เหงือกบวมเกิดจากอะไร

เหงือกบวมเกิดจากอะไร

เหงือกบวมสามารถเกิดจากหลายสาเหตุ โดยสาเหตุหลักๆ ได้แก่:
  1. โรคเหงือก: การติดเชื้อแบคทีเรียในช่องปากสามารถนำไปสู่โรคเหงือก เช่น โรคเหงือกอักเสบหรือโรคเหงือกอักเสบรุนแรง (periodontitis) ซึ่งทำให้เหงือกบวมและอาจมีเลือดออกขณะแปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟัน
  2. การทำความสะอาดฟันไม่ดี: ไม่แปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันอย่างสม่ำเสมอสามารถนำไปสู่การสะสมของคราบจุลินทรีย์บนฟันและเหงือก ทำให้เกิดการอักเสบ
  3. การติดเชื้อ: นอกจากแบคทีเรียแล้ว การติดเชื้อไวรัสและราก็สามารถทำให้เหงือกบวมได้
  4. ภาวะการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน: เช่น ในช่วงตั้งครรภ์ ซึ่งเรียกว่า “การตั้งครรภ์เปลี่ยนแปลงเหงือก” อาจทำให้เหงือกบวมและไวต่อการติดเชื้อมากขึ้น
  5. สิ่งแปลกปลอมในเหงือก: อาหารหรือวัตถุอื่นที่ติดอยู่ในเหงือกก็สามารถทำให้เกิดการบวมและอักเสบได้
  6. ปฏิกิริยาต่อยาหรือโรคอื่นๆ: บางครั้งการแพ้ยาบางชนิดหรือโรคระบบภูมิคุ้มกันอาจทำให้เหงือกบวม
  7. โรคปริทันต์ (Periodontal disease): เกิดจากการสะสมของแบคทีเรียและคราบจุลินทรีย์ที่ขอบเหงือก ทำให้เกิดการอักเสบและบวมของเหงือกได้
  8. การแปรงฟันไม่ถูกวิธี: การแปรงฟันแรงเกินไป ใช้แปรงขนแข็ง หรือแปรงไม่ทั่วถึง ล้วนทำให้เหงือกระคายเคืองและบวมได้
  9. การสูบบุหรี่: สารเคมีในบุหรี่สามารถระคายเคืองและทำลายเนื้อเยื่อในช่องปาก นำไปสู่การอักเสบและบวมของเหงือกได้
  10. การตั้งครรภ์: การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงตั้งครรภ์ อาจทำให้เหงือกไวต่อการอักเสบและมีเลือดออกง่ายขึ้น
  11. โรคเบาหวาน: ผู้ป่วยเบาหวานมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคปริทันต์และการติดเชื้อในช่องปากสูงกว่าคนทั่วไป
  12. ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง: ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอจากโรคหรือการใช้ยา อาจมีเหงือกอักเสบและบวมได้ง่ายกว่าปกติ
  13. ทันตกรรมที่ไม่เหมาะสม: การใส่ฟันปลอม สะพานฟัน หรือรากฟันเทียมที่ไม่พอดี อาจระคายเคืองต่อเหงือกจนเกิดการบวมได้
  14. การใช้ยาบางชนิด: ยาบางตัว เช่น ยาคุมกำเนิด ยากันชัก หรือยาลดความดันโลหิตบางชนิด อาจทำให้เหงือกบวมเป็นผลข้างเคียงได้
  15. พยาธิสภาพในช่องปาก: เนื้องอก ถุงน้ำ หรือการติดเชื้อบางอย่างในช่องปาก อาจทำให้เหงือกบวมผิดปกติได้เช่นกัน

หากมีอาการเหงือกบวม ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ และรับการรักษาที่ถูกต้อง

นอกจากนี้ ยังมีวิธีป้องกันเหงือกบวมได้ดังนี้:

  • แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้าและก่อนนอน
  • ใช้ไหมขัดฟันทุกวัน
  • ทำความสะอาดช่องปากด้วยน้ำยาบ้วนปาก
  • ตรวจสุขภาพช่องปากกับทันตแพทย์เป็นประจำทุกๆ 6 เดือน
  • เลิกสูบบุหรี่
  • ทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

