ฟันคุดไม่ผ่าได้ไหม

ฟันคุดไม่ผ่าได้ไหม? 6 สาเหตุที่ทันตแพทย์แนะให้ถอนฟันคุด

ครั้งหนึ่งในชีวิตของเกือบทุกคน จะต้องเคยผ่านประสบการณ์ผ่าฟันคุดมาก่อน แต่สำหรับใครที่รู้ตัวว่ามีฟันคุด แต่กล้า ๆ กลัว ๆ ไม่รู้ว่าจะผ่าดี ไม่ผ่าดี ต้องอ่านบทความนี้ให้ดี ๆ เลยค่ะ คนจำนวนไม่น้อยเลือกที่จะไม่ผ่าฟันคุด จนกระทั่งเจ็บปวดจนทนไม่ไหวนั่นแหละค่ะ ถึงได้รีบไปหาทันตแพทย์โดยด่วน ใครกำลังปวดฟันคุดยกมือขึ้น คงมีคำถามว่า ไม่ผ่าฟันคุดได้ไหม? มาดูกันค่ะ ว่าเหตุผลอะไรที่ทันตแพทย์ถึงแนะนำให้ผ่าฟันคุด

ฟันคุด คืออะไรกันนะ?

ฟันคุด เหมือนเด็กมีปัญหาค่ะ ที่เขาไม่สามารถโผล่ขึ้นมาได้ตามปกติ บางซี่ก็โผล่มาบางส่วน แต่บางซี่ก็อยู่ข้างใต้โดยมีเหงือกปกคลุมอยู่ พอมันไม่สามารถขึ้นได้เต็มที่ ก็จะไปดันเหงือกจนเราปวดนี่ล่ะค่ะ

ทำไมทันตแพทย์จึงแนะนำให้ผ่าฟันคุด

โดยทั่วไปแล้ว ฟันคุดจะมีหลายรูปแบบด้วยกันค่ะ การรักษาก็แตกต่างกันออก บางซี่ขึ้นเต็มซี่ บางซี่มีเหงือกมาปกคลุม บางซี่ก็ไม่ขึ้นมาเลย แต่พยายามดันตัวเองขึ้นมา ทำให้เรารู้สึกเจ็บ ซึ่งทันตแพทย์ก็มักจะให้ผ่าฟันคุด ซึ่งสาเหตุก็มีดังต่อไปนี้

1. ฟันคุด ทำให้เกิดอาการปวด

แน่นอนค่ะ ถ้าไม่ปวด คงไม่มีใครรีบมาหาหมอฟันแน่นอน สาเหตุก็เพราะฟันคุดมีแรงผลัก เพื่อจะงอกขึ้นมาในขากรรไกร แต่ถูกกัดหรือติดโดยฟันข้างเคียง ทำให้มีแรงย้อนกลับไปกดที่เส้นประสาทของขากรรไกร จึงเกิดอาการปวดขึ้น

2. ฟันคุด ทำให้เกิดฟันผุ

เพราะฟันคุดเป็นแหล่งกักเก็บ สะสมเชื้อโรคชั้นดีเลยล่ะค่ะ ทำความสะอาดได้ยากเพราะอยู่ลึก นอกจากฟันคุดผุแล้ว มักจะส่งผลกระทบให้ฟันข้างเคียงผุตามไปด้วย และหากรักษาไม่ได้ ท้ายที่สุดก็ต้องถอนออก ทำให้เราเสียฟันดี ๆ ไปโดยปริยาย

3. ฟันคุด ทำให้เกิดฟันซ้อนเก

เจ้าฟันคุดที่ขึ้นมาแบบครึ่ง ๆ กลาง ๆ หรือขึ้นมาแบบบางส่วนและพยายามดันตัวเอง ก็ไปดันฟันที่รอบ ๆ ข้าง ทำให้ฟันถูกเบียด ไม่สามารถขึ้นเป็นแนวตามธรรมชาติได้ ผลที่ตามมาก็ทำความสะอาดยาก ฟันขึ้นมาซ้อนกันก็ไม่สวย ไม่มั่นใจ

4. ฟันคุด ทำให้เกิดการติดเชื้อ

อย่างที่บอกไปว่า ฟันคุดเป็นจุดที่สะสมเชื้อโรค ดังนั้นการติดเชื้อจึงเป็นของที่มาคู่กันกับฟันคุดเลยค่ะ โดยการติดเชื้อจากฟันคุดทำให้ขากรรไกรบวม ถ้าเป็นรุนแรง อ้าปากไม่ขึ้น กลืนไม่ได้ ลุกลามลงคอ อาจทำให้หายใจไม่ได้ ถึงขนาดต้องนอนโรงพยาบาลรักษาอย่างเร่งด่วนกันเลย

5. ฟันคุด ทำให้เหงือกอักเสบ

ทั้งฟันที่พยายามดันเหงือกขึ้นมาจนเหงือกเจ็บ รวมถึงเศษอาหารที่ค้างอยู่ใต้เหงือกที่คลุมฟันอยู่นั้น เป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรียที่ยากจะทำความสะอาดได้หมด ซึ่งง่ายต่อการเกิดเหงือกอักเสบและบวม ยิ่งหากใครที่ทำความสะอาดได้ไม่ดี ยิ่งมีโอกาสสูงที่จะเกิดอาการเหงือกอักเสบไปพร้อมกับอาการปวดฟันคุด

6. ฟันคุด ทำให้เกิดถุงน้ำ

การที่มีถุงน้ำอยู่ในขากรรไกรก็เหมือนกับลูกโป่งที่จะค่อย ๆ พองใหญ่ขึ้น เบียดกินกระดูกขากรรไกรไปเรื่อย ๆ ถ้าพบและรีบผ่าตัดออกได้เร็ว โอกาสในการสูญเสียอวัยวะขากรรไกรก็น้อย ยังสามารถรักษารูปหน้าให้เหมือนเดิมได้ แต่หากถุงน้ำใหญ่มาก ๆ อาจถึงขนาดต้องตัดขากรรไกรบางส่วนออก การรักษารูปหน้าให้เหมือนเดิมก็ทำได้ยากขึ้น

เห็นไหมล่ะคะว่าฟันคุดไม่ได้มีประโยชน์อะไรเลยที่จะเก็บไว้ ดังนั้นหากใครที่กำลังโอดโอย ปวดฟันคุดอยู่ แนะนำเลยว่ารีบไปพบทันตแพทย์และรับการรักษาต่อไป

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมาย
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ฟันคุด #ผ่าฟันคุด

