เลือกไหมขัดฟันอย่างไร

เลือกไหมขัดฟันอย่างไร ให้เหมาะกับฟันของเราในยุค 2023

หากใครไปตามคลินิกทันตกรรม หรือไปแผนกทันตกรรมตามโรงพยาบาลต่างๆ จะเห็นได้ว่าทุกปัญหาช่องปากจะแนะนำให้ใช้ “ไหมขัดฟัน” เสมอ โดยเหตุผลหลักๆ ของการใช้ไหมขัดฟันช่วยลดเศษอาหารตามซอกฟัน ขจัดคราบหินปูนระหว่างฟัน ช่วยให้ปากและเหงือกแข็งแรงขึ้น ป้องกันโรคเหงือกอักเสบ ซึ่งความสะอาดของช่องปากที่ไม่เหมาะสม เป็นจุดเริ่มต้นของโรคเหงือกอักเสบ เป็นระยะเริ่มต้นของโรคเหงือกที่เหงือกบวมและมีเลือดออกง่าย เหงือกที่แข็งแรงจะไม่มีเลือดออกเมื่อแปรงฟันหรือใช้ไหมขัดฟัน โดยทั่วไปแล้ว ไหมขัดฟันถือเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการทำความสะอาดช่องปาก โดยใช้กับบริเวณที่คับแคบระหว่างฟัน ยังสามารถใช้ไหมขัดฟันขูดด้านข้างของฟันแต่ละซี่ขึ้นและลงได้

ทันตแพทย์จะแนะนำวิธีการใช้ไหมขัดฟัน (Dental Floss) เพื่อทำความสะอาด โดยเริ่มตั้งแต่เปิดใช้งานจนกระทั่งใช้เสร็จแล้ว ตามหลักการแล้ว ผู้ป่วยหรือผู้มาใช้บริการทันตกรรม จะใช้ไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละครั้ง เวลาที่ดีที่สุดที่จะใช้ไหมขัดฟันคือตอนกลางคืน โดยช่วงก่อนนอนและก่อนแปรงฟันเป็นช่วงที่สำคัญมาก ควรใช้ไหมขัดฟันก่อนแปรงฟัน เนื่องจากการแปรงฟันจะช่วยขจัดสารใดๆ ที่ขับออกจากปาก แต่ยังเอาออกไม่หมด จึงต้องมีการใช้ไหมขัดฟันเข้ามา

วิธีการเลือกซื้อไหมขัดฟันนั้น ก่อนอื่นจะต้องเลือกชนิดของไหมขัดฟันเสียก่อน โดยมีวิธีเลือกได้ดังนี้

