เมื่อฟันถูกถอนไป กระดูกรองรับรากฟันในบริเวณนั้นจะเกิดการละลายมากกว่าในบริเวณที่ยังมีฟันธรรมชาติอยู่ การใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้เพื่อทดแทนช่องว่างนั้นสามารถทำได้ แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไปเราจะพบว่าเกิดการหลวมของฟันปลอมขึ้นโดยเหตุผลส่วนหนึ่งนั้นมาจากที่กระดูกรองรับรากฟันได้ละลายไป ทำให้เกิดการยุบตัวของสันเหงือก ฟันปลอมจึงไม่มีความพอดีเหมือนในช่วงแรก
เป็นที่ทราบดีว่า รากฟันเทียม นั้นทำมาจากวัสดุที่เข้ากับเนื้อเยื่อของร่างกายเราได้อย่างดี การมีอยู่ของรากฟันเทียมในกระดูรองรับรากฟันจะช่วยกระจายแรงบดคี้ยวจากตัวครอบฟันลงสู่กระดูกขากรรไกรของเราอย่างเหมาะสม ดังนั้นการใส่รากฟันเทียมจึงช่วยชะลอการเสื่อมของกระดูกรองรับรากฟันอีกในบริเวณที่มีการถอนฟันออกไปนั่นเอง
หลังจากใส่รากฟันเทียมแล้วจะสามารถต่อครอบฟันขึ้นมาจากรากฟันเทียมเพื่อทดแทนฟันที่หายไปโดยที่ไม่ต้องกรอแต่งฟันธรรมชาติเหมือนกับในการทำสะพานฟัน ในกรณีที่มีฟันถูกถอนไปติดกันหลายตำแหน่งรากฟันเทียมก็สามารถรองรับครอบฟันในรูปแบบสะพานฟันได้เช่นกัน หรือในกรณีที่ไม่มีฟันธรรมชาติเหลืออยู่เลยการ เราสามารถใส่รากฟันเทียมเพื่อเพิ่มการยึดเกาะให้กับฟันปลอมได้อีกด้วย โดยไม่ว่าจะเป็นการใส่รากฟันเทียมเพื่อต่อครอบฟัน/สะพานฟันแบบติดแน่น หรือ เพื่อเพิ่มการยึดติดให้กับฟันปลอมชนิดถอดได้ ล้วนช่วยให้สามารถบดเคี้ยวได้ดีขึ้น แก้ปัญหาฟันปลอมขยับขณะรับประทานอาหาร เพิ่มความรู้สึกสบายมั่นใจมากยิ่งขึ้นในขณะพูดคุยอีกด้วย
ระยะเวลาในการทำรากฟันเทียม
สำหรับระยะเวลาในการรักษารากฟันเทียม นั้นจะใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 3 – 6 เดือน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ของช่องปาก ไม่ว่าจะเป็นปริมาณและคุณภาพของกระดูกขากรรไกร ที่อาจจะต้องมีการเสริมกระดูกให้แข็งแรง จำนวนฟันที่ต้องการทำรากเทียม เป็นต้น
ในปัจจุบันนี้ มีเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยลดระยะเวลาในการทำครอบฟันให้เสร็จภายในวันเดียว นั่นก็คือเทคโนโลยี Dental Digital CAD/CAM ที่จะช่วยลดระยะเวลาในการทำรากฟันเทียมให้สั้นลง ด้วยวิธีการส่งแล็บ และสแกนช่องปากแทนการพิมพ์ปากแบบเดิม โดยจะเริ่มจากการเอกซเรย์ 3 มิติ ถ่ายรูปและสแกนซี่ฟัน หลังจากนั้นจะเป็นการออกแบบชิ้นงานด้วยโปรแกรม และผลิตชิ้นงาน ก่อนจะนำมาใส่ในช่องปากให้กับผู้รับการรักษา โดยจะใช้ระยะเวลาประมาณ 2 – 3 ชั่วโมงเท่านั้น
ใครที่เหมาะกับการทำรากฟันเทียม
