บริการทันตกรรมเด็กมีอะไรบ้าง

บริการทันตกรรมเด็กมีอะไรบ้าง? คู่มือสำหรับคุณพ่อคุณแม่ในการดูแลสุขภาพฟันของลูกน้อย

การดูแลฟันของเด็กตั้งแต่เริ่มต้นเป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อป้องกันปัญหาทางทันตกรรมในอนาคต คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจสงสัยว่าบริการทันตกรรมสำหรับเด็กนั้นมีอะไรบ้าง และควรพาลูกไปพบทันตแพทย์เมื่อไหร่ การรู้จักกับบริการทันตกรรมเด็กสามารถช่วยให้คุณเตรียมตัวและมั่นใจว่าลูกของคุณจะได้รับการดูแลที่ดีที่สุดเพื่อฟันที่แข็งแรงและสวยงาม

บริการทันตกรรมเด็กมีอะไรบ้าง?

ทันตกรรมสำหรับเด็กมีบริการหลากหลายที่ออกแบบมาเพื่อดูแลฟันและเหงือกของเด็กตั้งแต่ทารกจนถึงวัยรุ่น บริการเหล่านี้มีเป้าหมายหลักในการป้องกันปัญหาฟันผุ รวมถึงส่งเสริมให้เด็กมีพฤติกรรมการดูแลฟันที่ดีในระยะยาว

1. การตรวจฟันประจำ

การตรวจฟันเป็นประจำทุก 6 เดือนเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันปัญหาทางทันตกรรม การตรวจฟันในเด็กช่วยให้ทันตแพทย์สามารถตรวจสอบการเจริญเติบโตของฟัน และตรวจพบปัญหาฟันผุหรือโรคเหงือกได้ในระยะเริ่มต้น หากพบปัญหาทันตแพทย์จะสามารถวางแผนการรักษาที่เหมาะสม

2. การเคลือบฟลูออไรด์

การเคลือบฟลูออไรด์เป็นการป้องกันฟันผุที่มีประสิทธิภาพ ฟลูออไรด์ช่วยเสริมความแข็งแรงให้กับชั้นเคลือบฟัน ทำให้ฟันของเด็กต้านทานการผุได้ดียิ่งขึ้น บริการนี้มักจะดำเนินการในระหว่างการตรวจฟันประจำเพื่อเสริมความแข็งแรงให้กับฟันของเด็ก

3. การเคลือบร่องฟัน

ฟันกรามของเด็กมักมีร่องลึกที่เสี่ยงต่อการสะสมคราบพลัคและเศษอาหาร การเคลือบร่องฟันเป็นการใช้สารเคลือบพิเศษปิดร่องลึกเหล่านี้เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดฟันผุ เป็นบริการที่เหมาะสำหรับฟันกรามหลังที่เพิ่งขึ้นมาใหม่

4. การอุดฟัน

หากฟันของเด็กเริ่มผุ การอุดฟันเป็นวิธีการรักษาที่ช่วยหยุดการลุกลามของฟันผุ การอุดฟันจะช่วยฟื้นฟูความแข็งแรงของฟันและป้องกันไม่ให้เชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ส่วนอื่นของฟันที่ยังคงแข็งแรง ทันตแพทย์จะใช้วัสดุอุดฟันที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก เช่น คอมโพสิตเรซิน ซึ่งมีสีใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติ

5. การรักษารากฟันน้ำนม

แม้ว่าฟันน้ำนมจะหลุดไปตามธรรมชาติ แต่หากฟันน้ำนมมีการติดเชื้อหรือผุอย่างรุนแรง การรักษารากฟันอาจจำเป็น การรักษารากฟันในเด็กช่วยรักษาฟันน้ำนมให้อยู่ในตำแหน่งจนกว่าฟันแท้จะขึ้นมา การรักษานี้ช่วยให้เด็กยังสามารถเคี้ยวอาหารได้อย่างปกติ และป้องกันปัญหาการเรียงตัวของฟันในอนาคต