รีวิวเคสทันตกรรมเด็ก

รีวิวเคสทันตกรรมเด็ก

ฟันผุในเด็กเล็ก สาเหตุหลัก มักเกิดจากการรับประทานนมมื้อดึก ทั้งการหลับคาเต้า และหลับคาขวดนม หรือรับประทานนมระหว่างคืนหลายครั้ง ร่วมกับการแปรงฟันที่ไม่เหมาะสม

หากบุตรหลานของท่านมีฟันผุบริเวณฟันหน้า ควรพบทันตแพทย์เด็ก เพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสมอย่างทันท่วงที ไม่ควรรอจนปวดบวมหรือมีอาการ  เนื่องจากหากปล่อยฟันผุเป็นระยะเวลานานอาจจะให้เด็กปวดฟัน บวมที่เหงือกและใบหน้า ติดเชื้อได้ หากมีอาการดังกล่าว จะทำให้การรักษาทางทันตกรรมซับซ้อนมากขึ้น มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น และทำให้เด็กร่วมมือต่อการรักษาลดลง

รูปแสดงฟันผุ บริเวณฟันหน้าบนจากการรับประทานขวดนม

ทางเลือกในการรักษาของเด็กที่มีฟันหน้าผุ

1.หากฟันผุไม่ลุกลาม หรือเป็นฟันผุระยะเริ่มแรกยังไม่เป็นรู อาจใช้การติดตามอาการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานนม แปรงฟัน ร่วมกับการใช้ฟลูออไรด์ความเข้มข้นสูงทุก 3 เดือน เพื่อช่วยหยุดยั้งการลุกลามของโรคฟันผุ

2.อุดฟัน ทำในกรณีเป็นฟันผุลุกลาม ขนาดเล็ก

3. กรณีฟันผุลุกลามขนาดใหญ่ ที่ไม่สามารถบูรณะด้วยการอุดฟันได้ หรือในฟันหนึ่งซี่มีฟันผุหลายด้านหรือหลายตำแหน่ง จำเป็นจะต้องบูรณะฟันด้วยการทำ ครอบฟันน้ำนม

ครอบฟันน้ำนม มีกี่แบบ?

1.ครอบฟันสีเงิน หรือครอบฟันสแตนเลส : สามารถทำได้ง่ายและรวดเร็ว ราคาไม่แพง ข้อเสียที่สำคัญคือ ไม่สวย เนื่องจากยิ้มมาแล้วจะเป็นสีเงิน

ครอบฟันสีเงิน หรือ ครอบฟันสแตนเลส

2.ครอบฟันสีเงิน ร่วมกับการอุดฟันปิดสีเงินด้วยวัสดุอุดฟันบริเวณด้านหน้า : มีความสวยงามมากขึ้น แต่ยังเห็นเงาสะท้อนของสีเงินด้านในอยู่. และเด็กต้องร่วมมือในการรักษา. หากเด็กไม่ร่วมมือจะทำได้ยาก

ด้านหน้าอุดปิดสีเงิน / ด้านหลังเป็นครอบฟันสีเงิน

3.ครอบฟันสีเหมือนฟัน. หรือครอบฟันเซรามิก : ครอบฟันแบบนี้จะมีความสวยที่สุด เนื่องจากสีของครอบฟันเป็นสีเหมือนฟัน

ครอบฟันสีเหมือนฟัน
ครอบฟันหน้าเซรามิกสำหรับเด็ก
ครอบฟันเซรามิก

ติดต่อสอบถามข้อมูล “ทำฟันเด็ก” เพิ่มเติมได้ที่

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#รีวิวเคสทันตกรรมเด็กBPDC #ครอบฟันน้ำนม #ทำฟันเด็ก #ทำฟันเด็กบางพลี #ทำฟันเด็กบางนา

เพิ่มความปลอดภัยด้วยระบบ-Bi-Ionization-Air-Purifier

เพิ่มความปลอดภัยด้วยระบบ-Bi-Ionization-Air-Purifier

คลินิกทันตกรรม BPDC เปิดให้บริการตามปกตินะคะ

เพื่อความปลอดภัยและความมั่นใจของคนไข้ทางร้านได้ ติดตั้งระบบ Bi-Ionization Air Purifier จาก SCG ที่สามารถลดเชื้อไวรัสและแบคทีเรียทั้งในอากาศและบนพื้นผิว รวมถึงเชื้อไวรัสโคโรน่า ที่เป็นสาเหตุของ Covid-19** กำจัดเชื้อโรค ให้สะอาดได้ตลอด 24 ชม.**

ด้วยประสิทธิภาพของประจุ ไอออนบวก(+) ไอออนลบ(-)
ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ผ่านการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยจาก ?? สหรัฐอเมริกา

ได้รับการรับรองจากสถาบัน INTA ประเทศสเปนว่าสามารถลด MS2 Bacteriophage ซึ่งเป็น surrogate ของเชื้อ COVID-19 ในอากาศได้มากกว่า 90% และบนพื้นผิว 80% ภายใน 10 นาที . ? ช่วยลดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย สปอร์เชื้อรา สิ่งเจือปนในอากาศและบนพื้นผิววัสดุต่างๆ ได้มากถึง 90%
? ช่วยลดปัญหาฝุ่นที่มีความเล็กในระดับ PM2.5
? ช่วยลดกลิ่นสารระเหย และกลิ่นไม่พึงประสงค์ต่างๆ
? ปลอดภัยต่อระบบหายใจ ปราศจากโอโซน (O3)
? ไม่มีผลข้างเคียงกับสิ่งมีชีวิต

นอกจากนี้ทางคลินิกยังคงมาตรการรักษาความสะอาดและการป้องกันตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขและ SHA ด้วยกา

  1. ตรวจวัดอุณหภูมิทุกคนก่อนคลินิก
  2. เจ้าหน้าที่ทุกคนจะต้องสวมใสหน้ากากอนามัยและถุงมือตลอดระยะเวลาที่ปฎิบัติงาน
  3. เจ้าหน้าที่ทุกคนล้างมือด้วยแอลกอฮอล์อย่างสม่ำเสมอ
  4. ให้บริการเจลแอลกอฮอล์ตามจุดต่างๆภายในคลินิก
  5. ทำความสะอาดโต๊ะและพื้นที่โดยรอบด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อหลังจากคนไข้ใช้บริการ

    ด้วยความห่วงใยจากพวกเรา คลินิกทันตกรรม BPDC
    ขอบคุณที่ทุกท่านมั่นใจและสนับสนุนเรามาตลอด

    ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

    โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
    Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
    https://bpdcdental.com/
    ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)
    .