สำหรับผู้ที่สูญเสียฟันแท้ไป การใส่รากฟันเทียมนั้น ควรทำในผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป เนื่องจากกระดูกขากรรไกรจะเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว และผู้ที่จะทำรากเทียมนั้น ควรที่จะต้องมีสุขภาพที่แข็งแรง สามารถทำการผ่าตัดโดยใช้ยาชาได้ สำหรับบุคคลที่ไม่ควรทำรากฟันเทียม ได้แก่ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี บุคคลที่ตั้งครรภ์ ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง
อาการที่อาจเกิดขึ้นหลังจากทำรากฟันเทียม
การผ่าตัดรากฟันเทียมอาจจะเกิดผลข้างเคียงได้เช่นเดียวกับการผ่าตัด ซึ่งอาการเหล่านั้นอาจเกิดจากการผ่าตัดหรือพฤติกรรมของผู้เข้ารับการรักษา ไม่ว่าจะเป็น
- รากฟันเทียมอักเสบ เนื่องจากการดูแลตัวเองหลังผ่าตัดไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารที่มีรสจัด การเคี้ยวของแข็ง การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่จัด
- มีอาการเจ็บหรือปวดหลังผ่าตัด หากอาการไม่ดีขึ้น ควรพบทันตแพทย์ทันที
- มีอาการบวม สามารถประคบเย็นได้ หากอาการไม่ดีขึ้น ควรพบทันตแพทย์ทันที
- เกิดการติดเชื้อบริเวณที่ผ่าตัด หากมีอาการอักเสบ เป็นหนอง หรือฟันเทียมโยก ควรแจ้งทันตแพทย์ทันที
หลังจาการใส่รากฟันเทียมไปแล้วจะเกิดอะไรได้บ้าง และควรปฏิบัติตัวอย่างไร
- หลังใส่รากฟันเทียมอาจเกิดอาการ ปวด บวม อักเสบ ได้คล้ายกับเวลาที่เราได้รับการถอนฟันหรือผ่าฟันคุดนั่นเอง สิ่งที่สำคัญคือการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากของเราและปฏิบัติตามคำแนะนำของทันตแพทย์อย่างเคร่งครัด
- สัปดาห์แรกควรรับประทานยาฆ่าเชื้อตามที่ได้รับจากทันตแพทย์อย่างเคร่งครัด
- ควรทานอาหารอ่อนๆ หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด หรือร้อนจัด
- งดสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ จนกว่าจะรักษาเสร็จ
- แปรงฟันในบริเวณอื่นได้ปกติแต่หลีกเลี่ยงการแปรงฟันบริเวณแผลโดยตรง การบ้วนน้ำเกลือทุกครั้งหลังอาหารสามารถช่วยลดการติดของเศษอาหารบริเวณแผล ลดโอกาสการเกิดการอักเสบได้
- หากมีอาการที่ทำให้เกิดความกังวลใดๆ สามารถมาติดต่อมาที่แผนก หรือมาพบทันตแพทย์ได้ทันที
สำหรับการทำรากฟันเทียมนั้น ควรเลือกรักษากับทันตแพทย์ที่มีความน่าเชื่อถือและความชำนาญเพื่อให้การทำรากฟันเทียมประสบผลสำเร็จและสามารถใช้งานได้ดี ซึ่งสิ่งที่ต้องทำควบคู่กันไปคือการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากอย่างสม่ำเสมอ และควรเข้ารับการตรวจติดตามผลทุกๆ 6 เดือน เพื่อให้มั่นใจว่าสุขภาพช่องปากที่แข็งแรงจะอยู่กับเราไปอีกนาน
สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายเพื่อทำรากฟันเทียม
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)
www.bpdcdental.com
BPDC #คลินิกทันตกรรม #รากฟันเทียม #รักษารากฟันเทียม #CadCam