แนะนำวิธีดูแลรักษาฟันอย่างไรให้ฟันไม่ผุ

แนะนำวิธีดูแลรักษาฟันอย่างไรให้ฟันไม่ผุ

แนะนำวิธีดูแลรักษาฟันอย่างไรให้ฟันไม่ผุ

ทุกวันนี้คนเรามีพฤติกรรมหลายอย่างที่เปลี่ยนแปลงไปมากกว่าแต่ก่อน โดยเฉพาะพฤติกรรมที่ทำร้ายฟันของเราไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะมาจากไลฟ์สไตล์ การบริโภคน้ำตาลที่เพิ่มมากขึ้น หรือการดูแลรักษาฟันได้ไม่สะอาดเพียงพอ จนเกิดเป็นฟันผุ ซ้ำร้ายเมื่อฟันผุแล้ว กลับละเลยที่จะไปรักษา ปล่อยเอาไว้ จนเวลาผ่านไปกลายเป็นฟันผุที่ลุกลามรุนแรง แทนที่จะเสียเงินค่าอุดฟันไม่กี่ร้อย ถ้าฟันผุลึกถึงชั้นโพรงประสาท ก็ต้องรักษารากฟันที่ราคาค่อนข้างสูง งั้นเรามาดูวิธีดูแลรักษาฟันอย่างไรให้ฟันไม่ผุดีกว่าค่ะ

How to ดูแลฟันอย่างไรให้ฟันไม่ผุ

คำถามที่ว่า ทำอย่างไรให้ฟันไม่ผุ ก็คงจะตอบกันได้ง่าย ๆ และด้วยวิธีง่าย ๆ ก็คือ การแปรงฟันให้สะอาด แต่วิธีการดูแลรักษาฟันให้ไม่ผุ ยังมีนอกเหนือจากการแปรงฟันด้วยค่ะ เราจึงนำเอามาฝากกัน

  1. ลดการบริโภคน้ำตาลมากเกินไป

น้ำตาลคือสาเหตุอันดับต้น ๆ ที่ทำร้ายฟันของเรา ซึ่งหลายคนเข้าใจว่าถ้างดน้ำตาลจากขนมหวาน

อย่างลูกอม เค้ก ของหวาน หรือน้ำอัดลมต่าง ๆ ก็จะฟันไม่ผุ จริง ๆ แล้วไม่ใช่เลยค่ะ เพราะหลายครั้ง น้ำตาลก็มาในรูปแบบของอาหารจำพวกแป้ง ที่จะมีกระบวนการเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล หรือในถั่วประเภทต่าง ๆ ไม่เว้นแม้แต่น้ำอัดลมที่มีน้ำตาล 0%

  • แปรงฟันให้ถูกวิธี อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง

บางคนสงสัยว่าทำไมแปรงฟันทุกวัน แต่ฟันยังผุอยู่ ฟันของเราจะผุหรือไม่นั้น ส่วนหนึ่งก็มาจาก

คุณภาพในการแปรงฟันของเรา ดังนั้นการแปรงฟันที่ได้คุณภาพ จึงควรแปรงฟันให้นานตั้งแต่ 2 นาทีขึ้นไป เพื่อให้มีเวลานานพอที่จะทำให้ฟลูออไรด์สามารถเกาะติดและและซึมผ่านผิวฟันเข้าไปทำให้ผิวฟันแข็งแรงขึ้น ฟันก็จะผุได้ยากขึ้น ถ้าเราใช้เวลาแปรงไม่กี่วินาที ฟลูออไรด์ในยาสีฟันจะยังไม่ทันเข้าไปในผิวฟัน ที่สำคัญที่สุด ควรแปรงแห้งโดยปราศจากการบ้วนปาก เพื่อให้ได้ฟลูออไรด์ติดที่ผิวฟันให้มากที่สุด

  • การแปรงลิ้น

หลายคนอาจจะคิดว่าการแปรงลิ้นไปเกี่ยวอะไรกับฟันผุ ซึ่งต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การที่ฟันของเรา

ผุ ก็มาจากปัจจัยต่าง ๆ ภายในช่องปาก เพราะลิ้นถือเป็นอวัยวะที่มีการสะสมแบคทีเรียมากเช่นกัน ดังนั้นเมื่อไหร่ที่แปรงฟัน อย่าลืมที่จะแปรงลิ้นกินด้วยนะคะ

  • งดการกินอาหารหลังแปรงฟัน 2 ชั่วโมง

หากใครอยากให้ฟลูออไรด์ออกฤทธิ์ได้อย่างเต็มที่ 100% แนะนำว่า หลังการแปรงฟันด้วยยาสีฟันที่มี

ส่วนผสมของฟลูออไรด์ ไม่ควรดื่มน้ำหรือกินอาหารอย่างน้อย 2 ชั่วโมง เพื่อให้ฟลูออไรด์ทำงานได้อย่างเต็มที่ ไม่ถูกชะล้างออกไปจากการดื่มน้ำหรือกินอาหาร

  • ใช้ไหมขัดฟัน

บางครั้งการแปรงฟันอย่างเดียวอาจยังไม่พอที่จะป้องกันฟันผุได้ เพราะขนแปรงของเราอาจไม่ชอนไช

เข้าไปทำความสะอาดตามไรฟันได้หมดจด ดังนั้นการใช้ไหมขัดฟันจะช่วยให้ขจัดเศษอาหารที่ติดตามซอกฟัน ซึ่งเป็นสาเหตุของการสะสมแบคทีเรียได้

  • กินอาหารให้เป็นเวลา

แน่นอนว่าบางคนอาจมองว่าไม่เกี่ยวกันเลย ที่ฟันเราจะผุเพราะกินอาหารไม่เป็นเวลา แต่อันที่จริงแล้ว

สำคัญมาก ๆ นะคะ เราควรกินอาหารให้เป็นเวลา ไม่ควรกินจุบกินจิก เพราะโอกาสเกิดกรดในช่องปากมีมากขึ้น

  • ไปหาหมอฟันทุก ๆ 6 เดือน

แม้เราจะหมั่นดูแลรักษาฟันอยู่เป็นประจำ แต่สิ่งสำคัญคือควรนัดตรวจสุขภาพช่องปากกับหมอฟัน

ทุก ๆ 6 เดือน เพื่อป้องกันอาการเกี่ยวกับโรคภายในช่องปากที่เราไม่ทันระวังตัว และได้รับการแนะนำในการดูแลช่องปากอย่างถูกวิธี

เท่านี้เราก็ได้รู้แล้วว่าเราจะดูแลรักษาฟันอย่างไรให้ฟันไม่ผุก เพราะหากเราสามารถดูแลตัวเองและช่องปากของเราได้ตามวิธีที่แนะนำข้างต้นนี้ได้ทั้งหมด รับรองเลยว่าฟันของเราจะไม่มีวันผุอย่างแน่นอนค่ะ

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายทำฟัน
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ทำฟัน #ดูแลรักษาฟัน

ถ้าไม่ปวด ฟันคุดผ่าควรผ่าออกหรือไม่?

