อายุที่เหมาะในการจัดฟัน การจัดฟันสำหรับเด็กๆ ผู้ปกครองส่วนใหญ่มักจะมีคำถามเรื่องนี้บ่อยๆ เกี่ยวกับอายุเท่าไหร่ควรจัดฟันดี ซึ่งวันนี้เรามีคำแนะนำจากทีมแพทย์ทันตกรรมเฉพาะทางมาแนะนำกันค่ะ "อายุที่เหมาะสม"กับการจัดฟัน โดยทั่วไปคือ 12-15 ปี วัยรุ่น เรียนชั้นมัธยมค่ะ เป็นช่วงที่ฟันน้ำนมหลุดหมดแล้ว และฟันแท้ก็ขึ้นมาครบแล้ว หรืออาจจะพิจารณาจากการพัฒนาของกะโหลกศีรษะและใบหน้าด้วยค่ะ การจัดฟันตามอายุ จะแบ่งเป็น 3 วัย 1. วัยเด็ก (ระยะชุดฟันผสม) เป็นระยะที่ฟันหน้าและฟันกรามถาวรซี่แรกขึ้นเรียบร้อยแล้ว ควรจัดฟัน เพื่อแก้นิสัยหรือความผิดปกติที่เกิดจากขากรรไกร โดยมีเครื่องมือชักนำและปรับเปลี่ยนทิศทางการเจริญเติบโตของฟัน 2. วัยรุ่น (ระยะฟันถาวร) เป็นระยะที่ฟันแท้ถาวรจะขึ้นเรียบร้อยแล้ว เป็นระยะที่เหมาะสมในการจัดฟันเพื่อแก้ไขตำแหน่งฟันผิดปกติ เช่นอาจจะต้อถอนฟันบางซี่เพื่อจัดระเบียบ 3. วัยผู้ใหญ่ การจัดฟันแก้ไขได้เฉพาะความผิดปกติของตำแหน่งฟันและเป็นวัยที่พอจะมีเงินในการจัดฟัน รวมถึงเริ่มรักสวยรักงาม เปลี่ยนแปลงตัวเอง คุณหมอแนะนำมาว่า หากต้องการจัดฟันตั้งแต่เด็กๆ ควรเลือกใส่เครื่องมือจัดฟันแบบถอดได้นะ เพื่อช่วยแก้ไขได้ง่ายๆ เลี่ยงการรักษาที่ยุ่งยากซับซ้อนในอนาคต ดังนั้น การพาเด็กๆ พบทันตแพทย์บ่อยๆ เป็นประจำตรวจฟันตั้งแต่เล็ก จะได้รีบรักษา รวมทั้งให้วิธีการป้องกันฟันผุและเพื่อตรวจพบความผิดปกติของการเรียงตัวของฟันแต่เนิ่นๆ และจะได้วางแผนเวลา และวิธีการรักษาที่เหมาะสม สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายจัดฟัน โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829 Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก) www.bpdcdental.com #BPDC #คลินิกทันตกรรม #จัดฟัน #จัดฟันเด็ก

อายุที่เหมาะในการจัดฟัน

อายุที่เหมาะในการจัดฟัน

การจัดฟันสำหรับเด็กๆ ผู้ปกครองส่วนใหญ่มักจะมีคำถามเรื่องนี้บ่อยๆ เกี่ยวกับอายุเท่าไหร่ควรจัดฟันดี ซึ่งวันนี้เรามีคำแนะนำจากทีมแพทย์ทันตกรรมเฉพาะทางมาแนะนำกันค่ะ

“อายุที่เหมาะสม”กับการจัดฟัน โดยทั่วไปคือ 12-15 ปี วัยรุ่น เรียนชั้นมัธยมค่ะ เป็นช่วงที่ฟันน้ำนมหลุดหมดแล้ว และฟันแท้ก็ขึ้นมาครบแล้ว หรืออาจจะพิจารณาจากการพัฒนาของกะโหลกศีรษะและใบหน้าด้วยค่ะ

การจัดฟันตามอายุ จะแบ่งเป็น 3 วัย

  1. วัยเด็ก (ระยะชุดฟันผสม) เป็นระยะที่ฟันหน้าและฟันกรามถาวรซี่แรกขึ้นเรียบร้อยแล้ว ควรจัดฟัน เพื่อแก้นิสัยหรือความผิดปกติที่เกิดจากขากรรไกร โดยมีเครื่องมือชักนำและปรับเปลี่ยนทิศทางการเจริญเติบโตของฟัน
  2. วัยรุ่น (ระยะฟันถาวร) เป็นระยะที่ฟันแท้ถาวรจะขึ้นเรียบร้อยแล้ว เป็นระยะที่เหมาะสมในการจัดฟันเพื่อแก้ไขตำแหน่งฟันผิดปกติ เช่นอาจจะต้อถอนฟันบางซี่เพื่อจัดระเบียบ
  3. วัยผู้ใหญ่ การจัดฟันแก้ไขได้เฉพาะความผิดปกติของตำแหน่งฟันและเป็นวัยที่พอจะมีเงินในการจัดฟัน รวมถึงเริ่มรักสวยรักงาม เปลี่ยนแปลงตัวเอง

คุณหมอแนะนำมาว่า ข้อดีของการจัดฟันตั้งแต่เด็กๆ ควรเลือกใส่เครื่องมือจัดฟันแบบถอดได้นะ เพื่อช่วยแก้ไขได้ง่ายๆ เลี่ยงการรักษาที่ยุ่งยากซับซ้อนในอนาคต

ดังนั้น การพาเด็กๆ พบทันตแพทย์บ่อยๆ เป็นประจำตรวจฟันตั้งแต่เล็ก จะได้รีบรักษา รวมทั้งให้วิธีการป้องกันฟันผุและเพื่อตรวจพบความผิดปกติของการเรียงตัวของฟันแต่เนิ่นๆ และจะได้วางแผนเวลา และวิธีการรักษาที่เหมาะสม อ่านเพิ่มเติม จัดฟันมีกี่แบบ

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายจัดฟัน

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)
www.bpdcdental.com

BPDC #คลินิกทันตกรรม #จัดฟัน #จัดฟันเด็ก

การดูแลฟันตามช่วงอายุของเด็ก

การดูแลฟันตามช่วงอายุของเด็ก

การดูแลฟันตามช่วงอายุ

ฟันเด็กๆมีพัฒนาการของกล้ามเนื้อมือที่แตกต่างตามวัย
จึงมีวิธีการทำความสะอาดช่องปากที่แตกต่างกันนะคะ
เรามาช่วยดูแลเด็กๆให้ฟันสะอาดกันค่า

  1. ช่วงที่ไม่มีฟัน คือโอกาสทองทำให้เด็กคุ้นเคยกับการทำความสะอาดช่องปากและจะทำให้เมื่อโตขึ้นมาเขาจะชอบการแปรงฟันได้ง่ายมากขึ้น

ทำง่ายๆ โดยการเช็ดเหงือกและลิ้นด้วยผ้าสะอาดชุบน้ำหมาดๆ ช่วงเช้าและก่อนนอน

  1. เรามาแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ให้เด็กๆตั้งแต่ซี่แรกกันนะคะ

เคล็ดลับ คือทำให้เด็กอยู่นิ่ง จับเด็กให้นอนบนตัก ถ้าเด็กดิ้น อาจมีการใช้ขาหรือมีคนช่วยยึดตัวให้เด็กนิ่งขึ้น แล้วแหวกริมฝีปากให้เห็นฟันแต่ละซี่ชัดๆ แปรงถูไปมา 10 ครั้งต่อซี่ เราลองนับ 1-10 ช่วยให้เด็กและเราใจเย็นขึ้นด้วยค่ะ

  1. ช่วงเด็ก 1-3 ปี ผู้ปกครองยังต้องแปรงฟันให้เด็ก โดยให้เด็กนอนหนุนตัก เพื่อให้เห็นทุกซี่ แปรงฟันถูไปมาแนวขวาง 10-15 ครั้งต่อซี่ ทุกซี่

