ไขข้อสงสัย เมื่อใดเราจึงควรรักษารากฟัน

ไขข้อสงสัย เมื่อใดเราจึงควรรักษารากฟัน

เหงือกจ๋า… ฟันลาก่อน ก่อนที่ฟันจะหายไป การดูแลรักษาฟันจึงเป็นเรื่องที่เราควรให้ควาสำคัญนะคะ เพราะเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นกับฟัน คงไม่มีใครอยากจะรอจนถึงทางออกสุดท้ายคือการสูญเสียฟันไป ซึ่งปัจจุบันนี้ ก็มีทางเลือกในการรักษาฟันอยู่มากมาย หนึ่งในนั้นคือ การรักษารากฟัน ก่อนที่เราจะเลือกตัดสินใจรักษารากฟัน เราจึงควรมีความรู้เกี่ยวกับการรักษารากฟันกันก่อนค่ะ

การรักษารากฟันคืออะไร
            การรักษารากฟันเป็นกระบวนการกำจัดเชื้อที่อยู่ในโพรงประสาทฟัน หรือเนื้อเยื่อขนาดเล็กที่อยู่ใจกลางฟัน เป็นสาเหตุให้เกิดการติดเชื้อ อักเสบของโพรงเนื้อเยื่อในโพรงประสาทฟัน รวมทั้งทำความสะอาดโพรงฟัน คลองรากฟันให้ปราศจากเชื้อโรค และอุดคลองรากฟันด้วยวัสดุคลองรากฟัน ทำให้ฟันสามารถกลับมาใช้งานได้ตามปกติ โดยที่ไม่ต้องถอนฟันทิ้ง

สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหากับรากฟัน
         
สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหากับรากฟัน โพรงประสาทฟันหรือฟันตายนั้น เกิดได้หลายสาเหตุดังนี้
 
         1. ฟันผุอย่างรุนแรง ในรายที่ปล่อยฟันให้ผุแล้วไม่รักษา ทำให้ฟันผุลุกลามถึงโพรงประสาทฟัน เกิดการอักเสบ เป็นหนองที่ปลายรากฟัน และไม่สามารถทำการอุดฟันได้แล้ว
         2. มีปัญหาโรคเหงือก
โดยมากปัญหาโรคเหงือกจะเกิดจากคราบแบคทีเรียไปเกาะบริเวณเหงือกและฟัน ถ้าเราทำความสะอาดไม่ดี คราบแบคทีเรียจะไปทำลายเนื้อเหงือกหุ้มรากเนื้อเยื่อที่รองรับให้ฟันติดกับขากรรไกรและกระดูกฟัน การรักษารากฟันจะช่วยดูแลไม่ให้หินปูนเข้าไปสะสมได้ง่าย
            3. อาการบาดเจ็บของฟัน ไม่ว่าจะมาจากการได้รับแรงกระแทกที่ฟัน ทำให้ฟันแตกหัก ถึงโพรงประสาทได้
          4. การนอนกัดฟัน
จะทำให้เกิดการสึกของฟัน บางรายฟันสึกถึงเนื้อฟัน ทำให้ฟันเตี้ยลงไปมาก ก็จะเกิดเป็นช่องว่างระหว่างฟัน ทำให้เศาอาหารเข้าไปติดได้ง่าย หรือถ้ากัดแรงมาก ตัวฟันรับแรงไม่ไหว ก็จะเกิดหนองที่ปลายรากฟัน ทำให้ต้องรักษารากฟันทีหลัง


เมื่อใดที่เราควรรักษารากฟัน?
         
หลายคนคงเกิดข้อสงสัยว่า เมื่อใดที่เราควรต้องรักษารากฟันได้แล้ว หรือลักษณะของฟันแบบใดที่ส่งสัญญาณเตือนให้เราต้องรักษารากฟัน  สามารถดูได้ดังนี้
 
