ทำฟันในช่วง Covid-19 ทำได้หรือไม่

ทำฟันในช่วง Covid-19 ทำได้หรือไม่?

ในช่วงที่มีไวรัส Covid-19 ระบาดนั้น การให้การรักษาทางทันตกรรมรวมไปถึงการจัดฟันนั้นเป็นไปอย่างจำกัด หลาย ๆ โรงพยาบาล หรือคลินิกทันตกรรมให้การรักษาเฉพาะเคสที่ฉุกเฉินเท่านั้น แต่ที่ BPDC ท่านสามารถสอบถามวันเวลาที่จะเข้ารับบริการโดยติดต่อสอบถามได้ก่อนเข้าใช้บริการ

ซึ่งสิ่งสำคัญที่ต้องเตรียมตัวก่อนใช้บริการทำฟันคือ

คัดกรองความเสี่ยง…ตรวจเช็กก่อนทำฟัน
การคัดกรองความเสี่ยงในการติดเชื้อของลูกค้าก่อนเข้ามารับการจัดฟัน จัดเป็นหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญก่อนการทำทันตกรรม โดยการคัดกรองสามารถทำได้โดยการสอบถามก่อนที่จะถึงวันนัดอย่างน้อย 1 วัน เพื่อลดความเสี่ยงจากการเดินทางของผู้ป่วยมายังสถานพยาบาล โดยดูจากทั้งประวัติ และอาการแสดงของผู้ป่วย

ประวัติ

มีประวัติเดินทางไปยัง หรือมาจากพื้นที่ที่เกิดโรคระบาดหรือไม่
มีประวัติของคนในครอบครัวป่วยเป็น COVID-19 สัมผัสกับผู้ป่วย COVID-19 หรือสารคัดหลั่งจากระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วยโดยไม่ได้ป้องกันอย่างเหมาะสมหรือไม่ ประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว สถานที่แออัด หรือติดต่อกับคนจำนวนมากหรือไม่ มีประวัติไปในสถานที่ชุมชน หรือสถานที่ที่มีการรวมกลุ่มคน เช่น ตลาดนัด ห้างสรรพสินค้า สถานพยาบาล ขนส่งสาธารณะ เป็นบุคคลากรทางการแพทย์ที่ใกล้ชิด/สัมผัสผู้ป่วย COVID-19 หรือไม่ อาการแสดง

อาการ

ไอเจ็บคอน้ำมูกไหล
มีไข้ อุณหภูมิสูงตั้งแต่ 37.5 C
การสูญเสียการได้กลิ่น และการรับรส
ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ
หายใจเหนื่อย/หายใจเร็ว


ในกรณีที่สอบถามประวัติและอาการผู้ป่วย แล้วพบว่ามีความเสี่ยง สามารถเลื่อนนัดทำฟันและดูอาการประมาณ 1 เดือนก่อนได้ ผู้ป่วยสามารถชะลอการรักษา 1-2 เดือนได้โดยไม่กระทบการรักษา

หากลูกค้าท่านใดต้องการนัดทำฟันสามารถติดต่อสอบถามได้ที่

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#คลินิกทันตกรรม #BPDC #ทำฟัน #ทำฟันช่วงโควิด

โรคเหงือกอักเสบหรือโรคปริทันต์

โรคเหงือกอักเสบหรือโรคปริทันต์

เหงือกอักเสบ เป็นอาการที่พบได้บ่อยและไม่รุนแรง โดยสาเหตุทั่วไปที่พบมากที่สุด คือ การดูแลช่องปากที่ไม่ดีพอ โดยหากพบว่าตนเองมีอาการเหงือกอักเสบ ควรปรึกษาทันตแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาทันที ไม่เช่นนั้นอาจนำไปสู่โรคปริทันต์ หรืออาการอื่นๆ ที่รุนแรง จนต้องสูญเสียฟัน

สัญญาณเตือนโรคเหงือกอักเสบ

1) มีเลือดออกขณะแปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟัน
2) เหงือกบวม เหงือกร่น
3) ฟันเริ่มโยก หรือหลุดจากกระดูกเบ้าฟัน
4) มีหนอง
5) มีกลิ่นปาก

*หากมีอาการดังกล่าว นานเกิน 1 สัปดาห์ ควรปรึกษาทันตแพทย์ทันที!

ทันตกรรมปริทันต์ – การรักษาโรคเหงือกอักเสบ และ โรคปริทันต์อักเสบ

ตรวจรักษาเหงือกอักเสบที่อักเสบ ปริทนต์อักเสบ การรักษาโรคเหงือก เลือดออกตามไรฟัน การศัลยกรรมปลูกเหงือกให้สวยงาม และปลูกกระดูกเบ้าฟันให้กระดูกแข็งแรง

นอกจากนี้ ยังรวมถึงการให้การรักษาตกแต่งเหงือกให้เกิดความสวยงาม หรือ เตรียมพร้อมสำหรับครอบฟันให้มีความสวยงามตามธรรมชาติ

โรคเหงือกอักเสบ – โรคปริทันต์อักเสบ ป้องกันได้!

เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคปริทันต์อักเสบ โดยทั่วไปควรเข้ารับขูดหินปูนอย่างน้อย ปีละ 1-2 ครั้ง เพราะโรคปริทันต์อักเสบจะทำให้เกิดฟันโยก, เสียวฟัน, เคี้ยวอาหารไม่มีแรง หรือ เหงือกบวมจากการติดเชื้อได้

โดนทันตแพทย์จะเริ่มทำการขูดหินปูนจะโดยการใช้เครื่องขูดหินปูนขูดตามซอกฟัน ใต้เหงือกบางตำแหน่ง และขัดฟันด้วยผงขัดผสมฟลูออไรด์

เมื่อทำความสะอาดฟันแล้ว ทันตแพทย์จะสามารถประเมินและเช็คปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น ฟันผุ, โรคเหงือก, การติดเชื้อ และอื่นๆ ปัญหาดังกล่าวสามารถตรวจได้โดยการมองเห็นหลังจากที่ได้ทำการขจัดคราบสะสมบนตัวฟันแล้ว หากจำเป็นที่ต้องตรวจตำแหน่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ทันตแพทย์จะแนะนำการถ่ายเอกซ์เรย์ในช่องปากเพิ่มเติม

*ผู้ป่วยโรคเหงือกควรพบทันตแพทย์เพื่อทำความสะอาดฟันหรือขูดหินปูนทุกๆ 6 เดือน หรือ 1 ปี ขึ้นอยู่กับแต่ละกรณี

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายทันตกรรมปริทันต์

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#คลินิกทันตกรรม #BPDC #โรคเหงือกอักเสบ #โรคปริทันต์

ฟันสบลึก Deep Bite

ฟันสบลึก Deep Bite

ถ้าพูดถึงฟันสบลึกหลายๆ คนอาจจะงงๆ ว่าคืออะไร แต่ถ้าได้เห็นภาพหรือได้อ่านบทความก็จะสามารถเข้าใจได้ว่า ฟันสบลึก หรือ Deep Bite คืออะไรค่ะ

ฟันสบลึก คือ

ฟันสบลึก หรือจะเรียกว่า ฟันงุ้ม จะเป็นฟันที่มีลักษณะที่เวลายิ้ม ฟันบนหน้า จะปิดฟันล่างทำให้เวลายิ้มแล้วไม่เห็นฟันล่างเลย ซึ่งเป็นความผิดปกติในการจัดเรียงของฟันด้านบนและฟันด้านล่าง หน้าดูมีอายุ ฟันจะสึกกร่อนได้ง่ายเพราะมีการกระทบกันตลอดเวลา ฟันสบลึกไม่ใช่อาการฟันเหยินนะคะ เพราะถ้าฟันเหยิน ฟันหน้าด้านบนของเราจะยื่นออกไปมากเกินจนผิดปกติค่ะ หรือบางกรณีของฟันเหยินจะไม่สามารถหุบริมฝีปากได้เลยเพราะมีฟันยื่นออกมาแทนค่ะ

การสังเกตุอาการของฟันสบลึก

หากสังเกตุดีๆ ถ้าปลายฟันหน้าบน คร่อมปิดปลายฟันหน้าล่างลึกประมาณ 2 ใน 3 ส่วนของฟันหน้าล่าง ก็ถือว่าเป็นอากการของฟันสบลึกแล้วค่ะ ซึ่งความรุนแรงแต่ละคนจะไม่เท่ากัน หรือเวลาเคี้ยวอาหารหรือกัดฟัน ฟันล่างจะไปกระแทกคอฟันด้านบน ด้านใน ปวดเพดานเหงือกบ่อยๆ

จะแก้ฟันสบลึก ต้องทำอย่างไร

การที่มีอาการแบบนี้ควรไปจัดฟัน ปรับโครงสร้าง รูปหน้า และการจัดเรียงของฟันให้สวยงาม เพราะหากเราปล่อยให้เกิดฟันสบลึกไปตลอดไม่แก้ไข จะทำให้ฟันสึก ปวดฟัน และรูปหน้าผิดปกติ หน้าสั้น เวลายิ้ม ขาดความมั่นใจในการยิ้ม

ซึ่งการจัดฟันที่ไม่ดี ไม่ได้มาตรฐานก็อาจจะทำให้ฟันของเรา อยู่ดีๆ ก็กลายเป็นฟันสบลึกได้

หากต้องการคำปรึกษาสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายจัดฟันได้ที่

