บริการทันตกรรมเด็กมีอะไรบ้าง

บริการทันตกรรมเด็กมีอะไรบ้าง? คู่มือสำหรับคุณพ่อคุณแม่ในการดูแลสุขภาพฟันของลูกน้อย

การดูแลฟันของเด็กตั้งแต่เริ่มต้นเป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อป้องกันปัญหาทางทันตกรรมในอนาคต คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจสงสัยว่าบริการทันตกรรมสำหรับเด็กนั้นมีอะไรบ้าง และควรพาลูกไปพบทันตแพทย์เมื่อไหร่ การรู้จักกับบริการทันตกรรมเด็กสามารถช่วยให้คุณเตรียมตัวและมั่นใจว่าลูกของคุณจะได้รับการดูแลที่ดีที่สุดเพื่อฟันที่แข็งแรงและสวยงาม

บริการทันตกรรมเด็กมีอะไรบ้าง?

ทันตกรรมสำหรับเด็กมีบริการหลากหลายที่ออกแบบมาเพื่อดูแลฟันและเหงือกของเด็กตั้งแต่ทารกจนถึงวัยรุ่น บริการเหล่านี้มีเป้าหมายหลักในการป้องกันปัญหาฟันผุ รวมถึงส่งเสริมให้เด็กมีพฤติกรรมการดูแลฟันที่ดีในระยะยาว

1. การตรวจฟันประจำ

การตรวจฟันเป็นประจำทุก 6 เดือนเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันปัญหาทางทันตกรรม การตรวจฟันในเด็กช่วยให้ทันตแพทย์สามารถตรวจสอบการเจริญเติบโตของฟัน และตรวจพบปัญหาฟันผุหรือโรคเหงือกได้ในระยะเริ่มต้น หากพบปัญหาทันตแพทย์จะสามารถวางแผนการรักษาที่เหมาะสม

2. การเคลือบฟลูออไรด์

การเคลือบฟลูออไรด์เป็นการป้องกันฟันผุที่มีประสิทธิภาพ ฟลูออไรด์ช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับชั้นเคลือบฟัน ทำให้ฟันของเด็กต้านทานการผุได้ดียิ่งขึ้น บริการนี้มักจะดำเนินการในระหว่างการตรวจฟันประจำเพื่อเสริมความแข็งแรงให้กับฟันของเด็ก

3. การเคลือบร่องฟัน

ฟันกรามของเด็กมักมีร่องลึกที่เสี่ยงต่อการสะสมคราบพลัคและเศษอาหาร การเคลือบร่องฟันเป็นการใช้สารเคลือบพิเศษปิดร่องลึกเหล่านี้เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดฟันผุ เป็นบริการที่เหมาะสำหรับฟันกรามหลังที่เพิ่งขึ้นมาใหม่

4. การอุดฟัน

หากฟันของเด็กเริ่มผุ การอุดฟันเป็นวิธีการรักษาที่ช่วยหยุดการลุกลามของฟันผุ การอุดฟันจะช่วยฟื้นฟูความแข็งแรงของฟันและป้องกันไม่ให้เชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ส่วนอื่นของฟันที่ยังคงแข็งแรง ทันตแพทย์จะใช้วัสดุอุดฟันที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก เช่น คอมโพสิตเรซิน ซึ่งมีสีใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติ

5. การรักษารากฟันน้ำนม

แม้ว่าฟันน้ำนมจะหลุดไปตามธรรมชาติ แต่หากฟันน้ำนมมีการติดเชื้อหรือผุอย่างรุนแรง การรักษารากฟันอาจจำเป็น การรักษารากฟันในเด็กช่วยรักษาฟันน้ำนมให้อยู่ในตำแหน่งจนกว่าฟันแท้จะขึ้นมา การรักษานี้ช่วยให้เด็กยังสามารถเคี้ยวอาหารได้อย่างปกติ และป้องกันปัญหาการเรียงตัวของฟันในอนาคต