  1. Unwaxed Floss (ไหมขัดฟันที่ไม่แว็กซ์) : เป็นไหมขัดฟันที่ใช้กันทั่วไปประเภทหนึ่ง ผลิตจากวัสดุไนลอนที่บิดเป็นเกลียวหลายเส้นเข้าด้วยกัน ไหมขัดฟันที่ไม่แว็กซ์ไม่มีสารปรุงแต่ง ซึ่งหมายความว่าไหมขัดฟันประเภทนี้ปราศจากสารเคมี ไหมขัดฟันในรูปแบบนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีช่องว่างระหว่างฟันเล็กน้อย เนื่องจากมีความบางกว่าไหมขัดฟันประเภทอื่นมาก ขณะเดียวกันมีแนวโน้มที่จะทำลายและฉีกขาดในช่องปากได้ง่ายกว่าไหมขัดฟันประเภทอื่น
  2. Waxed Floss (ไหมขัดฟันแว็กซ์) : หรือที่คนไทยเรียกว่า “ไหมเคลือบขี้ผึ้ง” ซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกัน เป็นไหมขัดฟันที่ถูกสร้างขึ้นคล้ายกับแบบที่ไม่ได้แว็กซ์ด้วยการเติมชั้นแว็กซ์ลงบนไหมขัดฟัน ชั้นเคลือบแว็กซ์นี้ช่วยให้ทนทาน มีความแข็งแรงมากขึ้น จึงไม่ฉีกขาดหรือแตกบนร่องฟันผู้ใช้ นอกจากนี้ยังช่วยให้ทำความสะอาดเลื่อนไปมาระหว่างฟันได้ดีกว่า
  3. Dental Tape (เทปทันตกรรม) : เทปติดฟันหรือเรียกอีกอย่างว่า “แบบหนา” ค่อนข้างคล้ายกับไหมขัดฟันประเภทอื่นๆ ยกเว้นว่ามันหนากว่ามาก มีโครงสร้างที่แบนกว่าซึ่งทำให้นึกถึงเทปธรรมดาชิ้นหนึ่ง เทปติดฟันเหมาะสำหรับผู้ที่มีช่องว่างขนาดใหญ่และต้องการไหมขัดฟันที่หนากว่า  ในประเภทนี้ไม่เหมาะสำหรับคนส่วนใหญ่ เนื่องจากหนากว่า เทปพันฟันจึงอาจเข้าไประหว่างฟันที่เรียงซ้อนได้ยาก
  4. Polytetrafluorethylene Floss (PTFE) : ไหมขัดฟันรูปแบบนี้มี Polytetrafluorethylene เป็นวัสดุที่พวกเราส่วนใหญ่คุ้นเคยในรูปแบบของผ้า Gore-Tex วัสดุนี้มีความแข็งแรงมาก แทบไม่ต้องกังวลว่าวัสดุจะฉีกขาดขณะใช้งาน โครงสร้างที่เรียบลื่นทำให้เหมาะสำหรับการเลื่อนเข้าไปในช่องว่างเล็กๆ ระหว่างฟันที่เรียงซ้อนได้ง่าย แต่ต้องระวังสารก่อมะเร็ง
  5. Super floss (ไหมขัดฟันเฉพาะ) : เป็นไหมขัดฟันชนิดพิเศษที่ออกแบบมาสำหรับผู้ที่มีสะพานฟัน เครื่องมือจัดฟัน และช่องว่างฟันกว้าง มันมีสามองค์ประกอบหลัก เช่น ไหมขัดฟันธรรมดา ไหมขัดฟันที่เป็นรูพรุน และที่สนปลายแข็ง ผู้ใช้สามารถใช้ไหมขัดฟันใต้สะพานและอุปกรณ์ทันตกรรมอื่นๆ ได้อย่างง่ายดายเพื่อทำความสะอาดอย่างทั่วถึงเมื่อใช้ที่สนด้าย

วิธีการเลือกไหมขัดฟัน

นอกจากดูชนิดของมันแล้วนั้น จะต้องดูคุณภาพการผลิต คำแนะนำของทันตแพทย์ และวันหมดอายุเสมอ เพื่อเลือกตามลักษณะฟันที่เหมาะสม ไหมขัดฟันแบบหนาอาจทำให้รู้สึกไม่สบายฟันเลย ดังนั้นไหมขัดฟันแบบบางจึงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด รวมถึงไหมขัดฟันแบบขี้ผึ้งสามารถช่วยให้กระบวนการทำความสะอาดช่องปากง่ายขึ้นเล็กน้อย สำหรับคนที่มีฟันห่าง ถ้าใช้ไหมขัดฟันแบบหนาจะมีประสิทธิภาพมากกว่า ผู้ที่มีช่องว่างระหว่างฟันอาจต้องการใช้เทปพันฟัน เพียงแต่เทปพันฟัน ไม่ค่อยนิยมมากเป็นวงกว้าง หากใครจะเลือกซื้อจริงๆ อยากให้สอบถามทางเภสัชกร และทันตแพทย์ เพื่อขอคำแนะนำการใช้ให้เหมาะสมกับสภาพฟันจะดีที่สุด

สอบถามเพิ่มเติมและตรวจสุขภาพฟัน
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ทันตกรรม #ตรวจสุขภาพฟัน #คลินิกทันตกรรม

