ทำฟันเด็กยุคใหม่ ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

ทำฟันเด็กยุคใหม่ ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด พร้อมเคล็ดลับดูแลสุขภาพฟันเด็ก

ทำฟันเด็กยุคใหม่ ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด พร้อมเคล็ดลับดูแลสุขภาพฟันเด็ก

นอกจากการตัดผมแล้ว สิ่งที่เด็กกลัวมากที่สุดก็คือการไปหาหมอฟัน เรียกว่าปราบเซียนคุณพ่อคุณแม่ในหลาย ๆ บ้านก็ว่าได้ แต่เดี๋ยวนี้เทคโนโลยีและทักษะของทันตแพทย์ก็ทำให้การทำฟันเด็กไม่น่ากลัวอย่างที่คิดแล้วค่ะ เพราะฉะนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรเริ่มดูแลรักษาฟันของลูกตั้งแต่ช่วงวัยเด็ก เพื่อเป็นรากฐานที่ดีในการดูแลฟันเมื่อโตขึ้น เราจะมาดูกันว่าทำฟันเด็กในยุคนี้มีอะไรบ้าง พร้อมแนะการดูแลสุขภาพฟันเด็กมาฝากกัน

รู้หรือไม่ว่าการทำฟันเด็กจัดว่าเป็นทันตกรรมเฉพาะทาง

ขึ้นชื่อว่าเด็กก็เป็นอะไรที่ทันตแพทย์หลายคนขยาดไม่แพ้กับเด็กที่กลัวหมอฟันเลยค่ะ ทันตกรรมสำหรับเด็ก (Pedodotics) คือ การดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กตั้งแต่ขวบแรกหรือไม่เกิน 6 เดือนหลังจากที่เห็นฟันน้ำนมซี่แรกขึ้นจนถึง 12 ปี ทั้งการรักษาและป้องกันโรคในช่องปาก ส่วนสาเหตุที่การทำฟันเป็นทันตกรรมเฉพาะทาง เนื่องจากเด็กยังมีระบบฟันที่ยังไม่สมบูรณ์แข็งแรงแตกต่างจากผู้ใหญ่ จึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ทั้งยังมีโอกาสฟันผุมากกว่าผู้ใหญ่เนื่องจากนิสัยการกินของเด็กโดยทั่วไปมีความเสี่ยงมากกว่า โดยมากทันตแพทย์จะเน้นไปที่การป้องกันฟันผุ ผ่านการประเมินความเสี่ยงเกี่ยวกับอาการฟันผุรายบุคคล ซึ่งจะให้คำแนะนำวิธีป้องกันที่เหมาะสมกับเด็กในแต่ละคน รวมไปถึงความสะอาดในช่องปากที่สามารถเริ่มได้จากที่บ้าน การใช้ฟลูออไรด์ การเคลือบหลุมร่องฟันเพื่อป้องกันไม่ให้เด็กเคี้ยวผิวฟัน ฯลฯ ซึ่งล้วนแต่เป็นการรักษาเชิงป้องกัน

เป้าหมายสำหรับการทำฟันเด็ก คือการปกป้องฟันให้แข็งแรงและมีรอยยิ้มที่สดใสอยู่เสมอ โดยการทำฟันเด็กหลัก ๆ มีด้วยกัน 3 อย่าง ได้แก่

  1. ทันตกรรมเชิงป้องกัน เช่น ตรวจฟันผุ รักษาด้วยฟลูออไรด์ เคลือบหลุมร่องฟัน
  2. ทันตกรรมฟื้นฟู เช่น อุดฟัน ใส่ครอบฟัน
  3. การเติบโตและพัฒนาการของฟัน เช่น การกัดฟัน การสบฟัน ฟันซ้อน ฟันเก