การดูแลสุขภาพช่องปากที่ดี จะช่วยป้องกันเหงือกบวม และโรคอื่นๆ ในช่องปาก

หากคุณมีอาการเหงือกบวมควรปรึกษาทันตแพทย์เพื่อหาสาเหตุและรับการรักษาที่เหมาะสม เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น. สอบถามเพิ่มเติมและตรวจสุขภาพฟัน โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829 Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental https://bpdcdental.com/ ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก) #ทันตกรรม #ตรวจสุขภาพฟัน #คลินิกทันตกรรม
แนะวิธีสังเกต เหงือกบวมแบบไหนต้องไปพบทันตแพทย์

แนะวิธีสังเกต เหงือกบวมแบบไหนต้องไปพบทันตแพทย์

แนะวิธีสังเกต เหงือกบวมแบบไหนต้องไปพบทันตแพทย์

หนึ่งในปัญหาสุขภาพช่องปากที่พบได้บ่อย นอกเหนือจากฟันผุแล้ว ต้องยกให้ “เหงือกบวม” เลยค่ะ หากวันไหนที่ตื่นขึ้นมาแล้วพบว่าเหงือกของเรามีอาการปูดโปนยื่นออกมา แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่า เหงือกบวมแบบไหนถึงต้องไปพบทันตะแพทย์ เชื่อแน่ว่านี่เป็นคำถามที่ค้างคาใจใครหลายคน บทความนี้จะช่วยคุณแนะวิธีสังเกตอาการเหงือกบวมกันค่ะ

เหงือกบวมเป็นอย่างไร

ภาวะเหงือกบวม คืออาการที่เหงือกเกิดการอักเสบเรื้อรัง จนมีลักษณะบวมโตเป็นสีแดงเข้มกว่าเนื้อเหงือกปกติ อาจพบมีเหงือกอักเสบเป็นหนอง, พบรูเปิดของตุ่มหนอง หรือมีของเหลวลักษณะขุ่นข้น ไหลออกมาจากบริเวณขอบเหงือก และเมื่อเหงือกบวมขึ้นก็จะมีอาการปวดฟัน ระคายเคือง เสียวฟัน ไปจนถึงมีอาการเลือดออกขณะแปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟัน ในบางกรณีที่มีเหงือกบวมมาก ๆ เหงือกอาจบวมจนปกคลุมฟันในบริเวณนั้นได้เลยล่ะค่ะ

เหงือกบวมมีแบบไหนบ้าง

  1. เหงือกบวมจากกระดูกงอก

สีเหงือกจะเป็นสีชมพูปกติ อาจจะมีสีขาวซีด ถ้าตุ่มกระดูกนี้ก้อนใหญ่ดันเหงือกออกมามาก ซึ่งอาการบวมนี้เกิดจากกลไกที่ร่างกายสร้างกระดูกให้หนาขึ้น เพื่อรับแรงบดเคี้ยวที่หนักหน่วงไม่เท่ากัน ในแต่ละคน มักจะพบก้อนขนาดใหญ่ในผู้ที่มีฟันสึกกร่อนมาก ๆ

  • เหงือกบวมจากผลข้างเคียงของยา

เหงือกจะบวมหนาขึ้นมากแต่เนื้อแน่น มีสีชมพูปกติ อาการบวมจะมากขึ้น หากสุขภาพช่องปากไม่ดี ทั้งนี้ใครที่เป็นสามารถที่จะหายเป็นปกติเมื่อหยุดการใช้ยาและขูดหินปูน แต่ถ้าไม่หาย ทันตแพทย์จะแนะนำให้ศัลยกรรมตกแต่งเหงือก

  • เหงือกบวมจากภาวะระคายเคืองเป็นเวลานาน

เหงือกบวมแบบนี้จะมีลักษณะเป็นก้อนแข็ง แต่ยังเป็นสีชมพูปกติ สามารถรักษาได้ด้วยการตัดก้อนที่บวมออก ร่วมกับกำจัดสิ่งที่ทำให้เหงือกเกิดความระคายเคือง