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

คลินิกทันตกรรม #BPDC #จัดฟัน #ฟันสบลึก #ฟันงุ้ม #DeepBite

ถอนฟันน้ำนม

ถอนฟันน้ำนม

ฟันน้ำนมเปรียบเป็นฟันเริ่มต้นสำหรับเด็กๆ ที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ ซึ่งเด็กๆ แต่ละคนจะมีอายุของฟันน้ำนมไม่เท่ากัน อยู่ที่สุขภาพฟันของเด็กๆ เองและการดูแลของผู้ปกครอง ซึ่งฟันน้ำนมนั้น หากดูแลดีมากเกินไปก็อาจจะทำให้เกิดฟันแท้ที่เมื่อถึงเวลาแล้วจะขึ้นมาแทนฟันน้ำนม ซึ่งจะทำให้เกิดฟันซ้อนได้ แต่หากว่าเด็กที่ฟันผุเยอะ ฟันผุบ่อย ฟันน้ำนมก็จะอยู่ไม่ถึงฟันแท้ขึ้น วันนี้เราจะมาดูวิธีถอนฟันน้ำนมกันค่ะ

การถอนฟันน้ำนมทำได้หลายแบบ

  1. การถอนฟันน้ำนมด้วยตนเอง

ด้วยการถอนด้วยตนเองหรือให้ผู้ปกครองถอนให้ เช่น การใช้เชือกดึงฟันออก หรือใช้อุปกรณ์ดึง ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่ไม่ควรหรือไม่แนะนำเป็นอย่างยิ่งค่ะ เพราะอาจะเกิดอันตรายและการติดเชื้อได้ แต่หากว่าฟันน้ำนมเริ่มโยกแล้ว จะสามารถหลุดออกมาได้ง่ายมากๆ ค่ะ โดยใช้ลิ้นดันไปเรื่อยๆ หรือ ใช้นิ้วโยกได้

  1. พบทันตแพทย์

การพบทันตแพทย์เป็นวิธีที่ดีที่สุด ปลอดภัยที่สุด เพราะเมื่ออยู่ในมือหมอความเสี่ยงน้อยและทันตแพทย์ก็มีความรู้และประสบการณ์อย่างมากมาย (ที่ BPDC เรามีทันตแพทย์สำหรับเด็กและห้องตรวจที่พร้อมและรองรับการรักษาของเด็ก

อายุของฟันน้ำนม

ฟันน้ำนมในแต่ละซี่มีอายุไม่เท่ากัน โดยเฉลี่ยตามธรรมชาติ ฟันน้ำนมจะทยอยหลุดหรือมีฟันแท้ขึ้นแทน จะมีระยะเวลาประมาณ 6-12 ปี ซึ่งโดยส่วนใหญ่ฟันหน้าคู่กลางจะหลุดก่อน

ราคาในการถอนฟันน้ำนม

การถอนฟันน้ำนมก็จะคล้ายๆ กับการถอนฟันของผู้ใหญ่ แต่ว่าการถอนฟันเด็กนั้นต้องมีความพิถีพิถันกว่าปกติ ทั้งเรื่องสภาพจิตใจของเด็กและการหลอกล่อในการถอนฟัน ซึ่งราคาอาจจะแพงกว่าการถอนฟันของผู้ใหญ่เล็กน้อย

หากฟันน้ำนมไม่ยอมหลุด

สำหรับเด็กบางคนจะมีสุขภาพฟันที่ดี และฟันน้ำนมไม่ยอมหลุด และมีฟันขึ้นซ้อนขึ้นมา ให้รีบพาเด็กๆ ไปพบทันตแพทย์เพื่อทำการตรวจสอบและทำการถอนฟันน้ำนมออกเพื่อป้องกันฟันซ้อน ทำให้เกิดการเรียงของฟันที่ไม่ดีและฟันจะไม่สวย

—————————————————————————————————————-

เพราะเด็กๆ ก็มีหัวใจ อยากยิ้มสวยไร้ฟันผุ ฟันผุป้องกันได้

“เพียงพบทันตแพทย์ ทุกๆ 6 เดือน”

ติดต่อคลินิกทันตกรรม BPDC

หากต้องการนัดหมายเพื่อปรึกษากับทันตแพทย์สำหรับเด็ก

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829

Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental

ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

www.bpdcdental.com

BPDC #คลินิกทันตกรรม #ทันตกรรมเด็ก #ฟันน้ำนม #ถอนฟันน้ำนม #ถอนฟันเด็ก

ส่วนลดทำฟัน

คูปองส่วนลดทำฟัน 500 บาท

ส่วนลดพิเศษสำหรับลูกค้า BPDC ซื้อคูปองส่วนลดเงินสด 500 บาท ในราคาเพียง 400 บาทเท่านั้น [ E-Voucher ] BPDC Dental Clinic.

เงื่อนไขการใช้คูปอง*

1. คูปองส่วนลดใช้ได้ต่อ 1 ใบ / บิล เท่านั้น ไม่จำกัดยอดขั้นต่ำ

2. ลูกค้าต้องแจ้งสิทธิ์การใช้งานคูปองต่อเจ้าหน้าที่ก่อนเข้ารับการรักษา

3. คูปองนี้ไม่สามารถใช้ร่วมกับรายการส่งเสริมการขายอื่นๆได้

4. คูปองสามารถใช้ได้ทันทีหลังซื้อสินค้า

5. คูปองสามารถใช้ได้กับทุกทันตกรรม ยกเว้น ทันตกรรมจัดฟันทุกชนิด

6. คูปองไม่สามารถทำการแลกเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ทุกกรณี

7. ในกรณีใช้บริการไม่ถึงมูลค่าคูปอง ไม่สามารถยกยอดคงเหลือไว้ใช้ในบริการครั้งถัดไปได้

8. ทางบริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเงื่อนไขโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

9. คูปองมีอายุการใช้งาน 90 วันหลังจากสั่งซื้อคูปอง

10. คูปองสามารถใช้ได้ที่ คลินิกทันตกรรมบางพลี BPDC Dental Clinic.

ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก).

www.bpdcdental.com

ซื้อคูปองผ่าน Line Shop : https://shop.line.me/@bpdc

#BPDC #คลินิกทันตกรรม #ทันตกรรม #คูปองส่วนลดทำฟัน #คูปองส่วนลด #ส่วนลดทำฟัน

4 วิธีที่จะช่วยให้ฟันที่เสียหายไป สามารถใช้งานได้อีกครั้ง

4 วิธีที่จะช่วยให้ฟันที่เสียหายไป สามารถใช้งานได้อีกครั้ง

ถ้าจะพูดถึงการดูแลรักษาฟัน สำหรับผู้ที่สูญเสียฟันไปนั้น มักจะมี 4 วิธี ที่จะทำให้ฟันของคุณกลับมาสวยงามอีกครั้ง และสามารถใช้งานได้ดีเหมือนได้ฟันงอกมาใหม่ได้ด้วย 4 วิธีดังนี้

  1. ฟันปลอม
    ฟันปลอม มีส่วนสำคัญที่เข้าไปช่วยทดแทนฟันที่หายไปเพื่อป้องกันไม่ให้การเคลื่อนที่ของฟันติดกันหรือฟันตรงข้ามกับพื้นที่ฟันที่หายไปผู้ที่ใส่ฟันปลอมส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีสุขภาพฟันที่ไม่ดี ฟันเสื่อมสภาพเร็ว

ซึ่งการใส่ฟันปลอมจะช่วยในการบดเคี้ยวอาหารที่มีความเหนียวไม่ได้ เพราะฟันปลอมไม่ได้ออกแบบมาเพื่อบดเคี้ยวอาหารได้

  1. ครอบฟัน
    การครอบฟัน เป็นการบูรณะฟัน กรณีฟันแตก ฟันหัก หรือฟันที่รักษาคลองรากฟันแล้ว ปัจจุบันใช้การครอบฟันแบบเซรามิค ล้วน ในการทดแทนฟันด้านหน้า เพราะจะมีสีฟันเสมือนจริง และจะใช้การครอบฟัน แบบพอร์ซเลนผสมโลหะ ในการทดแทนฟันกราม เพื่อใช้บดเคี้ยว หรือหากเป็นแนวนักร้องแรปเปอร์ ก็จะทำการครอบฟันด้วยทองคำ หรือ ทองคำขาวเพื่อความนำสมัย
  2. ทำสะพานฟัน
    เป็นโครงสร้างที่ประกอบไปด้วยการครอบฟัน 2 จุด โดยใช้ฟันปลอม เป็นการเชื่อมระหว่างช่องว่างของฟันที่หายไป จึงเรียกว่า สะพานฟัน (Bridge) เมื่อเรามีฟันที่หายไป จะส่งผลถึงการสื่อสาร การพูด การเคี้ยวอาหารที่เปลี่ยนแปลงไปได้ สะพานฟันถือเป็นหนึ่งในทางเลือกในการรักษาเพื่อทดแทนฟันที่หายไป โดยสะพานฟันจะเป็นเสมือนสะพานที่เชื่อมต่อระหว่างฟันซี่ข้างเคียงที่อยู่ข้างๆช่องว่างที่ฟันหายไป ช่วยเติมเต็มและทดแทนฟันที่หายไป
  3. รากฟันเทียม
    การฝังรากเทียมเป็นการทำฟันปลอมชนิดหนึ่งเพื่อทดแทนฟันที่หายไปด้วยการทำรากฟันเทียม (Implant) แต่ว่าการทำรากฟันเทียมนั้นมีความสามารถในการบดเคี้ยวอาหารได้ดีมากๆ เพราะสร้างฟันที่เหมือนจริงและแข็งแรงทนทานมากๆ

รากฟันเทียมเป็นที่ยอมรับมากที่สุดในการทำฟันปลอมหรือทำสิ่งที่ทดแทนฟันได้ดีที่สุด

สำหรับการรักษารากฟันเทียมนั้น ควรเลือกรักษากับทันตแพทย์ที่มีความน่าเชื่อถือและความชำนาญเพื่อให้การทำรากฟันเทียมประสบผลสำเร็จและสามารถใช้งานได้ดี ซึ่งสิ่งที่ต้องทำควบคู่กันไปคือการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากอย่างสม่ำเสมอ และควรเข้ารับการตรวจติดตามผลทุกๆ 6 เดือน เพื่อให้มั่นใจว่าสุขภาพช่องปากที่แข็งแรงจะอยู่กับเราไปอีกนาน

