บริการทันตกรรมเด็กมีอะไรบ้าง

บริการทันตกรรมเด็กมีอะไรบ้าง? คู่มือสำหรับคุณพ่อคุณแม่ในการดูแลสุขภาพฟันของลูกน้อย

การดูแลฟันของเด็กตั้งแต่เริ่มต้นเป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อป้องกันปัญหาทางทันตกรรมในอนาคต คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจสงสัยว่าบริการทันตกรรมสำหรับเด็กนั้นมีอะไรบ้าง และควรพาลูกไปพบทันตแพทย์เมื่อไหร่ การรู้จักกับบริการทันตกรรมเด็กสามารถช่วยให้คุณเตรียมตัวและมั่นใจว่าลูกของคุณจะได้รับการดูแลที่ดีที่สุดเพื่อฟันที่แข็งแรงและสวยงาม

บริการทันตกรรมเด็กมีอะไรบ้าง?

ทันตกรรมสำหรับเด็กมีบริการหลากหลายที่ออกแบบมาเพื่อดูแลฟันและเหงือกของเด็กตั้งแต่ทารกจนถึงวัยรุ่น บริการเหล่านี้มีเป้าหมายหลักในการป้องกันปัญหาฟันผุ รวมถึงส่งเสริมให้เด็กมีพฤติกรรมการดูแลฟันที่ดีในระยะยาว

1. การตรวจฟันประจำ

การตรวจฟันเป็นประจำทุก 6 เดือนเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันปัญหาทางทันตกรรม การตรวจฟันในเด็กช่วยให้ทันตแพทย์สามารถตรวจสอบการเจริญเติบโตของฟัน และตรวจพบปัญหาฟันผุหรือโรคเหงือกได้ในระยะเริ่มต้น หากพบปัญหาทันตแพทย์จะสามารถวางแผนการรักษาที่เหมาะสม

2. การเคลือบฟลูออไรด์

การเคลือบฟลูออไรด์เป็นการป้องกันฟันผุที่มีประสิทธิภาพ ฟลูออไรด์ช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับชั้นเคลือบฟัน ทำให้ฟันของเด็กต้านทานการผุได้ดียิ่งขึ้น บริการนี้มักจะดำเนินการในระหว่างการตรวจฟันประจำเพื่อเสริมความแข็งแรงให้กับฟันของเด็ก

3. การเคลือบร่องฟัน

ฟันกรามของเด็กมักมีร่องลึกที่เสี่ยงต่อการสะสมคราบพลัคและเศษอาหาร การเคลือบร่องฟันเป็นการใช้สารเคลือบพิเศษปิดร่องลึกเหล่านี้เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดฟันผุ เป็นบริการที่เหมาะสำหรับฟันกรามหลังที่เพิ่งขึ้นมาใหม่

4. การอุดฟัน

หากฟันของเด็กเริ่มผุ การอุดฟันเป็นวิธีการรักษาที่ช่วยหยุดการลุกลามของฟันผุ การอุดฟันจะช่วยฟื้นฟูความแข็งแรงของฟันและป้องกันไม่ให้เชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ส่วนอื่นของฟันที่ยังคงแข็งแรง ทันตแพทย์จะใช้วัสดุอุดฟันที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก เช่น คอมโพสิตเรซิน ซึ่งมีสีใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติ

5. การรักษารากฟันน้ำนม

แม้ว่าฟันน้ำนมจะหลุดไปตามธรรมชาติ แต่หากฟันน้ำนมมีการติดเชื้อหรือผุอย่างรุนแรง การรักษารากฟันอาจจำเป็น การรักษารากฟันในเด็กช่วยรักษาฟันน้ำนมให้อยู่ในตำแหน่งจนกว่าฟันแท้จะขึ้นมา การรักษานี้ช่วยให้เด็กยังสามารถเคี้ยวอาหารได้อย่างปกติ และป้องกันปัญหาการเรียงตัวของฟันในอนาคต

6. การถอนฟัน

ในบางกรณี ฟันน้ำนมที่ผุอย่างหนักหรือมีการติดเชื้ออาจต้องถอนออก เพื่อป้องกันการลุกลามไปยังฟันแท้ที่กำลังขึ้น การถอนฟันในเด็กควรดำเนินการโดยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อลดความเจ็บปวดและป้องกันการติดเชื้อหลังการรักษา