ช่วงนี้คุณพ่อคุณแม่หาวิธีเชิญชวนได้มากมายเลย ร้องเพลง เล่านิทาน จัดไปเลยค่ะ

  1. ช่วงเด็ก 3-6 ปี เด็กอาจอยากลองแปรงฟันเองแล้ว แต่กล้ามเนื้อมืออาจยังทำได้ไม่ดี
    ผู้ปกครองยังคงต้องแปรงฟันให้เด็กโดยถูไปมาแนวขวาง 10-15 ครั้งต่อซี่ ทุกซี่ ถ้าเด็กเริ่มโต ผู้ปกครองอาจยืนอยู่ด้านหลังตัวเด็กเพื่อช่วยแปรงให้เด็ก หรือแปรงซ้ำให้เขานะคะ
  2. อายุ 6 ปี ขึ้นไปเด็กอาจเริ่มแปรงฟันด้วยตัวเองมากขึ้น อย่างไรก็ตาม กล้ามเนื้อมือเขาก็ยังไม่พร้อมนัก
    ผู้ปกครอง ต้องช่วยตรวจความสะอาดและแปรงซ้ำให้เด็ก นะคะ สู้ๆนะคะ
    ปล. ยังแปรงฟันถูไปมาแนวขวาง 10-15 ครั้งต่อซี่ ทุกซี่ค่ะ

เพราะเด็กๆ ก็มีหัวใจ อยากยิ้มสวยไร้ฟันผุ ฟันผุป้องกันได้

“เพียงพบทันตแพทย์ ทุกๆ 6 เดือน”

ติดต่อคลินิกทันตกรรม BPDC

หากต้องการนัดหมายเพื่อปรึกษากับทันตแพทย์เฉพาะทางสำหรับเด็ก

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829

Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental

ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

www.bpdcdental.com

#BPDC #คลินิกทันตกรรม #ทันตกรรมเด็ก #เคลือบฟลูออไรด์

ตามไปดู ขั้นตอนการถอนฟันกราม

ตามไปดู ขั้นตอนการถอนฟันกราม

คงไม่มีใครอยากจะสูญเสียฟันไปถ้าไม่จำเป็น จริงไหมคะ เพราะฟันนั้นเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิต ในด้านการบดเคี้ยวอาหาร ถ้าหากเกิดอะไรขึ้นกับฟันเพียงหนึ่งซี่ ประสิทธิภาพการบดเคี้ยวก็จะลดลงตามไปด้วย แต่ทว่า ในบางกรณีก็ไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงได้ หากเราได้รู้ถึงกระบวนการในการถอนฟันกราม เราก็จะเข้าใจและเตรียมตัวพร้อมรับการถอนและการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องหลังจากถอนฟันแล้ว

การเตรียมตัวก่อนการถอนฟันกราม

          โดยทั่วไปแล้วการถอนฟันกรามเป็นงานทันตกรรมที่ค่อนข้างปลอดภัย แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ หากกระบวนการถอนและดูแลหลังจากการถอนไม่ถูกต้องมากพอ การเตรียมตัวก่อนการถอนฟันกรามจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ซึ่งทำได้ดังนี้
            1. ควรเตรียมร่างกายให้พร้อม ด้วยการนอนหลับพักผ่อนอย่างพอเพียง
            2. ทำใจให้สบาย หากพบว่าตัวเองมีอาการเครียดและกลัวมาก ๆ ควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบ
            3. สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีประวัติโรคเลือด เลือดออกง่าย หยุดยาก ควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบก่อนการถอนฟันกราม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายขึ้นหลังจากการถอนฟัน
            4. ทานอาหารแต่พอประมาณ อย่าปล่อยให้หิวหรือท้องว่างนานไป เนื่องจากหลังจากถอนฟัน คุณจะไม่สามารถทานอะไรได้ในช่วง 1 – 2  ชั่วโมงแรก จำเป็นต้องกัดผ้าก็อซไว้เพื่อให้เลือดหยุดไหล
            5. ในขณะเดียวกัน ไม่ควรทานอาหารมากเกินไป เพราะอาจจะเกิดอาการแทรกซ้อนหลังจากการถอนฟัน ซึ่งสามารถเกิดปัญหาทางเดินหายใจอุดตันจากการสำลักอาหารได้

ขั้นตอนการถอนฟันกราม

          กระบวนการถอนฟันกรามโดยทั่วไปนั้นทำได้ไม่ยาก สามารถถอนมาได้โดยปกติ แต่อาจจะใช้เวลาที่นานกว่าฟันซี่อื่น ๆ หากฟันกรามซี่นั้นไม่มีความปกติ มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
            1. ทันตแพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจสอบประวัติทางการแพทย์และประวัติทางทันตกรรม รวมถึงวางแผนการถอน แล้วทำการเอกซเรย์ฟัน ซึ่งการเอกซเรย์จะทำให้เห็นลักษณะ รูปร่าง ความยาว และตำแหน่งของฟัน รวมถึงกระดูกบริเวณรอบ ๆ ฟัน ข้อมูลส่วนนี้จะทำให้ทันตแพทย์สามารถประเมินระดับความยากง่ายในการถอนฟันได้
            2. ก่อนการถอนฟันกราม ทันตแพทย์จะทำการฉีดยาชาบริเวณรอบ ๆ ฟันที่จะถอน
            3. เมื่อทันตแพทย์ทดสอบว่ายาชาได้ออกฤทธิ์เต็มที่แล้ว ในการถอนฟันกรามธรรมดานั้น ทันตแพทย์จะใช้เครื่องมือสำหรับแซะเพื่อทำให้ฟันหลวมออกจากเหงือก จากนั้นจะใช้คีมถอนฟันเพื่อถอนฟันออกมาในกรณีที่ยังมีเนื้อฟันเหลืออยู่มากพอสมควร ซึ่งจะไม่ใช้ในกรณีที่ฟันผุลึกถึงราก ตะทำให้ฟันเปราะแตกหักง่าย ซึ่งในกรณีของฟันกรามที่ถอนยาก ทันตแพทย์อาจจะต้องใช้การถอนโดยการแบ่งฟัน ซึ่งเป็นวิธีการถอนฟันเพื่อให้สะดวกในการนำฟันและรากฟันออกทีละส่วน
            4. หลังการถอนแล้ว ตามธรรมชาติร่างกายจะทำการสร้างลิ่มเลือดออกมาเพื่อปิดบาดแผลเอาไว้ จากนั้นทันตแพทย์จะพับผ้าก็อซมาวางไว้บนแผลเพื่อกัดในการห้ามเลือด ซึ่งในบางกรณีอาจจำเป็นต้องเย็บแผลเพื่อปิดขอบเหงือกเหนือแผลที่ถอนฟันกราม และเดี๋ยวนี้คลินิกส่วนใหญ่ใช้ไหมละลายกันหมดแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องกลับไปให้หมอตัดไหมให้อีก

การดูแลตัวเองหลังการถอนฟันกราม

            1. กัดผ้าก็อซให้แน่นประมาณ 1 ชั่วโมง หากมีเลือดหรือน้ำลายควรกลืน ไม่ควรบ้วนทิ้ง
            2. งดการสนทนาในช่วงที่กัดผ้าก๊อซ เนื่องจากการพูดคุยจะทำให้ปากของเราคลาย ไม่สามารถกัดผ้าก็อซได้ นั่นจะส่งผลให้เลือดหยุดไหลช้า
            3. เมื่อครบ 1 ชั่วโมงให้คายผ้าก็อซทิ้ง แต่หากพบว่ายังมีเลือดไหลอยู่ ให้เปลี่ยนผ้าก็อซใหม่กัด
            4. ทานอาหารที่นิ่ม เคี้ยวง่ายในช่วงแรกของการถอน
            5. หลัง 1 ชั่วโมง เมื่อยาชาหมดฤทธิ์ อาจจะมีอาการปวด สามารถบรรเทาได้ด้วยการทานยาแก้ปวด

            เห็นไหมคะว่า การถอนฟันกรามไม่ได้มีอะไรซับซ้อนและยุ่งยาก รวมถึงไม่ได้น่ากลัวอย่างทีเราคิดกัน หวังว่าข้อมูลตรงนี้จะมีประโยชน์กับทุกคนนะคะ