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายเพื่อทำรากฟันเทียม

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

www.bpdcdental.com

BPDC #คลินิกทันตกรรม #รากฟันเทียม #รักษารากฟันเทียม #Implant

ทันตกรรมสำหรับเด็ก

ทันตกรรมสำหรับเด็ก

บริการให้คำปรึกษา ดูแลรักษาฟันน้ำนม ตรวจสุขภาพฟัน โดยทันตแพทย์เฉพาะทางด้านเด็กซึ่งถูกอบรมมาโดยเฉพาะในการรักษาเด็กเล็ก ถ้าลูกของคุณกลัวการทำฟัน จะเป็นการดีอย่างมากที่จะพามาพบทันตแพทย์เฉพาะทางด้านเด็ก

ในการพาเด็กๆ ไปพบหมอฟัน ทันตแพทย์จะตรวจประเมินสุขภาพช่องปากและความเสี่ยงของการเกิดฟันผุตามระยะเวลาต่างๆ

ตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน
การดูดนิ้ว
การสบฟันที่ผิดปกติ

ในการตรวจสุขภาพฟันประจำปี ทันตแพทย์จะช่วยตรวจจุดที่อาจจะมีฟันผุ และขัดฟันทำความสะอาดให้ เมื่อปัญหาของฟันถูกพบในระยะเริ่มต้น การรักษาจะง่ายและไม่เจ็บปวด

การใส่เครื่องมือกันฟันล้มเพื่อคงช่องว่างไว้ให้ฟันแท้ขึ้นลดปัญหาฟันซ้อนเก
ทันตแพทย์เฉพาะทางด้านเด็กจะแนะนำให้ทำเครื่องมือกันฟันล้ม ในกรณีที่ลูกของคุณสูยเสียฟันน้ำนมไปก่อนเวลาที่เหมาะสม เครื่องมือนี้จะคงช่องว่างไว้เพื่อให้ฟันแท้ขึ้นมาในตำแหน่งดังกล่าว

การเคลือบหลุมร่องฟัน
คือ การเคลือบฟัน (Sealant) บริเวณด้านบดเคี้ยวของฟันกราม ช่วยปิดบริเวณหลุมและร่องฟันที่ลึกไม่ให้สิ่งสกปรกลงไปสะสมและสามารถแปรงฟันทาความสะอาดได้ง่ายขึ้นเป็นการป้องกันฟันผุ

ในการถอนฟัน ทันตแพทย์จะทำให้ฟันหลวมออกจากกระดูกขาขากรรไกรและเส้นเอ็น จากนั้นใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่าคีมหรือปากคีบจับฟันแล้วค่อย ๆ ดึงออกมา ทั้งนี้ฟันที่ถอนยาก ไม่สามารถเอาออกมาได้ในคราวเดียว อาจต้องถอนโดยแยกเป็นชิ้นส่วนหลายครั้ง

การอุดฟัน เป็นวิธีการเปลี่ยนฟันที่เสียหาย เช่น ฟันผุ หรือฟันแตก นอกจากนี้เรายังสามารถใช้การอุดฟันในกรณีของความสวยงามได้ด้วย เช่น การปิดช่องว่างระหว่างฟัน

เพื่อป้องกันฟันผุ ทันตแพทย์จะแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ดูแลสุขภาพฟันของลูก ดูแลฟัน ทำความสะอาดช่องปาก และแปรงฟันอย่างถูกวิธี และแนะนำให้ลูกเคลือบฟลูออไรด์ที่อย่างน้อยปีละ 2 ครั้งเพื่อสุขภาพฟันที่แข็งแรง และดำเนินการรักษาอย่างทันท่วงทีหากตรวจพบว่าลูกมีฟันผุ

เพราะเด็กๆ ก็มีหัวใจ อยากยิ้มสวยไร้ฟันผุ ฟันผุป้องกันได้ “เพียงพบทันตแพทย์ ทุกๆ 6 เดือน”.ติดต่อนัดเคลือบฟลูออไรด์ นัดหมายเพื่อปรึกษากับทันตแพทย์เฉพาะทางสำหรับเด็ก.โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental

ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก).www.bpdcdental.com.ซื้อคูปองผ่าน Line Shop : https://shop.line.me/@bpdc.

#BPDC#คลินิกทันตกรรม #ทันตกรรมเด็ก #เคลือบฟลูออไรด์

รากเทียมเจ็บหรือไม่

รากเทียมเจ็บหรือไม่

การทำรากเทียม ไม่เจ็บมากอย่างที่คิด เนื่องจากแพทย์จะมีการให้ยาชาเฉพาะที่หรือยาระงับความรู้สึกเจ็บปวดในระหว่างการทำ โดยแพทย์จะมีการฉีดยาชาเฉพาะที่อย่างน้อยสองตำแหน่ง ดังนั้นคนไข้จึงไม่รู้สึกเจ็บแต่ภายหลังการทำอาจมีอาการปวดบวมได้บ้าง ซึ่งสามารถบรรเทาได้ด้วยการรับประทานยาแก้ปวดตามที่แพทย์สั่ง

