ฟันห่าง รักษาได้จริงไหม โดยไม่ต้องจัดฟัน

ฟันห่าง รักษาได้จริงไหม โดยไม่ต้องจัดฟัน

ใครเคยมีประสบการณ์ “ฟันห่าง” จะรู้ว่าเป็นปัญหาที่กวนใจไม่น้อยเลยค่ะ บางคนถึงกับเสียความมั่นใจในการถ่ายรูปหรือยิ้ม บางคนพยายามต้องคอยใช้ลิ้นดุนเวลายิ้ม เพราะจะได้ไม่เห็นช่องว่างระหว่างฟันชัดเจน ซึ่งหากเป็นฟันหน้าก็จะเป็นอุปสรรคในการรับประทานอาหาร เศษอาหารมักจะเข้าไปติดจนทำให้เกิดปัญหาช่องปากตามมาได้ ซึ่งการแก้ปัญหา หลายคนนึกออกแต่การจัดฟัน แน่นอนว่าบางคนก็ไม่อยากจะจัดฟัน แล้วแบบนี้ ฟันห่าง ถ้าไม่จัดฟันจะรักษาได้จริงไหม

ฟันห่าง เป็นแบบไหน

ฟันห่าง คือ ช่องว่างระหว่างฟันที่กว้างมากกว่า 0.5 มม. เกิดขึ้นได้กับฟันทุกซี่ แต่ส่วนใหญ่มักอยู่บริเวณระหว่างฟันหน้าสองซี่ที่เห็นได้อย่างชัดเจน ฟันห่างพบได้ทั้งในเด็กเเละผู้ใหญ่

ฟันห่าง เกิดจากอะไรได้บ้าง

เคยสงสัยกันไหมคะ ว่าทำไมฟันถึงห่าง มันห่างได้เอง หรือมีปัจจัยอะไรไปกระตุ้นให้เกิดช่องว่างระหว่างฟันขึ้นมา ซึ่งก็มีอยู่หลายสาเหตุดังนี้

  1. ขากรรไกรและขนาดของซี่ฟันไม่สมดุลกัน กล่าวคือ ฟันอาจจะมีขนาดที่เล็กเมื่อเทียบกับขากรรไกรที่ใหญ่ ทำให้เหลือช่องว่างระหว่างฟันมากกว่าปกติ
  2. การสูญเสียฟันบางซี่ ก็สามารถทำให้ฟันห่างได้ ไม่ว่าจะเป็น ฟันล้มจากการถอน หรือในเด็กที่เมื่อฟันหลุดก็สามารถเกิดฟันห่างแบบชั่วคราวจนกว่าฟันแท้จะขึ้นได้
  3. เนื้อเยื้อยึดระหว่างริมฝีปากกับสันเหงือกที่มีลักษณะหนาและแข็งกว่าปกติ ทำให้ขวางระหว่างซี่ฟัน และทำให้เกิดช่องว่างระหว่างซี่ฟันได้
  4. พฤติกรรมบางอย่าง เช่น การดูดนิ้วโป้ง การดูดปาก ดุนลิ้น ที่จะไปสร้างแรงดันที่ฟันหน้า สามารถนำไปสู่ฟันห่างได้เช่นกัน
  5. ปัญหาการกลืน ใครจะคิดว่าการกลืนจะทำให้ฟันห่างได้ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้จริง ๆ ค่ะ คนปกติ เมื่อกลืนอาหาร ลิ้นจะแตะเพดานปาก เกิดเป็นแรงดันจากลิ้นที่เพดานปาก แต่ในคนที่ผิดปกติ จะเกิดเเรงกดลิ้นกับฟันหน้าขึ้นเเทน เมื่อผ่านไปแรงกดนี้ซ้ำ ๆ เมื่อเวลาผ่านไป จะผลักไปข้างหน้าทำให้ฟันห่างได้

วิธีการรักษาฟันห่าง

ไม่ใช่ทุกคนจะอยากจัดฟันหรือพร้อมที่จะจัดกัน แต่ทว่าพอมีฟันห่าง หลายคนกลับนึกถึงแค่วิธีจัดฟันอย่างเดียว ต้องบอกเลยว่าจริง ๆ แล้วยังมีวิธีช่วยให้ฟันห่างกลับมาชิดกันได้โดยไม่ต้องจัดฟันจริง ๆ ค่ะ มีวิธีดังนี้

  1. การอุดปิดช่องว่างระหว่างฟัน

วิธีนี้สามารถรักษาฟันห่างได้โดยการใช้วัสดุอุดฟันคอมโพสิตเรชิ่นที่มีสีเหมือนฟันธรรมชาติมาช่วย

เสริมเข้าไปบริเวณช่องว่างระหว่างฟัน โดยทันตแพทย์จะเลือกสีของวัสดุอุดฟันให้ใกล้เคียงกับสีฟันเดิมและสร้างรูปร่างให้เรียบเนียนเข้ากับฟันธรรมชาติ ซึ่งทำให้คนอื่นไม่สามารถรู้ได้ว่าฟันซี่นั้นเป็นฟันที่มีการอุดปิดไว้ นอกจากนี้ การอุดปิดช่องว่างยังช่วยรักษาปัญหาฟันบิ่นได้ด้วยค่ะ ข้อดีคือราคาไม่แพง ใช้เวลาไม่นาน โดยสามารถอุดได้ทันที

  • การทำวีเนียร์

การทำวีเนียร์ เป็นการรักษาฟันห่างแบบเติมเต็มรอยยิ้ม โดยใช้เรซินเป็นวัสดุ ปิดทับบริเวณผิวหน้าของ

ฟัน ช่วยปิดบังสีฟันที่ไม่สม่ำเสมอและฟันที่มีรูปร่างไม่สวยงาม รวมถึงฟันที่มีช่องว่างระหว่างฟัน ให้รอยยิ้มสวย ฟันขาวยิ่งขึ้น ข้อเสียของการทำวีเนียร์คือราคาต่อซี่ค่อนข้างสูง

  • การทำรากฟันเทียมหรือสะพานฟัน

วิธีนี้ใช้รักษาฟันห่างได้เช่นกัน แต่ได้รับความนิยมน้อยกว่าสองวิธีแรก เหมาะสำหรับผู้ที่สูญเสียฟัน

โดยการใช้สกรูโลหะเข้าไปในกระดูกขากรรไกรและยึดเข้ากับฟันปลอม

เห็นไหมล่ะคะ ว่าการรักษาฟันห่างสามารถทำได้มากมายหลายวิธี โดยที่ไม่จำเป็นต้องจัดฟันเลย ซึ่งหากใครสนใจวิธีไหน ให้ลองขอคำปรึกษาจากทันตแพทย์ได้เลย

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายจัดฟัน
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ฟันห่าง #จัดฟัน