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายถอนฟัน

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#คลินิกทันตกรรม #BPDC #ถอนฟัน #ถอนฟันกราม

วิธีการปลูกกระดูกเทียม

วิธีการปลูกกระดูกเทียม

ข้อดี-ข้อเสียการปลูกกระดูกเทียม

ในปัจจุบันเทคนิคการปลูกกระดูกก็จะมีหลัก ๆ ใหญ่อยู่ 2 วิธี
วิธีที่หนึ่งก็คือการนำกระดูกตัวเองมาปลูก วิธีที่สองคือการใช้กระดูกเทียม
ซึ่งทั้งสองวิธีจะมีขั้นตอนและกระบวนการที่แตกต่างกันไป ในกรณีที่คนไข้สูญเสียกระดูกไปจำนวนมาก ต้องการกระดูกปริมาณค่อนข้างเยอะ อาจจะพิจารณาเอากระดูกตัวเองมาเสริมตรงบริเวณที่จะฝังรากเทียม
อันนี้เรียกว่า Autogenous Bone Grafting

การเอากระดูกตัวเองมาเสริมบริเวณที่จะฝังรากเทียม
ข้อดี ก็คือว่ามันเป็นกระดูกของเราเองโอกาสที่จะยึดติดก็มีค่อนข้างเยอะแต่ขอเสียที่เป็นข้อเสียหลัก ๆ เลย ก็คือว่ามันมักจะละลายตัวค่อนข้างง่าย และมีความเจ็บปวดหลังทำค่อนข้างมาก เนื่องจากว่าจะมีบริเวณที่ผ่าตัดทั้งหมด 2 ตำแหน่ง ตำแหน่งแรกก็คือ ตำแหน่งที่เราเอากระดูกเทียมมา
ปัจจุบันตำแหน่งที่เอากระดูกเทียมมา หรือเรียกว่า Donor Site จะเอามาจากขากรรไกรล่างด้านหลัง บริเวณใกล้ ๆ กับฟันคุดของเรา จะตัดกระดูกออกมาเป็นชิ้นปริมาณที่เราต้องการ แล้วเราก็จะเอาไปใส่หรือเสริมในตำแหน่งที่เราต้องการฝังรากเทียม

ฉะนั้น วิธีนี้จะเหมาะกับคนไข้ที่ฟันหายไปค่อนข้างเยอะ ต้องการ Volume ของกระดูกค่อนข้างเยอะ
ข้อเสีย คนไข้ก็จะเจ็บตัวและอาศัยเวลาพักฟื้นค่อนข้างนาน ระยะเวลาในการรอหลังจากการปลูกกระดูกด้วยวิธีการนำกระดูกตัวเองมาปลูก เราจะต้องรอระยะเวลาประมาณ 4 เดือน หลังจากนั้นเราถึงจะมาฝังรากเทียมต่อไป

ส่วนอีกวิธีหนึ่งก็จะใช้กันอย่างแพร่หลายค่อนข้างเยอะ
ก็คือการนำกระดูกเทียมที่ได้จากการสังเคราะห์มาปลูกบริเวณที่เราต้องการปลูก
ข้อดีก็คือไม่จำเป็นจะต้องเจ็บตัว 2 ตำแหน่ง เราก็ใช้ผงกระดูกเทียมที่ผลิตจากบริษัท ซึ่งกระดูกเทียมทำมาจากหลาย ๆ วัสดุ ก็คือมีส่วนประกอบหลายอย่าง คุณหมอจะเลือกใช้ตามตำแหน่งที่เหมาะสม เลือกใช้ชนิดของกระดูกตามตำแหน่งของกระดูกที่หายไปแบบเหมาะสม ข้อดีก็อย่างที่บอกเจ็บตัวตำแหน่งเดียว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ข้อเสียก็คือว่า ระยะเวลาที่เราต้องรอการหายกว่าจะฝังรากเทียมได้กว่าจะกลายเป็นกระดูกจริง ต้องใช้ระยะเวลานานนิดนึง อาจใช้เวลาสัก 6-8 เดือน

ผลของการปลูกกระดูกเทียม

ปริมาณกระดูกที่เทียมที่ใส่เข้าไป มักจะคาดเดาผลไม่ได้ 100% ในกรณีที่เราใส่เข้าไป 100% เราอาจจะได้กระดูกตามที่เราต้องการ กระดูกเหลือจาก 6-8 เดือน แค่ประมาณ 40-60% โดยปกติการคำนวณการที่เราเสริมกระดูก
คุณหมอก็จะใส่เกินอยู่แล้ว ฉะนั้น เรื่องของปริมาณกระดูกที่ได้
ก็เป็นอะไรที่อาจจะต้องพิจารณาเป็นรายบุคคลไป

อาการหลังจากปลูกกระดูกเทียม

นอกจากนี้ การปลูกกระดูกไม่ว่าจะใช้กระดูกเทียม
หรือกระดูกของตัวเองมักจะมีอาการปวดและบวมค่อนข้างมากกว่าการฝังรากเทียมโดยปกติ เนื่องจากว่าเป็นการใส่วัสดุอื่น หรือว่าสิ่งอื่นเข้าไปเสริมในบริเวณนั้น จะต้องมีการอักเสบ การหายของแผล ใช้เวลาพักฟื้นค่อนข้างนาน โดยปกติแล้วก็อาจจะบวม หรือว่าปวดประมาณ 1-2 สัปดาห์

ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จการปลูกกระดูกเทียม

การยึดติดของกระดูก หรือผลสำเร็จในการปลูกกระดูกจะมากน้อยไหน
ก็ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น หลังจากปลูกกระดูกแล้วคนไข้
จำเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของหมออย่างเคร่งครัด
ถ้าเกิดว่าสูบบุหรี่ก็ต้องงดสูบบุหรี่
ถ้ามีการใส่ฟันปลอมบริเวณนั้นจะต้องมีการงดใส่ก่อนช่วงแรก
หรือว่าอาจจะต้องใส่เฉพาะเวลาที่จำเป็น ไม่ใส่เคี้ยวอาหาร
เนื่องจากฟันปลอมสามารถกดบริเวณที่ปลูกกระดูก
ทำให้เกิดการแตกของแผล การปลูกกระดูกที่ทำไปก็อาจจะล้มเหลวได้ นอกจากนี้ร่างกายคนเราก็มีการหาย หรือการเสริมสร้างต่างกัน ปริมาณกระดูกที่ได้ในแต่ละคน บางทีก็ไม่เท่ากัน

หลังการปลูกกระดูกเทียม

ฉะนั้น เมื่อเราผ่านการปลูกกระดูกมาแล้ว ก่อนที่จะมีการฝังรากเทียม คุณหมอก็จะมีการประเมินว่า ปริมาณกระดูกที่ได้เพียงพอหรือยังถ้าเกิดเพียงพอต่อการฝังรากเทียมแล้ว เราก็จะสามารถฝังได้ โดยอาจจะต้องมีการเสริมกระดูกเพิ่มเติมในกระบวนการ พร้อมกับการฝังรากเทียมไป

ที่คลินิกทันตกรรม BPDC ของเรามีทีมทันตแพทย์ที่เชี่ยวชาญมากประสบการณ์ ด้านการรักษารากฟันเทียม วัสดุรากฟันเทียมมาตรฐานยุโรป รวมถึงมีอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัยและมี Software CAD / CAM Dentistry ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำรากฟันเทียมให้ดียิ่งขึ้น

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายเพื่อทำรากฟันเทียม

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

www.bpdcdental.com

BPDC #คลินิกทันตกรรม #รากฟันเทียม #รักษารากฟันเทียม #CadCam

ขั้นตอนการปลูกรากฟันเทียม

ขั้นตอนการปลูกรากฟันเทียม

การปลูกรากฟันเทียมจำเป็นจะต้องมีขั้นตอนและวิธีการที่ซับซ้อนกว่าทันตกรรมประเภทอื่นๆ เพราะว่าต้องมีการประเมิณการรักษา การฝังรากเทียมลงกระดูก การปรับสภาพเหงือก ฯลฯ ที่มีอีกหลายขั้นตอนกว่าจะรักษาได้ แต่ด้วยเทคโนโลยีและด้วยประสบการณ์ของทีมแพทย์ที่เชี่ยวชาญงานฝังรากฟันเทียม (IMPLANT) จะช่วยให้ขั้นตอนนั้นง่ายขึ้น ซึ่งวันนี้เรามีกรรมวิธีคร่าวสำหรับผู้ที่ต้องการปลูกรากฟันเทียมกันครับ

