อาการปวดฟันคุด 2022

อาการปวดฟันคุด 2022

หลายๆคนที่มีอาการปวดฟันคุด เหงือกบวม แล้วก็คิดว่าอยากจะถอนมันออกซะเหลือเกิน แต่ไม่กล้าไปหาทันตแพทย์หรือคุณหมอ เพราะถ้ามีอาการปวดอยู่หรือบวมอยู่ หลายครั้งที่จะได้รับคำตอบจากคุณหมอที่มักจะบอกคนไข้ที่มายังคลินิคว่า ยังถอนให้ไม่ได้ ทำเอาคนไข้หลายรายถึงกับคอตกกลับบ้านกันมานักต่อนัก แต่ในบทความในวันนี้จะเคลียร์ข้อข้องใจ ถึงอาการปวดฟันคุดที่หลายๆคนหนักอกหนักใจ อย่าพึ่งกังวลไปค่ะ เพราะเนื่องจากคุณหมอหรือทันตแพทย์นั้น ส่วนใหญ่แล้วมีหลักการการพิจารณาคนไข้ที่ปวดฟันคุดง่าย ๆ อยู่เพียง 3 ข้อ สำหรับใช้ในการพิจารณารักษาอาการปวดฟันคุดของคนไข้เบื้องต้นแต่ละเคสนั่นเอง โดยจะเริ่มที่หลักการ ข้อที่ 1 นั่นก็คือการพิจารณากำจัดสาเหตุการติดเชื้อออกไป อาทิ การถอนฟัน การให้ยารับประทานเบื้องต้น เป็นต้น 2. เช็คจากอาการคนไข้ต่อการต่อต้านยาชามากน้อยเพียงใด เนื่องจากผลของอาการปวดฟันหรือการอักเสบนั่น ส่งผลอย่างยิ่งต่อฤทธิ์ของยาชาโดยตรงนั่นเอง

ดังนั้น การต่อต้านยาชาของบริเวณที่มีการอักเสบติดเชื้อในช่องปาก ส่งผลให้ภาวะเนื้อเยื่อกลายเป็นกรดได้ง่ายมากๆ ซึ่งมันจะส่งผลให้ทำปฎิกิริยาต่อต้านกับยาชาที่มีฤทธิ์เป็นเบสอย่างมาก ดังนั้น บริเวณที่มีการติดเชื้อและอักเสบของฟันคุด ส่งผลให้ยาชาที่คุณหมอฉีดให้นั่น ออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มที่ หรือเรียกว่าชาได้ไม่เต็มที่นั่นเอง สำหรับหลักการสุดท้าย ในข้อที่ 3 ที่คุณหมอจะพิจารณานั่นก็คือ ระดับอาการที่จะเกิดขึ้นกับคนไข้ที่เข้ามาทำการรักษา ซึ่งก็ได้แบ่งออกเป็นได้ 3 ระดับด้วยกัน ดังนี้ คือ แบบที่ 1 คนไข้ที่มีอาการติดเชื้อรุนแรง เคสนี้คุณหมอจะตัดสินใจถอนให้ทันที ทว่า ในกรณีที่คนไข้มีอาการปวดอย่างรุนแรงหรือไม่สามารถทนเจ็บได้นั่น รวมไปถึงเคสที่คนไข้จำเป็นต้องถอนออกมาหลายซี่ ลักษณะนี้จำเป็นต้องใช้วิธีการวางยาสลบ หรือถอนฟันคุดภายใต้ยาสลบ เพื่อให้ฟันซี่มีอาการติดเชื้อถูกถอนออกไปโดยเร็วที่สุด เพื่อลดอาการแทรกซ้อนหรือรุนแรงตามมาภายหลัง ดังนั้น ทันตแพทย์หลายท่าน เมื่อพิจารณาแล้วเห็นถึงเหตุจำเป็นที่ต้องถอนก็จะต้องถอนได้ทันทีนั่นเอง เพื่อให้อาการติดเชื้อนั้นจะทุเลาลงอย่างรวดเร็ว แบบที่ 2 ติดเชื้อระดับกลาง ที่คนทั่วไปมักเป็นกัน หรือคุณหมอจะเจอกันเยอะที่สุด อย่างเช่น คนที่มีอาการเหงือกบวมและรู้สึกปวด ๆ หาย ๆ เป็นระยะ ในระดับนี้จึงเหมาะสมกับทางเลือกที่ 2 คือลดการอักเสบด้วยการรับประทานยา ให้การติดเชื้อของคนไข้ทุเลาเบาบางลง เมื่อกลับมาผ่าฟันคุดออกในครั้งถัดไป ยาชาก็จะทำปฎิกิริยาได้อย่างเต็มที่มากยิ่งขึ้นนั่นเอง