คลินิกทันตกรรม #BPDC #ทันตกรรม #SCG #AirPurifier #BiIonization

แนะวิธีสังเกต เหงือกบวมแบบไหน ต้องไปพบทันตแพทย์

แนะวิธีสังเกต เหงือกบวมแบบไหน ต้องไปพบทันตแพทย์

หนึ่งในปัญหาช่องปากที่หลายคนไม่อยากเจอ นั่นคือ “เหงือกบวม” ที่นอกจากจะสร้างความเจ็บปวด รำคาญใจแล้ว ยังทำให้เสียความมั่นใจในเรื่องกลิ่นปากอีกด้วย ซึ่งตามปกติแล้ว หากเป็นอาการเหงือกบวมปกติ สามารถทำความสะอาดฟันและเหงือกบริเวณที่เกิดอาการด้วยตนเอง โดยการใช้แปรงสีฟันที่เหมาะสม ใช้ไหมขัดฟันช่วยขัดเศษอาหารที่ติดอยู่ในซอกฟันอย่างถูกวิธี รวมไปถึงการบ้วนน้ำเกลือเพื่อลดอาการบวมแดง แล้วอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้น แต่ถ้าเกิดมีอาการนอกเหนือจากนี้ล่ะ เราจะรู้ได้อย่างไรว่า เหงือกบวมแบบไหน จึงควรต้องไปพบทันตแพทย์ ไปดูกันค่ะ

1. เหงือกบวม จากกระดูกงอก

สีเหงือกจะมีสีชมพูเป็นปกติ ส่วนอาการบวมนั้นจะเกิดขึ้น เมื่อมีตุ่มกระดูกก้อนใหญ่ดันเหงือกออกมามาก ซึ่งอาการบวมนี้เป็นกลไกทางร่างกายอย่างหนึ่งที่ร่างกายจะสร้างกระดูกให้หนาขึ้น เพื่อรองรับแรงจากการบดเคี้ยวที่ไม่เท่ากัน

2. เหงือกบวม จากการเกิดความระคายเคืองมาเป็นเวลานาน

เหงือกที่บวมจะปูดเป็นก้อนแข็ง แต่ยังคงมีสีชมพูตามปกติ ส่วนการรักษานั้น ทันตแพทย์จะใช้วิธีการตัดก้อนที่บวมออก พร้อมกับกำจัดตัวต้นเหตุที่ทำให้เกิดการระคายเคือง

3. เหงือกบวม จากผลข้างเคียงของยา

เหงือกจะมีลักษณะบวมหนาขึ้นกว่าปกติมาก ผู้ป่วยจะหายปกติหากหยุดยา และขูดหินปูน ถ้าไม่หายอาจต้องศัลยกรรมตัดแต่งเหงือก เพื่อช่วยให้ทำความสะอาดได้ดีขึ้น ในกรณีที่รักษาไม่หาย ทันตแพทย์จะใช้วิธีศัลยกรรมตกแต่งเหงือกเพื่อที่ผู้ป่วยจะได้สามารถทำความสะอาดฟันได้ดีและง่ายขึ้น

4. เหงือกบวม จากโรคปริทันต์

มักพบในผู้ที่สุขอนามัยภายในช่องปากไม่ดี โดยทั่วไปจะแบ่งตัวโรคออกมาเป็น 2 โรค ได้แก่

  • โรคเหงือกอักเสบ เกิดจากการสะสมหินปูนจำนวนมาก ทำให้เหงือกอักเสบบริเวณรอบ ๆ ฟัน ซึ่งในบางครั้งอาจจะพบเลือดออกขณะแปรงฟันได้ รวมถึงมีอาการเสียวฟันและกลิ่นปากตามมา
  • โรคปริทันต์ มีสาเหตุที่คล้ายกันกับโรคเหงือกอักเสบ คือ เกิดจากการสะสมหินปูนจำนวนมาก แต่ผู้ที่เป็นมีภูมิต้านทานเชื้อโรคต่ำ จึงทำให้เกิดการติดเชื้อ และเชื้อก็ลุกลามไปมาก ทำให้เกิดการทำลายกระดูกที่มารองรับฟัน อาการที่สามารถสังเกตได้ คือ ฟันโยก ฟันบานออกหรือฟันยาว เหงือกบวม ในรายที่รุนแรงมาก ๆ จะพบเหงือกมีหนองไหล ส่วนวิธีการรักษานั้น ทันตแพทย์จะขูดหินปูน และจะทำการเกลารากฟัน เพื่อจะกำจัดตัวหินปูน ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการระคายเคืองออก ร่วมกับการดูแลสุขอนามัยภายในช่องปากให้มากขึ้น

5. เหงือกบวม จากเนื้องอกของผู้หญิงตั้งครรภ์

มักพบในผู้หญิงตั้งครรภ์ที่มีสุขอนามัยภายในช่องปากที่ไม่ดี อันมีผลมาจากการที่ร่างกายตอบสนองต่ออาการระคายเคืองจากหินปูนไวกว่าปกติ สำหรับการรักษา ทันตแพทย์จะตัดเนื้องอกนั้นออก แล้วจึงทำการขูดหินปูนในจุดที่ระคายเคืองออกเสีย

6. เหงือกบวม เกิดเป็นตุ่มหนองเล็ก ๆ

มักเกิดในบริเวณใกล้เคียงกับจุดที่ฟันผุมาก ๆ อันเนื่องมาจากภาวะฟันผุที่เกิดการลุกลามไปจนถึงชั้นโพรงประสาทฟัน พบการติดเชื้อจนฟันตายและมีหนองสะสมในตัวฟัน ทำให้ออกมาภายในช่องปาก ในกรณีเช่นนี้ ทันตแพทย์จะแนะนำให้รักษาคลองรากฟัน

7. เหงือกบวม จากก้อนมะเร็ง

ลักษณะของก้อนมะเร็งที่เกิดขึ้นนั้นจะคล้าย ๆ กับดอกกะหล่ำ โดยจะมีอาการบวม และจะทำลายเหงือกรวมถึงฟันโดยรอบอย่างรวดเร็วและรุนแรงมาก ในบางรายอาจจะพบอาการชาภายในช่องปากร่วมด้วย ซึ่งจะต้องมาพบทันตแพทย์ เพื่อรักษาร่วมกับแพทย์เฉพาะทาง

ดังนั้น หากใครที่กำลังมีอาการของเหงือกบวม อย่ารอช้าหรือปล่อยไว้ให้อาการรุนแรงขึ้นนะคะ โดยเฉพาะหากใครมีอาการดังที่กล่าวมา ทางที่ดีที่สุดควรรีบไปพบทันตแพทย์ให้เร็วที่สุด

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
.
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)
.