อาการฟันโยก สัญญาณอันตรายที่ไม่ควรมองข้าม

อาการฟันโยก สัญญาณอันตรายที่ไม่ควรมองข้าม

สาเหตุส่วนใหญ่ของปัญหาฟันโยก จะมีความแตกต่างกันระหว่างฟันน้ำนมกับฟันแท้ ในช่วงฟันน้ำนม เป็นสัญญาณของการงอกของฟันแท้ในช่วงเด็กวัย 6-12 ปี หากเป็นฟันโยกของฟันแท้ อาการฟันโยกจะเกิดได้ทั้งการกระแทกของฟัน รากฟันไม่แข็งแรง รวมถึงเกิดจากโรคปริทันต์ โดยจะให้น้ำหนักทางโรคปริทันต์ จะเป็นการติดเชื้อในเหงือกและกระดูกรอบๆ ฟัน ในระยะลุกลามของโรคปริทันต์ อาการฟันโยกเป็นสัญญาณทางคลินิกที่อาจสะท้อนถึงระดับของการทำลายปริทันต์ ที่เกิดจากการติดเชื้อเฉพาะที่ในเหงือกและโครงสร้างรอบๆ ฟัน (เอ็นและกระดูกถุงในฟัน) และกระทบต่อความมั่นคงของเหงือกและฟันในการขบเคี้ยว การติดเชื้อเหล่านี้เกิดจากแบคทีเรีย ที่เกิดจากคราบสิ่งสกปรกสะสมในช่องปากด้วย

ในผู้ใหญ่จะมีความเสี่ยงของอาการฟันโยกค่อนข้างมาก เนื่องจากเป็นช่วงที่ฟันแท้ขึ้นครบหมดแล้ว แต่มีความเสี่ยงในการดำเนินชีวิตบางอย่าง ที่กระทบต่อสุขภาพช่องปาก และเป็นกลุ่มที่พบแผนกทันตกรรมบ่อยมากในวัยนี้ จึงไม่แปลกใจว่าทำไมฟันผู้ใหญ่จึงมีการโยกออกมา โดยสาเหตุของอาการฟันโยก จะแบ่งได้ดังนี้

สาเหตุของอาการฟันโยก

  1. การบาดเจ็บที่เกิดกับฟันเนื่องจากการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ  หรือการหกล้มอย่างหนักจนมีอาการฟันโยก บางรายอาจจะเกิดจากการเล่นกีฬา เช่น กีฬาต่อสู้ กีฬาฟุตบอล หรือกีฬาที่มีการปะทะหนักๆ
  2. การสบฟันผิดรูป เช่น การสบฟันลึกที่ทำให้ฟันเคี้ยวมากเกินไป ทำให้เคลื่อนตัว การนอนกัดฟันหรือการกัดฟันเป็นนิสัย ทั้งโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว
  3. โรคปริทันต์อักเสบหรือโรคเหงือก จะมีอาการเหงือกร่น ฝีเหงือก ซีสต์หรือเนื้องอกในขากรรไกร
  4. การสูบบุหรี่ อาการฟันโยกมาจากการสูบบุหรี่ ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพเหงือกและช่องปากโดยตรง และทำให้สะสมแบคทีเรียง่ายขึ้น จึงเสี่ยงต่อโรคฟันหรือปริทันต์เข้ามาด้วย

อาการของฟันโยก

อาการฟันโยกที่พบบ่อย ซึ่งสังเกตได้จากความผิดปกติทางกายภาพ โดยเริ่มเสียวฟันโดยรอบ จากนั้นจะมีอาการอื่นๆ ตามมา เนื่องจากสุขภาพช่องปากขาดการดูแลรักษาความสะอาด ซึ่งจะมีอาการดังนี้

  • ฟันเริ่มโยก
  • รอยแดงของเนื้อเยื่อรอบๆ ฟัน
  • ความเจ็บปวดหรือไม่สบายตามรอบๆ ฟันและเหงือก
  • การเคี้ยวอาหารลำบาก
  • มีอาการเจ็บ หรือมีปัญหาเหงือกที่บอบบาง

หากมีอาการเหล่านี้ ทันตแพทย์จะประเมินสถานการณ์โดยใช้เครื่องมือทางคลินิกและค่อยๆ เช็คช่องปากไปมา หากทันตแพทย์มั่นใจว่ามีอาการฟันโยก ทางทันตแพทย์จะแนะนำวิธีการแก้ไขที่เหมาะสม เพื่อลดปัญหาที่เกิดขึ้น บางรายอาจจะต้องเอ็กซเรย์เพื่อดูความผิดปกติของช่องปากและขากรรไกรร่วมด้วย

วิธีการรักษาฟันโยก

หากตรวจอาการฟันโยกพบว่าเคลื่อนไหวได้เนื่องจากการสบฟันที่ไม่ถูกต้อง จะได้รับคำแนะนำให้รักษาเพื่อแก้ไขการสบฟันเพื่อบรรเทาการบดเคี้ยวที่กระทบกระเทือนต่อสุขภาพช่องปาก และรบกวนต่อจิตใจ โดยมีวิธีการรักษาได้ดังนี้

