รักษารากฟัน มีกี่วิธี

รักษารากฟัน มีกี่วิธี พาไปดูความแตกต่างของแต่ละวิธีก่อนคิดตัดสินใจทำ

รักษารากฟัน มีกี่วิธี พาไปดูความแตกต่างของแต่ละวิธีก่อนคิดตัดสินใจทำ

ความสุขของคนเราอย่างหนึ่ง คือการได้กินของอร่อยตามต้องการ แต่เมื่อไรก็ตามที่เราไม่สามารถทำอย่างนั้นได้เนื่องจากฟันผุจนเกินกว่าที่จะอุด ถ้าไม่รักษาต่อความสนุกในการกินก็แทบจะหายไปเลยนะคะ ซึ่งการรักษาที่ว่านั้นก็คือ การรักษารากฟัน ซึ่งเป็นวิธีรักษาที่ทันตแพทย์หลายคนแนะนำ เราจะไปเรียนรู้เกี่ยวกับการรักษารากฟัน มีกี่วิธี และความแตกต่างแต่ละแบบนั้นเป็นอย่างไร

การรักษารากฟันคืออะไร

การรักษารากฟันคือการตัดเนื้อเยื่อโพรงประสาทฟันที่ติดเชื้อ หรือเนื้อเยื่อขนาดเล็กที่อยู่ใจกลางฟันที่ตายออกแล้ว ซึ่งเมื่อประสาทฟันถูกทำลาย อักเสบ หรือฟันตายถูกตัดออก พื้นที่ส่วนที่เหลือนั้น ทันตแพทย์จะทำความสะอาด โดยใช้เครื่องมือขายให้คลองรากฟันกว้างขึ้น และสะอาดขึ้น แล้วจึงใช้น้ำยาล้างคลองรากฟัน และยาฆ่าเชื้อใส่ในคลองรากฟัน เมื่อกำจัดเชื้อโรคในคลองรากฟันออกจนหมดแล้ว ก็จะทำการอุดรากฟัน เพื่อป้องกันไม่ใช่เชื้อโรคกลับเข้าไปในคลองรากฟันอีก ซึ่งเป็นวิธีที่จะสามารถเก็บรักษาฟันส่วนที่เหลือไว้ได้ และยังเป็นวิธีที่นิยมใช้แทนการถอนฟันด้วยค่ะ

สาเหตุที่ต้องรักษารากฟัน

  • ฟันผุลึกจนถึงโพรงประสาทฟัน จนทำให้ประสาทฟันเกิดอาการอักเสบ หากลุกลามมากขึ้นจะทำให้เนื้อเยื่อในฟันนั้นตาย และเกิดการติดเชื้อในคลองรากฟัน ซึ่งทำให้เกิดอาการปวด อาการเหล่านี้สามารถรักษาได้ด้วยการรักษารากฟัน
  • ฟันแตกจากอุบัติเหตุ อาจจะเกิดจากการกระแทกจนฟันแตก เมื่อโพรงประสาทฟันเกิดอักเสบ ติดเชื้อ หากปล่อยทิ้งไว้ จะเกิดการก่อตัวที่ปลายรากฟันในกระดูกขากรรไกร เกิดเป็นฝีได้ อีกทั้งยังสามารถเกิดการทำลายกระดูกรอบ ๆ ฟัน ทำให้เกิดอาการปวด
  • นอนกัดฟันอย่างรุนแรง การกัดฟันนอกจากจะเป็นสาเหตุให้ฟันสึกแล้ว หากกัดแรง ๆ ก็จะไปรบกวนโพรงประสาทฟันด้วย ส่งผลให้ฟันร้าว และเชื้อโรคอาจจะแทรกซึมเข้าไปได้
  • โรคเหงือก สามารถลุกลามไปถึงปลายรากฟัน ทำให้เชื้อโรเข้าโพรงประสาทฟันได้

