บริการรักษารากฟัน
รากฟันเทียม หรือ ทันตกรรมรากเทียม (dental implant) คือ การแก้ปัญหาการสูญเสียฟันแท้ที่หลุดไปด้วยการผ่าตัด ฝังโครงรากฟันเทียมเพื่อยึดติดกับกระดูกขากรรไกรของคนไข้ ตรงตำแหน่งที่สูญเสียฟันเเละรากฟันธรรมชาติไป จากนั้นทันตแพทย์อาจจะทำฟันปลอม หรือครอบฟันมายึดติดกับราก ทดแทนฟันที่หลุดไป เพื่อให้ฟันบดเคี้ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพเทียบเท่าฟันจริง
สาเหตุทำไมต้องรักษารากฟัน?
เหงือกอักเสบ บวม ปวด บริเวณฟันคุด
ฟันได้รับแรงกระแทกรุนแรงจากอุบัติเหตุ
ฟันร้าว แตก หัก จนทะลุโพรงประสาท
รากฟันเทียม?
ขณะที่การทำฟันปลอมแบบอื่น ๆ อาจจะพบปัญหาเรื่องความไม่เป็นธรรมชาติ มีการเคี้ยวอาหารที่ติดขัดอยู่บ่อยๆ รากฟันเทียมเป็นทันตกรรมฟันปลอมแบบติดแน่นที่มีคุณสมบัติเหมือนฟันธรรมชาติ จึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด ที่ช่วยทำให้ฟันยังคงอยู่ครบ ทานอาหารได้ราบรื่นกว่า ไม่ต้องวุ่นวายถอดฟันปลอม และดูแลทำความสะอาดได้ง่ายแสนง่ายไม่ต่างจากฟันแท้ของเรา โดยเฉพาะถ้าได้รับการดูแลรักษารากฟันเทียมด้วยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ก็จะยิ่งทำให้คุณทานอาหารได้ง่าย พูดคุย และยิ้มได้อย่างมั่นใจ
ส่วนประกอบของรากฟันเทียม?
รากฟันเทียมประกอบด้วยส่วนหลักๆ 3 ส่วน ดังนี้
- Screw : ส่วนที่ฝังอยู่ใต้เหงือก
มีลักษณะเป็นสกรูทำจากไทเทเนียมนี้ ทำหน้าที่เป็นรากฟัน ยึดตัวฟันเทียมให้มั่นคงเเข็งเเรง ด้วยการฝังเข้าไปในกระดูกขากรรไกร - Abutment : ส่วนที่อยู่ระหว่างรากฟันเทียม (Screw) เเละครอบฟัน (Crown)
ทำหน้าที่ทดแทนโครงสร้างของแกนฟัน เพื่อรองรับตัวครอบฟัน มักยึดติดส่วนนี้ไว้ด้วย Screw - Crown : ส่วนของตัวฟัน
ทำมาจากเซรามิก ลอกเลียนสีและรูปร่างของฟันธรรมชาติเป็นส่วนที่ใช้บดเคี้ยวอาหารโดยตรง
หลักการทำงานของรากเทียม
รากเทียมจะทำงานร่วมกับกระดูกขากรรไกร เมื่อทั้งสองอย่างประสานกันได้สนิทแล้ว จะทำให้เกิดการรองรับฟัน ส่งผลให้ฟันปลอมหรือที่ยึดฟันปลอม ที่ทำงานร่วมกับรากเทียมไม่เลื่อนหรือลื่นออกจากจุดที่ต้องการ ซึ่งจะมีประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะตอนที่พูดและรับประทานอาหาร การฝังรากเทียมนี้ ช่วยในการทำฟันปลอม การครอบฟัน และที่ยึดฟันปลอมบนรากเทียม ให้ความรู้สึกที่เป็นธรรมชาติมากกว่าฟันปลอมหรือการทำฟันปลอมแบบธรรมดาเพราะในคนไข้หลายคน การทำฟันปลอมหรือที่ยึดฟันปลอมแบบธรรมดาไม่ได้ให้ความรู้สึกสบาย อาจมีบางจุด ที่ทำให้เจ็บ นูน หรือยื่นออกมา บางครั้งอาจมีความรู้สึกคลื่นไส้ร่วมด้วย นอกจากนั้นการที่ยึดฟันปลอมแบบธรรมดาต้องใช้ติดกับฟัน หรือช่องว่างของฟันที่เหลือจากฟันที่หายไป
ประโยชน์ของการทำรากเทียมอีกอย่างหนึ่งก็คือ ไม่ต้องกรอฟัน เพื่อที่จะเตรียมแนบสะพานฟันให้ติดกับฟัน แต่สามารถเจาะลึกลงไปในฟันที่จะแทนที่ได้เลย
การเตรียมตัวสำหรับการฝังรากฟันเทียม คนไข้จำเป็นจะต้องมีสุขภาพเหงือกที่แข็งแรง และมีกระดูกมากเพียงพอที่จะรองรับรากฟัน ดังนั้นต้องรักษาสุขภาพของเหงือก และกระดูกให้สมบูรณ์ ด้วยการดูแลความสะอาดของช่องปากอย่างละเอียดถี่ถ้วน และไปพบทันตแพทย์ตามระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งจะทำให้การฝังรากฟันมีอายุการใช้งานได้นานยิ่งขึ้น
รากฟันเทียม?