หลังการทำทันตกรรมรากเทียมแพทย์จะมีการนัดมาตัดไหมและติดตามผลการรักษาภายใน 1 สัปดาห์ ซึ่งแพทย์จะประเมินลักษณะของแผล,ความเจ็บปวดและปัญหาต่างๆที่อาจเกิดขึ้น โดยคนไข้ต้องดูแลตนเองตามที่แพทย์สั่งหลังการทำทันตกรรมรากเทียมอย่างเคร่งครัด

ส่วนใหญ่จะเข้าใจกันว่าการทำรากฟันเทียมหรือการฝังรากเทียมนั้น คือการผ่าตัดโดยทำการเปิดเหงือก ซึ่งมันฟังดูน่ากลัวใช่ไหมล่ะ? แต่ด้วยกระบวนการรักษารากเทียมนั้น กระบวนการที่ทำให้คนไข้รู้สึกเจ็บที่สุดคือการถอนฟัน มากกว่าการใส่รากเทียม เนื่องจากมีอาการเจ็บปวดจากกระดูกรากฟันที่ถูกถอนออกไป แต่การใส่รากเทียมคือการนำวัสดุที่ใช้ทดแทนรากจริงเพื่อแทนที่เท่านั้น เพราะฉะนั้นอาการเจ็บปวดจากการทำรากเทียมและบาดแผลนั้นแทบจะไม่เกิดขึ้นเลย และด้วยเทคโนโลยีด้านทันตกรรมมีความก้าวหน้าขึ้นก็มีส่วนช่วยในกระบวนการรักษาที่จะไม่ทำให้คนไข้รู้สึกเจ็บและน่ากลัว และในปัจจุบันการทำรากเทียมก็มีตัวเลือกมากมายเพื่อให้เหมาะสมกับคนไข้อีกด้วยนะ

เพราะที่จริงแล้วการทำรากเทียมนั้นไม่ได้เป็นเรื่องน่ากลัวอย่างที่คิดเลย พิจารณาว่าควรทำรากเทียมดีหรือไม่นั้น วันนี้ BPDC Dental มาช่วยหาคำตอบเพื่อต้องการให้ทุกคนมีสุขภาพเหงือกและฟันที่ดีพร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา หรือหากใครที่มีข้อสงสัยหรือต้องการได้รับคำปรึกษาและคำแนะนำเพิ่มเติม สามารถเข้ารับบริการได้ที่ BPDC Dental

การกลับมามีชีวิตที่ดี โดยที่ไม่ยาก ไม่เจ็บเหมือนเมื่อก่อน สบายใจได้มากกว่าที่คุณคิด เปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นด้วยฟันชุดใหม่ กลับมาบดเคี้ยวอาหารได้อย่างดี ช่วยระบบย่อยจากภายใจ กินอาหารได้อย่างมีความสุขเหมือนเมื่อก่อน ทวงคืนรอยยิ้มที่มั่นใจของคุณกลับมา

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายเพื่อทำรากฟันเทียม

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

www.bpdcdental.com

BPDC #คลินิกทันตกรรม #รากฟันเทียม #รักษารากฟันเทียม #CadCam

รากฟันเทียมดีกว่าฟันปลอมอย่างไร

รากฟันเทียมดีกว่าฟันปลอมอย่างไร

เมื่อฟันถูกถอนไป กระดูกรองรับรากฟันในบริเวณนั้นจะเกิดการละลายมากกว่าในบริเวณที่ยังมีฟันธรรมชาติอยู่ การใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้เพื่อทดแทนช่องว่างนั้นสามารถทำได้ แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไปเราจะพบว่าเกิดการหลวมของฟันปลอมขึ้นโดยเหตุผลส่วนหนึ่งนั้นมาจากที่กระดูกรองรับรากฟันได้ละลายไป ทำให้เกิดการยุบตัวของสันเหงือก ฟันปลอมจึงไม่มีความพอดีเหมือนในช่วงแรก

เป็นที่ทราบดีว่า รากฟันเทียม นั้นทำมาจากวัสดุที่เข้ากับเนื้อเยื่อของร่างกายเราได้อย่างดี การมีอยู่ของรากฟันเทียมในกระดูรองรับรากฟันจะช่วยกระจายแรงบดคี้ยวจากตัวครอบฟันลงสู่กระดูกขากรรไกรของเราอย่างเหมาะสม ดังนั้นการใส่รากฟันเทียมจึงช่วยชะลอการเสื่อมของกระดูกรองรับรากฟันอีกในบริเวณที่มีการถอนฟันออกไปนั่นเอง