แปรงฟันถูกวิธี ควรแปรงฟันกี่นาที

แปรงฟันถูกวิธี ควรแปรงฟันกี่นาที ให้มีการปกป้องฟันสูงสุด

มีใครเคยรู้สึกบ้างไหมคะ ว่าเราแปรงฟันสะอาดจริงหรือเปล่า แล้วการแปรงฟันที่ถูกวิธี ควรแปรงฟันกี่นาที จึงจะมีประสิทธิภาพการปกป้องกันเราได้สูงที่สุด เราอาจจะเคยได้ยินมาว่า ระยะเวลาไม่ได้เป็นตัวชี้วัดคุณภาพการแปรงฟัน เพราะบางคนแปรงฟันนานก็จริง แต่ทำไมถึงยังมีฟันผุ แต่กับบางคนแปรงฟันสั้น ๆ แต่ฟันกลับสุขภาพดี แล้วแท้ที่จริงแล้ว เราควรแปรงฟันกี่นาทีกันแน่ เราจะชวนทุกคนมาร่วมหาคำตอบนี้กันค่ะ

เทคนิคง่าย ๆ สำหรับการแปรงฟันให้ถูกวิธี

หลายคนหาคำตอบว่าจริง ๆ แล้วเราควรแปรงฟันกี่นาทีกัน เราขอแนะนำเทคนิคการแปรงฟัน จำไม่ยาก ทำตามได้ง่าย ๆ นั่นคือ เทคนิค 2-2-2 โดยมีรายละเอียดได้แก่

  • แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
  • แปรงฟันด้วยยาสีฟันฟลูออไรด์ให้นานอย่างน้อยครั้งละ 2 นาที
  • งดกินอาหารหลังแปรงฟันอย่างน้อย 2 ชั่วโมง

เหตุผลที่เราควรแปรงฟันให้ได้ 2 นาที นั่นเป็นเพราะจะได้มีเวลานานพอที่จะทำให้ฟลูออไรด์สามารถเกาะติดและซึมผ่านผิวฟันเข้าไปทำให้ฟันแข็งแรงมากขึ้น ฟันก็จะผุได้ยากขึ้น ทั้งนี้ ได้มีงานศึกษามากมาย พบว่า การแปรงฟันเป็นเวลา 2 นาที ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการปกป้องฟันได้ดีขึ้น เพราะสามารถกำจัดคราบจุลินทรีย์บนผิวฟันได้มากกว่าการแปรงฟันเพียง 1 นาทีเกือบเท่าตัวด้วยค่ะ แต่ในทางกลับกัน หากเราใช้เวลาในการแปรงฟันที่สั้นมาก แปรงไม่กี่วินาที ฟลูออไรด์ที่อยู่ในยาสีฟันก็จะไม่ทันเข้าไปในผิวฟัน อีกทั้ง บรรดาคราบจุลินทรีย์หรือเศษอาหารก็จะยังคงเหลืออยู่ภายในช่องปากแลซอกฟัน นั่นเป็นเหตุทำให้เกิดฟันผุตามมาได้

ถ้าแปรงฟันนานกว่า 2 นาทีล่ะ?

สำหรับคนทั่วไป การแปรงฟัน 2 นาที ถือว่าเพียงพอแล้วค่ะ แต่ในกรณีคนบางกลุ่ม ที่มีฟันซ้อนเก หรือติดของหวาน มีปัญหาโรคเหงือกหรือปัญหาช่องปากต่าง ๆ การแปรงฟัน 2 นาที ก็เป็นเรื่องที่สามารถทำได้เช่นกัน รวมถึงยังสามารถแปรงได้บ่อยกว่าวันละ 2 ครั้งอีกด้วย

ประสิทธิภาพการปกป้องกันทวีคูณ เมื่อแปรงแห้ง 2 นาที

นอกจากเราจะควรแปรงฟัน 2 นาทีแล้ว รูปแบบการแปรงที่จะช่วยให้ฟลูออไรด์ในยาสีฟันปกป้องฟันของเราได้อย่างดีเยี่ยม คือ การแปรงแห้ง หรือแปรงโดยไม่บ้วนปาก แต่จะใช้วิธี “ถุย” เพื่อเอาฟองที่อยู่ภายในช่องปากออกให้มากที่สุดเท่านั้น หากใครยังนึกไม่ออก เราแนะนำการแปรงแห้งดังนี้

  • ไม่ควรเอาแปรงจุ่มน้ำ หรือบ้วนน้ำทั้งก่อนและหลังแปรงฟัน
  • เมื่อแปรงเสร็จ ให้ใช้วิธี “ถุยทิ้ง” เพื่อให้น้ำลายชะล้างคราบฟองที่เหลือ
  • ในขณะที่เรากำลังล้างรอบปาก น้ำลายจะไหลออกมา ก็ให้เราถุยทิ้งอีก แต่ถ้าหากใครรู้สึกไม่สบายปาก อาจจะใช้ลิ้นกวาดคราบฟองที่เหลือตามกระพุ้งแก้มหรือริมฝีปากด้านในและดูดกระพุ้งแก้ม ซึ่งการขยับกระพุ้งแก้มและการกวาดลิ้นไปรอบปาก จะเป็นการกระตุ้นให้มีน้ำลายเพิ่มากขึ้น โดยอาจจะใช้วิธีแปรงลิ้นเบา ๆ จากโคนลิ้นไปทางปลายลิ้น เพื่อลากเอาฟองที่ตกค้างบนลิ้นออก จากนั้นก็ถุยทิ้งอีกครั้ง เท่านี้ก็จะไม่เหลือฟองยาสีฟันตกค้างมากมายแล้วค่ะ

สิ่งสำคัญของการแปรงฟันไม่ได้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาเสมอไป แต่ขึ้นอยู่กับคุณภาพในการแปรงฟัน ว่าเราแปรงฟันได้ถูกวิธีหรือไม่ เพราะหากแปรงฟันนาน แต่แปรงไม่สะอาด ก็จะไม่สามารถช่วยปกป้องฟันของเราไว้ได้เลย แถมยังจะก่อให้เกิดผลเสียต่อฟันอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นคอฟันสึก ฟันบาง เหงือกร่น เหงือกอักเสบ ฯลฯ

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายตรวจสุขภาพฟัน
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ตรวจสุขภาพฟัน #นัดทำฟัน

หนอนในช่องปาก มีจริงหรือไม่

หนอนในช่องปาก มีจริงหรือไม่

สมัยเด็กๆ ผู้ใหญ่มักจะหลอกกันว่า ถ้าไม่ดูแลรักษาฟัน ไม่แปรงฟันให้ดี จะมีหนอนในปาก ซึ่งมันสยองขวัญมาก ทำให้เด็กๆ นั้นกลัวและต้องหาวิธีทำให้ไม่มีหนอนในปาก ด้วยวิธีแปรงฟัน บ้วนปาก

ซึ่งหลายๆ คนน่าจะเคยไปหาหมอบ้านๆ ที่เอากระดาษม้วนใส่หูและเป่าควันร้อนๆ และมีหนอนออกมา ซึ่งตอนเด็กๆ ผมเคยโดนด้วย ทำให้เป็นภาพจำที่หลอนไปเลยครับ งงมากเลยครับว่าหนอนมาได้ยังไง ซึ่งวันนี้เราจะมาดูกันครับว่าหนอนในช่องปากมีจริงหรือไม่

