เลือกไหมขัดฟันอย่างไร

เลือกไหมขัดฟันอย่างไร ให้เหมาะกับฟันของเราในยุค 2023

หากใครไปตามคลินิกทันตกรรม หรือไปแผนกทันตกรรมตามโรงพยาบาลต่างๆ จะเห็นได้ว่าทุกปัญหาช่องปากจะแนะนำให้ใช้ “ไหมขัดฟัน” เสมอ โดยเหตุผลหลักๆ ของการใช้ไหมขัดฟันช่วยลดเศษอาหารตามซอกฟัน ขจัดคราบหินปูนระหว่างฟัน ช่วยให้ปากและเหงือกแข็งแรงขึ้น ป้องกันโรคเหงือกอักเสบ ซึ่งความสะอาดของช่องปากที่ไม่เหมาะสม เป็นจุดเริ่มต้นของโรคเหงือกอักเสบ เป็นระยะเริ่มต้นของโรคเหงือกที่เหงือกบวมและมีเลือดออกง่าย เหงือกที่แข็งแรงจะไม่มีเลือดออกเมื่อแปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟัน โดยทั่วไปแล้ว ไหมขัดฟันถือเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการทำความสะอาดช่องปาก โดยใช้กับบริเวณที่คับแคบระหว่างฟัน ยังสามารถใช้ไหมขัดฟันขูดด้านข้างของฟันแต่ละซี่ขึ้นและลงได้

ทันตแพทย์จะแนะนำวิธีการใช้ไหมขัดฟัน (Dental Floss) เพื่อทำความสะอาด โดยเริ่มตั้งแต่เปิดใช้งานจนกระทั่งใช้เสร็จแล้ว ตามหลักการแล้ว ผู้ป่วยหรือผู้มาใช้บริการทันตกรรม จะใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละครั้ง เวลาที่ดีที่สุดที่จะใช้ไหมขัดฟันคือตอนกลางคืน โดยช่วงก่อนนอนและก่อนแปรงฟันเป็นช่วงที่สำคัญมาก ควรใช้ไหมขัดฟันก่อนแปรงฟัน เนื่องจากการแปรงฟันจะช่วยขจัดสารใดๆ ที่ขับออกจากปาก แต่ยังเอาออกไม่หมด จึงต้องมีการใช้ไหมขัดฟันเข้ามา

วิธีการเลือกซื้อไหมขัดฟันนั้น ก่อนอื่นจะต้องเลือกชนิดของไหมขัดฟันเสียก่อน โดยมีวิธีเลือกได้ดังนี้

  1. Unwaxed Floss (ไหมขัดฟันที่ไม่แว็กซ์) : เป็นไหมขัดฟันที่ใช้กันทั่วไปประเภทหนึ่ง ผลิตจากวัสดุไนลอนที่บิดเป็นเกลียวหลายเส้นเข้าด้วยกัน ไหมขัดฟันที่ไม่แว็กซ์ไม่มีสารปรุงแต่ง ซึ่งหมายความว่าไหมขัดฟันประเภทนี้ปราศจากสารเคมี ไหมขัดฟันในรูปแบบนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีช่องว่างระหว่างฟันเล็กน้อย เนื่องจากมีความบางกว่าไหมขัดฟันประเภทอื่นมาก ขณะเดียวกันมีแนวโน้มที่จะทำลายและฉีกขาดในช่องปากได้ง่ายกว่าไหมขัดฟันประเภทอื่น
  2. Waxed Floss (ไหมขัดฟันแว็กซ์) : หรือที่คนไทยเรียกว่า “ไหมเคลือบขี้ผึ้ง” ซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกัน เป็นไหมขัดฟันที่ถูกสร้างขึ้นคล้ายกับแบบที่ไม่ได้แว็กซ์ด้วยการเติมชั้นแว็กซ์ลงบนไหมขัดฟัน ชั้นเคลือบแว็กซ์นี้ช่วยให้ทนทาน มีความแข็งแรงมากขึ้น จึงไม่ฉีกขาดหรือแตกบนร่องฟันผู้ใช้ นอกจากนี้ยังช่วยให้ทำความสะอาดเลื่อนไปมาระหว่างฟันได้ดีกว่า
  3. Dental Tape (เทปทันตกรรม) : เทปติดฟันหรือเรียกอีกอย่างว่า “แบบหนา” ค่อนข้างคล้ายกับไหมขัดฟันประเภทอื่นๆ ยกเว้นว่ามันหนากว่ามาก มีโครงสร้างที่แบนกว่าซึ่งทำให้นึกถึงเทปธรรมดาชิ้นหนึ่ง เทปติดฟันเหมาะสำหรับผู้ที่มีช่องว่างขนาดใหญ่และต้องการไหมขัดฟันที่หนากว่า  ในประเภทนี้ไม่เหมาะสำหรับคนส่วนใหญ่ เนื่องจากหนากว่า เทปพันฟันจึงอาจเข้าไประหว่างฟันที่เรียงซ้อนได้ยาก
  4. Polytetrafluorethylene Floss (PTFE) : ไหมขัดฟันรูปแบบนี้มี Polytetrafluorethylene เป็นวัสดุที่พวกเราส่วนใหญ่คุ้นเคยในรูปแบบของผ้า Gore-Tex วัสดุนี้มีความแข็งแรงมาก แทบไม่ต้องกังวลว่าวัสดุจะฉีกขาดขณะใช้งาน โครงสร้างที่เรียบลื่นทำให้เหมาะสำหรับการเลื่อนเข้าไปในช่องว่างเล็กๆ ระหว่างฟันที่เรียงซ้อนได้ง่าย แต่ต้องระวังสารก่อมะเร็ง
  5. Super floss (ไหมขัดฟันเฉพาะ) : เป็นไหมขัดฟันชนิดพิเศษที่ออกแบบมาสำหรับผู้ที่มีสะพานฟัน เครื่องมือจัดฟัน และช่องว่างฟันกว้าง มันมีสามองค์ประกอบหลัก เช่น ไหมขัดฟันธรรมดา ไหมขัดฟันที่เป็นรูพรุน และที่สนปลายแข็ง ผู้ใช้สามารถใช้ไหมขัดฟันใต้สะพานและอุปกรณ์ทันตกรรมอื่นๆ ได้อย่างง่ายดายเพื่อทำความสะอาดอย่างทั่วถึงเมื่อใช้ที่สนด้าย

วิธีการเลือกไหมขัดฟัน

นอกจากดูชนิดของมันแล้วนั้น จะต้องดูคุณภาพการผลิต คำแนะนำของทันตแพทย์ และวันหมดอายุเสมอ เพื่อเลือกตามลักษณะฟันที่เหมาะสม ไหมขัดฟันแบบหนาอาจทำให้รู้สึกไม่สบายฟันเลย ดังนั้นไหมขัดฟันแบบบางจึงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด รวมถึงไหมขัดฟันแบบขี้ผึ้งสามารถช่วยให้กระบวนการทำความสะอาดช่องปากง่ายขึ้นเล็กน้อย สำหรับคนที่มีฟันห่าง ถ้าใช้ไหมขัดฟันแบบหนาจะมีประสิทธิภาพมากกว่า ผู้ที่มีช่องว่างระหว่างฟันอาจต้องการใช้เทปพันฟัน เพียงแต่เทปพันฟัน ไม่ค่อยนิยมมากเป็นวงกว้าง หากใครจะเลือกซื้อจริงๆ อยากให้สอบถามทางเภสัชกร และทันตแพทย์ เพื่อขอคำแนะนำการใช้ให้เหมาะสมกับสภาพฟันจะดีที่สุด

สอบถามเพิ่มเติมและตรวจสุขภาพฟัน
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ทันตกรรม #ตรวจสุขภาพฟัน #คลินิกทันตกรรม

อาการฟันโยก สัญญาณอันตรายที่ไม่ควรมองข้าม

อาการฟันโยก สัญญาณอันตรายที่ไม่ควรมองข้าม

สาเหตุส่วนใหญ่ของปัญหาฟันโยก จะมีความแตกต่างกันระหว่างฟันน้ำนมกับฟันแท้ ในช่วงฟันน้ำนม เป็นสัญญาณของการงอกของฟันแท้ในช่วงเด็กวัย 6-12 ปี หากเป็นฟันโยกของฟันแท้ อาการฟันโยกจะเกิดได้ทั้งการกระแทกของฟัน รากฟันไม่แข็งแรง รวมถึงเกิดจากโรคปริทันต์ โดยจะให้น้ำหนักทางโรคปริทันต์ จะเป็นการติดเชื้อในเหงือกและกระดูกรอบๆ ฟัน ในระยะลุกลามของโรคปริทันต์ อาการฟันโยกเป็นสัญญาณทางคลินิกที่อาจสะท้อนถึงระดับของการทำลายปริทันต์ ที่เกิดจากการติดเชื้อเฉพาะที่ในเหงือกและโครงสร้างรอบๆ ฟัน (เอ็นและกระดูกถุงในฟัน) และกระทบต่อความมั่นคงของเหงือกและฟันในการขบเคี้ยว การติดเชื้อเหล่านี้เกิดจากแบคทีเรีย ที่เกิดจากคราบสิ่งสกปรกสะสมในช่องปากด้วย

ในผู้ใหญ่จะมีความเสี่ยงของอาการฟันโยกค่อนข้างมาก เนื่องจากเป็นช่วงที่ฟันแท้ขึ้นครบหมดแล้ว แต่มีความเสี่ยงในการดำเนินชีวิตบางอย่าง ที่กระทบต่อสุขภาพช่องปาก และเป็นกลุ่มที่พบแผนกทันตกรรมบ่อยมากในวัยนี้ จึงไม่แปลกใจว่าทำไมฟันผู้ใหญ่จึงมีการโยกออกมา โดยสาเหตุของอาการฟันโยก จะแบ่งได้ดังนี้

สาเหตุของอาการฟันโยก

  1. การบาดเจ็บที่เกิดกับฟันเนื่องจากการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ  หรือการหกล้มอย่างหนักจนมีอาการฟันโยก บางรายอาจจะเกิดจากการเล่นกีฬา เช่น กีฬาต่อสู้ กีฬาฟุตบอล หรือกีฬาที่มีการปะทะหนักๆ
  2. การสบฟันผิดรูป เช่น การสบฟันลึกที่ทำให้ฟันเคี้ยวมากเกินไป ทำให้เคลื่อนตัว การนอนกัดฟันหรือการกัดฟันเป็นนิสัย ทั้งโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว
  3. โรคปริทันต์อักเสบหรือโรคเหงือก จะมีอาการเหงือกร่น ฝีเหงือก ซีสต์หรือเนื้องอกในขากรรไกร
  4. การสูบบุหรี่ อาการฟันโยกมาจากการสูบบุหรี่ ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพเหงือกและช่องปากโดยตรง และทำให้สะสมแบคทีเรียง่ายขึ้น จึงเสี่ยงต่อโรคฟันหรือปริทันต์เข้ามาด้วย

อาการของฟันโยก

อาการฟันโยกที่พบบ่อย ซึ่งสังเกตได้จากความผิดปกติทางกายภาพ โดยเริ่มเสียวฟันโดยรอบ จากนั้นจะมีอาการอื่นๆ ตามมา เนื่องจากสุขภาพช่องปากขาดการดูแลรักษาความสะอาด ซึ่งจะมีอาการดังนี้

  • ฟันเริ่มโยก
  • รอยแดงของเนื้อเยื่อรอบๆ ฟัน
  • ความเจ็บปวดหรือไม่สบายตามรอบๆ ฟันและเหงือก
  • การเคี้ยวอาหารลำบาก
  • มีอาการเจ็บ หรือมีปัญหาเหงือกที่บอบบาง

