7 วิธีแก้ปวดฟันเพื่อบรรเทาอาการเบื้องต้น

7 วิธีแก้ปวดฟันเพื่อบรรเทาอาการเบื้องต้น

7 วิธีแก้ปวดฟันเพื่อบรรเทาอาการเบื้องต้น พร้อมแนะวิธีรักษาที่ถูกต้อง

อาการปวดฟันไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ อาจจะปวดมากแล้วพาลไปปวดหัวก็ได้เช่นกัน ซึ่งอาการปวดฟันก็เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยมักจะนำทั้งความเจ็บปวด ความรำคาญใจ รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน จนต้องหาวิธีแก้ปวดฟันกันสักหน่อย ซึ่งได้รวบรวมวิธีแก้ปวดฟันไว้ในบทความนี้ และคำแนะนำการรักษาดี ๆ มาฝากกัน

วิธีแก้ปวดฟันแบบฉับพลัน

อย่างกล่าวไปในตอนต้นว่าอาการปวดฟันเกิดมาจากหลายสาเหตุ จึงทำให้วิธีแก้ปวดหัวมีหลากหลายด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะในกรณีที่ไม่สามารถไปพบทันตแพทย์ได้ทันที เรามีวิธีแก้ปวดฟันดังนี้

  1. ทำความสะอาดเศษอาหารที่ติดฟัน วิธีแก้ปวดฟันที่ทุกคนควรทำตาม โดยควรใช้ไหมขัดฟันทำ

ความสะอาดเศษอาหารที่ติดตามซอกฟันทั้งสองด้านในบริเวณที่มีอาการปวดอย่างระมัดระวัง จากนั้นให้บ้วนปากและกลั้วปากด้วยน้ำอุ่นเพื่อให้เศษอาหารหลุดออก เสร็จแล้วจึงบ้วนน้ำทิ้ง

  1. หลีกเลี่ยงสิ่งที่จะมากระตุ้นให้เกิดอาการปวดฟัน เช่น การรับประทานของเย็นจัดหรือร้อนจัด, การ

รับประทานอาหารที่มีรสหวานจัดหรือเปรี้ยวจัด เป็นต้น

  1. หลีกเลี่ยงการกระทบกระแทกบริเวณที่มีอาการปวดฟัน หากเรายังกระทบกระแทกบริเวณที่มีอาการปวด อาจจะทำให้อาการยิ่งแย่ลงและปวดมากขึ้น รวมถึงควรรับประทานอาหารที่นิ่ม เคี้ยวง่าย

เพื่อลดภาระการบดเคี้ยวของฟัน

  1. บ้วนปากด้วยน้ำเกลือ เป็นวิธีแก้ปวดฟันแบบเบสิกที่ช่วยในการกำจัดแบคทีเรียในช่องปากและยัง

ช่วยลดอาการปวดฟันได้ด้วย วิธีทำ ให้ผสมเกลือ 1 ช้อนชา กับน้ำอุ่น 250 มิลลิลิตร จากนั้นให้อมและกลั้วปากประมาณ 30 วินาที แล้วจึงบ้วนทิ้ง

  1. รับประทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล หรือไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) ดยปกติจะรับประทานยา

แก้ปวดครั้งละ 1-2 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง หรือรับประทานเฉพาะตอนมีอาการปวดเท่านั้น

  1. การประคบเย็น เป็นอีกหนึ่งวิธีแก้ปวดฟันได้ โดยเป็นการใช้ความเย็นเพื่อทำให้บริเวณที่ประคบเกิด

อาการชา ทำได้โดยใช้น้ำแข็งก้อนห่อด้วยผ้าบาง ๆ แล้วนำมาประคบบริเวณกรามข้างที่มีอาการปวดฟันประมาณ 10-15 นาที แล้วหยุดพัก จากนั้นให้ประคบต่อตามความจำเป็น โดยให้ตรวจดูว่าบริเวณที่ปวดหายเป็นปกติหรือยังก่อนที่จะประคบอีกครั้ง

  1. ใช้ถุงชาประคบบริเวณที่ปวด เช่น ชาดำที่มีสารแทนนินที่ช่วยลดอาการบวม หรือชาสมุนไพร

เปปเปอร์มินต์ที่มีฤทธิ์อ่อน ๆ ทำให้รู้สึกชาและบรรเทาอาการปวดได้เช่นกัน ส่วนวิธีการใช้ให้นำถุงชาไปอุ่นในไมโครเวฟ โดยใส่ไว้ในถ้วยที่มีน้ำประมาณ 30 วินาที เพื่ออุ่นถุงชา จากนั้นบีบน้ำที่ชุ่มออก แล้ววางถุงชาบนบริเวณที่มีอาการปวดฟันหรือเหงือกและกัดเบา ๆ จนกว่าอาการปวดจะทุเลาลงไป