ผลการวิจัยของทันตแพทย์ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช พบผู้ป่วยที่มีหนอนอยู่ในช่องปากจำนวนมากนั้น ทพ เผด็จ ตั้งงามสกุล อุปนายกทันตแพทยสภาคนที่ 1 ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่า โรคนี้มีชื่อว่า Oral myiasis มักพบได้ในผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เช่นผู้ป่วยที่นอนติดเตียงหรือผู้พิการทางสมองที่ไม่สามารถปัดป้องแมลงที่มาตอมไต่ได้ โดยเกิดจากการที่มีแมลงในกลุ่มแมลงวัน บินไปกินเศษอาหารที่ตกค้างอยู่ในช่องปาก และไข่ทิ้งไว้ จากนั้นไข่ก็ฟักตัวเป็นตัวหนอนแล้วไชลึกลงไปอาศัยในเนื้อเยื่อที่ตายแล้ว ใช้บริเวณนั้นเป็นอาหารต่อไป แมลงชนิดนี้พบมากตามภูมิภาคที่มีอากาศร้อนชื้น สามารถออกไข่ไว้ตามผิวหนังที่เป็นแผล รูหู หรือช่องปาก ของมนุษย์ได้ และอาศัยอาหารบริเวณเหล่านั้นเจริญเติบโตต่อไป

ทพ.เผด็จ ตั้งงามสกุล อุปนายกทันตแพทยสภาคนที่ 1 แนะนำให้ประชาชนที่ต้องดูแลผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้พิการที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ดังนี้

  1. แปรงฟันทำความสะอาดช่องปากผู้ป่วยทุกวัน รวมทั้งหลังรับประทานอาหาร
  2. ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากเป็นประจำทุก 6 เดือน
  3. ถ้าผู้ป่วยนอนอ้าปาก ควรใส่ mask ปิดปากจมูกให้ผู้ป่วยอยู่เสมอ หรือให้นอนในมุ้งเพื่อป้องกันแมลง
  4. หมั่นตรวจในช่องปาก ในจมูก และรูหูของผู้ป่วย ให้สะอาดอยู่เสมอ

เห็นหรือยังครับว่า หนอนในช่องปากนั้นมีจริง มีเคสเหล่านี้เกิดขึ้นจริงๆ ไม่ใช่แค่ผู้ป่วยติดเตียงเท่านั้นนะครับที่ต้องดูแลสุขภาพฟัน แปรงฟันให้สะอาด สำคัญทั้งเด็กและผู้ใหญ่มากๆ ครับ

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายตรวจสุขภาพฟัน
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ตรวจสุขภาพฟัน #นัดทำฟัน

แนะนำวิธีดูแลรักษาฟันอย่างไรให้ฟันไม่ผุ

แนะนำวิธีดูแลรักษาฟันอย่างไรให้ฟันไม่ผุ

แนะนำวิธีดูแลรักษาฟันอย่างไรให้ฟันไม่ผุ

ทุกวันนี้คนเรามีพฤติกรรมหลายอย่างที่เปลี่ยนแปลงไปมากกว่าแต่ก่อน โดยเฉพาะพฤติกรรมที่ทำร้ายฟันของเราไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะมาจากไลฟ์สไตล์ การบริโภคน้ำตาลที่เพิ่มมากขึ้น หรือการดูแลรักษาฟันได้ไม่สะอาดเพียงพอ จนเกิดเป็นฟันผุ ซ้ำร้ายเมื่อฟันผุแล้ว กลับละเลยที่จะไปรักษา ปล่อยเอาไว้ จนเวลาผ่านไปกลายเป็นฟันผุที่ลุกลามรุนแรง แทนที่จะเสียเงินค่าอุดฟันไม่กี่ร้อย ถ้าฟันผุลึกถึงชั้นโพรงประสาท ก็ต้องรักษารากฟันที่ราคาค่อนข้างสูง งั้นเรามาดูวิธีดูแลรักษาฟันอย่างไรให้ฟันไม่ผุดีกว่าค่ะ

How to ดูแลฟันอย่างไรให้ฟันไม่ผุ

คำถามที่ว่า ทำอย่างไรให้ฟันไม่ผุ ก็คงจะตอบกันได้ง่าย ๆ และด้วยวิธีง่าย ๆ ก็คือ การแปรงฟันให้สะอาด แต่วิธีการดูแลรักษาฟันให้ไม่ผุ ยังมีนอกเหนือจากการแปรงฟันด้วยค่ะ เราจึงนำเอามาฝากกัน

  1. ลดการบริโภคน้ำตาลมากเกินไป

น้ำตาลคือสาเหตุอันดับต้น ๆ ที่ทำร้ายฟันของเรา ซึ่งหลายคนเข้าใจว่าถ้างดน้ำตาลจากขนมหวาน

อย่างลูกอม เค้ก ของหวาน หรือน้ำอัดลมต่าง ๆ ก็จะฟันไม่ผุ จริง ๆ แล้วไม่ใช่เลยค่ะ เพราะหลายครั้ง น้ำตาลก็มาในรูปแบบของอาหารจำพวกแป้ง ที่จะมีกระบวนการเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล หรือในถั่วประเภทต่าง ๆ ไม่เว้นแม้แต่น้ำอัดลมที่มีน้ำตาล 0%

  • แปรงฟันให้ถูกวิธี อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง

บางคนสงสัยว่าทำไมแปรงฟันทุกวัน แต่ฟันยังผุอยู่ ฟันของเราจะผุหรือไม่นั้น ส่วนหนึ่งก็มาจาก

คุณภาพในการแปรงฟันของเรา ดังนั้นการแปรงฟันที่ได้คุณภาพ จึงควรแปรงฟันให้นานตั้งแต่ 2 นาทีขึ้นไป เพื่อให้มีเวลานานพอที่จะทำให้ฟลูออไรด์สามารถเกาะติดและและซึมผ่านผิวฟันเข้าไปทำให้ผิวฟันแข็งแรงขึ้น ฟันก็จะผุได้ยากขึ้น ถ้าเราใช้เวลาแปรงไม่กี่วินาที ฟลูออไรด์ในยาสีฟันจะยังไม่ทันเข้าไปในผิวฟัน ที่สำคัญที่สุด ควรแปรงแห้งโดยปราศจากการบ้วนปาก เพื่อให้ได้ฟลูออไรด์ติดที่ผิวฟันให้มากที่สุด

  • การแปรงลิ้น

หลายคนอาจจะคิดว่าการแปรงลิ้นไปเกี่ยวอะไรกับฟันผุ ซึ่งต้องทำความเข้าใจก่อนว่า การที่ฟันของเรา

ผุ ก็มาจากปัจจัยต่าง ๆ ภายในช่องปาก เพราะลิ้นถือเป็นอวัยวะที่มีการสะสมแบคทีเรียมากเช่นกัน ดังนั้นเมื่อไหร่ที่แปรงฟัน อย่าลืมที่จะแปรงลิ้นกินด้วยนะคะ

  • งดการกินอาหารหลังแปรงฟัน 2 ชั่วโมง

หากใครอยากให้ฟลูออไรด์ออกฤทธิ์ได้อย่างเต็มที่ 100% แนะนำว่า หลังการแปรงฟันด้วยยาสีฟันที่มี