หากมีอาการเหล่านี้ ทันตแพทย์จะประเมินสถานการณ์โดยใช้เครื่องมือทางคลินิกและค่อยๆ เช็คช่องปากไปมา หากทันตแพทย์มั่นใจว่ามีอาการฟันโยก ทางทันตแพทย์จะแนะนำวิธีการแก้ไขที่เหมาะสม เพื่อลดปัญหาที่เกิดขึ้น บางรายอาจจะต้องเอ็กซเรย์เพื่อดูความผิดปกติของช่องปากและขากรรไกรร่วมด้วย

วิธีการรักษาฟันโยก

หากตรวจอาการฟันโยกพบว่าเคลื่อนไหวได้เนื่องจากการสบฟันที่ไม่ถูกต้อง จะได้รับคำแนะนำให้รักษาเพื่อแก้ไขการสบฟันเพื่อบรรเทาการบดเคี้ยวที่กระทบกระเทือนต่อสุขภาพช่องปาก และรบกวนต่อจิตใจ โดยมีวิธีการรักษาได้ดังนี้

  • ในกลุ่มเล่นกีฬาอันตราย จะต้องสวมฟันยางที่ออกแบบโดยทันตแพทย์ เนื่องจากตามร้านอุปกรณ์กีฬา จะไม่ตอบโจทย์ทางทันตกรรมของบุคคลนั้น และไม่รองรับอันตรายต่อฟันได้
  • หากมีซีสต์หรือเนื้องอกทำให้เกิดอาการปวดและเคลื่อนไหวได้ ควรรักษาอาการก่อน แล้วค่อยรักษาอาการฟันโยก เนื่องจากซีสต์จะลุกลามรวดเร็ว และทำให้การบดเคี้ยวไม่ดี
  • การทำความสะอาดฟันอย่างถูกวิธีที่คลินิก ซึ่งจะมีการทำความสะอาดโดยทันตแพทย์ การใช้ไหมขัดฟัน และการขูดหินปูน ซึ่งช่วยป้องกันอาการฟันโยกและโรคปริทันต์ได้
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรือรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม
  • ไปที่คลินิกทันตกรรมอย่างน้อยปีละสองครั้ง

อาการผิดปกติของฟันโยก เป็นสัญญาณทางทันตกรรมที่ร้ายแรง ไม่ควรมองข้ามอาการฟันโยกเลย เนื่องจากมันเป็นอาการเสี่ยงของโรคปริทันต์ ซึ่งเป็นโรคที่อันตรายอย่างมากของสุขภาพช่องปาก อย่างไรก็ตาม เราสามารถทำได้โดยปฏิบัติตามหลักสุขอนามัยในช่องปากที่ดี เริ่มจากการรักษาความสะอาดที่บ้าน ทุกคนอาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดฟันโยก จนกระทั่งฟันหลุดจากสาเหตุใดๆ ที่กล่าวถึงก่อนหน้านี้ แต่การดูแลช่องปาก ต้องดูแลอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันสัญญาณอันตรายที่เกิดขึ้น เว้นแต่ในกรณีอาการฟันโยกเกิดจากอาการผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ อยากให้ปรึกษาทันตแพทย์โดยตรงเพื่อวินิจฉัยสาเหตุ รวมถึงการรักษาในลำดับต่อไป

สอบถามเพิ่มเติมและตรวจสุขภาพฟัน
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ทันตกรรม #ตรวจสุขภาพฟัน #คลินิกทันตกรรม

รากฟันอักเสบ..ภัยเงียบที่คุกคามช่องปาก

รากฟันอักเสบ..ภัยเงียบที่คุกคามช่องปาก

“รากฟันอักเสบ” ภัยเงียบที่เป็นปัญหาใหญ่ คุกคามภายในช่องปาก ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อระบบหรือส่วนต่างๆของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นตา ,ลำคอ,โพรงไซนัส,สมอง ทั้งยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจอีกด้วย รากฟันอีกเสบเกิดมาจากอะไร ถ้าหากปล่อยทิ้งไว้จะมีความอันตายมากแค่ไหน และจะมีวิธีรักษาหรือป้องกันได้อย่างไรบ้าง เราจะมาเจาะลึกเกี่ยวกับรากฟันอักเสบด้วยกัน

สาเหตุของอาการรากฟันอักเสบ

“รากฟันอักเสบ” มักมีสาเหตุมาจาก ปัจจัยต่างๆดังต่อไปนี้

  • ฟันผุหรือฟันที่มีวัสดุอุดลึกจนทะลุไปถึงโพรงประสาทฟัน ทำให้เกิดการอักเสบและติดเชื้อในโพรงประสาทฟัน จนทำให้เกิดอาการปวดฟันขึ้นมาได้  ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ก็จะลุกลามไปจนถึงรากฟันข้างใน ยากต่อการรักษามากยิ่งขึ้น
  • ฟันผุซ้ำหรือฟันผุที่เกิดใหม่อยู่ใต้ครอบฟัน
  • ฟันแตกหรือฟันร้าว
  • รากฟันเป็นหนอง ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในบริเวณปลายราก
  • ได้รับแรงกระแทกอย่างหนักที่ฟันหรือมีอุบัติเหตุ ทำให้โพรงประสาทฟันติดเชื้อหรือตาย ทั้งยังสามารถทำลายกระดูกรอบๆฟัน ทำให้มีอาการปวด

สัญญาณเตือนภัยของจุดเริ่มต้นรากฟันอักเสบ

จะรู้ได้อย่างไรว่ากำลังเข้าสู่อาการรากฟันอักเสบ ให้สังเกตจากสักญญาณเตือน ดังต่อไปนี้

  • เหงือกจะมีอาการบวมและแดงมากยิ่งขึ้น จากสีชมพูจะกลายเป็นสีแดงหรือเป็นสีม่วง
  • รู้สึกเจ็บและเสียวฟันตอนเคี้ยวอาหาร
  • รู้สึกปวดฟันขึ้นมาแบบเป็นๆหายๆ หรืออาจถึงขั้นปวดรุนแรงจนนอนไม่หลับ
  • รากฟันมีตุ่มเป็นหนอง

วิธีการรักษารากฟันอักเสบ

การขั้นตอนการรักษารากฟันอักเสบ สามารถทำได้ดังต่อไปนี้

  1. เริ่มจากการกำจัดเนื้อฟันที่ผุ เพื่อเปิดทางเข้าสู่โพรงประสาทฟัน
  2. จากนั้นกำจัดรากฟันที่อักเสบรวมถึงการติดเชื้อต่างๆโดยการล้างด้วยน้ำยาที่มีฤทธิ์ในการกำจัดเชื้อ
  3. หลายกรณีไม่สามารถรักษารากฟันให้เสร็จภายในครั้งเดียว ทันตแพทย์จะใส่ยาฆ่าเชื้อในคลองรากฟันและอุดวัสดุไว้ชั่วคราว

อาการข้างเคียงจากการรักษารากฟันอักเสบ

หลังจากการรักษารากฟัน จะมีอาการปวดเกิดขึ้น ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กรณี คืออาการปวดระหว่างการรักษาและอาการปวดเมื่อรักษาเสร็จสิ้นไปแล้ว ดังนี้

  1. อาการปวดระหว่างการรักษา

อาการปวดเกิดขึ้นได้บ่อยๆและเป็นปกติในระหว่างการรักษาอาจจะมีการบวมของเหงือกร่วมด้วย ซึ่งส่วนใหญ่อาการปวดดังกล่าวหลังการรักษาครั้งแรกนั้นจะเกิดจากการรักษารากฟันในฟันที่มีอาการปวด หรือเริ่มปวด หรือรากฟันกำลังเริ่มอักเสบ แต่จะไม่เกิดในฟันที่ตายแล้วหรือฟันที่เป็นหนอง โดยทันตแพทย์จะขยายและล้างคลองรากฟันโดยไม่ให้เกิดแรงดันที่จะทำให้เศษอาหารถูกดันเข้าไปบริเวณปลายราก

  • อาการปวดหลังการรักษา
    ในกรณีที่คนไข้มีอาการปวดไม่รุนแรงมากนัก ทันตแพทย์จะมีการล้าง ทำความสะอาด แล้วขยายรากฟันหรือกำจัดเส้นประสาทให้หมดก็จะสามารถทำให้อาการปวดทุเลาลงได้ แต่ถ้าในกรณีที่มีอาการบวมร่วมด้วย ก็อาจจะต้องเปิดระบายโพรงประสาทฟันที่กรอเอาไว้และให้ยาแก้อักเสบร่วมด้วย ซึ่งอาการปวดหลังการรักษา ก็สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่นคลองรากฟันยังไม่สะอาดแล้วอุด ขยายคลองรากฟันไม่หมดหรือฟันแตก ซึ่งอาจจะต้องมีการรื้อและรักษาใหม่ และถ้าหากรักษาไม่ได้อาจจะต้องถอนฟันซี่นั้นทิ้งในที่สุด

ข้อควรปฏิบัติหลังการรักษารากฟัน

หลังการรักษารากฟันอักเสบ มีข้อควรปฏิบัติเพื่อเสริมการรักษาให้มีประสิทธิภาพ ดังต่อไปนี้

  1. ควรระมัดระวังการใช้งานซี่ฟันที่กำลังรักษาราก เนื่องจากเนื้อฟันมีปริมาณที่น้อยลงและฟันจะมีความเปราะบางมากยิ่งขึ้น
  2. ระหว่างการรักษารากฟันอักเสบ หากวัสดุอุดฟันหลุดออกมา ให้รีบกลับไปพบทันตแพทย์ เนื่องจากเป็นโอกาสเสี่ยงที่จะทำให้เชื้อโรคในช่องปากสามารถเข้าสู่คลองรากฟันได้
  3. การรักษารากฟันอักเสบ เป็นสิ่งที่จะต้องทำอย่างต่อเนื่องและปฏิบัติตัวภายใต้คำแนะนำของทันตแพทย์อย่างเคร่งครัด เพราะถ้าหากฟันถูกปล่อยทิ้งเอาไว้นานๆ จะทำให้เชื้อโรคทำลายกระดูกที่อยู่รอบๆฟัน นำไปสู่การเกิดตุ่มหนองทั้งภายในช่องปากและบริเวณใบหน้าได้ และถ้าหากกระดูกรองรับฟันถูกทำลายไปเป็นจำนวนมากก็อาจจะทำให้ไม่สามารถเก็บรักษาฟันซี่นั้นต่อไปได้

การรักษารากฟันอักเสบ เป็นกระบวนการรักษาที่มีความต่อเนื่องและค่อนข้างใช้เวลา ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงและสภาพฟันของแต่ละท่าน อีกทั้งยังมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง ดังนั้นเพื่อป้องกันอาการรากฟันอักเสบ ควรหมั่นดูแลสุขภาพปากและฟันให้ดี โดยการไปพบทันตแพทย์ทุก 6 เดือนเพื่อเช็คความสะอาดภายในช่องปาก เพื่อป้องกันฟันผุที่จะลุกลามและกลายเป็นอาการของรากฟันอักเสบในที่สุด

สอบถามเพิ่มเติมและตรวจสุขภาพฟัน
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ทันตกรรม #ตรวจสุขภาพฟัน #คลินิกทันตกรรม

ปวดฟันคุด..สัญญาณเตือนภัยร้ายในช่องปาก

ปวดฟันคุด..สัญญาณเตือนภัยร้ายในช่องปาก

“ฟันคุด” หนึ่งในปัญหาช่องปากที่เป็นฝันร้ายและสร้างความรำคาญใจให้กับใครหลายคน เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วได้สร้างความเจ็บปวดอย่างมากมายจนวิ่งไปหาหมอฟันแทบไม่ทันกันเลยทีเดียว และสุดท้ายก็จะต้องจบลงด้วยการผ่าออก แท้จริงแล้วฟันคุดคืออะไร มีสาเหตุมาจากอะไร ถ้าหากปล่อยเอาไว้จะสร้างความเสียหายอย่างไร และจำเป็นมากน้อยแค่ไหนที่ต้องผ่าออก วันนี้เรามีเรื่องราวดีๆเกี่ยวกับ “ฟันคุด” มาแบ่งปันกันค่ะ