7. การใส่เครื่องมือจัดฟัน

ในบางกรณี เด็กอาจมีปัญหาการเรียงตัวของฟัน เช่น ฟันซ้อน ฟันเก หรือฟันห่าง การใส่เครื่องมือจัดฟันเป็นการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ทันตแพทย์จะประเมินความจำเป็นในการใส่เครื่องมือจัดฟันเมื่อเด็กเริ่มมีฟันแท้ขึ้น การจัดฟันในวัยเด็กช่วยปรับโครงสร้างฟันและกรามให้เข้าที่ ทำให้การเจริญเติบโตของฟันในอนาคตเป็นไปอย่างสมบูรณ์

8. การให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลฟัน

การให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลฟันเป็นสิ่งสำคัญที่ทันตแพทย์มักจะทำหลังจากการตรวจฟัน โดยทันตแพทย์จะสอนเด็กและคุณพ่อคุณแม่ถึงวิธีการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันอย่างถูกวิธี รวมถึงคำแนะนำเกี่ยวกับโภชนาการที่ดีต่อสุขภาพฟัน เช่น การลดการบริโภคน้ำตาลและอาหารที่มีกรดสูง

เมื่อใดที่ควรพาลูกไปพบทันตแพทย์?

คุณพ่อคุณแม่ควรเริ่มพาลูกไปพบทันตแพทย์ตั้งแต่อายุประมาณ 6 เดือน หรือเมื่อฟันซี่แรกของลูกขึ้น เพื่อให้ทันตแพทย์ตรวจสอบการเจริญเติบโตของฟันและให้คำแนะนำในการดูแลฟันที่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็ก การเริ่มต้นการดูแลฟันตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้ลูกน้อยมีฟันที่แข็งแรงและลดโอกาสเกิดปัญหาฟันผุในอนาคต

นอกจากนี้ หากพบว่าลูกมีอาการต่อไปนี้ ควรรีบพาไปพบทันตแพทย์ทันที:

  • ฟันผุหรือมีรูฟันที่เห็นได้ชัด
  • มีอาการปวดฟันหรือเหงือกบวม
  • ฟันน้ำนมหลุดก่อนเวลา
  • ฟันซ้อนหรือฟันเกอย่างชัดเจน
  • ฟันกรามขึ้นแล้วแต่ไม่ได้ทำความสะอาดได้ทั่วถึง

วิธีการเตรียมตัวพาลูกไปพบทันตแพทย์

การพาลูกไปพบทันตแพทย์อาจเป็นประสบการณ์ใหม่สำหรับเด็ก โดยเฉพาะเด็กเล็ก การเตรียมตัวให้ลูกพร้อมจะช่วยลดความกลัวและทำให้การพบหมอฟันเป็นเรื่องสนุก นี่คือเคล็ดลับที่ช่วยให้การไปพบทันตแพทย์เป็นไปอย่างราบรื่น:

  • สอนลูกเกี่ยวกับความสำคัญของการดูแลฟันตั้งแต่เล็กๆ
  • เล่าเรื่องเกี่ยวกับการไปหาหมอฟันในทางที่สนุกสนาน
  • อ่านหนังสือหรือดูวิดีโอเกี่ยวกับการตรวจฟันให้ลูกฟัง
  • หลีกเลี่ยงการใช้คำพูดที่ทำให้เด็กกลัว เช่น “ไม่ต้องกลัว” หรือ “ไม่เจ็บ”

การสร้างประสบการณ์ที่ดีตั้งแต่ครั้งแรกที่ไปหาหมอฟันจะช่วยให้เด็กไม่กลัวการพบทันตแพทย์ในครั้งถัดไป

สรุป

บริการทันตกรรมเด็กครอบคลุมหลายด้านที่มุ่งเน้นการป้องกันและรักษาปัญหาฟันในวัยเด็ก ตั้งแต่การตรวจฟันประจำ การเคลือบฟลูออไรด์ การอุดฟัน ไปจนถึงการรักษารากฟัน การดูแลฟันตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้เด็กมีฟันที่แข็งแรงและป้องกันปัญหาทางทันตกรรมในอนาคต การพาลูกไปพบทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอและสอนให้ลูกมีพฤติกรรมการดูแลฟันที่ดีจะช่วยเสริมสร้างสุขภาพช่องปากที่ดีตลอดชีวิต

