สาเหตุส่วนใหญ่ของปัญหาฟันโยก จะมีความแตกต่างกันระหว่างฟันน้ำนมกับฟันแท้ ในช่วงฟันน้ำนม เป็นสัญญาณของการงอกของฟันแท้ในช่วงเด็กวัย 6-12 ปี หากเป็นฟันโยกของฟันแท้ อาการฟันโยกจะเกิดได้ทั้งการกระแทกของฟัน รากฟันไม่แข็งแรง รวมถึงเกิดจากโรคปริทันต์ โดยจะให้น้ำหนักทางโรคปริทันต์ จะเป็นการติดเชื้อในเหงือกและกระดูกรอบๆ ฟัน ในระยะลุกลามของโรคปริทันต์ อาการฟันโยกเป็นสัญญาณทางคลินิกที่อาจสะท้อนถึงระดับของการทำลายปริทันต์ ที่เกิดจากการติดเชื้อเฉพาะที่ในเหงือกและโครงสร้างรอบๆ ฟัน (เอ็นและกระดูกถุงในฟัน) และกระทบต่อความมั่นคงของเหงือกและฟันในการขบเคี้ยว การติดเชื้อเหล่านี้เกิดจากแบคทีเรีย ที่เกิดจากคราบสิ่งสกปรกสะสมในช่องปากด้วย
ในผู้ใหญ่จะมีความเสี่ยงของอาการฟันโยกค่อนข้างมาก เนื่องจากเป็นช่วงที่ฟันแท้ขึ้นครบหมดแล้ว แต่มีความเสี่ยงในการดำเนินชีวิตบางอย่าง ที่กระทบต่อสุขภาพช่องปาก และเป็นกลุ่มที่พบแผนกทันตกรรมบ่อยมากในวัยนี้ จึงไม่แปลกใจว่าทำไมฟันผู้ใหญ่จึงมีการโยกออกมา โดยสาเหตุของอาการฟันโยก จะแบ่งได้ดังนี้
สาเหตุของอาการฟันโยก
- การบาดเจ็บที่เกิดกับฟันเนื่องจากการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ หรือการหกล้มอย่างหนักจนมีอาการฟันโยก บางรายอาจจะเกิดจากการเล่นกีฬา เช่น กีฬาต่อสู้ กีฬาฟุตบอล หรือกีฬาที่มีการปะทะหนักๆ
- การสบฟันผิดรูป เช่น การสบฟันลึกที่ทำให้ฟันเคี้ยวมากเกินไป ทำให้เคลื่อนตัว การนอนกัดฟันหรือการกัดฟันเป็นนิสัย ทั้งโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว
- โรคปริทันต์อักเสบหรือโรคเหงือก จะมีอาการเหงือกร่น ฝีเหงือก ซีสต์หรือเนื้องอกในขากรรไกร
- การสูบบุหรี่ อาการฟันโยกมาจากการสูบบุหรี่ ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพเหงือกและช่องปากโดยตรง และทำให้สะสมแบคทีเรียง่ายขึ้น จึงเสี่ยงต่อโรคฟันหรือปริทันต์เข้ามาด้วย
อาการของฟันโยก
อาการฟันโยกที่พบบ่อย ซึ่งสังเกตได้จากความผิดปกติทางกายภาพ โดยเริ่มเสียวฟันโดยรอบ จากนั้นจะมีอาการอื่นๆ ตามมา เนื่องจากสุขภาพช่องปากขาดการดูแลรักษาความสะอาด ซึ่งจะมีอาการดังนี้
- ฟันเริ่มโยก
- รอยแดงของเนื้อเยื่อรอบๆ ฟัน
- ความเจ็บปวดหรือไม่สบายตามรอบๆ ฟันและเหงือก
- การเคี้ยวอาหารลำบาก
- มีอาการเจ็บ หรือมีปัญหาเหงือกที่บอบบาง
หากมีอาการเหล่านี้ ทันตแพทย์จะประเมินสถานการณ์โดยใช้เครื่องมือทางคลินิกและค่อยๆ เช็คช่องปากไปมา หากทันตแพทย์มั่นใจว่ามีอาการฟันโยก ทางทันตแพทย์จะแนะนำวิธีการแก้ไขที่เหมาะสม เพื่อลดปัญหาที่เกิดขึ้น บางรายอาจจะต้องเอ็กซเรย์เพื่อดูความผิดปกติของช่องปากและขากรรไกรร่วมด้วย
วิธีการรักษาฟันโยก
หากตรวจอาการฟันโยกพบว่าเคลื่อนไหวได้เนื่องจากการสบฟันที่ไม่ถูกต้อง จะได้รับคำแนะนำให้รักษาเพื่อแก้ไขการสบฟันเพื่อบรรเทาการบดเคี้ยวที่กระทบกระเทือนต่อสุขภาพช่องปาก และรบกวนต่อจิตใจ โดยมีวิธีการรักษาได้ดังนี้
- ในกลุ่มเล่นกีฬาอันตราย จะต้องสวมฟันยางที่ออกแบบโดยทันตแพทย์ เนื่องจากตามร้านอุปกรณ์กีฬา จะไม่ตอบโจทย์ทางทันตกรรมของบุคคลนั้น และไม่รองรับอันตรายต่อฟันได้
- หากมีซีสต์หรือเนื้องอกทำให้เกิดอาการปวดและเคลื่อนไหวได้ ควรรักษาอาการก่อน แล้วค่อยรักษาอาการฟันโยก เนื่องจากซีสต์จะลุกลามรวดเร็ว และทำให้การบดเคี้ยวไม่ดี
- การทำความสะอาดฟันอย่างถูกวิธีที่คลินิก ซึ่งจะมีการทำความสะอาดโดยทันตแพทย์ การใช้ไหมขัดฟัน และการขูดหินปูน ซึ่งช่วยป้องกันอาการฟันโยกและโรคปริทันต์ได้
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรือรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม
- ไปที่คลินิกทันตกรรมอย่างน้อยปีละสองครั้ง
อาการผิดปกติของฟันโยก เป็นสัญญาณทางทันตกรรมที่ร้ายแรง ไม่ควรมองข้ามอาการฟันโยกเลย เนื่องจากมันเป็นอาการเสี่ยงของโรคปริทันต์ ซึ่งเป็นโรคที่อันตรายอย่างมากของสุขภาพช่องปาก อย่างไรก็ตาม เราสามารถทำได้โดยปฏิบัติตามหลักสุขอนามัยในช่องปากที่ดี เริ่มจากการรักษาความสะอาดที่บ้าน ทุกคนอาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดฟันโยก จนกระทั่งฟันหลุดจากสาเหตุใดๆ ที่กล่าวถึงก่อนหน้านี้ แต่การดูแลช่องปาก ต้องดูแลอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันสัญญาณอันตรายที่เกิดขึ้น เว้นแต่ในกรณีอาการฟันโยกเกิดจากอาการผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ อยากให้ปรึกษาทันตแพทย์โดยตรงเพื่อวินิจฉัยสาเหตุ รวมถึงการรักษาในลำดับต่อไป
สอบถามเพิ่มเติมและตรวจสุขภาพฟัน
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)
#ทันตกรรม #ตรวจสุขภาพฟัน #คลินิกทันตกรรม