ฟันคุดคืออะไร

ฟันคุด (Impacted Tooth, Wisdom Tooth) เป็นฟันที่ฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกรโดยไม่สามารถขึ้นมาได้ตามปกติในช่องปากเหมือนฟันซี่อื่นๆ ซึ่งอาจจะโผล่ออกมาให้เห็นเพียงบางส่วนเท่านั้น เนื่องจากฟันคุดขึ้นมาช้ากว่าฟันซี่อื่นจึงทำให้ไม่มีช่องว่างที่จะโผล่ขึ้นมาได้  ซึ่งโดยปกติฟันคุดจะมีทั้งหมด 4 ซี่ด้วยกัน คือในบริเวณด้านในของช่องปากทั้งบนและล่าง เกิดขึ้นได้ทั้งฝั่งซ้ายและขวา สามารถพบได้บ่อยที่บริเวณฟันกรามซี่สุดท้ายซึ่งอยู่ด้านในสุดของกระดูกขากรรไกรล่าง

ฟันคุดเกิดจากอะไร

ปกติแล้วฟันคุดก็คือฟันซี่ที่ควรจะเกิดขึ้นในช่วงอายุประมาณ 16-25 ปี อาจเป็นไปได้ที่จะโผล่ขึ้นมาในลักษณะตั้งตรง เอียงหรือนอนในแนวราบ แต่ฟันคุดคือฟันที่พยายามจะงอกขึ้นมาแต่ไม่สามารถขึ้นมาได้เนื่องจากมีฟันเนื้อเยื่อหรือกระดูกปิดขวางฟันที่กำลังจะขึ้นมานั่นเอง เมื่อฟันคุดพยายามที่จะงอกขึ้นมา ทำให้เกิดแรงผลักดันและเป็นไปได้ว่าจะมีการเบียดฟันซี่ข้างๆ นี่จึงเป็นที่มาของอาการปวดฟันคุดอย่างรุนแรงและสร้างความทรมานให้กับผู้ที่เป็นอย่างมาก

อาการของฟันคุดเป็นอย่างไร

โดยทั่วไป “ฟันคุด” ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ยกเว้นในกรณีที่ตัวฟันโผล่ขึ้นมาเหนือเหงือก จะต้องใช้วิธีการเอกซเรย์จึงจะสามารถมองเห็นได้ อาการที่พบส่วนใหญ่คือรู้สึกเจ็บปวดที่บริเวณฟันคุดมากหรือมีการอักเสบรอบๆเหงือก บางรายแก้มบวม อ้าปากได้น้อย กลืนน้ำลายแล้วเจ็บคอ หรือที่หนักกว่านั้น ในบางรายอาจมีอาการบวมและติดเชื้อ จนลุกลามไปถึงใบหน้า แก้ม และลำคอได้อีกด้วย

ผลกระทบจากฟันคุด

การปล่อยฟันคุดทิ้งเอาไว้นานๆ สามารถทำให้เกิดโทษหรือผลกระทบกับส่วนอื่นๆในช่องปากได้ เช่น

  • ฟันคุดทำให้เกิดฟันผุ 
    เนื่องจากฟันคุดเป็นฟันที่ผิดรูป ทำให้เป็นแหล่งที่กักเก็บเศษอาหารได้เป็นอย่างดี และอาจจะเนื่องด้วยตำแหน่งของฟันคุดที่อยู่ลึกด้านในใกล้ลำคอ ทำให้ยากต่อการทำความสะอาด และเกิดฟันผุขึ้นมาได้และนอกจากนั้นยังสามารถลุกลามไปยังฟันซี่ที่อยู่ข้างๆได้ด้วยเช่นกัน
  • ฟันคุดทำให้เหงือกอักเสบ
    ฟันคุดบางซี่ตัวฟันอาจจะโผล่ออกมาเหนือเหงือกไม่หมด เมื่อเหงือกเข้าไปปกคลุมฟัน อาจทำให้เศษอาหารเข้าไปสะสมอยู่ใต้เหงือก ทำความสะอาดได้ยาก เป็นที่มาของเชื้อแบคทีเรียและทำให้เกิดอาการอักเสบ ปวด บวมและเป็นหนองตามมา ที่ร้ายแรงกว่านั้น ยังเป็นการเพิ่มโอกาสในการกระจายเชื้อโรคไปยังส่วนอื่นๆจนเกิดการติดเชื้อ ลุกลามไปยังช่องคอ ทำให้หายใจไม่ออกได้เช่นกัน
  • ฟันคุดมีโอกาสทำให้เกิดถุงน้ำ
    เมื่อเกิดฟันคุดขึ้น เนื้อเยื่อที่อยู่โดยรอบสามารถพัฒนากลายเป็นถุงน้ำหรือเนื้องอกได้ และที่สำคัญฟันคุดที่มักอยู่ติดกับขากรรไกร มันจะเกิดการดัน และเบียดกระดูกขากรรไกร ส่งผลให้ใบหน้าผิดรูปในอนาคต

จำเป็นต้องผ่าฟันคุดออกหรือไม่

ในการผ่าฟันคุดนั้น แพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยโดยพิจารณาจากองค์ประกอบอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งของฟันคุด ระยะห่างของฟันคุดกับเส้นประสาท รวมถึงอายุของคนไข้ด้วย ซึ่งโดยมาก แพทย์มักแนะนำให้ผ่าฟันคุดออกในทุกกรณี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นควรมีการขอคำแนะนำจากแพทย์ทุกครั้งซึ่งจะเกี่ยวข้องกับกระบวนการรักษาตามมา

ลักษณะของฟันคุดที่จำเป็นต้องผ่าออก

ลักษณะของฟันคุดที่มีความจำเป็นต้องผ่า เพราะสร้างปัญหาและผลกระทบในช่องปากระยะยาว มีอยู่ 2 ลักษณะใหญ่ๆ ดังนี้

  1. ฟันคุดที่มีเหงือกคลุม (soft tissue impaction) 
    ลักษณะคือตัวของฟันคุดมีลักษณะตั้งตรง แล้วมีเหงือกที่ปกคลุมฟันคุดซี่นั้นเอาไว้ ในกรณีนี้สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าเปิดเหงือกออกร่วมกับการถอนฟันคุด
  2. ฟันคุดที่มีกระดูกคลุม (bony impaction) 
    ลักษณะอาการในกรณีนี้คือมีทั้งเหงือกและกระดูกที่คลุมฟันคุดเอาไว้  ส่วนลักษณะของฟันคุดก็มีทั้งแบบตั้งตรง เอียง หรือนอน การรักษาสามารถทำได้โดยการกรอกระดูกร่วมกับการแบ่งฟันคุดเป็นส่วนๆ เพื่อนำฟันคุดออกมา

อาการข้างเคียงหลังผ่าฟันคุด

อาการแทรกซ้อนหลังจากการรักษาฟันคุดโดยการผ่านั้นสามารถเกิดขึ้นได้ เช่น มีเลือดออกบริเวณผ่าตัด ปวดแผลผ่าตัด ซึ่งเป็นอาการปกติทั่วไป แต่ถ้าหากมีอาการที่ผิดปกติ กรณีเช่น มีเลือดไหลจากแผลผ่าตัดมากกว่าปกติ บางรายมีไข้ หรือเกิดการติดเชื้อหลังการผ่าตัด และถ้าในกรณีที่อาการปวดบวมไม่ทุเลาลงเลย มีกลิ่นปาก เจ็บแปลบหรือเกิดอาการชาที่ใบหน้า ริมฝีปากหรือลิ้น ให้รีบไปพบทันตแพทย์ทันที

ข้อควรปฏิบัติหลังผ่าฟันคุด

หลังผ่าตัดฟันคุดมีข้อควรปฏิบัติดังต่อไปนี้

  • ห้ามบ้วนเลือดหรือน้ำลายทันทีในวันที่ผ่าตัด เพราะอาจจะทำให้เลือดไหลไม่หยุด แต่ให้กัดผ้าก๊อตประมาณ 1-2 ชั่วโมง จากนั้นให้กลืนน้ำลายตามปกติได้
  • ควรประคบน้ำแข็งบริเวณแก้มในช่วง 3-5 วันแรก เพื่อลดอาการบวม
  • หลังจากที่ผ่าตัดอาจจะมีอาการตึงๆบริเวณแก้มในด้านที่ผ่าตัด ให้บริหารกล้ามเนื้อบริเวณนั้นด้วยการฝึกอ้าปาก
  • สามารถรับประทานยาแก้ปวดและยาปฏิชีวนะตามที่แพทย์สั่ง เพื่อบรรเทาอาการปวด
  • ให้รับประทานอาหารชนิดอ่อนๆประมาณ 1 สัปดาห์หลังผ่าตัด เพื่อจะได้ไม่กระทบกระเทือนต่อแผลในช่องปาก
  • สามารถแปรงฟันได้ตามปกติอย่างเบามือ และกลับไปตัดไหมหลังจากที่ผ่าตัดได้ 5-10 วัน

“ฟันคุด” เป็นฟันที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในลักษณะที่ผิดปกติ ดังนั้นควรมีการตรวจสุขภาพช่องปากและฟันเป็นประจำ เมื่อพบอาการผิดปกติใดๆจะได้ทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที และในการผ่าตัดรักษาฟันคุดก็ไม่ได้น่ากลัวเกินไป เมื่อเทียบกับโทษที่อาจจะเกิดขึ้นถ้าหากปล่อยเอาไว้ เพราะนอกจากจะเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคร้ายแล้ว อาจลุกลามสร้างความเสียหายไปยังอวัยวะอื่นได้ด้วยเช่นกัน

สอบถามเพิ่มเติมและตรวจสุขภาพฟัน
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ทันตกรรม #ตรวจสุขภาพฟัน #คลินิกทันตกรรม

“ริมฝีปากแห้ง” ปัญหาสุขภาพจิ๊บๆ ที่แก้ได้ง่ายๆ ด้วยตนเอง

ปัญหา “ริมฝีปากแห้ง” ปัญหาสุขภาพจิ๊บๆ ที่แก้ได้ง่ายๆ ด้วยตนเอง

ปัญหาริมฝีปากแห้ง เป็นปัญหาที่ไม่ร้ายแรงเท่าใดนัก แต่จะเห็นรอยแตกตามริมฝีปากอย่างชัดเจน ซึ่งวิธีแก้ปากแห้ง เพื่อป้องกัน มาจากภาวะที่ต่อมน้ำลายในปากสร้างน้ำลายไม่เพียงพอที่จะทำให้ปากชุ่มชื้นหรือคลุกเคล้าอาหารให้กลืนง่ายตามปกติ อาการริมฝีปากแห้งยังเกิดจากผลข้างเคียงของยาบางชนิดหรือผู้มีอายุมาก หรือเป็นผลมาจากการฉายรังสีรักษามะเร็ง บ่อยครั้งที่อาการปากแห้งอาจเกิดจากภาวะที่ส่งผลโดยตรงต่อต่อมน้ำลาย โดยน้ำลายช่วยป้องกันฟันผุโดยทำให้กรดเป็นกลางที่เกิดจากแบคทีเรีย จำกัดการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย และล้างเศษอาหาร น้ำลายยังช่วยเพิ่มความสามารถในการรับรสและทำให้เคี้ยวและกลืนได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ เอนไซม์ในน้ำลายยังช่วยในการย่อยอาหาร และวิธีแก้ปากแห้งจะช่วยลดความแห้งกร้านออกมาแม้แต่ยามแต่งหน้า