           1. ฟันที่ผุลึกมาจนถึงโพรงประสาทฟัน
            2. ฟันที่มีการเปลี่ยนสีไปจากเดิมซึ่งมีสาเหตุมาจากฟันตาย (ฟันตายคือฟันที่ไม่มีชีวิต ไม่มีอาการ มีสีที่เปลี่ยนแปลงไป และอาจจะเกิดตุ่มหนอง บางรายอาจจะมีอาการหน้าบวม มีน้ำหนองไหลจากฟันที่ติดเชื้อ หรือบางรายอาจจะเกิดแค่อาการปวดฟัน เสียวฟัน เมื่อทานอาหารร้อนหรือเย็น)
            3. ฟันที่ได้รับแรงกระแทกอย่างรุนแรงจากอุบัติเหตุ การกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงนั้นจะส่งผลให้เกิดการอักเสบ หรือการตายของเนื้อเยื่อในโพรงประสาทฟัน ซึ่งโดยปกตินั้น เนื้อเยื่อในโพรงประสาทฟันจะสามารถต่อสู่กับเชื้อโรคและมีความสามารถในการต้านการอักเสบที่ไม่รุนแรงได้ แต่หากการอักเสบหรือการติดเชื้อนั้นรุนแรงมากขึ้น เช่น กรณีที่ฟันผุลึกมาก กินเนื้อฟันไปเยอะ หรือฟันที่ได้รับการกระแทกอย่างแรง รวมถึงฟันที่แตกหักแล้วทะลุเข้าไปในโพรงฟัน ส่งผลให้เนื้อเยื่อในโพรงฟันนั้นถูกทำลายไป และเกิดภาวะ จนเป็นเหตุให้ฟันตายในที่สุด
            4. ฟันที่มีหนองที่ปลายรากฟัน กรณีนี้ถือเป็นสัญญาณเตือนที่รุนแรงมาก โดยการเกิดหนองที่ปลายราก อาจมีหนองไหลมาเห็นได้ชัด นั่นหมายความว่าเชื้อได้ลุกลามไปทำลายส่วนของเนื้อเยื่อทั้งโพรงประสาทฟันแล้ว
            สิ่งสำคัญที่สุดเพื่อไม่ให้เกิดการสูญเสียฟันหรือเกิดอาการที่เป็นผลมาจากการที่ฟันของเราผิดปกติ คือการดูแลรักษาฟันให้สะอาดและหมั่นไปหาทันตแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจฟันเป็นประจำ

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายรักษารากฟัน

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829

Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental

ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

www.bpdcdental.com

#BPDC #คลินิกทันตกรรม #รักษารากฟัน #รากฟัน

สิ่งที่เราควรรู้ก่อนที่จะถอนฟันกราม

สิ่งที่เราควรรู้ก่อนที่จะถอนฟันกราม

เมื่อพูดถึงเรื่องของการถอนฟัน เชื่อว่าหลายคนก็คงเคยผ่านการถูกถอนฟันกันมาบ้าง ซึ่งกอรถอนฟันก็ดูจะเป็นเรื่องทั่ว ๆ ไป เพียงแต่ถ้าการถอนนั้นจะไม่ใช่การถอนฟันกราม เพราะอะไรฟันกรามจึงสำคัญ คงเคยสงสัยกันว่าจริง ๆ แล้วฟันกรามสามารถถอนได้หรือไม่ ถอนแล้วจะเป็นอันตรายอะไรหรือเปล่า หรือจะส่งผลอะไรต่อไปในระยะยาวไหม วันนี้เราได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่เราควรรู้ก่อนที่จะถอนฟันกราม มาดูกันค่ะว่าจะมีอะไรบ้างที่เราควรรู้หรือควรต้องระวัง

ฟันกรามคืออะไร
         
ฟันกรามคือฟันที่ใช้สำหรับบดเคี้ยวซึ่งจะมีทั้งข้างบนและข้างล่าง เป็นฟันแท้ที่เมื่อหักไปแล้วก็จะไม่มีการงอกขึ้นมาใหม่อีก ถือว่าเป็นฟันที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีความสำคัญมาก เพราะนอกจากจะช่วยในเรื่องของการบดเคี้ยวแล้ว ยังจะทำงานร่วมกันกับฟันเขี้ยวในการคุมทิศทางการเคลื่อนไหวของขากรรไกรอีกด้วย

