จะเกิดอะไรขึ้นถ้าวัสดุอุดฟันหลุด พร้อมคำแนะนำในการแก้ไข
หากใครที่เคยฟันผุและอุดฟันมาก่อน คงจะรู้ว่าวัสดุในการอุดฟันแต่ละชนิดนั้นมีข้อจำกัดที่แตกต่างกัน แต่สิ่งที่เหมือนกันก็คือ ไม่สามารถทนต่อแรงขบกัดที่รุนแรงได้ ส่งผลให้วัสดุอุดฟันหลุด ซึ่งบางคนอาจจะไม่รู้สึกอะไรเลย แต่บางคนก็มาพร้อมอาการมากมาย โดยหลายคนก็ขยาดที่จะกลับไปหาทันตแพทย์ จนสงสัยว่าถ้าปล่อยให้วัสดุอุดฟันหลุดไปเรื่อย ๆ จะส่งผลอะไรบ้างไหม เรามีคำตอบมาฝาก พร้อมคำแนะนำดี ๆ ค่ะ
ทำความรู้จักวัสดุอุดฟัน
วัสดุอุดฟัน คือวัสดุที่จะมาเติมเต็มเนื้อฟันที่หายไปภาวะฟันผุ เพื่อให้ฟันนั้นคงมีรูปร่างเหมือนเดิม แข็งแรงและใช้งานได้ตามปกติ โดยวัสดุอุดฟันจะใช้ได้แค่เพียงในเคสที่ฟันผุไม่มาก ยังไม่ลุกลามไปจนถึงโพรงประสาทฟัน นั่นหมายความว่าส่วนของเนื้อฟันจะต้องมีพื้นที่หรือมีเนื้อฟันที่มากพอจะยึดกับวัสดุอุดฟันได้
ประเภทของวัสดุอุดฟัน
ปัจจุบันวัสดุอุดฟันมีด้วยกัน 2 ประเภทใหญ่ ๆ ซึ่งแต่ละประเภทนั้นมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันออกไป โดยมีรายละเอียดดังนี้
- วัสดุอุดฟันแบบสีโลหะ : เช่น อมัลกัม เหมากับการใช้อุดฟันในส่วนที่ต้องรับแรงขบเคี้ยว เช่น ฟันกราม ข้อดีของวัสดุชนิดนี้ คือมีความแข็งแรงคงทน แต่ดูไม่สวยงาม
- วัสดุอุดฟันสีเดียวกับฟัน : Composite Resin, Glass ionomer Cement ใช้สำหรับอุดฟันหน้า และได้พัฒนาให้สามารถอุดฟันกรามได้ในบางกรณี
สาเหตุที่ทำให้วัสดุอุดฟันหลุด
- การเคี้ยวอาหารที่แข็งหรือเหนียวจนเกินไป
- ละเลยการทำความสะอาดช่องปากและฟัน
- การเสื่อมสภาพของวัสดุอุดฟัน โดยส่วนมากวัสดุอุดฟันจะอยู่ได้นาน 10 – 15 ปี ขึ้นอยู่กับการดูแลสุขภาพช่องปากของแต่ละคน จึงเป็นเหตุผลที่ต้องมั่นพบทันตแพทย์เพื่อตรวจเช็กอย่างสม่ำเสมอ
ถ้าวัสดุอุดฟันหลุด ปล่อยไว้จะอันตรายไหม?
เราจะต้องแยกออกมาเป็น 2 กรณี คือ มีอาการและไม่มีอาการ ซึ่งแน่นอนว่าหากมีอาการย่อมส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของเรา
- มีอาการ : อาการที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะปวดฟัน เสียวฟัน ล้วนสามารถเกิดขึ้นได้ หากยังไม่สะดวกสามารถบรรเทาอาการเบื้องต้น ด้วยการแปรงฟันอย่างถูกวิธี ทานพาราเซตามอลเพื่อลดอาการปวด หากเสียวฟัน พยายามลดอาหารที่เป็นสาเหตุให้เกิดอาการเสียวฟัน
- ไม่มีอาการ : แม้ว่าวัสดุอุดฟันหลุด แต่คุณไม่มีอาการ แต่ก็ไม่ควรปล่อยทิ้งเอาไว้นะคะ เพราะเศษอาหารอาจจะเข้าไปอุดในบริเวณที่วัสดุอุดฟันหลุดได้ จนเกิดการสะสมของเชื้อแบคทีเรีย ทำให้ภาวะฟันผุลุกลามมากขึ้น
ดังนั้น เมื่อพบว่าวัสดุอุดฟันหลุด ทางที่ดีไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ เนื่องจากการแตกของวัสดุอาจลุกลามไปถึงเนื้อฟันส่วนที่ดี อาจทำให้มีอาการปวด เสียวฟัน การบาดเจ็บในช่องปากเพราะส่วนที่คมของวัสดุบาด เคี้ยวอาหารลำบากหรือรู้สึกเจ็บเวลาเคี้ยว อีกทั้งยังทำให้ฟันผุลุกลามจนไม่สามารถบูรณะด้วยการอุดฟันได้ ซึ่งอาจนำไปสู่การสูญเสียฟัน
วิธีป้องกันวัสดุอุดฟันหลุด
หากใครไม่อยากต้องมาลุ้นว่าจะมีอาการปวดหรือเสียวฟันหลังจากที่วัสดุอุดฟันหลุดหรือแตกไหม ทางที่ดีที่สุด ควรระมัดระวังการรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารที่มีความแข็ง กรอบหรือเหนียวมากเกินไป เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น ทั้งนี้อย่าลืมหมั่นทำความสะอาดฟันอย่างถูกวิธีอยู่เสมอ ใช้ไหมขัดฟันไปตามซอกฟันและเหงือก อีกทั้ง ควรพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปากทุก 6 เดือน ที่ BFC Dental ทุกสาขา เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาช่องปาก
สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายทำฟัน ตรวจสุขภาพฟัน
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)
#ทำฟัน #ตรวจสุขภาพฟัน