ถ้าไม่ปวด ฟันคุดผ่าควรผ่าออกหรือไม่?

ถ้าไม่ปวด ฟันคุดผ่าควรผ่าออกหรือไม่?

เมื่อพูดถึงการผ่าฟันคุด คงเป็นเรื่องที่หลายคนหวาดกลัวและขยาดไม่ใช่น้อย ถ้าเลือกได้ ก็คงไม่มีใครอยากเจ็บตัวกันหรอกจริงไหมคะ หลายครั้ง ฟันคุดก็ทำให้เราเลือกไม่ได้นี่สิ ปวดแสนปวดจนต้องไปผ่าออก แต่ในบางคนกลับไม่มีอาการอะไรเลย แบบนี้แล้ว ไม่ปวด ไม่ผ่าได้หรือเปล่า? ไว้รอปวดก่อนค่อยไปผ่าจะดีไหม? เราจะไปหาคำตอบกันในบทความนี้ค่ะ

ทำความรู้จัก ฟันคุด

ฟันคุด คือ ฟันที่ไม่สามารถขึ้นมาในช่องปากได้เหมือนฟันปกติทั่วไป เนื่องจากฟันคุดมักฝังอยู่ใต้เหงือก ในกระดูกขากรรไกร หรือขึ้นพ้นเหงือกมาเพียงบางส่วนเท่านั้น ซึ่งหากเป็นกรณีดังกล่าวจะต้องผ่าออกอย่างเดียว แต่ในบางกรณีก็สามารถถอนตามปกติได้ เพราะฟันเจ้าปัญหานั้นอาจจะขึ้นมาจนเต็มซี่ เพียงแต่ขึ้นผิดลักษณะเท่านั้นเอง โดยฟันซี่ที่พบว่าเป็นฟันคุดบ่อยที่สุด คือ ฟันกรามล่างซี่สุดท้าย ซึ่งอยู่ด้านในสุดของกระดูกขากรรไกรล่าง

วิธีสังเกตว่าเรามีฟันคุดหรือไม่

เราสามารถสังเกตได้ด้วยตัวเองว่ามีฟันคุดหรือเปล่า โดยดูว่ามีฟันซี่ใดที่ขึ้นมาแค่เพียงบางส่วนไหม หรือมีฟันซี่ไหนที่หายไปบ้างหรือเปล่า รวมถึงลักษณะฟันที่ขึ้นมา ดูแตกต่าง หรือมีลักษณะขึ้นแบบนอน ๆ มา ต่างจากฟันอื่นหรือไม่ ถ้าใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าอาจจะเป็นฟันคุด ทางที่ดี แนะนำให้ไปตรวจเช็คช่องปากกับทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญค่ะ

ฟันคุด ไม่ปวด ไม่ผ่าได้ไหม?

คำถามที่หลายคนอยากรู้ เพราะเท่าที่เห็น คนที่ไปผ่าคือคนที่มีอาการปวดแล้ว แต่ถ้าไม่ปวดล่ะ? จำเป็นต้องผ่าไหม? งั้นเรามาดูกันค่ะ ว่ามีเหตุผลอะไรที่คนเราควรที่จะต้องผ่าฟันคุด

  1. ทำความสะอาดยาก เนื่องจากฟันคุดเป็นฟันที่อยู่ซี่ด้านในสุด ทำให้ยากต่อการทำความสะอาด และ

มักจะมีเศษอาหารเข้าไปติดใต้เหงือก ทำให้เกิดการสะสมของแบคทีเรีย บ้างก็เกิดกลิ่นปาก บ้างก็เกิดการอักเสบ ติดเชื้อ ฟันผุ และโรคปริทันต์อักเสบ ไม่ใช่แค่เพียงตัวมันเอง แต่ยังส่งผลถึงฟันซี่ข้าง ๆ อีกด้วย

  1. เกิดการละลายตัวของกระดูก ด้วยแรงดันจากฟันคุด ที่พยายามดันขึ้นมา จะทำให้กระดูกรอบราก

ฟัน หรือรากฟันข้างเคียงถูกทำลายไป

  1. เกิดถุงน้ำหรือเนื้องอก เพราะฟันคุดที่ปล่อยทิ้งไว้นานเกินไป จะส่งผลให้เนื้อเยื่อที่หุ้มรอบฟันคุด

สามารถขยายใหญ่ขึ้นกลายเป็นถุงน้ำได้ ซึ่งการเจริญเติบโตของถุงน้ำนี้อาจจะไม่แสดงอาการใด ๆ เลยก็ได้ จนในที่สุดเกิดการทำลายฟันซี่ข้างเคียง และกระดูกรอบๆ บริเวณนั้น

  1. ป้องกันฟันซี่ข้างเคียงผุ นอกจากจะเป็นแหล่งสะสมเศษอาหารและแบคทีเรียแล้ว ฟันคุดยังทำให้ฟัน

ที่อยู่ข้างเคียงผุไปด้วย ทั้งซอกฟันระหว่างฟันคุดกับฟันกรามซี่ที่สองที่อยู่ชิดกันนั้น ทำความสะอาดได้ยาก เศษอาหารจะติดค้างอยู่ ทำให้เกิดฟันผุได้ทั้งสองซี่

  1. ป้องกันกระดูกขากรรไกรหัก อันเป็นผลมาจากการที่มีฟันคุดฝังอยู่ จะทำให้กระดูกขากรรไกร

บริเวณนั้นบางกว่าตำแหน่งอื่น เกิดเป็นจุดอ่อน เมื่อได้รับอุบัติเหตุ หรือกระทบกระแทก กระดูกขากรรไกรบริเวณนั้นก็จะหักได้ง่าย

สำหรับฟันคุด ทันตแพทย์จะพิจารณาว่าจะผ่าฟันคุดหรือไม่ จะต้องตรวจดูรูปร่างของช่องปาก และตำแหน่งของฟันคุดก่อน รวมทั้งยังต้องคำนึงถึงอายุด้วย แต่การผ่าฟันคุดอาจไม่เกิดขึ้นในทันทีที่พบฟันคุดเพราะในบางครั้งอาจต้องใช้เวลาหลายเดือนเพื่อติดตามความเปลี่ยนแปลงของฟันคุด เพื่อนำมาประกอบการพิจารณา ซึ่งกล่าวโดยสรุปได้ว่า จากคำถาม ฟันคุดควรผ่าออกหรือไม่ ต้องบอกเลยว่าการผ่าออกให้ผลที่ดีมากกว่าผลเสียแน่นอน แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยและองค์ประกอบที่ได้กล่าวมาก่อนหน้านี้ด้วยค่ะ

