รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับรีเทนเนอร์

รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับรีเทนเนอร์ ไขทุกข้อสงสัยของคนจัดฟัน

รวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับรีเทนเนอร์ ไขทุกข้อสงสัยของคนจัดฟัน

ใครว่าความลำบากของคนจัดฟันจะอยู่แค่ที่ช่วงเวลาของการจัดฟัน ที่ต้องใช้เครื่องมือจัดฟันที่แสนจะทรมานและใช้ชีวิตยากลำบาก เพราะเมื่อจัดฟันเสร็จแล้ว ความลำบากก็ยังไม่หมด เพราะยังต้องใส่ “รีเทนเนอร์” อุปกรณ์ประจำตัวที่คนจัดฟันเสร็จแล้วทุกคนต้องใส่แบบสม่ำเสมอ ซึ่งหลายคก็อาจจะมีคำถามมากมายเกี่ยวกับการใส่รีเทนเนอร์ หรือคนที่กำลังจะจัดฟันเสร็จ ต้องเตรียมตัวเลือกรีเทนเนอร์ เรารวบรวมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับรีเทนเนอร์เอาไว้ที่นี่แล้ว

รีเทนเนอร์มีกี่ประเภท และควรเลือกแบบไหนดี?

สำหรับคนที่กำลังจะจัดฟันเสร็จ ก็คงมีแพลนเตรียมตัวที่จะต้องเลือกรีเทนเนอร์เอาไว้หลังจากนี้ ซึ่งก็ต้องมาเรียนรู้และทำความเข้าใจกันก่อนว่ารีเทนเนอร์ที่ใช้กันโดยทั่วไปแล้วจะมี 4 ประเภท ได้แก่

  1. รีเทนเนอร์แบบลวด

รีเทนเนอร์แบบลวดเป็นรีเทนเนอร์ที่คนส่วนใหญ่นิยมใช้กัน มีลักษณะเป็นอะคริลิคพร้อมโครงลวดอาจจะมีสีพื้นหรือลวดลายต่าง ๆ โดยจะมีส่วนที่ใช้ยึดกับฟันที่เป็นเส้นลวด แล้วจึงมีอะคริลิคครอบทับอีกที
ข้อดี : ทำความสะอาดได้ มีอายุการใช้งานที่ยาวนานประมาณ 2-3 ปี จึงสามารถที่จะคงสภาพฟันและการสบฟันได้เป็นอย่างดี หากมีปัญหา สามารถปรับแต่งได้ง่ายอีกด้วย อีกทั้งสีสันสวยงาม เลือกได้ตามใจชอบ
ข้อเสีย : สามารถมองเห็นได้ชัดเจน เลยไม่สวยงามเท่าที่ควร มีขนาดใหญ่ ดูเทอะทะ ซึ่งหากใครที่ใส่รีเทนเนอร์ประเภทนี้ส่วนใหญ่จะมีปัญหาเรื่องการออกเสียง พูดไม่ชัดบ้าง

  • รีเทนเนอร์แบบใส

รีเทนเนอร์แบบใส ก็เป็นรีเทนเนอร์อีกประเภทที่เป็นที่นิยมไม่แพ้กัน จะมีลักษณะเป็นแผ่นพลาสติกใส ที่จะล้อมฟันของเราเอาไว้ทั้งหมด ทั้งด้านนอกและด้านใน แต่จะไม่ครอบไปทั้งเพดานเหมือนแบบแรก มีความหนาไม่มาก จึงสามารถใส่ได้แบบสบาย ๆ
ข้อดี : ให้ความสวยงาม ความมั่นใจ ยิ้มแล้วไม่เห็นลวดเหมือนแบบแรก หมดปัญหาการออกเสียงไม่ชัด
ข้อเสีย : ทำความสะอาดได้ยาก อายุการใช้งานสั้นกว่าแบบลวดอยู่ที่ประมาณ ครึ่งปี – 1.5 ปี แตกหักหรือ
สึกหรอได้ง่ายในผู้ที่มีการนอนกัดฟัน และไม่สามารถคงสภาพฟันได้ดีเมื่อตัวรีเทนเนอร์เกิดการสึกหรอ

