7 ข้อควรรู้ อันตรายจากการผ่าฟันคุด
เราคงเคยได้ยินกันมาบ้างว่า ฟันคุดเก็บเอาไว้ไม่ดี เพราะอย่างไรก็ต้องผ่าออกอยู่ดี แต่แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคนจะกล้าผ่า บางคนไม่ได้กลัวเจ็บอย่างแต่กลัวว่าผ่าไปแล้วจะส่งผลเสียมากกว่าผลดีหรือเปล่า ก็พาลให้ไม่ยอมผ่าไปอีก ซึ่งอันที่จริงแล้วหากลองพิจารณาจะพบว่าการผ่าฟันคุดมีข้อดีกว่าการไม่ผ่าด้วยค่ะ แต่ไม่ได้หมายความว่า ผ่าฟันคุดไปแล้วจะไม่มีอาการผิดปกติอะไร เราจะพาไปดูข้อควรรู้เกี่ยวกับอันตรายจากการผ่าฟันคุด
ฟันคุด ไม่ผ่าได้ไหม
ก่อนที่เราจะไปถึงเรื่องอันตรายจากการผ่าฟันคุด เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า จริง ๆ แล้วนั้น ถ้ามีฟันคุด ไม่ผ่าได้ไหม? ต้องบอกเลยว่า ใม่ผ่าได้คะ ถ้าคุณสามารถทนปวดได้ และสามารถทนกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไปนี้ได้
ถ้าไม่ผ่าฟันคุด
- เหงือกบริเวณที่คลุมฟันจะเกิดอาการอักเสบ เพราะอาจมีเศษอาหารเข้าไปติดอยู่ใต้เหงือก ทำความสะอาดได้ไม่ดีพอ จนเกิดเหงือกอักเสบ ปวด บวมและเป็นหนอง หากทิ้งไว้เชื้อจะกระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
- ฟันข้างเคียงผุ เพราะซอกฟันระหว่างฟันคุดกับฟันกรามซี่ที่สองที่อยู่ชิดกันนั้น ทำความสะอาดได้ยาก เศษอาหารจะติดค้างอยู่ทำให้เกิดฟันผุได้ทั้งสองซี่
- กระดูกละลายตัว เพราะแรงดันจากฟันคุดที่พยายามดันขึ้นมา อาจทำให้กระดูกรอบรากฟัน หรือรากฟันข้างเคียงถูกทำลายไปได้
- เกิดถุงน้ำหรือเนื้องอก เพราะฟันคุดที่ทิ้งไว้นาน อาจเกิดเนื้อเยื่อหุ้มรอบฟันคุด อาจทำให้เนื้อเยื่อขยายใหญ่ขึ้นกลายเป็นถุงน้ำ
- กระดูกขากรรไกรหัก เนื่องจากการที่มีฟันคุดฝังอยู่ จะทำให้กระดูกขากรรไกรบริเวณนั้นบางกว่าตำแหน่งอื่น เกิดเป็นจุดอ่อน เมื่อได้รับอุบัติเหตุ หรือกระทบกระแทก กระดูกขากรรไกรบริเวณนั้นก็จะหักได้ง่าย
อันตรายจากการผ่าฟันคุด
หากเลือกผ่าฟันคุด ก็สามารถพบอันตรายจากอาการข้างเคียง รวมถึงโรคแทรกซ้อนที่สามารถเกิดขึ้นภายหลังจากที่ผ่าฟันคุดไปแล้วเช่นกัน แน่นอนว่าอาการดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน ซึ่งข้อควรรู้เกี่ยวกับอาการนั้นมีดังนี้
- เป็นไข้หรือมีการติดเชื้อหลังการผ่าฟันคุด
- ขากรรไกรแข็งหรือมีอาการอ้าปากได้ลำบาก
- กระดูกเบ้าฟันอักเสบ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่สามารถพบได้บ่อยที่สุดหลังจากการผ่าฟันคุด เกิดจากการที่ลิ่มเลือดไม่แข็งตัวภายในกระดูกเบ้าฟัน หรือลิ่มเลือดภายในกระดูกเบ้าฟันหลุดไป จนทำให้กระดูกเบ้าฟันว่างและแห้ง และเกิดอาการปวด นอกจากนี้ อาจมีกลิ่นและรสไม่พึงประสงค์ออกมาจากบริเวณกระดูกเบ้าฟัน ซึ่งมักจะเกิดขึ้นจากการดูแลได้ไม่ดีหลังการผ่าฟันคุด
- อาการบาดเจ็บที่เส้นประสาทใบหน้า จะมีอาการเจ็บแปลบและชาบริเวณลิ้น ริมฝีปากล่าง คาง ฟัน และเหงือกได้ อาการบาดเจ็บดังกล่าวจะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเพียงไม่กี่สัปดาห์ หรือไม่กี่เดือน ซึ่งอาการดังกล่าวนี้จะส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันได้ เช่น ทานอาหารและน้ำได้ลำบาก
- ขากรรไกรหักเนื่องจากฟันคุดติดแน่นกับบริเวณกรามมากเกินไป แต่พบได้น้อย
- โพรงไซนัสถูกเปิดออกเนื่องจากฟันคุดซี่ด้านบนถูกถอนออกและทะลุถึงโพรงไซนัส แต่พบได้น้อย
- เกิดเลือดออกในปริมาณมาก และหากเลือดไม่หยุดไหลภายใน 24 ชั่วโมง ควรไปพบแพทย์เพราะอาจเป็นอันตรายได้
เราก็ได้รู้เกี่ยวกับอันตรายจากการผ่าฟันคุดไปแล้ว แต่ไม่อยากให้ใครที่กำลังปวดฟันคุดต้องกลัวไปก่อนนะคะ เพราะอย่างไรเสีย การผ่าฟันคุดก็ส่งผลดีมากกว่าผลเสีย ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการดูแลตัวเองและรักษาความสะอาดของช่องปากภายหลังจากการผ่าฟันคุดด้วยค่ะ
สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายผ่าฟันคุด
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)
#ผ่าฟันคุด #ฟันคุด