ส่วนผสมของฟลูออไรด์ ไม่ควรดื่มน้ำหรือกินอาหารอย่างน้อย 2 ชั่วโมง เพื่อให้ฟลูออไรด์ทำงานได้อย่างเต็มที่ ไม่ถูกชะล้างออกไปจากการดื่มน้ำหรือกินอาหาร

  • ใช้ไหมขัดฟัน

บางครั้งการแปรงฟันอย่างเดียวอาจยังไม่พอที่จะป้องกันฟันผุได้ เพราะขนแปรงของเราอาจไม่ชอนไช

เข้าไปทำความสะอาดตามไรฟันได้หมดจด ดังนั้นการใช้ไหมขัดฟันจะช่วยให้ขจัดเศษอาหารที่ติดตามซอกฟัน ซึ่งเป็นสาเหตุของการสะสมแบคทีเรียได้

  • กินอาหารให้เป็นเวลา

แน่นอนว่าบางคนอาจมองว่าไม่เกี่ยวกันเลย ที่ฟันเราจะผุเพราะกินอาหารไม่เป็นเวลา แต่อันที่จริงแล้ว

สำคัญมาก ๆ นะคะ เราควรกินอาหารให้เป็นเวลา ไม่ควรกินจุบกินจิก เพราะโอกาสเกิดกรดในช่องปากมีมากขึ้น

  • ไปหาหมอฟันทุก ๆ 6 เดือน

แม้เราจะหมั่นดูแลรักษาฟันอยู่เป็นประจำ แต่สิ่งสำคัญคือควรนัดตรวจสุขภาพช่องปากกับหมอฟัน

ทุก ๆ 6 เดือน เพื่อป้องกันอาการเกี่ยวกับโรคภายในช่องปากที่เราไม่ทันระวังตัว และได้รับการแนะนำในการดูแลช่องปากอย่างถูกวิธี

เท่านี้เราก็ได้รู้แล้วว่าเราจะดูแลรักษาฟันอย่างไรให้ฟันไม่ผุก เพราะหากเราสามารถดูแลตัวเองและช่องปากของเราได้ตามวิธีที่แนะนำข้างต้นนี้ได้ทั้งหมด รับรองเลยว่าฟันของเราจะไม่มีวันผุอย่างแน่นอนค่ะ

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายทำฟัน
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ทำฟัน #ดูแลรักษาฟัน

ถ้าไม่ปวด ฟันคุดผ่าควรผ่าออกหรือไม่?

ถ้าไม่ปวด ฟันคุดผ่าควรผ่าออกหรือไม่?

ถ้าไม่ปวด ฟันคุดผ่าควรผ่าออกหรือไม่?

เมื่อพูดถึงการผ่าฟันคุด คงเป็นเรื่องที่หลายคนหวาดกลัวและขยาดไม่ใช่น้อย ถ้าเลือกได้ ก็คงไม่มีใครอยากเจ็บตัวกันหรอกจริงไหมคะ หลายครั้ง ฟันคุดก็ทำให้เราเลือกไม่ได้นี่สิ ปวดแสนปวดจนต้องไปผ่าออก แต่ในบางคนกลับไม่มีอาการอะไรเลย แบบนี้แล้ว ไม่ปวด ไม่ผ่าได้หรือเปล่า? ไว้รอปวดก่อนค่อยไปผ่าจะดีไหม? เราจะไปหาคำตอบกันในบทความนี้ค่ะ

ทำความรู้จัก ฟันคุด

ฟันคุด คือ ฟันที่ไม่สามารถขึ้นมาในช่องปากได้เหมือนฟันปกติทั่วไป เนื่องจากฟันคุดมักฝังอยู่ใต้เหงือก ในกระดูกขากรรไกร หรือขึ้นพ้นเหงือกมาเพียงบางส่วนเท่านั้น ซึ่งหากเป็นกรณีดังกล่าวจะต้องผ่าออกอย่างเดียว แต่ในบางกรณีก็สามารถถอนตามปกติได้ เพราะฟันเจ้าปัญหานั้นอาจจะขึ้นมาจนเต็มซี่ เพียงแต่ขึ้นผิดลักษณะเท่านั้นเอง โดยฟันซี่ที่พบว่าเป็นฟันคุดบ่อยที่สุด คือ ฟันกรามล่างซี่สุดท้าย ซึ่งอยู่ด้านในสุดของกระดูกขากรรไกรล่าง

วิธีสังเกตว่าเรามีฟันคุดหรือไม่

เราสามารถสังเกตได้ด้วยตัวเองว่ามีฟันคุดหรือเปล่า โดยดูว่ามีฟันซี่ใดที่ขึ้นมาแค่เพียงบางส่วนไหม หรือมีฟันซี่ไหนที่หายไปบ้างหรือเปล่า รวมถึงลักษณะฟันที่ขึ้นมา ดูแตกต่าง หรือมีลักษณะขึ้นแบบนอน ๆ มา ต่างจากฟันอื่นหรือไม่ ถ้าใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าอาจจะเป็นฟันคุด ทางที่ดี แนะนำให้ไปตรวจเช็คช่องปากกับทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญค่ะ

ฟันคุด ไม่ปวด ไม่ผ่าได้ไหม?

คำถามที่หลายคนอยากรู้ เพราะเท่าที่เห็น คนที่ไปผ่าคือคนที่มีอาการปวดแล้ว แต่ถ้าไม่ปวดล่ะ? จำเป็นต้องผ่าไหม? งั้นเรามาดูกันค่ะ ว่ามีเหตุผลอะไรที่คนเราควรที่จะต้องผ่าฟันคุด

  1. ทำความสะอาดยาก เนื่องจากฟันคุดเป็นฟันที่อยู่ซี่ด้านในสุด ทำให้ยากต่อการทำความสะอาด และ

มักจะมีเศษอาหารเข้าไปติดใต้เหงือก ทำให้เกิดการสะสมของแบคทีเรีย บ้างก็เกิดกลิ่นปาก บ้างก็เกิดการอักเสบ ติดเชื้อ ฟันผุ และโรคปริทันต์อักเสบ ไม่ใช่แค่เพียงตัวมันเอง แต่ยังส่งผลถึงฟันซี่ข้าง ๆ อีกด้วย

  1. เกิดการละลายตัวของกระดูก ด้วยแรงดันจากฟันคุด ที่พยายามดันขึ้นมา จะทำให้กระดูกรอบราก

ฟัน หรือรากฟันข้างเคียงถูกทำลายไป

  1. เกิดถุงน้ำหรือเนื้องอก เพราะฟันคุดที่ปล่อยทิ้งไว้นานเกินไป จะส่งผลให้เนื้อเยื่อที่หุ้มรอบฟันคุด

สามารถขยายใหญ่ขึ้นกลายเป็นถุงน้ำได้ ซึ่งการเจริญเติบโตของถุงน้ำนี้อาจจะไม่แสดงอาการใด ๆ เลยก็ได้ จนในที่สุดเกิดการทำลายฟันซี่ข้างเคียง และกระดูกรอบๆ บริเวณนั้น

