จัดฟันครั้งแรกมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่

จัดฟันครั้งแรกมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่

จัดฟันครั้งแรกมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ พร้อมแนะวิธีเตรียมตัว

ใครฟันไม่สวย ฟันเหยิน ฟันเก ฟันซ้อน เดี๋ยวไม่ต้องกลัวอีกต่อไปแล้วว่ายิ้มแล้วจะไม่สวย เพราะการจัดฟันช่วยคุณได้ แต่ในความอยากสวย อยากหล่อ ก็มาพร้อมความกังวลใจ เพราะการจัดฟันมีค่าใช้จ่ายนั่นเอง ทำให้หลายคนถึงกับต้องอดทนเอาไว้ก่อน กลัวว่าจะแพงหรือเปล่า หรือกลัวว่าจะไม่มีเงินจ่าย เราจะมาดูกันค่ะ ว่าจัดฟันครั้งแรกมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ พร้อมคำแนะนำการเตรียมตัวเพื่อจัดฟัน

การจัดฟันมีกี่แบบ

ใครอยากจัดฟันและกังวลในเรื่องของค่าใช้จ่าย แนะนำว่าคุณจะต้องรู้รูปแบบของการจัดฟันด้วยค่ะ เนื่องจากการจัดฟันมีหลายรูปแบบจึงทำให้ราคาแตกต่างกันออกไป ซึ่งการจัดฟันแบ่งออกเป็น 3 แบบหลัก ๆ ดังนี้

  • การจัดฟันแบบโลหะ : แบบที่เราเห็นโดยทั่วไป ที่มีเครื่องเป็นโลหะติดอยู่กับผิวฟัน ซึ่งช่วงราคาเริ่มต้น สามารถ Add Line @BPDC เพื่อสอบถามราคาอัพเดทล่าสุด 2022
  • การจัดฟันแบบดามอน : เป็นการจัดฟันแบบเร่งด่วน ใช้เวลาน้อย การจัดฟันวิธีนี้ทำให้ฟันเข้ารูปและเสร็จเร็ว และยังช่วยลดความเจ็บปวดให้น้อยลงด้วยเมื่อเทียบกับการจัดฟันแบบโลหะ ซึ่งช่วงราคาเริ่มต้น สามารถ Add Line @BPDC เพื่อสอบถามราคาอัพเดทล่าสุด 2022
  • การจัดฟันแบบใส Invisalign : เป็นการจัดฟันแบบใส ที่สามารถถอดได้ และถูกออกแบบมาเฉพาะบุคคลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งช่วงราคาเริ่มต้น สามารถ Add Line @BPDC เพื่อสอบถามราคาอัพเดทล่าสุด 2022
  • จัดฟันครั้งแรกต้องจ่ายเท่าไหร่?

เรื่องค่าใช้จ่ายมักเป็นสิ่งที่หลายคนกังลในการจ่ายฟัน ซึ่งค่าใช้จ่ายนั้นจะขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลด้วยค่ะ เนื่องจากแต่ละคนก็มีปัญหาภายในช่องปากที่แตกต่างกันไป สำหรับการจัดฟันครั้งแรก แนะนำให้เตรียมเงินประมาณ 1,200 บาท สำหรับราคาเริ่มต้นในการติดเครื่องมือ ซึ่งอันนี้จะไม่รวมค่าใช้จ่ายจิปาถะอย่างการเคลียร์ช่องปากนะคะ เพราะแต่ละคนจะมีปัญหาช่องปากที่มากน้อยแตกต่างกันออกไปนั่นเอง

การเตรียมตัวก่อนการจัดฟันครั้งแรก

ขึ้นชื่อว่าครั้งแรก ใคร ๆ ก็กลัวและกังวลกันทั้งนั้น แต่การเตรียมตัวเป็นเรื่องที่ดีที่จะช่วยให้เรามีความพร้อมทั้งทางกายและใจที่จะรับการจัดฟัน ส่งผลให้การดำเนินการเป็นไปได้อย่างราบรื่น ซึ่งเราสามารถเตรียมตัวได้ดังนี้