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายผ่าฟันคุด
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ผ่าฟันคุด #ฟันคุด

เคลียร์ช่องปากคืออะไร สำคัญกับการจัดฟันจริงหรือไม่

เคลียร์ช่องปากคืออะไร สำคัญกับการจัดฟันจริงหรือไม่

เคลียร์ช่องปากคืออะไร สำคัญกับการจัดฟันจริงหรือไม่

เราต้องเคยได้ยินกันมาบ้างล่ะค่ะ ว่าก่อนจัดฟันจะต้อง “เคลียร์ช่องปาก” แล้วเคลียร์ช่องปาก คืออะไร ต้องทำอะไรบ้าง แล้วคนที่จะจัดฟัน การเคลียร์ช่องปากจำเป็นมากไหม อยากจัดฟัน แต่ไม่เคลียร์ช่องปากได้หรือเปล่า เชื่อว่าหลายคนคงมีคำถามมากมายเหล่านี้อยู่ในใจ แต่ไม่รู้ว่าจะไปถามใครดี วันนี้เราจึงได้รวบรวมข้อสงสัยเกี่ยวกับการเคลียร์ช่องปากมาฝากกันค่ะ

เคลียร์ช่องปาก คืออะไร ?

เคลียร์ช่องปาก คือ การเตรียมเหงือกและฟันของเราให้พร้อมสำหรับการจัดฟัน เป็นการกำจัดปัญหาที่อาจส่งผลต่อแผนการจัดฟันของเราในอนาคต โดยทันตแพทย์จะทำการตรวจช่องปาก เพื่อดูสภาพฟันและเหงือกว่ามีสิ่งผิดปกติหรือไม่ เช่น เช็คฟันผุ ขูดหินปูน รวมถึงการ X-ray ฟัน และพิมพ์ฟัน เพื่อประเมินโครงสร้างใบหน้า

เคลียร์ช่องปาก ต้องทำอะไรบ้าง ?

อย่างที่กล่าวไปในตอนต้นว่า การเคลียร์ช่องปากคือการเตรียมสภาพช่องปากของฟันและเหงือกก่อนเริ่มจัดฟัน นั่นแปลว่า ทันตแพทย์จะต้องเช็คสุขภาพช่องปากของเราทั้งปาก ซึ่งจะมีรายละเอียดดังนี้

  1. ตรวจสุขภาพช่องปากโดยละเอียด

ทันตแพทย์จะตรวจเช็คช่องปากโดยละเอียด เพื่อดูว่ามีฟันผุ ฟันคุด เหงือกอักเสบ หรือปัญหาด้าน

อื่น ๆ ภายในช่องปากหรือไม่ หากพบปัญหาก็จะต้องไปรักษาตามจุดที่เป็นปัญหานั้นก่อน เพื่อไม่ให้เกิดผลเสียในระยะยาว หากต้องจัดฟัน

  • อุดฟัน

จากข้อ 1 เมื่อเรามารับการเคลียร์ช่องปาก ตรวจสุขภาพช่องปากแล้วพบว่า มีฟันผุ ทันตแพทย์จะ

แนะนำให้อุดฟันที่ผุก่อน ไม่ว่าฟันนั้นจะผุมากหรือผุน้อย เพราะหากปล่อยฟันผุเอาไว้ ไม่รับการรักษาก่อนจัดฟัน ฟันผุนั้นอาจจะมาขัดขวางการจัดฟัน หรือสร้างปัญหาระหว่างการจัดฟันในระยะยาวได้ ยิ่งไปกว่านั้น การจัดฟันจะต้องติดเครื่องมือจัดฟัน การทำความสะอาดฟันจะยิ่งทำได้ยากมากขึ้น หากมีฟันที่ผุอยู่แล้ว แต่ไม่ได้รับการอุด ก็จะยิ่งส่งผลเสีย อย่างฟันผุมากขึ้น หรือรอยผุลุกลามเข้าที่รากฟัน จนอาจจะเสียฟันซี่นั้นไป และยังต้องเสียค่ารักษาสูงอีกด้วย

  • ขูดหินปูน

การเคลียร์ช่องปากอย่างต่อมาที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ การขูดหินปูน ซึ่งหินปูนคือต้นเหตุสำคัญที่ทำให้

เกิดปัญหาช่องปากตามมาอีกหลายโรค เมื่อเราจัดฟัน ก่อนเราติดเครื่องมือจัดฟัน เราจะต้องทำความสะอาดผิวฟันให้สะอาดเสียก่อน เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเศษอาหารและแบคทีเรีย โดยพอเราติดเครื่องมือจัดฟันไปแล้ว การทำความสะอาดฟันจะกลายเป็นเรื่องยากขึ้น หากเราทำความสะอาดได้ไม่ดีพอ โอกาสจะเกิดคราบหินปูนก็ง่ายขึ้นด้วย ทันตแพทย์จึงแนะนำให้ขูดหินปูนก่อนการจัดฟัน และควรขูดหินปูนเป็นระยะ ๆ อีกด้วย

  • การผ่าฟันคุด

ในกรณีที่เมื่อตรวจเช็คฟันแล้วพบฟันคุด ควรพิจารณาการถอนหรือผ่าจะดีกว่าค่ะ เพราะฟันคุดคือฟัน

ที่ขึ้นไม่ปกติตามธรรมชาติของฟันที่ควรจะขึ้น บางคนอาจจะพบกรณีที่ฟันพยายามแทงตัวเองขึ้นมา แต่ขึ้นมาไม่ได้ เนื่องจากขึ้นช้ากว่าซี่อื่น จึงไม่เหลือพื้นที่ให้ขึ้นมาได้ ส่งผลให้เหงือกบริเวณนั้นอักเสบ แต่บางคนก็ไม่พบอาการอะไร นอกจากมีฟันบางส่วนขึ้นมาแล้ว ดังนั้น ฟันคุดจึงเหมือนระเบิดเวลาที่พร้อมจะปะทุได้ทุกเมื่อ การเคลียร์ช่องปากด้วยการผ่าฟันคุดจึงเป็นทางออกที่ดี หากใครที่คิดจะจัดฟัน เพราะอย่างน้อยก็ไม่ต้องเสียเวลา หากระหว่างจัดฟันไปแล้วพบว่าฟันคุดพยายามดันฟันซี่อื่น ๆ นั่นก็จะส่งผลต่อฟันซี่ข้าง ๆ