ข้อบ่งชี้สภาวะของฟันที่ต้องถอนฟัน
         
การถอนฟันถือว่าเป็นวิธีการรักษาสุขภาพช่องปากอย่างหนึ่งและเป็นวิธีที่รวดเร็วที่สุด ซึ่งการถอนฟันกรามมีทั้งประโยชน์และโทษในเวลาเดียวกัน เราจะพูดถึงต่อจากนี้ค่ะ และในการถอนฟัน เราจะต้องยอมรับการสูญเสียฟันของเราไปด้วย ซึ่งทันตแพทย์จะพิจารณาการถอนฟันตามสภาวะฟันต่อไปนี้
            1. ฟันผุทะลุโพรงประสาทฟันหรือฟันที่มีหนองปลายรากฟัน ไม่สามารถอุดหรือรักษาด้านอื่น ๆ ได้
            2. ฟันที่เป็นโรคปริทันต์รุนแรงรอบตัวฟัน จนไม่สามารถรักษาได้
            3. ฟันที่ต้องถอนเพื่อการใส่ฟัน
            4. ฟันที่ได้รับอุบัติเหตุ ฟันแตก หรือรากฟันหัก ไม่สามารถอุดหรือรักษาคลองรากฟันได้
            5. ฟันที่มีพยาธิสภาพของกระดูกรอบ ๆ รากฟัน เช่น เกิดถุงน้ำหรือเนื้องอก
            6. ฟันคุดหรือฟันที่ไม่สามารถขึ้นมาในช่องปากได้ตามปกติ

สิ่งที่ควรรู้ก่อนที่จะถอนฟันกราม

  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคเลือด ควรแจ้งทันตแพทย์ให้ทราบอย่างละเอียด โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติโรคเลือดออกง่าย แต่หยุดยาก เพื่อเตรียมตัวและป้องกันอันตรายที่อาจจะขึ้นภายหลังการถอนฟัน
  • ภาวะแทรกซ้อนจากการถอนฟันกรามสามารถเกิดขึ้นได้ ซึ่งผลข้างเคียงระหว่างการถอนฟันกรามที่พบได้บ่อยที่สุด คือ การที่เนื้อเยื่ออ่อนในช่องปากได้รับบาดเจ็บ อาจเกิดจาการทำที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงการใช้เครื่องมือที่อันตรายและควบคุมลำบากทำให้เกิดแผลหรือรอยถลอกขึ้นได้ นอกจากนี้ หากฟันกรามอยู่ในบริเวณที่ใกล้กับโพรงกระดูกข้างจมูกบริเวณโหนกแก้ม อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นไซนัสอักเสบได้ แต่ถ้าถอนฟันกรามล่างซี่ในสุด ซึ่งอยู่ใกล้เส้นประสาทที่ใช้ควบคุมกล้ามเนื้อใบหน้า ก็อาจส่งผลให้หน้าเบี้ยวได้เช่นกัน
  • สำหรับผู้ที่ต้องการจัดฟัน การถอนฟันกรามไปแล้วสามารถยังจัดฟันได้ก็จริง แต่จำเป็นต้องใส่ฟันปลอมเพื่อทดแทนช่องว่างที่เกิดขึ้นจากการสูญเสียฟันดังกล่าวไป หากไม่ใส่ฟันปลอมจะเกิดช่องว่างบริเวณดังกล่าว ส่งผลให้ฟันที่อยู่ใกล้เคียงเอียงและล้มตัวลงได้
  • การถอนฟันกรามอาจส่งผลต่อการสบฟันและการบดเคี้ยวที่ไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากเมื่อฟันที่ถูกถอนหายไป ฟันคู่สบกันลงมาจะสบได้ไม่ดี อีกทั้ง ยังส่งผลให้เหงือกบริเวณนั้นเกิดแผลและการติดเชื้อในช่องปากตามมาได้ด้วย รวมถึงการปล่อยช่องว่างจากการถอนฟันกรามไปนั้นจะทำให้เศษอาหารเข้าไปติดได้ง่ายขึ้น เกิดเป็นฟันผุและเป็นโรคเหงือก

            เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับสิ่งที่เราควรรู้ก่อนที่จะถอนฟันกราม มองเผิน ๆ ฟันกรามก็ดูเหมือนฟันอื่น ๆแต่เอาเข้าจริงกลับกลายเป็นเรื่องใหญ่และเรื่องสำคัญมากเลย ดังนั้นแล้ว ทางที่ดีเราควรหมั่นดูแลรักษาฟันของเราให้สะอาดเพื่อที่ฟันของเราจะได้อยู่กับเราไปนาน ๆ นะคะ    