น้ำลายและริมฝีปากแห้งที่ลดลงอาจมีตั้งแต่รบกวนการใช้ชีวิต ไปจนถึงบางสิ่งที่ส่งผลกระทบอย่างสำคัญต่อสุขภาพโดยทั่วไป ยังสัมพันธ์ต่อสุขภาพของฟันและเหงือกโดยตรง ตลอดจนความอยากอาหารและความเพลิดเพลินในการรับประทานอาหาร วิธีแก้ปากแห้งขึ้นอยู่กับสาเหตุ แต่ไม่ได้แปลว่าจะแก้ไขไม่ได้เสียทีเดียว โดยจะแบ่งตามลักษณะสาเหตุได้ของริมฝีปากแห้ง ที่มีรอยแตกและเป็นขุย ดังนี้

  • การใช้ยาสูบและแอลกอฮอล์ : การดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่หรือเคี้ยวยาสูบอาจทำให้อาการปากแห้งเพิ่มขึ้น และทำให้ริมฝีปากกร้านไว
  • การใช้ยาเสพติด : การใช้ยาบ้าอาจทำให้ปากแห้งอย่างรุนแรงและทำลายฟัน ซึ่งเป็นภาวะที่เรียกว่า “ยาเสพติด” กัญชาก็ทำให้ริมฝีปากแห้งได้เช่นกัน
  • การดื่มน้ำไม่เพียงพอ : การดื่มน้ำไม่เพียงพอยังทำให้ริมฝีปากแห้ง เนื่องจากขาดน้ำ ส่งผลต่อความชุ่มชื้นตามร่างกาย และมีโอกาสแห้งแตกจนเกิดเลือดออกมาได้ง่าย
  • ฤดูหนาว : ในช่วงฤดูหนาว หรือบางท้องที่ที่มีหิมะตก จะทำให้ริมฝีปากขาดความชุ่มชื้นมากกว่าปกติ และมีโอกาสแห้งเป็นขุยมากกว่าฤดูอื่น
  • ไม่ยอมทาลิปมัน : การไม่ทาลิปมัน จะทำให้ปากเป็นขุย เนื่องจากไม่มีความชุ่มชื้นเลย สารในลิปมันจะมีวิตามินอี ช่วยให้มีความชุ่มชื้น หรือใครที่แห้งจนเป็นรอยแตก สามารถสมานแผลได้

วิธีการแก้ปัญหาอาการปากแห้ง

               วิธีแก้ปากแห้งสามารถแก้ไขได้ และทำให้หายขาดง่ายกว่าอาการอื่นๆ เนื่องจากไม่ได้เป็นโรคที่ร้ายแรง แต่ริมฝีปากแห้งก็ส่งผลต่อสุขภาพระยะยาว โดยสามารถทำได้ด้วยตนเองดังนี้

  • เลือกน้ำยาบ้วนปากที่ออกแบบมาสำหรับป้องกันปากแห้งโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นสารที่มีไซลิทอล จะมีประสิทธิภาพการรักษาความชุ่มชื้นได้ดี เช่น น้ำยาบ้วนปาก Biotene Dry Mouth หรือน้ำยาบ้วนปาก Act Dry Mouth ซึ่งช่วยป้องกันฟันผุได้เช่นกัน
  • ดื่มน้ำวันละ 2 ลิตรทุกๆ วัน เพราะน้ำจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับร่างกาย และริมฝีปากจะอิ่มน้ำจากภายในอยู่ตลอดเวลา และควรดื่มเป็นประจำทุกวัน
  • หากริมฝีปากแห้งและมีรอยแตกมาก ให้ลองใช้ครีมแบบข้นๆ เช่น ปิโตรเลียมเจลลี่สีขาว ครีมที่ช่วยกักเก็บน้ำนานกว่าแว็กซ์หรือน้ำมัน รวมถึงทาลิปบาล์มที่ไม่ระคายเคืองด้วยค่า SPF 30 หรือสูงกว่าก่อนออกไปข้างนอก แม้ในฤดูหนาว การปกป้องริมฝีปากจากแสงแดดก็เป็นสิ่งสำคัญพอๆ กับผิวหน้า
  • การรับประทานอาหารที่เหมาะสม ควรทานอาหารที่มีวิตามินอี เช่น น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันรำข้าว ไข่ ข้าวซ้อมมือ ผักใบเขียว ผลไม้ รวมถึงอาหารจำพวกถั่ว เช่น ถั่วแมคคาเดเมีย อัลมอนด์

ริมฝีปากแห้ง ถ้าปล่อยไว้นานๆ มีโอกาสริมฝีปากแตกเรื้อรังที่รักษาไม่หาย อาจเป็นสัญญาณของภาวะทางการแพทย์ที่ร้ายแรงหรือการติดเชื้อ ซึ่งรวมถึงความเสี่ยงต่อ actinic Cheilitis ซึ่งเป็นมะเร็งผิวหนังระยะแรกที่ต้องได้รับการรักษาทันที ในขณะเดียวกันความเครียดเป็นสาเหตุของอาการปากแห้ง เนื่องจากความวิตกกังวลกระตุ้นการตอบสนองต่อความเครียด และการตอบสนองต่อความเครียดทำให้ร่างกายมีความเครียด ความเครียดและความวิตกกังวลอาจทำให้เกิดอาการปากแห้งได้ และสิ่งที่สำคัญในวิธีแก้ปากแห้งเมื่อรู้สึกว่าริมฝีปากแห้ง จะมีอาการขาดน้ำเข้ามา ควรดื่มน้ำเพื่อให้ร่างกายมีน้ำเพียงพอ ภาวะทุพโภชนาการ การรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสมและการขาดสารอาหารอาจทำให้ผิวหนังและริมฝีปากแห้งกว่าปกติ ซึ่งสามารถลดรอยแตกและเป็นขุยได้ในระยะยาว

สอบถามเพิ่มเติมและตรวจสุขภาพฟัน
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ทันตกรรม #ตรวจสุขภาพฟัน #คลินิกทันตกรรม

แก้ปัญหากรามค้างอย่างไร

แก้ปัญหากรามค้างอย่างไรให้ถูกต้อง ถูกวิธี

แก้ปัญหากรามค้างอย่างไรให้ถูกต้อง ถูกวิธี

เคยประสบปัญหาเช่นนี้กันบ้างไหมคะ? รับประทานอาหารอยู่ดีๆ กำลังอ้าปากหาวเพราะกำลังง่วงนอนเต็มที่ หรือกำลังสนทนาพุดคุยกับเพื่อนอย่างเมามัน แล้วอยู่ๆปากที่เคยใช้งานได้ดี ไม่สามารถหุบลงมาได้..ถ้าคุณกำลังมีอาการในลักษณะนี้ เป็นไปได้ว่ากำลังเข้าสู่ภาวะที่เรียกว่า “กร้ามค้าง” ซึ่งอาการนี้เกิดจากความผิดปกติของขากรรไกร ทำให้มีการอ้าปากได้น้อยกว่าปกติ อ้าปากแล้วหุบลงไม่ได้หรือในบางรายอาจมีอาการปวดร่วมด้วย ซึ่งแน่นอนว่าได้ส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับอาการกรามค้างนี้ด้วยกัน พร้อมวิธีรักษาและป้องกันไม่ให้อาการนี้กระทบต่อการดำเนินชีวิตมากจนเกินไป

อาการกรามค้างคืออะไร

อาการ “กรามค้าง” ในทางการแพทย์เรียกลักษณะอาการเช่นนี้ว่า “ขากรรไกรค้าง” หรือ “อ้าปากค้าง” ซึ่งเกิดจากภาวะข้อต่อขากรรไกรทำงานผิดปกติ โดยสามารถทำให้เกิดอาการต่างๆดังต่อไปนี้

  • มีอาการปวดบริเวณขากรรไกรด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้งสองข้าง รวมถึงปวดบริเวณรอบๆหูหรือใบหน้า
  • มีอาการเจ็บบริเวณขากรรไกรในขณะที่กำลังเคี้ยวอาหาร ทำให้เคี้ยวอาหารได้ลำบาก
  • มีเสียงดังบริเวณขากรรไกรเมื่ออ้าปากหรือเคี้ยวอาหาร
  • อ้าปากแล้วหุบลงไม่ได้หรืออ้าปากได้น้อยกว่าปกติ

สาเหตุของอาการกร้ามค้าง

ในปกติทั่วไป ขากรรไกรจะเคลื่อนที่แบบบานพับร่วมกับแบบเลื่อน โดยจะมีกระดูกอ่อนห่อหุ้มกระดูกในส่วนที่สัมผัสกันและมีหมอนรองกระดูกมารองรับแรงกระแทก ทำงานประสานกัน ทำให้ข้อต่อขากรรไกรสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างลื่นไหล แต่กรณีที่เกิดอาการกรามค้าง อาจมีสาเหตุมาจาก

  • หมอนรองกระดูกเกิดการสึกกร่อนหรือเคลื่อนออกนอกตำแหน่งเดิม
  • กระดูกอ่อนที่หุ้มข้อต่อได้รับความเสียหายจากโรคข้ออักเสบ
  • ข้อต่อเสียหายจากการกระแทกอย่างรุนแรง
  • การสบฟันที่ผิดปกติ (Malocclusion) หรือเป็นปัญหาเกี่ยวกับการบดเคี้ยว เช่น การสูญเสียฟันกราม เป็นต้น
  • เกิดจากการกัดหรือเค้นฟันอย่างรุนแรงเป็นเวลานาน

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการกรามค้าง

มีปัจจัยเสี่ยงที่ส่งเสริมให้เกิดอาการกรามค้างได้หลายประการ ส่วนหนึ่งเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้ชีวิตรวมถึงโรคบางชนิดที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการกรามค้างได้ด้วย ดังนี้

  • โรคข้ออักเสบชนิดต่าง ๆ เช่น โรคข้อเข่าเสื่อม โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นต้น
  • ขากรรไกรบาดเจ็บจากการถูกกระแทกอย่างรุนแรง
  • พฤติกรรมการเคี้ยวอาหารข้างเดียว ส่งผลให้กล้ามเนื้อและข้อต่อขากรรไกรทำงานไม่สมดุลกัน
  • การรับประทานอาหารที่แข็งและมีความเหนียวอยู่บ่อยๆ
  • ความเครียด ที่ส่งผลให้หลายคนนอนกัดฟันอยู่เป็นประจำ
  • โรคของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue disease) บางชนิดที่อาจส่งผลต่อข้อต่อขากรรไกร

การรักษาอาการกรามค้าง

อาการกรามค้างเกิดขึ้นได้ในระดับที่เป็นปกติธรรมดา ซึ่งสามารถหายไปเองได้โดยไม่ต้องรักษา หรือในบางกรณีอาจจะมีความรุนแรงมากขึ้น ในส่วนนี้อาจจะต้องเข้าพบแพทย์เพื่อรับการรักษาในลำดับต่อไป แต่ในเบื้องต้น สามารถใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการ ดังต่อไปนี้

  • ยาแก้ปวดและยาแก้อักเสบ ประเภท ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) นาพรอกเซน (naproxen) เป็นต้น
  • ยาคลายกล้ามเนื้อ (Muscle relaxants) เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวด และลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ
  • ยาคลายกังวล (Tricyclic antidepressant) เช่น อะมิทริปไทลีน (Amitriptyline) เพื่อบรรเทาอาการปวด อาการนอนไม่หลับ พร้อมทั้งช่วยควบคุมอาการนอนกัดฟันได้ด้วย