6. การถอนฟัน

ในบางกรณี ฟันน้ำนมที่ผุอย่างหนักหรือมีการติดเชื้ออาจต้องถอนออก เพื่อป้องกันการลุกลามไปยังฟันแท้ที่กำลังขึ้น การถอนฟันในเด็กควรดำเนินการโดยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อลดความเจ็บปวดและป้องกันการติดเชื้อหลังการรักษา

7. การใส่เครื่องมือจัดฟัน

ในบางกรณี เด็กอาจมีปัญหาการเรียงตัวของฟัน เช่น ฟันซ้อน ฟันเก หรือฟันห่าง การใส่เครื่องมือจัดฟันเป็นการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ทันตแพทย์จะประเมินความจำเป็นในการใส่เครื่องมือจัดฟันเมื่อเด็กเริ่มมีฟันแท้ขึ้น การจัดฟันในวัยเด็กช่วยปรับโครงสร้างฟันและกรามให้เข้าที่ ทำให้การเจริญเติบโตของฟันในอนาคตเป็นไปอย่างสมบูรณ์

8. การให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลฟัน

การให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลฟันเป็นสิ่งสำคัญที่ทันตแพทย์มักจะทำหลังจากการตรวจฟัน โดยทันตแพทย์จะสอนเด็กและคุณพ่อคุณแม่ถึงวิธีการแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันอย่างถูกวิธี รวมถึงคำแนะนำเกี่ยวกับโภชนาการที่ดีต่อสุขภาพฟัน เช่น การลดการบริโภคน้ำตาลและอาหารที่มีกรดสูง

เมื่อใดที่ควรพาลูกไปพบทันตแพทย์?

คุณพ่อคุณแม่ควรเริ่มพาลูกไปพบทันตแพทย์ตั้งแต่อายุประมาณ 6 เดือน หรือเมื่อฟันซี่แรกของลูกขึ้น เพื่อให้ทันตแพทย์ตรวจสอบการเจริญเติบโตของฟันและให้คำแนะนำในการดูแลฟันที่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็ก การเริ่มต้นการดูแลฟันตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้ลูกน้อยมีฟันที่แข็งแรงและลดโอกาสเกิดปัญหาฟันผุในอนาคต

นอกจากนี้ หากพบว่าลูกมีอาการต่อไปนี้ ควรรีบพาไปพบทันตแพทย์ทันที:

  • ฟันผุหรือมีรูฟันที่เห็นได้ชัด
  • มีอาการปวดฟันหรือเหงือกบวม
  • ฟันน้ำนมหลุดก่อนเวลา
  • ฟันซ้อนหรือฟันเกอย่างชัดเจน
  • ฟันกรามขึ้นแล้วแต่ไม่ได้ทำความสะอาดได้ทั่วถึง

วิธีการเตรียมตัวพาลูกไปพบทันตแพทย์

การพาลูกไปพบทันตแพทย์อาจเป็นประสบการณ์ใหม่สำหรับเด็ก โดยเฉพาะเด็กเล็ก การเตรียมตัวให้ลูกพร้อมจะช่วยลดความกลัวและทำให้การพบหมอฟันเป็นเรื่องสนุก นี่คือเคล็ดลับที่ช่วยให้การไปพบทันตแพทย์เป็นไปอย่างราบรื่น:

  • สอนลูกเกี่ยวกับความสำคัญของการดูแลฟันตั้งแต่เล็กๆ
  • เล่าเรื่องเกี่ยวกับการไปหาหมอฟันในทางที่สนุกสนาน
  • อ่านหนังสือหรือดูวิดีโอเกี่ยวกับการตรวจฟันให้ลูกฟัง
  • หลีกเลี่ยงการใช้คำพูดที่ทำให้เด็กกลัว เช่น “ไม่ต้องกลัว” หรือ “ไม่เจ็บ”