  • ในกลุ่มเล่นกีฬาอันตราย จะต้องสวมฟันยางที่ออกแบบโดยทันตแพทย์ เนื่องจากตามร้านอุปกรณ์กีฬา จะไม่ตอบโจทย์ทางทันตกรรมของบุคคลนั้น และไม่รองรับอันตรายต่อฟันได้
  • หากมีซีสต์หรือเนื้องอกทำให้เกิดอาการปวดและเคลื่อนไหวได้ ควรรักษาอาการก่อน แล้วค่อยรักษาอาการฟันโยก เนื่องจากซีสต์จะลุกลามรวดเร็ว และทำให้การบดเคี้ยวไม่ดี
  • การทำความสะอาดฟันอย่างถูกวิธีที่คลินิก ซึ่งจะมีการทำความสะอาดโดยทันตแพทย์ การใช้ไหมขัดฟัน และการขูดหินปูน ซึ่งช่วยป้องกันอาการฟันโยกและโรคปริทันต์ได้
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรือรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม
  • ไปที่คลินิกทันตกรรมอย่างน้อยปีละสองครั้ง

อาการผิดปกติของฟันโยก เป็นสัญญาณทางทันตกรรมที่ร้ายแรง ไม่ควรมองข้ามอาการฟันโยกเลย เนื่องจากมันเป็นอาการเสี่ยงของโรคปริทันต์ ซึ่งเป็นโรคที่อันตรายอย่างมากของสุขภาพช่องปาก อย่างไรก็ตาม เราสามารถทำได้โดยปฏิบัติตามหลักสุขอนามัยในช่องปากที่ดี เริ่มจากการรักษาความสะอาดที่บ้าน ทุกคนอาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดฟันโยก จนกระทั่งฟันหลุดจากสาเหตุใดๆ ที่กล่าวถึงก่อนหน้านี้ แต่การดูแลช่องปาก ต้องดูแลอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันสัญญาณอันตรายที่เกิดขึ้น เว้นแต่ในกรณีอาการฟันโยกเกิดจากอาการผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ อยากให้ปรึกษาทันตแพทย์โดยตรงเพื่อวินิจฉัยสาเหตุ รวมถึงการรักษาในลำดับต่อไป

สอบถามเพิ่มเติมและตรวจสุขภาพฟัน
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ทันตกรรม #ตรวจสุขภาพฟัน #คลินิกทันตกรรม

รากฟันอักเสบ..ภัยเงียบที่คุกคามช่องปาก

รากฟันอักเสบ..ภัยเงียบที่คุกคามช่องปาก

“รากฟันอักเสบ” ภัยเงียบที่เป็นปัญหาใหญ่ คุกคามภายในช่องปาก ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อระบบหรือส่วนต่างๆของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นตา ,ลำคอ,โพรงไซนัส,สมอง ทั้งยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจอีกด้วย รากฟันอีกเสบเกิดมาจากอะไร ถ้าหากปล่อยทิ้งไว้จะมีความอันตายมากแค่ไหน และจะมีวิธีรักษาหรือป้องกันได้อย่างไรบ้าง เราจะมาเจาะลึกเกี่ยวกับรากฟันอักเสบด้วยกัน

สาเหตุของอาการรากฟันอักเสบ

“รากฟันอักเสบ” มักมีสาเหตุมาจาก ปัจจัยต่างๆดังต่อไปนี้

  • ฟันผุหรือฟันที่มีวัสดุอุดลึกจนทะลุไปถึงโพรงประสาทฟัน ทำให้เกิดการอักเสบและติดเชื้อในโพรงประสาทฟัน จนทำให้เกิดอาการปวดฟันขึ้นมาได้  ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ก็จะลุกลามไปจนถึงรากฟันข้างใน ยากต่อการรักษามากยิ่งขึ้น
  • ฟันผุซ้ำหรือฟันผุที่เกิดใหม่อยู่ใต้ครอบฟัน
  • ฟันแตกหรือฟันร้าว
  • รากฟันเป็นหนอง ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในบริเวณปลายราก
  • ได้รับแรงกระแทกอย่างหนักที่ฟันหรือมีอุบัติเหตุ ทำให้โพรงประสาทฟันติดเชื้อหรือตาย ทั้งยังสามารถทำลายกระดูกรอบๆฟัน ทำให้มีอาการปวด