หลังจากใส่รากฟันเทียมแล้วจะสามารถต่อครอบฟันขึ้นมาจากรากฟันเทียมเพื่อทดแทนฟันที่หายไปโดยที่ไม่ต้องกรอแต่งฟันธรรมชาติเหมือนกับในการทำสะพานฟัน ในกรณีที่มีฟันถูกถอนไปติดกันหลายตำแหน่งรากฟันเทียมก็สามารถรองรับครอบฟันในรูปแบบสะพานฟันได้เช่นกัน หรือในกรณีที่ไม่มีฟันธรรมชาติเหลืออยู่เลยการ เราสามารถใส่รากฟันเทียมเพื่อเพิ่มการยึดเกาะให้กับฟันปลอมได้อีกด้วย โดยไม่ว่าจะเป็นการใส่รากฟันเทียมเพื่อต่อครอบฟัน/สะพานฟันแบบติดแน่น หรือ เพื่อเพิ่มการยึดติดให้กับฟันปลอมชนิดถอดได้ ล้วนช่วยให้สามารถบดเคี้ยวได้ดีขึ้น แก้ปัญหาฟันปลอมขยับขณะรับประทานอาหาร เพิ่มความรู้สึกสบายมั่นใจมากยิ่งขึ้นในขณะพูดคุยอีกด้วย

ระยะเวลาในการทำรากฟันเทียม

สำหรับระยะเวลาในการรักษารากฟันเทียม นั้นจะใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 3 – 6 เดือน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ของช่องปาก ไม่ว่าจะเป็นปริมาณและคุณภาพของกระดูกขากรรไกร ที่อาจจะต้องมีการเสริมกระดูกให้แข็งแรง จำนวนฟันที่ต้องการทำรากเทียม เป็นต้น

ในปัจจุบันนี้ มีเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยลดระยะเวลาในการทำครอบฟันให้เสร็จภายในวันเดียว นั่นก็คือเทคโนโลยี Dental Digital CAD/CAM ที่จะช่วยลดระยะเวลาในการทำรากฟันเทียมให้สั้นลง ด้วยวิธีการส่งแล็บ และสแกนช่องปากแทนการพิมพ์ปากแบบเดิม โดยจะเริ่มจากการเอกซเรย์ 3 มิติ ถ่ายรูปและสแกนซี่ฟัน หลังจากนั้นจะเป็นการออกแบบชิ้นงานด้วยโปรแกรม และผลิตชิ้นงาน ก่อนจะนำมาใส่ในช่องปากให้กับผู้รับการรักษา โดยจะใช้ระยะเวลาประมาณ 2 – 3 ชั่วโมงเท่านั้น

ใครที่เหมาะกับการทำรากฟันเทียม

สำหรับผู้ที่สูญเสียฟันแท้ไป การใส่รากฟันเทียมนั้น ควรทำในผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป เนื่องจากกระดูกขากรรไกรจะเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว และผู้ที่จะทำรากเทียมนั้น ควรที่จะต้องมีสุขภาพที่แข็งแรง สามารถทำการผ่าตัดโดยใช้ยาชาได้ สำหรับบุคคลที่ไม่ควรทำรากฟันเทียม ได้แก่ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี บุคคลที่ตั้งครรภ์ ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง

อาการที่อาจเกิดขึ้นหลังจากทำรากฟันเทียม

การผ่าตัดรากฟันเทียมอาจจะเกิดผลข้างเคียงได้เช่นเดียวกับการผ่าตัด ซึ่งอาการเหล่านั้นอาจเกิดจากการผ่าตัดหรือพฤติกรรมของผู้เข้ารับการรักษา ไม่ว่าจะเป็น

  • รากฟันเทียมอักเสบ เนื่องจากการดูแลตัวเองหลังผ่าตัดไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารที่มีรสจัด การเคี้ยวของแข็ง การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่จัด
  • มีอาการเจ็บหรือปวดหลังผ่าตัด หากอาการไม่ดีขึ้น ควรพบทันตแพทย์ทันที
  • มีอาการบวม สามารถประคบเย็นได้ หากอาการไม่ดีขึ้น ควรพบทันตแพทย์ทันที
  • เกิดการติดเชื้อบริเวณที่ผ่าตัด หากมีอาการอักเสบ เป็นหนอง หรือฟันเทียมโยก ควรแจ้งทันตแพทย์ทันที

หลังจาการใส่รากฟันเทียมไปแล้วจะเกิดอะไรได้บ้าง และควรปฏิบัติตัวอย่างไร

  • หลังใส่รากฟันเทียมอาจเกิดอาการ ปวด บวม อักเสบ ได้คล้ายกับเวลาที่เราได้รับการถอนฟันหรือผ่าฟันคุดนั่นเอง สิ่งที่สำคัญคือการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากของเราและปฏิบัติตามคำแนะนำของทันตแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • สัปดาห์แรกควรรับประทานยาฆ่าเชื้อตามที่ได้รับจากทันตแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • ควรทานอาหารอ่อนๆ หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด หรือร้อนจัด
  • งดสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ จนกว่าจะรักษาเสร็จ
  • แปรงฟันในบริเวณอื่นได้ปกติแต่หลีกเลี่ยงการแปรงฟันบริเวณแผลโดยตรง การบ้วนน้ำเกลือทุกครั้งหลังอาหารสามารถช่วยลดการติดของเศษอาหารบริเวณแผล ลดโอกาสการเกิดการอักเสบได้
  • หากมีอาการที่ทำให้เกิดความกังวลใดๆ สามารถมาติดต่อมาที่แผนก หรือมาพบทันตแพทย์ได้ทันที