  1. พบทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อปรึกษาและตรวจสุขภาพในช่องปาก เพื่อหาความผิดปกติภายในช่องปากและเคลียร์ช่องปากก่อนจัดฟัน เช่น อุดฟันผุ ขูดหินปูน ผ่าฟันคุด ถอนฟันบางซี่
  2. วางแผนการจัดฟัน แน่นอนว่าคุณจะต้องคิดมาก่อนว่าจะจัดแบบไหน รวมถึงปรึกษาทันตแพทย์ว่าฟันและปัจจัยภายในช่องปากของคุณสามารถจัดฟันแบบไหนได้บ้าง มีข้อดีข้อเสียอย่างไร และใช้ระยะเวลาในการจัดฟันนานแค่ไหน
  3. หากมีข้อสงสัยอะไร แนะนำว่าไม่ควรเก็บไว้ค่ะ ให้ถามคุณหมอไปเลยเพื่อประโยชน์ของตัวคุณเอง เพราะอย่าลืมว่าหากเริ่มจัดแล้ว คุณจะต้องคงเครื่องมือจัดฟันไปอย่างน้อย ๆ 2 ปี
  4. เตรียมตัวเตรียมใจให้ดี หลายคนกลัวมากกับการไปหาหมอฟัน พอยิ่งต้องมาจัดฟันก็จะมีความรู้สึกทั้งตื่นเต้นและกลัวกังวลสารพัด ดังนั้นแนะนำว่าควรทำใจให้สบาย ๆ อย่าไปเครียด เพราะเมื่อเราเครียดมาก ๆ กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ก็จะตึง ทำให้การดำเนินการจะเป็นไปได้ลำบาง ซึ่งบางคนก็สงสัยว่า การจัดฟันครั้งแรก มันเจ็บอย่างที่เขาว่ากันหรือเปล่า ต้องบอกอย่างนี้ค่ะ ว่าอาการเก็บจะขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล สาเหตุมาจากการติดหรือปรับเครื่องมือใหม่ ทำให้หลอดเลือดถูกกดจากแรงดัดฟัน จึงทำให้รู้สึกเจ็บ อาการเหล่านี้จะหายภายใน 3-5 วัน

การจัดฟันครั้งแรกมีค่าใช้จ่ายอย่างแน่นอน ส่วนมากจะเป็นค่าใช้จ่ายปลีกย่อยอย่างการเคลียร์ช่องปาก รวมถึงเงินมัดจำบางส่วน ซึ่งการจัดฟันมีหลายแบบ เราสามารถเลือกที่กำลังเงินในกระเป๋าเราจะมีได้เช่นกัน

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายจัดฟัน
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#จัดฟัน #จัดฟันแบบโลหะ #จัดฟันแบบใส

7 ข้อควรรู้ อันตรายจากการผ่าฟันคุด

7 ข้อควรรู้ อันตรายจากการผ่าฟันคุด

7 ข้อควรรู้ อันตรายจากการผ่าฟันคุด

เราคงเคยได้ยินกันมาบ้างว่า ฟันคุดเก็บเอาไว้ไม่ดี เพราะอย่างไรก็ต้องผ่าออกอยู่ดี แต่แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคนจะกล้าผ่า บางคนไม่ได้กลัวเจ็บอย่างแต่กลัวว่าผ่าไปแล้วจะส่งผลเสียมากกว่าผลดีหรือเปล่า ก็พาลให้ไม่ยอมผ่าไปอีก ซึ่งอันที่จริงแล้วหากลองพิจารณาจะพบว่าการผ่าฟันคุดมีข้อดีกว่าการไม่ผ่าด้วยค่ะ แต่ไม่ได้หมายความว่า ผ่าฟันคุดไปแล้วจะไม่มีอาการผิดปกติอะไร เราจะพาไปดูข้อควรรู้เกี่ยวกับอันตรายจากการผ่าฟันคุด

ฟันคุด ไม่ผ่าได้ไหม

ก่อนที่เราจะไปถึงเรื่องอันตรายจากการผ่าฟันคุด เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า จริง ๆ แล้วนั้น ถ้ามีฟันคุด ไม่ผ่าได้ไหม? ต้องบอกเลยว่า ใม่ผ่าได้คะ ถ้าคุณสามารถทนปวดได้ และสามารถทนกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปนี้ได้