สัญญาณเตือนภัยของจุดเริ่มต้นรากฟันอักเสบ

จะรู้ได้อย่างไรว่ากำลังเข้าสู่อาการรากฟันอักเสบ ให้สังเกตจากสักญญาณเตือน ดังต่อไปนี้

  • เหงือกจะมีอาการบวมและแดงมากยิ่งขึ้น จากสีชมพูจะกลายเป็นสีแดงหรือเป็นสีม่วง
  • รู้สึกเจ็บและเสียวฟันตอนเคี้ยวอาหาร
  • รู้สึกปวดฟันขึ้นมาแบบเป็นๆหายๆ หรืออาจถึงขั้นปวดรุนแรงจนนอนไม่หลับ
  • รากฟันมีตุ่มเป็นหนอง

วิธีการรักษารากฟันอักเสบ

การขั้นตอนการรักษารากฟันอักเสบ สามารถทำได้ดังต่อไปนี้

  1. เริ่มจากการกำจัดเนื้อฟันที่ผุ เพื่อเปิดทางเข้าสู่โพรงประสาทฟัน
  2. จากนั้นกำจัดรากฟันที่อักเสบรวมถึงการติดเชื้อต่างๆโดยการล้างด้วยน้ำยาที่มีฤทธิ์ในการกำจัดเชื้อ
  3. หลายกรณีไม่สามารถรักษารากฟันให้เสร็จภายในครั้งเดียว ทันตแพทย์จะใส่ยาฆ่าเชื้อในคลองรากฟันและอุดวัสดุไว้ชั่วคราว

อาการข้างเคียงจากการรักษารากฟันอักเสบ

หลังจากการรักษารากฟัน จะมีอาการปวดเกิดขึ้น ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กรณี คืออาการปวดระหว่างการรักษาและอาการปวดเมื่อรักษาเสร็จสิ้นไปแล้ว ดังนี้

  1. อาการปวดระหว่างการรักษา

อาการปวดเกิดขึ้นได้บ่อยๆและเป็นปกติในระหว่างการรักษาอาจจะมีการบวมของเหงือกร่วมด้วย ซึ่งส่วนใหญ่อาการปวดดังกล่าวหลังการรักษาครั้งแรกนั้นจะเกิดจากการรักษารากฟันในฟันที่มีอาการปวด หรือเริ่มปวด หรือรากฟันกำลังเริ่มอักเสบ แต่จะไม่เกิดในฟันที่ตายแล้วหรือฟันที่เป็นหนอง โดยทันตแพทย์จะขยายและล้างคลองรากฟันโดยไม่ให้เกิดแรงดันที่จะทำให้เศษอาหารถูกดันเข้าไปบริเวณปลายราก

  • อาการปวดหลังการรักษา
    ในกรณีที่คนไข้มีอาการปวดไม่รุนแรงมากนัก ทันตแพทย์จะมีการล้าง ทำความสะอาด แล้วขยายรากฟันหรือกำจัดเส้นประสาทให้หมดก็จะสามารถทำให้อาการปวดทุเลาลงได้ แต่ถ้าในกรณีที่มีอาการบวมร่วมด้วย ก็อาจจะต้องเปิดระบายโพรงประสาทฟันที่กรอเอาไว้และให้ยาแก้อักเสบร่วมด้วย ซึ่งอาการปวดหลังการรักษา ก็สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่นคลองรากฟันยังไม่สะอาดแล้วอุด ขยายคลองรากฟันไม่หมดหรือฟันแตก ซึ่งอาจจะต้องมีการรื้อและรักษาใหม่ และถ้าหากรักษาไม่ได้อาจจะต้องถอนฟันซี่นั้นทิ้งในที่สุด

ข้อควรปฏิบัติหลังการรักษารากฟัน

หลังการรักษารากฟันอักเสบ มีข้อควรปฏิบัติเพื่อเสริมการรักษาให้มีประสิทธิภาพ ดังต่อไปนี้