นอกจากนี้ ยังมีสมุนไพรไทยบางชนิดที่สามารถบรรเทาอาการปวดฟันได้เช่นกัน อย่างกานพลู สมุนไพรแก้ปวดฟันที่นิยมใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณ เพราะมีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการชาและฆ่าเชื้อแบคทีเรีย สำหรับกานพลูทั้งดอก ให้นำมาเคี้ยวแล้วอมไว้ตรงบริเวณที่ปวดฟัน หรือจะนำดอกมาตำให้พอแหลกผสมกับเหล้าขาวเล็กน้อยพอแฉะ แล้วใช้สำลีชุบจิ้มหรืออุดฟันที่ปวด

วิธีการรักษาอาการปวดฟันอย่างถูกต้อง

เรารู้วิธีแก้ปวดฟันแล้ว แต่ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า วิธีดังกล่าวนั้นเป็นเพียงการบรรเทาอาการปวดเพียงชั่วคราวเท่านั้น ดังนั้นหากอาการปวดฟันยังไม่หาย แนะนำให้ไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจเช็คช่องปาก เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงว่าอะไรทำเรามีอาการปวดฟัน

เราก็ได้รู้วิธีแก้ปวดฟันกันไปแล้ว ทางที่ดีควรไปพบทันตแพทย์เพื่อรักษาให้ตรงจุด แต่ถ้าหากมีความจำเป็น
จริง ๆ วิธีแก้ปวดฟันที่นำเอามาฝากกัน ก็พอจะยืดระยะเวลาออกไปได้

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายทำฟัน ตรวจสุขภาพฟัน
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ทำฟัน #ตรวจสุขภาพฟัน

แปรงฟันถูกวิธี ควรแปรงฟันกี่นาที

แปรงฟันถูกวิธี ควรแปรงฟันกี่นาที ให้มีการปกป้องฟันสูงสุด

มีใครเคยรู้สึกบ้างไหมคะ ว่าเราแปรงฟันสะอาดจริงหรือเปล่า แล้วการแปรงฟันที่ถูกวิธี ควรแปรงฟันกี่นาที จึงจะมีประสิทธิภาพการปกป้องกันเราได้สูงที่สุด เราอาจจะเคยได้ยินมาว่า ระยะเวลาไม่ได้เป็นตัวชี้วัดคุณภาพการแปรงฟัน เพราะบางคนแปรงฟันนานก็จริง แต่ทำไมถึงยังมีฟันผุ แต่กับบางคนแปรงฟันสั้น ๆ แต่ฟันกลับสุขภาพดี แล้วแท้ที่จริงแล้ว เราควรแปรงฟันกี่นาทีกันแน่ เราจะชวนทุกคนมาร่วมหาคำตอบนี้กันค่ะ

เทคนิคง่าย ๆ สำหรับการแปรงฟันให้ถูกวิธี

หลายคนหาคำตอบว่าจริง ๆ แล้วเราควรแปรงฟันกี่นาทีกัน เราขอแนะนำเทคนิคการแปรงฟัน จำไม่ยาก ทำตามได้ง่าย ๆ นั่นคือ เทคนิค 2-2-2 โดยมีรายละเอียดได้แก่

  • แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
  • แปรงฟันด้วยยาสีฟันฟลูออไรด์ให้นานอย่างน้อยครั้งละ 2 นาที
  • งดกินอาหารหลังแปรงฟันอย่างน้อย 2 ชั่วโมง

เหตุผลที่เราควรแปรงฟันให้ได้ 2 นาที นั่นเป็นเพราะจะได้มีเวลานานพอที่จะทำให้ฟลูออไรด์สามารถเกาะติดและซึมผ่านผิวฟันเข้าไปทำให้ฟันแข็งแรงมากขึ้น ฟันก็จะผุได้ยากขึ้น ทั้งนี้ ได้มีงานศึกษามากมาย พบว่า การแปรงฟันเป็นเวลา 2 นาที ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการปกป้องฟันได้ดีขึ้น เพราะสามารถกำจัดคราบจุลินทรีย์บนผิวฟันได้มากกว่าการแปรงฟันเพียง 1 นาทีเกือบเท่าตัวด้วยค่ะ แต่ในทางกลับกัน หากเราใช้เวลาในการแปรงฟันที่สั้นมาก แปรงไม่กี่วินาที ฟลูออไรด์ที่อยู่ในยาสีฟันก็จะไม่ทันเข้าไปในผิวฟัน อีกทั้ง บรรดาคราบจุลินทรีย์หรือเศษอาหารก็จะยังคงเหลืออยู่ภายในช่องปากแลซอกฟัน นั่นเป็นเหตุทำให้เกิดฟันผุตามมาได้

ถ้าแปรงฟันนานกว่า 2 นาทีล่ะ?