ติดต่อคลินิกทันตกรรม BPDC

หากต้องการนัดหมายเพื่อปรึกษากับทันตแพทย์เฉพาะทางนัดถอนฟัน

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)
www.bpdcdental.com

#ถอนฟัน #ถอนฟันกราม #คลินิกทันตกรรม #BPDC

บริการทันตกรรมต่างๆ

บริการทันตกรรมต่างๆ

รวมหลากหลายบริการทันตกรรม

         งานทันตกรรมถือเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตของคนเรามากกว่าสมัยโบราณ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากกว่าแต่ก่อน ทำให้การดูแล รักษาเป็นไปได้ง่ายขึ้น สังเกตได้จากคลินิกทันตกรรมมากมายที่เกิดขึ้นมาราวกับดอกเห็ด จากข้อมูลการสำรวจอนามัยและสวัสดิการ พบว่า การใช้บริการทันตกรรมของคนไทยมีแนวโน้มที่จะรักษามากกว่าป้องกัน นอกจาก ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน ที่เรารู้จักกันแล้ว เพื่อน ๆ รู้ไหมคะว่า บริการทันตกรรมมีมากกว่านั้นอีก เราจะไปดูกันค่ะว่าจริง ๆ แล้ว บริการทันตกกรรมมีอะไรบ้าง

ประเภทของงานบริการทันตกรรม
            ตามคลินิกทันตกรรมหลาย ๆ แห่งจะแบ่งงานบริการทันตกรรมออกเป็นหลากหลายประเภท ดังนี้
          1. ทันตกรรมทั่วไป

  • การตรวจเช็คสุขภาพของฟันและช่องปาก ซึ่งถือว่าเป็นบริการที่จำเป็นสำหรับทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งใรผู้ที่ใส่ฟันปลอม การทำรากเทียม และจัดฟัน ทันตแพทย์จะตรวจสุขภาพฟัน เหงือก และช่องปากอย่างละเอียด เพื่อป้องกันสัญญาณของโรคและปัญหาอื่น ๆ ไม่ให้เกิดการลุกลามหรือรุนแรงขึ้น
  • การขูดหินปูน เป็นการขจัดคราบหินปูนที่เกาะอยู่ตามบริเวณฟันและซอกฟัน โดยใช้เครื่องมือทางทันตกรรม ซึ่งการขูดหินปูนนี้เป็นหนึ่งในวิธีป้องกันและรักษาโรคเหงือก
  • การขจัดคราบหรือฟอกฟัน เป็นการขจัดคราบชา กาแฟ บุหรี่ที่ติดแน่นที่ฟัน โดยมี 2 แบบ คือ ทำเองที่บ้าน กับ ทำโดยทันตแพทย์ที่คลินิก

          2. ทันตกรรมหัตถาการ

  • การอุดฟัน คือวิธีการรักษาฟันที่ถูกทำลายจากอาการฟันผุ เป็นการรักษาให้ฟันสามารถกลับมาใช้งานและมีรูปทรงเดิม ซึ่งทันตแพทย์จะนำเนื้อฟันที่ผุออก ทพความสะอาดและทำการเติมวัสดุพิเศษสำหรับอุดฟัน (อะมัลกัม – สีโลหะ กับ เรซินคอมโพซิต – สีเดียวกับฟัน)ลงไป
  • การรักษารากฟัน เป็นกระบวนการกำจัดเนื้อเยื่อที่มีการติดเชื้อในโพรงฟันและคลองรากฟัน การอักเสบของฟัน ร่วมกับการทำความสะอาด อุด และรักษาตัวฟันเพื่อความแข็งแรง กลับมาใช้งานได้ตามปกติ

          3. ทันตกรรมจัดฟัน
         
เป็นการรักษาเพื่อให้ฟันเรียงตัวกันเป็นระเบียบ ให้เกิดความสวยงามและเพื่อสุขอนามัยฟันที่ดี หมดปัญหาเรื่องการสบฟันผิดปกติ โดยใช้เครื่องมือที่ทำจากโลหะคุณภาพ ใช้ติดด้านนอกของผิวฟัน และมีการเปลี่ยนยางทุกเดือน
            4. ทันตกรรมเด็ก

