ฟันคุดแบบไหนไม่ต้องผ่า

ฟันคุดแบบไหนไม่ต้องผ่า

ฟันคุดบางกรณีอาจไม่จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด ซึ่งทันตแพทย์จะเป็นผู้ประเมินความจำเป็นในการรักษาตามสภาพของฟันคุดแต่ละราย โดยทั่วไป ฟันคุดที่อาจไม่ต้องผ่าตัด มีลักษณะดังนี้

  1. ฟันคุดที่ไม่มีอาการ – หากฟันคุดไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวด บวม หรือการติดเชื้อใดๆ และไม่ส่งผลต่อการสบฟันหรือการเรียงตัวของฟัน ก็อาจไม่จำเป็นต้องถอนออก
  2. ฟันคุดที่ขึ้นเต็มที่แล้ว – หากฟันคุดขึ้นมาอยู่ในแนวเดียวกับฟันซี่อื่นๆ และสามารถใช้งานได้ตามปกติ ก็ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดเอาออก
  3. ฟันคุดที่อยู่ลึกในกระดูก – หากฟันคุดฝังอยู่ลึกในกระดูกขากรรไกรและไม่มีแนวโน้มที่จะขึ้นมา ก็อาจไม่จำเป็นต้องผ่าตัด เพราะการผ่าอาจทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อและเสียหายต่อเส้นประสาทมากกว่า
  4. ฟันคุดในผู้สูงอายุ – ในผู้ป่วยสูงอายุที่มีสุขภาพไม่แข็งแรง การผ่าตัดฟันคุดอาจมีความเสี่ยงสูงกว่าประโยชน์ที่จะได้รับ จึงอาจพิจารณางดการผ่าตัดได้
  5. ฟันคุดที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ – ในบางกรณีที่ตำแหน่งของฟันคุดอยู่ใกล้อวัยวะสำคัญ เช่น เส้นประสาท หรือมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน แพทย์อาจแนะนำให้งดการผ่าตัดเพื่อความปลอดภัย

อย่างไรก็ตาม ทันตแพทย์เป็นผู้ที่สามารถวินิจฉัยได้อย่างถูกต้องว่าฟันคุดของแต่ละคนจำเป็นต้องผ่าหรือไม่

ทันตแพทย์จะพิจารณาจากหลายปัจจัย เช่น:

  • ตำแหน่งของฟันคุด
  • แนวการขึ้นของฟันคุด
  • พื้นที่ในช่องปาก
  • สุขภาพของฟันซี่อื่น กระดูก และเนื้อเยื่อรอบข้าง
  • อาการของผู้ป่วย

โดยทั่วไป ทันตแพทย์จะแนะนำให้ผ่าฟันคุดในกรณีดังต่อไปนี้:

  • ฟันคุดขึ้นเอียง เบียดฟันซี่ข้างเคียง
  • ฟันคุดฝังอยู่ในเหงือก มองไม่เห็น
  • ฟันคุดมีฟันซี่อื่นขึ้นมาด้านหน้า ขวางการขึ้นของฟันคุด
  • ฟันคุดทำให้เกิดการอักเสบ ติดเชื้อ หรือปวดบวม
  • ฟันคุดส่งผลต่อสุขภาพของฟันซี่อื่น กระดูก หรือเนื้อเยื่อรอบข้าง

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับฟันคุด ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาและรับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง

อย่างไรก็ตาม สำหรับฟันคุดที่อาจก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพช่องปากในอนาคต เช่น ทำให้เกิดการติดเชื้อ อักเสบ หรือผลักให้ฟันซี่อื่นเกิดการเบียดเสียด แพทย์มักแนะนำให้ผ่าตัดเอาออกเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ดังนั้น จึงควรปรึกษาทันตแพทย์เพื่อประเมินลักษณะของฟันคุดเป็นรายบุคคล และวางแผนการรักษาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับสุขภาพช่องปากของตนเอง

  สอบถามเพิ่มเติมและตรวจสุขภาพฟัน โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829 Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental https://bpdcdental.com/ ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ทันตกรรม #ตรวจสุขภาพฟัน #คลินิกทันตกรรม

ฟันคุดแบบไหนอันตราย

ฟันคุดแบบไหนอันตราย

ฟันคุด (ฟันปรีชาญาณ) คือฟันที่เติบโตมาเป็นที่สุดในวัยผู้ใหญ่ และมักจะเป็นฟันที่มีปัญหาส่วนใหญ่มากที่สุดเมื่อเทียบกับฟันชนิดอื่นๆ ภายในช่องปาก เนื่องจากตำแหน่งของฟันคุดมักจะอยู่ด้านในสุดของช่องปาก ทำให้การเติบโตของฟันคุดมักจะมีปัญหา เช่น ฟันคุดไม่สามารถเติบโตออกมาในทิศทางที่ถูกต้อง หรือฟันคุดที่เติบโตแนบเนียนกับฟันข้างเคียงแล้วทำให้เกิดการอักเสบ

ฟันคุดที่อาจก่อให้เกิดความอันตรายและควรพิจารณาการถอน มีดังนี้:

  1. ฟันคุดที่ไม่สามารถเติบโตออกมาได้เต็มที่ (Impacted Wisdom Teeth): หากฟันคุดไม่มีพื้นที่เพียงพอในช่องปากหรือมีการโตในทิศทางที่ผิดปกติ อาจจะทำให้ฟันคุดเป็นฟันฝังในเนื้อเยื่อหรือกระดูก ซึ่งสามารถก่อให้เกิดการอักเสบ และก้อนเนื้อแผลเป็นรอบ ๆ ฟันคุด
  2. ฟันคุดที่ทำให้เกิดการอักเสบ: การอักเสบรอบ ๆ ฟันคุดสามารถก่อให้เกิดการระบาดเชื้อแบคทีเรียไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย
  3. ฟันคุดที่ทำให้เกิดการเสียดทานกับฟันข้างเคียง: ฟันคุดที่เติบโตในทิศทางที่ผิดปกติอาจจะทำให้เกิดการเสียดทานกับฟันข้างเคียง
  4. ฟันคุดที่ทำให้เกิดปัญหาที่เหงือก: เนื่องจากตำแหน่งของฟันคุดอยู่ด้านในสุดของช่องปาก การทำความสะอาดฟันคุดอาจจะยาก และเกิดการสะสมของเชื้อแบคทีเรียที่เหงือก ทำให้เกิดการอักเสบที่เหงือก

ถึงแม้ว่าฟันคุดในบางกรณีอาจไม่แสดงอาการปัญหา แต่เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ควรปรึกษาทันตแพทย์เพื่อประเมินสถานะของฟันคุดและการรักษาที่เหมาะสม.