  • เหงือกบวมจากโรคปริทันต์

เหงือกบวมในลักษณะนี้มักจะพบในผู้ที่มีสุขภาพช่องปากไม่ดี ซึ่งจะมีระดับความรุนแรงที่ต่างกัน โดย

แยกออกมาเป็น 2 โรค ได้แก่

  • โรคเหงือกอักเสบ เกิดจากการมีหินปูนมาสะสมจำนวนมากเป็นระยะเวลานาน จนทำให้เหงือกเกิดการอักเสบรอบ ๆ ฟัน ซึ่งอาจจะพบมีอาการเลือดออกขณะแปรงฟันและมีกลิ่นปากร่วมด้วยได้
  • โรคปริทันต์ เกิดจากการสะสมของหินปูนจำนวนมาก แต่ผู้ที่เป็นอาจจะมีภูมิต้านทานเชื้อโรคได้น้อย ทำให้เชื้อเกิดการลุกลามและไปทำลายกระดูกที่รองรับฟัน ซึ่งทำให้มีอาการอย่างฟันโยกเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งฟันอาจจะขยับบานออกหรือยื่นยาวผิดปกติ รวมไปถึงอาการมีหนองไหลจากบริเวณที่เหงือกบวม สำหรับการรักษานั้น ทันตแพทย์จะขูดหินปูน เกลารากฟัน เพื่อกำจัดหินปูนที่ระคายเคืองออก แต่ทั้งนี้ ผู้ที่เป็นจะต้องหมั่นดูแลรักษาสุขภาพช่องปากให้สะอาดด้วยค่ะ
  • เนื้องอกในหญิงมีครรภ์

สำหรับเหงือกบวมลักษณะนี้จะพบได้ในหญิงมีครรภ์ที่มีสุขอนามัยช่องปากที่ไม่ดี เนื่องมาจากร่างกายจะตอบสนองต่อการระคายเคืองจากหินปูนได้ไวกว่าปกติ ซึ่งสามารถรักษาได้ด้วยการตัดออกและขูดหินปูน

  • เหงือกบวมเป็นตุ่มเล็ก ๆ และมีหนองไหล

มักพบอยู่บริเวณในจุดที่ใกล้ฟันผุเป็นหลุมกว้าง หรือเคยมีอาการปวดมาก่อน อันมีสาเหตุมาจากฟันผุที่เกิดการลุกลามถึงชั้นโพรงประสาทฟัน เกิดการติดเชื้อจนฟันตายและมีหนองสะสมในตัวฟันมากจนแตกออกมาในช่องปาก ซึ่งทันตแพทย์มักจะแนะนำให้รักษาคลองรากฟัน

  • ก้อนมะเร็ง

เหงือกบวมที่เกิดจากก้อนมะเร็ง ลักษณะก้อนจะฟูคล้ายดอกกะหล่ำ มีอาการบวมและการทำลายอย่างรวดเร็วรุนแรง ในบางรายอาจจะพบอาการชาร่วมด้วย จึงควรรีบไปพบทันตแพทย์ให้เร็วที่สุด

จะเห็นได้ว่าเหงือกบวมมีมาจากหลายสาเหตุมากเลยนะคะ แต่สิ่งสำคัญที่คล้าย ๆ กัน คือเรื่องของการดูแลรักษาช่องปากให้สะอาดอยู่เสมอ ก็จะลดความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ และเกิดการอักเสบได้นั่นเอง

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายทำฟัน ตรวจสุขภาพฟัน
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ทำฟัน #ตรวจสุขภาพฟัน