สำหรับการทำรากฟันเทียมนั้น ควรเลือกรักษากับทันตแพทย์ที่มีความน่าเชื่อถือและความชำนาญเพื่อให้การทำรากฟันเทียมประสบผลสำเร็จและสามารถใช้งานได้ดี ซึ่งสิ่งที่ต้องทำควบคู่กันไปคือการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากอย่างสม่ำเสมอ และควรเข้ารับการตรวจติดตามผลทุกๆ 6 เดือน เพื่อให้มั่นใจว่าสุขภาพช่องปากที่แข็งแรงจะอยู่กับเราไปอีกนาน

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายเพื่อทำรากฟันเทียม

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

www.bpdcdental.com

BPDC #คลินิกทันตกรรม #รากฟันเทียม #รักษารากฟันเทียม #CadCam

ข้อควรรู้ ก่อน หลัง ผ่าตัด ถอนฟันคุด

ข้อควรรู้! ก่อน-หลัง ผ่าตัด/ถอนฟันคุด

ฟันคุด’ คือ ฟันแท้ที่ไม่สามารถขึ้นมาได้ตามปกติ
เป็นฟันที่ฝังตัวอยู่ใต้เนื้อเยื่อของเหงือก และบริเวณกระดูกขากรรไกร
ฟันคุดจะไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าหากตัวฟันไม่ได้โผล่พ้นขึ้นมาเหนือเหงือก
จะต้องใช้การเอกซเรย์จึงจะสามารถเห็นได้ โดยการผ่าตัดจะเกิดขึ้น
เมื่อฟันที่ฝังตัวอยู่ส่งผลกระทบกับฟันซี่อื่น ทำให้เกิดอาการปวด หรือเกิดอาการอักเสบติดเชื้อ

ทำอย่างไรดีเมื่อมี ‘ฟันคุด’

บางครั้งฟันคุดหรือฟันกรามซี่สุดท้าย จำเป็นต้องมีการถอนออก เพราะว่าอยู่ในลักษณะที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ตามปกติ หรือไม่ได้อยู่ในแนวที่เดียวกับฟัน ส่วนมากฟันคุดจะเกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่นตอนปลาย หรือช่วงอายุยี่สิบต้นๆ หากปล่อยฟันคุดไว้จะมีความเสี่ยงต่อภาวะต่างๆ

• เหงือกในบริเวณที่ปกคลุมฟันคุดอักเสบหรือมีการติดเชื้อ
• เกิดฟันผุที่ฟันกรามซี่ข้างเคียง
• โรคปริทันต์ (โรคเหงือก)
• พยาธิวิทยา- ซีสต์เนื้องอก
• อาจเกิดความเสียหายต่อฟันซี่ที่ติดกัน หรือมีการละลายตัวของกระดูกที่รองรับฟันซี่ที่ติดกัน เป็นผลจากแรงดันของฟันคุด
• อาการปวดเรื้อรังหรือรู้สึกไม่สบาย
• ปัญหาเกี่ยวกับการจัดฟันได้ในตำแหน่งที่ไม่ดี หรือมีฟันหน้าซ้อนเก

ประเภทของฟันคุด แบ่งออกได้เป็น ฟันคุดที่โผล่ขึ้นเต็มซี่ ฟันคุดที่โผล่ขึ้นบางซี่ และฟันคุดที่ยังฝังจมทั้งซี่
ฟันคุดแต่ละประเภทต้องใช้ระยะเวลาและค่ารักษาที่แตกต่างกัน ระดับความเจ็บปวดและอาการบวมจะแตกต่างกันไปสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย ขึ้นอยู่กับประเภทของฟันคุดและความยากลำบากในการรักษาและการตอบสนองแบบส่วนตัวของคนไข้

ผ่าตัดฟันคุด #ควรเตรียมตัวอย่างไรดี ?

คำแนะนำก่อนผ่าตัด/ถอนฟันคุด

• ผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์ก่อน
• ควรวัดความดันก่อนการผ่าฟันคุด
• ทานอาหารให้เรียบร้อยก่อนการผ่าฟันคุด
• งดการสูบบุหรี่
• งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ (เพราะมีผลต่อการหยุดไหลของเลือด, แผลผ่าฟันคุดอายหายช้าได้)

คำแนะนำหลังผ่าตัด/ถอนฟันคุด

• ประคบด้วยถุงเย็นทันทีหลังผ่าตัด เพื่อลดอาการบวม
• ควรกัดผ้าก๊อซแน่นๆ เพื่อห้ามเลือด
• ห้ามบ้วนน้ำลาย เลือด หรือน้ำ เพื่อให้เลือดหยุดเร็วขึ้น
• ควรรับประทานอาหารอ่อนๆ
• ไปรับการตัดไหมหลังจากครบกำหนดผ่าตัดแล้ว 7 วัน

บริการสอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายถอนฟันคุด

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)
www.bpdcdental.com