  1. ตรวจประเมิน วางแผนการรักษา
    ตรวจวินิจฉัยและวางแผนการรักษาก่อนเริ่มการรักษาทันตแพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยและทำการถ่ายเอ๊กซเรย์เพื่อการวิเคราะห์ และวางแผนการรักษาที่เหมาะสม
  2. ฝังรากเทียม ลงในกระดูก

การปลูกกระดูกรองรับฟัน (กรณีที่จำเป็น)
สำหรับผู้ป่วยบางรายที่มีคุณภาพหรือความหนาของกระดูกรองรับฟันที่ไม่เพียงพอที่จะรองรับรากฟันเทียม ทันตแพทย์จะทำการปลูกกระดูกรองรับฟัน (bone grafts) ให้ก่อน หรืออาจสามารถทำพร้อมกับการฝังรากฟันเทียม ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของทันตแพทย์เฉพาะทาง

  1. ปรับสภาพเหงือกให้พร้อมสำหรับทำครอบฟัน

ขั้นตอนการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมไททาเนียม
สำหรับขั้นตอนการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมนั้น โดยทั่วไปจะสามารถทำเสร็จได้ในวันเดียวด้วยการใช้เพียงยาชาในการผ่าตัดและผู้ป่วยสามารถกลับไปพักผ่อนที่บ้านได้ หรือในกรณีที่ผู้ป่วยต้องการที่จะเลือกใช้ยาสลบและพักผ่อนที่โรงพยาบาลหลังการผ่าตัดก็เป็นทางเลือกที่ สามารถทำได้เช่นกัน และถ้าได้รับการรักษาอย่างถูกต้องโดยทันตแพทย์เฉพาะทางที่มีความเชี่ยวชาญ แล้วนั้นอัตราการเสี่ยงจะต่ำมาก

  1. ระยะรอพักฟื้น
    ในการที่จะให้รากฟันเทียมมีอายุการใช้งาน การพักรอให้กระดูกรองรับฟันสร้างตัวเพื่อปกคลุมและยึดรากฟันเทียมจะใช้เวลาโดยทั่วไปนานประมาณ 6-8 สัปดาห์ในระหว่างนี้การดูแลสุขภาพในช่องปากเป็นเรื่องสำคัญและมีผลต่อความสำเร็จในการรักษาเป็นอย่างมาก และยังช่วยหลีกเลี่ยงปัญหาอันไม่พึงประสงค์ต่างๆเช่น การติดเชื้ออักเสบและปวดบวมได้
  2. ทันตกรรมประดิษฐ์
    หลังจากที่รากฟันเทียมมีความมั่นคงบนกระดูกรองรับฟันแล้ว ทันตแพทย์จะติดเสา(dental implant posts) เพื่อใช้เชื่อมระหว่างรากเทียมและทันตกรรมประดิษฐ์เช่น ครอบฟัน สะพานฟันหรือแผงฟันปลอม แล้วจึงทำการเตรียมและใส่ทันตกรรมประดิษฐ์นั้นๆ ในบางกรณีทันตแพทย์อาจสามารถทำการขั้นตอนนี้พร้อมกับการปลูกรากฟันเทียม ซึ่งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและดุลยพินิจของทันตแพทย์
  3. การดูแลและเข้ารับการตรวจอย่างสม่ำเสมอ
    สุขภาพในช่องปากที่ดีและการเข้ารับการตรวจและทำความสะอาดกับทันตแพทย์ทั่วไปอย่างเป็นประจำทุก 6 เดือน หรือตามระยะเวลาที่เหมาะสมจะสามารถช่วยเพิ่มอายุการใช้งานให้กับรากฟันเทียม

ที่คลินิกทันตกรรม BPDC ของเรามีทีมทันตแพทย์ที่เชี่ยวชาญมากประสบการณ์ ด้านการรักษารากฟันเทียม วัสดุรากฟันเทียมมาตรฐานยุโรป รวมถึงมีอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัยและมี Software CAD / CAM Dentistry ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำรากฟันเทียมให้ดียิ่งขึ้น

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายเพื่อทำรากฟันเทียม

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

www.bpdcdental.com

BPDC #คลินิกทันตกรรม #รากฟันเทียม #รักษารากฟันเทียม #CadCam

จัดฟันด้วยเทคโนโลยี CAD / CAM

จัดฟันด้วยเทคโนโลยี CAD / CAM

CAD / CAM คืออะไร

เป็นคำย่อของการออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย / การผลิตโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย ใช้มานานหลายทศวรรษในอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อผลิตเครื่องมือชิ้นส่วนและรถยนต์ที่มีความแม่นยำเทคโนโลยี CAD / CAM ได้ถูกรวมเข้ากับทันตกรรมมากขึ้นในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา

ทันตแพทย์และห้องปฏิบัติการทันตกรรมใช้เทคโนโลยี CAD / CAM และวัสดุที่ปราศจากโลหะเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการครอบฟันเซรามิกวีเนียร์ออนเลย์อินเลย์และสะพานฟัน CAD / CAM ทางทันตกรรมยังใช้ในการประดิษฐ์ตัวยึดสำหรับรากฟันเทียมซึ่งใช้เพื่อทดแทนฟันที่หายไป

เนื่องจากวัสดุและเทคโนโลยีที่มีอยู่สำหรับทันตกรรม CAD / CAM ได้รับการปรับปรุงในช่วงหลายปีที่ผ่านมาผู้ป่วยจึงได้รับการบูรณะจากรูปแบบของทันตกรรมดิจิทัลนี้ด้วยเช่นกัน การบูรณะ CAD / CAM ในปัจจุบันมีความกระชับทนทานและดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น (หลายสีและโปร่งแสงคล้ายกับฟันธรรมชาติ) มากกว่าการบูรณะด้วยเครื่องจักรก่อนหน้านี้

ตัวเลือก CAD / CAM ในห้องปฏิบัติการในสำนักงานและทันตกรรม

เทคโนโลยี CAD / CAM ทางทันตกรรมมีให้สำหรับการปฏิบัติทางทันตกรรมและห้องปฏิบัติการทางทันตกรรมทำให้ทันตแพทย์และเจ้าหน้าที่ (หรือช่างเทคนิคในห้องปฏิบัติการ) สามารถออกแบบการบูรณะบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้ คอมพิวเตอร์ CAD / CAM จะแสดงภาพฟันหรือฟันที่คุณเตรียมไว้ 3 มิติซึ่งได้จากการจับการเตรียมแบบดิจิทัลด้วยเครื่องสแกนออปติคัล หรืออีกวิธีหนึ่งคือสามารถรับภาพ 3 มิติได้โดยการสแกนแบบจำลองดั้งเดิมที่ได้จากการแสดงผลแบบเดิมของการเตรียมการ

จากนั้นทันตแพทย์หรือช่างเทคนิคในห้องปฏิบัติการจะใช้ภาพ 3 มิติและซอฟต์แวร์ CAD เพื่อวาดและออกแบบการบูรณะขั้นสุดท้าย ระยะเวลาที่ทันตแพทย์นักออกแบบการบูรณะในสำนักงานหรือช่างเทคนิคในห้องปฏิบัติการใช้ในการออกแบบการบูรณะจะแตกต่างกันไปตามทักษะประสบการณ์และความซับซ้อนของเคสและการรักษา บางกรณีอาจใช้เวลาไม่กี่นาทีในขณะที่บางกรณีอาจต้องใช้เวลาออกแบบครึ่งชั่วโมงขึ้นไปเพื่อให้ได้คุณภาพ