  • การขูดหินปูน หินปูนในเด็กส่วนใหญ่เป็นหินปูนที่ไม่แข็งมาก เกาะตามผิวฟัน แปรงไม่ออก หากมีหินปูนสะสมเป็นจำนวนมาก จะก่อให้เกิดโรคปริทันต์เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่
  • การอุดฟันน้ำนม ในฟันน้ำนมที่ผุไม่ลึก ทันตแพทย์จะทำการอุดให้ แต่ถ้าลึกเข้าไปในโพรงประสาทฟัน ทันตแพทย์จะใช้วิธีรักษาคลองรากฟันแทน
  • การขัดฟันและการเคลือบฟลูออไรด์ เป็นการป้องกันฟันผุ เป็นการทำฟันที่เด็ก ๆ ส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี เพราะไม่เจ็บและไม่น่ากลัว
  • การเคลือบหลุมร่องฟัน เป็นการนำวัสดุคล้ายวัสดุอุดสีเหมือนฟันมาเคลือบปิดทับบนหลุมร่องฟัน เพื่อลดโอกาสที่เศาอาหารจะเข้าไปติด และลดการเกิดฟันผุได้

            5. ทันตกรรมรากเทียม
         
การทำฟันปลอมชนิดรากเทียมหรือชนิดที่ติดแน่นถาวร เป็นการจำลองรากฟันให้ยึดติดกับขากรรไกรเพื่อเติมเต็มให้เหมือนฟันธรรมชาติที่เสียไป ทำให้มีความสวยงาม คงทน และมีประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวเทียบเท่าฟันธรรมชาติ
            6. ทันตกรรมประดิษฐ์

  • สะพานฟัน ใช้ทดแทนฟันที่สูญเสียไป โดยครอบฟันสองซี่ที่อยู่ด้านข้างระหว่างครอบฟัน และทำการทดแทนฟันที่เสียไประหว่างช่องฟันนั้น
  • ครอบฟัน เป็นการบูรณะฟันที่ได้รับความเสียหายหรือแตกหักจากการใช้งานหรือการสบฟัน โดยจะใช้วัสดุสองแบบเซรามิกที่สีใกล้เคียงกับฟันและโลหะผสมเซรามิก
  • ฟันปลอม ชนิดที่ถอดได้และถอดไม่ได้


            7. ศัลยกรรม
 
           ศัลยกรรมในทางทันตกรรมคือ การผ่าฟันคุด ซึ่งเป็นฟันที่ขึ้นช้าและไม่สามารถขึ้นได้เองตามปกติ

            ทั้งหมดนี้คือบริการทันตกรรมที่สามารถพบได้ทั่วไปตามคลินิกต่าง ๆ นำมาฝากไว้เป็นความรู้ให้กับเพื่อน ๆ ก่อนเข้าใช้บริการกันนะคะ

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายทำฟัน

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ทันตกรรม #คลินิกทันตกรรม #BPDC #บริการทันตกรรม

ขั้นตอนการรักษารากฟัน ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

ขั้นตอนการรักษารากฟัน ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

ถ้าพูดถึงการรักษารากฟันแล้วล่ะก็ หลายคนคงคิดกับส่ายหน้า ขยาดกันไปตาม ๆ กัน กลัวในกิตติศัพท์ว่าจะต้องเจ็บมากแน่ ๆ จนมีคนจำนวนไม่น้อย เลือกที่จะปล่อยปะละเลย จนกระทั่งเชื้อโรคลุกลามไปมาก ยากเกินจะแก้ไข หรือกับคนอีกกลุ่มหนึ่งอาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการรักษา จึงยอมที่จะถอนฟันทิ้งไป มองเผิน ๆ การถอนฟันดูไม่น่าเป็นอะไรมาก แต่แท้จริงแล้ว การมีฟันอยู่มันดีกว่าเยอะนะคะ เท่ากับว่าประสิทธิภาพการบดเคี้ยวยังสามารถทำได้ดีกว่าการสูญเสียฟัน วันนี้เราจะพาทุกคนไปดูขั้นตอนการรักษารากฟันกันค่ะ ว่าน่ากลัวอย่างที่กลัวกันหรือเปล่า
            การรักษารากฟันเป็นวิธีที่จะช่วยให้เราลดความสูญเสียฟันลงไปได้ โดยการรักษารากฟันนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ
          1. การรักษารากฟันด้วยวิธีปกติ
         