คลินิกทันตกรรม #BPDC #ทันตกรรม #เหงือกบวม

ครอบฟันหน้าเซรามิกสำหรับเด็ก

ทันตกรรมเด็ก ครอบฟันหน้าเซรามิกสำหรับเด็ก

ทันตกรรมเด็ก ครอบฟันหน้าเซรามิกสำหรับเด็ก

เพราะเด็กๆก็มีหัวใจ อยากยิ้มสวยเห็นฟันขาวเต็มซี่ มิใช่ยิ้มเห็นฟันผุ หรือฟันสีเงิน

ครอบฟันเซรามิกเหมาะสำหรับใคร

เหมาะสำหรับเด็กที่มีฟันหน้าน้ำนมผุ ขนาดใหญ่ ไม่สามารถบูรณะด้วยการอุดฟันปกติได้ หรือฟันหน้าน้ำนมที่จำเป็นต้องได้รับการรักษารากฟัน สามารถทำครอบฟันเซรามิกภายหลังการรักษารากฟันได้

ข้อดีของครอบฟันเซรามิก

  • สวยงาม สีเหมือนฟัน
  • แข็งแรง ทนทานต่อแรงบดเคี้ยว ไม่แตกหักง่ายเหมือนการอุดฟัน
  • ช่วยเก็บรักษาฟันน้ำนมไว้ได้ จนกระทั่งถึงเวลาที่ฟันแท้ขึ้น
  • ใช้เวลาในการทำไม่นาน

รีวิวครอบฟันเซรามิก

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมาย “รักษารากฟัน”

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

คลินิกทันตกรรม #BPDC #ทันตกรรม #ครอบฟันเซรามิก #ครอบฟัน #ครอบฟันเด็ก

เคลือบฟันมีกี่แบบ

เคลือบฟันมีกี่แบบ

เคลือบฟันคือการแก้ปัญหาเกี่ยวกับฟัน ทำให้กังวลเรื่องรอยยิ้ม ซึ่งส่วนใหญ่แล้วคนที่เคลือบฟันที่พบกับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับ สีฟันไม่ขาว ไม่สม่ำเสมอ มีคราบฟัน ฟันบิ่น บิดเอียง ฟันเก ฟันห่าง ฟันไม่สวย ซึ่งวันนี้เราจะมาแนะนำเกี่ยวกับการเคลือบฟันมีกี่แบบ และแบบไหนเหมาะสมกับเราค่ะ

เคลือบฟันเทียม Composite
การเคลือบฟันเทียม คือการนำวัสดุที่ใช้ในการอุดฟัน นำมาติดที่ฟันของเรา เพื่อสร้างฟันขึ้นมาใหม่ให้ได้ตรงตามรูปทรงที่ต้องการ แต่ด้วยวัสดุประเภทนี้ จะคุณภาพไม่ค่อยดีนัก เพราะดูดซับสีของอาหาร ชา กาแฟ ทำให้วัสดุนั้นเปลี่ยนสีได้ง่าย และไม่ทนทาน

เคลือบฟันเทียม Ceramic VENEER
จะใช้อุปกรณ์ที่มีคุณภาพสูง สวยงาม เบาบาง และรูปทรงที่สำเร็จรูป วัสดุจะคล้ายกับฟันเราอย่างมาก รวมถึงสีสันมีความเสมือนจริงเป็นอย่างมาก ดูแลง่าย แต่ราคาค่อนข้างสูงกว่าแบบธรรมดา

เคลือบฟันด้วยฟลูออไรด์
เป็นการเคลือบฟันสำหรับเด็กๆ ที่ป้องกันไม่ให้ฟันผุ ด้วยฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ ปกป้องฟัน ฟันจะแข็งแรงขึ้น ต้านทานต่อกรด ลดการเกาะตัวของแบ็คทีเรีย เริ่มเคลือบฟันได้ตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้น 3-6 ปีเป็นต้นไป ควรปรึกษาทันตแพทย์ก่อน

ขั้นตอนการเคลือบฟัน

  1. คุณหมอจะทำการตรวจสุขภาพฟันก่อน กรอผิวฟันออกเล็กน้อย
  2. จัดเตรียมฟันและผลิตฟันเทียมขึ้นมา
  3. ติดตั้งฟันเทียม Veneer

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายเคลือบฟัน

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#คลินิกทันตกรรม #BPDC #ทันตกรรม #เคลือบฟัน

ฟันปลอมแบบติดแน่นคืออะไร

ฟันปลอมแบบติดแน่นคืออะไร

ฟันปลอมแบบติดแน่นคืออะไร พร้อมความรู้เกี่ยวกับฟันปลอมที่คุณควรรู้

พออายุมากขึ้น อวัยวะภายในร่างกายก็พลอยจะเสื่อมลงทีละส่วน ไม่เว้นแม้แต่ฟันของคนเรา ที่ก็เสื่อมได้เช่นกัน แต่บางครั้งไม่ต้องรอจนอายุมากขึ้น ฟันก็สามารถหายไปได้ค่ะ เช่น อาจจะมีอุบัติเหตุหรือภาวะการณ์ที่จำเป็นต้องถอนฟันซี่นั้นออก และตัวช่วยที่จะมาทำให้ฟันของเราไม่หลอ จนไม่น่ามอง นั่นก็คือ ฟันปลอม เราอาจจะเคยเห็นคุณปู่คุณย่า ใส่ฟันปลอมกันมาบ้าง แต่คงไม่มีใครนึกภาพตัวเองใส่ฟันปลอมที่ถอดเข้าถอดออกได้หรอกใช่ไหมล่ะคะ แน่นอนว่าฟันปลอมไม่ได้มีแบบเดียว อีกหนึ่งชนิดอย่าง ฟันปลอมติดแน่น ก็น่าสนใจไม่น้อย ตามไปดู พร้อมความรู้เกี่ยวกับฟันปลอมที่คุณควรรู้

ฟันปลอมคืออะไร

ฟันที่ทำขึ้นโดยทันตแพทย์ใส่ให้กับคนไข้ที่สูญเสียฟันไปเนื่องจากการถอนในการรักษาฟันผุ ฟันโยกจากอาการเหงือกอักเสบ เคสอื่น ๆ เช่น ฟันหัก ฟันแตกก็สามารถใส่ฟันปลอมร่วมได้

ฟันปลอมแก้ปัญหาเรื่องอะไร

การใส่ฟันปลอมแทนที่ฟันที่หายไปจะช่วยแก้ปัญหา การรับประทานอาหารได้ง่าย มีประสิทธิภาพ พูดคุยออกเสียงได้ชัดเสริมสร้างความมั่นใจ ฟันปลอมยังช่วยคอยพยุงแก้มและริมฝีปากไม่ให้ดูหย่อนคล้อยอีกด้วย