เคลียร์ช่องปากคืออะไร สำคัญกับการจัดฟันจริงหรือไม่

เคลียร์ช่องปากคืออะไร สำคัญกับการจัดฟันจริงหรือไม่

เคลียร์ช่องปากคืออะไร สำคัญกับการจัดฟันจริงหรือไม่

เราต้องเคยได้ยินกันมาบ้างล่ะค่ะ ว่าก่อนจัดฟันจะต้อง “เคลียร์ช่องปาก” แล้วเคลียร์ช่องปาก คืออะไร ต้องทำอะไรบ้าง แล้วคนที่จะจัดฟัน การเคลียร์ช่องปากจำเป็นมากไหม อยากจัดฟัน แต่ไม่เคลียร์ช่องปากได้หรือเปล่า เชื่อว่าหลายคนคงมีคำถามมากมายเหล่านี้อยู่ในใจ แต่ไม่รู้ว่าจะไปถามใครดี วันนี้เราจึงได้รวบรวมข้อสงสัยเกี่ยวกับการเคลียร์ช่องปากมาฝากกันค่ะ

เคลียร์ช่องปาก คืออะไร ?

เคลียร์ช่องปาก คือ การเตรียมเหงือกและฟันของเราให้พร้อมสำหรับการจัดฟัน เป็นการกำจัดปัญหาที่อาจส่งผลต่อแผนการจัดฟันของเราในอนาคต โดยทันตแพทย์จะทำการตรวจช่องปาก เพื่อดูสภาพฟันและเหงือกว่ามีสิ่งผิดปกติหรือไม่ เช่น เช็คฟันผุ ขูดหินปูน รวมถึงการ X-ray ฟัน และพิมพ์ฟัน เพื่อประเมินโครงสร้างใบหน้า

เคลียร์ช่องปาก ต้องทำอะไรบ้าง ?

อย่างที่กล่าวไปในตอนต้นว่า การเคลียร์ช่องปากคือการเตรียมสภาพช่องปากของฟันและเหงือกก่อนเริ่มจัดฟัน นั่นแปลว่า ทันตแพทย์จะต้องเช็คสุขภาพช่องปากของเราทั้งปาก ซึ่งจะมีรายละเอียดดังนี้

  1. ตรวจสุขภาพช่องปากโดยละเอียด

ทันตแพทย์จะตรวจเช็คช่องปากโดยละเอียด เพื่อดูว่ามีฟันผุ ฟันคุด เหงือกอักเสบ หรือปัญหาด้าน

อื่น ๆ ภายในช่องปากหรือไม่ หากพบปัญหาก็จะต้องไปรักษาตามจุดที่เป็นปัญหานั้นก่อน เพื่อไม่ให้เกิดผลเสียในระยะยาว หากต้องจัดฟัน

  • อุดฟัน

จากข้อ 1 เมื่อเรามารับการเคลียร์ช่องปาก ตรวจสุขภาพช่องปากแล้วพบว่า มีฟันผุ ทันตแพทย์จะ

แนะนำให้อุดฟันที่ผุก่อน ไม่ว่าฟันนั้นจะผุมากหรือผุน้อย เพราะหากปล่อยฟันผุเอาไว้ ไม่รับการรักษาก่อนจัดฟัน ฟันผุนั้นอาจจะมาขัดขวางการจัดฟัน หรือสร้างปัญหาระหว่างการจัดฟันในระยะยาวได้ ยิ่งไปกว่านั้น การจัดฟันจะต้องติดเครื่องมือจัดฟัน การทำความสะอาดฟันจะยิ่งทำได้ยากมากขึ้น หากมีฟันที่ผุอยู่แล้ว แต่ไม่ได้รับการอุด ก็จะยิ่งส่งผลเสีย อย่างฟันผุมากขึ้น หรือรอยผุลุกลามเข้าที่รากฟัน จนอาจจะเสียฟันซี่นั้นไป และยังต้องเสียค่ารักษาสูงอีกด้วย

  • ขูดหินปูน

การเคลียร์ช่องปากอย่างต่อมาที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ การขูดหินปูน ซึ่งหินปูนคือต้นเหตุสำคัญที่ทำให้

เกิดปัญหาช่องปากตามมาอีกหลายโรค เมื่อเราจัดฟัน ก่อนเราติดเครื่องมือจัดฟัน เราจะต้องทำความสะอาดผิวฟันให้สะอาดเสียก่อน เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเศษอาหารและแบคทีเรีย โดยพอเราติดเครื่องมือจัดฟันไปแล้ว การทำความสะอาดฟันจะกลายเป็นเรื่องยากขึ้น หากเราทำความสะอาดได้ไม่ดีพอ โอกาสจะเกิดคราบหินปูนก็ง่ายขึ้นด้วย ทันตแพทย์จึงแนะนำให้ขูดหินปูนก่อนการจัดฟัน และควรขูดหินปูนเป็นระยะ ๆ อีกด้วย

