อาการปวดฟันคุด 2022

อาการปวดฟันคุด 2022

หลายๆคนที่มีอาการปวดฟันคุด เหงือกบวม แล้วก็คิดว่าอยากจะถอนมันออกซะเหลือเกิน แต่ไม่กล้าไปหาทันตแพทย์หรือคุณหมอ เพราะถ้ามีอาการปวดอยู่หรือบวมอยู่ หลายครั้งที่จะได้รับคำตอบจากคุณหมอที่มักจะบอกคนไข้ที่มายังคลินิคว่า ยังถอนให้ไม่ได้ ทำเอาคนไข้หลายรายถึงกับคอตกกลับบ้านกันมานักต่อนัก แต่ในบทความในวันนี้จะเคลียร์ข้อข้องใจ ถึงอาการปวดฟันคุดที่หลายๆคนหนักอกหนักใจ อย่าพึ่งกังวลไปค่ะ เพราะเนื่องจากคุณหมอหรือทันตแพทย์นั้น ส่วนใหญ่แล้วมีหลักการการพิจารณาคนไข้ที่ปวดฟันคุดง่าย ๆ อยู่เพียง 3 ข้อ สำหรับใช้ในการพิจารณารักษาอาการปวดฟันคุดของคนไข้เบื้องต้นแต่ละเคสนั่นเอง โดยจะเริ่มที่หลักการ ข้อที่ 1 นั่นก็คือการพิจารณากำจัดสาเหตุการติดเชื้อออกไป อาทิ การถอนฟัน การให้ยารับประทานเบื้องต้น เป็นต้น 2. เช็คจากอาการคนไข้ต่อการต่อต้านยาชามากน้อยเพียงใด เนื่องจากผลของอาการปวดฟันหรือการอักเสบนั่น ส่งผลอย่างยิ่งต่อฤทธิ์ของยาชาโดยตรงนั่นเอง

ดังนั้น การต่อต้านยาชาของบริเวณที่มีการอักเสบติดเชื้อในช่องปาก ส่งผลให้ภาวะเนื้อเยื่อกลายเป็นกรดได้ง่ายมากๆ ซึ่งมันจะส่งผลให้ทำปฎิกิริยาต่อต้านกับยาชาที่มีฤทธิ์เป็นเบสอย่างมาก ดังนั้น บริเวณที่มีการติดเชื้อและอักเสบของฟันคุด ส่งผลให้ยาชาที่คุณหมอฉีดให้นั่น ออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มที่ หรือเรียกว่าชาได้ไม่เต็มที่นั่นเอง สำหรับหลักการสุดท้าย ในข้อที่ 3 ที่คุณหมอจะพิจารณานั่นก็คือ ระดับอาการที่จะเกิดขึ้นกับคนไข้ที่เข้ามาทำการรักษา ซึ่งก็ได้แบ่งออกเป็นได้ 3 ระดับด้วยกัน ดังนี้ คือ แบบที่ 1 คนไข้ที่มีอาการติดเชื้อรุนแรง เคสนี้คุณหมอจะตัดสินใจถอนให้ทันที ทว่า ในกรณีที่คนไข้มีอาการปวดอย่างรุนแรงหรือไม่สามารถทนเจ็บได้นั่น รวมไปถึงเคสที่คนไข้จำเป็นต้องถอนออกมาหลายซี่ ลักษณะนี้จำเป็นต้องใช้วิธีการวางยาสลบ หรือถอนฟันคุดภายใต้ยาสลบ เพื่อให้ฟันซี่มีอาการติดเชื้อถูกถอนออกไปโดยเร็วที่สุด เพื่อลดอาการแทรกซ้อนหรือรุนแรงตามมาภายหลัง ดังนั้น ทันตแพทย์หลายท่าน เมื่อพิจารณาแล้วเห็นถึงเหตุจำเป็นที่ต้องถอนก็จะต้องถอนได้ทันทีนั่นเอง เพื่อให้อาการติดเชื้อนั้นจะทุเลาลงอย่างรวดเร็ว แบบที่ 2 ติดเชื้อระดับกลาง ที่คนทั่วไปมักเป็นกัน หรือคุณหมอจะเจอกันเยอะที่สุด อย่างเช่น คนที่มีอาการเหงือกบวมและรู้สึกปวด ๆ หาย ๆ เป็นระยะ ในระดับนี้จึงเหมาะสมกับทางเลือกที่ 2 คือลดการอักเสบด้วยการรับประทานยา ให้การติดเชื้อของคนไข้ทุเลาเบาบางลง เมื่อกลับมาผ่าฟันคุดออกในครั้งถัดไป ยาชาก็จะทำปฎิกิริยาได้อย่างเต็มที่มากยิ่งขึ้นนั่นเอง