ถ้าไม่ใส่ฟันปลอมจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง

หากใครที่สูญเสียฟัน หรือ ได้รับการถอดฟันเเล้วปล่อยให้มีช่องว่างระหว่างฟัน ย่อมเกิดผลเสียภายในช่องปากของเราแน่นอนค่ะ ซึ่งผลที่จะตามมามีดังนี้

  • ฟันค้างเคียงของซี่ที่ถูกถอนไปล้มหรือเอียงเข้าเข้ามาบริเวณช่องว่าง
  • มีผลต่อฟันคู่สบที่ไม่ตรงกัน เกิดการกระเเทกขณะเคี้ยวอาหาร- ปัญหาการเคี้ยวอาหารข้างเดียว
  • มีเศษอาหารติดที่ซอกฟันได้ง่าย เกิดฟันผุหรือเหงือกอักเสบตามมาได้

ฟันปลอมแบบติดแน่น

เราอาจจะเรียกว่าฟันปลอมถาวรก็ได้ค่ะ ที่ยึดแน่นในช่องปาก โดยอาศัยฟันธรรมชาติซี่ที่อยู่ข้างเคียงกับช่องว่างเป็นหลักในการยึดฟันปลอม เป็นการทำครอบฟันที่เป็นฟันปลอมยึดกับฟันธรรมชาติ วัสดุจะทำมาจากทั้งโลหะทั้งแผ่น (ใช้กับฟันกรามสำหรับบดเคี้ยว) เป็นพลาสติก (เหมาะใส่ชั่วคราว) และเป็นแบบผสม (เซรามิก ฐานโลหะพอกด้วยพอสเลน เหมาะกับบริเวณฟันหน้าที่เน้นความสวยงามเป็นธรรมชาติ) ซึ่งฟันปลอมแบบติดแน่นนั้นยังสามารถแบ่งชนิดย่อย ๆ ออกมาได้อีก 2 แบบ ได้แก่

  • ฟันปลอมแบบติดแน่นด้วยสะพานฟัน

ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า สะพานฟัน คือ การนำฟันเทียม (ฟันปลอม) มาเกี่ยวยึดกับฟันซี่ข้างเคียงฟันซี่ที่หายไป เพื่อทดแทนช่องว่างระหว่างฟัน ลักษณะคล้าย ๆ สะพานเชื่อม

  • ฟันปลอมแบบติดแน่นด้วยรากฟันเทียม

รากฟันเทียม คือ การปลูกฟันเทียมทดแทนฟันที่สูญเสียไป ด้วยการฝังรากฟันเทียมไททาเนียมลงไปในกระดูกขากรรไกร ยึดติดกับตัวเนื้อฟันจากเรซินเพื่อใช้บดเคี้ยว ทำหน้าที่ได้เหมือนกับฟันธรรมชาติ

ข้อดี : ประสิทธิภาพด้านการบดเคี้ยวดีเทียบเท่ากับฟันจริง เพราะเเรงเคี้ยวกดลงที่ตัวฟัน, ติดแน่น หลุดยาก, มีลักษณะและขนาดที่ใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติ ใส่แล้วไม่รู้สึกรำคาญ

ข้อเสีย : ต้องมีการกรอฟันข้างเคียงเพื่อยึดฟันปลอม ทำให้ต้องเสียเนื้อฟัน, ราคาสูงกว่าฟันปลอมแบบถอดได้, ถอดทำความสะอาดไม่ได้

ขั้นตอนการทำฟันปลอม

หลายคนอาจจะสงสัยว่าฟันปลอมที่เห็น ๆ กันอยู่นั้นมีขั้นตอนหรือกระบวนในการทำอย่างไรบ้าง เรานำข้อมูลมาฝากกันค่ะ

1. ทันตแพทย์จะทำการซักประวัติ จากนั้นจึงตรวจช่องปาก ถ่ายรูปช่องปาก X-ray พิมพ์แบบจำลองช่องปากของคนไข้
2. จากนั้นทันตแพทย์จะตรวจการเรียงตัวของฟัน เลือกสีฟันที่ใกล้เคียงกับฟันเดิม เเละสร้างฟันปลอมขึ้นมาบนแบบจำลองนั้น เพื่อให้ได้รูปฟันที่สวยงาม ขนาดพอดีใส่ในช่องปากของคนไข้ มีการสบฟันที่ถูกต้อง
3. แล้วทันตแพทย์จึงใส่ฟันปลอมเเละแก้ไขตำแหน่งกดเจ็บ ในระหว่างการทำฟันปลอม ทันตแพทย์จะนัดพบคนไข้ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ระยะเวลาขึ้นอยู่กับรูปแบบของฟันปลอม หลังใส่ฟันปลอมเรียบร้อยแล้ว ก็อาจต้องกลับไปพบทันตแพทย์ในช่วงเดือนแรก เพื่อปรับหรือตกแต่งฟันปลอมเพิ่มเติมให้พอดีกับช่องปาก

หากใครต้องใส่ฟันปลอม ควรปรึกษาทันตแพทย์ เพื่อให้ทันตแพทย์ประเมินว่า ต้องใส่ฟันปลอมกี่ซี่ สุขภาพฟันข้างเคียง ที่อยู่ติดกับฟันที่ต้องการใส่ ว่ามีความเเข็งเเรงพอหรือไม่ ทั้งหมด

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายทำฟัน

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#คลินิกทันตกรรม #BPDC #ทันตกรรม #ทำฟัน

รักษารากฟัน มีกี่วิธี

รักษารากฟัน มีกี่วิธี พาไปดูความแตกต่างของแต่ละวิธีก่อนคิดตัดสินใจทำ

รักษารากฟัน มีกี่วิธี พาไปดูความแตกต่างของแต่ละวิธีก่อนคิดตัดสินใจทำ

ความสุขของคนเราอย่างหนึ่ง คือการได้กินของอร่อยตามต้องการ แต่เมื่อไรก็ตามที่เราไม่สามารถทำอย่างนั้นได้เนื่องจากฟันผุจนเกินกว่าที่จะอุด ถ้าไม่รักษาต่อความสนุกในการกินก็แทบจะหายไปเลยนะคะ ซึ่งการรักษาที่ว่านั้นก็คือ การรักษารากฟัน ซึ่งเป็นวิธีรักษาที่ทันตแพทย์หลายคนแนะนำ เราจะไปเรียนรู้เกี่ยวกับการรักษารากฟัน มีกี่วิธี และความแตกต่างแต่ละแบบนั้นเป็นอย่างไร