สำหรับในเคสที่คนไข้นั่น ไม่สามารถอ้าปากได้ หรืออ้าปากไม่ขึ้นเนื่องจากยังมีอาการปวดฟันคุด ทางทันตแพทย์หรือคุณหมอ ก็จะแนะนำให้รับประทานยาลดอาการอักเสบ และอาการปวดฟันคุดก่อนสักระยะ เพื่อช่วยให้รักษาฟันคุดในภายหลัง สบายทั้งคนไข้และสะดวกทั้งคุณหมออีกด้วย แบบที่ 3 คือภาวะติดเชื้อเล็กน้อย หรือยังไม่ติดเชื้อมากนัก คือ มีอาการปวดนิด ๆ หน่อย ๆ มีอาการอักเสบน้อยมาก โดยทางคุณหมอเอง จะมีการตรวจเช็คช่องปาก หากคนไข้มีแนวโน้มจะเจอปัญหาการติดเชื้อ การอักเสบในระยะยาว อาทิ ฟันคุดมีการขึ้นเอียงชนฟันซี่อื่นๆ ส่งผลให้ฟันซี่ข้างๆ มีโอกาสสูงที่จะผุเสียหายตามไปด้วย ทางคุณหมอหรือทันตแพทย์ก็อาจจะพิจารณาให้คนไข้เข้ามาทำการรักษาโดยการเอาฟันคุดออก หลังการกลับบ้านไปควรทานยาลดอักเสบเป็นระยะ แล้วจึงสามารถกลับมาถอนฟันคุด คนไข้ก็จะมีแนวโน้มการรักษาที่ดีขึ้น และยาชาที่ใช้ร่วมกับการรักษาก็จะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นไปด้วย ดังนั้นหากเราเจอฟันที่มีแนวโน้มที่จะมีปัญหาฟันคุด ทุกท่านควรหาเวลาไปพบคุณหมอหรือทันตแพทย์เพื่อถอนฟันคุดออก ในช่วงที่ไม่มีอาการจะดีที่สุดนั่นเอง

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ เชื่อว่าหลายๆคนตอนนี้คงได้รับทราบข้อมูลคร่าวๆและพอจะเข้าใจกันแล้วว่า ถ้ามีอาการปวดบวมจะไปถอนฟันคุดได้เลยหรือไม่ ซึ่งคำตอบก็คือแนะนำให้คนไข้ไปพบคุณหมอตรวจช่องปากก่อนได้นะคะ เพราะคุณหมอจะต้องเห็นลักษณะในช่องปากและประเมินแนวโน้มด้านในปากทั้งช่องปากเลยค่ะว่า คนไข้มีแนวโน้มฟันคุดอยู่ในระดับความรุนแรงมากน้อยแค่ไหน เพื่อจะแนะนำคนไข้ว่าควรจะให้รีบประทานยาก่อนหรือทำการถอนฟันคุดได้เลย

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายผ่าฟันคุด
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ฟันคุด #ถอนฟันคุด #ผ่าฟันคุด

7 ข้อควรรู้ อันตรายจากการผ่าฟันคุด

7 ข้อควรรู้ อันตรายจากการผ่าฟันคุด

7 ข้อควรรู้ อันตรายจากการผ่าฟันคุด

เราคงเคยได้ยินกันมาบ้างว่า ฟันคุดเก็บเอาไว้ไม่ดี เพราะอย่างไรก็ต้องผ่าออกอยู่ดี แต่แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคนจะกล้าผ่า บางคนไม่ได้กลัวเจ็บอย่างแต่กลัวว่าผ่าไปแล้วจะส่งผลเสียมากกว่าผลดีหรือเปล่า ก็พาลให้ไม่ยอมผ่าไปอีก ซึ่งอันที่จริงแล้วหากลองพิจารณาจะพบว่าการผ่าฟันคุดมีข้อดีกว่าการไม่ผ่าด้วยค่ะ แต่ไม่ได้หมายความว่า ผ่าฟันคุดไปแล้วจะไม่มีอาการผิดปกติอะไร เราจะพาไปดูข้อควรรู้เกี่ยวกับอันตรายจากการผ่าฟันคุด