6. การถอนฟัน

ในบางกรณี ฟันน้ำนมที่ผุอย่างหนักหรือมีการติดเชื้ออาจต้องถอนออก เพื่อป้องกันการลุกลามไปยังฟันแท้ที่กำลังขึ้น การถอนฟันในเด็กควรดำเนินการโดยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อลดความเจ็บปวดและป้องกันการติดเชื้อหลังการรักษา

7. การใส่เครื่องมือจัดฟัน

ในบางกรณี เด็กอาจมีปัญหาการเรียงตัวของฟัน เช่น ฟันซ้อน ฟันเก หรือฟันห่าง การใส่เครื่องมือจัดฟันเป็นการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ทันตแพทย์จะประเมินความจำเป็นในการใส่เครื่องมือจัดฟันเมื่อเด็กเริ่มมีฟันแท้ขึ้น การจัดฟันในวัยเด็กช่วยปรับโครงสร้างฟันและกรามให้เข้าที่ ทำให้การเจริญเติบโตของฟันในอนาคตเป็นไปอย่างสมบูรณ์

8. การให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลฟัน

การให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลฟันเป็นสิ่งสำคัญที่ทันตแพทย์มักจะทำหลังจากการตรวจฟัน โดยทันตแพทย์จะสอนเด็กและคุณพ่อคุณแม่ถึงวิธีการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันอย่างถูกวิธี รวมถึงคำแนะนำเกี่ยวกับโภชนาการที่ดีต่อสุขภาพฟัน เช่น การลดการบริโภคน้ำตาลและอาหารที่มีกรดสูง

เมื่อใดที่ควรพาลูกไปพบทันตแพทย์?

คุณพ่อคุณแม่ควรเริ่มพาลูกไปพบทันตแพทย์ตั้งแต่อายุประมาณ 6 เดือน หรือเมื่อฟันซี่แรกของลูกขึ้น เพื่อให้ทันตแพทย์ตรวจสอบการเจริญเติบโตของฟันและให้คำแนะนำในการดูแลฟันที่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็ก การเริ่มต้นการดูแลฟันตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้ลูกน้อยมีฟันที่แข็งแรงและลดโอกาสเกิดปัญหาฟันผุในอนาคต

นอกจากนี้ หากพบว่าลูกมีอาการต่อไปนี้ ควรรีบพาไปพบทันตแพทย์ทันที:

  • ฟันผุหรือมีรูฟันที่เห็นได้ชัด
  • มีอาการปวดฟันหรือเหงือกบวม
  • ฟันน้ำนมหลุดก่อนเวลา
  • ฟันซ้อนหรือฟันเกอย่างชัดเจน
  • ฟันกรามขึ้นแล้วแต่ไม่ได้ทำความสะอาดได้ทั่วถึง

วิธีการเตรียมตัวพาลูกไปพบทันตแพทย์

การพาลูกไปพบทันตแพทย์อาจเป็นประสบการณ์ใหม่สำหรับเด็ก โดยเฉพาะเด็กเล็ก การเตรียมตัวให้ลูกพร้อมจะช่วยลดความกลัวและทำให้การพบหมอฟันเป็นเรื่องสนุก นี่คือเคล็ดลับที่ช่วยให้การไปพบทันตแพทย์เป็นไปอย่างราบรื่น:

  • สอนลูกเกี่ยวกับความสำคัญของการดูแลฟันตั้งแต่เล็กๆ
  • เล่าเรื่องเกี่ยวกับการไปหาหมอฟันในทางที่สนุกสนาน
  • อ่านหนังสือหรือดูวิดีโอเกี่ยวกับการตรวจฟันให้ลูกฟัง
  • หลีกเลี่ยงการใช้คำพูดที่ทำให้เด็กกลัว เช่น “ไม่ต้องกลัว” หรือ “ไม่เจ็บ”

การสร้างประสบการณ์ที่ดีตั้งแต่ครั้งแรกที่ไปหาหมอฟันจะช่วยให้เด็กไม่กลัวการพบทันตแพทย์ในครั้งถัดไป

