การรักษารากฟัน 2022

การรักษารากฟัน 2022

เชื่อว่าหลายท่านมักจะเข้าใจผิดเกี่ยวกับคำว่า การรักษารากฟัน เนื่องจากคิดว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่พบว่ามีอาการฟันโยก ฟันคลอน การรักษารากฟัน จะสามารถช่วยตอบโจทย์ในการจัดการฟันให้กลับมาแน่นขึ้น ลดการคลอนหรือโยกของฟันได้ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด วันนี้ทีมงานจึงได้รวบรวมสาระน่ารู้เกี่ยวกับประโยชน์ของการรักษารากฟันอย่างแท้จริงมาฝากกันค่ะ

 จริงๆแล้วการรักษารากฟันก็คือการเอาคลองประสาทฟันหรือโพรงรากฟันที่เกิดการอักเสบอยู่แล้วออกไป โดยสาเหตุที่จำเป็นจะต้องเอาคลองประสาทฟันที่อักเสบออกไป เนื่องจากว่า ทันตแพทย์มักจะพบว่าคนไข้ที่มีอาการฟันผุ คือสาเหตุหลักที่ทำให้มีการติดเชื้อไปถึงประสาทฟันซี่นั้นๆ หลังจากคุณหมอหรือทันตแพทย์ได้ทำการรักษารากฟัน โดยการนำคลองประสาทฟันออกแล้ว ขั้นตอนต่อมาก็จะทำความสะอาดช่องปากและคลองประสาทฟันด้วยการใส่ยาฆ่าเชื้อและใช้วิธีการอุดรากฟันตามไปทีหลัง โดยทั้งนี้ เมื่อมีการอักเสบในคลองประสาทฟันก็จะมีการปวดฟันตามมาอย่างแน่นอน ดังนั้น การรักษารากฟันจึงถือเป็นการลดอาการปวดและอักเสบของฟัน รวมทั้งยังกำจัดอาการปวดฟันให้หายไปโดยสิ้นเชิง หรือเรียกได้ว่ารักษาแบบถอนรากถอนโคนเลยนั่นเอง และการรักษารากฟัน ยังเป็นวิธีการในการที่จะเก็บฟันซี่นั้น ๆ ของคนไข้เอาไว้ได้นานที่สุด โดยฟันยังสามารถกลับไปใช้งานได้ตามปกติอีกด้วย ซึ่งไม่ต้องถอนฟันทิ้งนั่นเอง

แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากฟันซี่ที่ทำการรักษารากฟันไปแล้วนั่น ส่วนใหญ่มักจะพบว่ามีโอกาสเนื้อของฟันเกิดอาการเปราะและแตกง่ายเป็นพิเศษ เพราะฉะนั้น การใช้วิธีรักษารากฟันจึงจำเป็นอย่างมาก ที่จะต้องมีการใช้วิธีทำการครอบฟันร่วมด้วยนั่นเอง

โดยลักษณะของฟันที่มีความจำเป็นที่ต้องได้รับการรักษารากฟัน ส่วนใหญ่ทันตแพทย์หรือคุณหมอผู้เชี่ยวชาญจะพิจารณาจากข้อต่อไปนี้ 1.ฟันซี่นั้น เกิดมีรูผุเสียหายจนถึงคลองประสาทฟันและแสดงอาการปวดชัดเจน 2. ฟันซี่นั้นมีสีคล้ำลงผิดปกติ ซึ่งเป็นสัญญาณของการมีเลือดออกในไรฟันอีกด้วย 3. เป็นฟันซี่ที่เคยได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงหรือได้รับการกระแทกจากอุบัติเหตุ 4. เป็นลักษณะของฟันซี่ที่มีรอยร้าวหรือมีรอยแตก บิ่น ซึ่งคนไข้มักจะมีอาการปวดและเสียวฟันร่วมด้วย 5. เป็นลักษณะของฟันที่มีการรักษาโดยการอุดฟันไว้อยู่แล้ว แต่เกิดมีตุ่มหนองขึ้นบริเวณของฟันให้เห็นเด่นชัด

การรักษารากฟันหรือโพรงประสาทฟันนั้น มีขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. เพื่อไม่ให้คนไข้มีอาการเจ็บหรือปวดในระหว่างการรักษาคุณหมอหรือทันตแพทย์จะมีการใส่ยาชาให้ก่อน เพื่อลดอาการเจ็บปวด โดยหลังจากยาชาทำการออกฤทธิ์เต็มที่แล้วนั้น ทันตแพทย์จะทำการใส่แผ่นยางกันน้ำลายหรือที่เรียกว่า rubber Dam เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของน้ำลายเข้าไปปะปนในบริเวณคลองรากฟันที่กำลังทำการรักษาอยู่ 2. คุณหมอหรือทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเริ่มด้วยขั้นทำความสะอาดคลองรากฟัน โดยทำการใส่ยาไว้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ โดยคุณหมอจะเริ่มนัดในรอบถัดไปเพื่อทำการรักษาขั้นตอนต่อไป ซึ่งจะมีการขยายคลองรากฟันต่อ ด้วยการใส่ยา ซึ่งหากคุณหมอหรือทันตแพทย์แน่ใจแล้วว่า การติดเชื้อบริเวณคลองรากฟันนั่นได้ถูกกำจัดออกไปหมดเกลี้ยงแล้ว ก็จะเริ่มขั้นตอนของการอุดคลองรากฟัน ก็ถือเป็นการจบกระบวนการรักษารากฟัน โดยภายหลังเมื่อทำการรักษารากฟันเสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว คุณหมอก็จะทำการรักษาต่อ โดยการอุดตัวฟันด้านบนเพื่อให้คนไข้สามารถใช้งานฟันซี่ต่อไป เช่น ขบเคี้ยวอาหารได้ตามปกติ ซึ่งภายหลังคุณหมอก็จะทำการนัดตรวจเช็คช่องปากและตรวจเช็คอาการหลังทำการรักษารากฟัน โดยจะทำการนัดคนไข้เป็นเวลา 1-2 ครั้งซึ่งจะใช้ระยะเวลา 2-3 เดือนหลังจากนัน ทันตแพทย์หรือคุณหมอแน่ใจว่าไม่มีอาการหรือพบผลข้างเคียงใดๆ ขั้นตอนสุดท้าย นั่นก็คือ จะทำการใส่เดือยฟันและใส่ครอบฟันให้แก่คนไข้ต่อไป เพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรงของรากฟันของคนไข้ให้ฟันซี่ที่ทำการรักษาสามารถกลับมาใช้งานได้ปกติที่สุดนั่นเอง

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายรักษารากฟัน
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#รักษารากฟัน #รากฟันเทียม

Comments are closed.