ถ้าไม่ผ่าฟันคุด

  • เหงือกบริเวณที่คลุมฟันจะเกิดอาการอักเสบ เพราะอาจมีเศษอาหารเข้าไปติดอยู่ใต้เหงือก ทำความสะอาดได้ไม่ดีพอ จนเกิดเหงือกอักเสบ ปวด บวมและเป็นหนอง หากทิ้งไว้เชื้อจะกระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
  • ฟันข้างเคียงผุ เพราะซอกฟันระหว่างฟันคุดกับฟันกรามซี่ที่สองที่อยู่ชิดกันนั้น ทำความสะอาดได้ยาก เศษอาหารจะติดค้างอยู่ทำให้เกิดฟันผุได้ทั้งสองซี่
  • กระดูกละลายตัว เพราะแรงดันจากฟันคุดที่พยายามดันขึ้นมา อาจทำให้กระดูกรอบรากฟัน หรือรากฟันข้างเคียงถูกทำลายไปได้
  • เกิดถุงน้ำหรือเนื้องอก เพราะฟันคุดที่ทิ้งไว้นาน อาจเกิดเนื้อเยื่อหุ้มรอบฟันคุด อาจทำให้เนื้อเยื่อขยายใหญ่ขึ้นกลายเป็นถุงน้ำ
  • กระดูกขากรรไกรหัก เนื่องจากการที่มีฟันคุดฝังอยู่ จะทำให้กระดูกขากรรไกรบริเวณนั้นบางกว่าตำแหน่งอื่น เกิดเป็นจุดอ่อน เมื่อได้รับอุบัติเหตุ หรือกระทบกระแทก กระดูกขากรรไกรบริเวณนั้นก็จะหักได้ง่าย

อันตรายจากการผ่าฟันคุด

หากเลือกผ่าฟันคุด ก็สามารถพบอันตรายจากอาการข้างเคียง รวมถึงโรคแทรกซ้อนที่สามารถเกิดขึ้นภายหลังจากที่ผ่าฟันคุดไปแล้วเช่นกัน แน่นอนว่าอาการดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน ซึ่งข้อควรรู้เกี่ยวกับอาการนั้นมีดังนี้

  1. เป็นไข้หรือมีการติดเชื้อหลังการผ่าฟันคุด
  2. ขากรรไกรแข็งหรือมีอาการอ้าปากได้ลำบาก
  3. กระดูกเบ้าฟันอักเสบ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่สามารถพบได้บ่อยที่สุดหลังจากการผ่าฟันคุด เกิดจากการที่ลิ่มเลือดไม่แข็งตัวภายในกระดูกเบ้าฟัน หรือลิ่มเลือดภายในกระดูกเบ้าฟันหลุดไป จนทำให้กระดูกเบ้าฟันว่างและแห้ง และเกิดอาการปวด นอกจากนี้ อาจมีกลิ่นและรสไม่พึงประสงค์ออกมาจากบริเวณกระดูกเบ้าฟัน ซึ่งมักจะเกิดขึ้นจากการดูแลได้ไม่ดีหลังการผ่าฟันคุด
  4. อาการบาดเจ็บที่เส้นประสาทใบหน้า จะมีอาการเจ็บแปลบและชาบริเวณลิ้น ริมฝีปากล่าง คาง ฟัน และเหงือกได้ อาการบาดเจ็บดังกล่าวจะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเพียงไม่กี่สัปดาห์ หรือไม่กี่เดือน ซึ่งอาการดังกล่าวนี้จะส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันได้ เช่น ทานอาหารและน้ำได้ลำบาก
  5. ขากรรไกรหักเนื่องจากฟันคุดติดแน่นกับบริเวณกรามมากเกินไป แต่พบได้น้อย
  6. โพรงไซนัสถูกเปิดออกเนื่องจากฟันคุดซี่ด้านบนถูกถอนออกและทะลุถึงโพรงไซนัส แต่พบได้น้อย
  7. เกิดเลือดออกในปริมาณมาก และหากเลือดไม่หยุดไหลภายใน 24 ชั่วโมง ควรไปพบแพทย์เพราะอาจเป็นอันตรายได้

