โครงการ-ฟันเทียม-รากฟันเทียม-เฉลิมพระเกียรติ

สธ. ตั้งเป้า ปี 66-67 ผู้สูงอายุ ใส่ฟันเทียม 72,000 คน ฝังรากฟันเทียม 7,200 คน

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี นายแพทย์โสภณ เมฆธน ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าวโครงการ “ฟันเทียม รากฟันเทียม เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา 28 กรกฎาคม 2567” โดยมี นายแพทย์ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ศาสตราจารย์พิเศษ ทันตแพทย์หญิง ท่านผู้หญิงเพ็ชรา เตชะกัมพุช ผู้อำนวยการหน่วยทันตกรรมพระราชทานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และนายแพทย์จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ร่วมแถลงข่าว

นายแพทย์โสภณ เมฆธน ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ ในปี 2566 ซึ่งปัญหาเรื่องหนึ่งของผู้สูงอายุ คือ ปัญหาสุขภาพฟันและสุขภาพช่องปาก ผู้สูงอายุที่เสียฟันทั้งปากจะเคี้ยวอาหารได้ไม่ดี กินได้เฉพาะอาหารอ่อน และการใส่ฟันเทียมจะช่วยให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งการใส่ฟันเทียมแบบครอบเหงือกทั้งปาก ได้มีการพัฒนาเป็นสิทธิประโยชน์ด้านการรักษาพยาบาลของทั้ง 3 สิทธิ มาระยะหนึ่งแล้ว แต่ผู้ที่ใส่ฟันเทียมแบบครอบเหงือกมานาน จะมีปัญหาฟันเทียมหลวม และต้องเพิ่มการรักษาด้วยการฝังรากฟันเทียม เพื่อเป็นที่ยึดเกาะของชุดฟันเทียม แต่เนื่องจากรากฟันเทียมที่มีคุณภาพดีต้องนำเข้าจากต่างประเทศ มีราคาแพง อัตราค่าบริการรากเทียมจากยุโรป ค่าบริการรากละ 55,000 – 100,000 บาท และรากเทียมในเอเชีย ค่าบริการรากละ 25,000 – 40,000 บาท กระทรวงสาธารณสุข จึงได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต จัดทำโครงการ “ฟันเทียม รากฟันเทียม เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา 28 กรกฎาคม 2567” เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสืบสานโครงการจากพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการแก้ปัญหาให้ผู้ที่สูญเสียฟันทั้งปากได้รับฟันเทียม และรากฟันเทียม เพื่อการกินอาหารดีขึ้น ส่งผลให้มีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี โดยโครงการนี้มีเป้าหมายใส่ฟันเทียมจำนวน 72,000 คน และฝังรากฟันเทียมจำนวน 7,200 คน ในระยะเวลา 2 คือ ปี 2566-2567

            นายแพทย์ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้ขับเคลื่อนและพัฒนาระบบบริการสุขภาพ พร้อมจัดระบบบริการสุขภาพที่ครอบคลุม เพื่อตอบสนองต่อปัญหาสุขภาพและความต้องการของประชาชน โดยเฉพาะการบริการด้านสุขภาพช่องปาก กระทรวงสาธารณสุขได้พัฒนาระบบการดูแลเรื่องการสูญเสียฟันทั้งปากจนไม่สามารถบดเคี้ยวอาหารได้ ซึ่งขณะนี้ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ยังมีความจำเป็นต้องใส่ฟันเทียมทั้งปาก 270,000 ราย อยู่ในสิทธิประโยชน์ทุกสิทธิ ทั้งสิทธิบัตรทอง กรมบัญชีกลาง และประกันสังคม ทั้งนี้ ประชาชนสามารถติดต่อรับบริการได้ที่โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลศูนย์ทุกแห่ง ของกระทรวงสาธารณสุข ส่วนการฝังรากฟันเทียมรองรับฟันเทียมทั้งปาก เป็นเทคโนโลยีทางทันตกรรมขั้นสูง เพื่อเพิ่มคุณภาพการใช้งานฟันเทียมทั้งปากให้แน่นขึ้น โดยมีความจำเป็นประมาณร้อยละ 10 ของผู้ใส่ฟันเทียมทั้งปาก ขณะนี้มีโรงพยาบาลที่มีความพร้อม มีทันตแพทย์ที่สามารถให้บริการได้ในโรงพยาบาล ประมาณ 180 แห่งทั่วประเทศ

            นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า สุขภาพช่องปากเป็นปัญหาที่ยังคงพบได้สูงในคนไทยทุกกลุ่มวัย โดยเฉพาะวัยทำงานตอนปลายและผู้สูงอายุ หากโรคในช่องปากไม่ได้รับการดูแลตั้งแต่เด็ก และมีการสะสมโรค จะทำให้ปัญหามีความรุนแรงซับซ้อนขึ้น จนนำไปสู่การสูญเสียฟัน ซึ่งข้อมูลจากการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพระดับประเทศทุก 5 ปี ของกรมอนามัย พบว่า ผู้สูงอายุ 60 – 74 ปี มีฟันแท้เฉลี่ย 18 ซี่ต่อคน และเมื่ออายุ 80-85 ปี ลดลงเหลือเพียง 10 ซี่ต่อคน และมีผู้สูงอายุที่สูญเสียทั้งปาก ร้อยละ 8.7 โดยบางส่วนได้รับการใส่ฟันเทียมไปแล้ว การสูญเสียฟันทั้งปาก ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน สุขภาพร่างกาย และคุณภาพชีวิตชัดเจน กรมอนามัยจึงได้ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรอบรู้ เห็นความสำคัญของการมีสุขภาพช่องปากที่ดี มีการใช้เทคโนโลยี Digital เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสาร ควบคู่กับการสื่อสารผ่านเครือข่ายแกนนำชุมชน เพื่อนำไปสู่การมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี สามารถดูแล เฝ้าระวังอนามัยช่องปากตนเอง และเข้ารับบริการเมื่อจำเป็น เพื่อเก็บรักษาฟันให้ใช้งานได้ตลอดชีวิต

            นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ปัญหาสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะ   การสูญเสียฟันทั้งปากส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน สุขภาพร่างกาย ตลอดจนด้านจิตใจผู้สูงอายุ จึงมีความจำเป็นต้องใส่ฟันเทียมทั้งปาก โดยเฉพาะในขากรรไกรล่าง ถึงแม้จะมีการทำฟันเทียมอย่างดีแล้ว แต่ในผู้ใส่ฟันเทียมบางรายที่มีสันเหงือกเตี้ย หรือใส่ฟันเทียมมานาน กระดูกขากรรไกรอาจละลาย ทำให้ฟันเทียมหลวมไม่กระชับ เคี้ยวอาหารไม่ได้ เคี้ยวแล้วเจ็บ หรือในกรณีที่ผู้ป่วยมีการควบคุมของกล้ามเนื้อบริเวณช่องปากได้ไม่ดี จะผลให้การยึดอยู่ของฟันเทียมไม่ดีเช่นกัน ดังนั้น การนำเทคโนโลยีทางทันตกรรมขั้นสูงมาใช้แก้ไขในกรณีนี้คือ การฝังรากฟันเทียม 2 รากในขากรรไกรล่าง เพื่อรองรับฟันเทียมชิ้นล่าง ซึ่งในประเทศไทย ได้มีการผลิตนวัตกรรมรากฟันเทียมขึ้นมา ในโครงการรากฟันเทียมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 นับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2550-2557 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานฟันเทียมทั้งปากชิ้นล่าง ด้วยการฝังรากเทียม 2 รากในผู้สูงอายุ 18,400 ราย ทั้งนี้ กรมการแพทย์ โดยสถาบันทันตกรรมเป็นหน่วยประสาน การดำเนินงานรวมถึงพัฒนาศักยภาพทันตบุคลากร ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายบริการจำนวน 301 แห่งทั่วประเทศ และมีการดูแลผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่องมาถึงในปัจจุบัน