การดูแลสุขภาพฟันเด็ก

สิ่งสำคัญที่จะช่วยปกป้องฟันของเด็ก ๆ ได้ คือคุณพ่อคุณแม่จะต้องดูแลสุขภาพช่องปากและฟันของเด็กอย่างถูกต้องตั้งแต่เด็กเป็นการลงทุนในสุขภาพที่สามารถปันผลให้ได้ตลอดชีวิต โดยสามารถปฏิบัติได้ดังนี้

  1. ทำตัวให้เป็นแบบอย่างที่ดีในการดูแลสุขภาพฟันของตัวเอง

การดูแลสุขภาพปากและฟันของคุณเองอย่างดีเพื่อที่จะแสดงให้เด็กเห็นว่าสุขภาพปากและฟันเป็นสิ่งที่มีค่า นอกจากนี้ อะไรก็ตามที่ช่วยให้เด็กรู้สึกว่าการดูแลสุขภาพปากและฟันเป็นเรื่องสนุก เช่น การแปรงฟันไปกับลูกของคุณ การให้เด็กเลือกแปรงสีฟันด้วยตนเอง ก็จะช่วยให้สนับสนุนการดูแลสุขภาพปากและฟันอย่างเหมาะสมกับเด็กได้

  1. สอนวิธีการแปรงฟันอย่างถูกวิธีให้กับเด็ก

แปรงฟันวันละ 2 ครั้งด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ที่ผ่านการรับรองจาก ADA เพื่อกำจัดคราบแบคทีเรียที่ทำให้เกิดฟันผุ โดยใช้การแปรงแห้ง โดยไม่บ้วนปากหรือบ้วนเพียงน้ำเดียว และแปรงให้นานเพียงพอด้วยยาสีฟันฟลูออไรด์และขนแปรงที่อ่อนนุ่ม แปรงทีละซี่ขึ้นลงเบา ๆ โดยคุณพ่อคุณแม่ควรช่วยแปรงซ้ำในบริเวณที่เด็กแปรงไม่ถึง และต้องไม่ลืมที่จะแปรงลิ้นของเด็กด้วย

  1. ใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ

นอกจากการแปรงฟันแล้ว สิ่งสำคัญคุณพ่อคุณแม่ควรใช้ไหมขัดฟันให้เด็กเป็นประจำตั้งแต่อายุ 4 ขวบขึ้นไป โดยเด็กส่วนใหญ่จะทำได้เองตอนอายุ 8 ขวบ เพื่อกำจัดคราบแบคทีเรียตามซอกฟันและร่องเหงือก ก่อนที่จะจับตัวแข็งเป็นหินปูน เพราะเมื่อหินปูนก่อตัว ต้องใช้การทำความสะอาดโดยผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

  1. รับประทานอาหารที่ถูกสัดส่วน

ควรจำกัดปริมาณแป้งและน้ำตาลซึ่งจะสร้างกรดแบคทีเรียที่ทำให้เกิดฟันผุ เมื่อต้องรับประมานอาหารเหล่านั้น ควรรับประทานไปกับมื้ออาหารหลัก แทนที่จะเป็นอาหารว่าง เนื่องจากน้ำลายที่ถูกผลิตออกมาในปริมาณมากช่วงมื้ออาหารจะช่วยขจัดคราบอาหารออกจากปากได้

  1. พาเด็กไปพบทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอ

ควรพาเด็กไปพบทันตแพทย์ทุก ๆ 6 เดือน เพื่อตรวจประเมินฟันผุ ทำความสะอาดฟัน และเคลือบฟลูออไรด์

นอกจากการเอาใจใส่จากคุณพ่อคุณแม่แล้ว สิ่งสำคัญคือคุณพ่อคุณแม่จะต้องช่วยให้เด็กเห็นความสำคัญต่อการดูแลฟันของตัวเองเพื่อเป็นรากฐานการดูแลที่ดีเมื่อโตขึ้น

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายทำฟันเด็ก
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ทำฟันเด็ก #ทันตกรรมเด็ก