ฟันปลอม มีกี่แบบ ควรเลือกแบบไหนดี

ฟันปลอมหรือฟันสังเคราะห์มีหลายแบบ การเลือกเลือกฟันปลอมขึ้นอยู่กับความต้องการ, งบประมาณ, และคำแนะนำจากทันตแพทย์ โดยทั่วไปมีแบบดังนี้:

  1. ฟันปลอมแบบถอนได้ (Removable Dentures)
    • Partial Denture: ใช้เมื่อขาดฟันบางซี่ สามารถถอนออกได้ มักมีส่วนของโลหะเป็นโครงสร้าง
    • Full Denture: ใช้เมื่อขาดฟันทั้งช่องปาก สามารถถอนออกได้
  2. ฟันปลอมแบบเต็ม (Fixed Prosthodontics)
    • Dental Crowns: เป็นฟันปลอมที่หุ้มฟันที่เสียหาย สามารถใช้กับฟันที่สึกหรือกรามหลังจากการอัดฟัน
    • Dental Bridge: ใช้เมื่อมีการขาดฟัน 1-3 ซี่ โดยจะใช้ฟันข้างเคียงเป็นสนับสนุน สร้าง “สะพาน” เชื่อมข้ามที่ฟันขาด
  3. Implants (ฟันปลูก)
    • เป็นการวางโครงสร้างที่ทำจากโลหะ (ส่วนมากเป็นไททาเนียม) ลงในกระดูกของกรามฟัน แล้วค่อยหุ้มด้วย crown เพื่อให้ดูเหมือนฟันจริง

คำแนะนำในการเลือกฟันปลอม:

  • ควรปรึกษากับทันตแพทย์เกี่ยวกับสถานะการสูญเสียฟัน, ฟันที่เหลือ, และกระดูกฟัน เพื่อวินิจฉัยและแนะนำรูปแบบของฟันปลอมที่เหมาะสม
  • พิจารณางบประมาณ: ราคาการรักษาแตกต่างกันอย่างมาก โดยทั่วไป implants จะมีราคาสูงกว่าแบบอื่น
  • ความสะดวกสบาย: การรักษาและการดูแลรักษาหลังการรักษาจะต่างกัน ต้องการความคิดมากหรือน้อยเพียงใด
  • ความทนทานและการทำงานในระยะยาว: ฟันปลูก (implants) มีความทนทานและใกล้เคียงฟันจริงมากที่สุด แต่ก็ต้องการการดูแลในระยะยาว

ในทุกกรณี, การตัดสินใจเลือกฟันปลอมควรตามคำแนะนำของทันตแพทย์และความสะดวกสบายของผู้รับการรักษา.

สอบถามเพิ่มเติมและตรวจสุขภาพฟัน
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ทันตกรรม #ตรวจสุขภาพฟัน #คลินิกทันตกรรม #ฟันเป็นรู

ปวดฟันคุด..สัญญาณเตือนภัยร้ายในช่องปาก

ปวดฟันคุด..สัญญาณเตือนภัยร้ายในช่องปาก

“ฟันคุด” หนึ่งในปัญหาช่องปากที่เป็นฝันร้ายและสร้างความรำคาญใจให้กับใครหลายคน เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วได้สร้างความเจ็บปวดอย่างมากมายจนวิ่งไปหาหมอฟันแทบไม่ทันกันเลยทีเดียว และสุดท้ายก็จะต้องจบลงด้วยการผ่าออก แท้จริงแล้วฟันคุดคืออะไร มีสาเหตุมาจากอะไร ถ้าหากปล่อยเอาไว้จะสร้างความเสียหายอย่างไร และจำเป็นมากน้อยแค่ไหนที่ต้องผ่าออก วันนี้เรามีเรื่องราวดีๆเกี่ยวกับ “ฟันคุด” มาแบ่งปันกันค่ะ

ฟันคุดคืออะไร

ฟันคุด (Impacted Tooth, Wisdom Tooth) เป็นฟันที่ฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกรโดยไม่สามารถขึ้นมาได้ตามปกติในช่องปากเหมือนฟันซี่อื่นๆ ซึ่งอาจจะโผล่ออกมาให้เห็นเพียงบางส่วนเท่านั้น เนื่องจากฟันคุดขึ้นมาช้ากว่าฟันซี่อื่นจึงทำให้ไม่มีช่องว่างที่จะโผล่ขึ้นมาได้  ซึ่งโดยปกติฟันคุดจะมีทั้งหมด 4 ซี่ด้วยกัน คือในบริเวณด้านในของช่องปากทั้งบนและล่าง เกิดขึ้นได้ทั้งฝั่งซ้ายและขวา สามารถพบได้บ่อยที่บริเวณฟันกรามซี่สุดท้ายซึ่งอยู่ด้านในสุดของกระดูกขากรรไกรล่าง

ฟันคุดเกิดจากอะไร

ปกติแล้วฟันคุดก็คือฟันซี่ที่ควรจะเกิดขึ้นในช่วงอายุประมาณ 16-25 ปี อาจเป็นไปได้ที่จะโผล่ขึ้นมาในลักษณะตั้งตรง เอียงหรือนอนในแนวราบ แต่ฟันคุดคือฟันที่พยายามจะงอกขึ้นมาแต่ไม่สามารถขึ้นมาได้เนื่องจากมีฟันเนื้อเยื่อหรือกระดูกปิดขวางฟันที่กำลังจะขึ้นมานั่นเอง เมื่อฟันคุดพยายามที่จะงอกขึ้นมา ทำให้เกิดแรงผลักดันและเป็นไปได้ว่าจะมีการเบียดฟันซี่ข้างๆ นี่จึงเป็นที่มาของอาการปวดฟันคุดอย่างรุนแรงและสร้างความทรมานให้กับผู้ที่เป็นอย่างมาก