แต่เมื่ออาการกรามค้างในผู้ป่วยบางรายมีความรุนแรงมากขึ้น แพทย์อาจจะต้องพิจารณาใช้การรักษาแบบผ่าตัดร่วมด้วย เช่น

  • การเจาะข้อต่อขากรรไกร (Arthrocentesis) โดยการใช้เข็มขนาดเล็กสอดเข้าไปในข้อต่อขากรรไกร เพื่อช่วยระบายสิ่งสกปรกและของเหลวภายในข้อต่อให้ออกไป
  • การฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid) เข้าไปในข้อต่อเพื่อช่วยลดการอักเสบ และฉีดโบทูลินัมท็อกซินชนิดเอ (Botulinum toxin type A) เข้าไปในกล้ามเนื้อบดเคี้ยวเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวด
  • การผ่าตัดข้อต่อขากรรไกรแบบส่องกล้อง โดยการสอดกล้องขนาดเล็กและอุปกรณ์ผ่าตัดเข้าไปเพื่อกำจัดเนื้อเยื่อในส่วนที่อักเสบและปรับข้อต่อให้กลับมาในสภาพที่ปกติ
  • การผ่าตัดเปิดข้อต่อขากรรไกร เพื่อทำการรักษาหรือเปลี่ยนข้อต่อขากรรไกรที่ผิดปกติหรือเสียหายอย่างรุนแรงให้กลับมาทำงานได้เช่นเคย

การดูแลตนเองเพื่อลดปัญหากรามค้าง

ส่วนสำคัญที่มีส่วนช่วยได้เป็นอย่างมากในการจัดการกับปัญหากรามค้างคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งานของระบบภายในช่องปาก พร้อมทั้งการบริหารบริเวณขากรรไกรร่วมด้วย ดังต่อไปนี้

  • เมื่อมีอาการปวดบริเวณขากรรไกร ควรลดปริมาณการใช้งานในบริเวณนั้น เช่น เลี่ยงการพูดมากจนเกินไป หรือการร้องเพลง เป็นต้น
  • ให้รับประทานอาหารประเภทที่อ่อน นิ่ม หลีกเลี่ยงอาหารที่แข็งหรือเหนียว
  • เลี่ยงการอ้าปากกว้าง เมื่อรับประทานอาหารแนะนำว่าให้ตักคำเล็กๆพอดีคำ
  • หมั่นบริหารขากรรไกรเพื่อคลายกล้ามเนื้อบดเคี้ยวและใบหน้า วิธีการคือให้แตะปลายลิ้นไว้ที่บริเวณเหงือกหลังฟันหน้าบน จากนั้นให้อ้าปากกว้างที่สุด ค้างไว้ประมาณ 5- 6 วินาที ทำซ้ำ 6 ครั้ง วันละ 6 รอบ
  • หากผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาทางทันตกรรม ก่อนเริ่มรักษา ควรมีการแจ้งประวัติกรามค้างทันตแพทย์ทราบทุกครั้ง

อาการ “กรามค้าง” สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย เนื่องจากความผิดปกติจากการใช้งานบริเวณขากรรไกร ซึ่งสามารถรักษาได้ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เพื่อป้องกันอาการดังกล่าว ให้เราลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างในการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการตักอาหารแต่พอดีคำ การเลี่ยงอาหารที่แข็งหรือเหนียวเพราะนั่นจะทำให้ระบบขากรรไกรทำงานหนักขึ้น และอย่าลืมหมั่นบริหารขากรรไกรของเราอยู่เสมอด้วยนะคะ

สอบถามเพิ่มเติมและตรวจสุขภาพฟัน
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ทันตกรรม #ตรวจสุขภาพฟัน #คลินิกทันตกรรม

ฟันล้ม แก้ไขอย่างไร

ฟันล้ม แก้ไขอย่างไร

ฟันล้ม..แก้ไขอย่างไรให้ฟันกลับมาเรียงสวยเหมือนเดิม

“ฟันล้ม” อีกหนึ่งปัญหาในช่องปากที่สร้างความกังวลใจให้กับหลายคนอยู่ไม่น้อย ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับคนที่จัดฟันเท่านั้น แต่ยังสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทั่วไป ซึ่งภาวะฟันล้มนี้มีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยเสี่ยง และสามารถนำไปสู่การขึ้นของฟันที่ผิดปกติจนทำให้เกิดเป็นปัญหาเรื้อรังตามมาในอนาคตได้ ฟันล้มมีที่มาจากอะไร แล้วมีวิธีไหนที่จะทำให้ฟันกลับมาเรียงสวยได้บ้าง เราจะมาทำความเข้าใจและรับมือกับภาวะดังกล่าวนี้ด้วยกัน

ลักษณะของฟันล้ม

ก่อนอื่นให้เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า โดยปกติฟันของคนเราจะมีการเคลื่อนตัวอยู่ตลอดเวลา แต่จะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ในกรณีของการเกิดฟันล้มนั้น เป็นลักษณะของการที่ฟันเคลื่อนที่หรือเอียงไปข้างใดข้างหนึ่งเพื่อหาความสมดุลหรือเพื่อยึดเกาะฟันซี่ที่อยู่ใกล้เคียงตามกลไกธรรมชาติ หรือที่เรารู้กันดีในชื่อของ “ฟันเก”นั่นเอง ส่วนใหญ่มักเป็นฟันซี่ที่อยู่ใกล้ๆฟันที่ถูกถอนไปจนทำให้เกิดช่องว่างระหว่างฟัน และอาจทำให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมาได้ เช่น ไม่สามารถบดเคี้ยวอาหารตามแนวแกนของฟัน มีปัญหาเกี่ยวกับการสบฟัน หรืออาจถึงขั้นลุกลามจนกลายเป็นโรคเหงือกอักเสบตามมาได้

สาเหตุของการเกิดฟันล้ม

“ฟันล้ม” “ฟันเก” หรือ “ฟันเอียง” สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

  1. มีการถอนฟันแท้ออก แล้วไม่ได้ใส่ฟันปลอม ทำให้ฟันที่มีอยู่เอียงหรือล้ม
  2. ในกรณีที่มีการจัดฟัน หลังจากที่ถอดเครื่องมือจัดฟันออก แล้วไม่ได้ใส่รีเทนเนอร์หรือเครื่องมือกันฟันล้ม
  3. มีความผิดปกติของขากรรไกรหรือสุขภาพฟันตั้งแต่กำเนิด รวมถึงการสบฟันที่ผิดปกติ
  4. เหงือกร่น หรือกระดูกรองรับรากฟันละลายตัว
  5. อายุที่เพิ่มมากขึ้น
  6. เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงที่เอื้อให้เกิดฟันล้ม เช่น การนอนกัดฟัน การใช้ลิ้นดันฟัน เป็นต้น

ผลเสียจากการปล่อยให้ฟันล้ม

ฟันล้ม ได้ส่งผลเสียต่อสุขภาพปากและฟันดังต่อไปนี้

  • ทำให้มีเศษอาหารติดบริเวณช่องว่างระหว่างฟันได้ง่ายขึ้น
  • นำไปสู่การเกิดฟันผุและโรคปริทันต์
  • ทำให้เคี้ยวอาหารได้ไม่ละเอียด ส่งผลต่อระบบย่อยอาหาร
  • กรณีที่ฟันล้มมาก ทำให้ไม่สามารถใส่ฟันปลอมได้
  • ขาดความมั่นใจในการพูดหรือการยิ้ม
วิธีรักษาฟันล้ม

ในการรักษาฟันล้ม ฟันเอียง ควรรีบมารักษาทันทีที่มีอาการ เพราะหากปล่อยเอาไว้นาน อาจจะบานปลายและรักษาได้ยาก  ซึ่งวิธีการรักษาที่เป็นที่นิยม มีดังต่อไปนี้

  1. ใส่รีเทนเนอร์
    การใส่รีเทนเนอร์หรือที่รู้จักกันในชื่อของ “เครื่องมือคงสภาพฟัน” หรือ “เครื่องมือกันฟันล้ม”  เป็นการช่วยไม่ให้ฟันล้มมากไปกว่าเดิม แต่มีข้อจำกัดคือจำเป็นต้องใส่ตลอดเวลา เพื่อไม่ให้ฟันกลับมาล้มในตำแหน่งเดิมอีก
  2. ใส่ฟันปลอม
    การใส่ฟันปลอมทดแทน เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะเป็นการปิดช่องว่างระหว่างฟันเพื่อป้องกันการเคลื่อนที่และการล้มเอียงของฟัน ซึ่งฟันปลอม มีทั้งแบบถาวรและแบบชั่วคราว สามารถเลือกได้ตามความสะดวก ความเหมาะสมและง่ายต่อการใช้งาน โดยฟันปลอมทดแทนที่มีประสิทธิภาพสูงและได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายคือการทำรากฟันเทียมเพื่อการรักษาในระยะยาว
  3. การจัดฟัน
    การจัดฟันเป็นการใช้เหล็กหรือลวดดึงฟันให้กลับมาอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมหรือกลับมาอยู่ในตำแหน่งเดิม เป็นวิธีการรักษาที่สามารถแก้ไขปัญหาฟันล้ม ฟันเอียง ฟันเคลื่อนหรือฟันเก ได้ดีเช่นกัน โดยปัจจุบันได้มีการจัดฟันในหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น การจัดฟันแบบโลหะ การจัดฟันเซรามิก การจัดฟันแบบดามอน หรือการจัดฟันแบบใส(invisalign) เป็นต้น

วิธีป้องกันฟันล้ม

สำหรับใครที่อยากมีฟันเรียงสวย ไม่ล้ม ไม่เก ไม่เอียง และถ้าหากไม่อยากเสียเวลาและเสียเงินในการรักษาสามารถป้องกันได้ ดังต่อไปนี้

  • หมั่นทำความสะอาดช่องปากอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งหรือทุกครั้งหลังอาหาร เพราะการดูแลสุขภาพปากและฟันเป็นการป้องกันปัญหาในช่องปากเบื้องต้น เพื่อลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดฟันผุและนำมาซึ่งปัญหาฟันล้มเอียงตามมา โดยสามารถใช้ผลิตภัณฑ์หรืออุปกรณ์ทำความสะอาดฟันอย่างอื่นควบคู่ด้วยได้ ไม่ว่าจะเป็น ไหมขัดฟัน หรือน้ำยาบ้วนปาก
  • ใส่รีเทนเนอร์เป็นประจำและต่อเนื่อง โดยเฉพาะคนที่จัดฟัน เพราะหลังจากที่ถอดเครื่องมือจัดฟันออกแล้ว นั่นหมายถึงฟันของเรามีความเสี่ยงที่จะล้มได้ ดังนั้นจำเป็นต้องใส่เครื่องมือกันฟันล้มเพื่อจะได้ไม่ต้องรักษาใหม่หลายรอบ
  • หมั่นตรวจสุขภาพฟันทุกๆ 6 เดือน เพื่อจะได้ทราบถึงความปกติหรือปัญหาที่เกิดกับฟัน และจะได้รักษาอย่างทันท่วงที

“ฟันล้ม” สามารถป้องกันได้แต่เนิ่นๆ โดยการกลับไปสู่การดูแลสุขภาพปากและฟันแบบเบื้องต้น หมั่นตรวจสอบถึงความผิดปกติในช่องปากอยู่เสมอและเมื่อพบปัญหาอย่าลังเลที่จะเข้าพบทันตแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสมต่อไป

สอบถามเพิ่มเติมและตรวจสุขภาพฟัน
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ทันตกรรม #ตรวจสุขภาพฟัน #คลินิกทันตกรรม #ฟันล้ม