เหงือกบวมแบบไหน ต้องไปพบทันตแพทย์

แนะวิธีสังเกต เหงือกบวมแบบไหน ต้องไปพบทันตแพทย์

หนึ่งในปัญหาช่องปากที่หลายคนไม่อยากเจอ นั่นคือ “เหงือกบวม” ที่นอกจากจะสร้างความเจ็บปวด รำคาญใจแล้ว ยังทำให้เสียความมั่นใจในเรื่องกลิ่นปากอีกด้วย ซึ่งตามปกติแล้ว หากเป็นอาการเหงือกบวมปกติ สามารถทำความสะอาดฟันและเหงือกบริเวณที่เกิดอาการด้วยตนเอง โดยการใช้แปรงสีฟันที่เหมาะสม ใช้ไหมขัดฟันช่วยขัดเศษอาหารที่ติดอยู่ในซอกฟันอย่างถูกวิธี รวมไปถึงการบ้วนน้ำเกลือเพื่อลดอาการบวมแดง แล้วอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้น แต่ถ้าเกิดมีอาการนอกเหนือจากนี้ล่ะ เราจะรู้ได้อย่างไรว่า เหงือกบวมแบบไหน จึงควรต้องไปพบทันตแพทย์ ไปดูกันค่ะ

1. เหงือกบวม จากกระดูกงอก

สีเหงือกจะมีสีชมพูเป็นปกติ ส่วนอาการบวมนั้นจะเกิดขึ้น เมื่อมีตุ่มกระดูกก้อนใหญ่ดันเหงือกออกมามาก ซึ่งอาการบวมนี้เป็นกลไกทางร่างกายอย่างหนึ่งที่ร่างกายจะสร้างกระดูกให้หนาขึ้น เพื่อรองรับแรงจากการบดเคี้ยวที่ไม่เท่ากัน

2. เหงือกบวม จากการเกิดความระคายเคืองมาเป็นเวลานาน

เหงือกที่บวมจะปูดเป็นก้อนแข็ง แต่ยังคงมีสีชมพูตามปกติ ส่วนการรักษานั้น ทันตแพทย์จะใช้วิธีการตัดก้อนที่บวมออก พร้อมกับกำจัดตัวต้นเหตุที่ทำให้เกิดการระคายเคือง

3. เหงือกบวม จากผลข้างเคียงของยา

เหงือกจะมีลักษณะบวมหนาขึ้นกว่าปกติมาก ผู้ป่วยจะหายปกติหากหยุดยา และขูดหินปูน ถ้าไม่หายอาจต้องศัลยกรรมตัดแต่งเหงือก เพื่อช่วยให้ทำความสะอาดได้ดีขึ้น ในกรณีที่รักษาไม่หาย ทันตแพทย์จะใช้วิธีศัลยกรรมตกแต่งเหงือกเพื่อที่ผู้ป่วยจะได้สามารถทำความสะอาดฟันได้ดีและง่ายขึ้น

4. เหงือกบวม จากโรคปริทันต์

มักพบในผู้ที่สุขอนามัยภายในช่องปากไม่ดี โดยทั่วไปจะแบ่งตัวโรคออกมาเป็น 2 โรค ได้แก่

  • โรคเหงือกอักเสบ เกิดจากการสะสมหินปูนจำนวนมาก ทำให้เหงือกอักเสบบริเวณรอบ ๆ ฟัน ซึ่งในบางครั้งอาจจะพบเลือดออกขณะแปรงฟันได้ รวมถึงมีอาการเสียวฟันและกลิ่นปากตามมา
  • โรคปริทันต์ มีสาเหตุที่คล้ายกันกับโรคเหงือกอักเสบ คือ เกิดจากการสะสมหินปูนจำนวนมาก แต่ผู้ที่เป็นมีภูมิต้านทานเชื้อโรคต่ำ จึงทำให้เกิดการติดเชื้อ และเชื้อก็ลุกลามไปมาก ทำให้เกิดการทำลายกระดูกที่มารองรับฟัน อาการที่สามารถสังเกตได้ คือ ฟันโยก ฟันบานออกหรือฟันยาว เหงือกบวม ในรายที่รุนแรงมาก ๆ จะพบเหงือกมีหนองไหล ส่วนวิธีการรักษานั้น ทันตแพทย์จะขูดหินปูน และจะทำการเกลารากฟัน เพื่อจะกำจัดตัวหินปูน ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการระคายเคืองออก ร่วมกับการดูแลสุขอนามัยภายในช่องปากให้มากขึ้น

