รู้จักยาแก้เหงือกอักเสบ

รู้จักยาแก้เหงือกอักเสบ พร้อมวิธีการเลือกใช้อย่างถูกต้อง

“เหงือก” อวัยวะที่ทำงานอยู่เบื้องหลังของระบบภายในช่องปาก ที่ทำให้หน้าที่สำคัญในการยึดเกาะฟันไว้ให้ติดกับกระดูกขากรรไกรและเป็นอวัยวะที่ช่วยรองรับแรงในการบดเคี้ยวอาหาร มีลักษณะเป็นขอบเรียบและเต็มไปด้วยเส้นเลือดมากมาย และแน่นอนว่าถ้ามีอาการผิดปกติที่เหงือก อาการก็จะออกมาอย่างชัดเจนและสังเกตได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นเหงือกบวม หรือเลือดออกตามไรฟัน หรืออาจจะเข้าขั้นสู่การเป็นโรคเหงือกอักเสบเลยก็เป็นได้ โรคเหงือกอักเสบมีที่มาที่ไปอย่างไร และมียาตัวไหนที่สามารถรักษาหรือบรรเทาอาการได้บ้าง เราจะไปเรียนรู้จักโรคนี้ด้วยกันค่ะ

โรคเหงือกอักเสบคืออะไร

โรคเหงือกอักเสบ จะมีลักษณะคือสีของเหงือก ซึ่งแต่เดิมเป็นสีชมพูจะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้มเหมือนสีเลือด มีอาการบวมและมีเลือดออกขณะแปรงฟัน หากปล่อยทิ้งไว้จะกลายเป็นโรคปริทันต์  ซึ่งมีการทำลายกระดูกร่วมด้วย และที่สำคัญอาจทำให้สูญเสียฟันได้

สาเหตุของโรคเหงือกอักเสบ

โรคเหงือกอักเสบมีสาเหตุมาจากการสะสมของเชื้อแบคทีเรียเป็นเวลานานในช่องปาก ซึ่งเกิดจากการที่แปรงฟันไม่สะอาด หรือทำความสะอาดช่องปากได้ไม่สะอาดเพียงพอจนทำให้เกิดแบคทีเรีย และกลายเป็นหินปูนที่เกาะอยู่ตามซอกฟัน และเมื่อหมักหมมเป็นเวลานานเข้าเหงือกก็จะมีการอักเสบและบวมได้ นอกจากนั้น ยังมีปัจจัยอื่นๆที่กระตุ้นให้เกิดโรคเหงือกอักเสบ เช่น ฟันคุดภายในช่องปาก การใส่เครื่องมือจัดฟัน การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาคุมกำเนิด การขาดสารอาหาร การสูบบุหรี่ รวมไปถึงปัจจัยทางพันธุกรรม

ประเภทอาการของเหงือกอักเสบ

เหงือกอักเสบมีหลายอาการให้สังเกตหลักๆดังต่อไปนี้

  • เหงือกบวมแดง อักเสบ
    อาการลักษณะนี้ เหงือกจะเปลี่ยนจากสีชมพูอ่อน กลายเป็นสีแดงเข้มหรือม่วง และมีอาการบวมโตขึ้นเรื่อยๆจนบิดเนื้อฟัน มีอาการเจ็บเมื่อสัมผัส นอกจากนั้นยังมีเลือดออกตามไรฟันหรือฟันผุร่วมด้วย
  • เหงือกบวม เป็นหนอง
    ไม่เพียงเหงือกจะบวมโต แต่ยังมีหนองร่วมด้วย เนื่องจากว่า หากเหงือกมีการอักเสบหรือติดเชื้อ บริเวณขอบเหงือกจะเปลี่ยนจากสีแดงเป็นสีม่วงและมีความคล้ำเกิดขึ้น เมื่อลองกดดูจะมีหนองไหลออกมา
  • อาการรากฟันอักเสบ
    รากฟันอักเสบเป็นอาการที่เส้นเลือดในโพรงประสาทฟันเกิดการอักเสบ ทำให้เหงือกมีหนองเกิดขึ้น ส่วนสีของฟันก็จะคล้ำขึ้น จะรู้สึกเจ็บและเสียวฟันเมื่อเคี้ยวอาหาร หากปล่อยเอาไว้อาจเกิดอันตรายขึ้นได้ เช่นอาจทำให้เกิดการสูญเสียฟัน เป็นโรคที่เกี่ยวกับเหงือก หรืออาจจะลุกลามกลายเป็นมะเร็งในช่องปากก็เป็นได้