  1. ควรระมัดระวังการใช้งานซี่ฟันที่กำลังรักษาราก เนื่องจากเนื้อฟันมีปริมาณที่น้อยลงและฟันจะมีความเปราะบางมากยิ่งขึ้น
  2. ระหว่างการรักษารากฟันอักเสบ หากวัสดุอุดฟันหลุดออกมา ให้รีบกลับไปพบทันตแพทย์ เนื่องจากเป็นโอกาสเสี่ยงที่จะทำให้เชื้อโรคในช่องปากสามารถเข้าสู่คลองรากฟันได้
  3. การรักษารากฟันอักเสบ เป็นสิ่งที่จะต้องทำอย่างต่อเนื่องและปฏิบัติตัวภายใต้คำแนะนำของทันตแพทย์อย่างเคร่งครัด เพราะถ้าหากฟันถูกปล่อยทิ้งเอาไว้นานๆ จะทำให้เชื้อโรคทำลายกระดูกที่อยู่รอบๆฟัน นำไปสู่การเกิดตุ่มหนองทั้งภายในช่องปากและบริเวณใบหน้าได้ และถ้าหากกระดูกรองรับฟันถูกทำลายไปเป็นจำนวนมากก็อาจจะทำให้ไม่สามารถเก็บรักษาฟันซี่นั้นต่อไปได้

การรักษารากฟันอักเสบ เป็นกระบวนการรักษาที่มีความต่อเนื่องและค่อนข้างใช้เวลา ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงและสภาพฟันของแต่ละท่าน อีกทั้งยังมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง ดังนั้นเพื่อป้องกันอาการรากฟันอักเสบ ควรหมั่นดูแลสุขภาพปากและฟันให้ดี โดยการไปพบทันตแพทย์ทุก 6 เดือนเพื่อเช็คความสะอาดภายในช่องปาก เพื่อป้องกันฟันผุที่จะลุกลามและกลายเป็นอาการของรากฟันอักเสบในที่สุด

สอบถามเพิ่มเติมและตรวจสุขภาพฟัน
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ทันตกรรม #ตรวจสุขภาพฟัน #คลินิกทันตกรรม

ปวดฟันคุด..สัญญาณเตือนภัยร้ายในช่องปาก

ปวดฟันคุด..สัญญาณเตือนภัยร้ายในช่องปาก

“ฟันคุด” หนึ่งในปัญหาช่องปากที่เป็นฝันร้ายและสร้างความรำคาญใจให้กับใครหลายคน เมื่อเกิดขึ้นมาแล้วได้สร้างความเจ็บปวดอย่างมากมายจนวิ่งไปหาหมอฟันแทบไม่ทันกันเลยทีเดียว และสุดท้ายก็จะต้องจบลงด้วยการผ่าออก แท้จริงแล้วฟันคุดคืออะไร มีสาเหตุมาจากอะไร ถ้าหากปล่อยเอาไว้จะสร้างความเสียหายอย่างไร และจำเป็นมากน้อยแค่ไหนที่ต้องผ่าออก วันนี้เรามีเรื่องราวดีๆเกี่ยวกับ “ฟันคุด” มาแบ่งปันกันค่ะ

ฟันคุดคืออะไร

ฟันคุด (Impacted Tooth, Wisdom Tooth) เป็นฟันที่ฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกรโดยไม่สามารถขึ้นมาได้ตามปกติในช่องปากเหมือนฟันซี่อื่นๆ ซึ่งอาจจะโผล่ออกมาให้เห็นเพียงบางส่วนเท่านั้น เนื่องจากฟันคุดขึ้นมาช้ากว่าฟันซี่อื่นจึงทำให้ไม่มีช่องว่างที่จะโผล่ขึ้นมาได้  ซึ่งโดยปกติฟันคุดจะมีทั้งหมด 4 ซี่ด้วยกัน คือในบริเวณด้านในของช่องปากทั้งบนและล่าง เกิดขึ้นได้ทั้งฝั่งซ้ายและขวา สามารถพบได้บ่อยที่บริเวณฟันกรามซี่สุดท้ายซึ่งอยู่ด้านในสุดของกระดูกขากรรไกรล่าง