            ศาสตราจารย์พิเศษ ทันตแพทย์หญิง ท่านผู้หญิงเพ็ชรา เตชะกัมพุช ผู้อำนวยการหน่วยทันตกรรมพระราชทาน ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กล่าวว่า ปี 2546 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้มีกระแสพระราชดำรัสว่า “คนเราเวลาไม่มีฟัน กินอะไรก็ไม่อร่อย ทำให้ไม่มีความสุข จิตใจก็ไม่สบาย ร่างกายก็ไม่แข็งแรง” หน่วยทันตกรรมพระราชทานจึงสนองกระแสพระราชดำรัส โดยพัฒนาให้มีการใส่ฟันเทียม ในหน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่ และทรงพระราชทานรถใส่ฟันเทียมเคลื่อนที่คันแรกของประเทศไทย ต่อมาในปี 2547 พบว่า ผู้สูงอายุสูญเสียฟันทั้งปากจำเป็นต้องใส่ฟันเทียมทั้งปากถึง 300,000 คน ซึ่งส่งผลต่อการเคี้ยว กัด กลืนอาหาร ส่งผลต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิต ทั้งด้านกายภาพ อารมณ์ และสังคม แต่ขณะนั้นสามารถใส่ฟันเทียมทั้งปากได้เฉพาะโรงพยาบาลขนาดใหญ่บางแห่งเท่านั้น รวมแล้วจัดบริการใส่ฟันเทียมทั้งปากทั้งประเทศได้ปีละ 2,000 ราย หน่วยทันตกรรมพระราชทานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้ร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และภาคีเครีอข่ายที่เกี่ยวข้อง ดำเนินงานโครงการฟันเทียมพระราชทานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นับตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา โดยกรมอนามัยเป็นหน่วยประสานการดำเนินงาน ทั้งพัฒนาระบบบริการ ระบบส่งต่อ และพัฒนาศักยภาพทันตแพทย์ทั่วประเทศ ทั้งนี้ ทุกโรงพยาบาลสามารถใส่ฟันเทียมทั้งปากได้ เฉลี่ยปีละกว่า 35,000 รวมตั้งแต่ปี 2548 ผู้สูงอายุได้รับการใส่ฟันทั้งปากแล้ว รวม 720,000 ราย

นายแพทย์จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ร่วมขับเคลื่อนโครงการฟันเทียม รากฟันเทียม เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษาครั้งนี้ โดยสปสช. ตระหนักถึงปัญหาผู้สูงอายุที่ไม่มีฟันที่ควรได้รับการดูแล รวมถึงผู้ที่อายุต่ำกว่า 60 ปี ที่จำเป็นต้องใส่ฟันเทียม จึงได้บรรจุบริการฟันเทียม ทั้งกรณีการใส่ฟันเทียมทั้งปากและการใส่ฟันเทียมบางส่วนที่ถอดได้ เป็นสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เริ่มตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา จากข้อมูล ปี 2564 มีประชาชนที่เข้าบริการใส่ฟันเทียมทั้งปาก และฟันเทียมบางส่วนแบบถอดได้ รวมจำนวนทั้งสิ้น 62,717 คน แต่การใส่ฟันเทียมในผู้ป่วยบางรายเป็นเรื่องที่ยาก โดยเฉพาะผู้ที่ไม่มีฟันมาเป็นระยะเวลานาน จนกระทั่งสันกระดูกขากรรไกรล่างแบน จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดใส่รากฟันเทียมที่มีค่าใช้จ่ายสูงเพื่อยึดติดฟันเทียม ดังนั้น ในการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2564 ได้อนุมัติเพิ่มเติมสิทธิประโยชน์การผ่าตัดใส่รากฟันเทียมสำหรับผู้ที่ไม่มีฟันทั้งปากที่มีข้อบ่งชี้ และมอบเป็นของขวัญปีใหม่ 2565 ให้กับคนไทย

สอบถามเพิ่มเติม
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ฟันเทียม #รากฟันเทียม #ฟันเทียมผู้สูงอายุ #สธนนทบุรี

ทำไมเราต้องไปขูดหินปูนทุก 6 เดือน

ทำไมเราต้องไปขูดหินปูนทุก 6 เดือน

หินปูนคืออะไรแล้วทำไมเราต้องไปขูดหินปูนทุก 6 เดือน วันนี้ทีมงานได้รวบรวมข้อมูลสาระดีๆ เนื่องจากมีเพื่อนๆหลายคนที่สงสัยว่า หลังทำการขูดหินปูนแล้วฟันห่างจริงหรือเปล่า? ขูดหินปูนบ่อยๆมีโอกาสฟันจะสึกแค่ไหน?