อาการของฟันคุดเป็นอย่างไร

โดยทั่วไป “ฟันคุด” ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ยกเว้นในกรณีที่ตัวฟันโผล่ขึ้นมาเหนือเหงือก จะต้องใช้วิธีการเอกซเรย์จึงจะสามารถมองเห็นได้ อาการที่พบส่วนใหญ่คือรู้สึกเจ็บปวดที่บริเวณฟันคุดมากหรือมีการอักเสบรอบๆเหงือก บางรายแก้มบวม อ้าปากได้น้อย กลืนน้ำลายแล้วเจ็บคอ หรือที่หนักกว่านั้น ในบางรายอาจมีอาการบวมและติดเชื้อ จนลุกลามไปถึงใบหน้า แก้ม และลำคอได้อีกด้วย

ผลกระทบจากฟันคุด

การปล่อยฟันคุดทิ้งเอาไว้นานๆ สามารถทำให้เกิดโทษหรือผลกระทบกับส่วนอื่นๆในช่องปากได้ เช่น

  • ฟันคุดทำให้เกิดฟันผุ 
    เนื่องจากฟันคุดเป็นฟันที่ผิดรูป ทำให้เป็นแหล่งที่กักเก็บเศษอาหารได้เป็นอย่างดี และอาจจะเนื่องด้วยตำแหน่งของฟันคุดที่อยู่ลึกด้านในใกล้ลำคอ ทำให้ยากต่อการทำความสะอาด และเกิดฟันผุขึ้นมาได้และนอกจากนั้นยังสามารถลุกลามไปยังฟันซี่ที่อยู่ข้างๆได้ด้วยเช่นกัน
  • ฟันคุดทำให้เหงือกอักเสบ
    ฟันคุดบางซี่ตัวฟันอาจจะโผล่ออกมาเหนือเหงือกไม่หมด เมื่อเหงือกเข้าไปปกคลุมฟัน อาจทำให้เศษอาหารเข้าไปสะสมอยู่ใต้เหงือก ทำความสะอาดได้ยาก เป็นที่มาของเชื้อแบคทีเรียและทำให้เกิดอาการอักเสบ ปวด บวมและเป็นหนองตามมา ที่ร้ายแรงกว่านั้น ยังเป็นการเพิ่มโอกาสในการกระจายเชื้อโรคไปยังส่วนอื่นๆจนเกิดการติดเชื้อ ลุกลามไปยังช่องคอ ทำให้หายใจไม่ออกได้เช่นกัน
  • ฟันคุดมีโอกาสทำให้เกิดถุงน้ำ
    เมื่อเกิดฟันคุดขึ้น เนื้อเยื่อที่อยู่โดยรอบสามารถพัฒนากลายเป็นถุงน้ำหรือเนื้องอกได้ และที่สำคัญฟันคุดที่มักอยู่ติดกับขากรรไกร มันจะเกิดการดัน และเบียดกระดูกขากรรไกร ส่งผลให้ใบหน้าผิดรูปในอนาคต

จำเป็นต้องผ่าฟันคุดออกหรือไม่

ในการผ่าฟันคุดนั้น แพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยโดยพิจารณาจากองค์ประกอบอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งของฟันคุด ระยะห่างของฟันคุดกับเส้นประสาท รวมถึงอายุของคนไข้ด้วย ซึ่งโดยมาก แพทย์มักแนะนำให้ผ่าฟันคุดออกในทุกกรณี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นควรมีการขอคำแนะนำจากแพทย์ทุกครั้งซึ่งจะเกี่ยวข้องกับกระบวนการรักษาตามมา

ลักษณะของฟันคุดที่จำเป็นต้องผ่าออก

ลักษณะของฟันคุดที่มีความจำเป็นต้องผ่า เพราะสร้างปัญหาและผลกระทบในช่องปากระยะยาว มีอยู่ 2 ลักษณะใหญ่ๆ ดังนี้

  1. ฟันคุดที่มีเหงือกคลุม (soft tissue impaction) 
    ลักษณะคือตัวของฟันคุดมีลักษณะตั้งตรง แล้วมีเหงือกที่ปกคลุมฟันคุดซี่นั้นเอาไว้ ในกรณีนี้สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าเปิดเหงือกออกร่วมกับการถอนฟันคุด
  2. ฟันคุดที่มีกระดูกคลุม (bony impaction) 
    ลักษณะอาการในกรณีนี้คือมีทั้งเหงือกและกระดูกที่คลุมฟันคุดเอาไว้  ส่วนลักษณะของฟันคุดก็มีทั้งแบบตั้งตรง เอียง หรือนอน การรักษาสามารถทำได้โดยการกรอกระดูกร่วมกับการแบ่งฟันคุดเป็นส่วนๆ เพื่อนำฟันคุดออกมา

อาการข้างเคียงหลังผ่าฟันคุด

อาการแทรกซ้อนหลังจากการรักษาฟันคุดโดยการผ่านั้นสามารถเกิดขึ้นได้ เช่น มีเลือดออกบริเวณผ่าตัด ปวดแผลผ่าตัด ซึ่งเป็นอาการปกติทั่วไป แต่ถ้าหากมีอาการที่ผิดปกติ กรณีเช่น มีเลือดไหลจากแผลผ่าตัดมากกว่าปกติ บางรายมีไข้ หรือเกิดการติดเชื้อหลังการผ่าตัด และถ้าในกรณีที่อาการปวดบวมไม่ทุเลาลงเลย มีกลิ่นปาก เจ็บแปลบหรือเกิดอาการชาที่ใบหน้า ริมฝีปากหรือลิ้น ให้รีบไปพบทันตแพทย์ทันที