  1. ป้องกันฟันซี่ข้างเคียงผุ นอกจากจะเป็นแหล่งสะสมเศษอาหารและแบคทีเรียแล้ว ฟันคุดยังทำให้ฟัน

ที่อยู่ข้างเคียงผุไปด้วย ทั้งซอกฟันระหว่างฟันคุดกับฟันกรามซี่ที่สองที่อยู่ชิดกันนั้น ทำความสะอาดได้ยาก เศษอาหารจะติดค้างอยู่ ทำให้เกิดฟันผุได้ทั้งสองซี่

  1. ป้องกันกระดูกขากรรไกรหัก อันเป็นผลมาจากการที่มีฟันคุดฝังอยู่ จะทำให้กระดูกขากรรไกร

บริเวณนั้นบางกว่าตำแหน่งอื่น เกิดเป็นจุดอ่อน เมื่อได้รับอุบัติเหตุ หรือกระทบกระแทก กระดูกขากรรไกรบริเวณนั้นก็จะหักได้ง่าย

สำหรับฟันคุด ทันตแพทย์จะพิจารณาว่าจะผ่าฟันคุดหรือไม่ จะต้องตรวจดูรูปร่างของช่องปาก และตำแหน่งของฟันคุดก่อน รวมทั้งยังต้องคำนึงถึงอายุด้วย แต่การผ่าฟันคุดอาจไม่เกิดขึ้นในทันทีที่พบฟันคุดเพราะในบางครั้งอาจต้องใช้เวลาหลายเดือนเพื่อติดตามความเปลี่ยนแปลงของฟันคุด เพื่อนำมาประกอบการพิจารณา ซึ่งกล่าวโดยสรุปได้ว่า จากคำถาม ฟันคุดควรผ่าออกหรือไม่ ต้องบอกเลยว่าการผ่าออกให้ผลที่ดีมากกว่าผลเสียแน่นอน แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยและองค์ประกอบที่ได้กล่าวมาก่อนหน้านี้ด้วยค่ะ

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายผ่าฟันคุด
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ผ่าฟันคุด #ฟันคุด

เคลียร์ช่องปากคืออะไร สำคัญกับการจัดฟันจริงหรือไม่

เคลียร์ช่องปากคืออะไร สำคัญกับการจัดฟันจริงหรือไม่

เคลียร์ช่องปากคืออะไร สำคัญกับการจัดฟันจริงหรือไม่

เราต้องเคยได้ยินกันมาบ้างล่ะค่ะ ว่าก่อนจัดฟันจะต้อง “เคลียร์ช่องปาก” แล้วเคลียร์ช่องปาก คืออะไร ต้องทำอะไรบ้าง แล้วคนที่จะจัดฟัน การเคลียร์ช่องปากจำเป็นมากไหม อยากจัดฟัน แต่ไม่เคลียร์ช่องปากได้หรือเปล่า เชื่อว่าหลายคนคงมีคำถามมากมายเหล่านี้อยู่ในใจ แต่ไม่รู้ว่าจะไปถามใครดี วันนี้เราจึงได้รวบรวมข้อสงสัยเกี่ยวกับการเคลียร์ช่องปากมาฝากกันค่ะ

เคลียร์ช่องปาก คืออะไร ?

เคลียร์ช่องปาก คือ การเตรียมเหงือกและฟันของเราให้พร้อมสำหรับการจัดฟัน เป็นการกำจัดปัญหาที่อาจส่งผลต่อแผนการจัดฟันของเราในอนาคต โดยทันตแพทย์จะทำการตรวจช่องปาก เพื่อดูสภาพฟันและเหงือกว่ามีสิ่งผิดปกติหรือไม่ เช่น เช็คฟันผุ ขูดหินปูน รวมถึงการ X-ray ฟัน และพิมพ์ฟัน เพื่อประเมินโครงสร้างใบหน้า

เคลียร์ช่องปาก ต้องทำอะไรบ้าง ?

อย่างที่กล่าวไปในตอนต้นว่า การเคลียร์ช่องปากคือการเตรียมสภาพช่องปากของฟันและเหงือกก่อนเริ่มจัดฟัน นั่นแปลว่า ทันตแพทย์จะต้องเช็คสุขภาพช่องปากของเราทั้งปาก ซึ่งจะมีรายละเอียดดังนี้

  1. ตรวจสุขภาพช่องปากโดยละเอียด

ทันตแพทย์จะตรวจเช็คช่องปากโดยละเอียด เพื่อดูว่ามีฟันผุ ฟันคุด เหงือกอักเสบ หรือปัญหาด้าน

อื่น ๆ ภายในช่องปากหรือไม่ หากพบปัญหาก็จะต้องไปรักษาตามจุดที่เป็นปัญหานั้นก่อน เพื่อไม่ให้เกิดผลเสียในระยะยาว หากต้องจัดฟัน

  • อุดฟัน

จากข้อ 1 เมื่อเรามารับการเคลียร์ช่องปาก ตรวจสุขภาพช่องปากแล้วพบว่า มีฟันผุ ทันตแพทย์จะ

แนะนำให้อุดฟันที่ผุก่อน ไม่ว่าฟันนั้นจะผุมากหรือผุน้อย เพราะหากปล่อยฟันผุเอาไว้ ไม่รับการรักษาก่อนจัดฟัน ฟันผุนั้นอาจจะมาขัดขวางการจัดฟัน หรือสร้างปัญหาระหว่างการจัดฟันในระยะยาวได้ ยิ่งไปกว่านั้น การจัดฟันจะต้องติดเครื่องมือจัดฟัน การทำความสะอาดฟันจะยิ่งทำได้ยากมากขึ้น หากมีฟันที่ผุอยู่แล้ว แต่ไม่ได้รับการอุด ก็จะยิ่งส่งผลเสีย อย่างฟันผุมากขึ้น หรือรอยผุลุกลามเข้าที่รากฟัน จนอาจจะเสียฟันซี่นั้นไป และยังต้องเสียค่ารักษาสูงอีกด้วย

  • ขูดหินปูน

การเคลียร์ช่องปากอย่างต่อมาที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ การขูดหินปูน ซึ่งหินปูนคือต้นเหตุสำคัญที่ทำให้

เกิดปัญหาช่องปากตามมาอีกหลายโรค เมื่อเราจัดฟัน ก่อนเราติดเครื่องมือจัดฟัน เราจะต้องทำความสะอาดผิวฟันให้สะอาดเสียก่อน เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเศษอาหารและแบคทีเรีย โดยพอเราติดเครื่องมือจัดฟันไปแล้ว การทำความสะอาดฟันจะกลายเป็นเรื่องยากขึ้น หากเราทำความสะอาดได้ไม่ดีพอ โอกาสจะเกิดคราบหินปูนก็ง่ายขึ้นด้วย ทันตแพทย์จึงแนะนำให้ขูดหินปูนก่อนการจัดฟัน และควรขูดหินปูนเป็นระยะ ๆ อีกด้วย

  • การผ่าฟันคุด

ในกรณีที่เมื่อตรวจเช็คฟันแล้วพบฟันคุด ควรพิจารณาการถอนหรือผ่าจะดีกว่าค่ะ เพราะฟันคุดคือฟัน

