ขั้นตอนการรักษารากฟัน ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

ขั้นตอนการรักษารากฟัน ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

ถ้าพูดถึงการรักษารากฟันแล้วล่ะก็ หลายคนคงคิดกับส่ายหน้า ขยาดกันไปตาม ๆ กัน กลัวในกิตติศัพท์ว่าจะต้องเจ็บมากแน่ ๆ จนมีคนจำนวนไม่น้อย เลือกที่จะปล่อยปะละเลย จนกระทั่งเชื้อโรคลุกลามไปมาก ยากเกินจะแก้ไข หรือกับคนอีกกลุ่มหนึ่งอาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการรักษา จึงยอมที่จะถอนฟันทิ้งไป มองเผิน ๆ การถอนฟันดูไม่น่าเป็นอะไรมาก แต่แท้จริงแล้ว การมีฟันอยู่มันดีกว่าเยอะนะคะ เท่ากับว่าประสิทธิภาพการบดเคี้ยวยังสามารถทำได้ดีกว่าการสูญเสียฟัน วันนี้เราจะพาทุกคนไปดูขั้นตอนการรักษารากฟันกันค่ะ ว่าน่ากลัวอย่างที่กลัวกันหรือเปล่า
            การรักษารากฟันเป็นวิธีที่จะช่วยให้เราลดความสูญเสียฟันลงไปได้ โดยการรักษารากฟันนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ
          1. การรักษารากฟันด้วยวิธีปกติ
         
จะเริ่มจากการที่ทันตแพทย์จะเอกซเรย์เพื่อตรวจวัดความยาวของคลองรากฟัน และจากนั้นทำความสะอาดภายในคลองรากฟันเพื่อเป็นการจัดเนื้อเยื่อที่มีปํญหา รวมถึงแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรค แล้วทันตแพทย์จะใช้วัสดุสำหรับอุดคลองรากฟัน โดยที่ฟันตรงจุดนั้นจะไม่ได้รับการอุดอย่างถาวร จนกว่าจะทำการขจัดเชื้อบริเวณรากฟันดังกล่าวออกไปจนหมดจากโพรงประสาทและคลองรากฟันนั่นเองค่ะ
          2. การรักษาฟันด้วยการผ่าตัดปลายรากฟัน
         
วิธีนี้จะทำก็เมื่อวิธีที่แรกไม่ได้ผล โดยทันตแพทย์จะทำการผ่าตัดในตำแหน่งของปลายรากฟันที่เกิดหนอง จากนั้นจะทำการตัดปลายรากฟันบางส่วน ซึ่งในปัจจุบันนี้ ทันตแพทยน์จะใช้เครื่องมืออย่างกล้องจุลศัลยกรรมในการขยายคลองรากฟันที่มีขนาดเล็กให้ชัดยิ่งขึ้น การใช้เครื่องมือดังกล่าวจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาที่แม่นยำ หลังจากนั้น จะทำการใข้วัสดุเข้าไปอุดในส่วนของปลายรากฟันที่ได้ทำความสะอาดไว้ในตอนแรก วัสดุดังกล่าวนี้นั้นจะไม่ทำให้เกิดผลข้างและอันตรายต่อเนื้อเยื่อภายในรอบ ๆ ปลายรากฟัน

ขั้นตอนในการรักษารากฟัน
            ด้วยความที่รากฟันมีขนาดที่เล็ก จึงต้องมีทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะในการทำการรักษารากฟันโดยเฉพาะ และขั้นตอนในการรักษารากฟัน ก็ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่หลาย ๆ คนคิด ซึ่งจะมีขั้นตอนดังนี้
            1. เริ่มแรก ทันตแพทย์จะฉีดยาชา โดยจะใช้เป็นแผ่นยางบาง ๆ สำหรับแยกฟันที่มีปัญหาออกจากฟันซี่อื่น เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนไปยังฟันซี่ข้าง ๆ กัน
            2. ทันตแพทย์จะจัดการนำเอาฟันที่ผุออก โดยเอาส่วนที่เสียหายออก และกำจัดเนื้อฟันที่อักเสบหรือติดเชื้อออกตั้งแต่ส่วนต้นไปจนถึงส่วนของโพรงประสาทฟัน
            3. ทำความสะอาดรากฟันในส่วนที่ดำเนินการ และนำยาใส่ลงไปในคลองรากฟัน
            4. ใช้วัสดุอุดเพื่อปิดเอาไว้ชั่วคราว เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำ


            อย่างไรก็ตาม การรักษารากฟันอาจจะไม่ได้จบสิ้นในครั้งนี้ จำเป็นต้องใช้เวลาในการรักษาหลายครั้งในการทำความสะอาด นอกจากนี้ ยังต้องเปลี่ยนยาที่ใช้ในคลองรากฟันเพื่อฆ่าเชื้อที่มีอยู่จนกว่าเชื้อนั้นจะหมดไป หรือจะต้องรอจนกว่าการอักเสบนั้นจะหายดี


            อย่างที่กล่าวไว้ในตอนต้นว่าการรักษารากฟันเกิดขึ้นจากการที่ปล่อยละเลย ไม่ดูแลรักษาฟันตั้งแต่ที่เริ่มมีอาการ ทำให้เชื้อโรคนั้นลุกลามจนมีอาการที่รุนแรงมาก และส่งผลให้ประสิทธิภาพการใช้งานลดลง รวมถึงการรักษาก็จะมีความยากขึ้นตามระยะความรุนแรง ดังนั้น เราจึงควรดูแลรักษาความสะอาดของฟันให้ดี เพื่อเป็นการป้องกันในการเกิดโรค สิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงเสมอคือ การป้องกันย่อมเกิดผลที่ดีกว่าการมารักษาแล้ว


สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายรักษารากฟัน

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829

Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental

ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

www.bpdcdental.com

#BPDC #คลินิกทันตกรรม #รักษารากฟัน #รากฟัน #ทำฟัน