ความแตกต่างของทันตกรรมทั่วไปกับทันตกรรมเด็ก

มารู้จักความแตกต่างของทันตกรรมทั่วไปกับทันตกรรมเด็ก

เชื่อแน่ว่าทุกคนจะต้องเคยเข้ารับการทำฟัน ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ อย่างน้อย ๆ ก็ต้องเคยไปตรวจฟัน รักษาฟันในกรณีต่าง ๆ กันมาบ้าง แล้วเคยสังเกตกันไหมคะว่า ในงานทันตกรรมจะมีการแยกระหว่างทันตกรรมทั่วไปและทันตกรรมเด็ก ถึงตรงนี้หลายคนคงเกิดคำถามอยู่ในใจ ว่าแล้วเด็กใช้การรักษาแบบเดียวกับผู้ใหญ่หรือไม่ ทำไมถึงต้องแยกการรักษาของเด็กจัดออกมาเป็นหมวดหมู่เฉพาะทาง งั้นเราไปหาคำตอบพร้อมกันเลยค่ะ กับความแตกต่างของทันตกรรมทั่วไปกับทันตกรรมเด็ก

ทันตกรรมและทันตกรรมทั่วไปเหมือนกันไหม?
         
ทันตกรรม หมายถึง การทำฟัน ซึ่งก็คือการรักษาภาวะหรือโรคที่เกี่ยวข้องกับฟันและเหงือก รวมไปถึงการซ่อมแซมความเสียหายของฟัน
            ทันตกรรมทั่วไป (General practitioner) คือ การตรวจสภาพช่องปากและฟัน การทำความสะอาดและการรักษาสภาพเหงือกและฟัน เพื่อให้มีสุขอนามัยที่ดีและมีอายุการใช้งานได้นาน ประกอบไปด้วย การตรวจวินิจฉัยโรคทางทันตกรรม การขูดหินปูน รักษารากฟัน และขัดฟัน รวมถึงการอุดฟันและถอนฟัน ซึ่งทันตกรรมทั่วไปนั้นเป็นส่วนหนึ่งของทันตกรรมนั่นเองค่ะ

ทำไมต้องมีทันตกรรมสำหรับเด็ก?
         
อย่างที่ได้เกริ่นไปในตอนต้นแล้วว่า ในงานทันตกรรมนั้น ทันตกรรมเด็กถูกจัดเป็นงาน
ทันตกรรมเฉพาะทาง  ทันตกรรมสำหรับเด็ก (Pedodotics) คือ การดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กตั้งแต่ขวบแรกหรือไม่เกิน 6 เดือนหลังจากที่เห็นฟันน้ำนมซี่แรกขึ้นจนถึง 12 ปี ทั้งการรักษาและป้องกันโรคในช่องปาก
            เหตุผลที่จำเป็นต้องมีทันตกรรมสำหรับเด็กโดยเฉพาะ เพราะเด็กยังมีระบบฟันที่ยังไม่สมบูรณ์แข็งแรงแตกต่างจากผู้ใหญ่ จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ทั้งยังมีโอกาสฟันผุมากกว่าผู้ใหญ่เนื่องจากนิสัยการกินของเด็กโดยทั่วไปมีความเสี่ยงมากกว่า ทั้งนี้ เด็กแต่ละคนยังมีอุปนิสัยที่แตกต่างไปเฉพาะบุคคลอีกด้วย การป้องกันโรคในช่องปากตั้งแต่ระยะต้น ๆนั้ นเป็นสิ่งที่จำเป็น โดยมากทันตแพทย์จะเน้นไปที่การป้องกันฟันผุ ผ่านการประเมินความเสี่ยงเกี่ยวกับอาการฟันผุรายบุคคล ซึ่งจะให้คำแนะนำวิธีป้องกันที่เหมาะสมกับเด็กในแต่ละคน รวมไปถึงความสะอาดในช่องปากที่สามารถเริ่มได้จากที่บ้าน การใช้ฟลูออไรด์ การเคลือบหลุมร่องฟันเพื่อป้องกันไม่ให้เด็กเคี้ยวผิวฟัน ฯลฯ ซึ่งล้วนแต่เป็นการรักษาเชิงป้องกันทั้งสิ้น นอกจากนิ้ เป้าหมายของทันตกรรมสำหรับเด็ก คือ การสร้างรอยยิ้มที่สดใสแข็งแรงให้อยู่กับเด็ก ๆ ให้ได้นาน ยิ่งเราใส่ใจสุขภาพฟันของเด็ก ๆ เร็วเท่าไหร่ พวกเขาก็จะมีรอยยิ้มที่สวยงามและแข็งแรงมากขึ้นเท่านั้น เด็ก ๆ จะสามารถเคี้ยวอาหารได้อย่างถูกต้อง พูดออกเสียงอย่างชัดเจน นอกจากนี้ฟันน้ำนมยังเป็นจุดเริ่มต้นของสุขภาพฟันแท้ที่ดีด้วย โดยทั่วไปแล้วหากฟันน้ำนมนั้นแข็งแรง ฟันแท้ที่จะขึ้นต่อมาก็มีแนวโน้มจะแข็งแรงเช่นเดียวกัน ฉะนั้นแล้วการมีรอยยิ้มที่สวยงามตลอดชีวิตนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปได้หากได้รับการดูแลจากทันตแพทย์ตั้งแต่เด็กๆ
            ทันตกรรมสำหรับเด็ก จะประกอบไปด้วย 3 ด้านหลัก ๆ ได้แก่
            1. ทันตกรรมเชิงป้องกัน เช่น ตรวจฟันผุ รักษาด้วยฟลูออไรด์ เคลือบหลุมร่องฟัน
            2. ทันตกรรมฟื้นฟู (Restorative dental service) เช่น อุดฟัน ใส่ครอบฟัน
            3. การเติบโตและพัฒนาการของฟัน เช่น การกัดฟัน การสบฟัน ฟันซ้อน ฟันเก