ยาแก้เหงือกอักเสบมีอะไรบ้าง

ยาแก้เหงือกอักเสบ ส่วนใหญ่สามารถหาซื้อได้ไม่ยากนัก ใช้รักษาในกรณีที่อาการไม่รุนแรงมาก แต่ให้อยู่ในการดูแลของเภสัชกร แต่หากอาการหนักหรือมีการปวดฟันร่วมด้วย แนะนำให้ปรึกษาทันตแพทย์  เพื่อป้องกันการใช้ยาผิดประเภทและเพื่อการรักษาที่ตรงจุดและมีประสิทธิภาพ ซึ่งยาที่ใช้ในปัจจุบันมี 5 ประเภทด้วยกัน ดังนี้

  1. ยาพาราเซตามอล(Paracetamol)
    เป็นยาสามัญประจำบ้านขั้นพื้นฐานที่บรรเทาอาการปวดทั่วไปได้ในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง โดยขนาดการใช้ยาจะอยู่ที่ 10 – 15 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ต่อ 1 ครั้ง แต่ทั้งนี้ไม่ควรรับประทานยาเกินขนาดหรือในปริมาณที่มากจนเกินไป เพราะอาจเกิดพิษร้ายแรงต่อตับได้
  • ยาแก้อักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์(Nonsteroidal anti-inflammatory drug) หรือ “NSAIDs”
    ยาแก้อักเสบประเภทนี้มีอยู่หลายชนิด เช่น ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen), พอนสแตน (Ponstan), ไพร็อกซิแคม (Piroxicam) หรือ (Diclofenac) เป็นต้น นำมาใช้บรรเทาอาการปวดที่มีระดับปานกลางไปจนถึงมาก  หากรับประทานมากเกินไป ส่งผลต่อการทำงานของไตและอาจทำให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร
  • ยาเมโทรนิดาโซล(Metronidazole)
    เป็นยาปฏิชีวนะที่สามารถต้านเชื้อแบคทีเรียในร่างกายได้ ในกรณีที่มีอาการปวดฟัน เหงือกบวม หรือเหงือกอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ทันตแพทย์จะแนะนำให้รับประทานยาชนิดนี้เพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรียโดยตรง แต่อย่างไรก็ตาม ยาเมโทรนิดาโซลอาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร ควรรับประทานตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • ยาเบนโซเคน(Benzocaine)
    เป็นยาชาเฉพาะที่ที่สามารถนำมาใช้บรรเทาอาการเจ็บปวดต่างๆได้ ไม่ว่าจะเป็น อาการปวดแผลในปาก ปวดฟัน ปวดเหงือก หรืออาการปวดหูชั้นกลาง เป้นต้น แต่จัดเป็นยาที่มีผลข้างเคียงที่ค่อนข้างอันตราย ไม่แนะนำให้ซื้อมาใช้เอง แนะนำให้ปรึกษาเภสัชกรหรือทันตแพทย์เท่านั้น
  • ยาในกลุ่มต้านเชื้อแบคทีเรียหรือแก้อักเสบ
    ในกรณีที่มีหนองร่วมด้วย นั่นคือสัญญาณที่ชี้ให้เห็นว่าการติดเชื้อแบคทีเรีย ทันตแพทย์จะจ่ายยาเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียในช่องปากด้วย เช่น อะม็อกซีซิลลิน (Amoxicillin), เพนนิซิลิน (Penicillin), เตตร้าซัยคลิน (Tetracyclines) หรือเลโวฟล็อกซาซิน (Levofloxacin) เป็นต้น