เมื่อได้รับการออกแบบการบูรณะขั้นสุดท้ายแล้วเม็ดมะยมฝังแผ่นไม้อัดหรือสะพานจะถูกขัดสีจากวัสดุเซรามิกบล็อกเดียวในห้องกัด จากนั้นการบูรณะสามารถปรับแต่งด้วยคราบและเคลือบเพื่อให้ดูเป็นธรรมชาติมากขึ้นก่อนที่จะนำไปเผาในเตาอบ (คล้ายกับเซรามิกและเครื่องปั้นดินเผา) จากนั้นจึงขัดและขัดให้เสร็จ

ประโยชน์ของทันตกรรม CAD / CAM

การวิจัยชี้ให้เห็นว่าการบูรณะ CAD / CAM ในปัจจุบันนั้นแข็งแกร่งกว่าการบูรณะจากวัสดุรุ่นก่อน ๆ นอกจากนี้ยังมีโอกาสน้อยที่จะแตกหัก

ข้อดีอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี CAD / CAM

คือหากทันตแพทย์ของคุณมีเทคโนโลยีในสำนักงานการทำฟันในวันเดียวกันอาจเป็นทางเลือกในการรักษาสำหรับคุณ สามารถใช้เทคโนโลยีทางทันตกรรม CAD / CAM เช่น CEREC ในสำนักงานหรือ E4D Dentist System เพื่อทำการบูรณะฝังฟันครอบฟันหรือวีเนียร์ในการนัดหมายครั้งเดียวในขณะที่คุณรอ

หากทันตแพทย์ของคุณเสนอ CAD / CAM ในสำนักงานคุณไม่จำเป็นต้องมีการแสดงผลแบบเดิมการบูรณะชั่วคราวหรือการนัดหมายครั้งที่สอง คุณจะได้รับยาชาเฉพาะที่ (ชา) เพียงครั้งเดียวสำหรับการเตรียมฟันที่จำเป็น

ข้อยกเว้นสำหรับกระบวนการนี้คือสะพานเซรามิกทั้งหมดเนื่องจากถูกสร้างขึ้นในห้องปฏิบัติการโดยใช้เทคโนโลยี CAD / CAM การบูรณะสะพานเซรามิกทั้งหมดต้องมีการเยี่ยมชมสำนักงานครั้งที่สองเพื่อแทรกสะพาน ในกรณีเช่นนี้จำเป็นต้องมีการบูรณะชั่วคราว

ข้อยกเว้นอีกประการหนึ่งคือหากทันตแพทย์ของคุณต้องการสร้างการบูรณะ CAD / CAM ในขณะที่คุณไม่ได้อยู่ในสำนักงานทำให้ต้องมีการนัดหมายสองครั้ง ทันตแพทย์บางคนชอบแนวทางนี้เพื่ออุทิศเวลาให้กับกระบวนการออกแบบและการกำหนดลักษณะเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการสร้าง CAD / CAM มากขึ้น ในกรณีนี้จำเป็นต้องมีการชั่วคราวด้วย

ข้อควรพิจารณาพิเศษสำหรับทันตกรรม CAD / CAM

เทคโนโลยี CAD / CAM ไม่สามารถทดแทนความแม่นยำและความสามารถที่จัดทำโดยทันตแพทย์หรือช่างเทคนิคในห้องปฏิบัติการทันตกรรม ทันตแพทย์ต้องมีความแม่นยำในการเตรียมฟันเบื้องต้น ทั้งทันตแพทย์และช่างเทคนิคในห้องปฏิบัติการต้องมีความถูกต้องแม่นยำเมื่อทำการแสดงผลดิจิทัลและวาดภาพการบูรณะ

สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือความแม่นยำและทักษะในการออกแบบการบูรณะโดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื่องจากความเหมาะสมของการบูรณะมีความสำคัญต่อการป้องกันความเสียหายของฟันในอนาคต ตัวอย่างเช่นการครอบฟันที่ไม่เหมาะสมไม้วีเนียร์การฝังหรือการฝังสามารถเว้นช่องว่างระหว่างฟันหรือระหว่างการเตรียมฟันและการบูรณะ ซึ่งอาจนำไปสู่ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการติดเชื้อหรือโรค

เมื่อใดควรเลือกทันตกรรม CAD / CAM

สิ่งสำคัญคือต้องสังเกตว่าไม่ใช่ทุกซี่ที่สามารถรักษาด้วยการบูรณะ CAD / CAM ได้ ทันตแพทย์ของคุณจะพิจารณาว่าการฟื้นฟู CAD / CAM เป็นทางเลือกในการรักษาที่เหมาะสมกับสภาพของคุณหรือไม่ นอกจากนี้แม้จะมีการปรับปรุงความสวยงามของวัสดุ CAD / CAM ผู้ป่วยอาจพบว่าการบูรณะ CAD / CAM บางส่วนดูทึบเกินไปและขาดลักษณะที่เป็นธรรมชาติ

ทันตแพทย์ของคุณอาจเลือกใช้เทคนิคการประดิษฐ์ในห้องปฏิบัติการแบบเดิมที่มีประวัติยาวนานและได้รับการพิสูจน์มากขึ้นเพื่อความแม่นยำในการพอดี ดังนั้นผู้ป่วยจะต้องหารือเกี่ยวกับสถานการณ์และความต้องการของตนเองกับทันตแพทย์ซึ่งจะตัดสินใจในการรักษาขั้นสุดท้ายโดยอาศัยการตรวจอย่างละเอียด

ค่าใช้จ่ายในการบูรณะ CAD / CAM

การบูรณะด้วยเซรามิกทั้งหมดรวมถึงการประดิษฐ์ในห้องปฏิบัติการทันตกรรมโดยใช้เทคโนโลยี CAD / CAM มีแนวโน้มที่จะเป็นวิธีการบูรณะที่มีราคาแพงกว่า อย่างไรก็ตามแม้ว่าวัสดุสำหรับการบูรณะ CAD / CAM อาจมีราคาสูงกว่า แต่ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากห้องปฏิบัติการทันตกรรมและ / หรือทันตแพทย์อาจไม่ถูกส่งไปยังผู้ป่วย

นอกจากนี้ยังไม่มีค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการบูรณะในการเยี่ยมชมครั้งเดียวเมื่อเทียบกับสองครั้ง การชดใช้เงินประกันจะคล้ายกันสำหรับการทำฟันในสำนักงานในวันเดียวกันหรือการบูรณะในห้องปฏิบัติการ

ที่คลินิกทันตกรรม BPDC ของเรามีทีมทันตแพทย์ที่เชี่ยวชาญมากประสบการณ์ ด้านการรักษารากฟันเทียม วัสดุรากฟันเทียมมาตรฐานยุโรป รวมถึงมีอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัยและมี Software CAD / CAM Dentistry ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำรากฟันเทียมให้ดียิ่งขึ้น

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายเพื่อทำรากฟันเทียม

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

www.bpdcdental.com

BPDC #คลินิกทันตกรรม #รากฟันเทียม #รักษารากฟันเทียม #CadCam

ไขข้อสงสัย เมื่อใดเราจึงควรรักษารากฟัน

ไขข้อสงสัย เมื่อใดเราจึงควรรักษารากฟัน

เหงือกจ๋า… ฟันลาก่อน ก่อนที่ฟันจะหายไป การดูแลรักษาฟันจึงเป็นเรื่องที่เราควรให้ควาสำคัญนะคะ เพราะเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นกับฟัน คงไม่มีใครอยากจะรอจนถึงทางออกสุดท้ายคือการสูญเสียฟันไป ซึ่งปัจจุบันนี้ ก็มีทางเลือกในการรักษาฟันอยู่มากมาย หนึ่งในนั้นคือ การรักษารากฟัน ก่อนที่เราจะเลือกตัดสินใจรักษารากฟัน เราจึงควรมีความรู้เกี่ยวกับการรักษารากฟันกันก่อนค่ะ

