หินปูนคืออะไรแล้วทำไมเราต้องไปขูดหินปูนทุก 6 เดือน วันนี้ทีมงานได้รวบรวมข้อมูลสาระดีๆ เนื่องจากมีเพื่อนๆหลายคนที่สงสัยว่า หลังทำการขูดหินปูนแล้วฟันห่างจริงหรือเปล่า? ขูดหินปูนบ่อยๆมีโอกาสฟันจะสึกแค่ไหน?
หินปูนมักจะเกิดบริเวณซอกฟัน ช่องว่างของฟัน โดยเฉพาะบริเวณที่เราทำความสะอาดไม่ทั่วถึงมักจะเกิดคราบพลัค แบคทีเรีย เกาะตามคอฟัน เนื่องจากในช่องปากที่มีน้ำลาย เป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรียที่มักจะตกตะกอนกับแคลเซียม จนบ่มกลายเป็นหินปูน ที่อยู่ตามซอกฟันและบริเวณที่เราแปรงฟันไม่ทั่วถึงนั่นเอง สรุปง่าย ๆ ก็คือ หินปูนเกิดจากการตกตะกอนของแคลเซียมที่อยู่ในน้ำลายนั่นเอง
ขูดหินปูนทุก 6 เดือนมันจะดีอย่างไร
เมื่อเกิดหินปูนขึ้นแล้วเราจะทำอย่างไรต่อไป ถ้ามีคราบหินปูนไม่เยอะมากนัก คุณหมอมักจะแนะนำให้ใช้วิธีการขูดหินปูน ที่เป็นการขูดบริเวณเหนือเหงือกในช่องปากของคนไข้ จากนั้นก็จะเหลือคราบนิดๆหน่อยๆ ถ้าเราดูแลความสะอาดได้ดีหรือหมั่นขูดหินปูนอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่เนิ่น ๆ ทุก ๆ 3 เดือน หรือ 6 เดือน โดยคนไข้ควรหมั่นมาพบทันตแพทย์เพื่อขูดหินปูนอย่างต่อเนื่อง เปรียบเทียบง่าย ๆ เช่น การดูแลรักษาความสะอาดบ้าน หากเราดูแลรักษาความสะอาดไม่ทั่วถึงก็จะยิ่งสร้างความสกปรกมากเท่านั้น เช่นเดียวกับฟันของเรานั่นเอง ถ้าหากหมั่นมาตรวจเช็คสุขภาพช่องปากกับทันตแพทย์อยู่สม่ำเสมอ ปัญหาหินปูนก็จะน้อยลงตามไปนั่นเอง
รู้หรือไม่ว่า หากไม่มีขี้ฟัน หรือคราบอาหารติดตามซอกฟัน โอกาสที่แคลเซียมในน้ำลายที่ทำให้เกิดหินปูนที่มักจะตามไปเกาะอยู่บริเวณคอฟันจะมีน้อยลงอีกด้วย ดังนั้น วิธีที่ง่ายที่สุด คือ การแปรงฟัน เป็นขั้นตอนการรักษาความสะอาดบริเวณซอกฟันที่ดีที่สุดนั่นเอง จึงมีคนไข้จำนวนไม่น้อยที่ดูแลรักษาความสะอาดช่องปากได้ดี ส่งผลให้ระยะเวลาในการขูดหินปูนก็อาจจะยืดไปถึง 1 ปีอีกด้วย
หากรู้วิธีป้องกัน เชื่อว่าหินปูนไม่ใช่เรื่องน่ากลัว และถ้าเราไม่มีหินปูนโรคที่ตามมาก็จะไม่มี
หินปูนทำให้เกิดโรคได้นะรู้ยัง? โรครำมะนาดหรือโรคเหงือก เกิดจากหินปูนที่เยอะขึ้นและกัดเซาะฟันลึกขึ้น เกาะตามบริเวณคอฟันกระดูกที่เคยโอบรากฟัน ทำให้เนื้อกระดูกก็จะน้อยลงไปตามหินปูนที่เพิ่มขึ้นนั่นเอง ฟันที่มีก็จะเริ่มโยกและเริ่มคลอน เหงือกก็จะเริ่มอักเสบหรือเป็นหนอง รวมทั้งมีกลิ่นปาก แรกๆคนไข้หลายคนคิดว่าเป็นอาการเล็กๆน้อยๆ แต่หากปล่อยปละละเลย อาการก็จะเป็นมากยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้นลำดับถัดมาหลังจากที่เราขูดหินปูนแล้ว หากไม่ดูแลรักษาช่องปากให้ดี จากโรคเหงือกอักเสบเล็กๆน้อยๆก็จะกลายเป็นโรคเหงือกหรือที่เรียกว่า โรครำมะนาด ที่เกิดจากหินปูนที่กัดเซาะฟันนั่นเอง