สรุป

บริการทันตกรรมเด็กครอบคลุมหลายด้านที่มุ่งเน้นการป้องกันและรักษาปัญหาฟันในวัยเด็ก ตั้งแต่การตรวจฟันประจำ การเคลือบฟลูออไรด์ การอุดฟัน ไปจนถึงการรักษารากฟัน การดูแลฟันตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้เด็กมีฟันที่แข็งแรงและป้องกันปัญหาทางทันตกรรมในอนาคต การพาลูกไปพบทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอและสอนให้ลูกมีพฤติกรรมการดูแลฟันที่ดีจะช่วยเสริมสร้างสุขภาพช่องปากที่ดีตลอดชีวิต

เคลียร์ช่องปากคืออะไร สำคัญกับการจัดฟันจริงหรือไม่

เคลียร์ช่องปากคืออะไร สำคัญกับการจัดฟันจริงหรือไม่

เคลียร์ช่องปากคืออะไร สำคัญกับการจัดฟันจริงหรือไม่

เราต้องเคยได้ยินกันมาบ้างล่ะค่ะ ว่าก่อนจัดฟันจะต้อง “เคลียร์ช่องปาก” แล้วเคลียร์ช่องปาก คืออะไร ต้องทำอะไรบ้าง แล้วคนที่จะจัดฟัน การเคลียร์ช่องปากจำเป็นมากไหม อยากจัดฟัน แต่ไม่เคลียร์ช่องปากได้หรือเปล่า เชื่อว่าหลายคนคงมีคำถามมากมายเหล่านี้อยู่ในใจ แต่ไม่รู้ว่าจะไปถามใครดี วันนี้เราจึงได้รวบรวมข้อสงสัยเกี่ยวกับการเคลียร์ช่องปากมาฝากกันค่ะ

เคลียร์ช่องปาก คืออะไร ?

เคลียร์ช่องปาก คือ การเตรียมเหงือกและฟันของเราให้พร้อมสำหรับการจัดฟัน เป็นการกำจัดปัญหาที่อาจส่งผลต่อแผนการจัดฟันของเราในอนาคต โดยทันตแพทย์จะทำการตรวจช่องปาก เพื่อดูสภาพฟันและเหงือกว่ามีสิ่งผิดปกติหรือไม่ เช่น เช็คฟันผุ ขูดหินปูน รวมถึงการ X-ray ฟัน และพิมพ์ฟัน เพื่อประเมินโครงสร้างใบหน้า

เคลียร์ช่องปาก ต้องทำอะไรบ้าง ?

อย่างที่กล่าวไปในตอนต้นว่า การเคลียร์ช่องปากคือการเตรียมสภาพช่องปากของฟันและเหงือกก่อนเริ่มจัดฟัน นั่นแปลว่า ทันตแพทย์จะต้องเช็คสุขภาพช่องปากของเราทั้งปาก ซึ่งจะมีรายละเอียดดังนี้

  1. ตรวจสุขภาพช่องปากโดยละเอียด

ทันตแพทย์จะตรวจเช็คช่องปากโดยละเอียด เพื่อดูว่ามีฟันผุ ฟันคุด เหงือกอักเสบ หรือปัญหาด้าน

อื่น ๆ ภายในช่องปากหรือไม่ หากพบปัญหาก็จะต้องไปรักษาตามจุดที่เป็นปัญหานั้นก่อน เพื่อไม่ให้เกิดผลเสียในระยะยาว หากต้องจัดฟัน

  • อุดฟัน

จากข้อ 1 เมื่อเรามารับการเคลียร์ช่องปาก ตรวจสุขภาพช่องปากแล้วพบว่า มีฟันผุ ทันตแพทย์จะ

แนะนำให้อุดฟันที่ผุก่อน ไม่ว่าฟันนั้นจะผุมากหรือผุน้อย เพราะหากปล่อยฟันผุเอาไว้ ไม่รับการรักษาก่อนจัดฟัน ฟันผุนั้นอาจจะมาขัดขวางการจัดฟัน หรือสร้างปัญหาระหว่างการจัดฟันในระยะยาวได้ ยิ่งไปกว่านั้น การจัดฟันจะต้องติดเครื่องมือจัดฟัน การทำความสะอาดฟันจะยิ่งทำได้ยากมากขึ้น หากมีฟันที่ผุอยู่แล้ว แต่ไม่ได้รับการอุด ก็จะยิ่งส่งผลเสีย อย่างฟันผุมากขึ้น หรือรอยผุลุกลามเข้าที่รากฟัน จนอาจจะเสียฟันซี่นั้นไป และยังต้องเสียค่ารักษาสูงอีกด้วย