5. เหงือกบวม จากเนื้องอกของผู้หญิงตั้งครรภ์

มักพบในผู้หญิงตั้งครรภ์ที่มีสุขอนามัยภายในช่องปากที่ไม่ดี อันมีผลมาจากการที่ร่างกายตอบสนองต่ออาการระคายเคืองจากหินปูนไวกว่าปกติ สำหรับการรักษา ทันตแพทย์จะตัดเนื้องอกนั้นออก แล้วจึงทำการขูดหินปูนในจุดที่ระคายเคืองออกเสีย

6. เหงือกบวม เกิดเป็นตุ่มหนองเล็ก ๆ

มักเกิดในบริเวณใกล้เคียงกับจุดที่ฟันผุมาก ๆ อันเนื่องมาจากภาวะฟันผุที่เกิดการลุกลามไปจนถึงชั้นโพรงประสาทฟัน พบการติดเชื้อจนฟันตายและมีหนองสะสมในตัวฟัน ทำให้ออกมาภายในช่องปาก ในกรณีเช่นนี้ ทันตแพทย์จะแนะนำให้รักษาคลองรากฟัน

7. เหงือกบวม จากก้อนมะเร็ง

ลักษณะของก้อนมะเร็งที่เกิดขึ้นนั้นจะคล้าย ๆ กับดอกกะหล่ำ โดยจะมีอาการบวม และจะทำลายเหงือกรวมถึงฟันโดยรอบอย่างรวดเร็วและรุนแรงมาก ในบางรายอาจจะพบอาการชาภายในช่องปากร่วมด้วย ซึ่งจะต้องมาพบทันตแพทย์ เพื่อรักษาร่วมกับแพทย์เฉพาะทาง

ดังนั้น หากใครที่กำลังมีอาการของเหงือกบวม อย่ารอช้าหรือปล่อยไว้ให้อาการรุนแรงขึ้นนะคะ โดยเฉพาะหากใครมีอาการดังที่กล่าวมา ทางที่ดีที่สุดควรรีบไปพบทันตแพทย์ให้เร็วที่สุด

ติดต่อสอบถามข้อมูล “เหงือกบวม” เพิ่มเติมได้ที่

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ทันตกรรม #ทันตแพทย์ #เหงือกบวม #ปัญหาเหงือก

แนะวิธีสังเกต เหงือกบวมแบบไหน ต้องไปพบทันตแพทย์

แนะวิธีสังเกต เหงือกบวมแบบไหน ต้องไปพบทันตแพทย์

หนึ่งในปัญหาช่องปากที่หลายคนไม่อยากเจอ นั่นคือ “เหงือกบวม” ที่นอกจากจะสร้างความเจ็บปวด รำคาญใจแล้ว ยังทำให้เสียความมั่นใจในเรื่องกลิ่นปากอีกด้วย ซึ่งตามปกติแล้ว หากเป็นอาการเหงือกบวมปกติ สามารถทำความสะอาดฟันและเหงือกบริเวณที่เกิดอาการด้วยตนเอง โดยการใช้แปรงสีฟันที่เหมาะสม ใช้ไหมขัดฟันช่วยขัดเศษอาหารที่ติดอยู่ในซอกฟันอย่างถูกวิธี รวมไปถึงการบ้วนน้ำเกลือเพื่อลดอาการบวมแดง แล้วอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้น แต่ถ้าเกิดมีอาการนอกเหนือจากนี้ล่ะ เราจะรู้ได้อย่างไรว่า เหงือกบวมแบบไหน จึงควรต้องไปพบทันตแพทย์ ไปดูกันค่ะ

1. เหงือกบวม จากกระดูกงอก

สีเหงือกจะมีสีชมพูเป็นปกติ ส่วนอาการบวมนั้นจะเกิดขึ้น เมื่อมีตุ่มกระดูกก้อนใหญ่ดันเหงือกออกมามาก ซึ่งอาการบวมนี้เป็นกลไกทางร่างกายอย่างหนึ่งที่ร่างกายจะสร้างกระดูกให้หนาขึ้น เพื่อรองรับแรงจากการบดเคี้ยวที่ไม่เท่ากัน