สำหรับในเคสที่คนไข้นั่น ไม่สามารถอ้าปากได้ หรืออ้าปากไม่ขึ้นเนื่องจากยังมีอาการปวดฟันคุด ทางทันตแพทย์หรือคุณหมอ ก็จะแนะนำให้รับประทานยาลดอาการอักเสบ และอาการปวดฟันคุดก่อนสักระยะ เพื่อช่วยให้รักษาฟันคุดในภายหลัง สบายทั้งคนไข้และสะดวกทั้งคุณหมออีกด้วย แบบที่ 3 คือภาวะติดเชื้อเล็กน้อย หรือยังไม่ติดเชื้อมากนัก คือ มีอาการปวดนิด ๆ หน่อย ๆ มีอาการอักเสบน้อยมาก โดยทางคุณหมอเอง จะมีการตรวจเช็คช่องปาก หากคนไข้มีแนวโน้มจะเจอปัญหาการติดเชื้อ การอักเสบในระยะยาว อาทิ ฟันคุดมีการขึ้นเอียงชนฟันซี่อื่นๆ ส่งผลให้ฟันซี่ข้างๆ มีโอกาสสูงที่จะผุเสียหายตามไปด้วย ทางคุณหมอหรือทันตแพทย์ก็อาจจะพิจารณาให้คนไข้เข้ามาทำการรักษาโดยการเอาฟันคุดออก หลังการกลับบ้านไปควรทานยาลดอักเสบเป็นระยะ แล้วจึงสามารถกลับมาถอนฟันคุด คนไข้ก็จะมีแนวโน้มการรักษาที่ดีขึ้น และยาชาที่ใช้ร่วมกับการรักษาก็จะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นไปด้วย ดังนั้นหากเราเจอฟันที่มีแนวโน้มที่จะมีปัญหาฟันคุด ทุกท่านควรหาเวลาไปพบคุณหมอหรือทันตแพทย์เพื่อถอนฟันคุดออก ในช่วงที่ไม่มีอาการจะดีที่สุดนั่นเอง

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ เชื่อว่าหลายๆคนตอนนี้คงได้รับทราบข้อมูลคร่าวๆและพอจะเข้าใจกันแล้วว่า ถ้ามีอาการปวดบวมจะไปถอนฟันคุดได้เลยหรือไม่ ซึ่งคำตอบก็คือแนะนำให้คนไข้ไปพบคุณหมอตรวจช่องปากก่อนได้นะคะ เพราะคุณหมอจะต้องเห็นลักษณะในช่องปากและประเมินแนวโน้มด้านในปากทั้งช่องปากเลยค่ะว่า คนไข้มีแนวโน้มฟันคุดอยู่ในระดับความรุนแรงมากน้อยแค่ไหน เพื่อจะแนะนำคนไข้ว่าควรจะให้รีบประทานยาก่อนหรือทำการถอนฟันคุดได้เลย

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายผ่าฟันคุด
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ฟันคุด #ถอนฟันคุด #ผ่าฟันคุด

Comments are closed.