ข้อควรปฏิบัติหลังผ่าฟันคุด

หลังผ่าตัดฟันคุดมีข้อควรปฏิบัติดังต่อไปนี้

  • ห้ามบ้วนเลือดหรือน้ำลายทันทีในวันที่ผ่าตัด เพราะอาจจะทำให้เลือดไหลไม่หยุด แต่ให้กัดผ้าก๊อตประมาณ 1-2 ชั่วโมง จากนั้นให้กลืนน้ำลายตามปกติได้
  • ควรประคบน้ำแข็งบริเวณแก้มในช่วง 3-5 วันแรก เพื่อลดอาการบวม
  • หลังจากที่ผ่าตัดอาจจะมีอาการตึงๆบริเวณแก้มในด้านที่ผ่าตัด ให้บริหารกล้ามเนื้อบริเวณนั้นด้วยการฝึกอ้าปาก
  • สามารถรับประทานยาแก้ปวดและยาปฏิชีวนะตามที่แพทย์สั่ง เพื่อบรรเทาอาการปวด
  • ให้รับประทานอาหารชนิดอ่อนๆประมาณ 1 สัปดาห์หลังผ่าตัด เพื่อจะได้ไม่กระทบกระเทือนต่อแผลในช่องปาก
  • สามารถแปรงฟันได้ตามปกติอย่างเบามือ และกลับไปตัดไหมหลังจากที่ผ่าตัดได้ 5-10 วัน

“ฟันคุด” เป็นฟันที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในลักษณะที่ผิดปกติ ดังนั้นควรมีการตรวจสุขภาพช่องปากและฟันเป็นประจำ เมื่อพบอาการผิดปกติใดๆจะได้ทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที และในการผ่าตัดรักษาฟันคุดก็ไม่ได้น่ากลัวเกินไป เมื่อเทียบกับโทษที่อาจจะเกิดขึ้นถ้าหากปล่อยเอาไว้ เพราะนอกจากจะเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคร้ายแล้ว อาจลุกลามสร้างความเสียหายไปยังอวัยวะอื่นได้ด้วยเช่นกัน

สอบถามเพิ่มเติมและตรวจสุขภาพฟัน
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ทันตกรรม #ตรวจสุขภาพฟัน #คลินิกทันตกรรม

7 ข้อควรรู้ อันตรายจากการผ่าฟันคุด

7 ข้อควรรู้ อันตรายจากการผ่าฟันคุด

7 ข้อควรรู้ อันตรายจากการผ่าฟันคุด

เราคงเคยได้ยินกันมาบ้างว่า ฟันคุดเก็บเอาไว้ไม่ดี เพราะอย่างไรก็ต้องผ่าออกอยู่ดี แต่แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคนจะกล้าผ่า บางคนไม่ได้กลัวเจ็บอย่างแต่กลัวว่าผ่าไปแล้วจะส่งผลเสียมากกว่าผลดีหรือเปล่า ก็พาลให้ไม่ยอมผ่าไปอีก ซึ่งอันที่จริงแล้วหากลองพิจารณาจะพบว่าการผ่าฟันคุดมีข้อดีกว่าการไม่ผ่าด้วยค่ะ แต่ไม่ได้หมายความว่า ผ่าฟันคุดไปแล้วจะไม่มีอาการผิดปกติอะไร เราจะพาไปดูข้อควรรู้เกี่ยวกับอันตรายจากการผ่าฟันคุด

ฟันคุด ไม่ผ่าได้ไหม

ก่อนที่เราจะไปถึงเรื่องอันตรายจากการผ่าฟันคุด เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า จริง ๆ แล้วนั้น ถ้ามีฟันคุด ไม่ผ่าได้ไหม? ต้องบอกเลยว่า ใม่ผ่าได้คะ ถ้าคุณสามารถทนปวดได้ และสามารถทนกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปนี้ได้

ถ้าไม่ผ่าฟันคุด

  • เหงือกบริเวณที่คลุมฟันจะเกิดอาการอักเสบ เพราะอาจมีเศษอาหารเข้าไปติดอยู่ใต้เหงือก ทำความสะอาดได้ไม่ดีพอ จนเกิดเหงือกอักเสบ ปวด บวมและเป็นหนอง หากทิ้งไว้เชื้อจะกระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
  • ฟันข้างเคียงผุ เพราะซอกฟันระหว่างฟันคุดกับฟันกรามซี่ที่สองที่อยู่ชิดกันนั้น ทำความสะอาดได้ยาก เศษอาหารจะติดค้างอยู่ทำให้เกิดฟันผุได้ทั้งสองซี่
  • กระดูกละลายตัว เพราะแรงดันจากฟันคุดที่พยายามดันขึ้นมา อาจทำให้กระดูกรอบรากฟัน หรือรากฟันข้างเคียงถูกทำลายไปได้
  • เกิดถุงน้ำหรือเนื้องอก เพราะฟันคุดที่ทิ้งไว้นาน อาจเกิดเนื้อเยื่อหุ้มรอบฟันคุด อาจทำให้เนื้อเยื่อขยายใหญ่ขึ้นกลายเป็นถุงน้ำ
  • กระดูกขากรรไกรหัก เนื่องจากการที่มีฟันคุดฝังอยู่ จะทำให้กระดูกขากรรไกรบริเวณนั้นบางกว่าตำแหน่งอื่น เกิดเป็นจุดอ่อน เมื่อได้รับอุบัติเหตุ หรือกระทบกระแทก กระดูกขากรรไกรบริเวณนั้นก็จะหักได้ง่าย

อันตรายจากการผ่าฟันคุด

หากเลือกผ่าฟันคุด ก็สามารถพบอันตรายจากอาการข้างเคียง รวมถึงโรคแทรกซ้อนที่สามารถเกิดขึ้นภายหลังจากที่ผ่าฟันคุดไปแล้วเช่นกัน แน่นอนว่าอาการดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน ซึ่งข้อควรรู้เกี่ยวกับอาการนั้นมีดังนี้