การรักษารากฟันคืออะไร

การรักษารากฟันคือการตัดเนื้อเยื่อโพรงประสาทฟันที่ติดเชื้อ หรือเนื้อเยื่อขนาดเล็กที่อยู่ใจกลางฟันที่ตายออกแล้ว ซึ่งเมื่อประสาทฟันถูกทำลาย อักเสบ หรือฟันตายถูกตัดออก พื้นที่ส่วนที่เหลือนั้น ทันตแพทย์จะทำความสะอาด โดยใช้เครื่องมือขายให้คลองรากฟันกว้างขึ้น และสะอาดขึ้น แล้วจึงใช้น้ำยาล้างคลองรากฟัน และยาฆ่าเชื้อใส่ในคลองรากฟัน เมื่อกำจัดเชื้อโรคในคลองรากฟันออกจนหมดแล้ว ก็จะทำการอุดรากฟัน เพื่อป้องกันไม่ใช่เชื้อโรคกลับเข้าไปในคลองรากฟันอีก ซึ่งเป็นวิธีที่จะสามารถเก็บรักษาฟันส่วนที่เหลือไว้ได้ และยังเป็นวิธีที่นิยมใช้แทนการถอนฟันด้วยค่ะ

สาเหตุที่ต้องรักษารากฟัน

  • ฟันผุลึกจนถึงโพรงประสาทฟัน จนทำให้ประสาทฟันเกิดอาการอักเสบ หากลุกลามมากขึ้นจะทำให้เนื้อเยื่อในฟันนั้นตาย และเกิดการติดเชื้อในคลองรากฟัน ซึ่งทำให้เกิดอาการปวด อาการเหล่านี้สามารถรักษาได้ด้วยการรักษารากฟัน
  • ฟันแตกจากอุบัติเหตุ อาจจะเกิดจากการกระแทกจนฟันแตก เมื่อโพรงประสาทฟันเกิดอักเสบ ติดเชื้อ หากปล่อยทิ้งไว้ จะเกิดการก่อตัวที่ปลายรากฟันในกระดูกขากรรไกร เกิดเป็นฝีได้ อีกทั้งยังสามารถเกิดการทำลายกระดูกรอบ ๆ ฟัน ทำให้เกิดอาการปวด
  • นอนกัดฟันอย่างรุนแรง การกัดฟันนอกจากจะเป็นสาเหตุให้ฟันสึกแล้ว หากกัดแรง ๆ ก็จะไปรบกวนโพรงประสาทฟันด้วย ส่งผลให้ฟันร้าว และเชื้อโรคอาจจะแทรกซึมเข้าไปได้
  • โรคเหงือก สามารถลุกลามไปถึงปลายรากฟัน ทำให้เชื้อโรเข้าโพรงประสาทฟันได้

การรักษารากฟัน มีกี่วิธี 

อันที่จริงแล้วถ้าอาการทางฟันไม่ได้เลวร้ายเกินไป ทันตแพทย์จะไม่แนะนำให้รักษารากฟันเลยค่ะ สำหรับการรักษารากฟัน มีด้วยกัน 2 วิธี ได้แก่

1. การรักษาด้วยวิธีปกติ 

ทันตแพทย์จะวัดความยาวของคลองรากฟัน โดยการถ่ายเอกซเรย์ แล้วจะใช้ไฟล์ขนาดเล็ก เพื่อรักษารากฟัน และทำความสะอาดภายในคลองรากฟัน เพื่อขจัดเนื้อเยื่อที่มีปัญหาและแบคทีเรีย โดยที่ฟันจะไม่ถูกอุดอย่างถาวรจนกว่าจะขจัดจนปลอดเชื้อในโพรงประสาทและคลองรากฟันหลังจากที่มั่นใจว่าภายในโพรงประสาทฟันนั้นปลอดเชื้อแล้ว ก็จะใช้วัสดุอุดคลองรากฟัน อุดที่คลองรากฟัน วิธีนี้เป็นวิธีรักษารากฟันที่พบได้บ่อย

2. การรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดปลายรากฟัน

ทันตแพทย์จะใช้วิธีนี้ในกรณีที่วิธีแรกรักษาไม่ได้ผล โดยจะทำการผ่าตัดเข้าไปที่ตำแหน่งปลายรากฟันที่เป็น หนองทำการตัดปลายรากฟันออกบางส่วน หลังจากนั้นทำการอุดวัสดุเข้าไปใน ส่วนปลายรากฟันที่ทำความสะอาดไว้ โดยวัสดุนี้จะไม่เป็นพิษต่อเนื้อเยื่อ หรือไม่ ทำให้เกิดการหายของเนื้อเยื่อรอบปลายรากฟันขึ้น

การรักษารากฟัน มีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

แน่นอนว่าหลังการรักษารากฟันสามารถเกิดผลข้างเคียงได้ ซึ่งจะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับสภาพของฟันในแต่ละบุคคล

1. อาการปวดตื้อ ๆ หลังจากการรักษารากฟันในช่วง 2-3 วันแรก และอาการจะค่อย ๆ หายไปเอง ซึ่งสามารถกินยากแก้ปวดเพื่อบรรเทาได้

2. อาการปากชา สามารถเกิดขึ้นได้หลังจากทำการรักษารากฟันในวันนั้น แนะนำว่าช่วงที่ปากชาไม่ควรกินอาหารเพื่อป้องกันการกัดลิ้นและกระพุ้งแก้ม

3. ควรระมัดระวังในการใช้งานฟันที่มีการรักษารากฟัน เนื่องจากฟันจะมีปริมาณเหลือน้อยลงและมีความเปราะบางมากขึ้น อีกทั้งยังป้องกันโอกาสที่ฟันจะแตกระหว่างที่ดำเนินการรักษา

เราก็ได้รู้กันแล้วว่าการรักษารากฟันคืออะไร มีกี่วิธี แต่ละวิธีแตกต่างหรือใช้ในกรณีไหนบ้าง เพื่อสำหรับประกอบการตัดสินใจหากใครต้องรักษารากฟัน

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมาย “รักษารากฟัน”

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#คลินิกทันตกรรม #BPDC #ทันตกรรม #รากฟัน #รักษารากฟัน