ที่ขึ้นไม่ปกติตามธรรมชาติของฟันที่ควรจะขึ้น บางคนอาจจะพบกรณีที่ฟันพยายามแทงตัวเองขึ้นมา แต่ขึ้นมาไม่ได้ เนื่องจากขึ้นช้ากว่าซี่อื่น จึงไม่เหลือพื้นที่ให้ขึ้นมาได้ ส่งผลให้เหงือกบริเวณนั้นอักเสบ แต่บางคนก็ไม่พบอาการอะไร นอกจากมีฟันบางส่วนขึ้นมาแล้ว ดังนั้น ฟันคุดจึงเหมือนระเบิดเวลาที่พร้อมจะปะทุได้ทุกเมื่อ การเคลียร์ช่องปากด้วยการผ่าฟันคุดจึงเป็นทางออกที่ดี หากใครที่คิดจะจัดฟัน เพราะอย่างน้อยก็ไม่ต้องเสียเวลา หากระหว่างจัดฟันไปแล้วพบว่าฟันคุดพยายามดันฟันซี่อื่น ๆ นั่นก็จะส่งผลต่อฟันซี่ข้าง ๆ

  • ถอนฟัน

สำหรับข้อนี้ ก็เป็นประเด็นที่หลายคนสงสัยในการเคลียร์ช่องปากว่า ทำไมบางคนถอนฟัน บางคนก็ไม่

ถอน ซึ่งการถอนฟันหรือไม่นั้นจะขึ้นอยู่กับโครงสร้างและการเรียงตัวของฟันว่ามีปัญหาการเรียงตัวมากน้อยเพียงใด รวมถึงขึ้นอยู่กับการพิจารณาของทันตแพทย์ว่าจะมีแผนการรักษาอย่างไร

ดังนั้น สรุปได้ว่าการเคลียร์ช่องปากสำคัญกับการจัดฟันจริงค่ะ ซึ่งเราอาจจะไม่จำเป็นต้องเคลียร์ช่องปาก
รวดเดียวก็ได้ หากวางแผนที่จะจัดฟัน แนะนำให้ทยอยเคลียร์ช่องปาก เพื่อให้ทันตแพทย์ประเมินสภาพช่องปากก่อนติดเครื่องมือจัดฟัน

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายจัดฟัน เคลียร์ช่องปาก
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#เคลียร์ช่องปาก #จัดฟัน

ทำไมต้องรักษารากฟัน

ทำไมต้องรักษารากฟัน

ทำไมต้องรักษารากฟัน

หลายๆ คำถามที่ถามกันมาอย่างมากมาย ว่าทำไมต้อง “รักษารากฟัน” มีความจำเป็นไหม ราคาคุ้มค่ากันไหมในการรักษา สำหรับบางคนอาจจะมองว่าไม่จำเป็น แต่ว่าวันนี้เราจะมาดูเหตุผลกันครับว่าทำไมต้องรักษารากฟัน

รากฟัน คืออะไร

เป็นโพรงประสาทฟัน ที่อยู่ชั้นใต้สุดของฟัน ที่เป็นศูนย์รวมของเส้นประสาทฟัน เป็นส่วนสำคัญมากหากไม่ทำการรักษาจะทำให้เกิดอาการปวดทรมานเป็นอย่างมาก และจะทำให้ฟันซี่นั้นเสื่อม

เหตุผลที่ต้องรักษารากฟัน

  1. ช่วยให้ฟันคงอยู่กับเราไปอีกนาน
  2. ป้องกันการติดเชื้อในโพรงประสาทฟัน
  3. รักษาสุขภาพฟันไว้ให้ยาวนานที่สุด

ขั้นตอนการรักษารากฟัน

  1. ปรึกษาทันตแพทย์เฉพาะทางตรวจลักษณะภายในช่องปาก ตรวจลักษณะรากฟันภายในกระดูกขากรรไกรจากภาพถ่าย x-ray
  2. เริ่มจากการใส่ยาชา
  3. ใส่แผ่นยางกันน้ำลาย จากนั้นจึงกรอฟันเพื่อเปิดทางเข้าสู่โพรงประสาทฟัน
  4. กำจัดเนื้อเยื่อที่มีการติดเชื้อออกด้วยเครื่องมือที่มีขนาดเล็ก ร่วมกับการล้างคลองรากฟันด้วยน้ำยาที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ และใส่ยาฆ่าเชื้อในคลองรากฟัน
  5. เมื่อฟันมีอาการที่ปกติแล้วจะทำการอุดคลองรากฟันเพื่อปิดช่องว่างไม่ให้เชื้อโรคกลับเข้ามาอาศัยได้อีก โดยปกติจะใช้เวลาการรักษาประมาณ 2-3 ครั้งขึ้นอยู่กับความยากง่ายและสภาพการติดเชื้อของฟันแต่ละซี่
  6. หลังจากนั้นจึงทำการบูรณะตัวฟันให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติ

หากเกิดอาการเหล่านี้ต้องรีบมาพบแพทย์ เพื่อทำการรักษารากฟันทันที

  • ปวดฟันรุนแรง
  • ฟันเปลี่ยนเป็นสีเทาหรือดำ
  • เหงือกบวม มีหนอง
  • ใบหน้าบวมจากการอักเสบรากฟัน

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายรักษารากฟัน
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#รักษารากฟัน #รากฟัน

จัดฟันแบบใส ยิ้มสวย มั่นใจ ไร้เหล็ก

จัดฟันแบบใส ยิ้มสวย มั่นใจ ไร้เหล็ก

จัดฟันแบบใส ยิ้มสวย มั่นใจ ไร้เหล็ก

เมื่อพูดถึงการจัดฟัน สิ่งที่ผู้ทำคาดหวังมากที่สุดคือ ความสวยงาม หลายครั้งการจัดฟันโดยทั่วไปที่ต้องติดเครื่องมือไว้กับฟัน ก็กลายเป็นอุปสรรคในการทำงานของใครหลายคน ที่อาจจะต้องใช้หน้าตา หรือกับบางคนที่รู้สึกว่าการจัดฟันแบบมีเครื่องมือติดไว้ตลอด ดูแลยากเกินไป และหากดูแลไม่ดีพอ ก็จะส่งผลให้เกิดปัญหาช่องปากตามมาอีกด้วย ซึ่งเดี๋ยวนี้ก็มีการจัดฟันแบบใส ที่มองเผิน ๆ เหมือนคนไม่จัดฟัน ใครสนใจการจัดฟันแบบนี้ต้องมาดูเลยค่ะ

จัดฟันแบบใส คืออะไร

จัดฟันแบบใส (Invisalign) เป็นการจัดฟันที่สามารถถอดได้ โดยผู้ทำสามารถทราบผลล่วงหน้าด้วยระบบการรักษา 3 มิติ เทคโนโลยี 3-D ที่ส่งข้อมูลฟันคนไข้ไปยังห้องปฏิบัติการที่ประเทศสหรัฐเพื่อทำการผลิตรูปแบบฟันออกมาเป็นแบบรายบุคคลทำให้การจัดฟันมีประสิทธิภาพสูง