  • การผ่าฟันคุด

ในกรณีที่เมื่อตรวจเช็คฟันแล้วพบฟันคุด ควรพิจารณาการถอนหรือผ่าจะดีกว่าค่ะ เพราะฟันคุดคือฟัน

ที่ขึ้นไม่ปกติตามธรรมชาติของฟันที่ควรจะขึ้น บางคนอาจจะพบกรณีที่ฟันพยายามแทงตัวเองขึ้นมา แต่ขึ้นมาไม่ได้ เนื่องจากขึ้นช้ากว่าซี่อื่น จึงไม่เหลือพื้นที่ให้ขึ้นมาได้ ส่งผลให้เหงือกบริเวณนั้นอักเสบ แต่บางคนก็ไม่พบอาการอะไร นอกจากมีฟันบางส่วนขึ้นมาแล้ว ดังนั้น ฟันคุดจึงเหมือนระเบิดเวลาที่พร้อมจะปะทุได้ทุกเมื่อ การเคลียร์ช่องปากด้วยการผ่าฟันคุดจึงเป็นทางออกที่ดี หากใครที่คิดจะจัดฟัน เพราะอย่างน้อยก็ไม่ต้องเสียเวลา หากระหว่างจัดฟันไปแล้วพบว่าฟันคุดพยายามดันฟันซี่อื่น ๆ นั่นก็จะส่งผลต่อฟันซี่ข้าง ๆ

  • ถอนฟัน

สำหรับข้อนี้ ก็เป็นประเด็นที่หลายคนสงสัยในการเคลียร์ช่องปากว่า ทำไมบางคนถอนฟัน บางคนก็ไม่

ถอน ซึ่งการถอนฟันหรือไม่นั้นจะขึ้นอยู่กับโครงสร้างและการเรียงตัวของฟันว่ามีปัญหาการเรียงตัวมากน้อยเพียงใด รวมถึงขึ้นอยู่กับการพิจารณาของทันตแพทย์ว่าจะมีแผนการรักษาอย่างไร

ดังนั้น สรุปได้ว่าการเคลียร์ช่องปากสำคัญกับการจัดฟันจริงค่ะ ซึ่งเราอาจจะไม่จำเป็นต้องเคลียร์ช่องปาก
รวดเดียวก็ได้ หากวางแผนที่จะจัดฟัน แนะนำให้ทยอยเคลียร์ช่องปาก เพื่อให้ทันตแพทย์ประเมินสภาพช่องปากก่อนติดเครื่องมือจัดฟัน

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายจัดฟัน เคลียร์ช่องปาก
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#เคลียร์ช่องปาก #จัดฟัน

ข้อควรรู้ ก่อน หลัง ผ่าตัด ถอนฟันคุด

ข้อควรรู้! ก่อน-หลัง ผ่าตัด/ถอนฟันคุด

ฟันคุด’ คือ ฟันแท้ที่ไม่สามารถขึ้นมาได้ตามปกติ
เป็นฟันที่ฝังตัวอยู่ใต้เนื้อเยื่อของเหงือก และบริเวณกระดูกขากรรไกร
ฟันคุดจะไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าหากตัวฟันไม่ได้โผล่พ้นขึ้นมาเหนือเหงือก
จะต้องใช้การเอกซเรย์จึงจะสามารถเห็นได้ โดยการผ่าตัดจะเกิดขึ้น
เมื่อฟันที่ฝังตัวอยู่ส่งผลกระทบกับฟันซี่อื่น ทำให้เกิดอาการปวด หรือเกิดอาการอักเสบติดเชื้อ

ทำอย่างไรดีเมื่อมี ‘ฟันคุด’

บางครั้งฟันคุดหรือฟันกรามซี่สุดท้าย จำเป็นต้องมีการถอนออก เพราะว่าอยู่ในลักษณะที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ตามปกติ หรือไม่ได้อยู่ในแนวที่เดียวกับฟัน ส่วนมากฟันคุดจะเกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่นตอนปลาย หรือช่วงอายุยี่สิบต้นๆ หากปล่อยฟันคุดไว้จะมีความเสี่ยงต่อภาวะต่างๆ