การรักษารากฟัน มีกี่วิธี 

อันที่จริงแล้วถ้าอาการทางฟันไม่ได้เลวร้ายเกินไป ทันตแพทย์จะไม่แนะนำให้รักษารากฟันเลยค่ะ สำหรับการรักษารากฟัน มีด้วยกัน 2 วิธี ได้แก่

1. การรักษาด้วยวิธีปกติ 

ทันตแพทย์จะวัดความยาวของคลองรากฟัน โดยการถ่ายเอกซเรย์ แล้วจะใช้ไฟล์ขนาดเล็ก เพื่อรักษารากฟัน และทำความสะอาดภายในคลองรากฟัน เพื่อขจัดเนื้อเยื่อที่มีปัญหาและแบคทีเรีย โดยที่ฟันจะไม่ถูกอุดอย่างถาวรจนกว่าจะขจัดจนปลอดเชื้อในโพรงประสาทและคลองรากฟันหลังจากที่มั่นใจว่าภายในโพรงประสาทฟันนั้นปลอดเชื้อแล้ว ก็จะใช้วัสดุอุดคลองรากฟัน อุดที่คลองรากฟัน วิธีนี้เป็นวิธีรักษารากฟันที่พบได้บ่อย

2. การรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดปลายรากฟัน

ทันตแพทย์จะใช้วิธีนี้ในกรณีที่วิธีแรกรักษาไม่ได้ผล โดยจะทำการผ่าตัดเข้าไปที่ตำแหน่งปลายรากฟันที่เป็น หนองทำการตัดปลายรากฟันออกบางส่วน หลังจากนั้นทำการอุดวัสดุเข้าไปใน ส่วนปลายรากฟันที่ทำความสะอาดไว้ โดยวัสดุนี้จะไม่เป็นพิษต่อเนื้อเยื่อ หรือไม่ ทำให้เกิดการหายของเนื้อเยื่อรอบปลายรากฟันขึ้น

การรักษารากฟัน มีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

แน่นอนว่าหลังการรักษารากฟันสามารถเกิดผลข้างเคียงได้ ซึ่งจะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับสภาพของฟันในแต่ละบุคคล

1. อาการปวดตื้อ ๆ หลังจากการรักษารากฟันในช่วง 2-3 วันแรก และอาการจะค่อย ๆ หายไปเอง ซึ่งสามารถกินยากแก้ปวดเพื่อบรรเทาได้

2. อาการปากชา สามารถเกิดขึ้นได้หลังจากทำการรักษารากฟันในวันนั้น แนะนำว่าช่วงที่ปากชาไม่ควรกินอาหารเพื่อป้องกันการกัดลิ้นและกระพุ้งแก้ม

3. ควรระมัดระวังในการใช้งานฟันที่มีการรักษารากฟัน เนื่องจากฟันจะมีปริมาณเหลือน้อยลงและมีความเปราะบางมากขึ้น อีกทั้งยังป้องกันโอกาสที่ฟันจะแตกระหว่างที่ดำเนินการรักษา

เราก็ได้รู้กันแล้วว่าการรักษารากฟันคืออะไร มีกี่วิธี แต่ละวิธีแตกต่างหรือใช้ในกรณีไหนบ้าง เพื่อสำหรับประกอบการตัดสินใจหากใครต้องรักษารากฟัน

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมาย “รักษารากฟัน”

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#คลินิกทันตกรรม #BPDC #ทันตกรรม #รากฟัน #รักษารากฟัน

ไขข้อสงสัย เมื่อใดเราจึงควรรักษารากฟัน

ไขข้อสงสัย เมื่อใดเราจึงควรรักษารากฟัน

เหงือกจ๋า… ฟันลาก่อน ก่อนที่ฟันจะหายไป การดูแลรักษาฟันจึงเป็นเรื่องที่เราควรให้ควาสำคัญนะคะ เพราะเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นกับฟัน คงไม่มีใครอยากจะรอจนถึงทางออกสุดท้ายคือการสูญเสียฟันไป ซึ่งปัจจุบันนี้ ก็มีทางเลือกในการรักษาฟันอยู่มากมาย หนึ่งในนั้นคือ การรักษารากฟัน ก่อนที่เราจะเลือกตัดสินใจรักษารากฟัน เราจึงควรมีความรู้เกี่ยวกับการรักษารากฟันกันก่อนค่ะ