  • ขูดหินปูน

การเคลียร์ช่องปากอย่างต่อมาที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ การขูดหินปูน ซึ่งหินปูนคือต้นเหตุสำคัญที่ทำให้

เกิดปัญหาช่องปากตามมาอีกหลายโรค เมื่อเราจัดฟัน ก่อนเราติดเครื่องมือจัดฟัน เราจะต้องทำความสะอาดผิวฟันให้สะอาดเสียก่อน เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเศษอาหารและแบคทีเรีย โดยพอเราติดเครื่องมือจัดฟันไปแล้ว การทำความสะอาดฟันจะกลายเป็นเรื่องยากขึ้น หากเราทำความสะอาดได้ไม่ดีพอ โอกาสจะเกิดคราบหินปูนก็ง่ายขึ้นด้วย ทันตแพทย์จึงแนะนำให้ขูดหินปูนก่อนการจัดฟัน และควรขูดหินปูนเป็นระยะ ๆ อีกด้วย

  • การผ่าฟันคุด

ในกรณีที่เมื่อตรวจเช็คฟันแล้วพบฟันคุด ควรพิจารณาการถอนหรือผ่าจะดีกว่าค่ะ เพราะฟันคุดคือฟัน

ที่ขึ้นไม่ปกติตามธรรมชาติของฟันที่ควรจะขึ้น บางคนอาจจะพบกรณีที่ฟันพยายามแทงตัวเองขึ้นมา แต่ขึ้นมาไม่ได้ เนื่องจากขึ้นช้ากว่าซี่อื่น จึงไม่เหลือพื้นที่ให้ขึ้นมาได้ ส่งผลให้เหงือกบริเวณนั้นอักเสบ แต่บางคนก็ไม่พบอาการอะไร นอกจากมีฟันบางส่วนขึ้นมาแล้ว ดังนั้น ฟันคุดจึงเหมือนระเบิดเวลาที่พร้อมจะปะทุได้ทุกเมื่อ การเคลียร์ช่องปากด้วยการผ่าฟันคุดจึงเป็นทางออกที่ดี หากใครที่คิดจะจัดฟัน เพราะอย่างน้อยก็ไม่ต้องเสียเวลา หากระหว่างจัดฟันไปแล้วพบว่าฟันคุดพยายามดันฟันซี่อื่น ๆ นั่นก็จะส่งผลต่อฟันซี่ข้าง ๆ

  • ถอนฟัน

สำหรับข้อนี้ ก็เป็นประเด็นที่หลายคนสงสัยในการเคลียร์ช่องปากว่า ทำไมบางคนถอนฟัน บางคนก็ไม่

ถอน ซึ่งการถอนฟันหรือไม่นั้นจะขึ้นอยู่กับโครงสร้างและการเรียงตัวของฟันว่ามีปัญหาการเรียงตัวมากน้อยเพียงใด รวมถึงขึ้นอยู่กับการพิจารณาของทันตแพทย์ว่าจะมีแผนการรักษาอย่างไร

ดังนั้น สรุปได้ว่าการเคลียร์ช่องปากสำคัญกับการจัดฟันจริงค่ะ ซึ่งเราอาจจะไม่จำเป็นต้องเคลียร์ช่องปาก
รวดเดียวก็ได้ หากวางแผนที่จะจัดฟัน แนะนำให้ทยอยเคลียร์ช่องปาก เพื่อให้ทันตแพทย์ประเมินสภาพช่องปากก่อนติดเครื่องมือจัดฟัน

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายจัดฟัน เคลียร์ช่องปาก
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#เคลียร์ช่องปาก #จัดฟัน