สำหรับคนทั่วไป การแปรงฟัน 2 นาที ถือว่าเพียงพอแล้วค่ะ แต่ในกรณีคนบางกลุ่ม ที่มีฟันซ้อนเก หรือติดของหวาน มีปัญหาโรคเหงือกหรือปัญหาช่องปากต่าง ๆ การแปรงฟัน 2 นาที ก็เป็นเรื่องที่สามารถทำได้เช่นกัน รวมถึงยังสามารถแปรงได้บ่อยกว่าวันละ 2 ครั้งอีกด้วย

ประสิทธิภาพการปกป้องกันทวีคูณ เมื่อแปรงแห้ง 2 นาที

นอกจากเราจะควรแปรงฟัน 2 นาทีแล้ว รูปแบบการแปรงที่จะช่วยให้ฟลูออไรด์ในยาสีฟันปกป้องฟันของเราได้อย่างดีเยี่ยม คือ การแปรงแห้ง หรือแปรงโดยไม่บ้วนปาก แต่จะใช้วิธี “ถุย” เพื่อเอาฟองที่อยู่ภายในช่องปากออกให้มากที่สุดเท่านั้น หากใครยังนึกไม่ออก เราแนะนำการแปรงแห้งดังนี้

  • ไม่ควรเอาแปรงจุ่มน้ำ หรือบ้วนน้ำทั้งก่อนและหลังแปรงฟัน
  • เมื่อแปรงเสร็จ ให้ใช้วิธี “ถุยทิ้ง” เพื่อให้น้ำลายชะล้างคราบฟองที่เหลือ
  • ในขณะที่เรากำลังล้างรอบปาก น้ำลายจะไหลออกมา ก็ให้เราถุยทิ้งอีก แต่ถ้าหากใครรู้สึกไม่สบายปาก อาจจะใช้ลิ้นกวาดคราบฟองที่เหลือตามกระพุ้งแก้มหรือริมฝีปากด้านในและดูดกระพุ้งแก้ม ซึ่งการขยับกระพุ้งแก้มและการกวาดลิ้นไปรอบปาก จะเป็นการกระตุ้นให้มีน้ำลายเพิ่มากขึ้น โดยอาจจะใช้วิธีแปรงลิ้นเบา ๆ จากโคนลิ้นไปทางปลายลิ้น เพื่อลากเอาฟองที่ตกค้างบนลิ้นออก จากนั้นก็ถุยทิ้งอีกครั้ง เท่านี้ก็จะไม่เหลือฟองยาสีฟันตกค้างมากมายแล้วค่ะ

สิ่งสำคัญของการแปรงฟันไม่ได้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาเสมอไป แต่ขึ้นอยู่กับคุณภาพในการแปรงฟัน ว่าเราแปรงฟันได้ถูกวิธีหรือไม่ เพราะหากแปรงฟันนาน แต่แปรงไม่สะอาด ก็จะไม่สามารถช่วยปกป้องฟันของเราไว้ได้เลย แถมยังจะก่อให้เกิดผลเสียต่อฟันอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นคอฟันสึก ฟันบาง เหงือกร่น เหงือกอักเสบ ฯลฯ

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายตรวจสุขภาพฟัน
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ตรวจสุขภาพฟัน #นัดทำฟัน

เรียนรู้นิยาม ทันตกรรมคืออะไร

เรียนรู้นิยาม ทันตกรรมคืออะไร พร้อมบริการที่ครอบคลุมสำหรับทำฟัน

เรียนรู้นิยาม ทันตกรรมคืออะไรพร้อมบริการที่ครอบคลุมสำหรับทำฟัน

หากร่างกายเราเจ็บป่วย เราก็สามารถไปโรงพยาบาลหรือคลินิก พบแพทย์เพื่อรักษา แต่ถ้าฟันเราป่วยล่ะ เราจะต้องไปหาใครที่ไหน และรักษาอย่างไร? นั่นจึงเป็นที่มาของงานทันตกรรม เรามีหมอรักษาคน รักษาร่างกาย เราก็ต้องมีหมอรักษาฟันเช่นกัน เพื่อที่ว่าเกิดวันหนึ่งฟันเราเกิดป่วยหรือได้รับอุบัติเหตุ ทันตแพทย์จะได้ทำการช่วยเหลือ รักษาได้ทันนั่นเอง ซึ่งในงานทันตกรรมก็มีการรักษาที่ครอบคลุมแทบจะทุกปัญหาของฟัน เราอาจจะรู้จักแค่ อุดฟัน ถอนฟัน จัดฟัน ขูดหินปูน ซึ่งจริง ๆ แล้วงานทันตกรรมมีมากกว่านี้อีกเยอะมาก ดังนั้น ไปรู้จัก
ทันตกรรมและงานบริการทันตกรรมต่าง ๆ ที่ไม่แน่ว่าวันหนึ่งเราอาจต้องใช้บริการด้านอื่น นอกเหนือจากที่กล่าวมาก็ได้