การรักษารากฟันคืออะไร
            การรักษารากฟันเป็นกระบวนการกำจัดเชื้อที่อยู่ในโพรงประสาทฟัน หรือเนื้อเยื่อขนาดเล็กที่อยู่ใจกลางฟัน เป็นสาเหตุให้เกิดการติดเชื้อ อักเสบของโพรงเนื้อเยื่อในโพรงประสาทฟัน รวมทั้งทำความสะอาดโพรงฟัน คลองรากฟันให้ปราศจากเชื้อโรค และอุดคลองรากฟันด้วยวัสดุคลองรากฟัน ทำให้ฟันสามารถกลับมาใช้งานได้ตามปกติ โดยที่ไม่ต้องถอนฟันทิ้ง

สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหากับรากฟัน
         
สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหากับรากฟัน โพรงประสาทฟันหรือฟันตายนั้น เกิดได้หลายสาเหตุดังนี้
 
         1. ฟันผุอย่างรุนแรง ในรายที่ปล่อยฟันให้ผุแล้วไม่รักษา ทำให้ฟันผุลุกลามถึงโพรงประสาทฟัน เกิดการอักเสบ เป็นหนองที่ปลายรากฟัน และไม่สามารถทำการอุดฟันได้แล้ว
         2. มีปัญหาโรคเหงือก
โดยมากปัญหาโรคเหงือกจะเกิดจากคราบแบคทีเรียไปเกาะบริเวณเหงือกและฟัน ถ้าเราทำความสะอาดไม่ดี คราบแบคทีเรียจะไปทำลายเนื้อเหงือกหุ้มรากเนื้อเยื่อที่รองรับให้ฟันติดกับขากรรไกรและกระดูกฟัน การรักษารากฟันจะช่วยดูแลไม่ให้หินปูนเข้าไปสะสมได้ง่าย
            3. อาการบาดเจ็บของฟัน ไม่ว่าจะมาจากการได้รับแรงกระแทกที่ฟัน ทำให้ฟันแตกหัก ถึงโพรงประสาทได้
          4. การนอนกัดฟัน
จะทำให้เกิดการสึกของฟัน บางรายฟันสึกถึงเนื้อฟัน ทำให้ฟันเตี้ยลงไปมาก ก็จะเกิดเป็นช่องว่างระหว่างฟัน ทำให้เศาอาหารเข้าไปติดได้ง่าย หรือถ้ากัดแรงมาก ตัวฟันรับแรงไม่ไหว ก็จะเกิดหนองที่ปลายรากฟัน ทำให้ต้องรักษารากฟันทีหลัง


เมื่อใดที่เราควรรักษารากฟัน?
         
หลายคนคงเกิดข้อสงสัยว่า เมื่อใดที่เราควรต้องรักษารากฟันได้แล้ว หรือลักษณะของฟันแบบใดที่ส่งสัญญาณเตือนให้เราต้องรักษารากฟัน  สามารถดูได้ดังนี้
 