  • ถอนฟัน

สำหรับข้อนี้ ก็เป็นประเด็นที่หลายคนสงสัยในการเคลียร์ช่องปากว่า ทำไมบางคนถอนฟัน บางคนก็ไม่

ถอน ซึ่งการถอนฟันหรือไม่นั้นจะขึ้นอยู่กับโครงสร้างและการเรียงตัวของฟันว่ามีปัญหาการเรียงตัวมากน้อยเพียงใด รวมถึงขึ้นอยู่กับการพิจารณาของทันตแพทย์ว่าจะมีแผนการรักษาอย่างไร

ดังนั้น สรุปได้ว่าการเคลียร์ช่องปากสำคัญกับการจัดฟันจริงค่ะ ซึ่งเราอาจจะไม่จำเป็นต้องเคลียร์ช่องปาก
รวดเดียวก็ได้ หากวางแผนที่จะจัดฟัน แนะนำให้ทยอยเคลียร์ช่องปาก เพื่อให้ทันตแพทย์ประเมินสภาพช่องปากก่อนติดเครื่องมือจัดฟัน

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายจัดฟัน เคลียร์ช่องปาก
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#เคลียร์ช่องปาก #จัดฟัน

ทำไมต้องรักษารากฟัน

ทำไมต้องรักษารากฟัน

ทำไมต้องรักษารากฟัน

หลายๆ คำถามที่ถามกันมาอย่างมากมาย ว่าทำไมต้อง “รักษารากฟัน” มีความจำเป็นไหม ราคาคุ้มค่ากันไหมในการรักษา สำหรับบางคนอาจจะมองว่าไม่จำเป็น แต่ว่าวันนี้เราจะมาดูเหตุผลกันครับว่าทำไมต้องรักษารากฟัน

รากฟัน คืออะไร

เป็นโพรงประสาทฟัน ที่อยู่ชั้นใต้สุดของฟัน ที่เป็นศูนย์รวมของเส้นประสาทฟัน เป็นส่วนสำคัญมากหากไม่ทำการรักษาจะทำให้เกิดอาการปวดทรมานเป็นอย่างมาก และจะทำให้ฟันซี่นั้นเสื่อม

เหตุผลที่ต้องรักษารากฟัน

  1. ช่วยให้ฟันคงอยู่กับเราไปอีกนาน
  2. ป้องกันการติดเชื้อในโพรงประสาทฟัน
  3. รักษาสุขภาพฟันไว้ให้ยาวนานที่สุด

ขั้นตอนการรักษารากฟัน

  1. ปรึกษาทันตแพทย์เฉพาะทางตรวจลักษณะภายในช่องปาก ตรวจลักษณะรากฟันภายในกระดูกขากรรไกรจากภาพถ่าย x-ray
  2. เริ่มจากการใส่ยาชา
  3. ใส่แผ่นยางกันน้ำลาย จากนั้นจึงกรอฟันเพื่อเปิดทางเข้าสู่โพรงประสาทฟัน
  4. กำจัดเนื้อเยื่อที่มีการติดเชื้อออกด้วยเครื่องมือที่มีขนาดเล็ก ร่วมกับการล้างคลองรากฟันด้วยน้ำยาที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ และใส่ยาฆ่าเชื้อในคลองรากฟัน
  5. เมื่อฟันมีอาการที่ปกติแล้วจะทำการอุดคลองรากฟันเพื่อปิดช่องว่างไม่ให้เชื้อโรคกลับเข้ามาอาศัยได้อีก โดยปกติจะใช้เวลาการรักษาประมาณ 2-3 ครั้งขึ้นอยู่กับความยากง่ายและสภาพการติดเชื้อของฟันแต่ละซี่
  6. หลังจากนั้นจึงทำการบูรณะตัวฟันให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติ

หากเกิดอาการเหล่านี้ต้องรีบมาพบแพทย์ เพื่อทำการรักษารากฟันทันที

  • ปวดฟันรุนแรง
  • ฟันเปลี่ยนเป็นสีเทาหรือดำ
  • เหงือกบวม มีหนอง
  • ใบหน้าบวมจากการอักเสบรากฟัน

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายรักษารากฟัน
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#รักษารากฟัน #รากฟัน

จัดฟันแบบใส ยิ้มสวย มั่นใจ ไร้เหล็ก

จัดฟันแบบใส ยิ้มสวย มั่นใจ ไร้เหล็ก

จัดฟันแบบใส ยิ้มสวย มั่นใจ ไร้เหล็ก

เมื่อพูดถึงการจัดฟัน สิ่งที่ผู้ทำคาดหวังมากที่สุดคือ ความสวยงาม หลายครั้งการจัดฟันโดยทั่วไปที่ต้องติดเครื่องมือไว้กับฟัน ก็กลายเป็นอุปสรรคในการทำงานของใครหลายคน ที่อาจจะต้องใช้หน้าตา หรือกับบางคนที่รู้สึกว่าการจัดฟันแบบมีเครื่องมือติดไว้ตลอด ดูแลยากเกินไป และหากดูแลไม่ดีพอ ก็จะส่งผลให้เกิดปัญหาช่องปากตามมาอีกด้วย ซึ่งเดี๋ยวนี้ก็มีการจัดฟันแบบใส ที่มองเผิน ๆ เหมือนคนไม่จัดฟัน ใครสนใจการจัดฟันแบบนี้ต้องมาดูเลยค่ะ

จัดฟันแบบใส คืออะไร

จัดฟันแบบใส (Invisalign) เป็นการจัดฟันที่สามารถถอดได้ โดยผู้ทำสามารถทราบผลล่วงหน้าด้วยระบบการรักษา 3 มิติ เทคโนโลยี 3-D ที่ส่งข้อมูลฟันคนไข้ไปยังห้องปฏิบัติการที่ประเทศสหรัฐเพื่อทำการผลิตรูปแบบฟันออกมาเป็นแบบรายบุคคลทำให้การจัดฟันมีประสิทธิภาพสูง