ฟันคุด ไม่ผ่าได้ไหม

ก่อนที่เราจะไปถึงเรื่องอันตรายจากการผ่าฟันคุด เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า จริง ๆ แล้วนั้น ถ้ามีฟันคุด ไม่ผ่าได้ไหม? ต้องบอกเลยว่า ใม่ผ่าได้คะ ถ้าคุณสามารถทนปวดได้ และสามารถทนกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปนี้ได้

ถ้าไม่ผ่าฟันคุด

  • เหงือกบริเวณที่คลุมฟันจะเกิดอาการอักเสบ เพราะอาจมีเศษอาหารเข้าไปติดอยู่ใต้เหงือก ทำความสะอาดได้ไม่ดีพอ จนเกิดเหงือกอักเสบ ปวด บวมและเป็นหนอง หากทิ้งไว้เชื้อจะกระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
  • ฟันข้างเคียงผุ เพราะซอกฟันระหว่างฟันคุดกับฟันกรามซี่ที่สองที่อยู่ชิดกันนั้น ทำความสะอาดได้ยาก เศษอาหารจะติดค้างอยู่ทำให้เกิดฟันผุได้ทั้งสองซี่
  • กระดูกละลายตัว เพราะแรงดันจากฟันคุดที่พยายามดันขึ้นมา อาจทำให้กระดูกรอบรากฟัน หรือรากฟันข้างเคียงถูกทำลายไปได้
  • เกิดถุงน้ำหรือเนื้องอก เพราะฟันคุดที่ทิ้งไว้นาน อาจเกิดเนื้อเยื่อหุ้มรอบฟันคุด อาจทำให้เนื้อเยื่อขยายใหญ่ขึ้นกลายเป็นถุงน้ำ
  • กระดูกขากรรไกรหัก เนื่องจากการที่มีฟันคุดฝังอยู่ จะทำให้กระดูกขากรรไกรบริเวณนั้นบางกว่าตำแหน่งอื่น เกิดเป็นจุดอ่อน เมื่อได้รับอุบัติเหตุ หรือกระทบกระแทก กระดูกขากรรไกรบริเวณนั้นก็จะหักได้ง่าย

อันตรายจากการผ่าฟันคุด

หากเลือกผ่าฟันคุด ก็สามารถพบอันตรายจากอาการข้างเคียง รวมถึงโรคแทรกซ้อนที่สามารถเกิดขึ้นภายหลังจากที่ผ่าฟันคุดไปแล้วเช่นกัน แน่นอนว่าอาการดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน ซึ่งข้อควรรู้เกี่ยวกับอาการนั้นมีดังนี้

  1. เป็นไข้หรือมีการติดเชื้อหลังการผ่าฟันคุด
  2. ขากรรไกรแข็งหรือมีอาการอ้าปากได้ลำบาก
  3. กระดูกเบ้าฟันอักเสบ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่สามารถพบได้บ่อยที่สุดหลังจากการผ่าฟันคุด เกิดจากการที่ลิ่มเลือดไม่แข็งตัวภายในกระดูกเบ้าฟัน หรือลิ่มเลือดภายในกระดูกเบ้าฟันหลุดไป จนทำให้กระดูกเบ้าฟันว่างและแห้ง และเกิดอาการปวด นอกจากนี้ อาจมีกลิ่นและรสไม่พึงประสงค์ออกมาจากบริเวณกระดูกเบ้าฟัน ซึ่งมักจะเกิดขึ้นจากการดูแลได้ไม่ดีหลังการผ่าฟันคุด
  4. อาการบาดเจ็บที่เส้นประสาทใบหน้า จะมีอาการเจ็บแปลบและชาบริเวณลิ้น ริมฝีปากล่าง คาง ฟัน และเหงือกได้ อาการบาดเจ็บดังกล่าวจะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเพียงไม่กี่สัปดาห์ หรือไม่กี่เดือน ซึ่งอาการดังกล่าวนี้จะส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันได้ เช่น ทานอาหารและน้ำได้ลำบาก
  5. ขากรรไกรหักเนื่องจากฟันคุดติดแน่นกับบริเวณกรามมากเกินไป แต่พบได้น้อย
  6. โพรงไซนัสถูกเปิดออกเนื่องจากฟันคุดซี่ด้านบนถูกถอนออกและทะลุถึงโพรงไซนัส แต่พบได้น้อย
  7. เกิดเลือดออกในปริมาณมาก และหากเลือดไม่หยุดไหลภายใน 24 ชั่วโมง ควรไปพบแพทย์เพราะอาจเป็นอันตรายได้