การสร้างประสบการณ์ที่ดีตั้งแต่ครั้งแรกที่ไปหาหมอฟันจะช่วยให้เด็กไม่กลัวการพบทันตแพทย์ในครั้งถัดไป

สรุป

บริการทันตกรรมเด็กครอบคลุมหลายด้านที่มุ่งเน้นการป้องกันและรักษาปัญหาฟันในวัยเด็ก ตั้งแต่การตรวจฟันประจำ การเคลือบฟลูออไรด์ การอุดฟัน ไปจนถึงการรักษารากฟัน การดูแลฟันตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้เด็กมีฟันที่แข็งแรงและป้องกันปัญหาทางทันตกรรมในอนาคต การพาลูกไปพบทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอและสอนให้ลูกมีพฤติกรรมการดูแลฟันที่ดีจะช่วยเสริมสร้างสุขภาพช่องปากที่ดีตลอดชีวิต

หนอนในช่องปาก มีจริงหรือไม่

หนอนในช่องปาก มีจริงหรือไม่

สมัยเด็กๆ ผู้ใหญ่มักจะหลอกกันว่า ถ้าไม่ดูแลรักษาฟัน ไม่แปรงฟันให้ดี จะมีหนอนในปาก ซึ่งมันสยองขวัญมาก ทำให้เด็กๆ นั้นกลัวและต้องหาวิธีทำให้ไม่มีหนอนในปาก ด้วยวิธีแปรงฟัน บ้วนปาก

ซึ่งหลายๆ คนน่าจะเคยไปหาหมอบ้านๆ ที่เอากระดาษม้วนใส่หูและเป่าควันร้อนๆ และมีหนอนออกมา ซึ่งตอนเด็กๆ ผมเคยโดนด้วย ทำให้เป็นภาพจำที่หลอนไปเลยครับ งงมากเลยครับว่าหนอนมาได้ยังไง ซึ่งวันนี้เราจะมาดูกันครับว่าหนอนในช่องปากมีจริงหรือไม่

ผลการวิจัยของทันตแพทย์ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช พบผู้ป่วยที่มีหนอนอยู่ในช่องปากจำนวนมากนั้น ทพ เผด็จ ตั้งงามสกุล อุปนายกทันตแพทยสภาคนที่ 1 ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่า โรคนี้มีชื่อว่า Oral myiasis มักพบได้ในผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เช่นผู้ป่วยที่นอนติดเตียงหรือผู้พิการทางสมองที่ไม่สามารถปัดป้องแมลงที่มาตอมไต่ได้ โดยเกิดจากการที่มีแมลงในกลุ่มแมลงวัน บินไปกินเศษอาหารที่ตกค้างอยู่ในช่องปาก และไข่ทิ้งไว้ จากนั้นไข่ก็ฟักตัวเป็นตัวหนอนแล้วไชลึกลงไปอาศัยในเนื้อเยื่อที่ตายแล้ว ใช้บริเวณนั้นเป็นอาหารต่อไป แมลงชนิดนี้พบมากตามภูมิภาคที่มีอากาศร้อนชื้น สามารถออกไข่ไว้ตามผิวหนังที่เป็นแผล รูหู หรือช่องปาก ของมนุษย์ได้ และอาศัยอาหารบริเวณเหล่านั้นเจริญเติบโตต่อไป

ทพ.เผด็จ ตั้งงามสกุล อุปนายกทันตแพทยสภาคนที่ 1 แนะนำให้ประชาชนที่ต้องดูแลผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้พิการที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ดังนี้

  1. แปรงฟันทำความสะอาดช่องปากผู้ป่วยทุกวัน รวมทั้งหลังรับประทานอาหาร
  2. ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากเป็นประจำทุก 6 เดือน
  3. ถ้าผู้ป่วยนอนอ้าปาก ควรใส่ mask ปิดปากจมูกให้ผู้ป่วยอยู่เสมอ หรือให้นอนในมุ้งเพื่อป้องกันแมลง
  4. หมั่นตรวจในช่องปาก ในจมูก และรูหูของผู้ป่วย ให้สะอาดอยู่เสมอ