  • รีเทนเนอร์แบบติดแน่น

รีเทนเนอร์ประเภทนี้พบได้น้อยแต่ก็ยังมีบางคนใช้บ้าง จะเป็นรีเทนเนอร์ที่มีลักษณะลวดเส้นเดียวยึดติดกับด้านในของฟัน มักใช้ในกรณีที่ฟันมีแนวโน้มที่จะเคลื่อนที่กลับมาได้ง่าย หรือใช้ยึดฟันสำหรับใส่ฟันปลอมในอนาคต
ข้อดี : สะดวกสบาย ไม่ต้องถอดเข้าถอดออก ป้องกันฟันล้มได้ดีมาก
ข้อเสีย : ทำความสะอาดได้ยากเพราะอยู่ด้านใน มีโอกาสหลุดได้ง่าย และต้องหมั่นไปพบทันตแพทย์เพื่อเช็คสภาพทุก 6 เดือน

  • รีเทนเนอร์แบบเหล็ก (ใส่กินข้าวได้)

ประเภทสุดท้ายเป็นรีเทนเนอร์แบบเหล็ก ที่จะช่วยให้จบปัญหารีเทนเนอร์หายได้อย่างดีเยี่ยม เพราะไม่ต้องถอดลืมหาย เหมาะมากสำหรับใครที่ขี้ลืม
ข้อดี : ใส่กินอาหารได้เลย ไม่ต้องคอยถอดเก็บ
ข้อเสีย : มีเวลาตอนกัดฟัน เมื่อฟันบนกับฟันล่างมาประกบกันสุดแล้ว อาจจะชนลวด ส่งผลกระทบกับตัวฟัน มีเจ็บฟันแน่นอน

เราควรเลือกรีเทนเนอร์แบบไหนดี?

คุณจะต้องตอบตัวเองให้ได้ว่ากโอเคกับการใช้ชีวิตแบบไหน เช่น เลือกแบบลวด หากโอเคที่ยิ้มแล้วจะเห็นลวด เลือกแบบใส ใส่แล้วยิ้มสวย ไม่เห็นลวด แต่ต้องไปพบทันตแพทย์บ่อย ๆ

ทำไมจัดฟันเสร็จแล้วต้องใส่รีเทนเนอร์ จำเป็นขนาดไหน?

บางคนเข้าจ่าพอจัดฟันเสร็จแล้วก็จะสบาย นั่นเป็นความคิดที่ผิดค่ะ เพราะเมื่อจัดฟันเสร็จแล้ว คุณก็ยังต้องใส่รีเทนเนอร์เพื่อช่วยคงสภาพฟันไม่ให้เคลื่อน หากไม่ใส่รีเทนเนอร์หลังจัดฟัน ก็อาจทำให้ฟันล้ม แนวฟันบิดเบี้ยว หรือกลับกลายเป็นสภาพช่วงก่อนจัด

เราควรใส่รีเทนเนอร์นานแค่ไหน?

สำหรับระยะเวลาที่ควรใส่รีเทนเนอร์นั้นจะมากหรือน้อย ไม่สามารถระบุหรือฟันธงลงไปได้เลย ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและสภาพฟันของแต่ละบุคคลด้วย แต่ส่วนใหญ่แล้ว จะเน้นช่วงแรก ๆ หลังจัดฟันเสร็จว่าควรใส่รีเทนเนอร์ทุกวัน เพราะสภาพกระดูกและเหงือกหุ้มฟันต้องใช้เวลาในการปรับสภาพให้เข้ากับตำแหน่งใหม่ หลังจากนั้นทันตแพทย์จะแนะนำช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับแต่ละบุคคล

เมื่อไหร่ถึงเวลาที่ควรเปลี่ยนรีเทนเนอร์ใหม่?

โดยมากแล้วคนที่จะเปลี่ยนรีเทนเนอร์ใหม่คือจะพบปัญหาต่าง ๆ เช่น รีเทนเนอร์หาย ถอดและลืม, รีเทนเนอร์แตกหัก, ฟันเคลื่อนจนใส่ไม่พอดีจากการใส่รีเทนเนอร์ไม่สม่ำเสมอ

ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องน่ารู้ที่คนจัดฟันสงสัยกันมาก เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว อย่าลืมที่จะเลือกรีเทนเนอร์ที่เหมาะสมกับการใช้งานและใส่รีเทนเนอร์กันเป็นประจำด้วยนะคะ

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายจัดฟัน
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ทำรีเทนเนอร์ #จัดฟัน

Comments are closed.