หินปูนมักจะเกิดบริเวณซอกฟัน ช่องว่างของฟัน โดยเฉพาะบริเวณที่เราทำความสะอาดไม่ทั่วถึงมักจะเกิดคราบพลัค แบคทีเรีย เกาะตามคอฟัน เนื่องจากในช่องปากที่มีน้ำลาย เป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรียที่มักจะตกตะกอนกับแคลเซียม จนบ่มกลายเป็นหินปูน ที่อยู่ตามซอกฟันและบริเวณที่เราแปรงฟันไม่ทั่วถึงนั่นเอง สรุปง่าย ๆ ก็คือ หินปูนเกิดจากการตกตะกอนของแคลเซียมที่อยู่ในน้ำลายนั่นเอง

ขูดหินปูนทุก 6 เดือนมันจะดีอย่างไร

เมื่อเกิดหินปูนขึ้นแล้วเราจะทำอย่างไรต่อไป ถ้ามีคราบหินปูนไม่เยอะมากนัก คุณหมอมักจะแนะนำให้ใช้วิธีการขูดหินปูน ที่เป็นการขูดบริเวณเหนือเหงือกในช่องปากของคนไข้ จากนั้นก็จะเหลือคราบนิดๆหน่อยๆ ถ้าเราดูแลความสะอาดได้ดีหรือหมั่นขูดหินปูนอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่เนิ่น ๆ ทุก ๆ 3 เดือน หรือ 6 เดือน โดยคนไข้ควรหมั่นมาพบทันตแพทย์เพื่อขูดหินปูนอย่างต่อเนื่อง เปรียบเทียบง่าย ๆ เช่น การดูแลรักษาความสะอาดบ้าน หากเราดูแลรักษาความสะอาดไม่ทั่วถึงก็จะยิ่งสร้างความสกปรกมากเท่านั้น เช่นเดียวกับฟันของเรานั่นเอง ถ้าหากหมั่นมาตรวจเช็คสุขภาพช่องปากกับทันตแพทย์อยู่สม่ำเสมอ ปัญหาหินปูนก็จะน้อยลงตามไปนั่นเอง

รู้หรือไม่ว่า หากไม่มีขี้ฟัน หรือคราบอาหารติดตามซอกฟัน โอกาสที่แคลเซียมในน้ำลายที่ทำให้เกิดหินปูนที่มักจะตามไปเกาะอยู่บริเวณคอฟันจะมีน้อยลงอีกด้วย ดังนั้น วิธีที่ง่ายที่สุด คือ การแปรงฟัน เป็นขั้นตอนการรักษาความสะอาดบริเวณซอกฟันที่ดีที่สุดนั่นเอง จึงมีคนไข้จำนวนไม่น้อยที่ดูแลรักษาความสะอาดช่องปากได้ดี ส่งผลให้ระยะเวลาในการขูดหินปูนก็อาจจะยืดไปถึง 1 ปีอีกด้วย

หากรู้วิธีป้องกัน เชื่อว่าหินปูนไม่ใช่เรื่องน่ากลัว และถ้าเราไม่มีหินปูนโรคที่ตามมาก็จะไม่มี

หินปูนทำให้เกิดโรคได้นะรู้ยัง? โรครำมะนาดหรือโรคเหงือก เกิดจากหินปูนที่เยอะขึ้นและกัดเซาะฟันลึกขึ้น เกาะตามบริเวณคอฟันกระดูกที่เคยโอบรากฟัน ทำให้เนื้อกระดูกก็จะน้อยลงไปตามหินปูนที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง ฟันที่มีก็จะเริ่มโยกและเริ่มคลอน เหงือกก็จะเริ่มอักเสบหรือเป็นหนอง รวมทั้งมีกลิ่นปาก แรกๆคนไข้หลายคนคิดว่าเป็นอาการเล็กๆน้อยๆ แต่หากปล่อยปละละเลย อาการก็จะเป็นมากยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้นลำดับถัดมาหลังจากที่เราขูดหินปูนแล้ว หากไม่ดูแลรักษาช่องปากให้ดี จากโรคเหงือกอักเสบเล็กๆน้อยๆก็จะกลายเป็นโรคเหงือกหรือที่เรียกว่า โรครำมะนาด ที่เกิดจากหินปูนที่กัดเซาะฟันนั่นเอง