ทันตกรรมคืออะไร

ทันตกรรมคืองานบริการสำหรับตรวจรักษาสุขภาพภายในช่องปากเพื่อให้เกิดสุขอนามัยที่ดี และเพื่อยืดอายุการใช้งานให้ได้นานที่สุด ซึ่งสุขภาพช่องปากเป็นสิ่งที่ทุกคนมองข้ามไม่ได้ ลองคิดดูว่าหากคุณมีปัญหาสุขภาพช่องปาก เช่น การมีกลิ่นปากจะทำให้คนอื่นมองคุณเช่นไร หรือฟันของคุณมีปัญหาคุณจะทำเช่นไร หากปล่อยปัญหาเหล่านี้ไว้จะส่งผลเสียทั้งต่อบุคลิกภาพ และอาจเกิดโรคที่ทำให้สูญเสียฟันได้นั่นเอง

ประเภทของทันตกรรม

เมื่อเรารู้แล้วว่าทันตกรรมคืออะไร แต่รู้หรือไม่ว่าทันตกกรรมมีหลายประเภทด้วยกัน ซึ่งแต่ละประเภทนั้นก็จะครอบคลุมปัญหาของฟันอีกด้วย โดยประเภทของทันตกรรมมีดังนี้

1. ทันตกรรมทั่วไป

ทันตกรรมทั่วไปหรือทันตกรรมพื้นฐาน หมายถึงการตรวจสภาพช่องปากและฟัน การทำความสะอาด และการรักษาสภาพเหงือกและฟัน เพื่อให้มีสุขอนามัยที่ดี ใช้ได้ไปนาน ๆ จะประกอบด้วยการวินิจฉัยโรคทางทันตกรรม การขูดหินปูนและขัดฟัน การอุดฟัน

2.ทันตกรรมเพื่อความงาม

ทันตกรรมเพื่อความงามเป็นการนำวิธีการทางทันตกรรมต่าง ๆ ในการช่วยเสริมสร้าง มุ่งเน้นการพัฒนาด้านความสวยงามของฟันและรอยยิ้ม ไม่ว่าจะเป็นการฟอกสีฟันด้วยเลเซอร์ การสร้างรอยยิ้มที่สวยงาม

3. ทันตกรรมรากฟันเทียม

เป็นการจำลองรากฟันให้ยึดติดกับขากรรไกรเพื่อเติมเต็มให้เหมือนฟันธรรมชาติที่เสียไป โดยทันตแพทย์จะทการฝังรากฟันเทียมบนกระดูกรองรับฟัน และใช่วัสดุที่คงทนแต่ไม่เกิดผลข้างเคียง ทำให้มีความสวยงาม คงทน และมีประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวเทียบเท่าฟันธรรมชาติ

4.ทันตกรรมประดิษฐ์

เป็นศาสตร์ที่ช่วยทดแทนฟันที่สูญเสียไปและแก้ปัญหาฟันที่เปราะบางหรือแตกหัก ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การปลูกรากฟันเทียมไทเทเนียม การครอบฟัน สะพานฟัน ฟันปลอมแบบถอดได้

5. ทันตกรรมจัดฟัน

การจัดฟันเป็นศาสตร์ที่ให้ความสำคัญต่อการเรียงตัวของฟัน เนื่องจากฟันที่เรียงกันอย่างไม่เป็นระเบียบจะกระทบต่อรูปหน้า ประสิทธิภาพและวิธีการบดเคี้ยว รวมถึงการดูแลรักษาความสะอาดฟัน

6. ทันตกรรมเด็ก

ทันตกรรมเด็กจะให้ความสำคัญด้านการดูแลฟันของเด็ก ซึ่งจะรวมถึงการให้ความรู้และวิธีการดูแลฟันเด็ก ดังนั้นจึงจะมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับทันตกรรมป้องกัน ซึ่งให้ความสำคัญกับการดูแลฟันอย่างถูกวิธีและป้องกันการเกิดฟันผุ ซึ่งควรดูแลป้องกันตั้งแต่เด็ก ๆ จะช่วยให้เด็กโตขึ้นมาไม่มีปัญหาเรื่องสุขภาพฟันในภายหลัง

