ฟันปลอมมีกี่แบบ แบบไหนถึงจะใช่สำหรับคุณ

ฟันปลอมมีกี่แบบ แบบไหนถึงจะใช่สำหรับคุณ

ฟันปลอมมีกี่แบบ แบบไหนถึงจะใช่สำหรับคุณ

หากใครเห็นคุณปู่คุณย่าใส่ฟันปลอม เคยสงสัยกันไหมคะว่าทำไมฟันปลอมบางคนก็ถอดได้ บางคนก็ถอดไม่ได้ มันมีให้เลือกกี่แบบกันน้า ถ้าใครกำลังสงสัยอยู่ เราหาคำตอบนั้นมาไว้ที่นี่แล้ว มาดูกันว่าฟันปลอมมีกี่แบบกันแน่

โดยทั่วไปในงานทันตกรรม เราจะแบ่งฟันปลอมออกเป็น 2 แบบ ได้แก่

1. ฟันปลอมแบบถอดได้

เป็นฟันปลอมที่ทำขึ้นให้กับผู้ที่ยังมีฟันธรรมชาติหลงเหลืออยู่ เป็นการใส่ฟันเพียงบางส่วนแต่หลายซี่ ถ้าใส่ฟันปลอมแบบถอดได้ น้อยซี่ จะน่ารำคาญกว่า เพราะฟันปลอมชนิดนี้ต้องมีส่วนยึดโยงบนเพดาน เช่นมันอาจจะถูกถอนไปบางซี่ ทำให้ฟันหลอ ดูไม่สวยงาม

โดยตัวฐานนั้นจะมีที่ทำมาจากพลาสติกหรืออะครีลิก (เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มต้นใส่ฟันปลอม จำเป็นต้องใช้เวลาปรับตัว) เเละฐานเเบบโลหะ จะมีความบางและแนบไปกับเหงือกได้มากกว่า ทำให้รู้สึกรำคาญน้อยกว่า อีกทั้งยังใช้งานได้นานกว่าด้วย

ข้อดี : ราคาถูก ถอดล้างทำความสะอาดได้
ข้อเสีย : เคี้ยวอาหารไม่สะดวก ประสิทธิภาพน้อย การบดเคี้ยวยังทดแทนฟันตามธรรมชาติไม่ได้ เพราะแรงกดจากการเคี้ยวจะลงที่เหงือก ยิ้มแล้วเห็นตะขอันปลอม หากใช้งานในระยะยาวอาจจะหลวม ไม่แน่นดังเดิม อีกทั้งเศษอาหารสามารถเข้าไปติดได้

การดูแลฟันปลอมแบบถอดได้ :

  • ไม่ควรกินอาหารที่แข็งและเหนียว เพราะอาจทำให้ฟันปลอมร้าวและแตกหักได้
  • หลังมื้ออาหารถอดฟันปลอมออกล้างด้วยน้ำสะอาด ใช้แปรงสีฟันขนนุ่มๆ ที่ทำความสะอาดฟันปัดทำเศษอาหารออกจากฟันปลอม
  • ไม่ใช้ยาสีฟันทำความสะอาดฟันปลอม เพราะสารขัดฟันในยาสีฟันจะทำให้ตัวฟันปลอมสึกได้ แต่ควรใช้เป็นเม็ดฟู่สำหรับทำความสะอาด เพื่อทำความสะอาดฟันปลอมเเละกำจัดเชื้อโรคที่ซ่อนอยู่ อาทิตย์ละครั้ง
  • ก่อนนอนควรถอดแช่น้ำ เพื่อคงรูปร่างของฟันปลอมไว้ การเก็บฟันปลอมในที่เเห้งจะทำให้ฟันปลอมบิดเบี้ยว เเละไม่สามารถใส่ฟันได้สนิทกับเหงือกเหมือนเดิม

2. ฟันปลอมแบบติดแน่น

เราอาจจะเรียกว่าฟันปลอมถาวรก็ได้ค่ะ ที่ยึดแน่นในช่องปาก โดยอาศัยฟันธรรมชาติซี่ที่อยู่ข้างเคียงกับช่องว่างเป็นหลักในการยึดฟันปลอม เป็นการทำครอบฟันที่เป็นฟันปลอมยึดกับฟันธรรมชาติ วัสดุจะทำมาจากทั้งโลหะทั้งแผ่น (ใช้กับฟันกรามสำหรับบดเคี้ยว) เป็นพลาสติก (เหมาะใส่ชั่วคราว) และเป็นแบบผสม (เซรามิก ฐานโลหะพอกด้วยพอสเลน เหมาะกับบริเวณฟันหน้าที่เน้นความสวยงามเป็นธรรมชาติ) ซึ่งฟันปลอมแบบติดแน่นนั้นยังสามารถแบ่งชนิดย่อย ๆ ออกมาได้อีก 2 แบบ ได้แก่