2. เหงือกบวม จากการเกิดความระคายเคืองมาเป็นเวลานาน

เหงือกที่บวมจะปูดเป็นก้อนแข็ง แต่ยังคงมีสีชมพูตามปกติ ส่วนการรักษานั้น ทันตแพทย์จะใช้วิธีการตัดก้อนที่บวมออก พร้อมกับกำจัดตัวต้นเหตุที่ทำให้เกิดการระคายเคือง

3. เหงือกบวม จากผลข้างเคียงของยา

เหงือกจะมีลักษณะบวมหนาขึ้นกว่าปกติมาก ผู้ป่วยจะหายปกติหากหยุดยา และขูดหินปูน ถ้าไม่หายอาจต้องศัลยกรรมตัดแต่งเหงือก เพื่อช่วยให้ทำความสะอาดได้ดีขึ้น ในกรณีที่รักษาไม่หาย ทันตแพทย์จะใช้วิธีศัลยกรรมตกแต่งเหงือกเพื่อที่ผู้ป่วยจะได้สามารถทำความสะอาดฟันได้ดีและง่ายขึ้น

4. เหงือกบวม จากโรคปริทันต์

มักพบในผู้ที่สุขอนามัยภายในช่องปากไม่ดี โดยทั่วไปจะแบ่งตัวโรคออกมาเป็น 2 โรค ได้แก่

  • โรคเหงือกอักเสบ เกิดจากการสะสมหินปูนจำนวนมาก ทำให้เหงือกอักเสบบริเวณรอบ ๆ ฟัน ซึ่งในบางครั้งอาจจะพบเลือดออกขณะแปรงฟันได้ รวมถึงมีอาการเสียวฟันและกลิ่นปากตามมา
  • โรคปริทันต์ มีสาเหตุที่คล้ายกันกับโรคเหงือกอักเสบ คือ เกิดจากการสะสมหินปูนจำนวนมาก แต่ผู้ที่เป็นมีภูมิต้านทานเชื้อโรคต่ำ จึงทำให้เกิดการติดเชื้อ และเชื้อก็ลุกลามไปมาก ทำให้เกิดการทำลายกระดูกที่มารองรับฟัน อาการที่สามารถสังเกตได้ คือ ฟันโยก ฟันบานออกหรือฟันยาว เหงือกบวม ในรายที่รุนแรงมาก ๆ จะพบเหงือกมีหนองไหล ส่วนวิธีการรักษานั้น ทันตแพทย์จะขูดหินปูน และจะทำการเกลารากฟัน เพื่อจะกำจัดตัวหินปูน ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการระคายเคืองออก ร่วมกับการดูแลสุขอนามัยภายในช่องปากให้มากขึ้น

5. เหงือกบวม จากเนื้องอกของผู้หญิงตั้งครรภ์

มักพบในผู้หญิงตั้งครรภ์ที่มีสุขอนามัยภายในช่องปากที่ไม่ดี อันมีผลมาจากการที่ร่างกายตอบสนองต่ออาการระคายเคืองจากหินปูนไวกว่าปกติ สำหรับการรักษา ทันตแพทย์จะตัดเนื้องอกนั้นออก แล้วจึงทำการขูดหินปูนในจุดที่ระคายเคืองออกเสีย

6. เหงือกบวม เกิดเป็นตุ่มหนองเล็ก ๆ

มักเกิดในบริเวณใกล้เคียงกับจุดที่ฟันผุมาก ๆ อันเนื่องมาจากภาวะฟันผุที่เกิดการลุกลามไปจนถึงชั้นโพรงประสาทฟัน พบการติดเชื้อจนฟันตายและมีหนองสะสมในตัวฟัน ทำให้ออกมาภายในช่องปาก ในกรณีเช่นนี้ ทันตแพทย์จะแนะนำให้รักษาคลองรากฟัน

7. เหงือกบวม จากก้อนมะเร็ง

ลักษณะของก้อนมะเร็งที่เกิดขึ้นนั้นจะคล้าย ๆ กับดอกกะหล่ำ โดยจะมีอาการบวม และจะทำลายเหงือกรวมถึงฟันโดยรอบอย่างรวดเร็วและรุนแรงมาก ในบางรายอาจจะพบอาการชาภายในช่องปากร่วมด้วย ซึ่งจะต้องมาพบทันตแพทย์ เพื่อรักษาร่วมกับแพทย์เฉพาะทาง

ดังนั้น หากใครที่กำลังมีอาการของเหงือกบวม อย่ารอช้าหรือปล่อยไว้ให้อาการรุนแรงขึ้นนะคะ โดยเฉพาะหากใครมีอาการดังที่กล่าวมา ทางที่ดีที่สุดควรรีบไปพบทันตแพทย์ให้เร็วที่สุด

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
.
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)
.