เราก็ได้รู้เกี่ยวกับอันตรายจากการผ่าฟันคุดไปแล้ว แต่ไม่อยากให้ใครที่กำลังปวดฟันคุดต้องกลัวไปก่อนนะคะ เพราะอย่างไรเสีย การผ่าฟันคุดก็ส่งผลดีมากกว่าผลเสีย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการดูแลตัวเองและรักษาความสะอาดของช่องปากภายหลังจากการผ่าฟันคุดด้วยค่ะ

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายผ่าฟันคุด
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ผ่าฟันคุด #ฟันคุด

ถ้าไม่ปวด ฟันคุดผ่าควรผ่าออกหรือไม่?

ถ้าไม่ปวด ฟันคุดผ่าควรผ่าออกหรือไม่?

ถ้าไม่ปวด ฟันคุดผ่าควรผ่าออกหรือไม่?

เมื่อพูดถึงการผ่าฟันคุด คงเป็นเรื่องที่หลายคนหวาดกลัวและขยาดไม่ใช่น้อย ถ้าเลือกได้ ก็คงไม่มีใครอยากเจ็บตัวกันหรอกจริงไหมคะ หลายครั้ง ฟันคุดก็ทำให้เราเลือกไม่ได้นี่สิ ปวดแสนปวดจนต้องไปผ่าออก แต่ในบางคนกลับไม่มีอาการอะไรเลย แบบนี้แล้ว ไม่ปวด ไม่ผ่าได้หรือเปล่า? ไว้รอปวดก่อนค่อยไปผ่าจะดีไหม? เราจะไปหาคำตอบกันในบทความนี้ค่ะ

ทำความรู้จัก ฟันคุด

ฟันคุด คือ ฟันที่ไม่สามารถขึ้นมาในช่องปากได้เหมือนฟันปกติทั่วไป เนื่องจากฟันคุดมักฝังอยู่ใต้เหงือก ในกระดูกขากรรไกร หรือขึ้นพ้นเหงือกมาเพียงบางส่วนเท่านั้น ซึ่งหากเป็นกรณีดังกล่าวจะต้องผ่าออกอย่างเดียว แต่ในบางกรณีก็สามารถถอนตามปกติได้ เพราะฟันเจ้าปัญหานั้นอาจจะขึ้นมาจนเต็มซี่ เพียงแต่ขึ้นผิดลักษณะเท่านั้นเอง โดยฟันซี่ที่พบว่าเป็นฟันคุดบ่อยที่สุด คือ ฟันกรามล่างซี่สุดท้าย ซึ่งอยู่ด้านในสุดของกระดูกขากรรไกรล่าง

วิธีสังเกตว่าเรามีฟันคุดหรือไม่

เราสามารถสังเกตได้ด้วยตัวเองว่ามีฟันคุดหรือเปล่า โดยดูว่ามีฟันซี่ใดที่ขึ้นมาแค่เพียงบางส่วนไหม หรือมีฟันซี่ไหนที่หายไปบ้างหรือเปล่า รวมถึงลักษณะฟันที่ขึ้นมา ดูแตกต่าง หรือมีลักษณะขึ้นแบบนอน ๆ มา ต่างจากฟันอื่นหรือไม่ ถ้าใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าอาจจะเป็นฟันคุด ทางที่ดี แนะนำให้ไปตรวจเช็คช่องปากกับทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญค่ะ

ฟันคุด ไม่ปวด ไม่ผ่าได้ไหม?