การรับประทานยาทุกชนิดมีความเสี่ยง เช่นเดียวกับการใช้ยาสำหรับช่องปากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการรักษาเหงือกอักเสบ ไม่แนะนำให้ซื้อยามารักษาด้วยตัวเอง เพราะนอกจากจะก่อให้เกิดอันตรายแล้วยังอาจทำให้เชื้อแบคทีเรียดื้อยาได้อีกด้วย ไม่เพียงเท่านั้นยังเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ต่อผู้ใช้เช่นกัน

สอบถามเพิ่มเติมและตรวจสุขภาพฟัน
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ทันตกรรม #ตรวจสุขภาพฟัน #คลินิกทันตกรรม

โรคเหงือกอักเสบหรือโรคปริทันต์

โรคเหงือกอักเสบหรือโรคปริทันต์

เหงือกอักเสบ เป็นอาการที่พบได้บ่อยและไม่รุนแรง โดยสาเหตุทั่วไปที่พบมากที่สุด คือ การดูแลช่องปากที่ไม่ดีพอ โดยหากพบว่าตนเองมีอาการเหงือกอักเสบ ควรปรึกษาทันตแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาทันที ไม่เช่นนั้นอาจนำไปสู่โรคปริทันต์ หรืออาการอื่นๆ ที่รุนแรง จนต้องสูญเสียฟัน

สัญญาณเตือนโรคเหงือกอักเสบ

1) มีเลือดออกขณะแปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟัน
2) เหงือกบวม เหงือกร่น
3) ฟันเริ่มโยก หรือหลุดจากกระดูกเบ้าฟัน
4) มีหนอง
5) มีกลิ่นปาก

*หากมีอาการดังกล่าว นานเกิน 1 สัปดาห์ ควรปรึกษาทันตแพทย์ทันที!

ทันตกรรมปริทันต์ – การรักษาโรคเหงือกอักเสบ และ โรคปริทันต์อักเสบ

ตรวจรักษาเหงือกอักเสบที่อักเสบ ปริทนต์อักเสบ การรักษาโรคเหงือก เลือดออกตามไรฟัน การศัลยกรรมปลูกเหงือกให้สวยงาม และปลูกกระดูกเบ้าฟันให้กระดูกแข็งแรง

นอกจากนี้ ยังรวมถึงการให้การรักษาตกแต่งเหงือกให้เกิดความสวยงาม หรือ เตรียมพร้อมสำหรับครอบฟันให้มีความสวยงามตามธรรมชาติ

โรคเหงือกอักเสบ – โรคปริทันต์อักเสบ ป้องกันได้!

เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคปริทันต์อักเสบ โดยทั่วไปควรเข้ารับขูดหินปูนอย่างน้อย ปีละ 1-2 ครั้ง เพราะโรคปริทันต์อักเสบจะทำให้เกิดฟันโยก, เสียวฟัน, เคี้ยวอาหารไม่มีแรง หรือ เหงือกบวมจากการติดเชื้อได้

โดนทันตแพทย์จะเริ่มทำการขูดหินปูนจะโดยการใช้เครื่องขูดหินปูนขูดตามซอกฟัน ใต้เหงือกบางตำแหน่ง และขัดฟันด้วยผงขัดผสมฟลูออไรด์

เมื่อทำความสะอาดฟันแล้ว ทันตแพทย์จะสามารถประเมินและเช็คปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น ฟันผุ, โรคเหงือก, การติดเชื้อ และอื่นๆ ปัญหาดังกล่าวสามารถตรวจได้โดยการมองเห็นหลังจากที่ได้ทำการขจัดคราบสะสมบนตัวฟันแล้ว หากจำเป็นที่ต้องตรวจตำแหน่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ทันตแพทย์จะแนะนำการถ่ายเอกซ์เรย์ในช่องปากเพิ่มเติม

*ผู้ป่วยโรคเหงือกควรพบทันตแพทย์เพื่อทำความสะอาดฟันหรือขูดหินปูนทุกๆ 6 เดือน หรือ 1 ปี ขึ้นอยู่กับแต่ละกรณี

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายทันตกรรมปริทันต์

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#คลินิกทันตกรรม #BPDC #โรคเหงือกอักเสบ #โรคปริทันต์