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)
www.bpdcdental.com

ทันตกรรมผู้สูงอายุ #นัดหมายทันตกรรมผู้สูงอายุ #BPDC #คลินิกทันตกรรม #คลินิกทำฟันบางพลี