อาการเสียวฟัน

ปัญหา “เสียวฟัน” ปัญหารบกวน…ที่มาพร้อมกับสัญญาณของสุขภาพฟันไม่ดี

เคยไหมที่เวลาเราเคี้ยวอะไรสักอย่าง…ถึงมีอาการคล้ายๆ เสียวๆ ตรงฟันกรามออกมาชัดเจน ยิ่งทานอาหารที่เป็นของเย็นๆ ยิ่งรู้สึกเสียวฟันจี๊ดๆ ออกมาชัดเจน อาการเหล่านี้เรียกว่า “อาการเสียวฟัน” ที่มีชื่อภาษาอังกฤษว่า “Sensitive Teeth” ซึ่งมันเป็นปัญหาที่รบกวนต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก มันสื่อถึงปัญหาช่องปากโดยมีสัญญาณจากปัญหาเสียวฟัน มักจะเกิดจากเหงือกหรือฟันที่บอบบาง มักเป็นผลของเสียวฟันรบกวน มาจากการเคลือบฟันที่สึกหรอหรือรากฟันที่หลุดออกมา อย่างไรก็ตาม บางครั้งความรู้สึกไม่สบายฟันเกิดจากปัจจัยอื่นๆ เช่น โพรงฟัน ฟันแตกหรือบิ่น การอุดฟันที่สึกกร่อน โรคเหงือก หรือเป็นสัญญาณการเกิดปริทันต์อีกด้วย ซึ่งอาการเสียวฟันเกิดได้ทุกเพศทุกวัย

“อาการเสียวฟัน” เป็นสิ่งที่ฟังดูเหมือนความเจ็บปวดหรือความรู้สึกไม่สบายในฟันของเรา ที่อาการเจ็บแปลบๆ จี๊ดๆ ตอบสนองต่อสิ่งเร้าบางอย่าง เช่น การเคี้ยวหมากฝรั่ง เคี้ยวลูกอมที่เหนียวหนึบ การรับประทานอาหารที่มีอุณหภูมิที่ร้อนหรือเย็น ซึ่งเสี่ยงต่ออาการเสียวฟันขณะกิน อาจเป็นปัญหาชั่วคราวหรือเรื้อรัง และอาจส่งผลต่อฟันหนึ่งซี่ ฟันหลายซี่ หรือฟันทั้งหมดในคนๆ เดียว อาจมีสาเหตุหลายประการ แต่กรณีส่วนใหญ่ของฟันที่บอบบางสามารถรักษาได้ง่ายด้วยการดูแลรักษาระบบสุขอนามัยในช่องปากเพื่อลดปัญหาเสียวฟัน

สาเหตุของอาการเสียวฟัน

บางครั้งภาวะอื่นๆ นอกจากอายุมากเนื่องจากสูงวัย การทานอาหารร้อนและเย็นอาจทำให้เสียวฟันได้ แต่ก็มีสาเหตุอื่นร่วมด้วย ที่ส่งผลต่ออาการเสียวฟัน ซึ่งอาการเหล่านี้ล้วนมีสาเหตุอื่นเข้ามา และไม่ได้มีเพียงจุดเดียว เช่น

  1. กรดไหลย้อน (GERD) อาจทำให้กรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหารและหลอดอาหาร ซึ่งกรดในกระเพาะอาหารมีค่า pH ที่ 1.5 อยู่ในสภาพเป็นกรด และอาจสึกกร่อนเมื่อเวลาผ่านไป ภาวะที่ทำให้อาเจียนบ่อยๆ รวมทั้งกระเพาะอาหารและลำไส้แปรปรวน อาจทำให้กรดสึกกร่อนเคลือบเคลือบฟันได้
  2. เหงือกร่นอาจทำให้ส่วนของฟันเปิดออกและไม่มีการป้องกัน และยังทำให้เกิดปัญหาเสียวฟัน
  3. ฟันผุ ฟันหัก ฟันบิ่น และการอุดฟันหรือครอบฟันที่สึกหรอ อาจทำให้เนื้อฟันเผยออก ทำให้เกิดอาการเสียวฟันได้ หากเป็นกรณีนี้ คุณจะรู้สึกเสียวฟันเพียงซี่เดียวหรือบริเวณใดบริเวณหนึ่งในปาก แทนที่จะเป็นฟันส่วนใหญ่ ในส่วนนี้อาจทำให้เสียวฟันขณะกิน
  4. ฟันบอบบางชั่วคราวหลังจากทำฟัน เช่น อุดฟัน ครอบฟัน หรือการฟอกสีฟัน ในกรณีนี้อาการเสียวฟันจะจำกัดอยู่ที่ฟันซี่เดียวหรือฟันรอบฟันที่ได้รับการทำทันตกรรม สิ่งนี้ควรบรรเทาลงหลังจากผ่านไปหลายวัน บางรายอาจจะมีอาการเสียวฟันรบกวนเข้ามาหลังจากนั้น

วิธีการรักษาอาการเมื่อมีอาการเสียวฟัน

หากมีอาการเสียวฟันเป็นครั้งแรก ให้นัดหมายกับทันตแพทย์ของคุณทันที เพราะสามารถตรวจสุขภาพฟันและตรวจหาปัญหาที่อาจเกิดขึ้น เช่น ฟันผุ อุดฟันหลวม หรือเหงือกร่นที่อาจทำให้เกิดอาการเสียวฟันได้

ทันตแพทย์สามารถทำเช่นนี้ได้ในระหว่างการทำความสะอาดฟันตามปกติของคุณ พวกเขาจะทำความสะอาดฟันของคุณและตรวจสายตา พวกเขาอาจสัมผัสฟันของคุณโดยใช้เครื่องมือทางทันตกรรมเพื่อตรวจสอบความไวต่อการตอบสนอง และอาจสั่งให้เอ็กซ์เรย์ฟันเพื่อแยกแยะสาเหตุของเสียวฟันรบกวน เช่น ฟันผุ ฟันสึกกร่อน

วิธีการลดอาการเสียวฟันสามารถรักษาได้โดยเริ่มจากที่บ้าน เราสามารถปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตบางส่วนที่มีส่วนมาจากเสียวฟันขณะกิน เพื่อยืดอายุการใช้งานของฟันและสุขภาพช่องปาก โดยมีวิธีการดูแลตัวเองจากปัญหาเสียวฟันได้ดังนี้

อาการเสียวฟันดูแลได้อย่างไร

  • หากอาการเสียวฟันไม่รุนแรง คุณสามารถลองใช้การรักษาทางทันตกรรมที่จำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์
  • เลือกยาสีฟันที่มีป้ายกำกับว่าผลิตมาเพื่อฟันที่บอบบางโดยเฉพาะ ยาสีฟันเหล่านี้จะไม่มีส่วนผสมที่ระคายเคืองใดๆ และอาจมีส่วนผสมที่ทำให้รู้สึกไวต่อความรู้สึกที่ช่วยป้องกันความรู้สึกไม่สบายจากการตอบสนองไปยังเส้นประสาทของฟัน
  • ให้เลือกน้ำยาบ้วนปากที่ปราศจากแอลกอฮอล์ เพราะจะระคายเคืองต่อฟันที่บอบบางน้อยกว่า
  • การใช้แปรงสีฟันที่นุ่มกว่าและการแปรงฟันอย่างนุ่มนวลก็สามารถช่วยได้เช่นกัน แปรงสีฟันแบบอ่อนจะติดฉลากไว้เช่นนั้น เพื่อลดการเสียดสีจนเกิดปัญหาเสียวฟัน
  • หากการรักษาที่บ้านไม่ได้ผล คุณสามารถพูดคุยกับทันตแพทย์เกี่ยวกับยาสีฟันที่ต้องสั่งโดยแพทย์และน้ำยาบ้วนปาก อาจใช้เจลฟลูออไรด์หรือสารลดความรู้สึกไวตามใบสั่งแพทย์ สิ่งเหล่านี้สามารถช่วยเสริมสร้างเคลือบฟันและปกป้องฟันเนื่องจากปัญหาเสียวฟัน

สอบถามเพิ่มเติมและตรวจสุขภาพฟัน
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ทันตกรรม #ตรวจสุขภาพฟัน #คลินิกทันตกรรม

รวม 5 น้ำเกลือบ้วนปากควรมีติดบ้าน

รวม List 5 น้ำเกลือบ้วนปากควรมีติดบ้าน หาซื้อง่าย ดีต่อฟันปี 2565

ถ้าจะบ้วนเพื่อดูแลสุขภาพฟันนั้น จะมีน้ำยาบ้วนปากกับน้ำเกลือบ้วนปาก ซึ่งน้ำเกลือมีประโยชน์ด้วยเหตุผลหลายประการ เป็นตัวเลือกที่ยอดเยี่ยมสำหรับผู้ที่มีอาการเจ็บคอ เหงือกร่น หรือเพิ่งเข้ารับการจัดฟัน ไม่ได้ใช้แทนสุขอนามัยทันตกรรมสมัยใหม่ แต่ใช้เป็นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด สำหรับการดูแลช่องปากของผู้ใหญ่และเด็ก ซึ่งมีประวัติความเป็นมายาวนานมาก ก่อนจะเป็นน้ำเกลือบ้วนปากคุณภาพดี การใช้เกลือเพื่อวัตถุประสงค์ในการดูแลสุขภาพมีประวัติอันยาวนาน ย้อนหลังไปถึงสคริปต์ทางการแพทย์ที่เก่าแก่ที่สุดบางส่วนที่มีอยู่ ที่มีบันทึกบนกระดาษจากต้นปาปิรัสในสมัยอียิปต์โบราณจาก 1600 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งมีสูตรสำหรับการบำบัดรักษาโรคต่างๆ โดยใช้เกลือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสารต้านการติดเชื้อ ชาวกรีกโบราณใช้เพื่อจุดประสงค์ที่คล้ายคลึงกัน ที่ใช้มามากกว่า 2,000 ปีก่อน โดยมันมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ

การเริ่มต้นทำน้ำเกลือบ้วนปากนั้น น้ำยาบ้วนปากที่ทำด้วยน้ำเกลือทำงานอย่างไรเพื่อลดแบคทีเรียในช่องปาก แน่นอนว่ามันเพิ่มความสมดุลของค่า pH ในปากของคุณชั่วคราว สร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นด่างซึ่งแบคทีเรียต่อสู้เพื่อเอาชีวิตรอด เนื่องจากพวกมันเติบโตร่วมกับสปีชีส์ธรรมชาติอื่นๆ โดยทั่วไปชอบสภาพแวดล้อมที่เป็นกรด การใช้น้ำยาบ้วนปากบ่อยครั้งเพียงพอจะทำให้แบคทีเรียแพร่พันธุ์ได้ยาก ซึ่งน้ำเกลือบ้วนปากปลอดภัยอาจจะใช้ในระยะสั้นๆ

ในบทความนี้จะมาแนะนำน้ำเกลือบ้วนปากนิยม จะมียี่ห้อไหนบ้าง พร้อมกับช่องทางที่จะสั่งซื้อได้ โดยจะแนะนำทั้งคุณประโยชน์และราคาที่เหมาะสม จะมียี่ห้ออะไรบ้างไปดูกัน

  1. น้ำเกลือ 1000 ml Klean&Kare

               น้ำเกลือยอดนิยมที่ใครๆ ต้องมีติดบ้าน จะต้องมีน้ำเกลือ Klean&Kare ซึ่งเป็นหนึ่งในน้ำเกลือบ้วนปากที่สามารถใช้ได้ทั้งบ้วนปากกลั้วคอ เป็นน้ำเกลือล้างแผล ปราศจากอันตรายต่อร่างกาย ช่วยลดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อโรคต่างๆ ใช้ล้างจมูกจากสิ่งสกปรกออกได้ ช่วยทำความสะอาด อีกทั้งยังสามารถเช็ดหน้าโดยไม่ระคายเคืองต่อผิวแพ้ง่ายอีกด้วย เวลาไปร้านขายยาหรือสั่งออนไลน์จะประหยัดงบแต่คุณภาพปังๆ จริงๆ นะ