7. ทันตกรรมป้องกัน

เป็นการดูแลรักษาฟันแท้ตามธรรมชาติให้มีอายุการใช้งานไปตลอดชีวิตเป็นเรื่องที่สำคัญมาก รวมถึงการดูแลเอาใจใส่สุขภาพฟันของเราให้แข็งแรงตลอดเวลาย่อมดีกว่าการเข้ารับการรักษาหรือหาวิธีซ่อมแซม

8. ทันตกรรม ปริทันต์

ปริทันต์หรือที่เราเรียกกันว่าโรคเหงือก โดยทั่วไปมักหมายถึงโรคเหงือกอักเสบ แต่จริง ๆ แล้วจะรวมถึงการศัลยกรรมเหงือกและปลูกถ่ายเหงือกเพื่อเพิ่มความยาวของฟัน งานทันตกรรมยังมีอีกหลายประเภท แต่ก็ใช่ว่าเราจะต้องใช้บริการทุกอย่างนะคะ เพราะทางที่ดีที่สุดคือการป้องกัน ดูแลรักษาฟันให้สะอาดและแข็งแรงอยู่เสมอ อย่าปล่อยให้วัวหายแล้วจึงล้อมคอก

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายทำฟัน

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#คลินิกทันตกรรม #BPDC #ทันตกรรม #ทำฟัน

ทำฟันในช่วง Covid-19 ทำได้หรือไม่

ทำฟันในช่วง Covid-19 ทำได้หรือไม่?

ในช่วงที่มีไวรัส Covid-19 ระบาดนั้น การให้การรักษาทางทันตกรรมรวมไปถึงการจัดฟันนั้นเป็นไปอย่างจำกัด หลาย ๆ โรงพยาบาล หรือคลินิกทันตกรรมให้การรักษาเฉพาะเคสที่ฉุกเฉินเท่านั้น แต่ที่ BPDC ท่านสามารถสอบถามวันเวลาที่จะเข้ารับบริการโดยติดต่อสอบถามได้ก่อนเข้าใช้บริการ

ซึ่งสิ่งสำคัญที่ต้องเตรียมตัวก่อนใช้บริการทำฟันคือ

คัดกรองความเสี่ยง…ตรวจเช็กก่อนทำฟัน
การคัดกรองความเสี่ยงในการติดเชื้อของลูกค้าก่อนเข้ามารับการจัดฟัน จัดเป็นหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญก่อนการทำทันตกรรม โดยการคัดกรองสามารถทำได้โดยการสอบถามก่อนที่จะถึงวันนัดอย่างน้อย 1 วัน เพื่อลดความเสี่ยงจากการเดินทางของผู้ป่วยมายังสถานพยาบาล โดยดูจากทั้งประวัติ และอาการแสดงของผู้ป่วย

ประวัติ

มีประวัติเดินทางไปยัง หรือมาจากพื้นที่ที่เกิดโรคระบาดหรือไม่
มีประวัติของคนในครอบครัวป่วยเป็น COVID-19 สัมผัสกับผู้ป่วย COVID-19 หรือสารคัดหลั่งจากระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วยโดยไม่ได้ป้องกันอย่างเหมาะสมหรือไม่ ประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว สถานที่แออัด หรือติดต่อกับคนจำนวนมากหรือไม่ มีประวัติไปในสถานที่ชุมชน หรือสถานที่ที่มีการรวมกลุ่มคน เช่น ตลาดนัด ห้างสรรพสินค้า สถานพยาบาล ขนส่งสาธารณะ เป็นบุคคลากรทางการแพทย์ที่ใกล้ชิด/สัมผัสผู้ป่วย COVID-19 หรือไม่ อาการแสดง

อาการ

ไอเจ็บคอน้ำมูกไหล
มีไข้ อุณหภูมิสูงตั้งแต่ 37.5 C
การสูญเสียการได้กลิ่น และการรับรส
ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ
หายใจเหนื่อย/หายใจเร็ว


ในกรณีที่สอบถามประวัติและอาการผู้ป่วย แล้วพบว่ามีความเสี่ยง สามารถเลื่อนนัดทำฟันและดูอาการประมาณ 1 เดือนก่อนได้ ผู้ป่วยสามารถชะลอการรักษา 1-2 เดือนได้โดยไม่กระทบการรักษา

หากลูกค้าท่านใดต้องการนัดทำฟันสามารถติดต่อสอบถามได้ที่

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#คลินิกทันตกรรม #BPDC #ทำฟัน #ทำฟันช่วงโควิด