อะไรทำให้การจัดฟันแบบใสดีกว่าแบบอื่น

  • ด้วยเครื่องมือแบบใส ทำให้ดูสวยงามกว่าการจัดฟันแบบธรรมดา ซึ่งเหมาะมากสำหรับใครที่ไม่ต้องการให้ใครรู้ว่าไปจัดฟันมา
  • มีเทคโนโลยีที่ช่วยให้ฟันเรียงตัวสวย
  • ลดการเกิดแผลและการระคายเคืองภายในช่องปากจากเครื่องมือที่จะมาเกี่ยว
  • สามารถถอดออกได้ และทำความสะอาดฟันได้สะดวกมากขึ้น
  • ช่วยแก้ปัญหาการสบฟันได้หลายประเภท
  • แก้ปัญหาฟันเก ฟันห่าง ตั้งแต่ความผิดปกติน้อย ๆ ไปยังความผิดปกติที่รุนแรง
  • ไม่ต้องไปพบทันตแพทย์บ่อย ๆ

ประเภทของการจัดฟันแบบใส

สำหรับการจัดฟันแบบใส Invisalign เราสามารถแยกประเภทย่อย ๆ ออกมาได้อีก 3 ประเภท ดังนี้

1. Invisalign Express การจัดฟันแบบใสประเภทนี้ใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือน เหมาะสำหรับผู้ที่มีความผิดปกติของการเรียงตัวของฟันเพียงเล็กน้อย หรือผู้ที่มีการคืนกลับของฟันภายหลังจากการจัดฟัน เนื่องจากไม่ได้ใส่รีเทนเนอร์

2. Invisalign Lite การจัดฟันแบบใสประเภทนี้ใช้เวลาประมาณ 6-7 เดือน เหมาะกับผู้ที่มีฟันห่าง ฟันซ้อนเก ระดับเล็กน้อยถึงปานกลางเท่านั้น

3. Invisalign Full การจัดฟันแบบใสประเภทนี้ใช้เวลาประมาณ 1-2 ปี สำหรับผู้ที่มีฟันซ้อนเก หรือความซับซ้อนค่อนข้างมาก อาจเป็นผู้ที่เคยจัดฟันมาก่อน

อายุเท่าไหร่จึงจะเหมาะที่จะจัดฟันแบบใส

การจัดฟันแบบใสสามารถเริ่มทำได้ตั้งแต่อายุ 12-13 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยที่ฟันแท้เริ่มขึ้นจนครับ และขากรรไกรเริ่มมีการเจริญเติบโต ทำให้การขยายหรือลดรูปร่างขากรรไกรเป็นไปได้ง่าย หรือจะรอให้มีการเจริญเติบโตเต็มที่ ช่วงอายุ 18 ปี ก็ได้เช่นกันค่ะ

ขั้นตอนในการจัดฟันแบบใส

1. พบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพฟันและช่องปาก พร้อมถ่ายภาพใบหน้า เอกซเรย์ พิมพ์ฟัน และทันตแพทย์จะวางแผนรักษาร่วมกับคนไข้

2. ใช้โปรแกรมสร้างภาพ 3D เพื่อสร้างชุดเครื่องมือจัดฟัน ที่ความใส และบาง พอดีกับฟันแต่ละซี่ ซึ่งเราสามารถเห็นการเปลี่ยนแปลงทั้งก่อนและหลังการจัดฟันได้

3. จัดส่งทำเครื่องมือจัดฟันแบบใส พร้อมนัดคนไข้เข้ามาเพื่อเตรียมช่องปากและรับเครื่องมือจัดฟัน

4. คนไข้ต้องเป็นผู้รับผิดชอบการใส่เครื่องมือจัดฟันแบบใสตามตารางที่ทันตแพทย์กำหนด

5. เมื่อจัดฟันแบบใสเสร็จแล้ว ควรใส่รีเทรนเนอร์เพื่อคงสภาพฟันเหมือนการจัดฟันประเภทอื่น ๆ

การจัดฟันแบบใสถือว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับใครที่ต้องการความสวยงามและดูแลง่าย รวมถึงมีกำลังมากพอจะจ่าย เพราะปลายทางของการจัดฟันก็ให้ผลที่คล้าย ๆ กัน นั่นคือการมีฟันที่เรียงตัวสวย และลดปัญหาต่าง ๆ ที่เคยมีลงไปได้ไม่มากก็น้อย และที่สำคัญการดูแลฟันให้ดีก็ยังเป็นสิ่งจำเป็น ไม่ว่าคุณจะจัดฟันแบบไหนมาก็ตาม

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมายจัดฟัน
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#จัดฟัน #จัดฟันแบบใส

อุดฟันเจ็บไหม-หลังจากอุดแล้วต้องทำอย่างไร

อุดฟันเจ็บไหม หลังจากอุดแล้วต้องทำอย่างไร

การอุดฟันเป็นกระบวนการในการฟื้นฟูฟันที่หัก หรือฟันที่มีปัญหาผุ หรืออักเสบ ซึ่งการอุดฟันสามารถทำได้หลายแบบทั้งแบบ โลหะ แบบเรซิน แบบคอมโพสิต หรือใช้ทองคำในการอุดฟัน ซึ่งอาการความเจ็บในการอุดฟันนั้น จะขึ้นอยู่กับเคสและอาการของแต่ละคนว่าอาการของฟันนั้นเป็นอย่างไร

ซึ่งความเจ็บของการอุดฟันนั้น ถามว่าเจ็บหรือไม่ จริง ๆ แล้วผมคิดว่าเจ็บแน่นอนเพราะว่าก่อนที่เราจะทำฟันเราจะต้องฉีดยาชา ซึ่งการฉีดยาชานี่ล่ะครับที่เป็นสิ่งที่ทำให้เรากลัว หรือเด็กๆ กลัวกันมากว่ามันเจ็บสุดๆ เวลาโดนฉีดยาชา แต่หลังจากนั้นก็แทบจะไม่ได้รับความรู้สึกอีกเลย ยิ่งเป็นเด็กๆ จะยิ่งกลัวมากๆ

วิธีการดูแลรักษาฟันหลังอุดฟัน

– ต้องระวังอาการเสียวฟันหลังจากที่อุดฟัน
– ต้องระวังอาการปวดฟันหลังอุดฟัน ให้กินยาพารา เพื่อป้องกันอาการปวด
– ต้องระวังฟันที่อุด แตกหรือหลุดออก
– การเคี้ยวต้องระวังถ้าเป็นอาหารแข็งหรือเหนียวอาจจะทำให้ฟันที่อุดเกิดปัญหาได้
– แปรงฟันทำความสะอาดได้ปกติ

ควรพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพฟันทุกๆ 6 เดือน เพื่อสุขภาพฟันที่ดียิ่งขึ้น ติดต่อทันตแพทย์ หากคุณมีปัญหา ถ้าพบว่าฟัน ช่องปาก หรือการอุดฟันมีปัญหา ให้ติดต่อทันตแพทย์ทันที

สอบถามเพิ่มเติมและนัดหมาย
โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#อุดฟัน #อุดฟันเจ็บไหม #ดูแลหลังอุดฟัน