โรครำมะนาดที่เกิดจากหินปูนนั้น จะมีอาการอักเสบรวมทั้งเหงือกร่นตามมา ส่งผลให้ฟันโยกเอียงไปมา เนื่องจากหินปูนกัดเซาะกระดูกให้ละลาย จนบางเคสเห็นรากฟัน บางเคสมีอาการเสียวฟัน หรือขณะแปรงฟันมีเลือดออก และรูปทรงฟันที่เปลี่ยนไป เช่น แลดูยาวขึ้น เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานั้นเป็นสัญญาณของโรครำมะนาด  หลายคนเข้าใจผิดมาโดยตลอด ถึงอาการข้างต้นคือ ผลของฟันเสื่อมสภาพตามวัย แต่รู้หรือไม่ว่า ฟันสามารถอยู่กับเราได้ตลอดชีวิตถ้าทุกคนรักษาความสะอาดจริงจัง แต่หากดูแลไม่ดี ก็สามารถกลายมาเป็นโรครำมะนาดได้นั่นเอง

หากหินปูนกัดเซาะกระดูกฟันเยอะแล้ว จำเป็นต้องอาศัยการรักษาโดยผู้เชี่ยวชาญหรือทันตแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นการทำความสะอาด หรือ บางเคสต้องมาปลูกกระดูกฟันเพิ่ม ดังนั้น การป้องกันไม่ให้คราบหินปูนเกิดขึ้นจนฝั่งแน่น จึงเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญ

เนื่องจาก โรครำมะนาดไม่ใช่ว่าเป็นแล้วจะสามารถหายได้เอง เนื่องจากกระดูกฟันของเรานั้นโดนกัดเซาะจนทำให้เหงือกร่นโอกาสที่ฟันหลวมและหลุดง่ายขึ้น กระดูกเนื้อฟันบางและบางเลย เพราะฉะนั้นเมื่อไหร่ก็ตามที่เราปล่อยปละละเลยจากการขูดหินปูนที่เกาะตามบริเวณคอฟัน โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรครำมะนาดยิ่งมากขึ้นเช่นกัน

บางรายเป็นเยอะก็อาจจะไม่สามารถกลับมาเหมือนเดิม เช่น มีการถอนฟันและใส่รากเทียมแทนนี่ถือเป็นอีกเรื่องที่น่าเสียดายที่เกิดจากการที่เราไม่ได้ขูดหินปูนอย่างต่อเนื่อง ทุก 3 หรือ 6 เดือน

หากเป็นแบบนี้จะรักษาอย่างไร

วิธีรักษาโรครำมะนาดที่เกิดจากหินปูนเมื่อเราไม่ได้ขูดหินปูนจนปล่อยให้หินปูนลึกขึ้น กระดูกก็จะเริ่มมีการละลาย คุณหมอจะเริ่มรักษาด้วยการทำการ deep clean หรือขูดลึกขึ้นด้วยเครื่องมือพิเศษในการขูด แม้ฟันจะกลับมาใช้งานได้ตามปกติ แต่ฟันจะมีลักษณะที่ไม่เหมือนเดิมเนื่องจากกระดูกที่มีความร่นไปแล้วก็จะไม่กลับขึ้นมาได้นั่นเอง

หลายคนที่อ่านมาถึงตรงนี้ คงสงสัยไม่น้อยว่า หากเราขูดหินปูนบ่อยๆ ฟันจะมีโอกาสห่างจริงหรือไม่

เนื่องจากคนไข้หลายท่านเมื่อทำการขูดหินปูน ปรากฏว่า เห็นซอกฟันเพิ่มขึ้น นั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้เรารู้สึกว่าขูดเสร็จแล้วฟันเรามีช่องจึงเป็นที่มาของถามของหลายๆคนที่มักสงสัยว่าขูดหินปูนแล้วทำฟันห่างลงหรือบางลงนั่นเองแต่จริงๆแล้วฟันไม่ได้ห่างแต่เนื่องจากจำนวนหินปูนที่เกาะบริเวณฟันหลังจากคุณหมอขูดออก เห็นได้ชัดถึงพื้นที่ว่างที่หินปูนเคยเกาะอยู่นั่นเอง และกอปรกับจำนวนหินปูนที่ยิ่งมากก็ยิ่งทำให้เหงือกร่นจนทำให้เกิดช่องว่างของฟันมากยิ่งขึ้นตามมานั่นเอง

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายขูดหินปูน
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#หินปูน #ขูดหินปูน

