ถ้าไม่ปวด ฟันคุดผ่าควรผ่าออกหรือไม่?
เมื่อพูดถึงการผ่าฟันคุด คงเป็นเรื่องที่หลายคนหวาดกลัวและขยาดไม่ใช่น้อย ถ้าเลือกได้ ก็คงไม่มีใครอยากเจ็บตัวกันหรอกจริงไหมคะ หลายครั้ง ฟันคุดก็ทำให้เราเลือกไม่ได้นี่สิ ปวดแสนปวดจนต้องไปผ่าออก แต่ในบางคนกลับไม่มีอาการอะไรเลย แบบนี้แล้ว ไม่ปวด ไม่ผ่าได้หรือเปล่า? ไว้รอปวดก่อนค่อยไปผ่าจะดีไหม? เราจะไปหาคำตอบกันในบทความนี้ค่ะ
ทำความรู้จัก ฟันคุด
ฟันคุด คือ ฟันที่ไม่สามารถขึ้นมาในช่องปากได้เหมือนฟันปกติทั่วไป เนื่องจากฟันคุดมักฝังอยู่ใต้เหงือก ในกระดูกขากรรไกร หรือขึ้นพ้นเหงือกมาเพียงบางส่วนเท่านั้น ซึ่งหากเป็นกรณีดังกล่าวจะต้องผ่าออกอย่างเดียว แต่ในบางกรณีก็สามารถถอนตามปกติได้ เพราะฟันเจ้าปัญหานั้นอาจจะขึ้นมาจนเต็มซี่ เพียงแต่ขึ้นผิดลักษณะเท่านั้นเอง โดยฟันซี่ที่พบว่าเป็นฟันคุดบ่อยที่สุด คือ ฟันกรามล่างซี่สุดท้าย ซึ่งอยู่ด้านในสุดของกระดูกขากรรไกรล่าง
วิธีสังเกตว่าเรามีฟันคุดหรือไม่
เราสามารถสังเกตได้ด้วยตัวเองว่ามีฟันคุดหรือเปล่า โดยดูว่ามีฟันซี่ใดที่ขึ้นมาแค่เพียงบางส่วนไหม หรือมีฟันซี่ไหนที่หายไปบ้างหรือเปล่า รวมถึงลักษณะฟันที่ขึ้นมา ดูแตกต่าง หรือมีลักษณะขึ้นแบบนอน ๆ มา ต่างจากฟันอื่นหรือไม่ ถ้าใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าอาจจะเป็นฟันคุด ทางที่ดี แนะนำให้ไปตรวจเช็คช่องปากกับทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญค่ะ
ฟันคุด ไม่ปวด ไม่ผ่าได้ไหม?
คำถามที่หลายคนอยากรู้ เพราะเท่าที่เห็น คนที่ไปผ่าคือคนที่มีอาการปวดแล้ว แต่ถ้าไม่ปวดล่ะ? จำเป็นต้องผ่าไหม? งั้นเรามาดูกันค่ะ ว่ามีเหตุผลอะไรที่คนเราควรที่จะต้องผ่าฟันคุด
- ทำความสะอาดยาก เนื่องจากฟันคุดเป็นฟันที่อยู่ซี่ด้านในสุด ทำให้ยากต่อการทำความสะอาด และ
มักจะมีเศษอาหารเข้าไปติดใต้เหงือก ทำให้เกิดการสะสมของแบคทีเรีย บ้างก็เกิดกลิ่นปาก บ้างก็เกิดการอักเสบ ติดเชื้อ ฟันผุ และโรคปริทันต์อักเสบ ไม่ใช่แค่เพียงตัวมันเอง แต่ยังส่งผลถึงฟันซี่ข้าง ๆ อีกด้วย
- เกิดการละลายตัวของกระดูก ด้วยแรงดันจากฟันคุด ที่พยายามดันขึ้นมา จะทำให้กระดูกรอบราก
ฟัน หรือรากฟันข้างเคียงถูกทำลายไป
- เกิดถุงน้ำหรือเนื้องอก เพราะฟันคุดที่ปล่อยทิ้งไว้นานเกินไป จะส่งผลให้เนื้อเยื่อที่หุ้มรอบฟันคุด
สามารถขยายใหญ่ขึ้นกลายเป็นถุงน้ำได้ ซึ่งการเจริญเติบโตของถุงน้ำนี้อาจจะไม่แสดงอาการใด ๆ เลยก็ได้ จนในที่สุดเกิดการทำลายฟันซี่ข้างเคียง และกระดูกรอบๆ บริเวณนั้น
- ป้องกันฟันซี่ข้างเคียงผุ นอกจากจะเป็นแหล่งสะสมเศษอาหารและแบคทีเรียแล้ว ฟันคุดยังทำให้ฟัน
ที่อยู่ข้างเคียงผุไปด้วย ทั้งซอกฟันระหว่างฟันคุดกับฟันกรามซี่ที่สองที่อยู่ชิดกันนั้น ทำความสะอาดได้ยาก เศษอาหารจะติดค้างอยู่ ทำให้เกิดฟันผุได้ทั้งสองซี่
- ป้องกันกระดูกขากรรไกรหัก อันเป็นผลมาจากการที่มีฟันคุดฝังอยู่ จะทำให้กระดูกขากรรไกร
บริเวณนั้นบางกว่าตำแหน่งอื่น เกิดเป็นจุดอ่อน เมื่อได้รับอุบัติเหตุ หรือกระทบกระแทก กระดูกขากรรไกรบริเวณนั้นก็จะหักได้ง่าย
สำหรับฟันคุด ทันตแพทย์จะพิจารณาว่าจะผ่าฟันคุดหรือไม่ จะต้องตรวจดูรูปร่างของช่องปาก และตำแหน่งของฟันคุดก่อน รวมทั้งยังต้องคำนึงถึงอายุด้วย แต่การผ่าฟันคุดอาจไม่เกิดขึ้นในทันทีที่พบฟันคุดเพราะในบางครั้งอาจต้องใช้เวลาหลายเดือนเพื่อติดตามความเปลี่ยนแปลงของฟันคุด เพื่อนำมาประกอบการพิจารณา ซึ่งกล่าวโดยสรุปได้ว่า จากคำถาม ฟันคุดควรผ่าออกหรือไม่ ต้องบอกเลยว่าการผ่าออกให้ผลที่ดีมากกว่าผลเสียแน่นอน แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยและองค์ประกอบที่ได้กล่าวมาก่อนหน้านี้ด้วยค่ะ
สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายผ่าฟันคุด
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)
#ผ่าฟันคุด #ฟันคุด