เรียนรู้นิยาม ทันตกรรมคืออะไร

เรียนรู้นิยาม ทันตกรรมคืออะไร พร้อมบริการที่ครอบคลุมสำหรับทำฟัน

เรียนรู้นิยาม ทันตกรรมคืออะไรพร้อมบริการที่ครอบคลุมสำหรับทำฟัน

หากร่างกายเราเจ็บป่วย เราก็สามารถไปโรงพยาบาลหรือคลินิก พบแพทย์เพื่อรักษา แต่ถ้าฟันเราป่วยล่ะ เราจะต้องไปหาใครที่ไหน และรักษาอย่างไร? นั่นจึงเป็นที่มาของงานทันตกรรม เรามีหมอรักษาคน รักษาร่างกาย เราก็ต้องมีหมอรักษาฟันเช่นกัน เพื่อที่ว่าเกิดวันหนึ่งฟันเราเกิดป่วยหรือได้รับอุบัติเหตุ ทันตแพทย์จะได้ทำการช่วยเหลือ รักษาได้ทันนั่นเอง ซึ่งในงานทันตกรรมก็มีการรักษาที่ครอบคลุมแทบจะทุกปัญหาของฟัน เราอาจจะรู้จักแค่ อุดฟัน ถอนฟัน จัดฟัน ขูดหินปูน ซึ่งจริง ๆ แล้วงานทันตกรรมมีมากกว่านี้อีกเยอะมาก ดังนั้น ไปรู้จัก
ทันตกรรมและงานบริการทันตกรรมต่าง ๆ ที่ไม่แน่ว่าวันหนึ่งเราอาจต้องใช้บริการด้านอื่น นอกเหนือจากที่กล่าวมาก็ได้

ทันตกรรมคืออะไร

ทันตกรรมคืองานบริการสำหรับตรวจรักษาสุขภาพภายในช่องปากเพื่อให้เกิดสุขอนามัยที่ดี และเพื่อยืดอายุการใช้งานให้ได้นานที่สุด ซึ่งสุขภาพช่องปากเป็นสิ่งที่ทุกคนมองข้ามไม่ได้ ลองคิดดูว่าหากคุณมีปัญหาสุขภาพช่องปาก เช่น การมีกลิ่นปากจะทำให้คนอื่นมองคุณเช่นไร หรือฟันของคุณมีปัญหาคุณจะทำเช่นไร หากปล่อยปัญหาเหล่านี้ไว้จะส่งผลเสียทั้งต่อบุคลิกภาพ และอาจเกิดโรคที่ทำให้สูญเสียฟันได้นั่นเอง

ประเภทของทันตกรรม

เมื่อเรารู้แล้วว่าทันตกรรมคืออะไร แต่รู้หรือไม่ว่าทันตกกรรมมีหลายประเภทด้วยกัน ซึ่งแต่ละประเภทนั้นก็จะครอบคลุมปัญหาของฟันอีกด้วย โดยประเภทของทันตกรรมมีดังนี้

1. ทันตกรรมทั่วไป

ทันตกรรมทั่วไปหรือทันตกรรมพื้นฐาน หมายถึงการตรวจสภาพช่องปากและฟัน การทำความสะอาด และการรักษาสภาพเหงือกและฟัน เพื่อให้มีสุขอนามัยที่ดี ใช้ได้ไปนาน ๆ จะประกอบด้วยการวินิจฉัยโรคทางทันตกรรม การขูดหินปูนและขัดฟัน การอุดฟัน

2.ทันตกรรมเพื่อความงาม

ทันตกรรมเพื่อความงามเป็นการนำวิธีการทางทันตกรรมต่าง ๆ ในการช่วยเสริมสร้าง มุ่งเน้นการพัฒนาด้านความสวยงามของฟันและรอยยิ้ม ไม่ว่าจะเป็นการฟอกสีฟันด้วยเลเซอร์ การสร้างรอยยิ้มที่สวยงาม

3. ทันตกรรมรากฟันเทียม

เป็นการจำลองรากฟันให้ยึดติดกับขากรรไกรเพื่อเติมเต็มให้เหมือนฟันธรรมชาติที่เสียไป โดยทันตแพทย์จะทการฝังรากฟันเทียมบนกระดูกรองรับฟัน และใช่วัสดุที่คงทนแต่ไม่เกิดผลข้างเคียง ทำให้มีความสวยงาม คงทน และมีประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวเทียบเท่าฟันธรรมชาติ

4.ทันตกรรมประดิษฐ์

เป็นศาสตร์ที่ช่วยทดแทนฟันที่สูญเสียไปและแก้ปัญหาฟันที่เปราะบางหรือแตกหัก ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การปลูกรากฟันเทียมไทเทเนียม การครอบฟัน สะพานฟัน ฟันปลอมแบบถอดได้

5. ทันตกรรมจัดฟัน

การจัดฟันเป็นศาสตร์ที่ให้ความสำคัญต่อการเรียงตัวของฟัน เนื่องจากฟันที่เรียงกันอย่างไม่เป็นระเบียบจะกระทบต่อรูปหน้า ประสิทธิภาพและวิธีการบดเคี้ยว รวมถึงการดูแลรักษาความสะอาดฟัน

6. ทันตกรรมเด็ก

ทันตกรรมเด็กจะให้ความสำคัญด้านการดูแลฟันของเด็ก ซึ่งจะรวมถึงการให้ความรู้และวิธีการดูแลฟันเด็ก ดังนั้นจึงจะมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับทันตกรรมป้องกัน ซึ่งให้ความสำคัญกับการดูแลฟันอย่างถูกวิธีและป้องกันการเกิดฟันผุ ซึ่งควรดูแลป้องกันตั้งแต่เด็ก ๆ จะช่วยให้เด็กโตขึ้นมาไม่มีปัญหาเรื่องสุขภาพฟันในภายหลัง

7. ทันตกรรมป้องกัน

เป็นการดูแลรักษาฟันแท้ตามธรรมชาติให้มีอายุการใช้งานไปตลอดชีวิตเป็นเรื่องที่สำคัญมาก รวมถึงการดูแลเอาใจใส่สุขภาพฟันของเราให้แข็งแรงตลอดเวลาย่อมดีกว่าการเข้ารับการรักษาหรือหาวิธีซ่อมแซม

8. ทันตกรรม ปริทันต์

ปริทันต์หรือที่เราเรียกกันว่าโรคเหงือก โดยทั่วไปมักหมายถึงโรคเหงือกอักเสบ แต่จริง ๆ แล้วจะรวมถึงการศัลยกรรมเหงือกและปลูกถ่ายเหงือกเพื่อเพิ่มความยาวของฟัน งานทันตกรรมยังมีอีกหลายประเภท แต่ก็ใช่ว่าเราจะต้องใช้บริการทุกอย่างนะคะ เพราะทางที่ดีที่สุดคือการป้องกัน ดูแลรักษาฟันให้สะอาดและแข็งแรงอยู่เสมอ อย่าปล่อยให้วัวหายแล้วจึงล้อมคอก

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายทำฟัน

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#คลินิกทันตกรรม #BPDC #ทันตกรรม #ทำฟัน

