วิธีการปลูกกระดูกเทียม

วิธีการปลูกกระดูกเทียม

ข้อดี-ข้อเสียการปลูกกระดูกเทียม

ในปัจจุบันเทคนิคการปลูกกระดูกก็จะมีหลัก ๆ ใหญ่อยู่ 2 วิธี
วิธีที่หนึ่งก็คือการนำกระดูกตัวเองมาปลูก วิธีที่สองคือการใช้กระดูกเทียม
ซึ่งทั้งสองวิธีจะมีขั้นตอนและกระบวนการที่แตกต่างกันไป ในกรณีที่คนไข้สูญเสียกระดูกไปจำนวนมาก ต้องการกระดูกปริมาณค่อนข้างเยอะ อาจจะพิจารณาเอากระดูกตัวเองมาเสริมตรงบริเวณที่จะฝังรากเทียม
อันนี้เรียกว่า Autogenous Bone Grafting

การเอากระดูกตัวเองมาเสริมบริเวณที่จะฝังรากเทียม
ข้อดี ก็คือว่ามันเป็นกระดูกของเราเองโอกาสที่จะยึดติดก็มีค่อนข้างเยอะแต่ขอเสียที่เป็นข้อเสียหลัก ๆ เลย ก็คือว่ามันมักจะละลายตัวค่อนข้างง่าย และมีความเจ็บปวดหลังทำค่อนข้างมาก เนื่องจากว่าจะมีบริเวณที่ผ่าตัดทั้งหมด 2 ตำแหน่ง ตำแหน่งแรกก็คือ ตำแหน่งที่เราเอากระดูกเทียมมา
ปัจจุบันตำแหน่งที่เอากระดูกเทียมมา หรือเรียกว่า Donor Site จะเอามาจากขากรรไกรล่างด้านหลัง บริเวณใกล้ ๆ กับฟันคุดของเรา จะตัดกระดูกออกมาเป็นชิ้นปริมาณที่เราต้องการ แล้วเราก็จะเอาไปใส่หรือเสริมในตำแหน่งที่เราต้องการฝังรากเทียม

ฉะนั้น วิธีนี้จะเหมาะกับคนไข้ที่ฟันหายไปค่อนข้างเยอะ ต้องการ Volume ของกระดูกค่อนข้างเยอะ
ข้อเสีย คนไข้ก็จะเจ็บตัวและอาศัยเวลาพักฟื้นค่อนข้างนาน ระยะเวลาในการรอหลังจากการปลูกกระดูกด้วยวิธีการนำกระดูกตัวเองมาปลูก เราจะต้องรอระยะเวลาประมาณ 4 เดือน หลังจากนั้นเราถึงจะมาฝังรากเทียมต่อไป

ส่วนอีกวิธีหนึ่งก็จะใช้กันอย่างแพร่หลายค่อนข้างเยอะ
ก็คือการนำกระดูกเทียมที่ได้จากการสังเคราะห์มาปลูกบริเวณที่เราต้องการปลูก
ข้อดีก็คือไม่จำเป็นจะต้องเจ็บตัว 2 ตำแหน่ง เราก็ใช้ผงกระดูกเทียมที่ผลิตจากบริษัท ซึ่งกระดูกเทียมทำมาจากหลาย ๆ วัสดุ ก็คือมีส่วนประกอบหลายอย่าง คุณหมอจะเลือกใช้ตามตำแหน่งที่เหมาะสม เลือกใช้ชนิดของกระดูกตามตำแหน่งของกระดูกที่หายไปแบบเหมาะสม ข้อดีก็อย่างที่บอกเจ็บตัวตำแหน่งเดียว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ข้อเสียก็คือว่า ระยะเวลาที่เราต้องรอการหายกว่าจะฝังรากเทียมได้กว่าจะกลายเป็นกระดูกจริง ต้องใช้ระยะเวลานานนิดนึง อาจใช้เวลาสัก 6-8 เดือน

ผลของการปลูกกระดูกเทียม

ปริมาณกระดูกที่เทียมที่ใส่เข้าไป มักจะคาดเดาผลไม่ได้ 100% ในกรณีที่เราใส่เข้าไป 100% เราอาจจะได้กระดูกตามที่เราต้องการ กระดูกเหลือจาก 6-8 เดือน แค่ประมาณ 40-60% โดยปกติการคำนวณการที่เราเสริมกระดูก
คุณหมอก็จะใส่เกินอยู่แล้ว ฉะนั้น เรื่องของปริมาณกระดูกที่ได้
ก็เป็นอะไรที่อาจจะต้องพิจารณาเป็นรายบุคคลไป

อาการหลังจากปลูกกระดูกเทียม

นอกจากนี้ การปลูกกระดูกไม่ว่าจะใช้กระดูกเทียม
หรือกระดูกของตัวเองมักจะมีอาการปวดและบวมค่อนข้างมากกว่าการฝังรากเทียมโดยปกติ เนื่องจากว่าเป็นการใส่วัสดุอื่น หรือว่าสิ่งอื่นเข้าไปเสริมในบริเวณนั้น จะต้องมีการอักเสบ การหายของแผล ใช้เวลาพักฟื้นค่อนข้างนาน โดยปกติแล้วก็อาจจะบวม หรือว่าปวดประมาณ 1-2 สัปดาห์

ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จการปลูกกระดูกเทียม

การยึดติดของกระดูก หรือผลสำเร็จในการปลูกกระดูกจะมากน้อยไหน
ก็ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น หลังจากปลูกกระดูกแล้วคนไข้
จำเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของหมออย่างเคร่งครัด
ถ้าเกิดว่าสูบบุหรี่ก็ต้องงดสูบบุหรี่
ถ้ามีการใส่ฟันปลอมบริเวณนั้นจะต้องมีการงดใส่ก่อนช่วงแรก
หรือว่าอาจจะต้องใส่เฉพาะเวลาที่จำเป็น ไม่ใส่เคี้ยวอาหาร
เนื่องจากฟันปลอมสามารถกดบริเวณที่ปลูกกระดูก
ทำให้เกิดการแตกของแผล การปลูกกระดูกที่ทำไปก็อาจจะล้มเหลวได้ นอกจากนี้ร่างกายคนเราก็มีการหาย หรือการเสริมสร้างต่างกัน ปริมาณกระดูกที่ได้ในแต่ละคน บางทีก็ไม่เท่ากัน

หลังการปลูกกระดูกเทียม

ฉะนั้น เมื่อเราผ่านการปลูกกระดูกมาแล้ว ก่อนที่จะมีการฝังรากเทียม คุณหมอก็จะมีการประเมินว่า ปริมาณกระดูกที่ได้เพียงพอหรือยังถ้าเกิดเพียงพอต่อการฝังรากเทียมแล้ว เราก็จะสามารถฝังได้ โดยอาจจะต้องมีการเสริมกระดูกเพิ่มเติมในกระบวนการ พร้อมกับการฝังรากเทียมไป

ที่คลินิกทันตกรรม BPDC ของเรามีทีมทันตแพทย์ที่เชี่ยวชาญมากประสบการณ์ ด้านการรักษารากฟันเทียม วัสดุรากฟันเทียมมาตรฐานยุโรป รวมถึงมีอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัยและมี Software CAD / CAM Dentistry ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำรากฟันเทียมให้ดียิ่งขึ้น

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายเพื่อทำรากฟันเทียม

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

www.bpdcdental.com

BPDC #คลินิกทันตกรรม #รากฟันเทียม #รักษารากฟันเทียม #CadCam

ฟันคุดควรผ่าออกหรือไม่

ฟันคุดควรผ่าออกหรือไม่

หลายๆคนอาจจะเคยพบปัญหาของฟันคุดกันเป็นจำนวนมากซึ่งไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี ควรปล่อยไว้ไหม หรือว่า ควรไปผ่าเอาออก วันนี้ผมจะมาสรุปว่า ฟันคุดควรผ่าออกหรือควรทำยังไงกับมันดี

ฟันคุดคืออะไร

ฟันคุดคือฟันที่อยู่ด้านใน ด้านริม มีฟันอยู่ใต้เหงือก ฟันโผล่มาครึ่งซีก ฟันคุดเป็นฟันแท้ แต่งอกมาได้ไม่เต็มที่ หรือบางครั้งจะติดกับโครงกระดูกกรามของเรา ฟันคุดจะเกิดขึ้นประมาณช่วง 15 ปี ที่เริ่มเป็นฟันแท้ขึ้นมา เริ่มมีการใช้ฟันเยอะ

ปัญหาฟันคุด

– ส่งผลต่อการจัดฟัน จะทำให้จัดฟันไม่ได้
– เกิดอาการปวดบวมของฟันและเหงือก หรือเหงือกอักเสบได้
– ปล่อยไว้นานจะทำให้ฟันซี่อื่นๆ เกิดปัญหา เช่นฟันล้ม ฟันเก ฯลฯ
– เศษอาหารอาจจะเข้าไปติดในร่องได้ง่าย ทำให้เกิดฟันผุ

วิธีแก้ปัญหาฟันคุด

– ทำการผ่าเอาฟันคุดออก โดยการผ่าเหงือก

อาการหลังผ่าฟันคุด

– อาจมีไข้ขึ้นสูง
– มีการบวมอักเสบของเหงือก
– ทานอาหารไม่ได้
– มีเลือดออกเรื่อย ๆ ไม่หยุด

การผ่าเอาฟันคุดออกต้องได้รับการยืนยันและวิเคราะห์จากแพทย์ก่อน ว่าสามารถผ่าได้หรือไม่ ไม่ใช่ว่าจะผ่าก็ผ่าได้เลย เพราะมีผู้ป่วยบางโรคที่ทำการผ่าเอาฟันคุดออกไม่ได้ โรคเบาหวานระยะสุดท้าย โรคตับ โรงมะเร็งต่างๆ จะไม่สามารถทำการผ่าฟันคุดได้

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมาย
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental

home


ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)