คำถามที่หลายคนอยากรู้ เพราะเท่าที่เห็น คนที่ไปผ่าคือคนที่มีอาการปวดแล้ว แต่ถ้าไม่ปวดล่ะ? จำเป็นต้องผ่าไหม? งั้นเรามาดูกันค่ะ ว่ามีเหตุผลอะไรที่คนเราควรที่จะต้องผ่าฟันคุด

  1. ทำความสะอาดยาก เนื่องจากฟันคุดเป็นฟันที่อยู่ซี่ด้านในสุด ทำให้ยากต่อการทำความสะอาด และ

มักจะมีเศษอาหารเข้าไปติดใต้เหงือก ทำให้เกิดการสะสมของแบคทีเรีย บ้างก็เกิดกลิ่นปาก บ้างก็เกิดการอักเสบ ติดเชื้อ ฟันผุ และโรคปริทันต์อักเสบ ไม่ใช่แค่เพียงตัวมันเอง แต่ยังส่งผลถึงฟันซี่ข้าง ๆ อีกด้วย

  1. เกิดการละลายตัวของกระดูก ด้วยแรงดันจากฟันคุด ที่พยายามดันขึ้นมา จะทำให้กระดูกรอบราก

ฟัน หรือรากฟันข้างเคียงถูกทำลายไป

  1. เกิดถุงน้ำหรือเนื้องอก เพราะฟันคุดที่ปล่อยทิ้งไว้นานเกินไป จะส่งผลให้เนื้อเยื่อที่หุ้มรอบฟันคุด

สามารถขยายใหญ่ขึ้นกลายเป็นถุงน้ำได้ ซึ่งการเจริญเติบโตของถุงน้ำนี้อาจจะไม่แสดงอาการใด ๆ เลยก็ได้ จนในที่สุดเกิดการทำลายฟันซี่ข้างเคียง และกระดูกรอบๆ บริเวณนั้น

  1. ป้องกันฟันซี่ข้างเคียงผุ นอกจากจะเป็นแหล่งสะสมเศษอาหารและแบคทีเรียแล้ว ฟันคุดยังทำให้ฟัน

ที่อยู่ข้างเคียงผุไปด้วย ทั้งซอกฟันระหว่างฟันคุดกับฟันกรามซี่ที่สองที่อยู่ชิดกันนั้น ทำความสะอาดได้ยาก เศษอาหารจะติดค้างอยู่ ทำให้เกิดฟันผุได้ทั้งสองซี่

  1. ป้องกันกระดูกขากรรไกรหัก อันเป็นผลมาจากการที่มีฟันคุดฝังอยู่ จะทำให้กระดูกขากรรไกร

บริเวณนั้นบางกว่าตำแหน่งอื่น เกิดเป็นจุดอ่อน เมื่อได้รับอุบัติเหตุ หรือกระทบกระแทก กระดูกขากรรไกรบริเวณนั้นก็จะหักได้ง่าย

สำหรับฟันคุด ทันตแพทย์จะพิจารณาว่าจะผ่าฟันคุดหรือไม่ จะต้องตรวจดูรูปร่างของช่องปาก และตำแหน่งของฟันคุดก่อน รวมทั้งยังต้องคำนึงถึงอายุด้วย แต่การผ่าฟันคุดอาจไม่เกิดขึ้นในทันทีที่พบฟันคุดเพราะในบางครั้งอาจต้องใช้เวลาหลายเดือนเพื่อติดตามความเปลี่ยนแปลงของฟันคุด เพื่อนำมาประกอบการพิจารณา ซึ่งกล่าวโดยสรุปได้ว่า จากคำถาม ฟันคุดควรผ่าออกหรือไม่ ต้องบอกเลยว่าการผ่าออกให้ผลที่ดีมากกว่าผลเสียแน่นอน แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยและองค์ประกอบที่ได้กล่าวมาก่อนหน้านี้ด้วยค่ะ

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายผ่าฟันคุด
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ผ่าฟันคุด #ฟันคุด