เราก็ได้รู้เกี่ยวกับอันตรายจากการผ่าฟันคุดไปแล้ว แต่ไม่อยากให้ใครที่กำลังปวดฟันคุดต้องกลัวไปก่อนนะคะ เพราะอย่างไรเสีย การผ่าฟันคุดก็ส่งผลดีมากกว่าผลเสีย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการดูแลตัวเองและรักษาความสะอาดของช่องปากภายหลังจากการผ่าฟันคุดด้วยค่ะ

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายผ่าฟันคุด
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ผ่าฟันคุด #ฟันคุด

ปวดฟันกราม เกิดจากอะไร

ปวดฟันกราม เกิดจากอะไร

ปวดฟันกราม เกิดจากอะไร เรียนรู้สาเหตุและการแก้ปัญหาที่ตรงจุด

คงไม่มีอยากปวดฟันกันใช่ไหมคะ โดยเฉพาะปวดฟันกราม ซึ่งเป็นฟันในตำแหน่งที่ใช้บดเคี้ยวอาหาร เพราะปวดฟันขึ้นมาเมื่อใด ความอร่อยในการกินอาหารก็หยุดอยู่แค่ตรงนั้น แล้วอาการปวดฟันกรามเกิดจากอะไร เราจะมีวิธีแก้ได้อย่างไรบ้าง ปักหมุดบทความนี้รอไว้เลย

ทำความรู้จักฟันกราม

ฟันกรามคือฟันที่ใช้สำหรับบดเคี้ยวซึ่งจะมีทั้งข้างบนและข้างล่าง เป็นฟันแท้ที่เมื่อหักไปแล้วก็จะไม่มีการงอกขึ้นมาใหม่อีก ถือว่าเป็นฟันที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีความสำคัญมาก เพราะนอกจากจะช่วยในเรื่องของการบดเคี้ยวแล้ว ยังจะทำงานร่วมกันกับฟันเขี้ยวในการคุมทิศทางการเคลื่อนไหวของขากรรไกรอีกด้วย

สาเหตุที่ทำให้ปวดฟันกราม

อย่างที่บอกไปว่าฟันกรามเป็นฟันที่มีความสำคัญกับชีวิตของเรามาก เมื่อมีปัญหา หรือมีอาการปวดฟันกรามขึ้นมา ก็ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่พอสมควรเลยค่ะ ซึ่งสาเหตุที่มักจะทำให้ปวดฟันกราม มีดังนี้

  1. ฟันผุ

สาเหตุสุดเบสิกที่พบได้บ่อยที่สุดที่ทำให้ปวดฟันกราม ในระยะแรกของฟันผุนั้น อาจจะไม่มีอาการใด ๆ แต่ถ้าฟันเกิดผุมากขึ้น ก็จะเริ่มมีอาการเสียวฟันเวลาดื่มน้ำร้อน, น้ำเย็น บางครั้งอาจจะรู้สึกปวดฟันขึ้นมาในขณะเคี้ยวอาหาร เนื่องจากมีเศษอาหารไปติดอยู่ในรูที่ผุนั้น การรักษาโดยการอุดฟันจะช่วยลดอาการปวดลงได้

  • 2.     การอักเสบของเนื้อเยื่อในโพรงประสาทฟัน

ถัดมาเป็นการอักเสบของเนื้อเยื่อในโพรงประสาทฟัน ส่วนใหญ่มักจะเป็นผลจากฟันที่ผุลึกมาก จนกระทั่งทะลุโพรงประสาทฟัน ซึ่งจะอยู่ในส่วนของรากฟันและอาจพบได้ในฟันสึก, ฟันร้าวหรือแตกลึกถึงโพรงประสาทฟัน ซึ่งจะทำให้เกิดอาการอักเสบและติดเชื้อของเนื้อเยื่อในโรงประสาทฟัน ทำให้เกิดอาการปวดฟันกรามขึ้นมาได้

  • ปลายรากฟันอักเสบเป็นหนอง

ขยับความรุนแรงขึ้นไปอีกระดับ ถ้าการอักเสบของเนื้อเยื้อในโพรงประสาทฟันฟันเป็นอยู่นาน โรคอาจจะลุกลามไปที่ปลายรากฟัน ทำให้เกิดการติดเชื้อและเป็นหนองบริเวณปลายรากฟัน ก็จะมีอาการปวดฟันกรามได้เช่นกัน ร่วมกับการบวมของเหงือกบริเวณฟันที่ติดเชื้อและเป็นโรคได้ ถ้าเชื้อลุกลามออกนอกปลายรากไปที่ใต้คางหรือแก้ม จะสังเกตได้ว่าหน้าจะบวมได้ การรักษาจะเหมือนกับกรณีที่มีการอักเสบของเนื้อเยื่อในโพรงประสาทฟัน