อะไรทำให้การจัดฟันแบบใสดีกว่าแบบอื่น

  • ด้วยเครื่องมือแบบใส ทำให้ดูสวยงามกว่าการจัดฟันแบบธรรมดา ซึ่งเหมาะมากสำหรับใครที่ไม่ต้องการให้ใครรู้ว่าไปจัดฟันมา
  • มีเทคโนโลยีที่ช่วยให้ฟันเรียงตัวสวย
  • ลดการเกิดแผลและการระคายเคืองภายในช่องปากจากเครื่องมือที่จะมาเกี่ยว
  • สามารถถอดออกได้ และทำความสะอาดฟันได้สะดวกมากขึ้น
  • ช่วยแก้ปัญหาการสบฟันได้หลายประเภท
  • แก้ปัญหาฟันเก ฟันห่าง ตั้งแต่ความผิดปกติน้อย ๆ ไปยังความผิดปกติที่รุนแรง
  • ไม่ต้องไปพบทันตแพทย์บ่อย ๆ

ประเภทของการจัดฟันแบบใส

สำหรับการจัดฟันแบบใส Invisalign เราสามารถแยกประเภทย่อย ๆ ออกมาได้อีก 3 ประเภท ดังนี้

1. Invisalign Express การจัดฟันแบบใสประเภทนี้ใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือน เหมาะสำหรับผู้ที่มีความผิดปกติของการเรียงตัวของฟันเพียงเล็กน้อย หรือผู้ที่มีการคืนกลับของฟันภายหลังจากการจัดฟัน เนื่องจากไม่ได้ใส่รีเทนเนอร์

2. Invisalign Lite การจัดฟันแบบใสประเภทนี้ใช้เวลาประมาณ 6-7 เดือน เหมาะกับผู้ที่มีฟันห่าง ฟันซ้อนเก ระดับเล็กน้อยถึงปานกลางเท่านั้น

3. Invisalign Full การจัดฟันแบบใสประเภทนี้ใช้เวลาประมาณ 1-2 ปี สำหรับผู้ที่มีฟันซ้อนเก หรือความซับซ้อนค่อนข้างมาก อาจเป็นผู้ที่เคยจัดฟันมาก่อน

อายุเท่าไหร่จึงจะเหมาะที่จะจัดฟันแบบใส

การจัดฟันแบบใสสามารถเริ่มทำได้ตั้งแต่อายุ 12-13 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยที่ฟันแท้เริ่มขึ้นจนครับ และขากรรไกรเริ่มมีการเจริญเติบโต ทำให้การขยายหรือลดรูปร่างขากรรไกรเป็นไปได้ง่าย หรือจะรอให้มีการเจริญเติบโตเต็มที่ ช่วงอายุ 18 ปี ก็ได้เช่นกันค่ะ

ขั้นตอนในการจัดฟันแบบใส

1. พบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพฟันและช่องปาก พร้อมถ่ายภาพใบหน้า เอกซเรย์ พิมพ์ฟัน และทันตแพทย์จะวางแผนรักษาร่วมกับคนไข้

2. ใช้โปรแกรมสร้างภาพ 3D เพื่อสร้างชุดเครื่องมือจัดฟัน ที่ความใส และบาง พอดีกับฟันแต่ละซี่ ซึ่งเราสามารถเห็นการเปลี่ยนแปลงทั้งก่อนและหลังการจัดฟันได้

3. จัดส่งทำเครื่องมือจัดฟันแบบใส พร้อมนัดคนไข้เข้ามาเพื่อเตรียมช่องปากและรับเครื่องมือจัดฟัน

4. คนไข้ต้องเป็นผู้รับผิดชอบการใส่เครื่องมือจัดฟันแบบใสตามตารางที่ทันตแพทย์กำหนด

5. เมื่อจัดฟันแบบใสเสร็จแล้ว ควรใส่รีเทรนเนอร์เพื่อคงสภาพฟันเหมือนการจัดฟันประเภทอื่น ๆ

การจัดฟันแบบใสถือว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับใครที่ต้องการความสวยงามและดูแลง่าย รวมถึงมีกำลังมากพอจะจ่าย เพราะปลายทางของการจัดฟันก็ให้ผลที่คล้าย ๆ กัน นั่นคือการมีฟันที่เรียงตัวสวย และลดปัญหาต่าง ๆ ที่เคยมีลงไปได้ไม่มากก็น้อย และที่สำคัญการดูแลฟันให้ดีก็ยังเป็นสิ่งจำเป็น ไม่ว่าคุณจะจัดฟันแบบไหนมาก็ตาม

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายจัดฟัน
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#จัดฟัน #จัดฟันแบบใส

อุดฟันเจ็บไหม-หลังจากอุดแล้วต้องทำอย่างไร

อุดฟันเจ็บไหม หลังจากอุดแล้วต้องทำอย่างไร

การอุดฟันเป็นกระบวนการในการฟื้นฟูฟันที่หัก หรือฟันที่มีปัญหาผุ หรืออักเสบ ซึ่งการอุดฟันสามารถทำได้หลายแบบทั้งแบบ โลหะ แบบเรซิน แบบคอมโพสิต หรือใช้ทองคำในการอุดฟัน ซึ่งอาการความเจ็บในการอุดฟันนั้น จะขึ้นอยู่กับเคสและอาการของแต่ละคนว่าอาการของฟันนั้นเป็นอย่างไร

ซึ่งความเจ็บของการอุดฟันนั้น ถามว่าเจ็บหรือไม่ จริง ๆ แล้วผมคิดว่าเจ็บแน่นอนเพราะว่าก่อนที่เราจะทำฟันเราจะต้องฉีดยาชา ซึ่งการฉีดยาชานี่ล่ะครับที่เป็นสิ่งที่ทำให้เรากลัว หรือเด็กๆ กลัวกันมากว่ามันเจ็บสุดๆ เวลาโดนฉีดยาชา แต่หลังจากนั้นก็แทบจะไม่ได้รับความรู้สึกอีกเลย ยิ่งเป็นเด็กๆ จะยิ่งกลัวมากๆ

วิธีการดูแลรักษาฟันหลังอุดฟัน

– ต้องระวังอาการเสียวฟันหลังจากที่อุดฟัน
– ต้องระวังอาการปวดฟันหลังอุดฟัน ให้กินยาพารา เพื่อป้องกันอาการปวด
– ต้องระวังฟันที่อุด แตกหรือหลุดออก
– การเคี้ยวต้องระวังถ้าเป็นอาหารแข็งหรือเหนียวอาจจะทำให้ฟันที่อุดเกิดปัญหาได้
– แปรงฟันทำความสะอาดได้ปกติ

ควรพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพฟันทุกๆ 6 เดือน เพื่อสุขภาพฟันที่ดียิ่งขึ้น ติดต่อทันตแพทย์ หากคุณมีปัญหา ถ้าพบว่าฟัน ช่องปาก หรือการอุดฟันมีปัญหา ให้ติดต่อทันตแพทย์ทันที

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมาย
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#อุดฟัน #อุดฟันเจ็บไหม #ดูแลหลังอุดฟัน