ขั้นตอนการรักษารากฟัน ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

ขั้นตอนการรักษารากฟัน ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

ถ้าพูดถึงการรักษารากฟันแล้วล่ะก็ หลายคนคงคิดกับส่ายหน้า ขยาดกันไปตาม ๆ กัน กลัวในกิตติศัพท์ว่าจะต้องเจ็บมากแน่ ๆ จนมีคนจำนวนไม่น้อย เลือกที่จะปล่อยปะละเลย จนกระทั่งเชื้อโรคลุกลามไปมาก ยากเกินจะแก้ไข หรือกับคนอีกกลุ่มหนึ่งอาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการรักษา จึงยอมที่จะถอนฟันทิ้งไป มองเผิน ๆ การถอนฟันดูไม่น่าเป็นอะไรมาก แต่แท้จริงแล้ว การมีฟันอยู่มันดีกว่าเยอะนะคะ เท่ากับว่าประสิทธิภาพการบดเคี้ยวยังสามารถทำได้ดีกว่าการสูญเสียฟัน วันนี้เราจะพาทุกคนไปดูขั้นตอนการรักษารากฟันกันค่ะ ว่าน่ากลัวอย่างที่กลัวกันหรือเปล่า
            การรักษารากฟันเป็นวิธีที่จะช่วยให้เราลดความสูญเสียฟันลงไปได้ โดยการรักษารากฟันนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ
          1. การรักษารากฟันด้วยวิธีปกติ
         
จะเริ่มจากการที่ทันตแพทย์จะเอกซเรย์เพื่อตรวจวัดความยาวของคลองรากฟัน และจากนั้นทำความสะอาดภายในคลองรากฟันเพื่อเป็นการจัดเนื้อเยื่อที่มีปํญหา รวมถึงแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรค แล้วทันตแพทย์จะใช้วัสดุสำหรับอุดคลองรากฟัน โดยที่ฟันตรงจุดนั้นจะไม่ได้รับการอุดอย่างถาวร จนกว่าจะทำการขจัดเชื้อบริเวณรากฟันดังกล่าวออกไปจนหมดจากโพรงประสาทและคลองรากฟันนั่นเองค่ะ
          2. การรักษาฟันด้วยการผ่าตัดปลายรากฟัน
         
วิธีนี้จะทำก็เมื่อวิธีที่แรกไม่ได้ผล โดยทันตแพทย์จะทำการผ่าตัดในตำแหน่งของปลายรากฟันที่เกิดหนอง จากนั้นจะทำการตัดปลายรากฟันบางส่วน ซึ่งในปัจจุบันนี้ ทันตแพทยน์จะใช้เครื่องมืออย่างกล้องจุลศัลยกรรมในการขยายคลองรากฟันที่มีขนาดเล็กให้ชัดยิ่งขึ้น การใช้เครื่องมือดังกล่าวจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาที่แม่นยำ หลังจากนั้น จะทำการใข้วัสดุเข้าไปอุดในส่วนของปลายรากฟันที่ได้ทำความสะอาดไว้ในตอนแรก วัสดุดังกล่าวนี้นั้นจะไม่ทำให้เกิดผลข้างและอันตรายต่อเนื้อเยื่อภายในรอบ ๆ ปลายรากฟัน

ขั้นตอนในการรักษารากฟัน
            ด้วยความที่รากฟันมีขนาดที่เล็ก จึงต้องมีทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะในการทำการรักษารากฟันโดยเฉพาะ และขั้นตอนในการรักษารากฟัน ก็ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่หลาย ๆ คนคิด ซึ่งจะมีขั้นตอนดังนี้
            1. เริ่มแรก ทันตแพทย์จะฉีดยาชา โดยจะใช้เป็นแผ่นยางบาง ๆ สำหรับแยกฟันที่มีปัญหาออกจากฟันซี่อื่น เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนไปยังฟันซี่ข้าง ๆ กัน
            2. ทันตแพทย์จะจัดการนำเอาฟันที่ผุออก โดยเอาส่วนที่เสียหายออก และกำจัดเนื้อฟันที่อักเสบหรือติดเชื้อออกตั้งแต่ส่วนต้นไปจนถึงส่วนของโพรงประสาทฟัน
            3. ทำความสะอาดรากฟันในส่วนที่ดำเนินการ และนำยาใส่ลงไปในคลองรากฟัน
            4. ใช้วัสดุอุดเพื่อปิดเอาไว้ชั่วคราว เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำ


            อย่างไรก็ตาม การรักษารากฟันอาจจะไม่ได้จบสิ้นในครั้งนี้ จำเป็นต้องใช้เวลาในการรักษาหลายครั้งในการทำความสะอาด นอกจากนี้ ยังต้องเปลี่ยนยาที่ใช้ในคลองรากฟันเพื่อฆ่าเชื้อที่มีอยู่จนกว่าเชื้อนั้นจะหมดไป หรือจะต้องรอจนกว่าการอักเสบนั้นจะหายดี


