รักษารากฟัน มีกี่วิธี

รักษารากฟัน มีกี่วิธี พาไปดูความแตกต่างของแต่ละวิธีก่อนคิดตัดสินใจทำ

รักษารากฟัน มีกี่วิธี พาไปดูความแตกต่างของแต่ละวิธีก่อนคิดตัดสินใจทำ

ความสุขของคนเราอย่างหนึ่ง คือการได้กินของอร่อยตามต้องการ แต่เมื่อไรก็ตามที่เราไม่สามารถทำอย่างนั้นได้เนื่องจากฟันผุจนเกินกว่าที่จะอุด ถ้าไม่รักษาต่อความสนุกในการกินก็แทบจะหายไปเลยนะคะ ซึ่งการรักษาที่ว่านั้นก็คือ การรักษารากฟัน ซึ่งเป็นวิธีรักษาที่ทันตแพทย์หลายคนแนะนำ เราจะไปเรียนรู้เกี่ยวกับการรักษารากฟัน มีกี่วิธี และความแตกต่างแต่ละแบบนั้นเป็นอย่างไร

การรักษารากฟันคืออะไร

การรักษารากฟันคือการตัดเนื้อเยื่อโพรงประสาทฟันที่ติดเชื้อ หรือเนื้อเยื่อขนาดเล็กที่อยู่ใจกลางฟันที่ตายออกแล้ว ซึ่งเมื่อประสาทฟันถูกทำลาย อักเสบ หรือฟันตายถูกตัดออก พื้นที่ส่วนที่เหลือนั้น ทันตแพทย์จะทำความสะอาด โดยใช้เครื่องมือขายให้คลองรากฟันกว้างขึ้น และสะอาดขึ้น แล้วจึงใช้น้ำยาล้างคลองรากฟัน และยาฆ่าเชื้อใส่ในคลองรากฟัน เมื่อกำจัดเชื้อโรคในคลองรากฟันออกจนหมดแล้ว ก็จะทำการอุดรากฟัน เพื่อป้องกันไม่ใช่เชื้อโรคกลับเข้าไปในคลองรากฟันอีก ซึ่งเป็นวิธีที่จะสามารถเก็บรักษาฟันส่วนที่เหลือไว้ได้ และยังเป็นวิธีที่นิยมใช้แทนการถอนฟันด้วยค่ะ

สาเหตุที่ต้องรักษารากฟัน

  • ฟันผุลึกจนถึงโพรงประสาทฟัน จนทำให้ประสาทฟันเกิดอาการอักเสบ หากลุกลามมากขึ้นจะทำให้เนื้อเยื่อในฟันนั้นตาย และเกิดการติดเชื้อในคลองรากฟัน ซึ่งทำให้เกิดอาการปวด อาการเหล่านี้สามารถรักษาได้ด้วยการรักษารากฟัน
  • ฟันแตกจากอุบัติเหตุ อาจจะเกิดจากการกระแทกจนฟันแตก เมื่อโพรงประสาทฟันเกิดอักเสบ ติดเชื้อ หากปล่อยทิ้งไว้ จะเกิดการก่อตัวที่ปลายรากฟันในกระดูกขากรรไกร เกิดเป็นฝีได้ อีกทั้งยังสามารถเกิดการทำลายกระดูกรอบ ๆ ฟัน ทำให้เกิดอาการปวด
  • นอนกัดฟันอย่างรุนแรง การกัดฟันนอกจากจะเป็นสาเหตุให้ฟันสึกแล้ว หากกัดแรง ๆ ก็จะไปรบกวนโพรงประสาทฟันด้วย ส่งผลให้ฟันร้าว และเชื้อโรคอาจจะแทรกซึมเข้าไปได้
  • โรคเหงือก สามารถลุกลามไปถึงปลายรากฟัน ทำให้เชื้อโรเข้าโพรงประสาทฟันได้

การรักษารากฟัน มีกี่วิธี 

อันที่จริงแล้วถ้าอาการทางฟันไม่ได้เลวร้ายเกินไป ทันตแพทย์จะไม่แนะนำให้รักษารากฟันเลยค่ะ สำหรับการรักษารากฟัน มีด้วยกัน 2 วิธี ได้แก่

1. การรักษาด้วยวิธีปกติ 

ทันตแพทย์จะวัดความยาวของคลองรากฟัน โดยการถ่ายเอกซเรย์ แล้วจะใช้ไฟล์ขนาดเล็ก เพื่อรักษารากฟัน และทำความสะอาดภายในคลองรากฟัน เพื่อขจัดเนื้อเยื่อที่มีปัญหาและแบคทีเรีย โดยที่ฟันจะไม่ถูกอุดอย่างถาวรจนกว่าจะขจัดจนปลอดเชื้อในโพรงประสาทและคลองรากฟันหลังจากที่มั่นใจว่าภายในโพรงประสาทฟันนั้นปลอดเชื้อแล้ว ก็จะใช้วัสดุอุดคลองรากฟัน อุดที่คลองรากฟัน วิธีนี้เป็นวิธีรักษารากฟันที่พบได้บ่อย

2. การรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดปลายรากฟัน

ทันตแพทย์จะใช้วิธีนี้ในกรณีที่วิธีแรกรักษาไม่ได้ผล โดยจะทำการผ่าตัดเข้าไปที่ตำแหน่งปลายรากฟันที่เป็น หนองทำการตัดปลายรากฟันออกบางส่วน หลังจากนั้นทำการอุดวัสดุเข้าไปใน ส่วนปลายรากฟันที่ทำความสะอาดไว้ โดยวัสดุนี้จะไม่เป็นพิษต่อเนื้อเยื่อ หรือไม่ ทำให้เกิดการหายของเนื้อเยื่อรอบปลายรากฟันขึ้น

การรักษารากฟัน มีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

แน่นอนว่าหลังการรักษารากฟันสามารถเกิดผลข้างเคียงได้ ซึ่งจะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับสภาพของฟันในแต่ละบุคคล

1. อาการปวดตื้อ ๆ หลังจากการรักษารากฟันในช่วง 2-3 วันแรก และอาการจะค่อย ๆ หายไปเอง ซึ่งสามารถกินยากแก้ปวดเพื่อบรรเทาได้

2. อาการปากชา สามารถเกิดขึ้นได้หลังจากทำการรักษารากฟันในวันนั้น แนะนำว่าช่วงที่ปากชาไม่ควรกินอาหารเพื่อป้องกันการกัดลิ้นและกระพุ้งแก้ม

3. ควรระมัดระวังในการใช้งานฟันที่มีการรักษารากฟัน เนื่องจากฟันจะมีปริมาณเหลือน้อยลงและมีความเปราะบางมากขึ้น อีกทั้งยังป้องกันโอกาสที่ฟันจะแตกระหว่างที่ดำเนินการรักษา

เราก็ได้รู้กันแล้วว่าการรักษารากฟันคืออะไร มีกี่วิธี แต่ละวิธีแตกต่างหรือใช้ในกรณีไหนบ้าง เพื่อสำหรับประกอบการตัดสินใจหากใครต้องรักษารากฟัน

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมาย “รักษารากฟัน”

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#คลินิกทันตกรรม #BPDC #ทันตกรรม #รากฟัน #รักษารากฟัน