จุดเด่น

  1. มีราคาถูก หาซื้อง่ายทั้งร้านขายยาและออนไลน์
  2. มีรีวิวเชิงบวกเยอะมากในฐานะน้ำเกลือบ้วนปากนิยม
  3. น้ำเกลือบ้วนปากปลอดภัย สามารถใช้ได้ทุกเพศทุกวัย
  4. ป้องกันการอักเสบของผิวหนัง และป้องกันการระคายเคืองได้

จุดด้อย

  1. สินค้าหมดสต็อกไวมาก (หากอยู่ในโซนต่างจังหวัดหรือพื้นที่ห่างไกล)

รายละเอียด

ปริมาณน้ำเกลือ : 1 ขวด 0.9%

ความจุ : 1000 ml

ส่วนประกอบ : เกลือจากประเทศนิวซีแลนด์

ใช้สำหรับ : บ้วนปาก กลั้วคอ ล้าง ทำความสะอาด แผล ผิวหน้า จมูก

จุดสำคัญ : ไม่แพ้ ไม่ระคายเคือง ใช้ได้ทุกวัย

ลิงก์สินค้า : Lazada (คลิกได้ที่นี่)

  • น้ำเกลือ 1000 ml ตรา NSS

น้ำเกลืออีกยี่ห้อที่นิยมใช้เป็นน้ำเกลือบ้วนปากต้องมียี่ห้อนี้เลย น้ำเกลือ 1000 ml ตรา NSS ของบริษัทไทนครพัฒนา โดยมันใช้เป็นทั้งน้ำเกลือล้างจมูก น้ำเกลือบ้วนปากเพื่อกลั้วคอ น้ำเกลือเช็ดหน้าทำความสะอาด และยังเป็นน้ำเกลือเช็ดสิว จึงจัดเป็นน้ำเกลือบ้วนปากคุณภาพดีที่ใครๆ ควรจับจอง นอกจากจะหาซื้อง่าย มีความปลอดภัยแล้วนั้น ค่าจัดส่งของยี่ห้อนี้ถูกกว่าค่าไฟบ้านเราเสียอีก

จุดเด่น

  1. มีราคาถูก หาซื้อง่ายทั้งร้านขายยาและออนไลน์
  2. มีรีวิวเชิงบวกเยอะมากในฐานะน้ำเกลือบ้วนปากนิยม
  3. น้ำเกลือบ้วนปากปลอดภัย สามารถใช้ได้ทุกเพศทุกวัย
  4. ป้องกันการอักเสบของผิวหนัง และป้องกันการระคายเคืองได้

จุดด้อย

  1. แบรนด์ไม่ได้นิยมเท่าอันแรก

รายละเอียด

ปริมาณน้ำเกลือ : 1 ขวด 0.9%

ความจุ : 1000 ml

ส่วนประกอบ : น้ำเกลือปราศจากเชื้อและ Isotonic

ใช้สำหรับ : บ้วนปาก กลั้วคอ ล้าง ทำความสะอาด แผล ผิวหน้า จมูก

จุดสำคัญ : ไม่แพ้ ไม่ระคายเคือง ใช้ได้ทุกวัย

ลิงก์สินค้า : Lazada (คลิกได้ที่นี่)

  • น้ำ Aqua kare (Sterile water) อะควาแคร์ น้ำสเตอไรล์ 100%

               อีกยี่ห้อที่มีคุณสมบัติคล้ายๆ น้ำเกลือบ้วนปาก แต่ใช้แทนกันได้ โดยน้ำ Aqua kare (Sterile water) อะควาแคร์ น้ำสเตอไรล์ 100% ซึ่งเป็นน้ำที่มีคุณสมบัติเป็นน้ำเกลือบ้วนปาก สามารถใช้ทำความสะอาด เป็นน้ำเกลือกลั้วคอ ปราศจากเชื้อ อีกทั้งแค่เปิดขวดแทบไม่ต้องต้มเลย เพราะน้ำแบบนี้จะใช้ผสมกับนมผงสำหรับเด็กทารก หรือใช้สำหรับละลายอาหารทางการแพทย์ ที่ตอบโจทย์ในกลุ่มที่ต้องดูแลเด็กอ่อน ผู้ป่วยติดเตียงได้เป็นอย่างดี จึงกลายเป็นน้ำเกลือบ้วนปากปลอดภัยที่ควรมีติดบ้านเลยทีเดียว

จุดเด่น

  1. ใช้สอยได้หลากหลายกว่า
  2. มีรีวิวเชิงบวกเยอะมากในฐานะน้ำเกลือบ้วนปากนิยม
  3. น้ำเกลือบ้วนปากปลอดภัย สามารถใช้ได้ทุกเพศทุกวัย
  4. ป้องกันการอักเสบของผิวหนัง และป้องกันการระคายเคืองได้

จุดด้อย

  1. หาซื้อค่อนข้างยาก เพราะเป็นแบรนด์มีในออนไลน์เป็นหลัก
  2. นิยมใช้ในกลุ่มเปราะบางมากกว่า

รายละเอียด

ปริมาณน้ำเกลือ : 1 ขวด 0%

ความจุ : 1000 ml

ส่วนประกอบ : น้ำกลั่นผสมยา

ใช้สำหรับ : บ้วนปาก กลั้วคอ ล้าง ทำความสะอาด แผล ผิวหน้า จมูก ผสมอาหารได้

จุดสำคัญ : ไม่แพ้ ไม่ระคายเคือง ใช้ได้ทุกวัย

ลิงก์สินค้า : Lazada (คลิกได้ที่นี่)

  • น้ำยาบ้วนปาก Colgate Plax Salt Herbal 500ml

               อีกยี่ห้อที่มีครบทั้งเป็นน้ำเกลือบ้วนปาก และเป็นน้ำยาบ้วนปากในขวดเดียวสำหรับ Colgate Plax Salt Herbal 500ml ซึ่งมีส่วนผสมของเกลือ สมุนไพร ที่ช่วยให้ลมหายใจสดชื่น และขจัดแบคทีเรียโดยเฉพาะ ทำให้ทำความสะอาดลึกกว่าการแปรงฟันปกติถึง 10 เท่า ผสานเกลือที่มีคุณสมบัติเดียวกับน้ำเกลือบ้วนปากคุณภาพดี ที่เป็นคุณสมบัติที่รู้กันว่าที่สามารถลดกลิ่นไม่พึงประสงค์ในช่องปาก ช่วยลดการก่อตัวของเชื้อโรค และแบคทีเรียที่ส่งผลต่อโรคฟัน อีกทั้งยังมีสารสกัดจากสมุนไพร เพื่อให้สมุนไพรบำรุงสุขภาพฟัน และให้ลมหายใจที่สดชื่น

จุดเด่น

  1. ทำการตลาดในประเทศไทยมาต่อเนื่อง
  2. หาซื้อง่ายทั้งร้านขายยาและออนไลน์
  3. มีรีวิวเชิงบวกเยอะมากในฐานะน้ำเกลือบ้วนปากนิยม
  4. น้ำเกลือบ้วนปากปลอดภัย สามารถใช้ได้ทุกเพศทุกวัย
  5. ป้องกันการอักเสบของผิวหนัง และป้องกันการระคายเคืองได้

จุดด้อย

  1. แบรนด์มีราคาสูง

รายละเอียด

ปริมาณน้ำเกลือ : 1 ขวด 0.9%

ความจุ : 500 ml

ส่วนประกอบ : เกลือ สมุนไพร และปราศจากแอลกอฮอล์ 100%

ใช้สำหรับ : บ้วนปาก กลั้วคอ

จุดสำคัญ : ไม่แพ้ ไม่ระคายเคือง ใช้ได้ทุกวัย

ลิงก์สินค้า : Lazada (คลิกได้ที่นี่)

  • SALZ น้ำยาบ้วนปาก ซอลส์ เกลือสมุนไพรอายุรเวท ตรีผลา

ปิดท้ายที่มีทั้งน้ำยาบ้วนปากและน้ำเกลือบ้วนปาก โดยมีส่วนผสมสมุนไพรจากตรีผลา ซึ่งเป็นแหล่งผลิตภัณฑ์สมุนไพรขึ้นชื่อ ผลิตโดย “SALZ” เป็นผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาเพื่อดูแลปรนนิบัติผิวฟันเป็นอย่างดี โดยจุดที่พิเศษอยู่ที่ออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาเรื่องโรคเหงือกอักเสบ ที่เป็นโรคที่เกิดบ่อยมากในประเทศไทย และบรรเทาอาการจากโรคปริทันต์ได้ อีกทั้งมาจากสารสกัดสมุนไพรอายุรเวทจากตรีผลา ช่วยให้ลมหายใจสดชื่น ลดกลิ่นปากไม่พึงประสงค์ จึงกลายเป็นน้ำเกลือบ้วนปากคุณภาพดีที่ควรมีอย่างมาก

จุดเด่น

  1. ทำการตลาดในประเทศไทยมาต่อเนื่อง
  2. มีรีวิวเชิงบวกเยอะมากในฐานะน้ำเกลือบ้วนปากนิยม
  3. น้ำเกลือบ้วนปากปลอดภัย สามารถใช้ได้ทุกเพศทุกวัย
  4. ป้องกันการอักเสบของผิวหนัง และป้องกันการระคายเคืองได้
  5. หอมสมุนไพร ช่วยลดกลิ่นปากได้

จุดด้อย

  1. ปริมาณน้อย

รายละเอียด

ปริมาณน้ำเกลือ : 1 ขวด 0.9%

ความจุ : 250 ml

ส่วนประกอบ : เกลือ สมุนไพร และปราศจากแอลกอฮอล์ 100%

ใช้สำหรับ : บ้วนปาก กลั้วคอ

จุดสำคัญ : ไม่แพ้ ไม่ระคายเคือง ใช้ได้ทุกวัย

ลิงก์สินค้า : Lazada (คลิกได้ที่นี่)

H2:  น้ำเกลือบ้วนปากบางยี่ห้ออาจจะเป็นน้ำยาบ้วนปากด้วยน้ำเกลือ การทำน้ำเกลือบ้วนปากส่วนบุคคลเป็นเรื่องง่าย เติมเกลือ ½ ช้อนชาลงในน้ำอุ่นหนึ่งถ้วย บ้วนปากทุกสองถึงสามชั่วโมงในช่วงสองสามวันแรกหลังการผ่าตัด จากนั้นใช้สามถึงสี่ครั้งต่อวันหลังจากนั้น สามารถใช้น้ำยาบ้วนปากเพื่อช่วยในด้าน :

  • บรรเทาและรักษาแผลในปาก
  • รักษาอาการเจ็บคอที่เกิดจากสเตรป (เจ็บคอจากเสมหะ) ต่อมทอนซิลอักเสบ หรือแม้แต่ไข้หวัด
  • ให้สุขอนามัยทันตกรรมฉุกเฉินในกรณีที่ไม่มีน้ำยาบ้วนปากปกติหรือยาสีฟันเป็นประจำ

แม้ว่าน้ำเกลือบ้วนปากคุณภาพดีจะมีประโยชน์ขั้นสุดท้าย แต่ก็ควรเป็นส่วนเสริมสำหรับกิจวัตรสุขอนามัยช่องปากประจำวันของคุณ น้ำเกลือบ้วนปากให้การปกป้องสุขภาพช่องปากนาน 12 ชั่วโมง และฆ่าเชื้อโรคได้ 99 เปอร์เซ็นต์เมื่อสัมผัส และใช้ชีวิตประจำวันได้ต่อไป แม้หลังจากเริ่มอาหารมื้อใหม่แล้ว แต่นั่นจะต้องเลือกซื้อให้เป็น หากอยากให้น้ำเกลือบ้วนปากปลอดภัย ก็ต้องเลือกซื้อเพื่อไม่ให้กระทบกับช่องปากเราจะดีที่สุด