เหงือกบวมแบบไหน ต้องไปพบทันตแพทย์

แนะวิธีสังเกต เหงือกบวมแบบไหน ต้องไปพบทันตแพทย์

หนึ่งในปัญหาช่องปากที่หลายคนไม่อยากเจอ นั่นคือ “เหงือกบวม” ที่นอกจากจะสร้างความเจ็บปวด รำคาญใจแล้ว ยังทำให้เสียความมั่นใจในเรื่องกลิ่นปากอีกด้วย ซึ่งตามปกติแล้ว หากเป็นอาการเหงือกบวมปกติ สามารถทำความสะอาดฟันและเหงือกบริเวณที่เกิดอาการด้วยตนเอง โดยการใช้แปรงสีฟันที่เหมาะสม ใช้ไหมขัดฟันช่วยขัดเศษอาหารที่ติดอยู่ในซอกฟันอย่างถูกวิธี รวมไปถึงการบ้วนน้ำเกลือเพื่อลดอาการบวมแดง แล้วอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้น แต่ถ้าเกิดมีอาการนอกเหนือจากนี้ล่ะ เราจะรู้ได้อย่างไรว่า เหงือกบวมแบบไหน จึงควรต้องไปพบทันตแพทย์ ไปดูกันค่ะ

1. เหงือกบวม จากกระดูกงอก

สีเหงือกจะมีสีชมพูเป็นปกติ ส่วนอาการบวมนั้นจะเกิดขึ้น เมื่อมีตุ่มกระดูกก้อนใหญ่ดันเหงือกออกมามาก ซึ่งอาการบวมนี้เป็นกลไกทางร่างกายอย่างหนึ่งที่ร่างกายจะสร้างกระดูกให้หนาขึ้น เพื่อรองรับแรงจากการบดเคี้ยวที่ไม่เท่ากัน

2. เหงือกบวม จากการเกิดความระคายเคืองมาเป็นเวลานาน

เหงือกที่บวมจะปูดเป็นก้อนแข็ง แต่ยังคงมีสีชมพูตามปกติ ส่วนการรักษานั้น ทันตแพทย์จะใช้วิธีการตัดก้อนที่บวมออก พร้อมกับกำจัดตัวต้นเหตุที่ทำให้เกิดการระคายเคือง

3. เหงือกบวม จากผลข้างเคียงของยา

เหงือกจะมีลักษณะบวมหนาขึ้นกว่าปกติมาก ผู้ป่วยจะหายปกติหากหยุดยา และขูดหินปูน ถ้าไม่หายอาจต้องศัลยกรรมตัดแต่งเหงือก เพื่อช่วยให้ทำความสะอาดได้ดีขึ้น ในกรณีที่รักษาไม่หาย ทันตแพทย์จะใช้วิธีศัลยกรรมตกแต่งเหงือกเพื่อที่ผู้ป่วยจะได้สามารถทำความสะอาดฟันได้ดีและง่ายขึ้น

4. เหงือกบวม จากโรคปริทันต์

มักพบในผู้ที่สุขอนามัยภายในช่องปากไม่ดี โดยทั่วไปจะแบ่งตัวโรคออกมาเป็น 2 โรค ได้แก่

  • โรคเหงือกอักเสบ เกิดจากการสะสมหินปูนจำนวนมาก ทำให้เหงือกอักเสบบริเวณรอบ ๆ ฟัน ซึ่งในบางครั้งอาจจะพบเลือดออกขณะแปรงฟันได้ รวมถึงมีอาการเสียวฟันและกลิ่นปากตามมา
  • โรคปริทันต์ มีสาเหตุที่คล้ายกันกับโรคเหงือกอักเสบ คือ เกิดจากการสะสมหินปูนจำนวนมาก แต่ผู้ที่เป็นมีภูมิต้านทานเชื้อโรคต่ำ จึงทำให้เกิดการติดเชื้อ และเชื้อก็ลุกลามไปมาก ทำให้เกิดการทำลายกระดูกที่มารองรับฟัน อาการที่สามารถสังเกตได้ คือ ฟันโยก ฟันบานออกหรือฟันยาว เหงือกบวม ในรายที่รุนแรงมาก ๆ จะพบเหงือกมีหนองไหล ส่วนวิธีการรักษานั้น ทันตแพทย์จะขูดหินปูน และจะทำการเกลารากฟัน เพื่อจะกำจัดตัวหินปูน ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการระคายเคืองออก ร่วมกับการดูแลสุขอนามัยภายในช่องปากให้มากขึ้น

5. เหงือกบวม จากเนื้องอกของผู้หญิงตั้งครรภ์

มักพบในผู้หญิงตั้งครรภ์ที่มีสุขอนามัยภายในช่องปากที่ไม่ดี อันมีผลมาจากการที่ร่างกายตอบสนองต่ออาการระคายเคืองจากหินปูนไวกว่าปกติ สำหรับการรักษา ทันตแพทย์จะตัดเนื้องอกนั้นออก แล้วจึงทำการขูดหินปูนในจุดที่ระคายเคืองออกเสีย

6. เหงือกบวม เกิดเป็นตุ่มหนองเล็ก ๆ

มักเกิดในบริเวณใกล้เคียงกับจุดที่ฟันผุมาก ๆ อันเนื่องมาจากภาวะฟันผุที่เกิดการลุกลามไปจนถึงชั้นโพรงประสาทฟัน พบการติดเชื้อจนฟันตายและมีหนองสะสมในตัวฟัน ทำให้ออกมาภายในช่องปาก ในกรณีเช่นนี้ ทันตแพทย์จะแนะนำให้รักษาคลองรากฟัน

7. เหงือกบวม จากก้อนมะเร็ง

ลักษณะของก้อนมะเร็งที่เกิดขึ้นนั้นจะคล้าย ๆ กับดอกกะหล่ำ โดยจะมีอาการบวม และจะทำลายเหงือกรวมถึงฟันโดยรอบอย่างรวดเร็วและรุนแรงมาก ในบางรายอาจจะพบอาการชาภายในช่องปากร่วมด้วย ซึ่งจะต้องมาพบทันตแพทย์ เพื่อรักษาร่วมกับแพทย์เฉพาะทาง

ดังนั้น หากใครที่กำลังมีอาการของเหงือกบวม อย่ารอช้าหรือปล่อยไว้ให้อาการรุนแรงขึ้นนะคะ โดยเฉพาะหากใครมีอาการดังที่กล่าวมา ทางที่ดีที่สุดควรรีบไปพบทันตแพทย์ให้เร็วที่สุด