  • ฟันคุด

ข้อบ่งชี้อาการปวดฟันกรามโดยเฉพาะก็ต้องยกให้ฟันคุดนี่ล่ะค่ะ โดยฟันคุดเกิดจากฟันที่จะขึ้นในช่วงวัยรุ่นตอนปลายเป็นต้น โดยขึ้นมาได้ไม่เต็มที่ เนื่องจากกระดูกขากรรไกรมีเนื้อที่ไม่เพียงพอหรือมีฟันซี่ข้างเคียงขวางไว้ มักเป็นที่ฟันกรามซี่ในสุด ทั้งข้างบนและข้างล่างจะทำให้รู้สึกปวดฟันเวลาที่ฟันกำลังจะขึ้นได้ ถ้าพบว่ามีเหงือกบวมรอบ ๆ เป็นหนองฟันคุย ฟันคุดควรได้รับการผ่าตัดฟันคุยจะทำให้อาการปวดฟันกรามก็จะลดลง

  • โรคเหงือกอักเสบและปริทันต์อักเสบ

และสาเหตุอย่างสุดท้ายที่จะส่งผลให้ปวดฟันกราม คือ โรคเหงือกอักเสบและปริทันต์อักเสบ มักมีสาเหตุมาจากคราบหินน้ำลายหรือหินปูน จะทำให้หงือกอักเสบ บวดมและปวดฟันได้ ผู้ป่วยมักมีอาการปวดหนึบ ๆ หรือปวดรำคาญ ร่วมกับแปรงฟันมีเลือดออก ถ้าเป็นมาก ๆ ฟันจะโยก

จะเห็นได้ว่าสาเหตุที่ทำให้ปวดฟันกรามมีมากมาย ซึ่งยังมีอีกหลาย ๆ โรคที่ทำให้ปวดได้ แต่ที่ยกตัวอย่างไปนั้นเป็นโรคที่พบได้บ่อยที่ทำให้เกิดอาการปวดฟัน ดังนั้นหากรู้สึกว่ามีอาการปวดฟัน ควรไปพบทันตแพทย์ทันทีเพื่อค้นหาสาเหตุและได้รับการรักษาที่เหมาะสมต่อไป การปล่อยทิ้งไว้จะให้ยิ่งเกิดอาการติดเชื้อ ลุกลาม จนแก้ไขได้ยาก

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายทำฟัน ถอนฟัน
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#อุดฟัน #ปวดฟัน #ถอนฟัน

หินปูนในช่องปาก ภัยเงียบทำลายฟัน

หินปูนในช่องปาก ภัยเงียบทำลายฟัน

หินปูนในช่องปาก ภัยเงียบทำลายฟัน

เคยสงสัยกันไหมคะ ว่าทำไมเราถึงต้องขูดหินปูน แล้วหินปูนที่ว่านี้มันทำลายฟันเราอย่างไร ใครอยากมีสุขภาพช่องปากที่แข็งแรง บทความนี้เราจะพาคุณไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับหินปูนในช่องปาก ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นภัยเงียบที่ทำลายฟันของเรา พร้อมแนะวิธีดูแลช่องปากให้ห่างไกลจากหินปูน

หินปูน คืออะไร

หินปูนเป็นคราบจุลินทรีย์หรือเศษอาหารที่สะสมและจับตัวกับเชื้อโรคจนตกตะกอนกลายเป็นของแข็งซึ่งเกาะอยู่ตามผิวฟัน  ซอกเหงือก ซอกฟัน และขอบฟัน โดยปกติคราบจุลินทรีย์ที่เกาะอยู่บนผิวฟันจะมีลักษณะนิ่มและสามารถแปรงออกได้ แต่เมื่อใดที่มีแร่ธาตุจากน้ำลายมาผสมด้วยจะกลายเป็นคราบหินปูนที่มีลักษณะเป็นของแข็งไม่สามารถแปรงได้เอง จึงทำให้เราต้องคอยไปขูดหินปูนนั่นเอง