สอบถามเพิ่มเติมและตรวจสุขภาพฟัน
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ทันตกรรม #ตรวจสุขภาพฟัน #คลินิกทันตกรรม

วิธีการลดกลิ่นปาก ด้วยตนเอง 2565

วิธีการลดกลิ่นปาก ด้วยตนเอง 2565

บางทีกลิ่นปาก (Bad Breath หรือ Halitosis) มันกลายเป็นมุกตลกที่ร้ายมาก ซึ่งมันรบกวนในชีวิตจริงมากพอสมควร กลิ่นปากที่ทำให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์นั้น หลายคนอาจจะมองว่านี่เป็นเรื่องตลกที่แซวๆ กัน แต่จริงๆ แล้วมันร้ายแรงกว่าที่คิด เพราะมันสื่อให้เห็นว่ามีปัญหาช่องปากอยู่ที่ควรได้รับการแก้ไข ยิ่งสมัยนี้อาหารที่ดีต่อใจทั้งหลายทำให้เป็นที่นิยมแพร่หลาย อย่างไรก็ตามกลิ่นปากหรือที่เรียกว่า “ปากเหม็น” อาจทำให้อับอายและในบางกรณีอาจทำให้เกิดความวิตกกังวลได้ ไม่น่าแปลกใจที่ชั้นวางของในร้านเต็มไปด้วยหมากฝรั่ง มินต์ น้ำยาบ้วนปาก และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ออกแบบมาเพื่อหาวิธีลดกลิ่นปาก ต่อสู้กับกลิ่นปาก แต่ผลิตภัณฑ์เหล่านี้จำนวนมากเป็นเพียงมาตรการชั่วคราวเนื่องจากไม่ได้ระบุสาเหตุของปัญหาที่หยั่งลึกมากเท่าที่ควร วิธีนี้จึงเป็นการลดกลิ่นปากแค่ในระยะเวลาอันสั้นๆ เพียงเท่านั้น

วิธีลดกลิ่นปากสำหรับครึ่งปีหลัง 2565

จะไม่ต่างกันมากนัก แต่ที่พิเศษเลยก็คือ ในยุคปัจจุบันจะมีอาหารที่ค่อนข้างแซ่บ มีกลิ่นแรง ในประเทศไทยจะเห็นได้ว่าอาหาร ภาวะสุขภาพ และนิสัยบางอย่างเป็นสาเหตุของกลิ่นปาก ในหลายกรณี คุณสามารถปรับปรุงกลิ่นปากด้วยสุขอนามัยทางทันตกรรมที่เหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ หากเทคนิคการดูแลตนเองง่ายๆ ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ให้ไปพบแพทย์เพื่อให้แน่ใจว่าอาการที่ร้ายแรงกว่านั้นไม่ได้ทำให้คุณมีกลิ่นปากเพียงอย่างเดียว แต่มันกำลังบ่งบอกถึงปัญหาช่องปากที่ตามมาอย่างคาดไม่ถึง

กลิ่นปากเป็นปัญหาทั่วไปที่อาจทำให้เกิดความทุกข์ทางจิตใจอย่างมาก มีหลายสาเหตุและการรักษาที่เป็นไปได้ ทุกคนมีโอกาสได้รับผลกระทบจากกลิ่นปาก ประมาณว่า 1 ใน 4 คนมีกลิ่นปากเป็นประจำ ภาวะที่มีกลิ่นปากเป็นสาเหตุสำคัญอันดับสามที่ผู้คนต้องการดูแลทันตกรรม รองจากฟันผุและโรคเหงือก

สาเหตุของการเกิดกลิ่นปาก

  • การสูบบุหรี่ : ใครที่สูบบุหรี่บ่อยๆ จะมีโอกาสประสบปัญหาเยอะมาก ทำให้เกิดกลิ่นปากของตัวเอง นอกจากนี้ยังเพิ่มโอกาสเป็นโรคเหงือกซึ่งอาจทำให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้
  • อาหารกลิ่นแรงๆ รสจัดๆ : ใครเป็นทีมสายแซ่บ หรือสายซีฟู้ดจะต้องระมัดระวังอย่างมาก แม้แต่การรับประทานอาหารหมักดอง เช่น ผลไม้ดอง อาหารทะเลดอง เศษอาหารที่ติดอยู่ในฟันอาจทำให้เกิดกลิ่นได้ อีกทั้งอาหารบางชนิด เช่น หัวหอมและกระเทียมก็ทำให้เกิดกลิ่นปากได้เช่นกัน
  • อาการปากแห้ง : หากปากแห้งหรือแห้งโดยธรรมชาติอันเนื่องมาจากโรคบางชนิด เช่น ซีโรสโตเมีย กลิ่นก็อาจก่อตัวขึ้นได้ การจิบน้ำจะช่วยลดกลิ่นปากได้
  • ไม่ทำความสะอาดช่องปากที่รัดกุม : หากการแปรงฟันไม่สะอาด หรือไม่ใช้ไหมขัดฟันเข้ามาช่วย คราบจุลินทรีย์นี้สามารถระคายเคืองเหงือกและทำให้เกิดการอักเสบระหว่างฟันและเหงือกที่เรียกว่าโรคปริทันต์อักเสบ ฟันปลอมที่ไม่ได้ทำความสะอาดเป็นประจำหรืออย่างเหมาะสมสามารถเป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรียที่ทำให้เกิดปัญหาช่องปากได้
  • การอดอาหาร : การอดอาหารและการรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำสามารถทำให้เกิดกลิ่นปากได้ เกิดจากการสลายของไขมันที่ผลิตสารเคมีที่เรียกว่าคีโตน คีโตนเหล่านี้มีกลิ่นไม่พึงประสงค์ออกมา วิธีที่เสี่ยงต่อการเกิดกลิ่นปาก เช่น การทานแบบ IF, การทานแบบ Ketogenic
  • โรคและยาบางชนิด : ยาบางชนิดสามารถลดน้ำลายและทำให้มีกลิ่นเพิ่มขึ้น ยาอื่นๆ สามารถสร้างกลิ่นได้เมื่อสลายตัวและปล่อยสารเคมีในลมหายใจ ตัวอย่าง ได้แก่ ไนเตรตที่ใช้รักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ แม้แต่โรคบางโรค เช่น โรคกรดไหลย้อน (GERD) มะเร็งบางชนิด ตับวาย และโรคเมตาบอลิซึมอื่นๆ อาจทำให้เกิดปัญหาช่องปากได้

อาการในการเกิดกลิ่นปาก

กลิ่นไม่พึงประสงค์ที่ออกมาทางลมหายใจนั้นจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาหรือสาเหตุที่แท้จริง บางคนกังวลเรื่องลมหายใจมากเกินไปแม้ว่าจะมีกลิ่นปากเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย ในขณะที่บางคนมีกลิ่นปากแต่ไม่รู้ เนื่องจากเป็นการยากที่จะประเมินว่ากลิ่นปากของคุณมีกลิ่นอย่างไร ให้ถามเพื่อนสนิทหรือญาติเพื่อยืนยันคำถามเกี่ยวกับกลิ่นปากของคุณ หรือลองสนทนาคุยกับใครสักคนเพื่อให้สังเกตว่ามีกลิ่นออกมาไหม ถ้ามีนั่นสื่อถึงความผิดปกติของช่องปาก

อาการกลิ่นปากนั้นสามารถแก้ได้ ซึ่งมีวิธีลดกลิ่นปากที่สามารถทำได้จากที่บ้าน จะเป็นการเยียวยาที่บ้านง่ายๆ โดยจะมีวิธีการดูแลช่องปากเพื่อลดปัญหาช่องปากระยะยาว วิธีเหล่านี้จะต้องเป็นวิธีที่ทำเพื่อสุขภาพระยะยาวเพื่อตอบโจทย์ปี 2565 ที่ต้องเน้นการดูแลระยะยาว โดยจะแนะนำได้ดังนี้ว่ามีอะไรบ้าง

วิธีการลดกลิ่นไม่พึงประสงค์ของช่องปาก

  1. แปรงฟัน : อย่าลืมแปรงฟันอย่างน้อยวันละสองครั้ง โดยเฉพาะหลังอาหารแต่ละมื้อเพื่อกำจัดเศษอาหาร และเป็นการลดกลิ่นปากได้ หรืออาจจะมีแปรงและยาสีฟันพกพาติดตัวไปด้วยเวลาไปนอกบ้าน
  2. ไหมขัดฟัน : การใช้ไหมขัดฟันช่วยลดการสะสมของเศษอาหารและคราบพลัคจากระหว่างฟัน การแปรงฟันทำความสะอาดเพียง 60 เปอร์เซ็นต์ของพื้นผิวฟันเท่านั้น
  3. ทำความสะอาดฟันปลอม : ใครใช้ฟันปลอมควรอ่านข้อนี้ สิ่งใดก็ตามที่เข้าไปในปากของคุณ รวมถึงฟันปลอม สะพานฟัน รากฟันเทียม หรือเฝือกสบฟัน ควรทำความสะอาดตามที่แนะนำเป็นประจำทุกวัน การทำความสะอาดช่วยป้องกันไม่ให้แบคทีเรียสะสมและลดกลิ่นปาก การเปลี่ยนแปรงสีฟันทุกๆ 2 ถึง 3 เดือนก็มีความสำคัญด้วยเหตุผลเดียวกัน
  4. แปรงลิ้นด้วยนะ : อย่าแปรงแค่ฟันอย่างเดียว ลิ้นแปรงด้วย เนื่องจากแบคทีเรีย อาหาร และเซลล์ที่ตายแล้วมักสร้างขึ้นบนลิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูบบุหรี่หรือผู้ที่ปากแห้งโดยเฉพาะ บางครั้งหาซื้อแปรงฟันที่มีส่วนของแปรงลิ้นก็มีประโยชน์
  5. ระวังอาการปากแห้ง : การเกิดปากแห้ง มีส่วนทำให้เกิดปัญหาช่องปาก ควรดื่มน้ำปริมาณมาก หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์และยาสูบ ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ทำให้ปากแห้ง การเคี้ยวหมากฝรั่งหรือการดูดของหวานที่ปราศจากน้ำตาลสามารถช่วยกระตุ้นการผลิตน้ำลายได้ หากปากแห้งเรื้อรัง แพทย์อาจสั่งยาที่ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของน้ำลาย
  6. อาหาร: หลีกเลี่ยงหัวหอม กระเทียม และอาหารรสเผ็ด อาหารที่มีน้ำตาลยังเชื่อมโยงกับกลิ่นปากอีกด้วย ลดการบริโภคกาแฟและแอลกอฮอล์ การรับประทานอาหารเช้าที่มีอาหารหยาบๆ เข้ามาสามารถช่วยทำความสะอาดส่วนหลังของลิ้นได้

ทั้งนี้นอกจากวิธีลดกลิ่นปาก การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต เช่น สุขอนามัยฟันที่ดีขึ้นและการเลิกสูบบุหรี่ มักจะสามารถขจัดปัญหาได้ อย่างไรก็ตาม หากกลิ่นปากยังคงมีอยู่ แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ เพื่อนำไปสู่การรักษาและหาต้นตอของสาเหตุ เพื่อป้องกันอาการที่มาจากกลิ่นไม่พึงประสงค์ อย่างน้อยกันไว้ดีกว่าแก้จะดีกว่า

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายดูแลสุขภาพฟัน
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#กลิ่นปาก #วิธีลดกลิ่นปาก #ปัญหากลิ่นปาก