การรักษารากฟันคืออะไร
            การรักษารากฟันเป็นกระบวนการกำจัดเชื้อที่อยู่ในโพรงประสาทฟัน หรือเนื้อเยื่อขนาดเล็กที่อยู่ใจกลางฟัน เป็นสาเหตุให้เกิดการติดเชื้อ อักเสบของโพรงเนื้อเยื่อในโพรงประสาทฟัน รวมทั้งทำความสะอาดโพรงฟัน คลองรากฟันให้ปราศจากเชื้อโรค และอุดคลองรากฟันด้วยวัสดุคลองรากฟัน ทำให้ฟันสามารถกลับมาใช้งานได้ตามปกติ โดยที่ไม่ต้องถอนฟันทิ้ง

สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหากับรากฟัน
         
สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหากับรากฟัน โพรงประสาทฟันหรือฟันตายนั้น เกิดได้หลายสาเหตุดังนี้
 
         1. ฟันผุอย่างรุนแรง ในรายที่ปล่อยฟันให้ผุแล้วไม่รักษา ทำให้ฟันผุลุกลามถึงโพรงประสาทฟัน เกิดการอักเสบ เป็นหนองที่ปลายรากฟัน และไม่สามารถทำการอุดฟันได้แล้ว
         2. มีปัญหาโรคเหงือก
โดยมากปัญหาโรคเหงือกจะเกิดจากคราบแบคทีเรียไปเกาะบริเวณเหงือกและฟัน ถ้าเราทำความสะอาดไม่ดี คราบแบคทีเรียจะไปทำลายเนื้อเหงือกหุ้มรากเนื้อเยื่อที่รองรับให้ฟันติดกับขากรรไกรและกระดูกฟัน การรักษารากฟันจะช่วยดูแลไม่ให้หินปูนเข้าไปสะสมได้ง่าย
            3. อาการบาดเจ็บของฟัน ไม่ว่าจะมาจากการได้รับแรงกระแทกที่ฟัน ทำให้ฟันแตกหัก ถึงโพรงประสาทได้
          4. การนอนกัดฟัน
จะทำให้เกิดการสึกของฟัน บางรายฟันสึกถึงเนื้อฟัน ทำให้ฟันเตี้ยลงไปมาก ก็จะเกิดเป็นช่องว่างระหว่างฟัน ทำให้เศาอาหารเข้าไปติดได้ง่าย หรือถ้ากัดแรงมาก ตัวฟันรับแรงไม่ไหว ก็จะเกิดหนองที่ปลายรากฟัน ทำให้ต้องรักษารากฟันทีหลัง


เมื่อใดที่เราควรรักษารากฟัน?
         
หลายคนคงเกิดข้อสงสัยว่า เมื่อใดที่เราควรต้องรักษารากฟันได้แล้ว หรือลักษณะของฟันแบบใดที่ส่งสัญญาณเตือนให้เราต้องรักษารากฟัน  สามารถดูได้ดังนี้
 
           1. ฟันที่ผุลึกมาจนถึงโพรงประสาทฟัน
            2. ฟันที่มีการเปลี่ยนสีไปจากเดิมซึ่งมีสาเหตุมาจากฟันตาย (ฟันตายคือฟันที่ไม่มีชีวิต ไม่มีอาการ มีสีที่เปลี่ยนแปลงไป และอาจจะเกิดตุ่มหนอง บางรายอาจจะมีอาการหน้าบวม มีน้ำหนองไหลจากฟันที่ติดเชื้อ หรือบางรายอาจจะเกิดแค่อาการปวดฟัน เสียวฟัน เมื่อทานอาหารร้อนหรือเย็น)
            3. ฟันที่ได้รับแรงกระแทกอย่างรุนแรงจากอุบัติเหตุ การกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงนั้นจะส่งผลให้เกิดการอักเสบ หรือการตายของเนื้อเยื่อในโพรงประสาทฟัน ซึ่งโดยปกตินั้น เนื้อเยื่อในโพรงประสาทฟันจะสามารถต่อสู่กับเชื้อโรคและมีความสามารถในการต้านการอักเสบที่ไม่รุนแรงได้ แต่หากการอักเสบหรือการติดเชื้อนั้นรุนแรงมากขึ้น เช่น กรณีที่ฟันผุลึกมาก กินเนื้อฟันไปเยอะ หรือฟันที่ได้รับการกระแทกอย่างแรง รวมถึงฟันที่แตกหักแล้วทะลุเข้าไปในโพรงฟัน ส่งผลให้เนื้อเยื่อในโพรงฟันนั้นถูกทำลายไป และเกิดภาวะ จนเป็นเหตุให้ฟันตายในที่สุด
            4. ฟันที่มีหนองที่ปลายรากฟัน กรณีนี้ถือเป็นสัญญาณเตือนที่รุนแรงมาก โดยการเกิดหนองที่ปลายราก อาจมีหนองไหลมาเห็นได้ชัด นั่นหมายความว่าเชื้อได้ลุกลามไปทำลายส่วนของเนื้อเยื่อทั้งโพรงประสาทฟันแล้ว
            สิ่งสำคัญที่สุดเพื่อไม่ให้เกิดการสูญเสียฟันหรือเกิดอาการที่เป็นผลมาจากการที่ฟันของเราผิดปกติ คือการดูแลรักษาฟันให้สะอาดและหมั่นไปหาทันตแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจฟันเป็นประจำ

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายรักษารากฟัน

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829

Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental

ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

www.bpdcdental.com

#BPDC #คลินิกทันตกรรม #รักษารากฟัน #รากฟัน

สิ่งที่เราควรรู้ก่อนที่จะถอนฟันกราม

สิ่งที่เราควรรู้ก่อนที่จะถอนฟันกราม

เมื่อพูดถึงเรื่องของการถอนฟัน เชื่อว่าหลายคนก็คงเคยผ่านการถูกถอนฟันกันมาบ้าง ซึ่งกอรถอนฟันก็ดูจะเป็นเรื่องทั่ว ๆ ไป เพียงแต่ถ้าการถอนนั้นจะไม่ใช่การถอนฟันกราม เพราะอะไรฟันกรามจึงสำคัญ คงเคยสงสัยกันว่าจริง ๆ แล้วฟันกรามสามารถถอนได้หรือไม่ ถอนแล้วจะเป็นอันตรายอะไรหรือเปล่า หรือจะส่งผลอะไรต่อไปในระยะยาวไหม วันนี้เราได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่เราควรรู้ก่อนที่จะถอนฟันกราม มาดูกันค่ะว่าจะมีอะไรบ้างที่เราควรรู้หรือควรต้องระวัง

ฟันกรามคืออะไร
         
ฟันกรามคือฟันที่ใช้สำหรับบดเคี้ยวซึ่งจะมีทั้งข้างบนและข้างล่าง เป็นฟันแท้ที่เมื่อหักไปแล้วก็จะไม่มีการงอกขึ้นมาใหม่อีก ถือว่าเป็นฟันที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีความสำคัญมาก เพราะนอกจากจะช่วยในเรื่องของการบดเคี้ยวแล้ว ยังจะทำงานร่วมกันกับฟันเขี้ยวในการคุมทิศทางการเคลื่อนไหวของขากรรไกรอีกด้วย

ข้อบ่งชี้สภาวะของฟันที่ต้องถอนฟัน
         
การถอนฟันถือว่าเป็นวิธีการรักษาสุขภาพช่องปากอย่างหนึ่งและเป็นวิธีที่รวดเร็วที่สุด ซึ่งการถอนฟันกรามมีทั้งประโยชน์และโทษในเวลาเดียวกัน เราจะพูดถึงต่อจากนี้ค่ะ และในการถอนฟัน เราจะต้องยอมรับการสูญเสียฟันของเราไปด้วย ซึ่งทันตแพทย์จะพิจารณาการถอนฟันตามสภาวะฟันต่อไปนี้
            1. ฟันผุทะลุโพรงประสาทฟันหรือฟันที่มีหนองปลายรากฟัน ไม่สามารถอุดหรือรักษาด้านอื่น ๆ ได้
            2. ฟันที่เป็นโรคปริทันต์รุนแรงรอบตัวฟัน จนไม่สามารถรักษาได้
            3. ฟันที่ต้องถอนเพื่อการใส่ฟัน
            4. ฟันที่ได้รับอุบัติเหตุ ฟันแตก หรือรากฟันหัก ไม่สามารถอุดหรือรักษาคลองรากฟันได้
            5. ฟันที่มีพยาธิสภาพของกระดูกรอบ ๆ รากฟัน เช่น เกิดถุงน้ำหรือเนื้องอก
            6. ฟันคุดหรือฟันที่ไม่สามารถขึ้นมาในช่องปากได้ตามปกติ