  1. เป็นไข้หรือมีการติดเชื้อหลังการผ่าฟันคุด
  2. ขากรรไกรแข็งหรือมีอาการอ้าปากได้ลำบาก
  3. กระดูกเบ้าฟันอักเสบ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่สามารถพบได้บ่อยที่สุดหลังจากการผ่าฟันคุด เกิดจากการที่ลิ่มเลือดไม่แข็งตัวภายในกระดูกเบ้าฟัน หรือลิ่มเลือดภายในกระดูกเบ้าฟันหลุดไป จนทำให้กระดูกเบ้าฟันว่างและแห้ง และเกิดอาการปวด นอกจากนี้ อาจมีกลิ่นและรสไม่พึงประสงค์ออกมาจากบริเวณกระดูกเบ้าฟัน ซึ่งมักจะเกิดขึ้นจากการดูแลได้ไม่ดีหลังการผ่าฟันคุด
  4. อาการบาดเจ็บที่เส้นประสาทใบหน้า จะมีอาการเจ็บแปลบและชาบริเวณลิ้น ริมฝีปากล่าง คาง ฟัน และเหงือกได้ อาการบาดเจ็บดังกล่าวจะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเพียงไม่กี่สัปดาห์ หรือไม่กี่เดือน ซึ่งอาการดังกล่าวนี้จะส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันได้ เช่น ทานอาหารและน้ำได้ลำบาก
  5. ขากรรไกรหักเนื่องจากฟันคุดติดแน่นกับบริเวณกรามมากเกินไป แต่พบได้น้อย
  6. โพรงไซนัสถูกเปิดออกเนื่องจากฟันคุดซี่ด้านบนถูกถอนออกและทะลุถึงโพรงไซนัส แต่พบได้น้อย
  7. เกิดเลือดออกในปริมาณมาก และหากเลือดไม่หยุดไหลภายใน 24 ชั่วโมง ควรไปพบแพทย์เพราะอาจเป็นอันตรายได้

เราก็ได้รู้เกี่ยวกับอันตรายจากการผ่าฟันคุดไปแล้ว แต่ไม่อยากให้ใครที่กำลังปวดฟันคุดต้องกลัวไปก่อนนะคะ เพราะอย่างไรเสีย การผ่าฟันคุดก็ส่งผลดีมากกว่าผลเสีย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการดูแลตัวเองและรักษาความสะอาดของช่องปากภายหลังจากการผ่าฟันคุดด้วยค่ะ

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายผ่าฟันคุด
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ผ่าฟันคุด #ฟันคุด

ถ้าไม่ปวด ฟันคุดผ่าควรผ่าออกหรือไม่?

ถ้าไม่ปวด ฟันคุดผ่าควรผ่าออกหรือไม่?

ถ้าไม่ปวด ฟันคุดผ่าควรผ่าออกหรือไม่?

เมื่อพูดถึงการผ่าฟันคุด คงเป็นเรื่องที่หลายคนหวาดกลัวและขยาดไม่ใช่น้อย ถ้าเลือกได้ ก็คงไม่มีใครอยากเจ็บตัวกันหรอกจริงไหมคะ หลายครั้ง ฟันคุดก็ทำให้เราเลือกไม่ได้นี่สิ ปวดแสนปวดจนต้องไปผ่าออก แต่ในบางคนกลับไม่มีอาการอะไรเลย แบบนี้แล้ว ไม่ปวด ไม่ผ่าได้หรือเปล่า? ไว้รอปวดก่อนค่อยไปผ่าจะดีไหม? เราจะไปหาคำตอบกันในบทความนี้ค่ะ

ทำความรู้จัก ฟันคุด

ฟันคุด คือ ฟันที่ไม่สามารถขึ้นมาในช่องปากได้เหมือนฟันปกติทั่วไป เนื่องจากฟันคุดมักฝังอยู่ใต้เหงือก ในกระดูกขากรรไกร หรือขึ้นพ้นเหงือกมาเพียงบางส่วนเท่านั้น ซึ่งหากเป็นกรณีดังกล่าวจะต้องผ่าออกอย่างเดียว แต่ในบางกรณีก็สามารถถอนตามปกติได้ เพราะฟันเจ้าปัญหานั้นอาจจะขึ้นมาจนเต็มซี่ เพียงแต่ขึ้นผิดลักษณะเท่านั้นเอง โดยฟันซี่ที่พบว่าเป็นฟันคุดบ่อยที่สุด คือ ฟันกรามล่างซี่สุดท้าย ซึ่งอยู่ด้านในสุดของกระดูกขากรรไกรล่าง

วิธีสังเกตว่าเรามีฟันคุดหรือไม่

เราสามารถสังเกตได้ด้วยตัวเองว่ามีฟันคุดหรือเปล่า โดยดูว่ามีฟันซี่ใดที่ขึ้นมาแค่เพียงบางส่วนไหม หรือมีฟันซี่ไหนที่หายไปบ้างหรือเปล่า รวมถึงลักษณะฟันที่ขึ้นมา ดูแตกต่าง หรือมีลักษณะขึ้นแบบนอน ๆ มา ต่างจากฟันอื่นหรือไม่ ถ้าใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าอาจจะเป็นฟันคุด ทางที่ดี แนะนำให้ไปตรวจเช็คช่องปากกับทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญค่ะ

ฟันคุด ไม่ปวด ไม่ผ่าได้ไหม?

คำถามที่หลายคนอยากรู้ เพราะเท่าที่เห็น คนที่ไปผ่าคือคนที่มีอาการปวดแล้ว แต่ถ้าไม่ปวดล่ะ? จำเป็นต้องผ่าไหม? งั้นเรามาดูกันค่ะ ว่ามีเหตุผลอะไรที่คนเราควรที่จะต้องผ่าฟันคุด

  1. ทำความสะอาดยาก เนื่องจากฟันคุดเป็นฟันที่อยู่ซี่ด้านในสุด ทำให้ยากต่อการทำความสะอาด และ

มักจะมีเศษอาหารเข้าไปติดใต้เหงือก ทำให้เกิดการสะสมของแบคทีเรีย บ้างก็เกิดกลิ่นปาก บ้างก็เกิดการอักเสบ ติดเชื้อ ฟันผุ และโรคปริทันต์อักเสบ ไม่ใช่แค่เพียงตัวมันเอง แต่ยังส่งผลถึงฟันซี่ข้าง ๆ อีกด้วย

  1. เกิดการละลายตัวของกระดูก ด้วยแรงดันจากฟันคุด ที่พยายามดันขึ้นมา จะทำให้กระดูกรอบราก

ฟัน หรือรากฟันข้างเคียงถูกทำลายไป

  1. เกิดถุงน้ำหรือเนื้องอก เพราะฟันคุดที่ปล่อยทิ้งไว้นานเกินไป จะส่งผลให้เนื้อเยื่อที่หุ้มรอบฟันคุด

สามารถขยายใหญ่ขึ้นกลายเป็นถุงน้ำได้ ซึ่งการเจริญเติบโตของถุงน้ำนี้อาจจะไม่แสดงอาการใด ๆ เลยก็ได้ จนในที่สุดเกิดการทำลายฟันซี่ข้างเคียง และกระดูกรอบๆ บริเวณนั้น