จะเริ่มจากการที่ทันตแพทย์จะเอกซเรย์เพื่อตรวจวัดความยาวของคลองรากฟัน และจากนั้นทำความสะอาดภายในคลองรากฟันเพื่อเป็นการจัดเนื้อเยื่อที่มีปํญหา รวมถึงแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรค แล้วทันตแพทย์จะใช้วัสดุสำหรับอุดคลองรากฟัน โดยที่ฟันตรงจุดนั้นจะไม่ได้รับการอุดอย่างถาวร จนกว่าจะทำการขจัดเชื้อบริเวณรากฟันดังกล่าวออกไปจนหมดจากโพรงประสาทและคลองรากฟันนั่นเองค่ะ
          2. การรักษาฟันด้วยการผ่าตัดปลายรากฟัน
         
วิธีนี้จะทำก็เมื่อวิธีที่แรกไม่ได้ผล โดยทันตแพทย์จะทำการผ่าตัดในตำแหน่งของปลายรากฟันที่เกิดหนอง จากนั้นจะทำการตัดปลายรากฟันบางส่วน ซึ่งในปัจจุบันนี้ ทันตแพทยน์จะใช้เครื่องมืออย่างกล้องจุลศัลยกรรมในการขยายคลองรากฟันที่มีขนาดเล็กให้ชัดยิ่งขึ้น การใช้เครื่องมือดังกล่าวจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาที่แม่นยำ หลังจากนั้น จะทำการใข้วัสดุเข้าไปอุดในส่วนของปลายรากฟันที่ได้ทำความสะอาดไว้ในตอนแรก วัสดุดังกล่าวนี้นั้นจะไม่ทำให้เกิดผลข้างและอันตรายต่อเนื้อเยื่อภายในรอบ ๆ ปลายรากฟัน

ขั้นตอนในการรักษารากฟัน
            ด้วยความที่รากฟันมีขนาดที่เล็ก จึงต้องมีทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะในการทำการรักษารากฟันโดยเฉพาะ และขั้นตอนในการรักษารากฟัน ก็ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่หลาย ๆ คนคิด ซึ่งจะมีขั้นตอนดังนี้
            1. เริ่มแรก ทันตแพทย์จะฉีดยาชา โดยจะใช้เป็นแผ่นยางบาง ๆ สำหรับแยกฟันที่มีปัญหาออกจากฟันซี่อื่น เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนไปยังฟันซี่ข้าง ๆ กัน
            2. ทันตแพทย์จะจัดการนำเอาฟันที่ผุออก โดยเอาส่วนที่เสียหายออก และกำจัดเนื้อฟันที่อักเสบหรือติดเชื้อออกตั้งแต่ส่วนต้นไปจนถึงส่วนของโพรงประสาทฟัน
            3. ทำความสะอาดรากฟันในส่วนที่ดำเนินการ และนำยาใส่ลงไปในคลองรากฟัน
            4. ใช้วัสดุอุดเพื่อปิดเอาไว้ชั่วคราว เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำ


            อย่างไรก็ตาม การรักษารากฟันอาจจะไม่ได้จบสิ้นในครั้งนี้ จำเป็นต้องใช้เวลาในการรักษาหลายครั้งในการทำความสะอาด นอกจากนี้ ยังต้องเปลี่ยนยาที่ใช้ในคลองรากฟันเพื่อฆ่าเชื้อที่มีอยู่จนกว่าเชื้อนั้นจะหมดไป หรือจะต้องรอจนกว่าการอักเสบนั้นจะหายดี


            อย่างที่กล่าวไว้ในตอนต้นว่าการรักษารากฟันเกิดขึ้นจากการที่ปล่อยละเลย ไม่ดูแลรักษาฟันตั้งแต่ที่เริ่มมีอาการ ทำให้เชื้อโรคนั้นลุกลามจนมีอาการที่รุนแรงมาก และส่งผลให้ประสิทธิภาพการใช้งานลดลง รวมถึงการรักษาก็จะมีความยากขึ้นตามระยะความรุนแรง ดังนั้น เราจึงควรดูแลรักษาความสะอาดของฟันให้ดี เพื่อเป็นการป้องกันในการเกิดโรค สิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงเสมอคือ การป้องกันย่อมเกิดผลที่ดีกว่าการมารักษาแล้ว


สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายรักษารากฟัน

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829

Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental

ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

www.bpdcdental.com

#BPDC #คลินิกทันตกรรม #รักษารากฟัน #รากฟัน #ทำฟัน