คลินิกทันตกรรม #BPDC #ทันตกรรม #เหงือกบวม

โรคเหงือกอักเสบหรือโรคปริทันต์

โรคเหงือกอักเสบหรือโรคปริทันต์

เหงือกอักเสบ เป็นอาการที่พบได้บ่อยและไม่รุนแรง โดยสาเหตุทั่วไปที่พบมากที่สุด คือ การดูแลช่องปากที่ไม่ดีพอ โดยหากพบว่าตนเองมีอาการเหงือกอักเสบ ควรปรึกษาทันตแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาทันที ไม่เช่นนั้นอาจนำไปสู่โรคปริทันต์ หรืออาการอื่นๆ ที่รุนแรง จนต้องสูญเสียฟัน

สัญญาณเตือนโรคเหงือกอักเสบ

1) มีเลือดออกขณะแปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟัน
2) เหงือกบวม เหงือกร่น
3) ฟันเริ่มโยก หรือหลุดจากกระดูกเบ้าฟัน
4) มีหนอง
5) มีกลิ่นปาก

*หากมีอาการดังกล่าว นานเกิน 1 สัปดาห์ ควรปรึกษาทันตแพทย์ทันที!

ทันตกรรมปริทันต์ – การรักษาโรคเหงือกอักเสบ และ โรคปริทันต์อักเสบ

ตรวจรักษาเหงือกอักเสบที่อักเสบ ปริทนต์อักเสบ การรักษาโรคเหงือก เลือดออกตามไรฟัน การศัลยกรรมปลูกเหงือกให้สวยงาม และปลูกกระดูกเบ้าฟันให้กระดูกแข็งแรง

นอกจากนี้ ยังรวมถึงการให้การรักษาตกแต่งเหงือกให้เกิดความสวยงาม หรือ เตรียมพร้อมสำหรับครอบฟันให้มีความสวยงามตามธรรมชาติ

โรคเหงือกอักเสบ – โรคปริทันต์อักเสบ ป้องกันได้!

เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคปริทันต์อักเสบ โดยทั่วไปควรเข้ารับขูดหินปูนอย่างน้อย ปีละ 1-2 ครั้ง เพราะโรคปริทันต์อักเสบจะทำให้เกิดฟันโยก, เสียวฟัน, เคี้ยวอาหารไม่มีแรง หรือ เหงือกบวมจากการติดเชื้อได้

โดนทันตแพทย์จะเริ่มทำการขูดหินปูนจะโดยการใช้เครื่องขูดหินปูนขูดตามซอกฟัน ใต้เหงือกบางตำแหน่ง และขัดฟันด้วยผงขัดผสมฟลูออไรด์

เมื่อทำความสะอาดฟันแล้ว ทันตแพทย์จะสามารถประเมินและเช็คปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น ฟันผุ, โรคเหงือก, การติดเชื้อ และอื่นๆ ปัญหาดังกล่าวสามารถตรวจได้โดยการมองเห็นหลังจากที่ได้ทำการขจัดคราบสะสมบนตัวฟันแล้ว หากจำเป็นที่ต้องตรวจตำแหน่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ทันตแพทย์จะแนะนำการถ่ายเอกซ์เรย์ในช่องปากเพิ่มเติม

*ผู้ป่วยโรคเหงือกควรพบทันตแพทย์เพื่อทำความสะอาดฟันหรือขูดหินปูนทุกๆ 6 เดือน หรือ 1 ปี ขึ้นอยู่กับแต่ละกรณี

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายทันตกรรมปริทันต์

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#คลินิกทันตกรรม #BPDC #โรคเหงือกอักเสบ #โรคปริทันต์