  1. ป้องกันฟันซี่ข้างเคียงผุ นอกจากจะเป็นแหล่งสะสมเศษอาหารและแบคทีเรียแล้ว ฟันคุดยังทำให้ฟัน

ที่อยู่ข้างเคียงผุไปด้วย ทั้งซอกฟันระหว่างฟันคุดกับฟันกรามซี่ที่สองที่อยู่ชิดกันนั้น ทำความสะอาดได้ยาก เศษอาหารจะติดค้างอยู่ ทำให้เกิดฟันผุได้ทั้งสองซี่

  1. ป้องกันกระดูกขากรรไกรหัก อันเป็นผลมาจากการที่มีฟันคุดฝังอยู่ จะทำให้กระดูกขากรรไกร

บริเวณนั้นบางกว่าตำแหน่งอื่น เกิดเป็นจุดอ่อน เมื่อได้รับอุบัติเหตุ หรือกระทบกระแทก กระดูกขากรรไกรบริเวณนั้นก็จะหักได้ง่าย

สำหรับฟันคุด ทันตแพทย์จะพิจารณาว่าจะผ่าฟันคุดหรือไม่ จะต้องตรวจดูรูปร่างของช่องปาก และตำแหน่งของฟันคุดก่อน รวมทั้งยังต้องคำนึงถึงอายุด้วย แต่การผ่าฟันคุดอาจไม่เกิดขึ้นในทันทีที่พบฟันคุดเพราะในบางครั้งอาจต้องใช้เวลาหลายเดือนเพื่อติดตามความเปลี่ยนแปลงของฟันคุด เพื่อนำมาประกอบการพิจารณา ซึ่งกล่าวโดยสรุปได้ว่า จากคำถาม ฟันคุดควรผ่าออกหรือไม่ ต้องบอกเลยว่าการผ่าออกให้ผลที่ดีมากกว่าผลเสียแน่นอน แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยและองค์ประกอบที่ได้กล่าวมาก่อนหน้านี้ด้วยค่ะ

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายผ่าฟันคุด
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ผ่าฟันคุด #ฟันคุด

ฟันคุดไม่ผ่าได้ไหม

ฟันคุดไม่ผ่าได้ไหม? 6 สาเหตุที่ทันตแพทย์แนะให้ถอนฟันคุด

ครั้งหนึ่งในชีวิตของเกือบทุกคน จะต้องเคยผ่านประสบการณ์ผ่าฟันคุดมาก่อน แต่สำหรับใครที่รู้ตัวว่ามีฟันคุด แต่กล้า ๆ กลัว ๆ ไม่รู้ว่าจะผ่าดี ไม่ผ่าดี ต้องอ่านบทความนี้ให้ดี ๆ เลยค่ะ คนจำนวนไม่น้อยเลือกที่จะไม่ผ่าฟันคุด จนกระทั่งเจ็บปวดจนทนไม่ไหวนั่นแหละค่ะ ถึงได้รีบไปหาทันตแพทย์โดยด่วน ใครกำลังปวดฟันคุดยกมือขึ้น คงมีคำถามว่า ไม่ผ่าฟันคุดได้ไหม? มาดูกันค่ะ ว่าเหตุผลอะไรที่ทันตแพทย์ถึงแนะนำให้ผ่าฟันคุด

ฟันคุด คืออะไรกันนะ?

ฟันคุด เหมือนเด็กมีปัญหาค่ะ ที่เขาไม่สามารถโผล่ขึ้นมาได้ตามปกติ บางซี่ก็โผล่มาบางส่วน แต่บางซี่ก็อยู่ข้างใต้โดยมีเหงือกปกคลุมอยู่ พอมันไม่สามารถขึ้นได้เต็มที่ ก็จะไปดันเหงือกจนเราปวดนี่ล่ะค่ะ

ทำไมทันตแพทย์จึงแนะนำให้ผ่าฟันคุด

โดยทั่วไปแล้ว ฟันคุดจะมีหลายรูปแบบด้วยกันค่ะ การรักษาก็แตกต่างกันออก บางซี่ขึ้นเต็มซี่ บางซี่มีเหงือกมาปกคลุม บางซี่ก็ไม่ขึ้นมาเลย แต่พยายามดันตัวเองขึ้นมา ทำให้เรารู้สึกเจ็บ ซึ่งทันตแพทย์ก็มักจะให้ผ่าฟันคุด ซึ่งสาเหตุก็มีดังต่อไปนี้

1. ฟันคุด ทำให้เกิดอาการปวด

แน่นอนค่ะ ถ้าไม่ปวด คงไม่มีใครรีบมาหาหมอฟันแน่นอน สาเหตุก็เพราะฟันคุดมีแรงผลัก เพื่อจะงอกขึ้นมาในขากรรไกร แต่ถูกกัดหรือติดโดยฟันข้างเคียง ทำให้มีแรงย้อนกลับไปกดที่เส้นประสาทของขากรรไกร จึงเกิดอาการปวดขึ้น

2. ฟันคุด ทำให้เกิดฟันผุ

เพราะฟันคุดเป็นแหล่งกักเก็บ สะสมเชื้อโรคชั้นดีเลยล่ะค่ะ ทำความสะอาดได้ยากเพราะอยู่ลึก นอกจากฟันคุดผุแล้ว มักจะส่งผลกระทบให้ฟันข้างเคียงผุตามไปด้วย และหากรักษาไม่ได้ ท้ายที่สุดก็ต้องถอนออก ทำให้เราเสียฟันดี ๆ ไปโดยปริยาย

3. ฟันคุด ทำให้เกิดฟันซ้อนเก

เจ้าฟันคุดที่ขึ้นมาแบบครึ่ง ๆ กลาง ๆ หรือขึ้นมาแบบบางส่วนและพยายามดันตัวเอง ก็ไปดันฟันที่รอบ ๆ ข้าง ทำให้ฟันถูกเบียด ไม่สามารถขึ้นเป็นแนวตามธรรมชาติได้ ผลที่ตามมาก็ทำความสะอาดยาก ฟันขึ้นมาซ้อนกันก็ไม่สวย ไม่มั่นใจ