ฟันคุดไม่ผ่าได้ไหม

ฟันคุดไม่ผ่าได้ไหม? 6 สาเหตุที่ทันตแพทย์แนะให้ถอนฟันคุด

ครั้งหนึ่งในชีวิตของเกือบทุกคน จะต้องเคยผ่านประสบการณ์ผ่าฟันคุดมาก่อน แต่สำหรับใครที่รู้ตัวว่ามีฟันคุด แต่กล้า ๆ กลัว ๆ ไม่รู้ว่าจะผ่าดี ไม่ผ่าดี ต้องอ่านบทความนี้ให้ดี ๆ เลยค่ะ คนจำนวนไม่น้อยเลือกที่จะไม่ผ่าฟันคุด จนกระทั่งเจ็บปวดจนทนไม่ไหวนั่นแหละค่ะ ถึงได้รีบไปหาทันตแพทย์โดยด่วน ใครกำลังปวดฟันคุดยกมือขึ้น คงมีคำถามว่า ไม่ผ่าฟันคุดได้ไหม? มาดูกันค่ะ ว่าเหตุผลอะไรที่ทันตแพทย์ถึงแนะนำให้ผ่าฟันคุด

ฟันคุด คืออะไรกันนะ?

ฟันคุด เหมือนเด็กมีปัญหาค่ะ ที่เขาไม่สามารถโผล่ขึ้นมาได้ตามปกติ บางซี่ก็โผล่มาบางส่วน แต่บางซี่ก็อยู่ข้างใต้โดยมีเหงือกปกคลุมอยู่ พอมันไม่สามารถขึ้นได้เต็มที่ ก็จะไปดันเหงือกจนเราปวดนี่ล่ะค่ะ

ทำไมทันตแพทย์จึงแนะนำให้ผ่าฟันคุด

โดยทั่วไปแล้ว ฟันคุดจะมีหลายรูปแบบด้วยกันค่ะ การรักษาก็แตกต่างกันออก บางซี่ขึ้นเต็มซี่ บางซี่มีเหงือกมาปกคลุม บางซี่ก็ไม่ขึ้นมาเลย แต่พยายามดันตัวเองขึ้นมา ทำให้เรารู้สึกเจ็บ ซึ่งทันตแพทย์ก็มักจะให้ผ่าฟันคุด ซึ่งสาเหตุก็มีดังต่อไปนี้

1. ฟันคุด ทำให้เกิดอาการปวด

แน่นอนค่ะ ถ้าไม่ปวด คงไม่มีใครรีบมาหาหมอฟันแน่นอน สาเหตุก็เพราะฟันคุดมีแรงผลัก เพื่อจะงอกขึ้นมาในขากรรไกร แต่ถูกกัดหรือติดโดยฟันข้างเคียง ทำให้มีแรงย้อนกลับไปกดที่เส้นประสาทของขากรรไกร จึงเกิดอาการปวดขึ้น

2. ฟันคุด ทำให้เกิดฟันผุ

เพราะฟันคุดเป็นแหล่งกักเก็บ สะสมเชื้อโรคชั้นดีเลยล่ะค่ะ ทำความสะอาดได้ยากเพราะอยู่ลึก นอกจากฟันคุดผุแล้ว มักจะส่งผลกระทบให้ฟันข้างเคียงผุตามไปด้วย และหากรักษาไม่ได้ ท้ายที่สุดก็ต้องถอนออก ทำให้เราเสียฟันดี ๆ ไปโดยปริยาย

3. ฟันคุด ทำให้เกิดฟันซ้อนเก

เจ้าฟันคุดที่ขึ้นมาแบบครึ่ง ๆ กลาง ๆ หรือขึ้นมาแบบบางส่วนและพยายามดันตัวเอง ก็ไปดันฟันที่รอบ ๆ ข้าง ทำให้ฟันถูกเบียด ไม่สามารถขึ้นเป็นแนวตามธรรมชาติได้ ผลที่ตามมาก็ทำความสะอาดยาก ฟันขึ้นมาซ้อนกันก็ไม่สวย ไม่มั่นใจ

4. ฟันคุด ทำให้เกิดการติดเชื้อ

อย่างที่บอกไปว่า ฟันคุดเป็นจุดที่สะสมเชื้อโรค ดังนั้นการติดเชื้อจึงเป็นของที่มาคู่กันกับฟันคุดเลยค่ะ โดยการติดเชื้อจากฟันคุดทำให้ขากรรไกรบวม ถ้าเป็นรุนแรง อ้าปากไม่ขึ้น กลืนไม่ได้ ลุกลามลงคอ อาจทำให้หายใจไม่ได้ ถึงขนาดต้องนอนโรงพยาบาลรักษาอย่างเร่งด่วนกันเลย