หินปูน เกิดจากอะไร

สาเหตุหลักของการเกิดหินปูนคือการดูแลสุขอนามัยของช่องปากที่ไม่ดีพอนั่นเองนอกจากนี้ยังพบว่าลักษณะทางพันธุกรรมการดื่มชากาแฟหรือสูบบุหรี่เป็นประจำก็สามารถทำให้คราบหินปูนได้อีกด้วยเช่นกัน

หินปูนก่อให้เกิดอันตรายได้ไหม

เมื่อจุลินทรีย์ปล่อยสารที่เป็นกรดออกมาทำให้เกิดเหงือกอักเสบ และเมื่อปล่อยออกมานาน ๆ กระดูกที่รองรับรากฟันจะค่อย ๆ ละลาย ทำให้ฟันโยกไม่แข็งแรง โดยปัญหาที่เกิดจากหินปูน ได้แก่ เลือดออกขณะแปรงฟัน ฟันเหลือง มีกลิ่นปาก เหงือกร่น โรคปริทันต์  ฟันผุ ฟันโยกฟันห่าง และฟันผุ ดังนั้นหากรู้ตัวว่ามีหินปูน ควรรีบไปพบทันตแพทย์ใกล้บ้าน ซึ่งความถี่ในการขูดหินปูนจะอยู่ที่ 6 เดือน สำหรับคนที่มีอาการเหงือกอักเสบเพียงเล็กน้อย และ 3-4 เดือน หากมีอาการของร่องลึกปริทันต์ ซึ่งในเคสที่เลวร้ายที่สุดคือการสูญเสียฟัน

วิธีรักษาหินปูนในช่องปาก

คำแนะนำสำหรับการรักษาหินปูนในช่องปาก การขูดหินปูน อย่างที่เคยได้กล่าวไปก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็นวิธีการที่ต้องทำโดยทันตแพทย์เท่านั้น เพราะต้องใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ขูดหินปูนด้วยคลื่นความถี่สูง เพื่อทำการกำจัดคราบหินปูนที่สะสมฝังลึกอยู่ตามซอกฟันหลุดออก โดยในขณะที่ทำอาจจะมีอาการเสียวฟันบ้าง หรือมีเลือดออกบ้าง ในกรณีที่มีหินปูนจำนวนมาก ส่งผลให้ฟันโยกหรือเหงือกอักเสบ ซึ่งจะหายไปเองใน 2-3 วัน

ทำไมหลังจากขูดหินปูนจึงรู้สึกว่าฟันห่าง

สำหรับเรื่องนี้เป็นเรื่องของความเข้าใจผิด คิดว่าการขูดหินปูนทำให้ฟันห่าง แต่จริง ๆ แล้ว ตัวกลางที่ทำให้ฟันห่าง คือ หินปูนที่เกิดการสะสมอยู่ตามซอกเหงือก ทำให้เกิดการอักเสบของเหงือกและเกิดการร่นของเหงือกตามมา เมื่อขูดหินปูนออกมาจึงเห็นว่าฟันแต่ละซี่ได้ห่างออกจากกันซึ่งเป็นผลจากคราบหินปูนเอง จึงไม่ควรปล่อยทิ้งไว้

วิธีป้องกันไม่ให้เกิดหินปูนในช่องปาก

เราก็ได้รู้แล้วว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดหินปูนคืออะไร และอันตรายที่มาพร้อมหินปูน แต่รู้หรือไม่คะ ว่าหินปูนพวกนี้สามารถป้องกันได้ด้วยวิธีดังนี้

  1. ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจเช็คช่องปากและขูดหินปูนทุก ๆ 6 เดือน
  2. ทุกครั้งที่แปรงฟัน ควรใช้ไหมขัดฟัน ขัดตามซอกฟันที่แปรงสีฟันอาจจะไปซอกซอนได้ไม่ทั่วถึง เพื่อ

ป้องกันเศษอาหารตกค้างจนเกิดเป็นคราบหินปูน

  • แปรงฟันแห้งด้วยยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ๆ ละ อย่างต่ำ 2 นาที เพื่อ