รากฟันเทียมเหมาะกับใคร
- ผู้ที่สูญเสียฟันแท้จากอุบัติเหตุ
- ผู้ที่มีฟันแตก หัก ซึ่งควรได้รับการถอนฟันจากทันตแพทย์ และทำรากฟันเทียมเพื่อทดแทนฟันที่เสียไป
- เหงือกบริเวณที่จะทำการปลูกรากฟันเทียม ไม่มีการอักเสบหรือติดเชื้อ ซึ่งอาจส่งผลให้การปลูกรากฟันเทียมล้มเหลวได้
- ผู้ที่ทำฟันปลอมแบบถอดได้ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ
- ผู้ที่ต้องการใส่ฟันเพียงซี่เดียว โดยฟันข้างเคียงยังอยู่ในสภาพดี
- ผู้ที่ใส่ฟันปลอมทั้งปากแต่ประสบกับปัญหากระดูกขากรรไกรล่างยุบตัวลงมาก ทำให้ฟันปลอมหลุดได้ง่าย ซึ่งการฝังรากฟันเทียมจะช่วยยึดฟันปลอมให้แน่นขึ้น
- ผู้ที่ไม่ต้องการกรอฟันในการทำสะพานฟันติดแน่น
- ผู้ที่ไม่ชอบใส่ฟันปลอมแบบถอดได้
ข้อดีของรากเทียม
หลังปลูกรากฟันเทียมไปสักระยะเเล้ว รากฟันจะยึดเข้ากับกระดูกขากรรไกร มีการเข้ากับเนื้อเยื่อในช่องปากได้ดี ข้อดีที่เป็นจุดเด่นของรากฟันเทียมคือ ฟันปลอมแบบยึดติดเเน่น ที่ทำหน้าที่คล้ายฟันธรรมชาติมากที่สุด
- ประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวอาหาร ทำงานได้ดีไม่ต่างจากฟันธรรมชาติ
- ไม่ใช่เเค่สวยงามใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติ เเต่ให้ความรู้สึกเหมือนฟันธรรมชาติมากกว่าฟันปลอมแบบอื่น
- ไม่มีปัญหากับการออกเสียง เมื่อเทียบกับฟันเทียมชนิดอื่น ๆ
- ป้องกันการสูญเสียฟันและกระดูกข้างเคียง
- ดูแลทำความสะอาดง่าย เสริมสร้างสุขภาพช่องปาก
- เมื่อร่วมกับฟันเทียมแบบถอดได้ หมดปัญหาฟันเทียมขยับระหว่างพูดคุย หรือรับประทานอาหาร
- มีความคงทนถาวร
- ไม่ต้องกรอแต่งฟันข้างเคียง
- ช่วยเพิ่มความมั่นใจ และทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
- มีความปลอดภัยสูง เเละสามารถใช้รักษาร่วมกับสะพานฟันเเละครอบฟัน สำหรับคนไข้ที่มีฟันแท้เหลือน้อย หรือผู้ที่ต้องการทำฟันปลอมได้อีกด้วย
ประเภทของรากฟันเทียม ?
รากฟันเทียมแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
Conventional implant
Immediate implant
Immediate loaded implant
ความรู้เกี่ยวกับฟัน
คุณแม่ตั้งครรภ์ ทำฟันได้ไหม
หนึ่งในคำถามที่คุณแม่มือใหม่มักสงสัยคือ "คุณแม่ตั้งครรภ์ ทำฟันได้ไหม?" เพราะในช่วงตั้งครรภ์ ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน ทั้งฮอร์โมน อารมณ์ ไปจนถึงภูมิคุ้มกัน ทำให้หลายคนกลัวว่า ...
สุขภาพช่องปาก เกี่ยวข้องกับโรคอะไรบ้าง
หลายคนคิดว่าการแปรงฟันคือแค่การดูแลรอยยิ้มให้ดูดี หรือป้องกันฟันผุเท่านั้น แต่ความจริงแล้ว “สุขภาพช่องปาก เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจและเบาหวานได้อย่างไร” เป็นคำถามที่ควรถามตัวเองให้เร็ว ...
วิธีรับมือ Dental Phobia
Dental Phobia หรือ “โรคกลัวหมอฟัน” ไม่ใช่เรื่องเล็กหรือเรื่องที่ควรถูกมองข้าม เพราะผลกระทบจากความกลัวนี้อาจทำให้หลายคนหลีกเลี่ยงการพบทันตแพทย์ จนกระทั่งสุขภาพช่องปากเสื่อมโทรม ฟันผ ...
กลูโคสมีผลอะไรต่อฟัน
กลูโคส หรือที่หลายคนรู้จักในชื่อเรียกง่ายๆ ว่า “น้ำตาล” เป็นแหล่งพลังงานที่จำเป็นต่อร่างกาย แต่ในขณะเดียวกัน กลูโคสก็เป็นหนึ่งในตัวการสำคัญที่แอบทำร้ายฟันของเราแบบไม่รู้ตัว หลายคนอ ...
Dental Spa การดูแลสุขภาพฟันที่มากกว่าทันตกรรม
ในยุคที่ความสวยงาม ความผ่อนคลาย และการดูแลสุขภาพรวมเป็นหนึ่งเดียว "Dental Spa" หรือคลินิกทันตกรรมที่ผสมผสานบรรยากาศแบบสปา กำลังเป็นเทรนด์ใหม่ที่มาแรงไม่แพ้คลินิกเสริมความงามหรือเวช ...
โรคปริทันต์การดูแลและการป้องกัน
หลายคนมักให้ความสำคัญกับฟันขาวสวย แต่ลืมไปว่ารากฐานของฟันที่แข็งแรงคือ "เหงือกและกระดูกรองรับฟัน" ซึ่งเป็นหัวใจของสุขภาพช่องปากที่แท้จริง หากเปรียบช่องปากเป็นบ้าน ฟันก็คือเสา และ " ...