4. ฟันคุด ทำให้เกิดการติดเชื้อ

อย่างที่บอกไปว่า ฟันคุดเป็นจุดที่สะสมเชื้อโรค ดังนั้นการติดเชื้อจึงเป็นของที่มาคู่กันกับฟันคุดเลยค่ะ โดยการติดเชื้อจากฟันคุดทำให้ขากรรไกรบวม ถ้าเป็นรุนแรง อ้าปากไม่ขึ้น กลืนไม่ได้ ลุกลามลงคอ อาจทำให้หายใจไม่ได้ ถึงขนาดต้องนอนโรงพยาบาลรักษาอย่างเร่งด่วนกันเลย

5. ฟันคุด ทำให้เหงือกอักเสบ

ทั้งฟันที่พยายามดันเหงือกขึ้นมาจนเหงือกเจ็บ รวมถึงเศษอาหารที่ค้างอยู่ใต้เหงือกที่คลุมฟันอยู่นั้น เป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรียที่ยากจะทำความสะอาดได้หมด ซึ่งง่ายต่อการเกิดเหงือกอักเสบและบวม ยิ่งหากใครที่ทำความสะอาดได้ไม่ดี ยิ่งมีโอกาสสูงที่จะเกิดอาการเหงือกอักเสบไปพร้อมกับอาการปวดฟันคุด

6. ฟันคุด ทำให้เกิดถุงน้ำ

การที่มีถุงน้ำอยู่ในขากรรไกรก็เหมือนกับลูกโป่งที่จะค่อย ๆ พองใหญ่ขึ้น เบียดกินกระดูกขากรรไกรไปเรื่อย ๆ ถ้าพบและรีบผ่าตัดออกได้เร็ว โอกาสในการสูญเสียอวัยวะขากรรไกรก็น้อย ยังสามารถรักษารูปหน้าให้เหมือนเดิมได้ แต่หากถุงน้ำใหญ่มาก ๆ อาจถึงขนาดต้องตัดขากรรไกรบางส่วนออก การรักษารูปหน้าให้เหมือนเดิมก็ทำได้ยากขึ้น

เห็นไหมล่ะคะว่าฟันคุดไม่ได้มีประโยชน์อะไรเลยที่จะเก็บไว้ ดังนั้นหากใครที่กำลังโอดโอย ปวดฟันคุดอยู่ แนะนำเลยว่ารีบไปพบทันตแพทย์และรับการรักษาต่อไป

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมาย
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ฟันคุด #ผ่าฟันคุด

ข้อควรรู้ ก่อน หลัง ผ่าตัด ถอนฟันคุด

ข้อควรรู้! ก่อน-หลัง ผ่าตัด/ถอนฟันคุด

ฟันคุด’ คือ ฟันแท้ที่ไม่สามารถขึ้นมาได้ตามปกติ
เป็นฟันที่ฝังตัวอยู่ใต้เนื้อเยื่อของเหงือก และบริเวณกระดูกขากรรไกร
ฟันคุดจะไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าหากตัวฟันไม่ได้โผล่พ้นขึ้นมาเหนือเหงือก
จะต้องใช้การเอกซเรย์จึงจะสามารถเห็นได้ โดยการผ่าตัดจะเกิดขึ้น
เมื่อฟันที่ฝังตัวอยู่ส่งผลกระทบกับฟันซี่อื่น ทำให้เกิดอาการปวด หรือเกิดอาการอักเสบติดเชื้อ

ทำอย่างไรดีเมื่อมี ‘ฟันคุด’

บางครั้งฟันคุดหรือฟันกรามซี่สุดท้าย จำเป็นต้องมีการถอนออก เพราะว่าอยู่ในลักษณะที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ตามปกติ หรือไม่ได้อยู่ในแนวที่เดียวกับฟัน ส่วนมากฟันคุดจะเกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่นตอนปลาย หรือช่วงอายุยี่สิบต้นๆ หากปล่อยฟันคุดไว้จะมีความเสี่ยงต่อภาวะต่างๆ

• เหงือกในบริเวณที่ปกคลุมฟันคุดอักเสบหรือมีการติดเชื้อ
• เกิดฟันผุที่ฟันกรามซี่ข้างเคียง
• โรคปริทันต์ (โรคเหงือก)
• พยาธิวิทยา- ซีสต์เนื้องอก
• อาจเกิดความเสียหายต่อฟันซี่ที่ติดกัน หรือมีการละลายตัวของกระดูกที่รองรับฟันซี่ที่ติดกัน เป็นผลจากแรงดันของฟันคุด
• อาการปวดเรื้อรังหรือรู้สึกไม่สบาย
• ปัญหาเกี่ยวกับการจัดฟันได้ในตำแหน่งที่ไม่ดี หรือมีฟันหน้าซ้อนเก

ประเภทของฟันคุด แบ่งออกได้เป็น ฟันคุดที่โผล่ขึ้นเต็มซี่ ฟันคุดที่โผล่ขึ้นบางซี่ และฟันคุดที่ยังฝังจมทั้งซี่
ฟันคุดแต่ละประเภทต้องใช้ระยะเวลาและค่ารักษาที่แตกต่างกัน ระดับความเจ็บปวดและอาการบวมจะแตกต่างกันไปสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย ขึ้นอยู่กับประเภทของฟันคุดและความยากลำบากในการรักษาและการตอบสนองแบบส่วนตัวของคนไข้

ผ่าตัดฟันคุด #ควรเตรียมตัวอย่างไรดี ?

