บริการผ่าฟันคุด

ผ่าฟันคุด (Wisdom Tooth Extraction) : ฟันคุด คือ ฟันกรามซี่สุดท้าย (มักเรียกว่าฟันกรามซี่ที่ 3) ซึ่งมักจะขึ้นเมื่ออายุประมาณ 17-25 ปี แต่บางครั้งฟันคุดไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติ เพราะมีพื้นที่ในช่องปากไม่เพียงพอ หรือขึ้นผิดทิศทาง จึงจำเป็นต้อง ผ่าฟันคุด เพื่อป้องกันปัญหาต่าง ๆ

สาเหตุที่ต้องผ่าฟันคุด?


เหงือกอักเสบ บวม ปวด บริเวณฟันคุด


ลดความกลัวและความวิตกกังวลของเด็กเมื่อต้องทำฟัน


เกิดถุงน้ำหรือซีสต์รอบฟันคุด


เสี่ยงต่อการเกิดฟันผุ
ฟันล้ม หรือโรคเหงือก

ฟันคุด คืออะไร?

เมื่อไหร่ที่ควรผ่าฟันคุดออก

อาการหลังผ่าฟันคุด

  • ปวด บวมบริเวณแก้มและขากรรไกร 1-3 วันแรก

  • อ้าปากไม่เต็มที่ในระยะแรก

  • อาจมีเลือดซึมเล็กน้อย

 

วิธีดูแลหลังผ่าฟันคุด

  • ประคบเย็น 24 ชม.แรก ลดบวม
  • งดดูดน้ำจากหลอด งดบ้วนปากแรง
  • กินยาแก้ปวดและยาฆ่าเชื้อตามที่แพทย์สั่ง
  • แปรงฟันเบา ๆ และใช้ไหมขัดฟันตามปกติ (เว้นแผล)

 

คำแนะนำเพิ่มเติม

  • ผ่าฟันคุดควรทำโดยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

  • หลีกเลี่ยงการผ่าตอนเป็นหวัด มีไข้ หรือสุขภาพไม่แข็งแรง

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าฟันคุด
  • การติดเชื้อหลังผ่าตัด สังเกตได้จากการปวดบวมมากขึ้น หลังผ่าประมาณ 3-5 วัน หรือมีหนองเกิดขึ้น สาเหตุที่เกิดการติดเชื้อหลังผ่าฟันคุดอาจเกิดจาก ฟันคุดอยู่ลึกใช้เวลาผ่าตัดนาน หรือดูแลรักษาความสะอาดแผลผ่าตัดได้ไม่ดีพอ
  • แพ้ยา สังเกตได้จากอาการปากบวม ตาบวม มีผื่นขึ้น หรือหายใจลำบากหลังจากได้รับยา ให้รีบหยุดยาและพบทันตแพทย์ทันที
  • เลือดออกเยอะหรือนานกว่าปกติ สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดมักเกิดจากการกัดผ้าที่ห้ามเลือดได้ไม่ดีพอ หรือการออกแรงบ้วนเลือดที่ออกมา ทั้งนี้อาจมีสาเหตุอื่นๆ ได้อีกหลายสาเหตุ  เบื้องต้นแนะนำให้ใช้ผ้าก๊อซสะอาดพับให้หนาพอสมควร วางบริเวณแผลผ่าตัดแล้วออกแรงกัดนิ่งๆ อย่างน้อย 30 นาที กลืนน้ำลาย ไม่ออกแรงบ้วน  หากไม่สามารถหยุดเลือดได้ หรือมีเลือดออกปริมาณมาก ควรไปพบทันตแพทย์
  • ชาริมฝีปากและคาง การชาที่เป็นอยู่นานกว่าฤทธิ์ยาชา (3-4 ชั่วโมง) อาจเกิดจากการที่ส่วนของฟันคุดอยู่ใกล้เส้นประสาทรับความรู้สึกในขากรรไกรล่าง  ทันตแพทย์สามารถประเมินความเสี่ยงในการชาเบื้องต้นได้จากภาพเอกซเรย์ และปรึกษาผลดีผลเสียกับผู้ป่วยก่อนผ่าฟันคุดได้  หากเกิดการชาภายหลังการผ่าตัดแนะนำให้พบทันตแพทย์ผู้ผ่าตัด เพื่อให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัวต่อไป
 

ความรู้เกี่ยวกับฟัน

คุณแม่ตั้งครรภ์ ทำฟันได้ไหม

คุณแม่ตั้งครรภ์ ทำฟันได้ไหม

หนึ่งในคำถามที่คุณแม่มือใหม่มักสงสัยคือ "คุณแม่ตั้งครรภ์ ทำฟันได้ไหม?" เพราะในช่วงตั้งครรภ์ ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน ทั้งฮอร์โมน อารมณ์ ไปจนถึงภูมิคุ้มกัน ทำให้หลายคนกลัวว่า ...

สุขภาพช่องปาก

สุขภาพช่องปาก เกี่ยวข้องกับโรคอะไรบ้าง

หลายคนคิดว่าการแปรงฟันคือแค่การดูแลรอยยิ้มให้ดูดี หรือป้องกันฟันผุเท่านั้น แต่ความจริงแล้ว “สุขภาพช่องปาก เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและเบาหวานได้อย่างไร” เป็นคำถามที่ควรถามตัวเองให้เร็ว ...

วิธีรับมือ Dental Phobia

วิธีรับมือ Dental Phobia

Dental Phobia หรือ “โรคกลัวหมอฟัน” ไม่ใช่เรื่องเล็กหรือเรื่องที่ควรถูกมองข้าม เพราะผลกระทบจากความกลัวนี้อาจทำให้หลายคนหลีกเลี่ยงการพบทันตแพทย์ จนกระทั่งสุขภาพช่องปากเสื่อมโทรม ฟันผ ...

กลูโคสมีผลอะไรต่อฟัน

กลูโคสมีผลอะไรต่อฟัน

กลูโคส หรือที่หลายคนรู้จักในชื่อเรียกง่ายๆ ว่า “น้ำตาล” เป็นแหล่งพลังงานที่จำเป็นต่อร่างกาย แต่ในขณะเดียวกัน กลูโคสก็เป็นหนึ่งในตัวการสำคัญที่แอบทำร้ายฟันของเราแบบไม่รู้ตัว หลายคนอ ...

Dental Spa

Dental Spa การดูแลสุขภาพฟันที่มากกว่าทันตกรรม

ในยุคที่ความสวยงาม ความผ่อนคลาย และการดูแลสุขภาพรวมเป็นหนึ่งเดียว "Dental Spa" หรือคลินิกทันตกรรมที่ผสมผสานบรรยากาศแบบสปา กำลังเป็นเทรนด์ใหม่ที่มาแรงไม่แพ้คลินิกเสริมความงามหรือเวช ...

โรคปริทันต์การดูแลและการป้องกัน

โรคปริทันต์การดูแลและการป้องกัน

หลายคนมักให้ความสำคัญกับฟันขาวสวย แต่ลืมไปว่ารากฐานของฟันที่แข็งแรงคือ "เหงือกและกระดูกรองรับฟัน" ซึ่งเป็นหัวใจของสุขภาพช่องปากที่แท้จริง หากเปรียบช่องปากเป็นบ้าน ฟันก็คือเสา และ " ...