อาการฟันโยก สัญญาณอันตรายที่ไม่ควรมองข้าม

อาการฟันโยก สัญญาณอันตรายที่ไม่ควรมองข้าม

สาเหตุส่วนใหญ่ของปัญหาฟันโยก จะมีความแตกต่างกันระหว่างฟันน้ำนมกับฟันแท้ ในช่วงฟันน้ำนม เป็นสัญญาณของการงอกของฟันแท้ในช่วงเด็กวัย 6-12 ปี หากเป็นฟันโยกของฟันแท้ อาการฟันโยกจะเกิดได้ทั้งการกระแทกของฟัน รากฟันไม่แข็งแรง รวมถึงเกิดจากโรคปริทันต์ โดยจะให้น้ำหนักทางโรคปริทันต์ จะเป็นการติดเชื้อในเหงือกและกระดูกรอบๆ ฟัน ในระยะลุกลามของโรคปริทันต์ อาการฟันโยกเป็นสัญญาณทางคลินิกที่อาจสะท้อนถึงระดับของการทำลายปริทันต์ ที่เกิดจากการติดเชื้อเฉพาะที่ในเหงือกและโครงสร้างรอบๆ ฟัน (เอ็นและกระดูกถุงในฟัน) และกระทบต่อความมั่นคงของเหงือกและฟันในการขบเคี้ยว การติดเชื้อเหล่านี้เกิดจากแบคทีเรีย ที่เกิดจากคราบสิ่งสกปรกสะสมในช่องปากด้วย

ในผู้ใหญ่จะมีความเสี่ยงของอาการฟันโยกค่อนข้างมาก เนื่องจากเป็นช่วงที่ฟันแท้ขึ้นครบหมดแล้ว แต่มีความเสี่ยงในการดำเนินชีวิตบางอย่าง ที่กระทบต่อสุขภาพช่องปาก และเป็นกลุ่มที่พบแผนกทันตกรรมบ่อยมากในวัยนี้ จึงไม่แปลกใจว่าทำไมฟันผู้ใหญ่จึงมีการโยกออกมา โดยสาเหตุของอาการฟันโยก จะแบ่งได้ดังนี้

สาเหตุของอาการฟันโยก

  1. การบาดเจ็บที่เกิดกับฟันเนื่องจากการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ  หรือการหกล้มอย่างหนักจนมีอาการฟันโยก บางรายอาจจะเกิดจากการเล่นกีฬา เช่น กีฬาต่อสู้ กีฬาฟุตบอล หรือกีฬาที่มีการปะทะหนักๆ
  2. การสบฟันผิดรูป เช่น การสบฟันลึกที่ทำให้ฟันเคี้ยวมากเกินไป ทำให้เคลื่อนตัว การนอนกัดฟันหรือการกัดฟันเป็นนิสัย ทั้งโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว
  3. โรคปริทันต์อักเสบหรือโรคเหงือก จะมีอาการเหงือกร่น ฝีเหงือก ซีสต์หรือเนื้องอกในขากรรไกร
  4. การสูบบุหรี่ อาการฟันโยกมาจากการสูบบุหรี่ ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพเหงือกและช่องปากโดยตรง และทำให้สะสมแบคทีเรียง่ายขึ้น จึงเสี่ยงต่อโรคฟันหรือปริทันต์เข้ามาด้วย

อาการของฟันโยก

อาการฟันโยกที่พบบ่อย ซึ่งสังเกตได้จากความผิดปกติทางกายภาพ โดยเริ่มเสียวฟันโดยรอบ จากนั้นจะมีอาการอื่นๆ ตามมา เนื่องจากสุขภาพช่องปากขาดการดูแลรักษาความสะอาด ซึ่งจะมีอาการดังนี้

  • ฟันเริ่มโยก
  • รอยแดงของเนื้อเยื่อรอบๆ ฟัน
  • ความเจ็บปวดหรือไม่สบายตามรอบๆ ฟันและเหงือก
  • การเคี้ยวอาหารลำบาก
  • มีอาการเจ็บ หรือมีปัญหาเหงือกที่บอบบาง

หากมีอาการเหล่านี้ ทันตแพทย์จะประเมินสถานการณ์โดยใช้เครื่องมือทางคลินิกและค่อยๆ เช็คช่องปากไปมา หากทันตแพทย์มั่นใจว่ามีอาการฟันโยก ทางทันตแพทย์จะแนะนำวิธีการแก้ไขที่เหมาะสม เพื่อลดปัญหาที่เกิดขึ้น บางรายอาจจะต้องเอ็กซเรย์เพื่อดูความผิดปกติของช่องปากและขากรรไกรร่วมด้วย

วิธีการรักษาฟันโยก

หากตรวจอาการฟันโยกพบว่าเคลื่อนไหวได้เนื่องจากการสบฟันที่ไม่ถูกต้อง จะได้รับคำแนะนำให้รักษาเพื่อแก้ไขการสบฟันเพื่อบรรเทาการบดเคี้ยวที่กระทบกระเทือนต่อสุขภาพช่องปาก และรบกวนต่อจิตใจ โดยมีวิธีการรักษาได้ดังนี้

  • ในกลุ่มเล่นกีฬาอันตราย จะต้องสวมฟันยางที่ออกแบบโดยทันตแพทย์ เนื่องจากตามร้านอุปกรณ์กีฬา จะไม่ตอบโจทย์ทางทันตกรรมของบุคคลนั้น และไม่รองรับอันตรายต่อฟันได้
  • หากมีซีสต์หรือเนื้องอกทำให้เกิดอาการปวดและเคลื่อนไหวได้ ควรรักษาอาการก่อน แล้วค่อยรักษาอาการฟันโยก เนื่องจากซีสต์จะลุกลามรวดเร็ว และทำให้การบดเคี้ยวไม่ดี
  • การทำความสะอาดฟันอย่างถูกวิธีที่คลินิก ซึ่งจะมีการทำความสะอาดโดยทันตแพทย์ การใช้ไหมขัดฟัน และการขูดหินปูน ซึ่งช่วยป้องกันอาการฟันโยกและโรคปริทันต์ได้
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรือรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม
  • ไปที่คลินิกทันตกรรมอย่างน้อยปีละสองครั้ง

อาการผิดปกติของฟันโยก เป็นสัญญาณทางทันตกรรมที่ร้ายแรง ไม่ควรมองข้ามอาการฟันโยกเลย เนื่องจากมันเป็นอาการเสี่ยงของโรคปริทันต์ ซึ่งเป็นโรคที่อันตรายอย่างมากของสุขภาพช่องปาก อย่างไรก็ตาม เราสามารถทำได้โดยปฏิบัติตามหลักสุขอนามัยในช่องปากที่ดี เริ่มจากการรักษาความสะอาดที่บ้าน ทุกคนอาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดฟันโยก จนกระทั่งฟันหลุดจากสาเหตุใดๆ ที่กล่าวถึงก่อนหน้านี้ แต่การดูแลช่องปาก ต้องดูแลอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันสัญญาณอันตรายที่เกิดขึ้น เว้นแต่ในกรณีอาการฟันโยกเกิดจากอาการผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ อยากให้ปรึกษาทันตแพทย์โดยตรงเพื่อวินิจฉัยสาเหตุ รวมถึงการรักษาในลำดับต่อไป

สอบถามเพิ่มเติมและตรวจสุขภาพฟัน
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ทันตกรรม #ตรวจสุขภาพฟัน #คลินิกทันตกรรม