อุดฟันเจ็บไหม-หลังจากอุดแล้วต้องทำอย่างไร

อุดฟันเจ็บไหม หลังจากอุดแล้วต้องทำอย่างไร

การอุดฟันเป็นกระบวนการในการฟื้นฟูฟันที่หัก หรือฟันที่มีปัญหาผุ หรืออักเสบ ซึ่งการอุดฟันสามารถทำได้หลายแบบทั้งแบบ โลหะ แบบเรซิน แบบคอมโพสิต หรือใช้ทองคำในการอุดฟัน ซึ่งอาการความเจ็บในการอุดฟันนั้น จะขึ้นอยู่กับเคสและอาการของแต่ละคนว่าอาการของฟันนั้นเป็นอย่างไร

ซึ่งความเจ็บของการอุดฟันนั้น ถามว่าเจ็บหรือไม่ จริง ๆ แล้วผมคิดว่าเจ็บแน่นอนเพราะว่าก่อนที่เราจะทำฟันเราจะต้องฉีดยาชา ซึ่งการฉีดยาชานี่ล่ะครับที่เป็นสิ่งที่ทำให้เรากลัว หรือเด็กๆ กลัวกันมากว่ามันเจ็บสุดๆ เวลาโดนฉีดยาชา แต่หลังจากนั้นก็แทบจะไม่ได้รับความรู้สึกอีกเลย ยิ่งเป็นเด็กๆ จะยิ่งกลัวมากๆ

วิธีการดูแลรักษาฟันหลังอุดฟัน

– ต้องระวังอาการเสียวฟันหลังจากที่อุดฟัน
– ต้องระวังอาการปวดฟันหลังอุดฟัน ให้กินยาพารา เพื่อป้องกันอาการปวด
– ต้องระวังฟันที่อุด แตกหรือหลุดออก
– การเคี้ยวต้องระวังถ้าเป็นอาหารแข็งหรือเหนียวอาจจะทำให้ฟันที่อุดเกิดปัญหาได้
– แปรงฟันทำความสะอาดได้ปกติ

ควรพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพฟันทุกๆ 6 เดือน เพื่อสุขภาพฟันที่ดียิ่งขึ้น ติดต่อทันตแพทย์ หากคุณมีปัญหา ถ้าพบว่าฟัน ช่องปาก หรือการอุดฟันมีปัญหา ให้ติดต่อทันตแพทย์ทันที

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมาย
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#อุดฟัน #อุดฟันเจ็บไหม #ดูแลหลังอุดฟัน

อุดฟันเจ็บไหม คำถามยอดฮิตของผู้ดูแลสุขภาพช่องปาก

อุดฟันเจ็บไหม คำถามยอดฮิตของผู้ดูแลสุขภาพช่องปาก

อาการปวดฟันเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากเจอ บางครั้งก็ดูจะเป็นอะไรที่เลี่ยงได้ยาก และยิ่งหากพอฟันผุขึ้นมา ทั้งที่รู้อยู่แก่ใจว่าต้องไปอุดฟัน แต่หลายคนก็เลือกที่จะอิดออด ยกเหตุผล ชักแม่น้ำทั้งห้ามาอธิบายเพื่อที่จะได้ไม่ต้องไปอุดฟัน เพราะอะไรน่ะหรือถึงหลีกเลี่ยงที่จะไปอุดฟัน เพราะกลัวเจ็บนั่นเอง แล้วจริง ๆ อุดฟันเจ็บไหม เชื่อว่านี่เป็นคำถามยอดฮิตก็ว่าได้ ถ้าใครอยากรู้คำตอบ ต้องตามมาอ่านกันนะคะ

การอุดฟันคืออะไร

การอุดฟัน คือการรักษาฟันที่ถูกทำลายด้วยวิธีการเติมวัสดุสังเคราะห์ชนิดต่าง ๆ เข้าไปที่ตัวฟันเพื่อทดแทนเนื้อฟันที่สูญเสียไปไม่ว่าจะเป็นฟันผุ สึก หรือฟันกร่อน เป็นต้น ซึ่งการใช้วัสดุสังเคราะห์ดังกล่าวนั้นจะช่วยไม่ให้ฟันเราผุเพิ่มขึ้นนั่นเอง