ติดต่อสอบถามข้อมูล “เหงือกบวม” เพิ่มเติมได้ที่

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ทันตกรรม #ทันตแพทย์ #เหงือกบวม #ปัญหาเหงือก

ฟันคุดไม่ผ่าได้ไหม

ฟันคุดไม่ผ่าได้ไหม? 6 สาเหตุที่ทันตแพทย์แนะให้ถอนฟันคุด

ครั้งหนึ่งในชีวิตของเกือบทุกคน จะต้องเคยผ่านประสบการณ์ผ่าฟันคุดมาก่อน แต่สำหรับใครที่รู้ตัวว่ามีฟันคุด แต่กล้า ๆ กลัว ๆ ไม่รู้ว่าจะผ่าดี ไม่ผ่าดี ต้องอ่านบทความนี้ให้ดี ๆ เลยค่ะ คนจำนวนไม่น้อยเลือกที่จะไม่ผ่าฟันคุด จนกระทั่งเจ็บปวดจนทนไม่ไหวนั่นแหละค่ะ ถึงได้รีบไปหาทันตแพทย์โดยด่วน ใครกำลังปวดฟันคุดยกมือขึ้น คงมีคำถามว่า ไม่ผ่าฟันคุดได้ไหม? มาดูกันค่ะ ว่าเหตุผลอะไรที่ทันตแพทย์ถึงแนะนำให้ผ่าฟันคุด

ฟันคุด คืออะไรกันนะ?

ฟันคุด เหมือนเด็กมีปัญหาค่ะ ที่เขาไม่สามารถโผล่ขึ้นมาได้ตามปกติ บางซี่ก็โผล่มาบางส่วน แต่บางซี่ก็อยู่ข้างใต้โดยมีเหงือกปกคลุมอยู่ พอมันไม่สามารถขึ้นได้เต็มที่ ก็จะไปดันเหงือกจนเราปวดนี่ล่ะค่ะ

ทำไมทันตแพทย์จึงแนะนำให้ผ่าฟันคุด

โดยทั่วไปแล้ว ฟันคุดจะมีหลายรูปแบบด้วยกันค่ะ การรักษาก็แตกต่างกันออก บางซี่ขึ้นเต็มซี่ บางซี่มีเหงือกมาปกคลุม บางซี่ก็ไม่ขึ้นมาเลย แต่พยายามดันตัวเองขึ้นมา ทำให้เรารู้สึกเจ็บ ซึ่งทันตแพทย์ก็มักจะให้ผ่าฟันคุด ซึ่งสาเหตุก็มีดังต่อไปนี้

1. ฟันคุด ทำให้เกิดอาการปวด

แน่นอนค่ะ ถ้าไม่ปวด คงไม่มีใครรีบมาหาหมอฟันแน่นอน สาเหตุก็เพราะฟันคุดมีแรงผลัก เพื่อจะงอกขึ้นมาในขากรรไกร แต่ถูกกัดหรือติดโดยฟันข้างเคียง ทำให้มีแรงย้อนกลับไปกดที่เส้นประสาทของขากรรไกร จึงเกิดอาการปวดขึ้น

2. ฟันคุด ทำให้เกิดฟันผุ

เพราะฟันคุดเป็นแหล่งกักเก็บ สะสมเชื้อโรคชั้นดีเลยล่ะค่ะ ทำความสะอาดได้ยากเพราะอยู่ลึก นอกจากฟันคุดผุแล้ว มักจะส่งผลกระทบให้ฟันข้างเคียงผุตามไปด้วย และหากรักษาไม่ได้ ท้ายที่สุดก็ต้องถอนออก ทำให้เราเสียฟันดี ๆ ไปโดยปริยาย

3. ฟันคุด ทำให้เกิดฟันซ้อนเก

เจ้าฟันคุดที่ขึ้นมาแบบครึ่ง ๆ กลาง ๆ หรือขึ้นมาแบบบางส่วนและพยายามดันตัวเอง ก็ไปดันฟันที่รอบ ๆ ข้าง ทำให้ฟันถูกเบียด ไม่สามารถขึ้นเป็นแนวตามธรรมชาติได้ ผลที่ตามมาก็ทำความสะอาดยาก ฟันขึ้นมาซ้อนกันก็ไม่สวย ไม่มั่นใจ

4. ฟันคุด ทำให้เกิดการติดเชื้อ

อย่างที่บอกไปว่า ฟันคุดเป็นจุดที่สะสมเชื้อโรค ดังนั้นการติดเชื้อจึงเป็นของที่มาคู่กันกับฟันคุดเลยค่ะ โดยการติดเชื้อจากฟันคุดทำให้ขากรรไกรบวม ถ้าเป็นรุนแรง อ้าปากไม่ขึ้น กลืนไม่ได้ ลุกลามลงคอ อาจทำให้หายใจไม่ได้ ถึงขนาดต้องนอนโรงพยาบาลรักษาอย่างเร่งด่วนกันเลย

5. ฟันคุด ทำให้เหงือกอักเสบ

ทั้งฟันที่พยายามดันเหงือกขึ้นมาจนเหงือกเจ็บ รวมถึงเศษอาหารที่ค้างอยู่ใต้เหงือกที่คลุมฟันอยู่นั้น เป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรียที่ยากจะทำความสะอาดได้หมด ซึ่งง่ายต่อการเกิดเหงือกอักเสบและบวม ยิ่งหากใครที่ทำความสะอาดได้ไม่ดี ยิ่งมีโอกาสสูงที่จะเกิดอาการเหงือกอักเสบไปพร้อมกับอาการปวดฟันคุด

6. ฟันคุด ทำให้เกิดถุงน้ำ

การที่มีถุงน้ำอยู่ในขากรรไกรก็เหมือนกับลูกโป่งที่จะค่อย ๆ พองใหญ่ขึ้น เบียดกินกระดูกขากรรไกรไปเรื่อย ๆ ถ้าพบและรีบผ่าตัดออกได้เร็ว โอกาสในการสูญเสียอวัยวะขากรรไกรก็น้อย ยังสามารถรักษารูปหน้าให้เหมือนเดิมได้ แต่หากถุงน้ำใหญ่มาก ๆ อาจถึงขนาดต้องตัดขากรรไกรบางส่วนออก การรักษารูปหน้าให้เหมือนเดิมก็ทำได้ยากขึ้น

เห็นไหมล่ะคะว่าฟันคุดไม่ได้มีประโยชน์อะไรเลยที่จะเก็บไว้ ดังนั้นหากใครที่กำลังโอดโอย ปวดฟันคุดอยู่ แนะนำเลยว่ารีบไปพบทันตแพทย์และรับการรักษาต่อไป

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมาย
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ฟันคุด #ผ่าฟันคุด

