เคล็ด(ไม่)ลับ-รักษาแผลร้อนในที่เหงือก-ให้หายเร็ว

เคล็ด(ไม่)ลับ รักษาแผลร้อนในที่เหงือก ให้หายเร็ว

เคล็ด(ไม่)ลับ รักษาแผลร้อนในที่เหงือก ให้หายเร็ว

เคยเป็นกันไหมคะ แผลร้อนใน ซึ่งเป็นที่ปากหรือกระพุ้งแก้มยังไม่เท่าไร แต่เมื่อไรที่เป็นแผลร้อนในที่เหงือกนี่สิ เจ็บจนน้ำตาไหลเลยค่ะ โดยเฉพาะเวลาที่กินอาหารรสจัด มันแสบซี้ดเกินจะบรรยาย ซึ่งหลายคนก็มีแผลร้อนในเกิดขึ้นบ่อยมาก แต่ในขณะที่บางคนก็แทบไม่เคยเป็นเลย วันนี้เราจึงมีเคล็ด(ไม่)ลับดี ๆ มาฝากกัน ที่รับรองเลยว่าใครที่ทดลองวิธีที่แนะนำ แผลหายเร็วแน่นอน

แผลร้อนในเป็นอย่างไร

แผลร้อนในเป็นแผลขนาดเล็กและตื้น มีสีเหลืองหรือขาวล้อมรอบด้วยสีแดง เกิดขึ้นที่เนื้อเยื่ออ่อนในช่องปากหรือเหงือก บางรายก็พบว่าเกิดขึ้นบริเวณด้านในริมฝีปาก แก้มหรือลิ้น เป็นแผล ทำให้เจ็บ และทำให้กินอาหารหรือพูดคุยได้ลำบาก ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงและจำนวนแผลด้วยค่ะ

สาเหตุของแผลร้อนในที่เหงือก

  • เชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียในช่องปาก
  • ภาวะภูมิคุ้มกันผิดปกติ หรือที่เราเรียกว่าโรคภูมิแพ้ตัวเอง
  • การขาดสารอาหารหรือวิตามินบางชนิด เช่น วิตามินบี 12 วิตามินซี ธาตุเหล็ก
  • การพักผ่อนไม่เพียงพอหรือมีภาวะเครียด
  • การเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนในช่วงก่อนหรือช่วงมีประจำเดือน
  • การกินอาหารเผ็ดร้อนหรือของทอดมากเกินไป
  • เกิดการเสียดสีหรือกระแทกที่เหงือกจนเป็นแผลและกลายมาเป็นแผลร้อนใน
  • การใช้ยาสีฟันหรือน้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของโซเดียมรอริลซัลเฟต
  • การกินของร้อนมากเกินไป

อาการแผลร้อนในที่เหงือก

อาการแผลร้อนในที่เหงือกไม่ต่างจากแผลร้อนในทั่วไปเลยค่ะ จะเป็นแผลแดงและเจ็บ ต่อมาบริเวณแผลจะกลายมาเป็นสีเหลืองหรือขาวเป็นวงกลมหรือรี บวมแดงและมีอาการเจ็บที่แผล บางรายอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ต่อมน้ำเหลืองบวม เป็นไข้ หรือรู้สึกไม่สบายได้อีกด้วย

อาการแผลร้อนในที่เหงือกแบบไหนควรต้องรีบไปพบแพทย์

  • มีแผลร้อนในใหญ่กว่าปกติ
  • แผลเดิมก็ยังอยู่ แต่เกิดแผลใหม่ขึ้น และพบว่าเป็นแผลร้อนในอยู่บ่อย ๆ
  • เป็นแผลร้อนในที่เหงือกนานกว่า 2 สัปดาห์
  • เป็นแผลร้อนในที่มาพร้อมกับมีไข้สูง
  • เป็นแผลที่ลุกลามไปยังบริเวณริมฝีปาก

การรักษาแผลร้อนในที่เหงือกด้วยตัวเองทำอย่างไร

  • ใช้น้ำผสมเกลือเพื่อกลั้วปากเช้า-เย็น
  • ทายาในบริเวณที่เป็นแผล เช่น Triamcinolone เป็นยากลุ่มคอร์ติโคสเตียรอยด์
  • พยายามดื่มน้ำระหว่างวันให้มาก ๆ
  • งดอาหารรสเผ็ดหรือเปรี้ยวไปก่อน รอให้แผลหายดีจึงจะกินได้
  • ใช้แผ่นแปะแก้ร้อนใน ช่วยให้แผลการสัมผัสน้ำลาย ฟัน หรืออาหารน้อยลง และมีตัวยาที่ช่วยรักษาแผล
  • พยายามฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย โดยการพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังอย่างพอเหมาะ และลดความเครียดฃ

แผลร้อนในที่เหงือกป้องกันได้หรือไม่

หากแผลร้อนในสามารถรักษาหายได้ ก็สามารถป้องกันได้เช่นกันค่ะ ซึ่งวิธีป้องกันนั้นก็ง่าย ๆ ไม่แพ้กับการรักษาด้วยตัวเอง ซึ่งทำได้ดังนี้

  • ดูแลรักษาความสะอาดสุขภาพช่องปากให้ดี เพื่อลดการสะสมของแบคทีเรีย
  • ไม่ใช้แปรงสีฟันที่ขนแปรงแข็งเกินไป เพื่อนั่นจะทำให้เหงือกเกิดบาดแผลได้ง่ายและนำไปสู่การเกิดแผลร้อนในที่เหงือก
  • ใช้น้ำยาบ้วนปากเพื่อลดแบคทีเรีย
  • หลีกเลี่ยงการกินอาหารทอดหรืออาหารรสจัดมาก ๆ
  • ออกกำลังกายเพื่อช่วยสร้างภูมิคุ้มกันและยังลดความเครียดได้ด้วย

เห็นไหมล่ะคะ ว่าการดูแลรักษาแผลร้อนในที่เหงือกไม่ได้ยากเกินไปเลย ซึ่งก็เป็นเรื่องที่เราควรต้องดูแลตัวเองเป็นปกติอยู่แล้ว แต่หากเมื่อไรที่เราขาดความเอาใจใส่ บอกได้เลยว่าแผลร้อนในพร้อมจะกลับมาหาเราได้ทุกเมื่อจริง ๆ

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายตรวจสุขภาพฟัน
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ตรวจสุขภาพฟัน #แผลร้อนใน

Comments are closed.