            อย่างที่กล่าวไว้ในตอนต้นว่าการรักษารากฟันเกิดขึ้นจากการที่ปล่อยละเลย ไม่ดูแลรักษาฟันตั้งแต่ที่เริ่มมีอาการ ทำให้เชื้อโรคนั้นลุกลามจนมีอาการที่รุนแรงมาก และส่งผลให้ประสิทธิภาพการใช้งานลดลง รวมถึงการรักษาก็จะมีความยากขึ้นตามระยะความรุนแรง ดังนั้น เราจึงควรดูแลรักษาความสะอาดของฟันให้ดี เพื่อเป็นการป้องกันในการเกิดโรค สิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงเสมอคือ การป้องกันย่อมเกิดผลที่ดีกว่าการมารักษาแล้ว


สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายรักษารากฟัน

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829

Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental

ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

www.bpdcdental.com

#BPDC #คลินิกทันตกรรม #รักษารากฟัน #รากฟัน #ทำฟัน

ขั้นตอนการจัดฟัน

ขั้นตอนการจัดฟัน

ฟันของแต่ละคนมีการเรียงตัวที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นรูปร่างฟัน ขนาดฟัน ฟันเขี้ยว ฟันเก ฟันเหยิน ฟันซ้อน ฟันห่าง สบฟันไม่ดี รวมถึงความสัมพันธ์ของขากรรไกรฟัน ซึ่งเป็นต้นเหตุให้ขาดความมั่นใจ รวมถึงบุคลิกภาพไม่ดี  การจัดฟันจึงเป็นการรักษาและแก้ไขปัญหาของฟันเรียงตัวไม่เหมาะสม เพื่อให้ฟันอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง นอกจากนี้การจัดฟันยังช่วยลดปัญหาการเคี้ยวอาหาร ช่วยให้เคี้ยวอาหารได้ดีขึ้น รวมถึงสร้างความมั่นใจให้กับผู้จัดฟันเนื่องจากฟันมีการเรียงตัวเป็นระเบียบ สวยงาม นอกจากนี้ยังช่วยให้โครงสร้างฟันมีการเรียงตัวเป็นระเบียบช่วยให้ทำความสะอาดได้ง่าย และป้องกันการเกิดฟันผุและโรคเหงือกด้วย

ขั้นตอนการจัดฟัน

  1. ปรึกษาทันตแพทย์จัดฟันเพื่อวางแผนการรักษา ฟังคำแนะนำ แนวทางการรักษา รวมถึงรายละเอียดค่าใช้จ่ายในการรักษา
  2. หากต้องการจัดฟัน ทางทันตแพยทย์จะส่งตัวไป X Ray ฟันเพื่อจัดฟัน หลังจากนั้นจึงพิมพ์ปากแบบจำลองฟันเรา เพื่อดูสบฟัน แล้วนำมาวางแผนการรักษา
  3. ก่อนจัดฟัน จะมีการเคลียร์ช่องปากก่อน เช่น ขูดหินปูน อุดฟัน ถอนฟัน ขึ้นอยู่กับสภาพปัญหาของผู้จัดฟัน
  4. หลังจากนั้นทันตแพทย์จะนัดหมายเพื่อทำการติดตั้งเครื่องมือจัดฟัน โดยทางทันตแพทย์อาจเลือกติดตั้งเครื่องมือบน หรือล่างก่อน เพื่อดูการเคลื่อนที่ของฟัน เพื่อประกอบการวางแผนรักษา
  5. หลังจากนั้น ทางทันตแพทย์จัดฟันจะนัดทุกๆ 1 เดือนเพื่อปรับเครื่องมือจัดฟัน โดยใช้เวลาการรักษา 2-3 ปี ขึ้นอยู่กับสภาพฟันและปัญหาของผู้จัดฟัน

ข้อแนะนำ ควรหมั่นแปรงฟันให้สะอาด หรือขูดหินปูนทุก 6 เดือน เพราะการใส่เหล็กจัดฟันอาจทำให้ทำความสะอาดฟันไม่ทั่วถึง ทำให้เกิดปัญหาเหงือกบวม หรืออักเสบ รวมถึงฟันผุได้

  1. เมื่อทำการรักษาเสร็จสิ้น ทันตแพทย์จะถอดเครื่องมือจัดฟัน และทำรีเทนเนอร์ให้ใส่เพื่อคงสภาพฟันไว้  ระยะเวลาการใส่รีเทนเนอร์ขึ้นอยู่กับผู้รับบริการแต่ละราย  และควรกลับมารับการตรวจเช็คประจำทุกปี หลังจัดฟันแล้วเสร็จ พร้อมนำรีเทนเนอร์ มาตรวจความสมบูรณ์ด้วย

 

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมาย

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#covid19 #คลินิกทันตกรรม #BPDC