คำแนะนำก่อนผ่าตัด/ถอนฟันคุด

• ผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์ก่อน
• ควรวัดความดันก่อนการผ่าฟันคุด
• ทานอาหารให้เรียบร้อยก่อนการผ่าฟันคุด
• งดการสูบบุหรี่
• งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ (เพราะมีผลต่อการหยุดไหลของเลือด, แผลผ่าฟันคุดอายหายช้าได้)

คำแนะนำหลังผ่าตัด/ถอนฟันคุด

• ประคบด้วยถุงเย็นทันทีหลังผ่าตัด เพื่อลดอาการบวม
• ควรกัดผ้าก๊อซแน่นๆ เพื่อห้ามเลือด
• ห้ามบ้วนน้ำลาย เลือด หรือน้ำ เพื่อให้เลือดหยุดเร็วขึ้น
• ควรรับประทานอาหารอ่อนๆ
• ไปรับการตัดไหมหลังจากครบกำหนดผ่าตัดแล้ว 7 วัน

บริการสอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายถอนฟันคุด

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)
www.bpdcdental.com

ถอนฟันกี่วันแผลหาย

ถอนฟันกี่วันแผลหาย

ถอนฟันกี่วันแผลหาย

สำหรับใครที่ยังไม่เคยถอนฟันนั้น คำถามที่พบบ่อยที่สุดก็คือ ถอนฟันกี่วันแผลหาย ซึ่งเป็นคำถามยอดฮิตที่เราต้องหาคำตอบหรือถามเพื่อนถามคนรู้จักกันตลอด ซึ่งวันนี้ผมจะมาเล่าให้ฟังถึงผลของการถอนฟันว่ากี่วันแผลจะหายดีกันครับ

การถอนฟัน

สามารถทำการถอนได้หลายสาเหตุ เช่น
– ถอนฟันเพื่อจัดระเบียบฟันให้ดี ยกตัวอย่างคนที่ต้องจัดฟัน จะต้องมีการถอนฟันที่เกิน หรือว่าฟันที่ไม่จำเป็นออก เพื่อให้หน้าเรียวมากยิ่งขึ้น
– ฟันผุ เมื่อฟันผุเราก็จะต้องทำการถอนฟัน เพื่อป้องกันอันตราย ฟันเสีย เพื่อรวมไปถึงอันตรายที่จะลามไปถึงเหงือกและรากฟันได้
– ฟันคุด เป็นฟันที่ต้องทำการผ่าตัดหรือถอนออกเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดฟันคุด และปัญหาของฟันคุดตามมาที่หลัง
– ฟันมีความเสี่ยงในการติดเชื้อ ต้องทำการถอน เพื่อความปลอดภัย หรือปรึกษาทันตแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการถอนฟัน

ถอนฟันแผลจะหายในกี่วัน

แผลในการถอนฟัน มีได้หลายสาเหตุ จากหลากหลายอาการของการถอนฟัน
– ถอนฟันน้ำนมที่โยก ฟันชนิดนี้จะถอนง่ายเพราะเป็นฟันน้ำนม ที่จะมีฟันแท้ขึ้นมาในภายหลัง แผลจะหายภายใน 1 วัน
– ถอนฟันคุด ถอนฟันคุด อาจเป็นไปได้หลายเคส ทั้งแบบถอน หรือผ่าตัดจะอาจมีการเย็บเหงือกเพื่อช่วยให้เลือกหยุดไหลได้ดีขึ้น อยู่ที่ลักษณะของฟันของแต่ละท่านว่าอยู่ในระดับใด แต่โดยทั่วไป แผลจะหายในเวลา 1-2 วัน

วิธีที่ทำให้แผลหายจากหารถอนฟันหายเร็ว

– ทานยาแก้ปวด ปกติทันตแพทย์จะจ่ายยาให้อยู่แล้ว
– อย่าบ้วนปาก เพราะจะทำปากแผลเปิด
– ห้ามดูดเลือด
– งดการแปรงฟัน
– ไม่เคี้ยวหมากฝรั่ง
– ไม่เคี้ยวอาหารด้านที่ถอนฟัน
– ทานอาหารที่ไม่ต้องเคี้ยวมากเช่น โจ๊ก
– ไม่สูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์

*หากท่านใดมีโรคประจำตัว หรือมีเคสการถอนฟันหรือผ่าตัดถอนฟัน ที่ไม่ปกติ ควรทำการปรึกษาทันตแพทย์ก่อนทุกครั้ง เพราะบางอาการอาจจะต้องดูแลและรักษาอาการหลังถอนฟัน เป็นระยะเวลาหลายสัปดาห์

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายทำฟัน

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#covid19 #คลินิกทันตกรรม #BPDC

ฟันคุดควรผ่าออกหรือไม่

ฟันคุดควรผ่าออกหรือไม่

หลายๆคนอาจจะเคยพบปัญหาของฟันคุดกันเป็นจำนวนมากซึ่งไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี ควรปล่อยไว้ไหม หรือว่า ควรไปผ่าเอาออก วันนี้ผมจะมาสรุปว่า ฟันคุดควรผ่าออกหรือควรทำยังไงกับมันดี

ฟันคุดคืออะไร

ฟันคุดคือฟันที่อยู่ด้านใน ด้านริม มีฟันอยู่ใต้เหงือก ฟันโผล่มาครึ่งซีก ฟันคุดเป็นฟันแท้ แต่งอกมาได้ไม่เต็มที่ หรือบางครั้งจะติดกับโครงกระดูกกรามของเรา ฟันคุดจะเกิดขึ้นประมาณช่วง 15 ปี ที่เริ่มเป็นฟันแท้ขึ้นมา เริ่มมีการใช้ฟันเยอะ

ปัญหาฟันคุด

– ส่งผลต่อการจัดฟัน จะทำให้จัดฟันไม่ได้
– เกิดอาการปวดบวมของฟันและเหงือก หรือเหงือกอักเสบได้
– ปล่อยไว้นานจะทำให้ฟันซี่อื่นๆ เกิดปัญหา เช่นฟันล้ม ฟันเก ฯลฯ
– เศษอาหารอาจจะเข้าไปติดในร่องได้ง่าย ทำให้เกิดฟันผุ

วิธีแก้ปัญหาฟันคุด

– ทำการผ่าเอาฟันคุดออก โดยการผ่าเหงือก

อาการหลังผ่าฟันคุด

– อาจมีไข้ขึ้นสูง
– มีการบวมอักเสบของเหงือก
– ทานอาหารไม่ได้
– มีเลือดออกเรื่อย ๆ ไม่หยุด

การผ่าเอาฟันคุดออกต้องได้รับการยืนยันและวิเคราะห์จากแพทย์ก่อน ว่าสามารถผ่าได้หรือไม่ ไม่ใช่ว่าจะผ่าก็ผ่าได้เลย เพราะมีผู้ป่วยบางโรคที่ทำการผ่าเอาฟันคุดออกไม่ได้ โรคเบาหวานระยะสุดท้าย โรคตับ โรงมะเร็งต่างๆ จะไม่สามารถทำการผ่าฟันคุดได้

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมาย
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental

home


ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)