  • ฟันปลอมแบบติดแน่นด้วยสะพานฟัน

ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า สะพานฟัน คือ การนำฟันเทียม (ฟันปลอม) มาเกี่ยวยึดกับฟันซี่ข้างเคียงฟันซี่ที่หายไป เพื่อทดแทนช่องว่างระหว่างฟัน ลักษณะคล้าย ๆ สะพานเชื่อม

  • ฟันปลอมแบบติดแน่นด้วยรากฟันเทียม

รากฟันเทียม คือ การปลูกฟันเทียมทดแทนฟันที่สูญเสียไป ด้วยการฝังรากฟันเทียมไททาเนียมลงไปในกระดูกขากรรไกร ยึดติดกับตัวเนื้อฟันจากเรซินเพื่อใช้บดเคี้ยว ทำหน้าที่ได้เหมือนกับฟันธรรมชาติ

ข้อดี : ประสิทธิภาพด้านการบดเคี้ยวดีเทียบเท่ากับฟันจริง เพราะเเรงเคี้ยวกดลงที่ตัวฟัน, ติดแน่น หลุดยาก, มีลักษณะและขนาดที่ใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติ ใส่แล้วไม่รู้สึกรำคาญ

ข้อเสีย : ต้องมีการกรอฟันข้างเคียงเพื่อยึดฟันปลอม ทำให้ต้องเสียเนื้อฟัน, ราคาสูงกว่าฟันปลอมแบบถอดได้, ถอดทำความสะอาดไม่ได้

การดูแลฟันปลอมแบบติดแน่น :

  • แปรงฟันเน้นบริเวณคอฟัน เหงือก ใช้ไหมขัดฟันเพื่อกำจัดเศษอาหารที่ติดอยู่ตามซอกฟัน
  • ควรทำความสะอาดใต้ฟันปลอมด้วยเครื่องมือร้อยไหมขัดฟัน (Floss threader) ร่วมกับไหมขัดฟัน
  • เข้ารับการตรวจเช็คจากทันตแพทย์ตามนัด

ถ้าใครไม่อยากต้องใส่ฟันปลอมเร็วเกินไป แนะนำให้ดูแลรักษาสุขภาพฟันของตัวคุณเองให้ดี ถึงแม้ว่าฟันจะมีอะไหล่สำรอง แต่อย่าลืมว่าใด ๆ ก็ไม่ดีเท่าฟันจริง ๆ ของเราหรอกค่ะ

ติดต่อคลินิกทันตกรรม BPDC เพื่อทำฟันปลอม

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829

Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental

ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

www.bpdcdental.com

BPDC #คลินิกทันตกรรม #ทันตกรรม #ฟันปลอม #ทำฟันปลอม

ฟันปลอมมีกี่แบบ

ฟันปลอมมีกี่แบบ

ฟันปลอมสามารถแบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ ฟันปลอมชนิดถอดได้ และชนิดติดแน่น

  1. ฟันปลอมชนิดถอดได้

    ฟันปลอมชนิดถอดได้เป็นฟันปลอมที่ต้องอาศัยการใช้ตะขอเพื่อช่วยยึดเกาะฟันปลอมกับฐานฟันปลอม ฟันปลอมชนิดนี้จะมีราคาถูกกว่าฟันปลอมชนิดติดแน่น เนื่องจากสามารถถอดทำความสะอาดได้ง่าย  ในช่วงเริ่มแรกของการใส่ต้องปรับตัวให้เคยชินกับการใส่   ข้อแนะนำสำหรับฟันปลอมชนิดนี้ คือ ห้ามใส่นอน (ไม่ว่าจะนอนกลางวันหรือนอนกลางคืน)  โดยก่อนนอนให้ถอดล้างทำความสะอาด และแช่ในภาชนะที่มีน้ำทุกครั้ง
ฟันปลอมชนิดนี้ สามารถแบ่งได้ตามวัสดุที่ใช้ทำฐานฟันปลอม โดยแยกย่อยได้อีก 2 ชนิดคือ