5. ฟันคุด ทำให้เหงือกอักเสบ

ทั้งฟันที่พยายามดันเหงือกขึ้นมาจนเหงือกเจ็บ รวมถึงเศษอาหารที่ค้างอยู่ใต้เหงือกที่คลุมฟันอยู่นั้น เป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรียที่ยากจะทำความสะอาดได้หมด ซึ่งง่ายต่อการเกิดเหงือกอักเสบและบวม ยิ่งหากใครที่ทำความสะอาดได้ไม่ดี ยิ่งมีโอกาสสูงที่จะเกิดอาการเหงือกอักเสบไปพร้อมกับอาการปวดฟันคุด

6. ฟันคุด ทำให้เกิดถุงน้ำ

การที่มีถุงน้ำอยู่ในขากรรไกรก็เหมือนกับลูกโป่งที่จะค่อย ๆ พองใหญ่ขึ้น เบียดกินกระดูกขากรรไกรไปเรื่อย ๆ ถ้าพบและรีบผ่าตัดออกได้เร็ว โอกาสในการสูญเสียอวัยวะขากรรไกรก็น้อย ยังสามารถรักษารูปหน้าให้เหมือนเดิมได้ แต่หากถุงน้ำใหญ่มาก ๆ อาจถึงขนาดต้องตัดขากรรไกรบางส่วนออก การรักษารูปหน้าให้เหมือนเดิมก็ทำได้ยากขึ้น

เห็นไหมล่ะคะว่าฟันคุดไม่ได้มีประโยชน์อะไรเลยที่จะเก็บไว้ ดังนั้นหากใครที่กำลังโอดโอย ปวดฟันคุดอยู่ แนะนำเลยว่ารีบไปพบทันตแพทย์และรับการรักษาต่อไป

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมาย
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ฟันคุด #ผ่าฟันคุด

ข้อควรรู้ ก่อน หลัง ผ่าตัด ถอนฟันคุด

ข้อควรรู้! ก่อน-หลัง ผ่าตัด/ถอนฟันคุด

ฟันคุด’ คือ ฟันแท้ที่ไม่สามารถขึ้นมาได้ตามปกติ
เป็นฟันที่ฝังตัวอยู่ใต้เนื้อเยื่อของเหงือก และบริเวณกระดูกขากรรไกร
ฟันคุดจะไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าหากตัวฟันไม่ได้โผล่พ้นขึ้นมาเหนือเหงือก
จะต้องใช้การเอกซเรย์จึงจะสามารถเห็นได้ โดยการผ่าตัดจะเกิดขึ้น
เมื่อฟันที่ฝังตัวอยู่ส่งผลกระทบกับฟันซี่อื่น ทำให้เกิดอาการปวด หรือเกิดอาการอักเสบติดเชื้อ

ทำอย่างไรดีเมื่อมี ‘ฟันคุด’

บางครั้งฟันคุดหรือฟันกรามซี่สุดท้าย จำเป็นต้องมีการถอนออก เพราะว่าอยู่ในลักษณะที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ตามปกติ หรือไม่ได้อยู่ในแนวที่เดียวกับฟัน ส่วนมากฟันคุดจะเกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่นตอนปลาย หรือช่วงอายุยี่สิบต้นๆ หากปล่อยฟันคุดไว้จะมีความเสี่ยงต่อภาวะต่างๆ

• เหงือกในบริเวณที่ปกคลุมฟันคุดอักเสบหรือมีการติดเชื้อ
• เกิดฟันผุที่ฟันกรามซี่ข้างเคียง
• โรคปริทันต์ (โรคเหงือก)
• พยาธิวิทยา- ซีสต์เนื้องอก
• อาจเกิดความเสียหายต่อฟันซี่ที่ติดกัน หรือมีการละลายตัวของกระดูกที่รองรับฟันซี่ที่ติดกัน เป็นผลจากแรงดันของฟันคุด
• อาการปวดเรื้อรังหรือรู้สึกไม่สบาย
• ปัญหาเกี่ยวกับการจัดฟันได้ในตำแหน่งที่ไม่ดี หรือมีฟันหน้าซ้อนเก