วัสดุอุดฟันมีกี่แบบ

วัสดุอุดฟันที่จะมาเป็นพระเอกในการช่วยยับยั้งไม่ให้ฟันของเราผุมากขึ้น จะมีด้วยกัน 2 แบบ ได้แก่

1. การอุดฟันด้วยวัสดุสีโลหะ

วัสดุสีโลหะหรือที่เรารู้จักกันดีในชื่ออะมัลกัม เป็นวัสดุอุดที่ใช้งานได้ง่าย สะดวกรวดเร็วและราคาไม่แพง ส่วนใหญ่แล้วทันตแพทย์จะนำมาใช้กับการอุดฟันกรามมากกว่าเพราะวัสดุนี้มีสีเข้ม มองเห็นสีชัดกว่าการอุดฟันแบบสีเหมือนฟัน

ข้อดี :

  • ราคาไม่แพง
  • มีความทนต่อแรงบดเคี้ยวได้ดี
  • ขั้นตอนการทำไม่ยุ่งยาก

ข้อเสีย :

  • ด้วยความที่มีสีที่เข้ม ทำให้มองดูแล้วไม่สวยงาม เห็นสีวัสดุอุดได้ชัด
  • ไม่เหมาะสำหรับฟันหน้า

2. การอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน

วัสดุสีเหมือนฟันหรือที่เราเรียกว่าเรซิน เป็นการอุดฟันสีเหมือนฟันที่มีความเป็นธรรมชาติ และเป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบันมากที่สุด สามารถใช้อุดฟันได้ทั้งฟันหน้าและฟันกราม

ข้อดี :

  • ให้ความสวยงามเมื่อมองเห็นเพราะสีกลมกลืนเหมือนกับฟัน
  • สามารถใช้งานฟันได้ทันที โดยไม่ต้องรอเวลาเหมือนวัสดุสีโลหะ
  • ปลอดภัยมากกว่าเพราะไม่มีส่วนผสมของสารปรอท

ข้อเสีย :

  • ระยะเวลาความคงทนต่อการใช้งานสั้น
  • มีราคาสูงกว่าแบบสีโลหะ
  • ง่ายต่อการเกิดคราบชาและกาแฟ

อุดฟันเจ็บไหม?

หลายคนที่ยอมให้ฟันผุไปเรื่อย ๆ เพียงเพราะกลัวว่าอุดฟันแล้วจะเจ็บ ต้องบอกเลยว่า การอุดฟันไม่เจ็บเท่าการถอนฟันแน่นอน แต่อาจจะมีอาการเสียวฟันบ้าง เมื่อทันตแพทย์กรอฟัน ส่วนเรื่องอุดฟันเจ็บไหมนั้น ลืมไปได้เลยเพราะว่าก่อนทำจะมีการฉีดยาชาก่อนเสมอ ซึ่งฤทธิ์ของยาชาก็สามารถอยู่ได้นาน 2-3 ชั่วโมง ถ้าหากยังรู้สึกหรือเจ็บ ทนไม่ไหวก็สามารถบอกทันตแพทย์ได้

ขั้นตอนในการอุดฟัน

1. ทันตแพทย์จะทำการตรวจเช็คสุขภาพฟันก่อนว่ามีปัญหาฟันผุมากน้อยแค่ไหน สามารถทำการอุดฟันเพื่อแก้ไขได้หรือไม่  

2. จากนั้นฉีดยาชา(ในกรณีที่ผุลึกใกล้โพรงประสาท) จากนั้นทันตแพทย์จะทำการกรอฟันเพื่อกำจัดฟันที่ผุที่ติดเชื้อ และเตรียมโพรงฟันให้เหมาะสำหรับการอุด 

3. หลังจากทำการกรอฟันแล้ว ทันตแพทย์จะใส่วัสดุอุดฟันไปในบริเวณฟันที่ผุซึ่งในขั้นตอนนี้การอุดฟันแบบโลหะและการอุดฟันสีเหมือนฟันจะมีขั้นตอนที่แตกต่างกันออกไป โดยการอุดฟันสีเหมือนฟันนั้นจะมีการฉายแสงเพิ่มเข้ามาช่วยในการอุดฟัน