ฟันคุดเกิดจากอะไร

ปกติแล้วฟันคุดก็คือฟันซี่ที่ควรจะเกิดขึ้นในช่วงอายุประมาณ 16-25 ปี อาจเป็นไปได้ที่จะโผล่ขึ้นมาในลักษณะตั้งตรง เอียงหรือนอนในแนวราบ แต่ฟันคุดคือฟันที่พยายามจะงอกขึ้นมาแต่ไม่สามารถขึ้นมาได้เนื่องจากมีฟันเนื้อเยื่อหรือกระดูกปิดขวางฟันที่กำลังจะขึ้นมานั่นเอง เมื่อฟันคุดพยายามที่จะงอกขึ้นมา ทำให้เกิดแรงผลักดันและเป็นไปได้ว่าจะมีการเบียดฟันซี่ข้างๆ นี่จึงเป็นที่มาของอาการปวดฟันคุดอย่างรุนแรงและสร้างความทรมานให้กับผู้ที่เป็นอย่างมาก

อาการของฟันคุดเป็นอย่างไร

โดยทั่วไป “ฟันคุด” ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ยกเว้นในกรณีที่ตัวฟันโผล่ขึ้นมาเหนือเหงือก จะต้องใช้วิธีการเอกซเรย์จึงจะสามารถมองเห็นได้ อาการที่พบส่วนใหญ่คือรู้สึกเจ็บปวดที่บริเวณฟันคุดมากหรือมีการอักเสบรอบๆเหงือก บางรายแก้มบวม อ้าปากได้น้อย กลืนน้ำลายแล้วเจ็บคอ หรือที่หนักกว่านั้น ในบางรายอาจมีอาการบวมและติดเชื้อ จนลุกลามไปถึงใบหน้า แก้ม และลำคอได้อีกด้วย

ผลกระทบจากฟันคุด

การปล่อยฟันคุดทิ้งเอาไว้นานๆ สามารถทำให้เกิดโทษหรือผลกระทบกับส่วนอื่นๆในช่องปากได้ เช่น

  • ฟันคุดทำให้เกิดฟันผุ 
    เนื่องจากฟันคุดเป็นฟันที่ผิดรูป ทำให้เป็นแหล่งที่กักเก็บเศษอาหารได้เป็นอย่างดี และอาจจะเนื่องด้วยตำแหน่งของฟันคุดที่อยู่ลึกด้านในใกล้ลำคอ ทำให้ยากต่อการทำความสะอาด และเกิดฟันผุขึ้นมาได้และนอกจากนั้นยังสามารถลุกลามไปยังฟันซี่ที่อยู่ข้างๆได้ด้วยเช่นกัน
  • ฟันคุดทำให้เหงือกอักเสบ
    ฟันคุดบางซี่ตัวฟันอาจจะโผล่ออกมาเหนือเหงือกไม่หมด เมื่อเหงือกเข้าไปปกคลุมฟัน อาจทำให้เศษอาหารเข้าไปสะสมอยู่ใต้เหงือก ทำความสะอาดได้ยาก เป็นที่มาของเชื้อแบคทีเรียและทำให้เกิดอาการอักเสบ ปวด บวมและเป็นหนองตามมา ที่ร้ายแรงกว่านั้น ยังเป็นการเพิ่มโอกาสในการกระจายเชื้อโรคไปยังส่วนอื่นๆจนเกิดการติดเชื้อ ลุกลามไปยังช่องคอ ทำให้หายใจไม่ออกได้เช่นกัน
  • ฟันคุดมีโอกาสทำให้เกิดถุงน้ำ
    เมื่อเกิดฟันคุดขึ้น เนื้อเยื่อที่อยู่โดยรอบสามารถพัฒนากลายเป็นถุงน้ำหรือเนื้องอกได้ และที่สำคัญฟันคุดที่มักอยู่ติดกับขากรรไกร มันจะเกิดการดัน และเบียดกระดูกขากรรไกร ส่งผลให้ใบหน้าผิดรูปในอนาคต

จำเป็นต้องผ่าฟันคุดออกหรือไม่

ในการผ่าฟันคุดนั้น แพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยโดยพิจารณาจากองค์ประกอบอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งของฟันคุด ระยะห่างของฟันคุดกับเส้นประสาท รวมถึงอายุของคนไข้ด้วย ซึ่งโดยมาก แพทย์มักแนะนำให้ผ่าฟันคุดออกในทุกกรณี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นควรมีการขอคำแนะนำจากแพทย์ทุกครั้งซึ่งจะเกี่ยวข้องกับกระบวนการรักษาตามมา