เหงือกบวมแบบไหน ต้องไปพบทันตแพทย์

แนะวิธีสังเกต เหงือกบวมแบบไหน ต้องไปพบทันตแพทย์

หนึ่งในปัญหาช่องปากที่หลายคนไม่อยากเจอ นั่นคือ “เหงือกบวม” ที่นอกจากจะสร้างความเจ็บปวด รำคาญใจแล้ว ยังทำให้เสียความมั่นใจในเรื่องกลิ่นปากอีกด้วย ซึ่งตามปกติแล้ว หากเป็นอาการเหงือกบวมปกติ สามารถทำความสะอาดฟันและเหงือกบริเวณที่เกิดอาการด้วยตนเอง โดยการใช้แปรงสีฟันที่เหมาะสม ใช้ไหมขัดฟันช่วยขัดเศษอาหารที่ติดอยู่ในซอกฟันอย่างถูกวิธี รวมไปถึงการบ้วนน้ำเกลือเพื่อลดอาการบวมแดง แล้วอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้น แต่ถ้าเกิดมีอาการนอกเหนือจากนี้ล่ะ เราจะรู้ได้อย่างไรว่า เหงือกบวมแบบไหน จึงควรต้องไปพบทันตแพทย์ ไปดูกันค่ะ

1. เหงือกบวม จากกระดูกงอก

สีเหงือกจะมีสีชมพูเป็นปกติ ส่วนอาการบวมนั้นจะเกิดขึ้น เมื่อมีตุ่มกระดูกก้อนใหญ่ดันเหงือกออกมามาก ซึ่งอาการบวมนี้เป็นกลไกทางร่างกายอย่างหนึ่งที่ร่างกายจะสร้างกระดูกให้หนาขึ้น เพื่อรองรับแรงจากการบดเคี้ยวที่ไม่เท่ากัน

2. เหงือกบวม จากการเกิดความระคายเคืองมาเป็นเวลานาน

เหงือกที่บวมจะปูดเป็นก้อนแข็ง แต่ยังคงมีสีชมพูตามปกติ ส่วนการรักษานั้น ทันตแพทย์จะใช้วิธีการตัดก้อนที่บวมออก พร้อมกับกำจัดตัวต้นเหตุที่ทำให้เกิดการระคายเคือง

3. เหงือกบวม จากผลข้างเคียงของยา

เหงือกจะมีลักษณะบวมหนาขึ้นกว่าปกติมาก ผู้ป่วยจะหายปกติหากหยุดยา และขูดหินปูน ถ้าไม่หายอาจต้องศัลยกรรมตัดแต่งเหงือก เพื่อช่วยให้ทำความสะอาดได้ดีขึ้น ในกรณีที่รักษาไม่หาย ทันตแพทย์จะใช้วิธีศัลยกรรมตกแต่งเหงือกเพื่อที่ผู้ป่วยจะได้สามารถทำความสะอาดฟันได้ดีและง่ายขึ้น

4. เหงือกบวม จากโรคปริทันต์

มักพบในผู้ที่สุขอนามัยภายในช่องปากไม่ดี โดยทั่วไปจะแบ่งตัวโรคออกมาเป็น 2 โรค ได้แก่

  • โรคเหงือกอักเสบ เกิดจากการสะสมหินปูนจำนวนมาก ทำให้เหงือกอักเสบบริเวณรอบ ๆ ฟัน ซึ่งในบางครั้งอาจจะพบเลือดออกขณะแปรงฟันได้ รวมถึงมีอาการเสียวฟันและกลิ่นปากตามมา
  • โรคปริทันต์ มีสาเหตุที่คล้ายกันกับโรคเหงือกอักเสบ คือ เกิดจากการสะสมหินปูนจำนวนมาก แต่ผู้ที่เป็นมีภูมิต้านทานเชื้อโรคต่ำ จึงทำให้เกิดการติดเชื้อ และเชื้อก็ลุกลามไปมาก ทำให้เกิดการทำลายกระดูกที่มารองรับฟัน อาการที่สามารถสังเกตได้ คือ ฟันโยก ฟันบานออกหรือฟันยาว เหงือกบวม ในรายที่รุนแรงมาก ๆ จะพบเหงือกมีหนองไหล ส่วนวิธีการรักษานั้น ทันตแพทย์จะขูดหินปูน และจะทำการเกลารากฟัน เพื่อจะกำจัดตัวหินปูน ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการระคายเคืองออก ร่วมกับการดูแลสุขอนามัยภายในช่องปากให้มากขึ้น

5. เหงือกบวม จากเนื้องอกของผู้หญิงตั้งครรภ์

มักพบในผู้หญิงตั้งครรภ์ที่มีสุขอนามัยภายในช่องปากที่ไม่ดี อันมีผลมาจากการที่ร่างกายตอบสนองต่ออาการระคายเคืองจากหินปูนไวกว่าปกติ สำหรับการรักษา ทันตแพทย์จะตัดเนื้องอกนั้นออก แล้วจึงทำการขูดหินปูนในจุดที่ระคายเคืองออกเสีย

6. เหงือกบวม เกิดเป็นตุ่มหนองเล็ก ๆ

มักเกิดในบริเวณใกล้เคียงกับจุดที่ฟันผุมาก ๆ อันเนื่องมาจากภาวะฟันผุที่เกิดการลุกลามไปจนถึงชั้นโพรงประสาทฟัน พบการติดเชื้อจนฟันตายและมีหนองสะสมในตัวฟัน ทำให้ออกมาภายในช่องปาก ในกรณีเช่นนี้ ทันตแพทย์จะแนะนำให้รักษาคลองรากฟัน

7. เหงือกบวม จากก้อนมะเร็ง

ลักษณะของก้อนมะเร็งที่เกิดขึ้นนั้นจะคล้าย ๆ กับดอกกะหล่ำ โดยจะมีอาการบวม และจะทำลายเหงือกรวมถึงฟันโดยรอบอย่างรวดเร็วและรุนแรงมาก ในบางรายอาจจะพบอาการชาภายในช่องปากร่วมด้วย ซึ่งจะต้องมาพบทันตแพทย์ เพื่อรักษาร่วมกับแพทย์เฉพาะทาง

ดังนั้น หากใครที่กำลังมีอาการของเหงือกบวม อย่ารอช้าหรือปล่อยไว้ให้อาการรุนแรงขึ้นนะคะ โดยเฉพาะหากใครมีอาการดังที่กล่าวมา ทางที่ดีที่สุดควรรีบไปพบทันตแพทย์ให้เร็วที่สุด

ติดต่อสอบถามข้อมูล “เหงือกบวม” เพิ่มเติมได้ที่

โทรศัพท์ 02-0665455 , 092-5187829
Line id: @bpdc หรือ bpdc.dental
https://bpdcdental.com/
ที่อยู่ : คลินิกทันตกรรม BPDC ถนนกิ่งแก้ว บางพลี สมุทรปราการ (มีที่จอดรถใต้ตึก)

#ทันตกรรม #ทันตแพทย์ #เหงือกบวม #ปัญหาเหงือก