รีวิวเคสทันตกรรมเด็ก

รีวิวเคสทันตกรรมเด็ก

ฟันผุในเด็กเล็ก สาเหตุหลัก มักเกิดจากการรับประทานนมมื้อดึก ทั้งการหลับคาเต้า และหลับคาขวดนม หรือรับประทานนมระหว่างคืนหลายครั้ง ร่วมกับการแปรงฟันที่ไม่เหมาะสม

หากบุตรหลานของท่านมีฟันผุบริเวณฟันหน้า ควรพบทันตแพทย์เด็ก เพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสมอย่างทันท่วงที ไม่ควรรอจนปวดบวมหรือมีอาการ  เนื่องจากหากปล่อยฟันผุเป็นระยะเวลานานอาจจะให้เด็กปวดฟัน บวมที่เหงือกและใบหน้า ติดเชื้อได้ หากมีอาการดังกล่าว จะทำให้การรักษาทางทันตกรรมซับซ้อนมากขึ้น มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น และทำให้เด็กร่วมมือต่อการรักษาลดลง

รูปแสดงฟันผุ บริเวณฟันหน้าบนจากการรับประทานขวดนม

ทางเลือกในการรักษาของเด็กที่มีฟันหน้าผุ

1.หากฟันผุไม่ลุกลาม หรือเป็นฟันผุระยะเริ่มแรกยังไม่เป็นรู อาจใช้การติดตามอาการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานนม แปรงฟัน ร่วมกับการใช้ฟลูออไรด์ความเข้มข้นสูงทุก 3 เดือน เพื่อช่วยหยุดยั้งการลุกลามของโรคฟันผุ

2.อุดฟัน ทำในกรณีเป็นฟันผุลุกลาม ขนาดเล็ก

3. กรณีฟันผุลุกลามขนาดใหญ่ ที่ไม่สามารถบูรณะด้วยการอุดฟันได้ หรือในฟันหนึ่งซี่มีฟันผุหลายด้านหรือหลายตำแหน่ง จำเป็นจะต้องบูรณะฟันด้วยการทำ ครอบฟันน้ำนม

ครอบฟันน้ำนม มีกี่แบบ?

1.ครอบฟันสีเงิน หรือครอบฟันสแตนเลส : สามารถทำได้ง่ายและรวดเร็ว ราคาไม่แพง ข้อเสียที่สำคัญคือ ไม่สวย เนื่องจากยิ้มมาแล้วจะเป็นสีเงิน

ครอบฟันสีเงิน หรือ ครอบฟันสแตนเลส

2.ครอบฟันสีเงิน ร่วมกับการอุดฟันปิดสีเงินด้วยวัสดุอุดฟันบริเวณด้านหน้า : มีความสวยงามมากขึ้น แต่ยังเห็นเงาสะท้อนของสีเงินด้านในอยู่. และเด็กต้องร่วมมือในการรักษา. หากเด็กไม่ร่วมมือจะทำได้ยาก

ด้านหน้าอุดปิดสีเงิน / ด้านหลังเป็นครอบฟันสีเงิน

3.ครอบฟันสีเหมือนฟัน. หรือครอบฟันเซรามิก : ครอบฟันแบบนี้จะมีความสวยที่สุด เนื่องจากสีของครอบฟันเป็นสีเหมือนฟัน

ครอบฟันสีเหมือนฟัน
ครอบฟันหน้าเซรามิกสำหรับเด็ก
ครอบฟันเซรามิก

ติดต่อสอบถามข้อมูล “ทำฟันเด็ก” เพิ่มเติมได้ที่

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#รีวิวเคสทันตกรรมเด็กBPDC #ครอบฟันน้ำนม #ทำฟันเด็ก #ทำฟันเด็กบางพลี #ทำฟันเด็กบางนา

เพิ่มความปลอดภัยด้วยระบบ-Bi-Ionization-Air-Purifier

เพิ่มความปลอดภัยด้วยระบบ-Bi-Ionization-Air-Purifier

คลินิกทันตกรรม BPDC เปิดให้บริการตามปกตินะคะ

เพื่อความปลอดภัยและความมั่นใจของคนไข้ทางร้านได้ ติดตั้งระบบ Bi-Ionization Air Purifier จาก SCG ที่สามารถลดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียทั้งในอากาศและบนพื้นผิว รวมถึงเชื้อไวรัสโคโรน่า ที่เป็นสาเหตุของ Covid-19** กำจัดเชื้อโรค ให้สะอาดได้ตลอด 24 ชม.**

ด้วยประสิทธิภาพของประจุ ไอออนบวก(+) ไอออนลบ(-)
ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ผ่านการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยจาก ?? สหรัฐอเมริกา

ได้รับการรับรองจากสถาบัน INTA ประเทศสเปนว่าสามารถลด MS2 Bacteriophage ซึ่งเป็น surrogate ของเชื้อ COVID-19 ในอากาศได้มากกว่า 90% และบนพื้นผิว 80% ภายใน 10 นาที . ? ช่วยลดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย สปอร์เชื้อรา สิ่งเจือปนในอากาศและบนพื้นผิววัสดุต่างๆ ได้มากถึง 90%
? ช่วยลดปัญหาฝุ่นที่มีความเล็กในระดับ PM2.5
? ช่วยลดกลิ่นสารระเหย และกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆ
? ปลอดภัยต่อระบบหายใจ ปราศจากโอโซน (O3)
? ไม่มีผลข้างเคียงกับสิ่งมีชีวิต

นอกจากนี้ทางคลินิกยังคงมาตรการรักษาความสะอาดและการป้องกันตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขและ SHA ด้วยกา

  1. ตรวจวัดอุณหภูมิทุกคนก่อนคลินิก
  2. เจ้าหน้าที่ทุกคนจะต้องสวมใสหน้ากากอนามัยและถุงมือตลอดระยะเวลาที่ปฎิบัติงาน
  3. เจ้าหน้าที่ทุกคนล้างมือด้วยแอลกอฮอล์อย่างสม่ำเสมอ
  4. ให้บริการเจลแอลกอฮอล์ตามจุดต่างๆภายในคลินิก
  5. ทำความสะอาดโต๊ะและพื้นที่โดยรอบด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อหลังจากคนไข้ใช้บริการ

    ด้วยความห่วงใยจากพวกเรา คลินิกทันตกรรม BPDC
    ขอบคุณที่ทุกท่านมั่นใจและสนับสนุนเรามาตลอด

    ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

    โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
    Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
    https://bpdcdental.com/
    ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)
    .

คลินิกทันตกรรม #BPDC #ทันตกรรม #SCG #AirPurifier #BiIonization