รีวิวเคสทันตกรรมเด็ก

รีวิวเคสทันตกรรมเด็ก

ฟันผุในเด็กเล็ก สาเหตุหลัก มักเกิดจากการรับประทานนมมื้อดึก ทั้งการหลับคาเต้า และหลับคาขวดนม หรือรับประทานนมระหว่างคืนหลายครั้ง ร่วมกับการแปรงฟันที่ไม่เหมาะสม

หากบุตรหลานของท่านมีฟันผุบริเวณฟันหน้า ควรพบทันตแพทย์เด็ก เพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสมอย่างทันท่วงที ไม่ควรรอจนปวดบวมหรือมีอาการ  เนื่องจากหากปล่อยฟันผุเป็นระยะเวลานานอาจจะให้เด็กปวดฟัน บวมที่เหงือกและใบหน้า ติดเชื้อได้ หากมีอาการดังกล่าว จะทำให้การรักษาทางทันตกรรมซับซ้อนมากขึ้น มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น และทำให้เด็กร่วมมือต่อการรักษาลดลง

รูปแสดงฟันผุ บริเวณฟันหน้าบนจากการรับประทานขวดนม

ทางเลือกในการรักษาของเด็กที่มีฟันหน้าผุ

1.หากฟันผุไม่ลุกลาม หรือเป็นฟันผุระยะเริ่มแรกยังไม่เป็นรู อาจใช้การติดตามอาการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานนม แปรงฟัน ร่วมกับการใช้ฟลูออไรด์ความเข้มข้นสูงทุก 3 เดือน เพื่อช่วยหยุดยั้งการลุกลามของโรคฟันผุ

2.อุดฟัน ทำในกรณีเป็นฟันผุลุกลาม ขนาดเล็ก

3. กรณีฟันผุลุกลามขนาดใหญ่ ที่ไม่สามารถบูรณะด้วยการอุดฟันได้ หรือในฟันหนึ่งซี่มีฟันผุหลายด้านหรือหลายตำแหน่ง จำเป็นจะต้องบูรณะฟันด้วยการทำ ครอบฟันน้ำนม

ครอบฟันน้ำนม มีกี่แบบ?

1.ครอบฟันสีเงิน หรือครอบฟันสแตนเลส : สามารถทำได้ง่ายและรวดเร็ว ราคาไม่แพง ข้อเสียที่สำคัญคือ ไม่สวย เนื่องจากยิ้มมาแล้วจะเป็นสีเงิน

ครอบฟันสีเงิน หรือ ครอบฟันสแตนเลส

2.ครอบฟันสีเงิน ร่วมกับการอุดฟันปิดสีเงินด้วยวัสดุอุดฟันบริเวณด้านหน้า : มีความสวยงามมากขึ้น แต่ยังเห็นเงาสะท้อนของสีเงินด้านในอยู่. และเด็กต้องร่วมมือในการรักษา. หากเด็กไม่ร่วมมือจะทำได้ยาก

ด้านหน้าอุดปิดสีเงิน / ด้านหลังเป็นครอบฟันสีเงิน

3.ครอบฟันสีเหมือนฟัน. หรือครอบฟันเซรามิก : ครอบฟันแบบนี้จะมีความสวยที่สุด เนื่องจากสีของครอบฟันเป็นสีเหมือนฟัน

ครอบฟันสีเหมือนฟัน
ครอบฟันหน้าเซรามิกสำหรับเด็ก
ครอบฟันเซรามิก

ติดต่อสอบถามข้อมูล “ทำฟันเด็ก” เพิ่มเติมได้ที่

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#รีวิวเคสทันตกรรมเด็กBPDC #ครอบฟันน้ำนม #ทำฟันเด็ก #ทำฟันเด็กบางพลี #ทำฟันเด็กบางนา