โรครำมะนาดที่เกิดจากหินปูนนั้น จะมีอาการอักเสบรวมทั้งเหงือกร่นตามมา ส่งผลให้ฟันโยกเอียงไปมา เนื่องจากหินปูนกัดเซาะกระดูกให้ละลาย จนบางเคสเห็นรากฟัน บางเคสมีอาการเสียวฟัน หรือขณะแปรงฟันมีเลือดออก และรูปทรงฟันที่เปลี่ยนไป เช่น แลดูยาวขึ้น เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานั้นเป็นสัญญาณของโรครำมะนาด หลายคนเข้าใจผิดมาโดยตลอด ถึงอาการข้างต้นคือ ผลของฟันเสื่อมสภาพตามวัย แต่รู้หรือไม่ว่า ฟันสามารถอยู่กับเราได้ตลอดชีวิตถ้าทุกคนรักษาความสะอาดจริงจัง แต่หากดูแลไม่ดี ก็สามารถกลายมาเป็นโรครำมะนาดได้นั่นเอง
หากหินปูนกัดเซาะกระดูกฟันเยอะแล้ว จำเป็นต้องอาศัยการรักษาโดยผู้เชี่ยวชาญหรือทันตแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นการทำความสะอาด หรือ บางเคสต้องมาปลูกกระดูกฟันเพิ่ม ดังนั้น การป้องกันไม่ให้คราบหินปูนเกิดขึ้นจนฝั่งแน่น จึงเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญ
เนื่องจาก โรครำมะนาดไม่ใช่ว่าเป็นแล้วจะสามารถหายได้เอง เนื่องจากกระดูกฟันของเรานั้นโดนกัดเซาะจนทำให้เหงือกร่นโอกาสที่ฟันหลวมและหลุดง่ายขึ้น กระดูกเนื้อฟันบางและบางเลย เพราะฉะนั้นเมื่อไหร่ก็ตามที่เราปล่อยปละละเลยจากการขูดหินปูนที่เกาะตามบริเวณคอฟัน โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรครำมะนาดยิ่งมากขึ้นเช่นกัน
บางรายเป็นเยอะก็อาจจะไม่สามารถกลับมาเหมือนเดิม เช่น มีการถอนฟันและใส่รากเทียมแทนนี่ถือเป็นอีกเรื่องที่น่าเสียดายที่เกิดจากการที่เราไม่ได้ขูดหินปูนอย่างต่อเนื่อง ทุก 3 หรือ 6 เดือน
หากเป็นแบบนี้จะรักษาอย่างไร
วิธีรักษาโรครำมะนาดที่เกิดจากหินปูนเมื่อเราไม่ได้ขูดหินปูนจนปล่อยให้หินปูนลึกขึ้น กระดูกก็จะเริ่มมีการละลาย คุณหมอจะเริ่มรักษาด้วยการทำการ deep clean หรือขูดลึกขึ้นด้วยเครื่องมือพิเศษในการขูด แม้ฟันจะกลับมาใช้งานได้ตามปกติ แต่ฟันจะมีลักษณะที่ไม่เหมือนเดิมเนื่องจากกระดูกที่มีความร่นไปแล้วก็จะไม่กลับขึ้นมาได้นั่นเอง
หลายคนที่อ่านมาถึงตรงนี้ คงสงสัยไม่น้อยว่า หากเราขูดหินปูนบ่อยๆ ฟันจะมีโอกาสห่างจริงหรือไม่
เนื่องจากคนไข้หลายท่านเมื่อทำการขูดหินปูน ปรากฏว่า เห็นซอกฟันเพิ่มขึ้น นั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้เรารู้สึกว่าขูดเสร็จแล้วฟันเรามีช่องจึงเป็นที่มาของถามของหลายๆคนที่มักสงสัยว่าขูดหินปูนแล้วทำฟันห่างลงหรือบางลงนั่นเองแต่จริงๆแล้วฟันไม่ได้ห่างแต่เนื่องจากจำนวนหินปูนที่เกาะบริเวณฟันหลังจากคุณหมอขูดออก เห็นได้ชัดถึงพื้นที่ว่างที่หินปูนเคยเกาะอยู่นั่นเอง และกอปรกับจำนวนหินปูนที่ยิ่งมากก็ยิ่งทำให้เหงือกร่นจนทำให้เกิดช่องว่างของฟันมากยิ่งขึ้นตามมานั่นเอง
สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายขูดหินปูน
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)
#หินปูน #ขูดหินปูน