4. เมื่อทันตแพทย์ใส่วัสดุอุดฟันเสร็จแล้วก็จะทำการขัดแต่งให้ดูดีและสวยงามพร้อมใช้งาน หากใช้งานได้ทันทีจะเป็นวัสดุสีเหมือนฟัน ส่วนวัสดุสีโลหะอาจจะต้องรอให้ครบ 24 ชั่วโมงเสียก่อ

เราก็พอจะสรุปได้ว่าการอุดฟันไม่เจ็บเลยค่ะ อย่างมากที่สุดก็แค่เสียวเวลากรอฟันเพื่อที่จะทำการอุดเท่านั้น ดังนั้นหากใครมีฟันผุ อย่าปล่อยทิ้งไว้จนผุมากถึงโพรงประสาทนะคะ เพราะหากเป็นเช่นกั้น อาจจะลงเอยด้วยการรักษารากฟัน ที่จะเจ็บของจริงแล้วล่ะค่ะ

หากลูกค้าท่านใดต้องการนัดอุดฟันสามารถติดต่อสอบถามได้ที่

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#คลินิกทันตกรรม #BPDC #ทำฟัน #อุดฟัน

ปวดฟันทำยังไงดี

ปวดฟันทำยังไงดี

วันนี้ผมมีคำแนะนำจากคุณหมอผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรม มาแนะนำว่าปัญหาจากการปวดฟัน เราจะแก้ไขหรือทำยังไงให้หายปวดฟันดี

ซึ่งอาการของการปวดฟันนั้นคือเป็นการเกิดปัญหาที่โพรงประสาทฟัน ฟันผุจึงทำให้เกิดการปวดฟันขึ้นมา และหากเราต้องการไปหาทันตแพทย์นั้น แพทย์จะต้องทำการ X-ray ฟันดูก่อนว่าฟันเป็นอย่างไรและจะ วินิจฉัยว่าฟันนั้นเป็นอย่างไร ลำดับอาการรุนแรงแค่ไหน และควรต้องทำอย่างไรกับฟันดี

วิธีแก้ปัญหาปวดฟัน

– ถอนฟัน
ถอนฟันที่เป็นปัญหาเพื่อแก้ไขปัญหาการปวดของฟัน แต่ว่าการถอนฟันนั้นจะทำให้เราจะสูญเสียฟันนั้นไปตลอดชีวิตเลย ปัญหาในการบดเคี้ยวอาหารก็จะไม่ดีเหมือนกับตอนมีฟันปกติ ซึ่งควรตัดสินใจให้ดีว่าจะถอนหรือจะรักษารากฟัน การถอนฟันจะราคาถูกกว่าการรักษารากฟันหลายเท่า เพราะกระบวนการและขั้นตอนต่างกันมาก และหากทำการถอนฟันฟันข้างๆ ในระยะเวลานานวันขึ้น ฟันจะล้มหรือเอียง และอาจจะทำให้เกิดปัญหามากกว่าตอนที่ถอนฟันเสียอีก

รักษารากฟัน
การรักษารากฟันคือการทำความสะอาดที่เกิดปัญหา และทำการฝังรากฟันใหม่เข้าไปแทนที่หายไปและทำการอุดฟัน ครอบฟัน ไปตามกระบวนการของการรักษารากฟัน การรักษารากฟันจะต้องมีเวลามาพบแพทย์บ่อยๆ และต้องใช้เวลาในการรักษารากฟัน ต้องอ้าปากในเวลานาน การรักษารากฟันจะทำให้เราไม่สูญเสียฟันของเราไป แต่ต้องทำการรักษาให้ดีมากยิ่งขึ้น

– อุดฟัน
ถ้าฟันของเราไม่ถูกทำลายไปถึงโพรงประสาทฟันก็สามารถที่จะอุดฟันได้เพราะการอุดฟันนั้นอาการจะถือว่ายังไม่ค่อยรุนแรงมาก

การแก้ปัญหาฟันที่ถูกไปเรามีวิธีแนะนำคือ

– ใส่ฟันปลอม
– ฝังรากฟันเทียม

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมาย
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)