ทันตกรรมสำหรับเด็ก

ทันตกรรมสำหรับเด็ก

บริการให้คำปรึกษา ดูแลรักษาฟันน้ำนม ตรวจสุขภาพฟัน โดยทันตแพทย์เฉพาะทางด้านเด็กซึ่งถูกอบรมมาโดยเฉพาะในการรักษาเด็กเล็ก ถ้าลูกของคุณกลัวการทำฟัน จะเป็นการดีอย่างมากที่จะพามาพบทันตแพทย์เฉพาะทางด้านเด็ก

ในการพาเด็กๆ ไปพบหมอฟัน ทันตแพทย์จะตรวจประเมินสุขภาพช่องปากและความเสี่ยงของการเกิดฟันผุตามระยะเวลาต่างๆ

ตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน
การดูดนิ้ว
การสบฟันที่ผิดปกติ

ในการตรวจสุขภาพฟันประจำปี ทันตแพทย์จะช่วยตรวจจุดที่อาจจะมีฟันผุ และขัดฟันทำความสะอาดให้ เมื่อปัญหาของฟันถูกพบในระยะเริ่มต้น การรักษาจะง่ายและไม่เจ็บปวด

การใส่เครื่องมือกันฟันล้มเพื่อคงช่องว่างไว้ให้ฟันแท้ขึ้นลดปัญหาฟันซ้อนเก
ทันตแพทย์เฉพาะทางด้านเด็กจะแนะนำให้ทำเครื่องมือกันฟันล้ม ในกรณีที่ลูกของคุณสูยเสียฟันน้ำนมไปก่อนเวลาที่เหมาะสม เครื่องมือนี้จะคงช่องว่างไว้เพื่อให้ฟันแท้ขึ้นมาในตำแหน่งดังกล่าว

การเคลือบหลุมร่องฟัน
คือ การเคลือบฟัน (Sealant) บริเวณด้านบดเคี้ยวของฟันกราม ช่วยปิดบริเวณหลุมและร่องฟันที่ลึกไม่ให้สิ่งสกปรกลงไปสะสมและสามารถแปรงฟันทาความสะอาดได้ง่ายขึ้นเป็นการป้องกันฟันผุ

ในการถอนฟัน ทันตแพทย์จะทำให้ฟันหลวมออกจากกระดูกขาขากรรไกรและเส้นเอ็น จากนั้นใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่าคีมหรือปากคีบจับฟันแล้วค่อย ๆ ดึงออกมา ทั้งนี้ฟันที่ถอนยาก ไม่สามารถเอาออกมาได้ในคราวเดียว อาจต้องถอนโดยแยกเป็นชิ้นส่วนหลายครั้ง

การอุดฟัน เป็นวิธีการเปลี่ยนฟันที่เสียหาย เช่น ฟันผุ หรือฟันแตก นอกจากนี้เรายังสามารถใช้การอุดฟันในกรณีของความสวยงามได้ด้วย เช่น การปิดช่องว่างระหว่างฟัน

เพื่อป้องกันฟันผุ ทันตแพทย์จะแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ดูแลสุขภาพฟันของลูก ดูแลฟัน ทำความสะอาดช่องปาก และแปรงฟันอย่างถูกวิธี และแนะนำให้ลูกเคลือบฟลูออไรด์ที่อย่างน้อยปีละ 2 ครั้งเพื่อสุขภาพฟันที่แข็งแรง และดำเนินการรักษาอย่างทันท่วงทีหากตรวจพบว่าลูกมีฟันผุ

เพราะเด็กๆ ก็มีหัวใจ อยากยิ้มสวยไร้ฟันผุ ฟันผุป้องกันได้ “เพียงพบทันตแพทย์ ทุกๆ 6 เดือน”.ติดต่อนัดเคลือบฟลูออไรด์ นัดหมายเพื่อปรึกษากับทันตแพทย์เฉพาะทางสำหรับเด็ก.โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental

ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก).www.bpdcdental.com.ซื้อคูปองผ่าน Line Shop : https://shop.line.me/@bpdc.