การรักษารากฟัน 2022

การรักษารากฟัน 2022

เชื่อว่าหลายท่านมักจะเข้าใจผิดเกี่ยวกับคำว่า การรักษารากฟัน เนื่องจากคิดว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่พบว่ามีอาการฟันโยก ฟันคลอน การรักษารากฟัน จะสามารถช่วยตอบโจทย์ในการจัดการฟันให้กลับมาแน่นขึ้น ลดการคลอนหรือโยกของฟันได้ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด วันนี้ทีมงานจึงได้รวบรวมสาระน่ารู้เกี่ยวกับประโยชน์ของการรักษารากฟันอย่างแท้จริงมาฝากกันค่ะ

 จริงๆแล้วการรักษารากฟันก็คือการเอาคลองประสาทฟันหรือโพรงรากฟันที่เกิดการอักเสบอยู่แล้วออกไป โดยสาเหตุที่จำเป็นจะต้องเอาคลองประสาทฟันที่อักเสบออกไป เนื่องจากว่า ทันตแพทย์มักจะพบว่าคนไข้ที่มีอาการฟันผุ คือสาเหตุหลักที่ทำให้มีการติดเชื้อไปถึงประสาทฟันซี่นั้นๆ หลังจากคุณหมอหรือทันตแพทย์ได้ทำการรักษารากฟัน โดยการนำคลองประสาทฟันออกแล้ว ขั้นตอนต่อมาก็จะทำความสะอาดช่องปากและคลองประสาทฟันด้วยการใส่ยาฆ่าเชื้อและใช้วิธีการอุดรากฟันตามไปทีหลัง โดยทั้งนี้ เมื่อมีการอักเสบในคลองประสาทฟันก็จะมีการปวดฟันตามมาอย่างแน่นอน ดังนั้น การรักษารากฟันจึงถือเป็นการลดอาการปวดและอักเสบของฟัน รวมทั้งยังกำจัดอาการปวดฟันให้หายไปโดยสิ้นเชิง หรือเรียกได้ว่ารักษาแบบถอนรากถอนโคนเลยนั่นเอง และการรักษารากฟัน ยังเป็นวิธีการในการที่จะเก็บฟันซี่นั้น ๆ ของคนไข้เอาไว้ได้นานที่สุด โดยฟันยังสามารถกลับไปใช้งานได้ตามปกติอีกด้วย ซึ่งไม่ต้องถอนฟันทิ้งนั่นเอง

แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากฟันซี่ที่ทำการรักษารากฟันไปแล้วนั่น ส่วนใหญ่มักจะพบว่ามีโอกาสเนื้อของฟันเกิดอาการเปราะและแตกง่ายเป็นพิเศษ เพราะฉะนั้น การใช้วิธีรักษารากฟันจึงจำเป็นอย่างมาก ที่จะต้องมีการใช้วิธีทำการครอบฟันร่วมด้วยนั่นเอง

โดยลักษณะของฟันที่มีความจำเป็นที่ต้องได้รับการรักษารากฟัน ส่วนใหญ่ทันตแพทย์หรือคุณหมอผู้เชี่ยวชาญจะพิจารณาจากข้อต่อไปนี้ 1.ฟันซี่นั้น เกิดมีรูผุเสียหายจนถึงคลองประสาทฟันและแสดงอาการปวดชัดเจน 2. ฟันซี่นั้นมีสีคล้ำลงผิดปกติ ซึ่งเป็นสัญญาณของการมีเลือดออกในไรฟันอีกด้วย 3. เป็นฟันซี่ที่เคยได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงหรือได้รับการกระแทกจากอุบัติเหตุ 4. เป็นลักษณะของฟันซี่ที่มีรอยร้าวหรือมีรอยแตก บิ่น ซึ่งคนไข้มักจะมีอาการปวดและเสียวฟันร่วมด้วย 5. เป็นลักษณะของฟันที่มีการรักษาโดยการอุดฟันไว้อยู่แล้ว แต่เกิดมีตุ่มหนองขึ้นบริเวณของฟันให้เห็นเด่นชัด