• เหงือกในบริเวณที่ปกคลุมฟันคุดอักเสบหรือมีการติดเชื้อ
• เกิดฟันผุที่ฟันกรามซี่ข้างเคียง
• โรคปริทันต์ (โรคเหงือก)
• พยาธิวิทยา- ซีสต์เนื้องอก
• อาจเกิดความเสียหายต่อฟันซี่ที่ติดกัน หรือมีการละลายตัวของกระดูกที่รองรับฟันซี่ที่ติดกัน เป็นผลจากแรงดันของฟันคุด
• อาการปวดเรื้อรังหรือรู้สึกไม่สบาย
• ปัญหาเกี่ยวกับการจัดฟันได้ในตำแหน่งที่ไม่ดี หรือมีฟันหน้าซ้อนเก

ประเภทของฟันคุด แบ่งออกได้เป็น ฟันคุดที่โผล่ขึ้นเต็มซี่ ฟันคุดที่โผล่ขึ้นบางซี่ และฟันคุดที่ยังฝังจมทั้งซี่
ฟันคุดแต่ละประเภทต้องใช้ระยะเวลาและค่ารักษาที่แตกต่างกัน ระดับความเจ็บปวดและอาการบวมจะแตกต่างกันไปสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย ขึ้นอยู่กับประเภทของฟันคุดและความยากลำบากในการรักษาและการตอบสนองแบบส่วนตัวของคนไข้

ผ่าตัดฟันคุด #ควรเตรียมตัวอย่างไรดี ?

คำแนะนำก่อนผ่าตัด/ถอนฟันคุด

• ผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์ก่อน
• ควรวัดความดันก่อนการผ่าฟันคุด
• ทานอาหารให้เรียบร้อยก่อนการผ่าฟันคุด
• งดการสูบบุหรี่
• งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ (เพราะมีผลต่อการหยุดไหลของเลือด, แผลผ่าฟันคุดอายหายช้าได้)

คำแนะนำหลังผ่าตัด/ถอนฟันคุด

• ประคบด้วยถุงเย็นทันทีหลังผ่าตัด เพื่อลดอาการบวม
• ควรกัดผ้าก๊อซแน่นๆ เพื่อห้ามเลือด
• ห้ามบ้วนน้ำลาย เลือด หรือน้ำ เพื่อให้เลือดหยุดเร็วขึ้น
• ควรรับประทานอาหารอ่อนๆ
• ไปรับการตัดไหมหลังจากครบกำหนดผ่าตัดแล้ว 7 วัน

บริการสอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายถอนฟันคุด

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)
www.bpdcdental.com

ตามไปดู ขั้นตอนการถอนฟันกราม

ตามไปดู ขั้นตอนการถอนฟันกราม

คงไม่มีใครอยากจะสูญเสียฟันไปถ้าไม่จำเป็น จริงไหมคะ เพราะฟันนั้นเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิต ในด้านการบดเคี้ยวอาหาร ถ้าหากเกิดอะไรขึ้นกับฟันเพียงหนึ่งซี่ ประสิทธิภาพการบดเคี้ยวก็จะลดลงตามไปด้วย แต่ทว่า ในบางกรณีก็ไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงได้ หากเราได้รู้ถึงกระบวนการในการถอนฟันกราม เราก็จะเข้าใจและเตรียมตัวพร้อมรับการถอนและการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องหลังจากถอนฟันแล้ว

การเตรียมตัวก่อนการถอนฟันกราม

          โดยทั่วไปแล้วการถอนฟันกรามเป็นงานทันตกรรมที่ค่อนข้างปลอดภัย แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ หากกระบวนการถอนและดูแลหลังจากการถอนไม่ถูกต้องมากพอ การเตรียมตัวก่อนการถอนฟันกรามจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ซึ่งทำได้ดังนี้
            1. ควรเตรียมร่างกายให้พร้อม ด้วยการนอนหลับพักผ่อนอย่างพอเพียง
            2. ทำใจให้สบาย หากพบว่าตัวเองมีอาการเครียดและกลัวมาก ๆ ควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบ
            3. สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีประวัติโรคเลือด เลือดออกง่าย หยุดยาก ควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบก่อนการถอนฟันกราม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายขึ้นหลังจากการถอนฟัน
            4. ทานอาหารแต่พอประมาณ อย่าปล่อยให้หิวหรือท้องว่างนานไป เนื่องจากหลังจากถอนฟัน คุณจะไม่สามารถทานอะไรได้ในช่วง 1 – 2  ชั่วโมงแรก จำเป็นต้องกัดผ้าก็อซไว้เพื่อให้เลือดหยุดไหล
            5. ในขณะเดียวกัน ไม่ควรทานอาหารมากเกินไป เพราะอาจจะเกิดอาการแทรกซ้อนหลังจากการถอนฟัน ซึ่งสามารถเกิดปัญหาทางเดินหายใจอุดตันจากการสำลักอาหารได้