เห็นหรือยังครับว่า หนอนในช่องปากนั้นมีจริง มีเคสเหล่านี้เกิดขึ้นจริงๆ ไม่ใช่แค่ผู้ป่วยติดเตียงเท่านั้นนะครับที่ต้องดูแลสุขภาพฟัน แปรงฟันให้สะอาด สำคัญทั้งเด็กและผู้ใหญ่มากๆ ครับ

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายตรวจสุขภาพฟัน
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ตรวจสุขภาพฟัน #นัดทำฟัน

แนะนำวิธีดูแลรักษาฟันอย่างไรให้ฟันไม่ผุ

แนะนำวิธีดูแลรักษาฟันอย่างไรให้ฟันไม่ผุ

แนะนำวิธีดูแลรักษาฟันอย่างไรให้ฟันไม่ผุ

ทุกวันนี้คนเรามีพฤติกรรมหลายอย่างที่เปลี่ยนแปลงไปมากกว่าแต่ก่อน โดยเฉพาะพฤติกรรมที่ทำร้ายฟันของเราไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะมาจากไลฟ์สไตล์ การบริโภคน้ำตาลที่เพิ่มมากขึ้น หรือการดูแลรักษาฟันได้ไม่สะอาดเพียงพอ จนเกิดเป็นฟันผุ ซ้ำร้ายเมื่อฟันผุแล้ว กลับละเลยที่จะไปรักษา ปล่อยเอาไว้ จนเวลาผ่านไปกลายเป็นฟันผุที่ลุกลามรุนแรง แทนที่จะเสียเงินค่าอุดฟันไม่กี่ร้อย ถ้าฟันผุลึกถึงชั้นโพรงประสาท ก็ต้องรักษารากฟันที่ราคาค่อนข้างสูง งั้นเรามาดูวิธีดูแลรักษาฟันอย่างไรให้ฟันไม่ผุดีกว่าค่ะ

How to ดูแลฟันอย่างไรให้ฟันไม่ผุ

คำถามที่ว่า ทำอย่างไรให้ฟันไม่ผุ ก็คงจะตอบกันได้ง่าย ๆ และด้วยวิธีง่าย ๆ ก็คือ การแปรงฟันให้สะอาด แต่วิธีการดูแลรักษาฟันให้ไม่ผุ ยังมีนอกเหนือจากการแปรงฟันด้วยค่ะ เราจึงนำเอามาฝากกัน

  1. ลดการบริโภคน้ำตาลมากเกินไป

น้ำตาลคือสาเหตุอันดับต้น ๆ ที่ทำร้ายฟันของเรา ซึ่งหลายคนเข้าใจว่าถ้างดน้ำตาลจากขนมหวาน

อย่างลูกอม เค้ก ของหวาน หรือน้ำอัดลมต่าง ๆ ก็จะฟันไม่ผุ จริง ๆ แล้วไม่ใช่เลยค่ะ เพราะหลายครั้ง น้ำตาลก็มาในรูปแบบของอาหารจำพวกแป้ง ที่จะมีกระบวนการเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล หรือในถั่วประเภทต่าง ๆ ไม่เว้นแม้แต่น้ำอัดลมที่มีน้ำตาล 0%

  • แปรงฟันให้ถูกวิธี อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง

บางคนสงสัยว่าทำไมแปรงฟันทุกวัน แต่ฟันยังผุอยู่ ฟันของเราจะผุหรือไม่นั้น ส่วนหนึ่งก็มาจาก