การรักษารากฟันหรือโพรงประสาทฟันนั้น มีขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. เพื่อไม่ให้คนไข้มีอาการเจ็บหรือปวดในระหว่างการรักษาคุณหมอหรือทันตแพทย์จะมีการใส่ยาชาให้ก่อน เพื่อลดอาการเจ็บปวด โดยหลังจากยาชาทำการออกฤทธิ์เต็มที่แล้วนั้น ทันตแพทย์จะทำการใส่แผ่นยางกันน้ำลายหรือที่เรียกว่า rubber Dam เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของน้ำลายเข้าไปปะปนในบริเวณคลองรากฟันที่กำลังทำการรักษาอยู่ 2. คุณหมอหรือทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเริ่มด้วยขั้นทำความสะอาดคลองรากฟัน โดยทำการใส่ยาไว้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ โดยคุณหมอจะเริ่มนัดในรอบถัดไปเพื่อทำการรักษาขั้นตอนต่อไป ซึ่งจะมีการขยายคลองรากฟันต่อ ด้วยการใส่ยา ซึ่งหากคุณหมอหรือทันตแพทย์แน่ใจแล้วว่า การติดเชื้อบริเวณคลองรากฟันนั่นได้ถูกกำจัดออกไปหมดเกลี้ยงแล้ว ก็จะเริ่มขั้นตอนของการอุดคลองรากฟัน ก็ถือเป็นการจบกระบวนการรักษารากฟัน โดยภายหลังเมื่อทำการรักษารากฟันเสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว คุณหมอก็จะทำการรักษาต่อ โดยการอุดตัวฟันด้านบนเพื่อให้คนไข้สามารถใช้งานฟันซี่ต่อไป เช่น ขบเคี้ยวอาหารได้ตามปกติ ซึ่งภายหลังคุณหมอก็จะทำการนัดตรวจเช็คช่องปากและตรวจเช็คอาการหลังทำการรักษารากฟัน โดยจะทำการนัดคนไข้เป็นเวลา 1-2 ครั้งซึ่งจะใช้ระยะเวลา 2-3 เดือนหลังจากนัน ทันตแพทย์หรือคุณหมอแน่ใจว่าไม่มีอาการหรือพบผลข้างเคียงใดๆ ขั้นตอนสุดท้าย นั่นก็คือ จะทำการใส่เดือยฟันและใส่ครอบฟันให้แก่คนไข้ต่อไป เพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรงของรากฟันของคนไข้ให้ฟันซี่ที่ทำการรักษาสามารถกลับมาใช้งานได้ปกติที่สุดนั่นเอง

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายรักษารากฟัน
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#รักษารากฟัน #รากฟันเทียม

ข้อควรรู้เกี่ยวกับยางจัดฟัน

คนจัดฟันต้องรู้! รวมข้อควรรู้เกี่ยวกับยางจัดฟัน มีกี่แบบ ทำไมต้องเปลี่ยน

คนจัดฟันต้องรู้! รวมข้อควรรู้เกี่ยวกับยางจัดฟัน มีกี่แบบ ทำไมต้องเปลี่ยน

สำหรับคนจัดฟันแล้ว อุปกรณ์ที่ใช้ติดเข้ากับฟันเป็นสิ่งที่สำคัญมาก นอกจากจะช่วยปรับและย้ายตำแหน่งของฟันให้อยู่ในจุดที่ถูกต้องแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญมากคือยางจัดฟัน ที่จะช่วยดึงให้ฟันของเราเข้าที่ได้ง่ายขึ้น แต่เพื่อน ๆ รู้ไหมคะ ว่ายางจัดฟันมีกี่แบบ แล้วที่คนจัดฟันต้องไปเปลี่ยนยางกันอยู่ทุกเดือนมันจำเป็นขนาดไหน เรารวบรวมข้อควรรู้เกี่ยวกับยางจัดฟันมาฝากกัน

ทำความรู้จักยางจัดฟัน

ยางจัดฟัน คือตัวรัดแบล็กเกตกับลวดให้อยู่กับที่เพื่อทำให้ฟันเรียงตัวตามตำแหน่งที่ติดเครื่องมือจัดฟัน ซึ่งถือว่าเป็นตัวแปรที่สำคัญที่มีส่วนในการปรับการเคลื่อนที่ของฟัน หากใครที่คิดจะจัดฟันก็จะต้องใส่ยางจัดฟันไว้ตลอดเวลาหรือใส่เฉพาะบางเวลา

ยางจัดฟันมีกี่แบบ

ในปัจจุบันคลินิกส่วนใหญ่จะมียางจัดฟันอยู่ 3 แบบ ซึ่งจะมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