ขั้นตอนการถอนฟันกราม

          กระบวนการถอนฟันกรามโดยทั่วไปนั้นทำได้ไม่ยาก สามารถถอนมาได้โดยปกติ แต่อาจจะใช้เวลาที่นานกว่าฟันซี่อื่น ๆ หากฟันกรามซี่นั้นไม่มีความปกติ มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
            1. ทันตแพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจสอบประวัติทางการแพทย์และประวัติทางทันตกรรม รวมถึงวางแผนการถอน แล้วทำการเอกซเรย์ฟัน ซึ่งการเอกซเรย์จะทำให้เห็นลักษณะ รูปร่าง ความยาว และตำแหน่งของฟัน รวมถึงกระดูกบริเวณรอบ ๆ ฟัน ข้อมูลส่วนนี้จะทำให้ทันตแพทย์สามารถประเมินระดับความยากง่ายในการถอนฟันได้
            2. ก่อนการถอนฟันกราม ทันตแพทย์จะทำการฉีดยาชาบริเวณรอบ ๆ ฟันที่จะถอน
            3. เมื่อทันตแพทย์ทดสอบว่ายาชาได้ออกฤทธิ์เต็มที่แล้ว ในการถอนฟันกรามธรรมดานั้น ทันตแพทย์จะใช้เครื่องมือสำหรับแซะเพื่อทำให้ฟันหลวมออกจากเหงือก จากนั้นจะใช้คีมถอนฟันเพื่อถอนฟันออกมาในกรณีที่ยังมีเนื้อฟันเหลืออยู่มากพอสมควร ซึ่งจะไม่ใช้ในกรณีที่ฟันผุลึกถึงราก ตะทำให้ฟันเปราะแตกหักง่าย ซึ่งในกรณีของฟันกรามที่ถอนยาก ทันตแพทย์อาจจะต้องใช้การถอนโดยการแบ่งฟัน ซึ่งเป็นวิธีการถอนฟันเพื่อให้สะดวกในการนำฟันและรากฟันออกทีละส่วน
            4. หลังการถอนแล้ว ตามธรรมชาติร่างกายจะทำการสร้างลิ่มเลือดออกมาเพื่อปิดบาดแผลเอาไว้ จากนั้นทันตแพทย์จะพับผ้าก็อซมาวางไว้บนแผลเพื่อกัดในการห้ามเลือด ซึ่งในบางกรณีอาจจำเป็นต้องเย็บแผลเพื่อปิดขอบเหงือกเหนือแผลที่ถอนฟันกราม และเดี๋ยวนี้คลินิกส่วนใหญ่ใช้ไหมละลายกันหมดแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องกลับไปให้หมอตัดไหมให้อีก

การดูแลตัวเองหลังการถอนฟันกราม

            1. กัดผ้าก็อซให้แน่นประมาณ 1 ชั่วโมง หากมีเลือดหรือน้ำลายควรกลืน ไม่ควรบ้วนทิ้ง
            2. งดการสนทนาในช่วงที่กัดผ้าก๊อซ เนื่องจากการพูดคุยจะทำให้ปากของเราคลาย ไม่สามารถกัดผ้าก็อซได้ นั่นจะส่งผลให้เลือดหยุดไหลช้า
            3. เมื่อครบ 1 ชั่วโมงให้คายผ้าก็อซทิ้ง แต่หากพบว่ายังมีเลือดไหลอยู่ ให้เปลี่ยนผ้าก็อซใหม่กัด
            4. ทานอาหารที่นิ่ม เคี้ยวง่ายในช่วงแรกของการถอน
            5. หลัง 1 ชั่วโมง เมื่อยาชาหมดฤทธิ์ อาจจะมีอาการปวด สามารถบรรเทาได้ด้วยการทานยาแก้ปวด

            เห็นไหมคะว่า การถอนฟันกรามไม่ได้มีอะไรซับซ้อนและยุ่งยาก รวมถึงไม่ได้น่ากลัวอย่างทีเราคิดกัน หวังว่าข้อมูลตรงนี้จะมีประโยชน์กับทุกคนนะคะ

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายถอนฟัน

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#คลินิกทันตกรรม #BPDC #ถอนฟัน #ถอนฟันกราม