ป้องกันฟันผุและลดการสะสมของแบคทีเรียในช่องปาก

  • ลดการกินอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล เพราะอาหารทั้งสองอย่างนี้ตัวการที่ทำให้เกิดการสะสมของ

ชั้นแบคทีเรีย ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของหินปูน

  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เนื่องจากสารที่อยู่บุหรี่มีคุณสมบัติช่วยทำให้เกิดการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย

ในช่องปาก

เมื่อรู้แล้วว่าหินปูนเป็นอันตรายต่อช่องปากของเราอย่างไร ก็อย่าลืมที่จะหมั่นทำความสะอาดฟันและช่องปากให้ดี พร้อมไปพบทันตแพทย์เป็นประจำ

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายขูดหินปูน
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ขูดหินปูน #หินปูนในช่องปาก #ฟันขาว #ฟอกสีฟัน

หมดปัญหาฟันเหลือง

หมดปัญหาฟันเหลือง แนะวิธีเปลี่ยนฟันให้ขาวสุขภาพดี

หมดปัญหาฟันเหลือง แนะวิธีเปลี่ยนฟันให้ขาวสุขภาพดี

ใคร ๆ ก็อยากจะยิ้มฟันขาว สวยอย่างมั่นใจ แต่หลายครั้งก็ดูเหมือนว่าเราจะหลีกเลี่ยง “ฟันเหลือง” ได้ยาก นั่นเป็นเพราะพฤติกรรมการกินอาหารของคนเหล่านั่นเอง บางคนพยายามเลือกยาสีฟันที่ช่วยให้ฟันขาว แต่ก็อาจจะไม่ได้ผลอย่างที่ใจต้องการ วันนี้เราจะมาเรียนรู้ที่มาของปัญหาฟันเหลือง พร้อมวิธีดูแลรักษาให้ฟันเรากลับมาขาวเหมือนเดิม

ฟันเหลือง เกิดจากอะไร

แรก ๆ ฟันก็ขาวดีอยู่หรอก แต่นาน ๆ ไป ทำไมฟันของเราถึงกลับมีสีเหลือง ดูไม่สดใสดังเดิม ซึ่งสาเหตุของฟันเหลืองนั้นเกิดได้หลายสาเหตุ ได้แก่

  1. ปัญหาสุขภาพช่องปาก

โดยปกติแล้วผิวฟันของเราจะถูกเคลือบด้วยชั้นบาง ๆ ที่จะช่วยปกปิดชั้นเนื้อฟันสีเหลืองเอาไว้ แต่เมื่อไหร่ที่สุขภาพช่องปากของเราไม่ดี ผิวฟันจะเริ่มผุกร่อน จนเผยให้เห็นเนื้อฟันสีเหลืองออกมา ทำให้ฟันเหลือง

  • การสูบบุหรี่

บุหรี่จัดว่าเป็นศัตรูตัวร้ายที่ทำให้ฟันเหลือง เนื่องจากในบุหรี่มีสารเคมี อย่าง กำมะถัน และการเผาไหม้ ยิ่งเราสูบบุหรี่เข้าไปมาก ๆ สารเหล่านี้จะไปสะสมอยู่บนผิวฟันและแทรกซึมเข้าไปยังเนื้อฟัน ทำให้ฟันเหลือง ที่สำคัญคือคราบบุหรี่บนฟันเป็นคราบที่กำจัดออกยากมากด้วยค่ะ

  • การดื่มชา กาแฟ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ชา กาแฟ ไวน์แดง หรือเครื่องดื่มอื่น ๆ ที่มีสีเข้มและแอลกอร์ฮอล์ล้วนส่งผลให้สีฟันของเราเปลี่ยนแปลงได้ นั่นเป็นเพราะการสะสมของคราบสีในเครื่องดื่มเหล่านั้นทำให้ฟันเหลือง นอกจากนี้ ในเครื่องดื่มที่เป็นกรดอย่างโซดาหรือมะนาวจะส่งผลให้ฟันของเราผุกร่อนจากการถูกทำลายเคลือบฟัน