1.1 ฟันปลอมถอดได้ฐานโลหะ

ฟันปลอมแบบนี้มีตัวฐานเป็นโลหะ   และมีฟันเป็นพลาสติกพิเศษที่มีสีและลักษณะใกล้เคียงกับฟันข้างเคียง

ข้อดี  มีความทนทานกว่าแบบฐานพลาสติก  ใส่สบายกว่าเนื่องจากบางและเล็ก

ข้อเสีย  ราคาสูงกว่าแบบฐานพลาสติก  ถ้ามีการชำรุดแตกหัก จะซ่อมแซมได้ยากกว่า

1.2 ฟันปลอมถอดได้ฐานพลาสติก

ฟันปลอมแบบนี้มีฐานและฟันเป็นพลาสติกพิเศษ ฐานมีสีชมพูคล้ายเหงือก  และตัวฟันก็มีสีและลักษณะใกล้เคียงกับฟันข้างเคียง

ข้อดี ราคาถูก หากต้องการเติมซี่ฟัน สามารถทำได้ง่ายกว่า

ข้อเสีย  ไม่แข็งแรง ทนทาน   ตัวฐานมีขนาดใหญ่และหนากว่าฟันปลอมถอดได้ฐานโลหะ

2.ฟันปลอมชนิดติดแน่น

ฟันปลอมชนิดติดแน่นเป็นฟันปลอมที่อาศัยการยึดฟันธรรมชาติโดยการกรอฟันให้เล็กลง และทำการครอบฟันให้ติดกับตัวฟันปลอม

ฟันปลอมแบบติดแน่นเป็นฟันปลอมที่สร้างขึ้นมาเพื่อซ่อมแซมฟันที่สูญเสียไปไม่มาก หรือเพียงซี่ใดซี่หนึ่ง เรียกว่า การครอบฟัน ซึ่งฟันปลอมแบบนี้ ยังมีด้วยกันอีก  3  แบบ

2.1 ครอบฟัน

ส่วนใหญ่จะใช้ในกรณีที่มีการสูญเสียส่วนของฟันไปมากๆ ไม่สามารถบูรณะด้วยการอุดโดยตรงได้ (ฟันปลอมติดแน่นไม่ได้ทดแทนฟันธรรมชาติที่สูญเสียจากการถอนฟัน)
         2.2 สะพานฟัน

ใช้เพื่อทดแทนฟันที่สูญเสียไปไม่กี่ซี่(ช่องว่างขนาดไม่ใหญ่) จะต้องมีการกรอเคลือบฟันและเนื้อฟัน (ที่ยังดีๆอยู่) ของฟันข้างเคียง (ปกติมักเป็นตำแหน่งหัวและท้ายของช่องว่าง) เพื่อใช้เป็นหลักยึดให้กับสะพานฟัน
2.3 รากเทียม

เป็นการเลียนแบบฟันธรรมชาติ ฟันปลอมชนิดนี้เหมาะสำหรับคนที่ต้องการฟันปลอมที่ใกล้เคียงฟันธรรมชาติ  ใช้เพื่อทดแทนฟันที่สูญเสียไป โดยการฝังโลหะไทเทเนียมที่มีลักษณะคล้ายรากฟันเข้าไปในกระดูก (เพื่อทดแทนรากฟันธรรมชาติ) จากนั้นจึงบูรณะด้วยการครอบฟันหรือสะพานฟันทับบนรากเทียมนั้นต่อไป

ข้อดี  เสริมสร้างความมั่นใจ สามารถเคี้ยวอาหารได้ดีและมีประสิทธิภาพ  ไม่หลุด

ข้อเสีย วิธีการทำความสะอาดยุ่งยากกว่า  ราคาแพงกว่า

การเลือกลักษณะฟันปลอมที่เหมาะสมกับเรา ไม่ว่าจะเป็นฟันปลอมแบบถอดได้หรือฟันปลอมแบบติดแน่น เราสามารถเลือกตามความเหมาะสมและตามกำลังทรัพย์ของเรา  นอกจากนั้นเราต้องเลือกคลินิกทันตกรรมหรือโรงพยาบาลที่มีความน่าเชื่อถือ และมีทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้วยนะคะ

 

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมาย

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#covid19 #คลินิกทันตกรรม #BPDC