           1. ฟันที่ผุลึกมาจนถึงโพรงประสาทฟัน
            2. ฟันที่มีการเปลี่ยนสีไปจากเดิมซึ่งมีสาเหตุมาจากฟันตาย (ฟันตายคือฟันที่ไม่มีชีวิต ไม่มีอาการ มีสีที่เปลี่ยนแปลงไป และอาจจะเกิดตุ่มหนอง บางรายอาจจะมีอาการหน้าบวม มีน้ำหนองไหลจากฟันที่ติดเชื้อ หรือบางรายอาจจะเกิดแค่อาการปวดฟัน เสียวฟัน เมื่อทานอาหารร้อนหรือเย็น)
            3. ฟันที่ได้รับแรงกระแทกอย่างรุนแรงจากอุบัติเหตุ การกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงนั้นจะส่งผลให้เกิดการอักเสบ หรือการตายของเนื้อเยื่อในโพรงประสาทฟัน ซึ่งโดยปกตินั้น เนื้อเยื่อในโพรงประสาทฟันจะสามารถต่อสู่กับเชื้อโรคและมีความสามารถในการต้านการอักเสบที่ไม่รุนแรงได้ แต่หากการอักเสบหรือการติดเชื้อนั้นรุนแรงมากขึ้น เช่น กรณีที่ฟันผุลึกมาก กินเนื้อฟันไปเยอะ หรือฟันที่ได้รับการกระแทกอย่างแรง รวมถึงฟันที่แตกหักแล้วทะลุเข้าไปในโพรงฟัน ส่งผลให้เนื้อเยื่อในโพรงฟันนั้นถูกทำลายไป และเกิดภาวะ จนเป็นเหตุให้ฟันตายในที่สุด
            4. ฟันที่มีหนองที่ปลายรากฟัน กรณีนี้ถือเป็นสัญญาณเตือนที่รุนแรงมาก โดยการเกิดหนองที่ปลายราก อาจมีหนองไหลมาเห็นได้ชัด นั่นหมายความว่าเชื้อได้ลุกลามไปทำลายส่วนของเนื้อเยื่อทั้งโพรงประสาทฟันแล้ว
            สิ่งสำคัญที่สุดเพื่อไม่ให้เกิดการสูญเสียฟันหรือเกิดอาการที่เป็นผลมาจากการที่ฟันของเราผิดปกติ คือการดูแลรักษาฟันให้สะอาดและหมั่นไปหาทันตแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจฟันเป็นประจำ

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายรักษารากฟัน

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829

Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental

ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

www.bpdcdental.com

#BPDC #คลินิกทันตกรรม #รักษารากฟัน #รากฟัน

ขั้นตอนการรักษารากฟัน ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

ขั้นตอนการรักษารากฟัน ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

ถ้าพูดถึงการรักษารากฟันแล้วล่ะก็ หลายคนคงคิดกับส่ายหน้า ขยาดกันไปตาม ๆ กัน กลัวในกิตติศัพท์ว่าจะต้องเจ็บมากแน่ ๆ จนมีคนจำนวนไม่น้อย เลือกที่จะปล่อยปะละเลย จนกระทั่งเชื้อโรคลุกลามไปมาก ยากเกินจะแก้ไข หรือกับคนอีกกลุ่มหนึ่งอาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการรักษา จึงยอมที่จะถอนฟันทิ้งไป มองเผิน ๆ การถอนฟันดูไม่น่าเป็นอะไรมาก แต่แท้จริงแล้ว การมีฟันอยู่มันดีกว่าเยอะนะคะ เท่ากับว่าประสิทธิภาพการบดเคี้ยวยังสามารถทำได้ดีกว่าการสูญเสียฟัน วันนี้เราจะพาทุกคนไปดูขั้นตอนการรักษารากฟันกันค่ะ ว่าน่ากลัวอย่างที่กลัวกันหรือเปล่า
            การรักษารากฟันเป็นวิธีที่จะช่วยให้เราลดความสูญเสียฟันลงไปได้ โดยการรักษารากฟันนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ
          1. การรักษารากฟันด้วยวิธีปกติ
         
จะเริ่มจากการที่ทันตแพทย์จะเอกซเรย์เพื่อตรวจวัดความยาวของคลองรากฟัน และจากนั้นทำความสะอาดภายในคลองรากฟันเพื่อเป็นการจัดเนื้อเยื่อที่มีปํญหา รวมถึงแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรค แล้วทันตแพทย์จะใช้วัสดุสำหรับอุดคลองรากฟัน โดยที่ฟันตรงจุดนั้นจะไม่ได้รับการอุดอย่างถาวร จนกว่าจะทำการขจัดเชื้อบริเวณรากฟันดังกล่าวออกไปจนหมดจากโพรงประสาทและคลองรากฟันนั่นเองค่ะ
          2. การรักษาฟันด้วยการผ่าตัดปลายรากฟัน
         