#BPDC#คลินิกทันตกรรม #ทันตกรรมเด็ก #เคลือบฟลูออไรด์

การดูแลฟันตามช่วงอายุของเด็ก

การดูแลฟันตามช่วงอายุของเด็ก

การดูแลฟันตามช่วงอายุ

ฟันเด็กๆมีพัฒนาการของกล้ามเนื้อมือที่แตกต่างตามวัย
จึงมีวิธีการทำความสะอาดช่องปากที่แตกต่างกันนะคะ
เรามาช่วยดูแลเด็กๆให้ฟันสะอาดกันค่า

  1. ช่วงที่ไม่มีฟัน คือโอกาสทองทำให้เด็กคุ้นเคยกับการทำความสะอาดช่องปากและจะทำให้เมื่อโตขึ้นมาเขาจะชอบการแปรงฟันได้ง่ายมากขึ้น

ทำง่ายๆ โดยการเช็ดเหงือกและลิ้นด้วยผ้าสะอาดชุบน้ำหมาดๆ ช่วงเช้าและก่อนนอน

  1. เรามาแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ให้เด็กๆตั้งแต่ซี่แรกกันนะคะ

เคล็ดลับ คือทำให้เด็กอยู่นิ่ง จับเด็กให้นอนบนตัก ถ้าเด็กดิ้น อาจมีการใช้ขาหรือมีคนช่วยยึดตัวให้เด็กนิ่งขึ้น แล้วแหวกริมฝีปากให้เห็นฟันแต่ละซี่ชัดๆ แปรงถูไปมา 10 ครั้งต่อซี่ เราลองนับ 1-10 ช่วยให้เด็กและเราใจเย็นขึ้นด้วยค่ะ

  1. ช่วงเด็ก 1-3 ปี ผู้ปกครองยังต้องแปรงฟันให้เด็ก โดยให้เด็กนอนหนุนตัก เพื่อให้เห็นทุกซี่ แปรงฟันถูไปมาแนวขวาง 10-15 ครั้งต่อซี่ ทุกซี่

ช่วงนี้คุณพ่อคุณแม่หาวิธีเชิญชวนได้มากมายเลย ร้องเพลง เล่านิทาน จัดไปเลยค่ะ

  1. ช่วงเด็ก 3-6 ปี เด็กอาจอยากลองแปรงฟันเองแล้ว แต่กล้ามเนื้อมืออาจยังทำได้ไม่ดี
    ผู้ปกครองยังคงต้องแปรงฟันให้เด็กโดยถูไปมาแนวขวาง 10-15 ครั้งต่อซี่ ทุกซี่ ถ้าเด็กเริ่มโต ผู้ปกครองอาจยืนอยู่ด้านหลังตัวเด็กเพื่อช่วยแปรงให้เด็ก หรือแปรงซ้ำให้เขานะคะ
  2. อายุ 6 ปี ขึ้นไปเด็กอาจเริ่มแปรงฟันด้วยตัวเองมากขึ้น อย่างไรก็ตาม กล้ามเนื้อมือเขาก็ยังไม่พร้อมนัก
    ผู้ปกครอง ต้องช่วยตรวจความสะอาดและแปรงซ้ำให้เด็ก นะคะ สู้ๆนะคะ
    ปล. ยังแปรงฟันถูไปมาแนวขวาง 10-15 ครั้งต่อซี่ ทุกซี่ค่ะ

เพราะเด็กๆ ก็มีหัวใจ อยากยิ้มสวยไร้ฟันผุ ฟันผุป้องกันได้

“เพียงพบทันตแพทย์ ทุกๆ 6 เดือน”

ติดต่อคลินิกทันตกรรม BPDC

หากต้องการนัดหมายเพื่อปรึกษากับทันตแพทย์เฉพาะทางสำหรับเด็ก

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829

Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental

ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

www.bpdcdental.com

#BPDC #คลินิกทันตกรรม #ทันตกรรมเด็ก #เคลือบฟลูออไรด์