  • โรคและการใช้ยาต่าง ๆ

อาการเจ็บป่วยและการใช้ยาต่าง ๆ ก็สามารถเป็นสาเหตุที่ทำให้ฟันของเราเปลี่ยนสีได้เช่นกัน เช่น ยาความดันโลหิตสูง ยาโรคหอบหืด

  • พันธุกรรม

สาเหตุนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เราไม่สามารถแก้ไขฟันให้ขาวขึ้นได้ เนื่องจากเป็นการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ถ้าพ่อแม่ฟันเหลือง เราก็มีแนวโน้มที่จะฟันเหลืองได้เช่นกัน

  • อายุที่เพิ่มขึ้น

ด้วยอายุที่เพิ่มขึ้น เคลือบฟันของเราจะบางลง ส่งผลฟันเหลืองได้ หรือพูดง่าย ๆ ก็คือเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น หลาย ๆ อย่างในร่างกายของเราก็จะเสื่อมลงนั่นเอง

How to เปลี่ยนฟันเหลืองให้เป็นฟันขาว

สำหรับวิธีแก้ปัญหาฟันเหลืองก็มีหลากหลายวิธพอ ๆ กับสาเหตุของฟันเหลืองเลยค่ะ ซึ่งมีตั้งแต่การดูแลแก้ไขได้ด้วยตัวเอง ไปจนถึงพบทันตแพทย์ โดยมีวิธีดังนี้

  1. ใช้ Baking Soda หรือผงฟูขัดฟัน

วิธีแรกเราอาจจะเคยได้ยินกันมาบ้าง ว่าผงฟู หรือ Baking soda สามารถช่วยขัดให้ฟันเหลืองกลายเป็นฟันขาวได้ ซึ่งในยาสีฟันเองนั้นก็มีส่วนประกอบอย่างผงฟูเช่นกัน มีคุณสมบัติช่วยขจัดคราบสกปรกบนผิวฟันได้อย่างอ่อนโยน ทั้งยังช่วยไม่ให้แบคทีเรียเจริญเติบโต ลดคราบจุลินทรีย์ และป้องกันฟันผุ ซึ่งวิธีใช้ ให้นำผงฟู 1 ช้อนชา ผสมกับน้ำเปล่า นำมาใช้แปรงฟันแทนยาสีฟัน ประมาณ 3 ครั้ง / สัปดาห์ ก็จะเห็นผลที่ดีขึ้น

  • Oil Pulling

ช่วงหลายปีก่อนการทำ Oil Pulling หรือการใช้น้ำมันในการดูดสารพิษ แบคทีเรียและเชื้อโรคต่าง ๆ ภายในปากให้หลุดออกตามธรรมชาติด้วยการอมและบ้วนออก โดยมากจะนิยมใช้น้ำมันมะพร้าว ให้เรากลั้วปากด้วยน้ำมันสัก 15-20 นาที แล้วบ้วนออก จากนั้นค่อยแปรงฟันตามปกติ เท่านี้ฟันเหลืองก็พร้อมโบกมือลา

  • รักษาความสะอาดช่องปากให้ดี

วิธีเบสิกที่สุดที่จะช่วยให้ฟันเหลืองของคุณเปลี่ยนเป็นฟันขาว คือการดูแลรักษาความสะอาดภายในช่องปาก ไม่ใช่แค่เพียงฟัน แต่รวมเหงือกและลิ้นด้วย โดยบริเวณนั้นเป็นแหล่งสะสมแบคทีเรียจำนวนมาก

  • รักษาด้วยวีเนียร์เคลือบฟัน

วิธีสุดท้ายที่ทางทันตแพทย์เลือกใช้ คือการใช้วีเนียร์เคลือบฟัน คือการใช้แผ่นวัสดุบาง ๆ ซึ่งทำมาจาก
เซรามิกหรือเรซิ่น มาเคลือบฟันเอาไว้ ฟันก็จะดูขาวและสวยขึ้น

สิ่งสำคัญที่ทำให้เราสามารถเปลี่ยนฟันเหลืองให้กลายเป็นฟันขาว คือการหมั่นดูแลและทำความสะอาดช่องปากให้ดี หลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้ฟันเหลืองก็สามารถช่วยให้เรามียิ้มที่สวย ฟันขาว มั่นใจ

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายทำฟัน ฟอกสีฟัน
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ฟันขาว #ฟอกสีฟัน