วิธีนี้จะทำก็เมื่อวิธีที่แรกไม่ได้ผล โดยทันตแพทย์จะทำการผ่าตัดในตำแหน่งของปลายรากฟันที่เกิดหนอง จากนั้นจะทำการตัดปลายรากฟันบางส่วน ซึ่งในปัจจุบันนี้ ทันตแพทยน์จะใช้เครื่องมืออย่างกล้องจุลศัลยกรรมในการขยายคลองรากฟันที่มีขนาดเล็กให้ชัดยิ่งขึ้น การใช้เครื่องมือดังกล่าวจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาที่แม่นยำ หลังจากนั้น จะทำการใข้วัสดุเข้าไปอุดในส่วนของปลายรากฟันที่ได้ทำความสะอาดไว้ในตอนแรก วัสดุดังกล่าวนี้นั้นจะไม่ทำให้เกิดผลข้างและอันตรายต่อเนื้อเยื่อภายในรอบ ๆ ปลายรากฟัน

ขั้นตอนในการรักษารากฟัน
            ด้วยความที่รากฟันมีขนาดที่เล็ก จึงต้องมีทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะในการทำการรักษารากฟันโดยเฉพาะ และขั้นตอนในการรักษารากฟัน ก็ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่หลาย ๆ คนคิด ซึ่งจะมีขั้นตอนดังนี้
            1. เริ่มแรก ทันตแพทย์จะฉีดยาชา โดยจะใช้เป็นแผ่นยางบาง ๆ สำหรับแยกฟันที่มีปัญหาออกจากฟันซี่อื่น เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนไปยังฟันซี่ข้าง ๆ กัน
            2. ทันตแพทย์จะจัดการนำเอาฟันที่ผุออก โดยเอาส่วนที่เสียหายออก และกำจัดเนื้อฟันที่อักเสบหรือติดเชื้อออกตั้งแต่ส่วนต้นไปจนถึงส่วนของโพรงประสาทฟัน
            3. ทำความสะอาดรากฟันในส่วนที่ดำเนินการ และนำยาใส่ลงไปในคลองรากฟัน
            4. ใช้วัสดุอุดเพื่อปิดเอาไว้ชั่วคราว เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำ


            อย่างไรก็ตาม การรักษารากฟันอาจจะไม่ได้จบสิ้นในครั้งนี้ จำเป็นต้องใช้เวลาในการรักษาหลายครั้งในการทำความสะอาด นอกจากนี้ ยังต้องเปลี่ยนยาที่ใช้ในคลองรากฟันเพื่อฆ่าเชื้อที่มีอยู่จนกว่าเชื้อนั้นจะหมดไป หรือจะต้องรอจนกว่าการอักเสบนั้นจะหายดี


            อย่างที่กล่าวไว้ในตอนต้นว่าการรักษารากฟันเกิดขึ้นจากการที่ปล่อยละเลย ไม่ดูแลรักษาฟันตั้งแต่ที่เริ่มมีอาการ ทำให้เชื้อโรคนั้นลุกลามจนมีอาการที่รุนแรงมาก และส่งผลให้ประสิทธิภาพการใช้งานลดลง รวมถึงการรักษาก็จะมีความยากขึ้นตามระยะความรุนแรง ดังนั้น เราจึงควรดูแลรักษาความสะอาดของฟันให้ดี เพื่อเป็นการป้องกันในการเกิดโรค สิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงเสมอคือ การป้องกันย่อมเกิดผลที่ดีกว่าการมารักษาแล้ว


สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายรักษารากฟัน

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829

Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental

ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

www.bpdcdental.com

#BPDC #คลินิกทันตกรรม #รักษารากฟัน #รากฟัน #ทำฟัน