ยาสีฟันที่ดีต้องเลือกยังไง

ยาสีฟันที่ดีต้องเลือกยังไง

ในปัจจุบันยาสีฟันในประเทศไทยนั้นมีหลากหลายแบรนด์ หลายหลายรูปแบบทั้งของเด็กของผู้ใหญ่ สูตรต่างๆ มากมายหลากหลายทั้ง ชาเชียว เกลือ สมุนไพร มีให้เลือกมากมายในตลาด แต่ถามว่ายาสีฟันที่ดีที่สุดคืออะไร หลายๆ คนก็คงตอบไม่ได้ ขึ้นอยู่กับประสบการณ์การใช้ยาสีฟันของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน ความชอบในเรื่องของรสชาติ กลิ่น การรักษาสุขภาพฟัน ใช้แล้วไม่มีกลิ่นปาก ซึ่งวันนี้ผมจะมาแนะนำวิธีการเลือกยาสีฟันที่ดีกันครับ

ประโยชน์ของยาสีฟันที่ดีคือ

– ยาสีฟันต้องมีฟลูออไรด์ ซึ่งเป็นสารต้านแบคทีเรียที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพที่ให้ประโยชน์ในการต่อต้านการผุและความไวในการทำความสะอาดฟัน
– สารเคลือบฟัน ยาสีฟันที่ดีจะมีสารคอยเคลือบฟันควบคุมอาจมีไพโรฟอสเฟตซึ่งช่วยป้องกันไม่ให้เกิดคราบหินปูนบนฟัน ปกป้องยาวนาน
– ไวท์เทนนิ่ง: ยาสีฟันฟอกสีฟัน มีส่วนผสมของสารเคมีหรือสารกัดกร่อนเพื่อช่วยในการลบหรือป้องกันคราบไม่ให้ก่อตัวขึ้นบนฟัน เมื่อใช้เป็นประจำยาสีฟันไวท์เทนนิ่งสามารถลดการปรากฏของคราบและทำให้ฟันของคุณดูขาวขึ้น

ซึ่งในการเลือกยาสีฟันนั้น หลักๆ จะมีเกณฑ์ในการเลือกอยู่สามข้อ แต่อย่างที่ผมได้กล่าวไว้ มันมีการแต่งกลิ่นแต่งรสชาติ ซึ่งแล้วแต่ความชอบส่วนบุคคลนะครับ

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายทำฟัน
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental

home


ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

ฟันคุดควรผ่าออกหรือไม่

ฟันคุดควรผ่าออกหรือไม่

หลายๆคนอาจจะเคยพบปัญหาของฟันคุดกันเป็นจำนวนมากซึ่งไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี ควรปล่อยไว้ไหม หรือว่า ควรไปผ่าเอาออก วันนี้ผมจะมาสรุปว่า ฟันคุดควรผ่าออกหรือควรทำยังไงกับมันดี

ฟันคุดคืออะไร

ฟันคุดคือฟันที่อยู่ด้านใน ด้านริม มีฟันอยู่ใต้เหงือก ฟันโผล่มาครึ่งซีก ฟันคุดเป็นฟันแท้ แต่งอกมาได้ไม่เต็มที่ หรือบางครั้งจะติดกับโครงกระดูกกรามของเรา ฟันคุดจะเกิดขึ้นประมาณช่วง 15 ปี ที่เริ่มเป็นฟันแท้ขึ้นมา เริ่มมีการใช้ฟันเยอะ

ปัญหาฟันคุด

– ส่งผลต่อการจัดฟัน จะทำให้จัดฟันไม่ได้
– เกิดอาการปวดบวมของฟันและเหงือก หรือเหงือกอักเสบได้
– ปล่อยไว้นานจะทำให้ฟันซี่อื่นๆ เกิดปัญหา เช่นฟันล้ม ฟันเก ฯลฯ
– เศษอาหารอาจจะเข้าไปติดในร่องได้ง่าย ทำให้เกิดฟันผุ

วิธีแก้ปัญหาฟันคุด

– ทำการผ่าเอาฟันคุดออก โดยการผ่าเหงือก

อาการหลังผ่าฟันคุด

– อาจมีไข้ขึ้นสูง
– มีการบวมอักเสบของเหงือก
– ทานอาหารไม่ได้
– มีเลือดออกเรื่อย ๆ ไม่หยุด

การผ่าเอาฟันคุดออกต้องได้รับการยืนยันและวิเคราะห์จากแพทย์ก่อน ว่าสามารถผ่าได้หรือไม่ ไม่ใช่ว่าจะผ่าก็ผ่าได้เลย เพราะมีผู้ป่วยบางโรคที่ทำการผ่าเอาฟันคุดออกไม่ได้ โรคเบาหวานระยะสุดท้าย โรคตับ โรงมะเร็งต่างๆ จะไม่สามารถทำการผ่าฟันคุดได้

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมาย
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental

home


ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)