สิ่งที่ควรรู้ก่อนที่จะถอนฟันกราม

  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคเลือด ควรแจ้งทันตแพทย์ให้ทราบอย่างละเอียด โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติโรคเลือดออกง่าย แต่หยุดยาก เพื่อเตรียมตัวและป้องกันอันตรายที่อาจจะขึ้นภายหลังการถอนฟัน
  • ภาวะแทรกซ้อนจากการถอนฟันกรามสามารถเกิดขึ้นได้ ซึ่งผลข้างเคียงระหว่างการถอนฟันกรามที่พบได้บ่อยที่สุด คือ การที่เนื้อเยื่ออ่อนในช่องปากได้รับบาดเจ็บ อาจเกิดจาการทำที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงการใช้เครื่องมือที่อันตรายและควบคุมลำบากทำให้เกิดแผลหรือรอยถลอกขึ้นได้ นอกจากนี้ หากฟันกรามอยู่ในบริเวณที่ใกล้กับโพรงกระดูกข้างจมูกบริเวณโหนกแก้ม อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นไซนัสอักเสบได้ แต่ถ้าถอนฟันกรามล่างซี่ในสุด ซึ่งอยู่ใกล้เส้นประสาทที่ใช้ควบคุมกล้ามเนื้อใบหน้า ก็อาจส่งผลให้หน้าเบี้ยวได้เช่นกัน
  • สำหรับผู้ที่ต้องการจัดฟัน การถอนฟันกรามไปแล้วสามารถยังจัดฟันได้ก็จริง แต่จำเป็นต้องใส่ฟันปลอมเพื่อทดแทนช่องว่างที่เกิดขึ้นจากการสูญเสียฟันดังกล่าวไป หากไม่ใส่ฟันปลอมจะเกิดช่องว่างบริเวณดังกล่าว ส่งผลให้ฟันที่อยู่ใกล้เคียงเอียงและล้มตัวลงได้
  • การถอนฟันกรามอาจส่งผลต่อการสบฟันและการบดเคี้ยวที่ไม่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากเมื่อฟันที่ถูกถอนหายไป ฟันคู่สบกันลงมาจะสบได้ไม่ดี อีกทั้ง ยังส่งผลให้เหงือกบริเวณนั้นเกิดแผลและการติดเชื้อในช่องปากตามมาได้ด้วย รวมถึงการปล่อยช่องว่างจากการถอนฟันกรามไปนั้นจะทำให้เศษอาหารเข้าไปติดได้ง่ายขึ้น เกิดเป็นฟันผุและเป็นโรคเหงือก

            เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับสิ่งที่เราควรรู้ก่อนที่จะถอนฟันกราม มองเผิน ๆ ฟันกรามก็ดูเหมือนฟันอื่น ๆแต่เอาเข้าจริงกลับกลายเป็นเรื่องใหญ่และเรื่องสำคัญมากเลย ดังนั้นแล้ว ทางที่ดีเราควรหมั่นดูแลรักษาฟันของเราให้สะอาดเพื่อที่ฟันของเราจะได้อยู่กับเราไปนาน ๆ นะคะ    

ติดต่อคลินิกทันตกรรม BPDC

หากต้องการนัดหมายเพื่อปรึกษากับทันตแพทย์เฉพาะทางนัดถอนฟัน

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)
www.bpdcdental.com

#ถอนฟัน #ถอนฟันกราม #คลินิกทันตกรรม #BPDC

บริการทันตกรรมต่างๆ

บริการทันตกรรมต่างๆ

รวมหลากหลายบริการทันตกรรม

         งานทันตกรรมถือเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตของคนเรามากกว่าสมัยโบราณ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากกว่าแต่ก่อน ทำให้การดูแล รักษาเป็นไปได้ง่ายขึ้น สังเกตได้จากคลินิกทันตกรรมมากมายที่เกิดขึ้นมาราวกับดอกเห็ด จากข้อมูลการสำรวจอนามัยและสวัสดิการ พบว่า การใช้บริการทันตกรรมของคนไทยมีแนวโน้มที่จะรักษามากกว่าป้องกัน นอกจาก ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน ที่เรารู้จักกันแล้ว เพื่อน ๆ รู้ไหมคะว่า บริการทันตกรรมมีมากกว่านั้นอีก เราจะไปดูกันค่ะว่าจริง ๆ แล้ว บริการทันตกกรรมมีอะไรบ้าง

ประเภทของงานบริการทันตกรรม
            ตามคลินิกทันตกรรมหลาย ๆ แห่งจะแบ่งงานบริการทันตกรรมออกเป็นหลากหลายประเภท ดังนี้
          1. ทันตกรรมทั่วไป

  • การตรวจเช็คสุขภาพของฟันและช่องปาก ซึ่งถือว่าเป็นบริการที่จำเป็นสำหรับทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งใรผู้ที่ใส่ฟันปลอม การทำรากเทียม และจัดฟัน ทันตแพทย์จะตรวจสุขภาพฟัน เหงือก และช่องปากอย่างละเอียด เพื่อป้องกันสัญญาณของโรคและปัญหาอื่น ๆ ไม่ให้เกิดการลุกลามหรือรุนแรงขึ้น
  • การขูดหินปูน เป็นการขจัดคราบหินปูนที่เกาะอยู่ตามบริเวณฟันและซอกฟัน โดยใช้เครื่องมือทางทันตกรรม ซึ่งการขูดหินปูนนี้เป็นหนึ่งในวิธีป้องกันและรักษาโรคเหงือก
  • การขจัดคราบหรือฟอกฟัน เป็นการขจัดคราบชา กาแฟ บุหรี่ที่ติดแน่นที่ฟัน โดยมี 2 แบบ คือ ทำเองที่บ้าน กับ ทำโดยทันตแพทย์ที่คลินิก

          2. ทันตกรรมหัตถาการ

  • การอุดฟัน คือวิธีการรักษาฟันที่ถูกทำลายจากอาการฟันผุ เป็นการรักษาให้ฟันสามารถกลับมาใช้งานและมีรูปทรงเดิม ซึ่งทันตแพทย์จะนำเนื้อฟันที่ผุออก ทพความสะอาดและทำการเติมวัสดุพิเศษสำหรับอุดฟัน (อะมัลกัม – สีโลหะ กับ เรซินคอมโพซิต – สีเดียวกับฟัน)ลงไป
  • การรักษารากฟัน เป็นกระบวนการกำจัดเนื้อเยื่อที่มีการติดเชื้อในโพรงฟันและคลองรากฟัน การอักเสบของฟัน ร่วมกับการทำความสะอาด อุด และรักษาตัวฟันเพื่อความแข็งแรง กลับมาใช้งานได้ตามปกติ

          3. ทันตกรรมจัดฟัน
         
เป็นการรักษาเพื่อให้ฟันเรียงตัวกันเป็นระเบียบ ให้เกิดความสวยงามและเพื่อสุขอนามัยฟันที่ดี หมดปัญหาเรื่องการสบฟันผิดปกติ โดยใช้เครื่องมือที่ทำจากโลหะคุณภาพ ใช้ติดด้านนอกของผิวฟัน และมีการเปลี่ยนยางทุกเดือน
            4. ทันตกรรมเด็ก

  • การขูดหินปูน หินปูนในเด็กส่วนใหญ่เป็นหินปูนที่ไม่แข็งมาก เกาะตามผิวฟัน แปรงไม่ออก หากมีหินปูนสะสมเป็นจำนวนมาก จะก่อให้เกิดโรคปริทันต์เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่
  • การอุดฟันน้ำนม ในฟันน้ำนมที่ผุไม่ลึก ทันตแพทย์จะทำการอุดให้ แต่ถ้าลึกเข้าไปในโพรงประสาทฟัน ทันตแพทย์จะใช้วิธีรักษาคลองรากฟันแทน
  • การขัดฟันและการเคลือบฟลูออไรด์ เป็นการป้องกันฟันผุ เป็นการทำฟันที่เด็ก ๆ ส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี เพราะไม่เจ็บและไม่น่ากลัว
  • การเคลือบหลุมร่องฟัน เป็นการนำวัสดุคล้ายวัสดุอุดสีเหมือนฟันมาเคลือบปิดทับบนหลุมร่องฟัน เพื่อลดโอกาสที่เศาอาหารจะเข้าไปติด และลดการเกิดฟันผุได้