  1. โอริง

หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า “โอริง” กันมาบ้าง โอริงหรือยางมัดเครื่องมือ ใช้กับการจัดฟันแบบโลหะ มีลักษณะเป็นห่วงกลม ๆ มีขนาดที่แตกต่างออกไปทั้งใหญ่และเล็ก บางอันอาจจะเป็นเส้นยาว มีความยืดหยุ่นน้อย ซึ่งโอริงจะทำหน้าที่ยึดระหว่างแบล็กเกตกับลวดเข้าด้วยกัน ซึ่งจะทำให้ตัวลวดค่อย ๆ เคลื่อนฟันไปสู่ตำแหน่งที่เหมาะสม

  1. เชน

เชน เป็นเครื่องมือจัดฟันที่ทำหน้าที่ปิดช่องว่างระหว่างฟัน หมายความว่าตัวเชนจะเป็นตัวทำให้ฟันเคลื่อนที่เข้าหากันและช่วยร่นระยะช่องห่างของฟัน ซึ่งจำนวนของเชนที่ใช้นั้นจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับสภาพฟันและเงื่อนไขฟันของแต่ละบุคคล

  1. ยางดึงฟัน

ยางดึงฟันจะเป็นยางยืดที่ทำหน้าที่ยึดระหว่างขากรรไกรหรือระหว่างซี่ให้เคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกัน โดยใช้วิธีการเกี่ยวยางไปในตำแหน่งต่าง ๆ ที่ต้องการปรับตำแหน่ง แต่จะเกี่ยวในแนวราบเพื่อป้องกันฟันเคลื่อนที่ในขณะที่กำลังนอนหลับ

ความสำคัญของยางจัดฟัน

นอกจากเรื่องสีสันที่สวยงามแล้ว ยางจัดฟันยังมีความสำคัญต่อการจัดระเบียบฟันให้เข้าที่อีกด้วย กล่าวคือยางจัดฟันจะช่วยให้ฟันเรียงตัวสวยและเคลื่อนที่ไปในตำแหน่งที่ติดเครื่องมือไว้ ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนฟันบนไปข้างหลังและเคลื่อนฟันล่างมาข้างหน้า หรือเคลื่อนฟันบนมาข้างหน้าและเคลื่อนฟันล่างไปข้างหลัง

ทำไมคนจัดฟันจะต้องเปลี่ยนยางจัดฟันทุกเดือน

หลายคนพอ ๆ จัด ๆ ฟันแล้ว รู้สึกขี้เกียจจะไปพบทันตแพทย์เพื่อเปลี่ยนยาว โดยหารู้ไม่ว่าการไม่เปลี่ยนยางในแต่ละเดือนจะเกิดผลเสียกับฟันมากกว่า เราต้องอย่าลืมว่าเราใส่ยางจัดฟันกันแบบ 24 ชั่วโมง ดังนั้นยางจัดฟันก็จะต้องมีเสื่อมสภาพกันบ้าง ตัวยางจะมีอาการล้าจากแรงดึงฟัน สูญเสียการยืดหยุ่น นั่นยิ่งทำให้ประสิทธิภาพในการดึงฟันเพื่อเคลื่อนย้ายตำแหน่งเสียไป หรือตัวยางอาจจะมีการเปลี่ยนสีไป นำไปสู่การสะสมและก่อเชื้อโรคภายในช่องปากไปจนถึงระดับที่รุนแรงได้

ไม่เปลี่ยนยางจัดฟันได้ไหม

ไม่เปลี่ยนยางจัดฟันได้ค่ะ แต่แน่นอนว่าจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดีตามมา เพราะอย่าลืมว่ายางจัดฟันมีอายุการใช้งาน เมื่อใช้ไปนาน ๆ ย่อมมีการเสื่อมสภาพ ซึ่งจะส่งผลต่อการเคลื่อนที่ของฟัน อีกทั้งยังอาจจะทให้เกิดโรคภายในช่องปากอย่างโรคปริทันต์ นำไปสู่เหงือกอักเสบและสูญเสียฟันได้อีกด้วย

เห็นไหมล่ะคะ ว่ายางจัดฟันสำคัญมากสำหรับคนจัดฟันอย่างไรบ้าง ส่วนเราควรจะใช้ยางแบบไหนนั้น ทางทันตแพทย์จะพิจารณาตามความเหมาะสม รวมถึงเรื่องการเปลี่ยนยางก็เป็นสิ่งที่จำเป็นและไม่ควรละเลยอย่างเด็ดขาดอีกด้วย

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายจัดฟัน
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#จัดฟัน #ยางจัดฟัน