รักษารากฟันเจ็บไหม

รักษารากฟันเจ็บไหม

รักษารากฟันเจ็บไหม มาเรียนรู้การรักษารากฟันอย่างถูกวิธีด้วยกัน

การทำฟันยังคงเป็นฝันร้ายของใครหลายคน ตั้งแต่เด็กจนโต ที่ทนไม่ได้กับเสียงเครื่องมือที่มากระทบฟัน กลิ่นถุงมือยางของหมอฟัน หรือความเจ็บปวดในการรักษา ซึ่งในวัยผู้ใหญ่นั้น การรักษาศาสตร์หนึ่งที่ผู้ใหญ่หลายคนต้องมาทำฟัน นั่นคือ การรักษารากฟัน แต่ก็ใช่ว่าเป็นผู้ใหญ่แล้วจะไม่กลัวเจ็บนะคะ เพราะแค่พูดว่ารากฟันก็ฟังดูน่ากลัวแล้ว กลายเป็นคำถามที่พบบ่อยว่า รักษารากฟันเจ็บไหม มาหาคำตอบกันได้ในบทความนี้ พร้อมเรียนรู้ ทำความเข้าใจการรักษารากฟันอย่างถูกวิธี

การรักษารากฟันคืออะไร

การรักษารากฟันคือการนำเนื้อเยื่อและกำจัดเชื้อโรคที่อยู่ภายในโพรงประสาทฟันออก และทำความสะอาด จัดรูปเนื้อฟันที่เหลือเสียใหม่ให้ปลอดเชื้อด้วยน้ำยา โดยการรักษารากฟันเป็นทางเลือกเพื่อให้เรารักษาฟันแทนการสูญเสียฟัน

รักษารากฟันเจ็บไหม?

เราอาจจะเคยได้ยินกิตติศัพท์เลื่องลือเกี่ยวกับการรักษารากฟันกันมาบ้าง ทำให้หลายคนปล่อยปละละเลยฟันจนติดเชื้อลุกลาม เพียงเพราะกลัวว่าการรักษารากฟันจะเจ็บ ซึ่งอันที่แล้วการรักษารากฟันก็เจ็บแน่นอนอยู่แล้ว เนื่องจากฟันทุกซี่มีรากฟัน มีเส้นประสาท และมีเลือดไปหล่อเลี้ยงฟัน ดังนั้นอาการเจ็บจะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับจำนวนซี่และลักษณะของฟัน แต่ในขณะที่กำลังรักษา ทันตแพทย์จะฉีดยาชาให้อยู่แล้วค่ะ ทำให้ไม่รู้สึกเจ็บในระหว่างที่ทำ โดยหลังจากยาชาหมดฤทธิ์ก็มีอาการปวดได้ตามปกติ ซึ่งสามารถกินแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการได้

ขั้นตอนการรักษารากฟัน

1. ทันตแพทย์จะเริ่มต้นด้วยการกำจัดเนื้อฟันที่อักเสบหรือติดเชื้อออกก่อน แล้วจึงทำความสะอาดรากฟัน พร้อมใส่ยาลงไปคลองรากฟันเพื่อกำจัดเชื้อ

2. ปิดรากฟันด้วยวัสดุชั่วคราว เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำ

3. หากมีการเป็นหนองที่ปลายรากฟัน อาจจะต้องทำความสะอาดหลายครั้ง และเปลี่ยนยาในคลองรากฟันจนกว่าการติดเชื้อหรืออักเสบจะหายปกติ

4. เมื่อไม่มีการอักเสบหรือติดเชื้อแล้ว ทันตแพทย์จะใช้วัสดุปิดรากฟันถาวรเพื่อรอการซ่อมแซมตัวฟันต่อไป

5. การซ่อมแซมตัวฟันก็สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การครอบฟัน การใส่เดือยฟัน การอุดฟัน ทั้งนี้ทันตแพทย์จะพิจารณาจากปริมาณของเนื้อฟันที่เหลืออยู่

เราควรจะรักษารากฟันหรือถอนฟันดี?

ในสมัยก่อนคนนิยมที่จะถอนฟันซี่ที่มีปัญหาออก โดยเฉพาะฟันที่มีการอักเสบติดเชื้อ แต่ปัจจุบันเมื่อมีการรักษารากฟันเข้ามาก็จะช่วยให้เราไม่ต้องสูญเสียฟันแท้ซี่นั้นไป แต่บางคนก็เอาแต่กลัวว่ารักษารากฟันแล้วจะเจ็บนาน จึงเลือกที่จะถอนฟันเพื่อตัดปัญหาในเรื่องค่าใช้จ่ายและกลัวเจ็บ

ถ้าไม่มีอาการปวด ทำไมถึงยังต้องรักษารากฟัน

บางคนที่จะต้องรักษารากฟันอาจจะคิดว่า จะรักษาทำไมในเมื่อมันไม่มีอาการปวด และคิดไปเองว่าไม่เป็นอะไร แต่อันที่จริงแล้ว แม้ว่าจะไม่มีอาการปวด แต่การดำเนินของโรคก็ยังคงอยู่ อาจจะทราบว่ารากฟันมีปัญหาต่อ เมื่อทำการ x-ray และพบว่ามีหนองในรากฟันแล้วก็มี ดังนั้นเมื่อตรวจพบควรทำ การรักษารากฟันทันที เพื่อลดการสูญเสียฟัน

รักษารากฟันเจ็บเท่าผ่าฟันคุดไหม?

ไม่ว่าจะเป็นการรักษารากฟันหรือการผ่าฟันคุดก็เจ็บทั้งคู่ เนื่องจากมีการอักเสบและเกิดความผิดปกติขึ้นกับตัวฟัน อีกทั้ง ทั้งสองอย่างในระหว่างดำเนินการ ทันตแพทย์จะใช้ยาชาฉีดให้เพื่อลดความรู้สึกเจ็บปวดในการทำ แต่หลังจากที่ยาชาหมด ก็ต้องมีอาการเจ็บบ้างในระดับที่ทนไหว แต่หากทนไม่ไหวจริง ๆ ควรรีบกลับไปพบทันตแพทย์เพื่อหาความผิดปกติ

สิ่งสำคัญของการรักษารากฟันไม่ใช่การกลัวว่าทำแล้วจะเจ็บไหม แต่ควรกลัวที่จะสูญเสียฟันไปมากกว่าค่ะ คุณอาจจะคิดว่าเสียซี่เดียวไม่เป็นไร แต่การที่ฟันหายไปซี่หนึ่ง จะทำให้ฟันบริเวณรอบ ๆ ล้มได้

หากลูกค้าท่านใดต้องการรักษารากฟันสามารถติดต่อสอบถามได้ที่

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#คลินิกทันตกรรม #BPDC #รักษารากฟัน