ลักษณะของฟันคุดที่จำเป็นต้องผ่าออก

ลักษณะของฟันคุดที่มีความจำเป็นต้องผ่า เพราะสร้างปัญหาและผลกระทบในช่องปากระยะยาว มีอยู่ 2 ลักษณะใหญ่ๆ ดังนี้

  1. ฟันคุดที่มีเหงือกคลุม (soft tissue impaction) 
    ลักษณะคือตัวของฟันคุดมีลักษณะตั้งตรง แล้วมีเหงือกที่ปกคลุมฟันคุดซี่นั้นเอาไว้ ในกรณีนี้สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าเปิดเหงือกออกร่วมกับการถอนฟันคุด
  2. ฟันคุดที่มีกระดูกคลุม (bony impaction) 
    ลักษณะอาการในกรณีนี้คือมีทั้งเหงือกและกระดูกที่คลุมฟันคุดเอาไว้  ส่วนลักษณะของฟันคุดก็มีทั้งแบบตั้งตรง เอียง หรือนอน การรักษาสามารถทำได้โดยการกรอกระดูกร่วมกับการแบ่งฟันคุดเป็นส่วนๆ เพื่อนำฟันคุดออกมา

อาการข้างเคียงหลังผ่าฟันคุด

อาการแทรกซ้อนหลังจากการรักษาฟันคุดโดยการผ่านั้นสามารถเกิดขึ้นได้ เช่น มีเลือดออกบริเวณผ่าตัด ปวดแผลผ่าตัด ซึ่งเป็นอาการปกติทั่วไป แต่ถ้าหากมีอาการที่ผิดปกติ กรณีเช่น มีเลือดไหลจากแผลผ่าตัดมากกว่าปกติ บางรายมีไข้ หรือเกิดการติดเชื้อหลังการผ่าตัด และถ้าในกรณีที่อาการปวดบวมไม่ทุเลาลงเลย มีกลิ่นปาก เจ็บแปลบหรือเกิดอาการชาที่ใบหน้า ริมฝีปากหรือลิ้น ให้รีบไปพบทันตแพทย์ทันที

ข้อควรปฏิบัติหลังผ่าฟันคุด

หลังผ่าตัดฟันคุดมีข้อควรปฏิบัติดังต่อไปนี้

  • ห้ามบ้วนเลือดหรือน้ำลายทันทีในวันที่ผ่าตัด เพราะอาจจะทำให้เลือดไหลไม่หยุด แต่ให้กัดผ้าก๊อตประมาณ 1-2 ชั่วโมง จากนั้นให้กลืนน้ำลายตามปกติได้
  • ควรประคบน้ำแข็งบริเวณแก้มในช่วง 3-5 วันแรก เพื่อลดอาการบวม
  • หลังจากที่ผ่าตัดอาจจะมีอาการตึงๆบริเวณแก้มในด้านที่ผ่าตัด ให้บริหารกล้ามเนื้อบริเวณนั้นด้วยการฝึกอ้าปาก
  • สามารถรับประทานยาแก้ปวดและยาปฏิชีวนะตามที่แพทย์สั่ง เพื่อบรรเทาอาการปวด
  • ให้รับประทานอาหารชนิดอ่อนๆประมาณ 1 สัปดาห์หลังผ่าตัด เพื่อจะได้ไม่กระทบกระเทือนต่อแผลในช่องปาก
  • สามารถแปรงฟันได้ตามปกติอย่างเบามือ และกลับไปตัดไหมหลังจากที่ผ่าตัดได้ 5-10 วัน

“ฟันคุด” เป็นฟันที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในลักษณะที่ผิดปกติ ดังนั้นควรมีการตรวจสุขภาพช่องปากและฟันเป็นประจำ เมื่อพบอาการผิดปกติใดๆจะได้ทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที และในการผ่าตัดรักษาฟันคุดก็ไม่ได้น่ากลัวเกินไป เมื่อเทียบกับโทษที่อาจจะเกิดขึ้นถ้าหากปล่อยเอาไว้ เพราะนอกจากจะเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคร้ายแล้ว อาจลุกลามสร้างความเสียหายไปยังอวัยวะอื่นได้ด้วยเช่นกัน

สอบถามเพิ่มเติมและตรวจสุขภาพฟัน
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ทันตกรรม #ตรวจสุขภาพฟัน #คลินิกทันตกรรม