            5. ทันตกรรมรากเทียม
         
การทำฟันปลอมชนิดรากเทียมหรือชนิดที่ติดแน่นถาวร เป็นการจำลองรากฟันให้ยึดติดกับขากรรไกรเพื่อเติมเต็มให้เหมือนฟันธรรมชาติที่เสียไป ทำให้มีความสวยงาม คงทน และมีประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวเทียบเท่าฟันธรรมชาติ
            6. ทันตกรรมประดิษฐ์

  • สะพานฟัน ใช้ทดแทนฟันที่สูญเสียไป โดยครอบฟันสองซี่ที่อยู่ด้านข้างระหว่างครอบฟัน และทำการทดแทนฟันที่เสียไประหว่างช่องฟันนั้น
  • ครอบฟัน เป็นการบูรณะฟันที่ได้รับความเสียหายหรือแตกหักจากการใช้งานหรือการสบฟัน โดยจะใช้วัสดุสองแบบเซรามิกที่สีใกล้เคียงกับฟันและโลหะผสมเซรามิก
  • ฟันปลอม ชนิดที่ถอดได้และถอดไม่ได้


            7. ศัลยกรรม
 
           ศัลยกรรมในทางทันตกรรมคือ การผ่าฟันคุด ซึ่งเป็นฟันที่ขึ้นช้าและไม่สามารถขึ้นได้เองตามปกติ

            ทั้งหมดนี้คือบริการทันตกรรมที่สามารถพบได้ทั่วไปตามคลินิกต่าง ๆ นำมาฝากไว้เป็นความรู้ให้กับเพื่อน ๆ ก่อนเข้าใช้บริการกันนะคะ

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายทำฟัน

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ทันตกรรม #คลินิกทันตกรรม #BPDC #บริการทันตกรรม

ขั้นตอนการรักษารากฟัน ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

ขั้นตอนการรักษารากฟัน ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด

ถ้าพูดถึงการรักษารากฟันแล้วล่ะก็ หลายคนคงคิดกับส่ายหน้า ขยาดกันไปตาม ๆ กัน กลัวในกิตติศัพท์ว่าจะต้องเจ็บมากแน่ ๆ จนมีคนจำนวนไม่น้อย เลือกที่จะปล่อยปะละเลย จนกระทั่งเชื้อโรคลุกลามไปมาก ยากเกินจะแก้ไข หรือกับคนอีกกลุ่มหนึ่งอาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการรักษา จึงยอมที่จะถอนฟันทิ้งไป มองเผิน ๆ การถอนฟันดูไม่น่าเป็นอะไรมาก แต่แท้จริงแล้ว การมีฟันอยู่มันดีกว่าเยอะนะคะ เท่ากับว่าประสิทธิภาพการบดเคี้ยวยังสามารถทำได้ดีกว่าการสูญเสียฟัน วันนี้เราจะพาทุกคนไปดูขั้นตอนการรักษารากฟันกันค่ะ ว่าน่ากลัวอย่างที่กลัวกันหรือเปล่า
            การรักษารากฟันเป็นวิธีที่จะช่วยให้เราลดความสูญเสียฟันลงไปได้ โดยการรักษารากฟันนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ
          1. การรักษารากฟันด้วยวิธีปกติ
         
จะเริ่มจากการที่ทันตแพทย์จะเอกซเรย์เพื่อตรวจวัดความยาวของคลองรากฟัน และจากนั้นทำความสะอาดภายในคลองรากฟันเพื่อเป็นการจัดเนื้อเยื่อที่มีปํญหา รวมถึงแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรค แล้วทันตแพทย์จะใช้วัสดุสำหรับอุดคลองรากฟัน โดยที่ฟันตรงจุดนั้นจะไม่ได้รับการอุดอย่างถาวร จนกว่าจะทำการขจัดเชื้อบริเวณรากฟันดังกล่าวออกไปจนหมดจากโพรงประสาทและคลองรากฟันนั่นเองค่ะ
          2. การรักษาฟันด้วยการผ่าตัดปลายรากฟัน
         
วิธีนี้จะทำก็เมื่อวิธีที่แรกไม่ได้ผล โดยทันตแพทย์จะทำการผ่าตัดในตำแหน่งของปลายรากฟันที่เกิดหนอง จากนั้นจะทำการตัดปลายรากฟันบางส่วน ซึ่งในปัจจุบันนี้ ทันตแพทยน์จะใช้เครื่องมืออย่างกล้องจุลศัลยกรรมในการขยายคลองรากฟันที่มีขนาดเล็กให้ชัดยิ่งขึ้น การใช้เครื่องมือดังกล่าวจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาที่แม่นยำ หลังจากนั้น จะทำการใข้วัสดุเข้าไปอุดในส่วนของปลายรากฟันที่ได้ทำความสะอาดไว้ในตอนแรก วัสดุดังกล่าวนี้นั้นจะไม่ทำให้เกิดผลข้างและอันตรายต่อเนื้อเยื่อภายในรอบ ๆ ปลายรากฟัน

ขั้นตอนในการรักษารากฟัน
            ด้วยความที่รากฟันมีขนาดที่เล็ก จึงต้องมีทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะในการทำการรักษารากฟันโดยเฉพาะ และขั้นตอนในการรักษารากฟัน ก็ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่หลาย ๆ คนคิด ซึ่งจะมีขั้นตอนดังนี้
            1. เริ่มแรก ทันตแพทย์จะฉีดยาชา โดยจะใช้เป็นแผ่นยางบาง ๆ สำหรับแยกฟันที่มีปัญหาออกจากฟันซี่อื่น เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนไปยังฟันซี่ข้าง ๆ กัน
            2. ทันตแพทย์จะจัดการนำเอาฟันที่ผุออก โดยเอาส่วนที่เสียหายออก และกำจัดเนื้อฟันที่อักเสบหรือติดเชื้อออกตั้งแต่ส่วนต้นไปจนถึงส่วนของโพรงประสาทฟัน
            3. ทำความสะอาดรากฟันในส่วนที่ดำเนินการ และนำยาใส่ลงไปในคลองรากฟัน
            4. ใช้วัสดุอุดเพื่อปิดเอาไว้ชั่วคราว เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำ


            อย่างไรก็ตาม การรักษารากฟันอาจจะไม่ได้จบสิ้นในครั้งนี้ จำเป็นต้องใช้เวลาในการรักษาหลายครั้งในการทำความสะอาด นอกจากนี้ ยังต้องเปลี่ยนยาที่ใช้ในคลองรากฟันเพื่อฆ่าเชื้อที่มีอยู่จนกว่าเชื้อนั้นจะหมดไป หรือจะต้องรอจนกว่าการอักเสบนั้นจะหายดี


            อย่างที่กล่าวไว้ในตอนต้นว่าการรักษารากฟันเกิดขึ้นจากการที่ปล่อยละเลย ไม่ดูแลรักษาฟันตั้งแต่ที่เริ่มมีอาการ ทำให้เชื้อโรคนั้นลุกลามจนมีอาการที่รุนแรงมาก และส่งผลให้ประสิทธิภาพการใช้งานลดลง รวมถึงการรักษาก็จะมีความยากขึ้นตามระยะความรุนแรง ดังนั้น เราจึงควรดูแลรักษาความสะอาดของฟันให้ดี เพื่อเป็นการป้องกันในการเกิดโรค สิ่งหนึ่งที่ควรคำนึงเสมอคือ การป้องกันย่อมเกิดผลที่ดีกว่าการมารักษาแล้ว


สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายรักษารากฟัน

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829

Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental

ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

www.bpdcdental.com

#BPDC #คลินิกทันตกรรม #รักษารากฟัน #รากฟัน #ทำฟัน