ประเภทของฟันคุด แบ่งออกได้เป็น ฟันคุดที่โผล่ขึ้นเต็มซี่ ฟันคุดที่โผล่ขึ้นบางซี่ และฟันคุดที่ยังฝังจมทั้งซี่
ฟันคุดแต่ละประเภทต้องใช้ระยะเวลาและค่ารักษาที่แตกต่างกัน ระดับความเจ็บปวดและอาการบวมจะแตกต่างกันไปสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย ขึ้นอยู่กับประเภทของฟันคุดและความยากลำบากในการรักษาและการตอบสนองแบบส่วนตัวของคนไข้

ผ่าตัดฟันคุด #ควรเตรียมตัวอย่างไรดี ?

คำแนะนำก่อนผ่าตัด/ถอนฟันคุด

• ผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์ก่อน
• ควรวัดความดันก่อนการผ่าฟันคุด
• ทานอาหารให้เรียบร้อยก่อนการผ่าฟันคุด
• งดการสูบบุหรี่
• งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ (เพราะมีผลต่อการหยุดไหลของเลือด, แผลผ่าฟันคุดอายหายช้าได้)

คำแนะนำหลังผ่าตัด/ถอนฟันคุด

• ประคบด้วยถุงเย็นทันทีหลังผ่าตัด เพื่อลดอาการบวม
• ควรกัดผ้าก๊อซแน่นๆ เพื่อห้ามเลือด
• ห้ามบ้วนน้ำลาย เลือด หรือน้ำ เพื่อให้เลือดหยุดเร็วขึ้น
• ควรรับประทานอาหารอ่อนๆ
• ไปรับการตัดไหมหลังจากครบกำหนดผ่าตัดแล้ว 7 วัน

บริการสอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายถอนฟันคุด

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)
www.bpdcdental.com

ฟันคุดควรผ่าออกหรือไม่

ฟันคุดควรผ่าออกหรือไม่

หลายๆคนอาจจะเคยพบปัญหาของฟันคุดกันเป็นจำนวนมากซึ่งไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี ควรปล่อยไว้ไหม หรือว่า ควรไปผ่าเอาออก วันนี้ผมจะมาสรุปว่า ฟันคุดควรผ่าออกหรือควรทำยังไงกับมันดี

ฟันคุดคืออะไร

ฟันคุดคือฟันที่อยู่ด้านใน ด้านริม มีฟันอยู่ใต้เหงือก ฟันโผล่มาครึ่งซีก ฟันคุดเป็นฟันแท้ แต่งอกมาได้ไม่เต็มที่ หรือบางครั้งจะติดกับโครงกระดูกกรามของเรา ฟันคุดจะเกิดขึ้นประมาณช่วง 15 ปี ที่เริ่มเป็นฟันแท้ขึ้นมา เริ่มมีการใช้ฟันเยอะ

ปัญหาฟันคุด

– ส่งผลต่อการจัดฟัน จะทำให้จัดฟันไม่ได้
– เกิดอาการปวดบวมของฟันและเหงือก หรือเหงือกอักเสบได้
– ปล่อยไว้นานจะทำให้ฟันซี่อื่นๆ เกิดปัญหา เช่นฟันล้ม ฟันเก ฯลฯ
– เศษอาหารอาจจะเข้าไปติดในร่องได้ง่าย ทำให้เกิดฟันผุ

วิธีแก้ปัญหาฟันคุด

– ทำการผ่าเอาฟันคุดออก โดยการผ่าเหงือก

อาการหลังผ่าฟันคุด

– อาจมีไข้ขึ้นสูง
– มีการบวมอักเสบของเหงือก
– ทานอาหารไม่ได้
– มีเลือดออกเรื่อย ๆ ไม่หยุด

การผ่าเอาฟันคุดออกต้องได้รับการยืนยันและวิเคราะห์จากแพทย์ก่อน ว่าสามารถผ่าได้หรือไม่ ไม่ใช่ว่าจะผ่าก็ผ่าได้เลย เพราะมีผู้ป่วยบางโรคที่ทำการผ่าเอาฟันคุดออกไม่ได้ โรคเบาหวานระยะสุดท้าย โรคตับ โรงมะเร็งต่างๆ จะไม่สามารถทำการผ่าฟันคุดได้

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมาย
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental

home


ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)