ทำไมต้องไปหาหมอฟันเด็ก?
         
ทันตแพทย์สำหรับเด็กจะทำหัตถาการทางทันตกรรมที่เหมือนทันตแพทย์ทั่วไป ต่างกันตรงที่ทันตแพทย์สำหรับเด็กจะต้องเรียนเฉพาะทาง อบรมเพื่อให้พร้อมที่จะรับมือกับสถานการณ์ด้านพฤติกรรมของเด็กทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เด็กแต่ละคนจะสนองการเข้ารับการตรวจที่แตกต่างกัน ซึ่งเด็กที่ไม่คุ้นเคยกับการไปพบทันตแพทย์จะวิตกกังวลและหวาดกลัวเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่คุ้นเคย ดังนั้นทันตกแพทย์เด็กจะมีวิธีการในการจัดการกับสถานการณ์เช่นนั้นได้ดีกว่า และเหมาะสมกับวัยของเด็ก กล่าวโดยสรุป ทันตกรรมเด็กเป็นสาขาเฉพาะทางซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทันตกรรมนั่นเองค่ะ เราจึงควรเลือกทันตกรรมที่เหมาะสมกับช่วงวัยเพื่อให้ประสิทธิภาพในการรักษาที่ดีที่สุด


ใกล้จะปิดเทอมแล้ว คลินิกทันตกรรม BPDC ขอมอบสิทธิพิเศษให้เด็กๆ เพียงจองออนไลน์ ทำนัดหมายกับเรา เพื่อเคลือบฟลูออไรด์ ราคาเดียว 490 บาท * (ราคาปกติ 890 บาท)

? ลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันนี้ – 30 กันยายน 2563  ลงทะเบียนล่วงหน้า 3 วันทำการ

เพราะเด็กๆ ก็มีหัวใจ อยากยิ้มสวยไร้ฟันผุ ฟันผุป้องกันได้

“เพียงพบทันตแพทย์ ทุกๆ 6 เดือน”

ติดต่อคลินิกทันตกรรม BPDC

หากต้องการนัดหมายเพื่อปรึกษากับทันตแพทย์เฉพาะทางสำหรับเด็ก

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829

Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental

ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

www.bpdcdental.com

#BPDC #คลินิกทันตกรรม #ทันตกรรมเด็ก #เคลือบฟลูออไรด์


Comments are closed.