คุณภาพในการแปรงฟันของเรา ดังนั้นการแปรงฟันที่ได้คุณภาพ จึงควรแปรงฟันให้นานตั้งแต่ 2 นาทีขึ้นไป เพื่อให้มีเวลานานพอที่จะทำให้ฟลูออไรด์สามารถเกาะติดและและซึมผ่านผิวฟันเข้าไปทำให้ผิวฟันแข็งแรงขึ้น ฟันก็จะผุได้ยากขึ้น ถ้าเราใช้เวลาแปรงไม่กี่วินาที ฟลูออไรด์ในยาสีฟันจะยังไม่ทันเข้าไปในผิวฟัน ที่สำคัญที่สุด ควรแปรงแห้งโดยปราศจากการบ้วนปาก เพื่อให้ได้ฟลูออไรด์ติดที่ผิวฟันให้มากที่สุด

  • การแปรงลิ้น

หลายคนอาจจะคิดว่าการแปรงลิ้นไปเกี่ยวอะไรกับฟันผุ ซึ่งต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การที่ฟันของเรา

ผุ ก็มาจากปัจจัยต่าง ๆ ภายในช่องปาก เพราะลิ้นถือเป็นอวัยวะที่มีการสะสมแบคทีเรียมากเช่นกัน ดังนั้นเมื่อไหร่ที่แปรงฟัน อย่าลืมที่จะแปรงลิ้นกินด้วยนะคะ

  • งดการกินอาหารหลังแปรงฟัน 2 ชั่วโมง

หากใครอยากให้ฟลูออไรด์ออกฤทธิ์ได้อย่างเต็มที่ 100% แนะนำว่า หลังการแปรงฟันด้วยยาสีฟันที่มี

ส่วนผสมของฟลูออไรด์ ไม่ควรดื่มน้ำหรือกินอาหารอย่างน้อย 2 ชั่วโมง เพื่อให้ฟลูออไรด์ทำงานได้อย่างเต็มที่ ไม่ถูกชะล้างออกไปจากการดื่มน้ำหรือกินอาหาร

  • ใช้ไหมขัดฟัน

บางครั้งการแปรงฟันอย่างเดียวอาจยังไม่พอที่จะป้องกันฟันผุได้ เพราะขนแปรงของเราอาจไม่ชอนไช

เข้าไปทำความสะอาดตามไรฟันได้หมดจด ดังนั้นการใช้ไหมขัดฟันจะช่วยให้ขจัดเศษอาหารที่ติดตามซอกฟัน ซึ่งเป็นสาเหตุของการสะสมแบคทีเรียได้

  • กินอาหารให้เป็นเวลา

แน่นอนว่าบางคนอาจมองว่าไม่เกี่ยวกันเลย ที่ฟันเราจะผุเพราะกินอาหารไม่เป็นเวลา แต่อันที่จริงแล้ว

สำคัญมาก ๆ นะคะ เราควรกินอาหารให้เป็นเวลา ไม่ควรกินจุบกินจิก เพราะโอกาสเกิดกรดในช่องปากมีมากขึ้น

  • ไปหาหมอฟันทุก ๆ 6 เดือน

แม้เราจะหมั่นดูแลรักษาฟันอยู่เป็นประจำ แต่สิ่งสำคัญคือควรนัดตรวจสุขภาพช่องปากกับหมอฟัน

ทุก ๆ 6 เดือน เพื่อป้องกันอาการเกี่ยวกับโรคภายในช่องปากที่เราไม่ทันระวังตัว และได้รับการแนะนำในการดูแลช่องปากอย่างถูกวิธี

เท่านี้เราก็ได้รู้แล้วว่าเราจะดูแลรักษาฟันอย่างไรให้ฟันไม่ผุก เพราะหากเราสามารถดูแลตัวเองและช่องปากของเราได้ตามวิธีที่แนะนำข้างต้นนี้ได้ทั้งหมด รับรองเลยว่าฟันของเราจะไม่มีวันผุอย่างแน่นอนค่ะ

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายทำฟัน
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ทำฟัน #ดูแลรักษาฟัน